การปฏิรูปครั้งประวัติศาสตร์ของชาติ

13 ต.ค.57 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำนักข่าวอิศรา ได้เปิดเผยรายงานของ “สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม” ที่สรุปกรอบความคิดเห็นร่วมปฏิรูปประเทศไทยด้านการเมือง โดยศึกษาในหมวดข้อการทำงานของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งข้อเสนอดังกล่าวครอบคลุมในเรื่องโครงการองค์กรตุลาการทางการเมือง กระบวนการทำหน้าที่ของศาลฎีกาในการถ่วงดุล ตรวจสอบถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ข้อเสนอดังกล่าวระบุว่า ควรมีการจัดตั้งศาลเลือกตั้ง ควรประกอบด้วยผู้พิพากษาประจำศาลจังหวัด และหรือตุลาการศาลปกครองในเขตเลือกตั้ง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ข้อดี คือมีองค์กรศาลเฉพาะที่ทำหน้าที่โดยตรง ในการวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการเลือกตั้งแทน กกต. และสามารถพัฒนากระบวนการที่มีประสิทธิภาพในการวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งได้ เพราะนักการเมืองแทรกแซงได้ยาก ข้อจำกัด คือการจัดตั้งศาลเลือกตั้งหากโครงสร้าง และการกำหนดขอบเขตหน้าที่ไม่ชัดเจน ปัญหาจะไม่ได้รับการแก้ไข และสร้างความสับสนในกระบวนการยุติธรรมเพิ่มมากขึ้น

นอกจากนี้ ควรมีการจัดตั้งศาลทุจริต เพื่อทำหน้าที่ตัดสินคดีเกี่ยวกับการกระทำทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง ข้อดี คือมีหน่วยงานรับผิดชอบคดีทุจริตคอร์รัปชั่นทั้งในเชิงนโยบาย หรือการเบียดบัง ฉ้อฉลอย่างจริงจัง องค์กรที่จัดตั้งใหม่ ต้องมีโครงสร้างและการกำหนดขอบเขตหน้าที่ชัดเจน ข้อจำกัด คือการจัดตั้งองค์กรขึ้นใหม่มากเกินไปอาจทำให้มีความสับสนในการทำงาน เช่น คดีที่เกี่ยวข้องมากกว่า 1 ศาล

องค์กรศาล ควรเป็นองค์กรเปิดที่สามารถให้ประชาชนตรวจสอบได้ เช่น การเข้าสู่ตำแหน่งของศาลในระดับสูงควรมีการแสดงทรัพย์สิน ก่อนเข้าสู่ตำแหน่ง ข้อดี คือ สร้างความมั่นใจขั้นต้นต่อผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ด้านกระบวนการยุติธรรม

ในส่วนของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ควรกำหนดกรอบเวลาการดำเนินคดีทางการเมือง เพื่อสร้างความมั่นใจในกระบวนการทำงานของศาล แต่อาจเป็นการทำให้กระบวนการมีความรอบคอบลดลง และคดีทางการเมืองไม่ควรมีอายุความ ซึ่งจะทำให้กระบวนการยุติธรรมมีผลต่อทำให้ผู้กระทำผิดสร้างความเสียหายให้กับประเทศและเป็นการป้องปรามผู้ที่คิดจะละเมิดกฎหมาย ยกเลิกการคุ้มครองนักการเมืองในระหว่างสมัยประชุมสภา เพื่อยุติบทบาทของนักการเมืองทันทีที่มีการฟ้องร้อง แต่ก็อาจเกิดผลกระทบต่อการดำเนินการทางรัฐสภา

“จัดทำมาตรการ หรือออกกฎหมายการลงโทษที่เข้มข้น เพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ของบทลงโทษ สำหรับนักการเมืองที่ทุจริต ไม่มีคุณธรรม จริยธรรมสร้างความเสียหายร้ายแรงให้กับประเทศ และบทลงโทษควรมีผลถึงผู้ที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดด้วย เช่น ยึดทรัพย์ และการตัดสิทธิทางการเมืองตลอดไป ข้อดี คือเพื่อให้กระบวนการยุติธรรมเป็นมาตรการที่มีความศักดิ์สิทธิ์จึงไม่ให้โอกาสนักการเมือง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับนักการเมืองที่มีการทำผิดกลับเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองอีก และมีผลต่อการป้องปราม ข้อจำกัด คือกระบวนการยุติธรรมต้องมีความเป็นกลาง เพื่อไม่ให้เป็นเครื่องมือของการกลั่นแกล้งทางการเมือง
นสพ.แนวหน้า

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ