ตำนานศิวะลึงก์ ตัวแทนแห่งพระศิวะเทพ


ตำนานศิวะลึงก์ ตัวแทนแห่งพระศิวะเทพ

ในไทยเรานั้น อาจคุ้นเคยกับกับเครื่องรางหรือวัตถุมงคลอย่างหนึ่ง 
ที่มีอำนาจสูงส่งด้านโชคลาภ เสน่ห์เมตตามหานิยม ซึ่งเรารู้จักมักคุ้นกันดีในชื่อของ "ปลัดขิก" ปลัดขิกของไทยนั้นมีหลักฐานที่แน่ชัดว่ามีที่มาจาก ศิวลึงค์ ของอินเดีย ตามคติของ ไศวะนิกาย อันเป็นนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นใหญ่สูงสุด ในบรรดาเทพเจ้าทั้งหลายเครื่องหมายที่เป็นองค์แทนของพระศิวะนั้น ชาวไศวะนิกายใช้รูปของ ศิวลึงค์ หรือเครื่องเพศของชาย เป็นสัญลักษณ์สำคัญโดยให้เหตผลว่า นี่คือสัญลักษณ์แห่งพระผู้สร้าง สัญลักษณ์แห่งการให้กำเนิด คติการนับถือนี้นับว่ามีมานานมากที่สุด มีมานานนับพันๆ ปีมาแล้วและแพร่เขาสู่สยามประเทศผ่านทางวัฒนธรรมขอม และหัวเมืองฝ่ายใต้ด้านมลายู
แต่เป็นที่แปลกที่ว่าหากเราไปในประเทศอินเดียพูดถึง ปลัดขิก กลับไม่มีใครรู้จัก แต่เขารู้จักเครื่องรางชนิดนี้ในนามของ "ศิวะลิงคัม" ซึ่งแท้ที่จริงก็มาจากคำว่า ลิงคะ หรือภาษาไทยคือ ลึงค์ นั่นเอง

ในการนับถือพระศิวะนั้น มักมีการทำรูปสมมุติของพระองค์ด้วยการทำเป็นศิวะลึงค์ หรือสัญลักษณ์แห่งเพศชาย ด้วยเชื่อว่า พระศิวะ คือเทพเจ้าแห่งการรังสรรค์การกำเนิด (คติของไศวะนิกายนั้น การสร้างโลกของพระพรหมเป็นคำบัญชาของพระศิวะ)
ดังนั้น สัญลักษณ์สากลที่เป็นตัวแทนของพระองค์ที่เหมาะสมที่สุดจึงเป็นแท่งศิวลึงค์ นั่นเอง ดังจะพบศิวลึงค์นี้ตามเทวสถานทั้งในยุคโบราณและยุคปัจจุบัน และเชื่อถือกันว่าศิวลึงค์นี้เป็นตัวแทนพระองค์ เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สามารถบันดาลปาฏิหาริย์อำนวยอวยพรให้แก่ผู้ศรัทธา

คติการนับถือศิวลึงค์ หรือ ลิงคัม หรือ ลิงคะ นี้ถ้าเป็นชาวฮินดูโดยแท้ จะมีหัวใจในการนับถือมุ่งเน้นไปที่พระศิวะมากกว่าอย่างอื่น 
แต่อย่างในไทยเรานั้นแม้จะมีการนับถือปลัดขิก ซึ่งมีรากฐานมาจากศิวลึงค์อันเป็นตัวแทนของพระศิวะ แต่การนับถือปลัดขิกนั้นก็มิได้มุ่งความใส่ใจไปที่องค์พระศิวะ กลับมุ่งเน้นไปที่ตัวพระเกจิอาจารย์ผู้ปลุกเสกมากกว่า แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความเชื่อในแต่ละท้องถิ่น ที่แตกต่างกันมาก เพราะในไทยเราศาสนาฮินดูกลมกลืนอยู่ในศาสนาพุทธ ดังนั้นเครื่องรางจากฮินดูแทนที่จะสื่อไปถึงองค์พระเป็นเจ้าต้นสังกัดแท้ๆ กลับถูกโอนไปที่ตัวพระเกจิอาจารย์แทน
ในวัฒนธรรมฮินดู การนับถือศิวลึงก์หรือลิงคัมนี้ เป็นเรื่องปกติที่มีมานานหลายพันปีมาแล้ว ศิวลึงก์มีทั้งที่เกิดจากการสร้าง ขึ้น และที่เกิดเองตามธรรมชาติ
แท่นบูชาพระศิวะและศิวลึงค์
image from karunamayi.org
ภาพการถวายพวงมาลัยดอกไม้บูชาศิวลึงก์
ศิวลึงค์ เครื่องรางอันศักดิ์สิทธิ์
ดลบันดาลทุกสิ่งตามที่ใจปรารถนา

ศิวลึงค์ (อวัยวะเพศของพระศิวะ)
มักปรากฎคู่กับ โยนี (อวัยวะเพศของพระแม่อุมา)
ซึ่งเป็นฐานใหญ่ รองรับลึงค์อยู่ด้านล่าง
กำเนิดของศิวลึงค์นั้น ปรากฏเป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างจะแปลกแยก แตกต่างกันออกไป ตามแต่ละคัมภีร์ แต่ละในศาสนาต่างๆ ทางคติพราหมณ์ ซึ่งบางตำราก็กล่าวว่า องค์พระศิวะนั้นทรงตั้งพระทัยที่จะประทานรูปศิวลึงค์ หรือรูปเคารพที่เป็นรูปอวัยวะเพศชาย ให้กับสาวกทั้งหลายทั้งปวงของพระองค์ได้สักการะบูชาแทนพระองค์
ซึ่งการที่ประทานรูปเคารพเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากในงานบูชา ตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง 3 ซึ่งประกอบไปด้วย พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ที่จะต้องแสดงพระวรกายให้สาวกได้เห็นเป็นบุญตา
พระพรหมก็ปรากฏพระวรกายออกมาในรูปลักษณ์ที่มี 4 พักตร์ 4 กร ส่วนพระวิษณุก็จะปรากฏพระวรกายมาในรูปลักษณ์ที่เป็นมหาเทพมี 1 พระพักตร์ 2 พระกร แต่สำหรับพระศิวะนั้น ทรงปรากฏพระวรกายในรูปกายที่แปลกแหวกแนวสักหน่อย คือไม่ปรากฏออกมาเป็นรูปองค์เทพโดยตรง แต่กลับแสดงพระวรกายให้ปรากฏออกมาเป็นรูปอวัยวะเพศชาย ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชาย ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือมหาเทพนั่นเอง
ดังนั้นหลังจากงานพิธีกรรมบูชาเทพตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง 3 พระองค์นี้แล้ว บรรดาสาวกก็ได้สร้างศาลรูปเคารพเทพตรีมูรติทั้ง 3 ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพเทพตรีมูรติทั้ง 3 ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพพระพรหมเป็นรูปที่มี 4 พักตร์ 4 กร และสร้างรูปเคารพพระนารายณ์เป็นรูปมหาเทพผู้งดงามมี 1 พระพักตร์ 2 พระกร และสำหรับพระศิวะนั้น สาวกก็ได้สร้างรูปเคารพให้เป็นรูปอวัยวะเพศชาย ตามที่พวกตนได้พบเห็นปรากฏแก่สายตา อันเป็นรูปจำลองเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะนั่นเอง

ในคัมภีร์โบราณอีกเล่มหนึ่งนั้นได้บันทึกไว้ว่า
ในวันหนึ่ง พระศิวะกำลังร่วมภิรมย์เสพสมกับพระแม่อุมาอัครมเหสี อย่างแสนสุขสันต์ในวิมารของพระองค์บนเขาไกรลาส แต่การเสพสมภิรมย์รักนี้ มิได้กระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระองค์แต่อย่างใด พระศิวะและพระแม่อุมาทรงกระทำกันกลางท้องพระโรงเลยทีเดียว ดังนั้นบังเอิญเมื่อเหล่าทวยเทพทั้งปวงที่กำลังจะมาเข้าเฝ้าพระศิวะ ได้พบเห็นเข้า จึงรู้สึกว่าพระศิวะนั้นกระทำการอันไม่บังควร เป็นการอนาจารเป็นอย่างยิ่ง
หากทรงกระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระองค์ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องผิดแปลกแต่อย่างใด แต่หน้าท้องพระโรงนั้นเป็นที่เปรียบเสมือนห้องรับแขก ที่ย่อมจะต้องมีผู้คนผ่านเข้าออกได้เสมอ และเมื่อทวยเทพผ่านพบเห็นเข้าว่าองค์พระศิวะที่เป็นถึงมหาเทพผู้เป็นใหญ่แห่งเขาไกรลาส กำลังเสพสังวาสกับอัครมเหสีอย่างประเจิดประเจ้อ กลางท้องพระโรงเช่นนั้นจึงพากันรังเกียจเดียจฉัน และเสื่อมศรัทธาในองค์พระศิวะเป็นอย่างมาก

บรรดาทวยเทพจึงได้พากันเย้ยหยันและหมดสิ้นความนับถือยำเกรงในองค์มหาเทพ ต่างก็พากันยืนดูแล้วก็วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเห็นเป็นเรื่องที่น่าสมเพชไป ด้วยเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น พระศิวะทรงโกรธกริ้วเป็นยิ่งนัก จึงได้ทรงประกาศว่า อวัยวะเพศของพระองค์นี้แหละ จะเป็นเสมือนสัญลักษณ์และตัวแทนของพระองค์ ที่บรรดามนุษย์และเทพเทวะทั้งปวง จะต้องกราบไหว้บูชาถ้าต้องการความสุขและความสำเร็จอันงดงามในชีวิต
และอวัยวะเพศหรือศิวลึงค์นั้น ก็จะมีดวงตามหาศาลล้อมรอบศิวลึงค์ถึง 1,000 ดวงตา เพื่อจะได้สามารถมองเห็นได้เด่นชัดในทุกทิศทุกทาง โดยดวงพระทัยและดวงพระวิญญาณขององค์พระศิวะจะสถิตอยู่ด้วย เพื่อคุ้มครองและอำนวยพรให้กับผู้ที่สักการะบูชาศิวลึงค์นั้น เมื่อได้ทรงแล่นถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์มาในขณะที่กำลังเกิดความกริ้วและความอัปยศเป็นที่สุดนั้น ถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์จึงได้บังเกิดสัมฤทธิ์ผลเป็นจริง
พราหมณ์ผู้ทำพิธีบูชาพระศิวะและศิวลึงก์ การสรงน้ำและนมเพื่อถวายการบูชา
image from puja.net


พราหมณ์กำลังประกอบพิธีบูชาศิวลึงค์ด้วยน้ำบริสุทธิ์


image from wikipedia
(ภาพบน) ศิวลึงก์ ในโบสถ์พระศิวะ ประเทศอินเดีย

 
image from wikipedia
(ภาพล่าง) การถวายบูชาศิวลึงก์ด้วยดอกไม้
ผ้าอย่างดี เครื่องหอม สีชาด และเครื่องบูชาต่างๆ
อำนาจของศิวลึงก์
ศิวลึงก์ หรือ ศิวลิงคัม ที่เกิดเองตามธรรมชาตินั้น โยคีแต่โบราณกล่าวว่า มันเกิดจากอำนาจของพระเป็นเจ้าบันดาล ผู้ได้มีไว้ย่อมถือว่าเป็นบุญลาภวาสนาของผู้นั้น อำนาจของศิวลึงค์หรือลิงคัมตามธรรมชาติมีอำนาจนานัปประการ มีพลังเหนือธรรมชาติ
ตามตำนานในเรื่อง รามายณะ หรือ รามเกียรติ์ เล่าไว้ตอนหนึ่งว่า อสูรชื่อ ตรีบุรำ เที่ยวเกะกะระรานชาวบ้าน จนเดือดร้อนไปทั้งสามโลก พระเป็นเจ้ามีบัญชาให้พระนารายณ์กำจัดเสีย แต่พระนารายณ์ก็ไม่สามารถทำอันตรายใดๆได้ เพราะอสูรตรีบุรำทูลศิวลึงค์ไว้เหนือศีรษะของตน พระนารายณ์จึงใช้กลลวงไปชิงเอาศิวลึงค์มาจากอสูรเสียก่อน จากนั้นจึงสังหารได้
อำนาจของศิวลึงค์ตามกล่าวมานี้ ย่อมมีอำนาจในการพิทักษ์รักษาชีวิต มิให้ต้องด้วยสรรพาวุธทั้งหลายและปราศจากอันตรายทั้งปวง

เครื่องหมายแห่งอำนาจและความสำเร็จ
น้อยคนที่จะรู้ว่า ในหลากหลายหน่วยงานและหลากหลายธุรกิจ มีการนำเอาสัญลักษณ์ศิวลึงค์มาเป็นลัญลักษณ์ทางการค้า หรือตราแห่งเกียรติยศ อำนาจของศิวลึงค์ที่ถูกซ่อนไว้นี้แสดงถึงความเชื่อของนักบริหารธุรกิจ ที่เชื่อว่าศิวลึงก์จะสามารถสร้างความเจริญให้แก่องค์กรของตนได้ หรือเชื่อในอำนาจของศิวลึงค์ที่จะปกป้องคุ้มครอง และทำให้หน่วยงานของตนเป็นที่เกรงขาม มีอำนาจเหนือหน่วยงานอื่นและบุคคลทั้งหลายโดยทั่วไป มีอำนาจเหนือกว่าคู่แข่งทางธุรกิจของตน และนำมาซึ่งผลกำไรอันมหาศาล นำมาซึ่งความสำเร็จอย่างสูงสุดของธุรกิจการงาน
เนื่องจากการบูชาศิวะลึงค์นั้น สำหรับผู้นับถือศาสนาฮินดูย่อมเชื่อว่า เป็นการบูชาพระศิวะพระเป็นเจ้าของพวกเขา ดังนั้นการได้กราบไหวศิวะลึงก์นั้นเขาเชื่อว่าเป็นการได้บุญอย่างยิ่ง

อำนาจจากพระศิวะนั้นสามารถต่ออายุผู้ที่ใกล้สิ้นใจ สามารถรักษาอาการไข้ที่เป็นมานาน
สามารถบันดาลให้พ้นจากความยากจน ทั้งสามารถป้องกันภูติผีปีศาจ ไสยศาสตร์มนต์ดำทุกชนิด
และแม้เมื่อสิ้นใจไปแล้วก็ย่อมไปอยู่กับพระศิวะ ย่อมไม่ตกลงสู่อบายภูมิ
อิทธิฤทธิ์ของศิวะลึงค์นั้นเกินกว่าบรรยาย ทั้งนี้ผู้ที่ศรัทธาในศิวะลึงค์ต้องเชื่อและศรัทธาในพระศิวะด้วย การบูชาศิวลึงก์นั้น
ชาวฮินดูจะสรงน้ำนม แล้วล้างด้วยน้ำสะอาด เอาผงแดงสำหรับเจิมหน้าผากมาเดิมให้ พร้อมทั้งกล่าวคำภาวนาซ้ำๆ ว่า
"โอม นมัส ศิวาย...โอม นมัส ศิวาย...โอม นมัส ศิวาย..." ถือว่าเป็นการได้บุญกุศลอย่างยิ่ง
และยังสามารถเพ่งศิวลึงก์ เพื่อทำสมาธิเป็นประจำทุกวัน แล้วสวดมนต์ขอพรต่อพระศิวะ
ให้เข้าถึงบารมีอันยิ่งใหญ่แห่งองค์พระศิวะได้อีกด้วย

ศิวะลึงก์และโยนี ณ วัดเทพมณเฑียร กรุงเทพฯ

การสรงน้ำและนมแด่ศิวะลึงก์และโยนี ณ วัดเทพมณเฑียร กรุงเทพฯ

ศิวะลึงก์และโยนี ณ เทวาลัยพระศิวะ ข้างเซ็นทรัลปิ่นเกล้า กรุงเทพฯ

ศิวลึงก์ทำจากปรอท ณ วัดวิษณุ ยานนาวา กรุงเทพฯ

ศิวลึงก์ทำจากหิน ณ วัดวิษณุ ยานนาวา กรุงเทพฯ

ศิวลึงก์ภายในโบสถ์พระศิวะ ณ วัดวิษณุ ยานนาวา กรุงเทพฯ

image from photobucket.com
พระพิฆเนศ กำลังประกอบพิธีบูชาศิวลึงค์ พระศิวะและพระแม่อุมาจึงประทานพร


ศิวลึงก์องค์สำคัญของโลก กระจายอยู่ตามแคว้นต่างๆในประเทศอินเดีย
image from sss.vn.ua
ภาพวาดศิวลึงค์องค์สำคัญๆ ที่ประดิษฐานอยู่ทั่วประเทศอินเดีย




image from sriarts.com
ศิวลึงก์ขนาดเล็ก ประดิษฐานอยู่บนโยนีขนาดใหญ่ 




image from wordpress.com
ศิวลึงก์ที่เกิดจากธรรมชาติ ถูกน้ำแข็งหุ้มทั้งองค์ ปรากฎอยู่ในถ้ำอันเย็นยะเยือก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง