ประวัติศาสตร์ ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู
ประวัติความเป็นมา
ในสมัยโบราณ แต่แรกเริ่มศาสนาพราหมณ์ฮินดูนี้เรียกกันว่า สนาตนธรรม หมายถึงธรรมอันเป็นนิตย์ คือไม่สิ้นสุดไม่รู้จักตาย แปลเอาความหมายถึงพระวิษณุ จึงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวิษณุธรรม
ในเวลาต่อมา ศาสนานี้ได้มีชื่อเรียกกันว่า ไวทิกธรรม คือ ธรรมที่ได้มาจากพระเวท ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระวิษณุนั่นเอง
ในเวลาต่อมา ได้มีผู้ตั้งชื่อศาสนานี้ใหม่ว่า อารยธรรม คือ ธรรมอันดีงามหรือธรรมอันเจริญ
ต่อมาได้เปลี่ยนไปเรียกกันว่า พราหมณ์ธรรม คือคำสั่งสอนของพราหมณ์ ในสมัยนั้นชนวรรณะพราหมณ์ครองความเป็นใหญ่ มีอำนาจเต็มที่ ผู้ใดไม่เชื่อถือคำสั่งสอนของพราหมณ์ ถือว่ามีโทษหนัก เห็นได้ว่าที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดแท้ที่จริงแล้วก็คือ ธรรมะอันเดียวกัน เพียงแต่เรียกชื่อไปต่าง ๆ กันตามยุคสมัย ตำรับพระเวทยังคงมีอยู่ โดยอยู่ในกำมือของพวกพราหมณ์ โดยเฉพาะพวกพรามหมณ์ผู้มีหน้าที่สาธยาย ท่องบ่น และสั่งสอน ตลอดจนประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ให้แก่ชนในวรรณะของตน
ศาสดา หรือผู้ตั้งศาสนาพราหมณ์ฮินดูคือ พระนารายณ์ ซึ่งคนส่วนมากเรียกกันว่า พระวิษณุ แต่เดิมพระวิษณุได้สอนธรรมะ และวิธีปฏิบัติธรรมแก่พระพรหมธาดา แล้วพระพรหมธาดา ผู้ได้สอนสันตกุมาร ผู้เป็นบุตรอีกชั้นหนึ่ง ต่อมาทั้งสองท่านก็ได้สั่งสอนแก่พระนารถมุนี ผู้เป็นเทพฤาษี เพื่อให้เผยแพร่ต่อไปยังนานาโลก
สำหรับในโลกมนุษย์ พระอุปเทศกะ คือผู้แสดงเรื่องราวทางศาสนารองลงมาจากพระนารถมุนีคือ พระกปิลมุนี ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ มีตัวตนอยู่ในโลก ได้แสดงธรรมครั้งแรกที่วินทุอาศรม ต่อมาได้ตั้งอาศรมขึ้นที่ปลายแม่น้ำคงคาที่เรียกว่า กันคงคาสาคร ดังนั้นในเดือนธันวาคมและมกราคมของ
ทุกปี จะมีประชาชนจำนวนมากไปจาริกแสวงบุญ ณ ที่ดังกล่าว
พระปรมาตมันเป็นพระเจ้าสูงสุด มีอุปาสยเทพอยู่สามองค์คือ พระพรหมา พระวิษณุ และพระศิวะ พระปรมาตมันไม่มีรูปและไม่มีตัวตน จึงกล่าววกันว่าเป็นนิรังการ หรือนิรากาลคือไม่มีอาการ หรือปราศจากอาการ
ต่อมาเมื่อพระปรมาตมัน ประสงค์จะสร้างโลกก็เลยกลายเป็นสาการภาพคือ เกิดภาวะอันมีอาการและเป็นสามรูป ได้แก่พระพรหมธาดา พระวิษณุ และพระศิวะ
พระพรหมา เป็นผู้สร้างโลกต่าง ๆ
พระวิษณุ เป็นผู้คุ้มครองโลกต่าง ๆ
พระศิวะ เป็นผู้สังหารหรือทำลายโลกต่าง ๆ
เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ฮินดู มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละสถานีมีเทพเจ้าแต่ละองค์ ดูไม่ออกว่าองค์ไหนสำคัญกว่าหรือสูงกว่า แต่ละกลุ่มนับถือแต่ละองค์ บางทีในครอบครัวเดียวกัน แต่ละคนในครอบครัวก็นับถือเทพเจ้าต่าง ๆ กัน เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก
เมื่อพระปรมาตมัน ประสงค์จะมีโลกต่าง ๆ ก็จะแบ่งภาคเป็นสามภาคคือ พระพรหมา พระนารายณ์ และพระศิวะ ขณะเดียวกันพระแม่อาทิศักตี ก็แบ่งภาคเป็นสามองค์คือ มหาสรัสวดี มหาลักษมี และมหากาลี หรืออุมาเทวี
ทั้งหกองค์แบ่งปางต่าง ๆ หรือสร้างเทพต่าง ๆ ขึ้นตามความต้องการเช่น พระโลกปาล ๕ องค์ พระทิศปาล ๑๐ องค์ พระเกษตรปาล (เจ้าที่เจ้าทาง) ๔๙ องค์ นพเคราะห์ ๙ องค์ เป็นต้น
คัมภีร์ปุราณต่าง ๆ ได้บัญญัติไว้ว่ามีเทวดาทั้งหมดสามร้อยสามสิบล้านองค์ เพราะสิ่งของทุกชนิดมีเทวดาประจำด้วยทุกสิ่ง ในบ้านเรือนแต่ละส่วนของบ้าน มีเทพประจำอยู่ มีเทพเจ้าแห่งน้ำคือ พระวรุณ หรือพระพิรุณ เทพเจ้าแห่งลมคือ พระวายุเทพ เทพเจ้าแห่งอัญมณีรัตน์คือ พระกุเวร เทพเจ้าแห่งวิชาคือ พระแม่สรัสวดี เทพเจ้าแห่งสมองคือ พระพิฆเนศวรเป็นต้น
ยังมีปางของพระแม่อาทิศักตี และปางนี้ทำให้เห็นว่ามีเทวดานานานาม นานารูป มีเทวดาในรูปนามเพื่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุด โดยมีหลักว่าบรรดาเทพเจ้าเหล่านั้น เป็นส่วนของพระปรมาตมัน จึงถือกันว่ามีเอกภาพในพหุภาพคือ มีเทพเจ้าองค์เดียวในรูปร่างต่าง ๆ
คัมภีร์ คือ พระเวท ซึ่งมีความหมายกว้างขวางมาก ถ้าต้องการให้เข้าใจดีจะต้องศึกษาศาสตร์หกแขนงเรียกว่า วิชาหกประการ หรือเวทางคศาสตร์ คือ ความรู้เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นพระเวททั้งหกประการคือ
ศึกษาศาสตร์ สอนการอ่าน ทำนองของพระเวท
ศิลปศาสตร์ สอนว่าพระเวทหรือคำแต่ละคำของพระเวทและมนตร์ต่าง ๆ นั้น จะมีวิธีนำเอาไปใช้ที่ไหนและอย่างไร
ไวยากรณ์ศาสตร์ สอนว่าคำแต่ละคำของพระเวท พระมนตร์ อุบัติขึ้นมาอย่างไร และออกเสียงอย่างไร
นิรุกติศาสตร์ สอนเรื่องคำพูดหรือภาษาความเข้าใจในภาษา และการรู้จักใช้ถ้อยยคำให้ผู้อื่นเข้าใจ การศึกษาถึงที่มาของคำว่าแต่ละคำ มีอะไรมาประกอบเข้ากันบ้าง
ฉันทศาสตร์ หรือกาพย์ศาสตร์ สอนว่ามนตร์แต่ละมนตร์ของพระเวทอ่านทำนองอย่างไร และมีวิธีการประพันธ์แต่ละกาพย์ แต่ละฉันท์อย่างไรบ้าง
โชยติษศาสตร์ หรือนักษัตรศาสตร์ หรือโหราศาสตร์ หรือดาราศาสตร์ สอนถึงคติการโคจรของดวงดาวทั้งหลาย รวมถึงอุตนิยมวิทยาด้วย
ได้มีการแบ่งการศึกษาพระเวทออกเป็นสี่เล่มคือ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และอาถรรพเวท และหนังสือพระเวททั้งสี่ดังกล่าวยังแยกออกไปได้อีกสี่เล่มเรียกว่า อุปเวท
ฤคเวท แสดงประวัติศาสตร์ของโลก ไม่ว่าจะเป็นเทวโลก มนุษยโลก หรือเคราะห์โลกต่าง ๆ ที่มีอยู่ในห้วงอวกาศ
อุปเวทของฤคเวทคือ อยุรเวท แปลว่า แพทย์ศาสตร์
สามเวท แสดงกลาศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ต่าง ๆ
อุปเวทของสามเวท คือ คนธรรพเวท ซึ่งมีการวิปัสนาต่าง ๆ โดยใช้ศิลปะแห่งการดนตรี เข้าช่วยให้ตั้งเป็นสมาธิได้
อาชุรเวท แสดงวิธีบูชาบวงสรวงต่าง ๆ ที่เรียกว่า ยัญญกรรม
อุปเวทของอาชุรเวท คือ ธนุรเวท ซึ่งมีวิธีการสร้างอาวุธต่าง ๆ
อาถรรพเวท แสดงการใช้เวทมนตร์ เพื่อให้เกิดผลดี หรือผลร้ายขึ้น
อุปเวทของอาถรรพเวท คือ ศิลปเวท ได้แก่ วิชาศิลปะต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังมี คัมภีร์อุปนิษัท หลายอย่างที่แต่งขึ้น เพื่อบรรยายความหมายของพระเวท อีกหลายเล่มด้วยกัน
ต่อมาจึงได้มีการแต่ง คัมภีร์ปุราณะ ๑๘ เล่ม กับคัมภีร์อุปปุราณะ อีก ๑๘ เล่ม เพื่ออธิบายข้อความและความหมายของคัมภีร์พระเวท โดยยกเอาเรื่องจริง ๆ ขึ้นมากล่าว และใช้นิทานเรื่องต่าง ๆ มาสาธกด้วย เพื่อเป็นอุทาหรณ์ประกอบให้เข้าใจชัดเจน
นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์อื่น ๆ ที่เป็นทำนองอรรถาธิบาย คัมภีร์พระเวทอีกมาก เช่น คัมภีร์สังหิตา คัมภีร์พระพรหมครันถ์ เป็นต้น รวมกันแล้วนับได้หลายพันเล่ม
คัมภีร์ที่เป็นสาระแห่งคัมภีร์ทั้งหลายยังมีอีกสองเล่ม คือ คัมภีร์มหาภารตะ ในคัมภีร์เล่มนี้มีอยู่ตอนหนึ่งชื่อ ศรีมัทภควคีตา นับว่าเป็นตอนที่สำคัญที่สุดเป็นที่คารวะของนักคิด นักการศาสนา และนักปรัชญาทุกระบบ หลักธรรมคำสอนใน ภควัทคีตา มีที่มาจากแหล่งคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของคัมภีร์พระเวท
คัมภีร์อีกเล่มหนึ่งคือ คัมภีร์รามายณะ เป็นประวัติเรื่องราวของพระราม ชาวฮินดูเชื่อกันว่า พระรามเป็นอวตารปางที่เจ็ดของพระวิษณุ และเป็นผู้มีคติวิเศษในการปฎิบัติมนุษยธรรม
ในคัมภีร์ของสนาตนธรรมทุก ๆ คัมภีร์สอนไว้ว่า ชีว คือ วิญญาณนั้ไม่มีวันตาย และไม่สูญหาย มีอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่หมุนเวียนอยู่โดยกรรมคติ ที่กระทำอยู่ตลอดเวลา
ตามคติของพราหมณ์ฮินดู ถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นอีกสาขาหนึ่งของสนาตนธรรม พระพุทธเจ้าเป็นอวตารปางที่เก้าของพระวิษณุ ในทำนองนี้ศาสนาทุกศาสนาจึงเป็นองค์ประกอบของสนาตนธรรม ด้วยเหตุนี้ ชาวพราหมณ์ฮินดูจึงมิได้มีจิตใจรังเกียจเดียดฉันท์ศาสนาใด บรรดาศาสนิกชนของทุกศาสนา เป็นเสมือนพี่น้องกัน
สัญลักษณ์ทางศาสนา สำคัญที่สุดคือ ตัวอักษรที่อ่านว่า โอม มาจาก อ + อุ + มะ เป็นแทนพระตรีมูรตีเทพ คือ อ แทนพระนารายณ์หรือพระวิษณุ อุ แทนพระพรหมา ม แทนพระศิวะ หรือพระอิศวร เมื่อรวมกันเข้าเป็นอักษรเดียวกลายเป็นอักษร โอม แทนพระปรมาตมัน พระเจ้าสูงสุด ไม่มีตัวตน สัญลักษณ์นี้ทุกนิกาย ทุกลัทธิ ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ต้องใช้เป็นประจำ
สัญลักษณ์รองลงมาคือ เครื่องหมายสวัสดิกะ เป็นสัญลักษณ์ที่ทุกนิกาย ทุกลัทธิใช้กันมาก เป็นเครื่องหมายแทนพระพิฆเนศวร หรือพระคเณศ หมายถึงเป็นมงคลทุกด้าน ทุกมุม ปราศจากอุปสรรคทั้งปวง
รองลงมามีเครื่องหมายสัญลักษณ์หลายอย่าง ซึ่งแต่ละนิกายและลัทธิ ใช้กันประจำนิกาย และลัทธิ เช่น นิกายไศวะ ใช้รูปตรีศูล นิกายไวษณพ ใช้รูปจักร เป็นต้น
ในประเทศไทย เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ใช้ทั้งตรีศูล และตัวอักษร โอม เป็นสัญลักษณ์ ทางสมาคมฮินดูสมาชเอาตัวอักษรโอม เป็นสัญลักษณ์ สมาคมฮินดูธรรมสภา เอารูปโอม ล้อมรอบด้วยสวัสดิกะ และจักร ในรูปวงกลมเป็นสัญลักษณ์
ทั้งสามสถาบัน รวมกันเรียกว่า องค์การศาสนาพราหมณ์ฮินดู ซึ่งมัสัญลักษณ์ร่วมคือ ตัวโอม อยู่ระหว่างตรีศูล
นอกจากนี้ยังมีรูปดอกบัว สังข์ คฑา ช้าง โค พระอาทิตย์ นกยูง สิงโต งู คันไถ และอื่น ๆ ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำนิกาย และประจำลัทธิด้วย แต่ต้องมีตัวโอมอยู่เสมอ
นิกายและลัทธิ มีสี่นิกายด้วยกัน คือ
นิกายไศวะ ถือพระอิศวรเป็นใหญ่ และนับถือพระนารายณ์ พระพรหม กับเทพอื่น ๆ ด้วย
นิกายไวษณพ ถือพระนารายณ์เป็นใหญ่ และนับถือพระศิวะ พระพรหมา กับเทพอื่น ๆ ด้วย
นิกายศากฺต ถือว่าพระแม่อาทิศักตี หรือพระแม่ปราศักตี เป็นใหญ่ และนับถือพระพรหมา พระนารายณ์ กับเทพอื่น ๆ ด้วย
นิกายสมารฺต ถือเทพห้าองค์ด้วยกัน คือ พระพิฆคเณศวร พระแม่ภวานี คือ พระศักตี พระพรหมา พระนารายณ์ พระศิวะ ไม่มีองค์ใดใหญ่กว่าโดยเฉพาะ
มีลัทธิที่แยกจากทั้งสี่นิกาย อีกหลายร้อยนิกาย แต่ละนิกายมีเทพสำหรับสักการะบูชา มีปรมาจารย์ผู้กำเนิดนิกาย แต่ทุกนิกายถือว่า พระปรมาตมัน เป็นพระเจ้าสูงสุด และใช้ตัวอักษร โอม เป็นสัญลักษณ์ทั้งสิ้น
จุดมุ่งหมายของศาสนา เพื่อนำบุคคลไปสู่ความหลุดพ้น ทั้งจากกองกิเลส และกองทุกข์ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อหลุดพ้นไปแล้วก็จะกลายเป็นเอกภาพ มีภาวะเป็นอันหนึ่งอันเดียวไปกับพระปรมาตมัน ภาวะดังกล่าวเรียกว่า โมกฺษคติ ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
ในโลกนี้มีโยนิ (คือ สัตว์ทั้งหลาย) อยู่ถึงแปดล้านสี่แสนชนิดด้วยกัน มีสัตว์เพียงประเภทเดียวเท่านั้น ที่มีลัทธิพิเศษเฉพาะคือ มนุษย์ ที่จะเข้าถึงโมกฺษ ได้
ศาสนาพรหมณ์ฮินดู ไม่ปล่อยให้เป็นภาระของเทพเจ้า เป็นที่พึ่งฝ่ายเดียว แต่ยังอาศัยกรรมของตน ฉะนั้นคัมภีร์พระเวทจึงได้สอนไว้ว่า มนุษย์ทั้งหลายควรปฎิบัติตามคติสี่ประการคือ ธรรมะ อรรถะ กามะ และโมกษะ
อรรถ แปลว่า ทรัพย์สมบัติ หรือสิ่งของที่ต้องการ
กาม แปลว่า ความปรารถนา ความประสงค์ ความต้องการ การอุปโภค บริโภค สิ่งต่าง ๆ ก็จัดเป็นกามเหมือนกัน
มนุษย์ เมื่อสำเร็จโมกษธรรมแล้ว ยังไม่ควรจะละเลิก อรรถะ กับกามะ โดยสิ้นเชิง ศาสนาพราหมณ์ฮินดูในดินแดนสุวรรณภูมิ
ในเวลาต่อมา ศาสนานี้ได้มีชื่อเรียกกันว่า ไวทิกธรรม คือ ธรรมที่ได้มาจากพระเวท ซึ่งเป็นคำสั่งสอนของพระวิษณุนั่นเอง
ในเวลาต่อมา ได้มีผู้ตั้งชื่อศาสนานี้ใหม่ว่า อารยธรรม คือ ธรรมอันดีงามหรือธรรมอันเจริญ
ต่อมาได้เปลี่ยนไปเรียกกันว่า พราหมณ์ธรรม คือคำสั่งสอนของพราหมณ์ ในสมัยนั้นชนวรรณะพราหมณ์ครองความเป็นใหญ่ มีอำนาจเต็มที่ ผู้ใดไม่เชื่อถือคำสั่งสอนของพราหมณ์ ถือว่ามีโทษหนัก เห็นได้ว่าที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดแท้ที่จริงแล้วก็คือ ธรรมะอันเดียวกัน เพียงแต่เรียกชื่อไปต่าง ๆ กันตามยุคสมัย ตำรับพระเวทยังคงมีอยู่ โดยอยู่ในกำมือของพวกพราหมณ์ โดยเฉพาะพวกพรามหมณ์ผู้มีหน้าที่สาธยาย ท่องบ่น และสั่งสอน ตลอดจนประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ให้แก่ชนในวรรณะของตน
ศาสดา หรือผู้ตั้งศาสนาพราหมณ์ฮินดูคือ พระนารายณ์ ซึ่งคนส่วนมากเรียกกันว่า พระวิษณุ แต่เดิมพระวิษณุได้สอนธรรมะ และวิธีปฏิบัติธรรมแก่พระพรหมธาดา แล้วพระพรหมธาดา ผู้ได้สอนสันตกุมาร ผู้เป็นบุตรอีกชั้นหนึ่ง ต่อมาทั้งสองท่านก็ได้สั่งสอนแก่พระนารถมุนี ผู้เป็นเทพฤาษี เพื่อให้เผยแพร่ต่อไปยังนานาโลก
สำหรับในโลกมนุษย์ พระอุปเทศกะ คือผู้แสดงเรื่องราวทางศาสนารองลงมาจากพระนารถมุนีคือ พระกปิลมุนี ผู้เกิดมาเป็นมนุษย์ มีตัวตนอยู่ในโลก ได้แสดงธรรมครั้งแรกที่วินทุอาศรม ต่อมาได้ตั้งอาศรมขึ้นที่ปลายแม่น้ำคงคาที่เรียกว่า กันคงคาสาคร ดังนั้นในเดือนธันวาคมและมกราคมของ
ทุกปี จะมีประชาชนจำนวนมากไปจาริกแสวงบุญ ณ ที่ดังกล่าว
พระปรมาตมันเป็นพระเจ้าสูงสุด มีอุปาสยเทพอยู่สามองค์คือ พระพรหมา พระวิษณุ และพระศิวะ พระปรมาตมันไม่มีรูปและไม่มีตัวตน จึงกล่าววกันว่าเป็นนิรังการ หรือนิรากาลคือไม่มีอาการ หรือปราศจากอาการ
ต่อมาเมื่อพระปรมาตมัน ประสงค์จะสร้างโลกก็เลยกลายเป็นสาการภาพคือ เกิดภาวะอันมีอาการและเป็นสามรูป ได้แก่พระพรหมธาดา พระวิษณุ และพระศิวะ
พระพรหมา เป็นผู้สร้างโลกต่าง ๆ
พระวิษณุ เป็นผู้คุ้มครองโลกต่าง ๆ
พระศิวะ เป็นผู้สังหารหรือทำลายโลกต่าง ๆ
เทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์ฮินดู มีอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ละสถานีมีเทพเจ้าแต่ละองค์ ดูไม่ออกว่าองค์ไหนสำคัญกว่าหรือสูงกว่า แต่ละกลุ่มนับถือแต่ละองค์ บางทีในครอบครัวเดียวกัน แต่ละคนในครอบครัวก็นับถือเทพเจ้าต่าง ๆ กัน เป็นเรื่องที่เข้าใจยาก
เมื่อพระปรมาตมัน ประสงค์จะมีโลกต่าง ๆ ก็จะแบ่งภาคเป็นสามภาคคือ พระพรหมา พระนารายณ์ และพระศิวะ ขณะเดียวกันพระแม่อาทิศักตี ก็แบ่งภาคเป็นสามองค์คือ มหาสรัสวดี มหาลักษมี และมหากาลี หรืออุมาเทวี
ทั้งหกองค์แบ่งปางต่าง ๆ หรือสร้างเทพต่าง ๆ ขึ้นตามความต้องการเช่น พระโลกปาล ๕ องค์ พระทิศปาล ๑๐ องค์ พระเกษตรปาล (เจ้าที่เจ้าทาง) ๔๙ องค์ นพเคราะห์ ๙ องค์ เป็นต้น
คัมภีร์ปุราณต่าง ๆ ได้บัญญัติไว้ว่ามีเทวดาทั้งหมดสามร้อยสามสิบล้านองค์ เพราะสิ่งของทุกชนิดมีเทวดาประจำด้วยทุกสิ่ง ในบ้านเรือนแต่ละส่วนของบ้าน มีเทพประจำอยู่ มีเทพเจ้าแห่งน้ำคือ พระวรุณ หรือพระพิรุณ เทพเจ้าแห่งลมคือ พระวายุเทพ เทพเจ้าแห่งอัญมณีรัตน์คือ พระกุเวร เทพเจ้าแห่งวิชาคือ พระแม่สรัสวดี เทพเจ้าแห่งสมองคือ พระพิฆเนศวรเป็นต้น
ยังมีปางของพระแม่อาทิศักตี และปางนี้ทำให้เห็นว่ามีเทวดานานานาม นานารูป มีเทวดาในรูปนามเพื่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่สิ้นสุด โดยมีหลักว่าบรรดาเทพเจ้าเหล่านั้น เป็นส่วนของพระปรมาตมัน จึงถือกันว่ามีเอกภาพในพหุภาพคือ มีเทพเจ้าองค์เดียวในรูปร่างต่าง ๆ
คัมภีร์ คือ พระเวท ซึ่งมีความหมายกว้างขวางมาก ถ้าต้องการให้เข้าใจดีจะต้องศึกษาศาสตร์หกแขนงเรียกว่า วิชาหกประการ หรือเวทางคศาสตร์ คือ ความรู้เกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ที่ประกอบกันเป็นพระเวททั้งหกประการคือ
ศึกษาศาสตร์ สอนการอ่าน ทำนองของพระเวท
ศิลปศาสตร์ สอนว่าพระเวทหรือคำแต่ละคำของพระเวทและมนตร์ต่าง ๆ นั้น จะมีวิธีนำเอาไปใช้ที่ไหนและอย่างไร
ไวยากรณ์ศาสตร์ สอนว่าคำแต่ละคำของพระเวท พระมนตร์ อุบัติขึ้นมาอย่างไร และออกเสียงอย่างไร
นิรุกติศาสตร์ สอนเรื่องคำพูดหรือภาษาความเข้าใจในภาษา และการรู้จักใช้ถ้อยยคำให้ผู้อื่นเข้าใจ การศึกษาถึงที่มาของคำว่าแต่ละคำ มีอะไรมาประกอบเข้ากันบ้าง
ฉันทศาสตร์ หรือกาพย์ศาสตร์ สอนว่ามนตร์แต่ละมนตร์ของพระเวทอ่านทำนองอย่างไร และมีวิธีการประพันธ์แต่ละกาพย์ แต่ละฉันท์อย่างไรบ้าง
โชยติษศาสตร์ หรือนักษัตรศาสตร์ หรือโหราศาสตร์ หรือดาราศาสตร์ สอนถึงคติการโคจรของดวงดาวทั้งหลาย รวมถึงอุตนิยมวิทยาด้วย
ได้มีการแบ่งการศึกษาพระเวทออกเป็นสี่เล่มคือ ฤคเวท สามเวท ยชุรเวท และอาถรรพเวท และหนังสือพระเวททั้งสี่ดังกล่าวยังแยกออกไปได้อีกสี่เล่มเรียกว่า อุปเวท
ฤคเวท แสดงประวัติศาสตร์ของโลก ไม่ว่าจะเป็นเทวโลก มนุษยโลก หรือเคราะห์โลกต่าง ๆ ที่มีอยู่ในห้วงอวกาศ
อุปเวทของฤคเวทคือ อยุรเวท แปลว่า แพทย์ศาสตร์
สามเวท แสดงกลาศาสตร์ หรือศิลปศาสตร์ต่าง ๆ
อุปเวทของสามเวท คือ คนธรรพเวท ซึ่งมีการวิปัสนาต่าง ๆ โดยใช้ศิลปะแห่งการดนตรี เข้าช่วยให้ตั้งเป็นสมาธิได้
อาชุรเวท แสดงวิธีบูชาบวงสรวงต่าง ๆ ที่เรียกว่า ยัญญกรรม
อุปเวทของอาชุรเวท คือ ธนุรเวท ซึ่งมีวิธีการสร้างอาวุธต่าง ๆ
อาถรรพเวท แสดงการใช้เวทมนตร์ เพื่อให้เกิดผลดี หรือผลร้ายขึ้น
อุปเวทของอาถรรพเวท คือ ศิลปเวท ได้แก่ วิชาศิลปะต่าง ๆ
นอกจากนี้ยังมี คัมภีร์อุปนิษัท หลายอย่างที่แต่งขึ้น เพื่อบรรยายความหมายของพระเวท อีกหลายเล่มด้วยกัน
ต่อมาจึงได้มีการแต่ง คัมภีร์ปุราณะ ๑๘ เล่ม กับคัมภีร์อุปปุราณะ อีก ๑๘ เล่ม เพื่ออธิบายข้อความและความหมายของคัมภีร์พระเวท โดยยกเอาเรื่องจริง ๆ ขึ้นมากล่าว และใช้นิทานเรื่องต่าง ๆ มาสาธกด้วย เพื่อเป็นอุทาหรณ์ประกอบให้เข้าใจชัดเจน
นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์อื่น ๆ ที่เป็นทำนองอรรถาธิบาย คัมภีร์พระเวทอีกมาก เช่น คัมภีร์สังหิตา คัมภีร์พระพรหมครันถ์ เป็นต้น รวมกันแล้วนับได้หลายพันเล่ม
คัมภีร์ที่เป็นสาระแห่งคัมภีร์ทั้งหลายยังมีอีกสองเล่ม คือ คัมภีร์มหาภารตะ ในคัมภีร์เล่มนี้มีอยู่ตอนหนึ่งชื่อ ศรีมัทภควคีตา นับว่าเป็นตอนที่สำคัญที่สุดเป็นที่คารวะของนักคิด นักการศาสนา และนักปรัชญาทุกระบบ หลักธรรมคำสอนใน ภควัทคีตา มีที่มาจากแหล่งคัมภีร์อุปนิษัท ซึ่งเป็นแขนงหนึ่งของคัมภีร์พระเวท
คัมภีร์อีกเล่มหนึ่งคือ คัมภีร์รามายณะ เป็นประวัติเรื่องราวของพระราม ชาวฮินดูเชื่อกันว่า พระรามเป็นอวตารปางที่เจ็ดของพระวิษณุ และเป็นผู้มีคติวิเศษในการปฎิบัติมนุษยธรรม
ในคัมภีร์ของสนาตนธรรมทุก ๆ คัมภีร์สอนไว้ว่า ชีว คือ วิญญาณนั้ไม่มีวันตาย และไม่สูญหาย มีอยู่ตลอดเวลา เพียงแต่หมุนเวียนอยู่โดยกรรมคติ ที่กระทำอยู่ตลอดเวลา
ตามคติของพราหมณ์ฮินดู ถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นอีกสาขาหนึ่งของสนาตนธรรม พระพุทธเจ้าเป็นอวตารปางที่เก้าของพระวิษณุ ในทำนองนี้ศาสนาทุกศาสนาจึงเป็นองค์ประกอบของสนาตนธรรม ด้วยเหตุนี้ ชาวพราหมณ์ฮินดูจึงมิได้มีจิตใจรังเกียจเดียดฉันท์ศาสนาใด บรรดาศาสนิกชนของทุกศาสนา เป็นเสมือนพี่น้องกัน
สัญลักษณ์ทางศาสนา สำคัญที่สุดคือ ตัวอักษรที่อ่านว่า โอม มาจาก อ + อุ + มะ เป็นแทนพระตรีมูรตีเทพ คือ อ แทนพระนารายณ์หรือพระวิษณุ อุ แทนพระพรหมา ม แทนพระศิวะ หรือพระอิศวร เมื่อรวมกันเข้าเป็นอักษรเดียวกลายเป็นอักษร โอม แทนพระปรมาตมัน พระเจ้าสูงสุด ไม่มีตัวตน สัญลักษณ์นี้ทุกนิกาย ทุกลัทธิ ในศาสนาพราหมณ์ฮินดู ต้องใช้เป็นประจำ
สัญลักษณ์รองลงมาคือ เครื่องหมายสวัสดิกะ เป็นสัญลักษณ์ที่ทุกนิกาย ทุกลัทธิใช้กันมาก เป็นเครื่องหมายแทนพระพิฆเนศวร หรือพระคเณศ หมายถึงเป็นมงคลทุกด้าน ทุกมุม ปราศจากอุปสรรคทั้งปวง
รองลงมามีเครื่องหมายสัญลักษณ์หลายอย่าง ซึ่งแต่ละนิกายและลัทธิ ใช้กันประจำนิกาย และลัทธิ เช่น นิกายไศวะ ใช้รูปตรีศูล นิกายไวษณพ ใช้รูปจักร เป็นต้น
ในประเทศไทย เทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ใช้ทั้งตรีศูล และตัวอักษร โอม เป็นสัญลักษณ์ ทางสมาคมฮินดูสมาชเอาตัวอักษรโอม เป็นสัญลักษณ์ สมาคมฮินดูธรรมสภา เอารูปโอม ล้อมรอบด้วยสวัสดิกะ และจักร ในรูปวงกลมเป็นสัญลักษณ์
ทั้งสามสถาบัน รวมกันเรียกว่า องค์การศาสนาพราหมณ์ฮินดู ซึ่งมัสัญลักษณ์ร่วมคือ ตัวโอม อยู่ระหว่างตรีศูล
นอกจากนี้ยังมีรูปดอกบัว สังข์ คฑา ช้าง โค พระอาทิตย์ นกยูง สิงโต งู คันไถ และอื่น ๆ ใช้เป็นสัญลักษณ์ประจำนิกาย และประจำลัทธิด้วย แต่ต้องมีตัวโอมอยู่เสมอ
นิกายและลัทธิ มีสี่นิกายด้วยกัน คือ
นิกายไศวะ ถือพระอิศวรเป็นใหญ่ และนับถือพระนารายณ์ พระพรหม กับเทพอื่น ๆ ด้วย
นิกายไวษณพ ถือพระนารายณ์เป็นใหญ่ และนับถือพระศิวะ พระพรหมา กับเทพอื่น ๆ ด้วย
นิกายศากฺต ถือว่าพระแม่อาทิศักตี หรือพระแม่ปราศักตี เป็นใหญ่ และนับถือพระพรหมา พระนารายณ์ กับเทพอื่น ๆ ด้วย
นิกายสมารฺต ถือเทพห้าองค์ด้วยกัน คือ พระพิฆคเณศวร พระแม่ภวานี คือ พระศักตี พระพรหมา พระนารายณ์ พระศิวะ ไม่มีองค์ใดใหญ่กว่าโดยเฉพาะ
มีลัทธิที่แยกจากทั้งสี่นิกาย อีกหลายร้อยนิกาย แต่ละนิกายมีเทพสำหรับสักการะบูชา มีปรมาจารย์ผู้กำเนิดนิกาย แต่ทุกนิกายถือว่า พระปรมาตมัน เป็นพระเจ้าสูงสุด และใช้ตัวอักษร โอม เป็นสัญลักษณ์ทั้งสิ้น
จุดมุ่งหมายของศาสนา เพื่อนำบุคคลไปสู่ความหลุดพ้น ทั้งจากกองกิเลส และกองทุกข์ ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อหลุดพ้นไปแล้วก็จะกลายเป็นเอกภาพ มีภาวะเป็นอันหนึ่งอันเดียวไปกับพระปรมาตมัน ภาวะดังกล่าวเรียกว่า โมกฺษคติ ไม่ต้องมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป
ในโลกนี้มีโยนิ (คือ สัตว์ทั้งหลาย) อยู่ถึงแปดล้านสี่แสนชนิดด้วยกัน มีสัตว์เพียงประเภทเดียวเท่านั้น ที่มีลัทธิพิเศษเฉพาะคือ มนุษย์ ที่จะเข้าถึงโมกฺษ ได้
ศาสนาพรหมณ์ฮินดู ไม่ปล่อยให้เป็นภาระของเทพเจ้า เป็นที่พึ่งฝ่ายเดียว แต่ยังอาศัยกรรมของตน ฉะนั้นคัมภีร์พระเวทจึงได้สอนไว้ว่า มนุษย์ทั้งหลายควรปฎิบัติตามคติสี่ประการคือ ธรรมะ อรรถะ กามะ และโมกษะ
อรรถ แปลว่า ทรัพย์สมบัติ หรือสิ่งของที่ต้องการ
กาม แปลว่า ความปรารถนา ความประสงค์ ความต้องการ การอุปโภค บริโภค สิ่งต่าง ๆ ก็จัดเป็นกามเหมือนกัน
มนุษย์ เมื่อสำเร็จโมกษธรรมแล้ว ยังไม่ควรจะละเลิก อรรถะ กับกามะ โดยสิ้นเชิง ศาสนาพราหมณ์ฮินดูในดินแดนสุวรรณภูมิ
สมัยก่อนรัตนโกสินทร์ ศาสนาพราหมณ์ฮินดู ได้เข้ามาสู่ดินแดนสุวรรณภูมิ ก่อนสมัยทวารวดี คัมภีร์ชาดกในพระพุทธศาสนาเช่นพระมหาชนก คัมภีร์รามายณะก็กล่าวถึงดินแดนในสุวรรณภูมิ และสุวรรณทวีปไว้
เมื่อปี พ.ศ.๓๐๓ คณาจารย์พราหมณ์ที่ติดตามพระโสณะเถระกับพระอุตรเถระ ศาสนทูตของพระเจ้าอโศก ฯ เข้ามายังสุวรรณภูมิ จุดแรกที่ทั้งสององค์มาประดิษฐานพระพุทธศาสนาคือ นครปฐม ตอนนี้นับเป็นยุคแรก ๆ ของพราหมณ์ในประเทศไทย ประจักษ์พยานในการเผยแพร่ศาสนาพราหมณ์ คือ ปฏิมากรรม และปูชนียวัตถุของศาสนาเช่นเทวรูป เทวาลัย พบที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และกาญจนบุรี ที่ตำบลพงตึก
โบราณวัตถุของพราหมณ์ดังกล่าวมักจะพบคู่กับปฏิมากรรมในพระพุทธศาสนาเช่น เมื่อพบพระพุทธรูป พระเจดีย์ หรือพระปรางค์ ณ ที่ใดก็มักจะพบเทวรูป และเทวสถานของพราหมณ์ พร้อมกับวัตถุทางศาสนา เช่น เสาชิงช้า เป็นต้น ณ ที่นั้นด้วยเสมอ
ประมาณปี พ.ศ.๑๘๐๐ พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้แพร่จากอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย ตั้งมั่นอยู่ที่สุโขทัย พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาก ในขณะเดียวกันก็ทรงเอาธุระในศาสนาพราหมณ์ฮินดูด้วย ในราชสำนักมีพราหมณ์ พระศรีมโหสถ พระมหาราชครู เป็นปุโรหิต ถวายความรู้วิทยาการของนักรบและวิทยาการของกษัตริย์ มีการประกอบพิธีกรรมตามพระเวท อันสืบเนื่องมาเป็นพระราชพิธีจนถึงปัจจุบัน
บรรดาพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเบีดเบียนชีวิตมนุษย์ และสัตว์ที่เรียกว่า ยัญกรรมนั้น คณาจารย์พราหมณ์ในพระราชอาณาจักรไทยได้เลิกไปหมดสิ้น เพราะขัดกับพื้นฐานของสังคมชาวพุทธ คงเหลือแต่การประกอบพิธีสาธยายพระเวท สร้างมงคล ล้างอัปมงคล ดำเนินงานทางศาสนาคู่ไปกับพระพุทธศาสนา อีกทั้งคณาจารย์พราหมณ์ได้เป็นอุบาสก ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เจริญรอยตามพระยุคลบาท พระมหากษัตริย์แห่งพระราชอาณาจักรไทยมาตั้งแต่โบราณกาล ด้วยเหตุนี้จึงเกิดมีคำว่าพุทธกับไสย อิงอาศัยกัน ปัจจุบันมีพิธีกรรมพราหมณ์บางอย่างก็มีพุทธเจือปนเช่น มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ท้ายพระราชพิธีตรียัมปวาย ตรีปาวาย เป็นต้น เรื่องของพุทธก็มีพราหมณ์แทรกเช่น การเดินประทักษิณรอบวัตถุสถานมงคล การจุมเจิมลูกนิมิตร การรดน้ำสังข์ให้เจ้านาค การเบิกพระเนตรพระพุทธปฏิมา เป็นต้น
ในการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในพระราชอาณาจักรไทยตามลัทธิลังกาวงศ์นับว่าเป็นยุคที่สองของพราหมณ์ในไทย ยุคนี้ห่างจากยุคแรกประมาณ ๑,๕๐๐ ปี ได้ปรากฎปูชนียวัตถุในศาสนาพราหมณ์ ในหลาย ๆ ที่ขุดพบในอาณาจักรสุโขทัยรวมทั้งจารึกพระเวทในศาสนาพราหมณ์อีกเป็นจำนวนมาก
เมื่อปี พ.ศ.๓๐๓ คณาจารย์พราหมณ์ที่ติดตามพระโสณะเถระกับพระอุตรเถระ ศาสนทูตของพระเจ้าอโศก ฯ เข้ามายังสุวรรณภูมิ จุดแรกที่ทั้งสององค์มาประดิษฐานพระพุทธศาสนาคือ นครปฐม ตอนนี้นับเป็นยุคแรก ๆ ของพราหมณ์ในประเทศไทย ประจักษ์พยานในการเผยแพร่ศาสนาพราหมณ์ คือ ปฏิมากรรม และปูชนียวัตถุของศาสนาเช่นเทวรูป เทวาลัย พบที่จังหวัดนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี และกาญจนบุรี ที่ตำบลพงตึก
โบราณวัตถุของพราหมณ์ดังกล่าวมักจะพบคู่กับปฏิมากรรมในพระพุทธศาสนาเช่น เมื่อพบพระพุทธรูป พระเจดีย์ หรือพระปรางค์ ณ ที่ใดก็มักจะพบเทวรูป และเทวสถานของพราหมณ์ พร้อมกับวัตถุทางศาสนา เช่น เสาชิงช้า เป็นต้น ณ ที่นั้นด้วยเสมอ
ประมาณปี พ.ศ.๑๘๐๐ พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้แพร่จากอินเดียเข้าสู่ประเทศไทย ตั้งมั่นอยู่ที่สุโขทัย พระมหากษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ทรงเอาพระทัยใส่ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาก ในขณะเดียวกันก็ทรงเอาธุระในศาสนาพราหมณ์ฮินดูด้วย ในราชสำนักมีพราหมณ์ พระศรีมโหสถ พระมหาราชครู เป็นปุโรหิต ถวายความรู้วิทยาการของนักรบและวิทยาการของกษัตริย์ มีการประกอบพิธีกรรมตามพระเวท อันสืบเนื่องมาเป็นพระราชพิธีจนถึงปัจจุบัน
บรรดาพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเบีดเบียนชีวิตมนุษย์ และสัตว์ที่เรียกว่า ยัญกรรมนั้น คณาจารย์พราหมณ์ในพระราชอาณาจักรไทยได้เลิกไปหมดสิ้น เพราะขัดกับพื้นฐานของสังคมชาวพุทธ คงเหลือแต่การประกอบพิธีสาธยายพระเวท สร้างมงคล ล้างอัปมงคล ดำเนินงานทางศาสนาคู่ไปกับพระพุทธศาสนา อีกทั้งคณาจารย์พราหมณ์ได้เป็นอุบาสก ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เจริญรอยตามพระยุคลบาท พระมหากษัตริย์แห่งพระราชอาณาจักรไทยมาตั้งแต่โบราณกาล ด้วยเหตุนี้จึงเกิดมีคำว่าพุทธกับไสย อิงอาศัยกัน ปัจจุบันมีพิธีกรรมพราหมณ์บางอย่างก็มีพุทธเจือปนเช่น มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ท้ายพระราชพิธีตรียัมปวาย ตรีปาวาย เป็นต้น เรื่องของพุทธก็มีพราหมณ์แทรกเช่น การเดินประทักษิณรอบวัตถุสถานมงคล การจุมเจิมลูกนิมิตร การรดน้ำสังข์ให้เจ้านาค การเบิกพระเนตรพระพุทธปฏิมา เป็นต้น
ในการประดิษฐานพระพุทธศาสนาในพระราชอาณาจักรไทยตามลัทธิลังกาวงศ์นับว่าเป็นยุคที่สองของพราหมณ์ในไทย ยุคนี้ห่างจากยุคแรกประมาณ ๑,๕๐๐ ปี ได้ปรากฎปูชนียวัตถุในศาสนาพราหมณ์ ในหลาย ๆ ที่ขุดพบในอาณาจักรสุโขทัยรวมทั้งจารึกพระเวทในศาสนาพราหมณ์อีกเป็นจำนวนมาก
จากตำนานและข้อสันนิษฐานต่าง ๆ จะเห็นว่าบรรดาวิชาการต่าง ๆ ที่ได้ศึกษากันมาในสมัยพันกว่าปีมานี้ได้อาศัยวิชาในแขนงอุปเวท อาถรรพเวท เป็นส่วนมากเช่น อายุรเวทว่าด้วยทางเภสัช การปรุงยาและการแพทย์ทุกแขนง นิติเวทว่าด้วยการปกครองกฎหมายจะเขียนแบบแผนของบ้านเมืองเป็นต้น ตลอดจนวรรณคดีเช่น หนังสือเรื่องสมุทโฆษคำฉันท์ ฉบับที่พระมหาราชครูแต่ง และหนังสือจินดามณี ต้นตำราเรียนภาษาไทยซึ่งสมเด็จพระนารายณ์ ฯ โปรดให้พระยาโหราธิบดี (พราหมณ์) แต่งเอาไว้เพื่อใช้สอนกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นต้น ดังนั้นในสมัยก่อนที่ปรึกษาราชการงานเมืองจึงมีพราหมณ์ปุโรหิตอยู่ด้วยเสมอ เพราะโดยตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนวิชาการต่าง ๆ ด้วย
ตระกูลของพราหมณ์ ที่เข้ามาในพระราชอาณาจักรไทยมีอยู่มากมาย ตัวอย่างตระกูลพราหมณ์สำคัญครั้งสมัยอยุธยาคือ
พราหมณ์ศิริวัฒนะ ได้เป็นพระมหาราชครู พระราชปุโรหิตาจารย์ราชสุภาวดีศรีบรมหงส์วงศ์บริโสดม พราหมณ์ทิชาจารย์ พระมหาราชครู ได้มีลูกหลานให้กำเนิดสกุลสำคัญ ๆ สืบต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ อันเป็นต้นตระกูลทองอิน อินทรพล นรินทรกุล สิงหเสนี จันทรโรจนวงค์ ชัชกุล ภูมิรัตน์ บูรณศิริ สุจริตกุล ศิริวัฒนกุล
หน้าที่ของพราหมณ์ แบ่งออกได้เป็นพราหมณ์โหรดาจารย์ ผู้บูชาในลัทธิหราหมณ์ อุทาคาดา ผู้สวดขับดุษฎีสังเวย และพราหมณ์อัชวรรย ผู้จัดทำพิธีในลัทธิ
พรหมณ์ได้ปฎิบัติทางราชพิธีต่อมาทุกรัชกาล จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้โปรดเกล้า ฯ ให้ยกเลิกกรมพิธีพราหมณ์ในกระทรวงวัง
ปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้า ฯ ให้พราหมณ์ปฏิบัติพระราชพิธีสำหรับพระองค์และประเทศชาติต่อไป โดยให้ขึ้นตรงต่อสำนักพระราชวัง และปฏิบัติศาสนกิจที่เทวสถาน สำหรับพระนครข้างวัดสุทัศนเทพวราราม เสาชิงช้า กรุงเทพ ฯ
ตำแหน่งพราหมณ์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีอยู่หลายตำแหน่งด้วยกันคือ
พระมหาราชครู พระครูมหิธรธรรมราชสุภาวดี นา ๑๐,๐๐๐
พระราชครู พระครูพิเชดษรราชธิบดีศรีษรคม นา ๕,๐๐๐
พระธรรมสาตรราชโหรดาจารย์ ปลัดมหิธร นา ๓,๐๐๐
พระอัฐยาปรีชาธิบดีโหระดาจารย์ ปลัดพระครูพิเชด นา ๓,๐๐๐
พระญาณประภาษอธิบดีโหระดาจารย์ นา ๓,๐๐๐
ขุนไชยอาญามหาวิสุทธิปรีชาจารย์ นาคล ๑,๕๐๐
ขุนจินดาพิรมยพรมเทพวิสุทธิวรษาจารย์ นาดล ๑,๕๐๐
พระมหาราชครู พระราชประโรหิตาจารย์ ราชสุภาวดี ฯ นา ๑๐,๐๐๐
พระราชครู พระครูพิราม ราชสุภาวดี ฯ นา ๕,๐๐๐
พระเทพราชธาดาบดีศรีวาสุเทพ ปลัดพระราชครูปุโรหิต นา ๓,๐๐๐
พระจักปานีศรีสัจวิสุทธิ ปลัดพระครูพิราม นา ๓,๐๐๐
พระเกษมราชสุภาวดี ศรีมณธาดูลราช เจ้ากรมแพ่งกระเษม นา ๓,๐๐๐
ขุนสุภาเทพ ๑ ขุนสภาสภาพาน ๑ ปลัดนั่งศาล นาดล ๔๐๐
ขุนหลวงพระไกรศรี ราชสุภาวดี ฯ เจ้ากรมแพ่งกลาง นา ๓,๐๐๐
ขุนราชสุภา ๑ ขุนสภาไชย ๑ ปลัดนั่งศาล นาดล ๔๐๐
พระครูราชพิทธี จางวาง นา ๑,๐๐๐
พระครูอัศฎาจารย์ เจ้ากรม นา ๘๐๐
หลวงราชมณี ปลัดกรม นา ๖๐๐
ขุนพรมไสมย ครูโล้ชิงช้า นา ๔๐๐
ขุนธรรมณะรายสมุบาญชีย นา ๓๐๐
ขุนในกรม นา ๓๐๐ หมื่นในกรม นา ๒๐๐ พราหมเลวรักษาเทวาสถาน นาดล ๕๐
พระอิศวาธิบดี ศรีสิทธิพฤทธิบาท จางวาง นา ๑,๐๐๐
ขุนในกรมพฤทธิบาท นา ๓๐๐ หมื่นในกรมพฤทธิบาท นา ๒๐๐
ประแดงราชมณี นา ๒๐๐
ในปี พ.ศ.๒๔๒๒ ศาสนิกพราหมณ์จากทางภาคใต้ของอินเดียที่อยู่ในไทย ได้ร่วมกันจัดสร้างศาลาเล็ก ๆ สำหรับประดิษฐานเทวรูปพระแม่อุมาเทวีไว้เคารพบูชา ต่อมาเมื่อจำนวนศาสนิกชนมีมากขึ้น จึงได้ไปสร้างวัดวังวิษณุ โดยศาสนิกชนพราหมณ์อุตตรประเทศได้ร่วมกันสร้างขึ้น
ศาสนสถาน
ไศลปุตรี เป็นปางแรก พระแม่อุมาเป็นบุตรีของภูเขาคือเป็นธิดาของหิมพาน ซึ่งเป็นราชาแห่งภูเขาทั้งหลาย
พรหมฮาริณี เป็นปางที่สอง เป็นปางที่เกิดขึ้นเอง ไม่มีพ่อแม่ และไม่แต่งงาน อยู่เป็นโสด
จันทร ฆัณฎา เป็นปางที่สาม เป็นปางที่ปราบอสูรด้วยเสียงระฆัง
ภูษามาณฑา เป็นปางที่สี่ เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ปางทุรคา เป็นปางปราบอสูร ด้วยอาวุธทั้งสี่กร
ษกันทมาตา เป็นปางที่ห้า เป็นปางเลี้ยงพระคันธกุมาร ซึ่งเป็นโอรสพระศิวะกับอุมาเทวีหรือปารวดี ซึ่งจะไปปราบอสูรต่อไป
กาตยายนี เป็นปางที่หก เป็นปางเทวีของปีศาจ โดยใช้พวกภูติผีปีศาจไปปราบอสูร
กาลราตรี เป็นปางที่เจ็ด เป็นปางเสวยเลือดอสูร
มหาเคารี เป็นปางที่แปด เป็นปางเป็นเจ้าแม่แห่งธัญชาติ ทำให้ธัญชาติสมบูรณ์
สิทธิธาตรี เป็นปางที่เก้า เป็นปางที่กลับเป็นเจ้าแม่แห่งความสำเร็จ
วันสำคัญอันดับที่สอง เรียกว่า อกษัยตริติยา ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๖ เชื่อกันว่าบุญที่ทำในวันนี้ จะทรงอยู่ชั่วนิรันดร และในวันนี้ ปรศุราม อวตารปางที่ ๕ ของพระนารายณ์ จะมาปรากฎ
วันสำคัญอันดับสาม เรียกว่า นฤสิงหจตุรทศี ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันปรากฎของพระนารายณ์ ปางที่สามชื่อ นฤสิงห์ การประกอบพิธีบูชาพระนารายณ์ในวันนี้ เพื่อพิชิตศัตรู
วันสำคัญอันดับสี่ เรียกว่า ไวศาขีปูรณิมา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ เป็นวันศูนย์กลางของสงกรานต์ ถือว่าเป็นวันเพ็ญแรกของปี มีการทำพิธีบูชาไฟ และทำบุญตามประเพณีของตระกูล เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงมาสู่โลก ตรัสรู้ และปรินิพพาน ถ้าที่ใดมีพระพุทธรูปอยู่จะต้องแห่พระพุทธรูปนั้น
วันสำคัญอันดับห้า เรียกว่า เมษสงกรานต์ ตรงกับวันที่ ๑๓ เมษายน และทุกปี จัดทำการบูชาพระนารายณ์ บางรัฐถือว่าเป็นวันปีใหม่ด้วย
วันสำคัญอันดับหก เป็นวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๗ เป็นวันแรกที่น้ำจากพรหมโลกไหลลงมาสู่โลกนี้ ที่ต้นของแม่น้ำคงคาคือ น้ำจากเศียรพระศิวะไหลลงสู่ภูเขาหิมาลัย แล้วลงสู่แม่น้ำคงคา ชาวบ้านที่อยู่ใกล้แม่น้ำคงคาจะจัดเล่นกีฬาในน้ำ
วันสำคัญอันดับเจ็ด เรียกว่า นิรชลาเอกทศี ขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๗ เป็นวันบูชาพระนารายณ์ โดยการอดอาหาร และน้ำ เป็นเวลา ๑๔ ชั่วโมง
วันสำคัญอันดับแปด เรียกว่า ชเชษฐิปูรณิมา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๗ เป็นวันเริ่มจตุรมาศคือ วันเริ่มต้นเข้าพรรษา เป็นเวลาสี่เดือน ผู้เป็นสันยาสี จะต้องอยู่ประจำที่สี่เดือน
วันสำคัญอันดับเก้า เรียกว่า วันรถยาตรา ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๘ มีการนำรูปปฎิมาของพระนารายณ์ ขึ้นรถแห่ภายในเขตหมู่บ้านเพื่อให้คนบูชา
วันสำคัญอันดับสิบ เรียกว่า คุรุปูรณิมา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ เป็นวันบูชาครูบาอาจารย์ มหาฤษีวยาส ได้รับความสำเร็จในการแต่งตำราต่าง ๆ วันเริ่มต้นเขียนตำรา และวันเขียนตำราจบ วันเริ่มต้นสอนศิษย์ พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา ธรรมจักรกัปวัตนสูตรแก่ปัญจวัคคีย์ ในวันนี้
วันสำคัญอันดับ ๑๑ เรียกว่า นาคปัญจมี ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๙ ชาวพราหมณ์ฮินดูทำการบูชาพญานาค เอาน้ำนมให้งู และพญานาคกิน
วันสำคัญอันดับ ๑๒ เรียกว่า ศราวณีปูรณิมา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ พวกพราหมณ์จะพากันไปสู่แม่น้ำสายต่า งๆ แต่เช้า ทำพิธีทางพระเวทจนบ่าย ต้องอยู่ในน้ำตลอดระยะเวลาที่อ่านคัมภีร์พระเวท โดยการกล่าวอุทิศบุญกุศล ที่ทำนั้นให้แก่บรรพบุรุษทุกคน ตอนเย็นจะมีศิษย์มาหาอาจารย์ อาจารย์ก็ผูกสายสิญจ์ที่ข้อมือให้ ถือว่าเป็นมงคลตลอดปี
วันสำคัญอันดับ ๑๓ เรียกว่า คเณศจตุรถี แรม ๔ ค่ำ เดือน ๙ เป็นวันบูชาพระคเณศ ต้องอดอาหารตลอดวัน จนกว่าจะทำพิธีเสร็จ และไหว้พระจันทร์ที่ปรากฎขึ้นแล้ว จึงจะบริโภคอาหารได้
วันสำคัญอันดับ ๑๔ เรียกว่า หลษัษฐี แรม ๖ ค่ำ เดือน ๙ เป็นวันบูชาสุรยิเทพ และพี่ชายของพระกฤษณะ ชื่อ พลเทพ ซึ่งเป็นอวตารของพญานาค
วันสำคัญอันดับ ๑๕ เรียกว่า ศรีกฤษณะชนมาอัฎฐมี แรม ๘ ค่ำ เดือน ๙ เป็นวันที่พระกฤษณะมาปรากฎ มีการฉลองอย่างมโหฬาร ผู้ที่เคร่งครัดจะอดอาหารตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงคืน
วันสำคัญอันดับ ๑๖ เรียกว่า กุโศตาปาฎนีอมาวสยา แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ อาจารย์และศิษย์ที่กำลังเรียนพระเวทอยู่จะไปเก็บหญ้าคา เพื่อนำมาใช้ในพิธีต่าง ๆ
วันสำคัญอันดับ ๑๗ เรียกว่า หรตาลิกาตฤติยา ขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๑๐ เป็นวันสำคัญของพระแม่อุมา และพระศิวะ ตอนที่พระแม่อุมายังเป็นพรหมจาริณีกุมารี ได้บำเพ็ญตบะวิงวอนให้พระศิวะแต่งงานด้วย พระศิวะได้มาปรากฎและให้สัจจสัญญาว่า จะแต่งงานด้วย และให้พรว่า สตรีใดบำเพ็ญตบะ ในวันนี้จะได้สามีที่ดี และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
วันสำคัญอันดับ ๑๘ เรียกว่า มหาลัยปูรณิมา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐ นับแต่วันนี้ไปจนถึงวันแรม ๕ ค่ำ เดือน ๑๐ ในระยะเวลา ๑๖ วัน จะมีการทำพิธีบูชาดวงวิญญาณของบรรพบุรุษ ที่ล่วงลับไปแล้ว โดยการเชิญสันยาสี มาฉันอาหารที่บ้าน เป็นการทำบุญให้ผู้ตาย ซึ่งต้องทำให้ตางกับดิถีที่ตาย
วันสำคัญอันดับ ๑๙ เรียกว่า นวราตรี ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึง ๙ ค่ำ เดือน ๑๑ จัดเป็นพิธีบูชาติดต่อกันไป ๙ วัน
วันสำคัญอันดับ ๒๐ เรียกว่า วิชยาทศมี ขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือน ๑๑ ทำพิธีบูชาพระอุมาเทวี เป็นวันที่พระอุมาปราบอสูร ได้รับชัยชนะ ใครบูชาพระอุมาในวันนี้จะได้ชัยชนะตลอดปี ถือว่าเป็นวันสำคัญของวรรณกษัตริย์ อาวุธทุกประเภทที่มีอยู่ในบ้าน จะต้องนำออกมาให้พราหมณ์เจิม เพื่อความเป็นสิริมงคล
วันสำคัญอันดับ ๒๑ เรียกว่า ศรทปูรณิมา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ มีการทำพิธีบุชาพระนารายณ์ สิ่งที่นำมาบูชาจะเป็นประเภทใด ก็ตามต้องเป็นสีขาวล้วน วันนี้เป็นวันบรรจบครบจตุรมาศ ตรงกับวันออกพรรษาของไทย
วันสำคัญอันดับ ๒๒ เรียกว่า อันเตรส แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๑๑ มีการทำพิธีบูชาพระลักษมี พระคเณศ และพระกุเวร พระแม่สุรัสวดี และพระอินทร
วันสำคัญอันดับ ๒๓ เรียกว่า นรกจตุรทสี แรม ๔ ค่ำ เดือน ๑๑ เวลากลางวันทำพิธีบูชาพระยม เวลากลางคืน จุดประทีปถวายพระยม เชื่อกันว่าเมื่อทำแล้วจะไม่ไปสู่นรก หากมีกรรมหนักหนีนรกไม่พ้น ก็จะเดินทางไปนรก โดยมีประทีปนำทางให้สว่าง วันนี้ถือเป็นวันเกิดของหนุมานด้วย
วันสำคัญอันดับ ๒๔ เรียกว่า ทับมาสิกา แรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ทำการบูชาเทพเจ้าทั้งห้า และถือว่าเป็นวันสำคัญของพระแม่ลักษมี การบูชาทำในตอนเย็น มีการจุดประทีปโคมไฟไว้ในบ้านตลอดคืน เพื่อต้อนรับพระแม่ลักษมี เป็นวันสำคัญของวรรณะแพทศย์
วันสำคัญอันดับ ๒๕ เรียกว่า อันนกูฎะ ขึ้น ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ผู้ทำพิธีจะต้องนำอาหาร ๕๖ อย่าง ไปถวายเทพเจ้าในเทวาลัยทุกแห่ง
วันสำคัญอันดับ ๒๖ เรียกว่า ยมทวิตียา ขึ้น ๒ ค่ำ เดือน ๑๒ วันนี้พี่ชาย หรือน้องชายต้องไปบริโภคอาหารที่บ้านพี่สาว หรือน้องสาว ผู้ชายต้องนำของขวัญไปให้พี่สาว หรือน้องสาว เสร็จแล้วพี่สาว หรือน้องสาว ก็เจิมดิลกที่หน้าพี่ชายหรือน้องชาย เพื่อเป็นสิริมงคล
วันสำคัญอันดับ ๒๗ เรียกว่า วามนทวาทศี ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นวันประสูติของพระวามนะ ซึ่งเป็นอวตารปางที่ ๕ ของพระนารายณ์ มีการบูชาถวายพระรามนะ ทำให้เป็นผู้มีสติปัญญารุ่งเรือง
วันสำคัญอันดับ ๒๘ เรียกว่า ไวกุณฐจตุรทศี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นวันบูชาพระนารายณ์ ผู้ที่ทำการบูชา ตายแล้วจะไปเกิดในโลกไวกุณฐะ มีการบูชาพระนารายณ์กับพระศิวะสลับกันไป การบูชาพระนารายณ์จะได้ผลทางจิตใจ ส่วนการบูชาพระศิวะจะได้ผลทางวัตถุ
วันสำคัญอันดับ ๒๙ เรียกว่า ศารทัยปูาณิมาที่สอง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เป็นการบูชาพระนารายณ์ และถวายประทีปแก่เทพเจ้าทั้งหลายในเทวาลัยต่าง ๆ บนท้องฟ้าและในน้ำ ถือว่าเมื่อถวายประทีปแล้วจะได้รับแสงสว่างในภายใน ดวงประทีปจะนำวิญญาณของผู้ถวาย เมื่อตายไปสู่สุคติ
วันสำคัญอันดับ ๓๐ เป็นวันขึ้น ๖ ค่ำ เดือนยี่ ถึงแรม ๖ ค่ำ เดือนยี่ เป็นเวลา ๑๖ วัน ๑๕ คืน เรียกว่า พระราชพิธีตรียัมพวาย - ตรีปาวาย เป็นพิธีถวายของสักการะเทพเจ้า ที่ให้ความอุดมสมบูรณ์แก่ประเทศและประชาชน โดยพิธีโล้ชิงช้า เป็นตำนานบูชา พระอิศวร
วันสำคัญอันดับ ๓๑ เรียกว่า วสันตปัญจมี ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ มีการบูชาพระแม่สุรัสวดี เพื่อให้มีสติปัญญาดีขึ้น ทำการบูชาพระกามเทพด้วย เพื่อป้องกันมิให้จิตตกไปสู่อารมณ์ฝ่ายต่ำ มีการบูชาพระนารายณ์ด้วย
วันสำคัญอันดับ ๓๒ เรียกว่า มาฆีปูรณิมา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ผู้นับถือเทพเจ้าองค์ใดก็จะบูชาเทพเจ้าองค์นั้น วันนี้เป็นวันที่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ไปเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมาย พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฎิโมกข์
วันสำคัญอันดับ ๓๓ เรียกว่า วันมาฆสงกรานต์ วันที่ ๑๔ มกราคม ของทุกปี เป็นวันสงกรานต์ มีการนำข้าวกับถั่วปนกันถวายเทพเจ้า พราหมณ์ และสันยาสี
วันสำคัญอันดับ ๓๔ เรียกว่า ศิวาราตรี แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ จะมีการบุชาพระศิวะ ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ผู้นับถือเคร่งครัด จะอดอาหารอดนอน ตลอด ๒๔ ชั่วโมง เป็นวันปรากฎของพระศิวะ และวันแต่งงานของพระศิวะ
วันสำคัญอันดับ ๓๕ เรียกว่า โหลีปูรณิมา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ มีการนำเอาของสกปรกออกจากบ้าน ไปรวมไว้ในที่แห่งใดแห่งหนึ่งแล้วเผา ขณะที่เผาจะร้องเพลงประเภทลูกทุ่ง เรียกว่า เพลงโหลี
วันสำคัญอันดับ ๓๖ เรียกว่า โหลี หรือโหลา มีการฉลองโหลี มีเล่นนีต่า ง ๆ เช่นเดียวกับวันสงกรานต์ ที่ไทยเราเล่นสาดน้ำกัน คนส่วนมากถือว่าเป็นวันตรุษอินเดีย เป็นวันสำคัญของพวกกรรมกร วรรณะศูทร
วันแรม หรือขึ้นแปดค่ำ หรือขึ้นสิบเอ็ดค่ำ หรือขึ้นสิบห้าค่ำ ถือว่าเป็นวันพระ ของศาสนาพราหมณ์ฮินดู โรงเรียน สถานศึกษา วิทยาลัย มหาวิทยาลัย ที่สอนคัมภีร์พระเวทด้วย หยุดในวันดังกล่าว เดือนละหกวัน
พิธีสำคัญของศาสนา
พระราชพิธีพืชมงคล - จรดพระนังคับลแรกนาขวัญ เป็นพระราชพิธีสองพิธีต่อเนื่องกันคือ พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีสงฆ์ ประกอบพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ส่วนพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีพราหมณ์ประกอบพิธีที่มณฑลท้องสนามหลวง แต่เดิมมีเแต่พิธีพราหมณ์มาเริ่มมีพิธีสงฆ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พิธีแรกนาขวัญมีปรากฎในคัมภีร์เรื่อง รามายณะ ตอนที่ท้าวชนกไถนา พบนางสีดา ณ เมืองมิถิลา
พระราชพิธีตรียัมพราย - ตรีปาวาย เป็นสองพิธีต่อกันคือ พิธีตรียัมพราย กับพิธีตรีปวาย กระทำในเดือนยี่ ของทุกปี เป็นเวลา ๑๕ วัน ตลอดเวลาดังกล่าวมีการอ่านโศลกสรรเสริญ และถวายโภชนาหารแด่เทพเจ้า พิธีนี้เกี่ยวเนื่องกับพิธีแรกนาขวัญ ซึ่งเป็นพิธีขอพรให้พืชพันธุ์อุดสมบูรณ์ เป็นต้นฤดูการเพาะปลูก
ส่วนพิธีตรียัมปวาย เป็นพิธีที่ทำหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้ว พราหมณ์จึงจัดของถวาายเป็นการระลึกถึงเทพเจ้า ที่กรุณาให้พืชพันธุ์แก่มนุษย์ พิธีนี้จะมีพิธีโล้ชิงช้ารวมอยู่ด้วย หมายถึงการหยั่งความมั่นคงของแผ่นดิน และเป็นการเสริมสร้างให้แผ่นดินมีความมั่นคงยิ่งขึ้น เป็นคติแต่โบราณ
ลำดับการดำเนินการของพระราชพิธีดังกล่าว มีดังต่อไปนี้
- พิธีเปิดประตูศิวาลัย เชิญเทพเจ้าเพื่อประทานพร จากนั้นเป็นพิธีโล้ชิงช้าของนาลิวัน
- การถวายสักการะด้วยโภชนาหาร มีข้าวตอกดอกไม้ เป็นต้น โดยการอ่านโศลกสรรเสริญเทพเจ้า
- การสรงน้ำเทพเจ้า แล้วเชิญขึ้นบรมหงส์ เป็นการส่งเทพเจ้ากลับเรียกว่า กล่อมหงส์ หรือช้าหงส์
ในวันสุดท้ายของพิธีพราหมณ์ จะทำบุญตามศาสนา มีการตัดจุกให้แก่เด็กทั่ว ๆ ไป และถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เป็นเสร็จพิธี
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระราชพิธีสถาปนาพระเจ้าแผ่นดินขึ้นเป็นสมมติเทพ ปกครองแผ่นดิน เป็นใหญ่ในทิศทั้งแปด และเป็นการประกาศให้ประชาชนทราบโดยทั่วกัน ตามคติพราหมณ์จะทำพิธีอัญเชิญเทพเจ้า เพื่อทำการสถาปนาให้พระมหากษัตริย์ขึ้นเป็นสมมติเทพ ดำรงธรรมสิบประการ ปกครองประเทศด้วยความร่มเย็น มีลำดับพิธีโดยย่อคือ
- ทำน้ำอภิเษก เปิดประตูศิวาลัย อัญเชิญพระอิศวร เพื่อประทานพร
- สรงมูรธาภิเษก คือการสรงน้ำเพื่อความมงคล
- ถวายสังวาลย์พราหมณ์ แสดงว่าพระองค์เป็นพราหมณ์
- ถวายพระมหาพิชิยมงกุฎ ประกาศปกครองประเทศโดยธรรม
- เลียบพระนคร เพื่อแสดงพระองค์แก่ทวยราษฎร์ และประทักษิณพระนคร ให้ประชาราษฎร์มีสันติสุข
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา เป็นพิธีสาบานตน ในการรับราชการว่าจะซื่อตรงต่อแผ่นดิน และปกป้องชาติบ้านเมืองให้เกิดความสงบสุข โดยบรรดาข้าราชการจะต้องดื่มน้ำสาบานตน จำเพาะพระพักตร์พระมหากษัตริย์ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งปวง โดยพราหมณ์จะทำพิธีเสกน้ำสาบานนี้ แล้วนำพระแสง (ศาสตราวุธ) ต่าง ๆ ของพระมหากษัตริย์ลงชุบในน้ำที่เสกนั้น เพื่อหมายให้ผู้ที่ไม่ซื่อตรงต่อแผ่นดิน จะต้องได้รับโทษต่าง ๆ นานา
ปัจจุบัน จะประกอบพระราชพิธีนี้ รวมกับการพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ อันมีศักดิ์รามาธิบดี เฉพาะบุคคลที่ได้รับพระราชทานเท่านั้น
พิธีทำในเทวลัยต่าง ๆ มีอยู่หลายพิธีด้วยกัน ดังนี้
พิธีเนาวราตรี บูชาพระแม่อุมาเทวี หรือพระแม่ทุรคาเทวี จัดที่วัดเทพมณเฑียร และวัดวิษณุ ในวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงขึ้น ๙ ค่ำ เดือนห้า ของทุกปี และจัดที่วัดวิษณุ วัดเทพมณเฑียร และวัดศรีมหาอุมาเทวี ในวันขึ้น ๑ ค่ำ ถึงขึ้น ๙ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด รวม ๙ วัน ๙ คืน
พิธีฉลองวันอวตารพระราม ในวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือนห้าของทุกปี จัดที่วัดเทพมณเฑียรและวัดวิษณุ
พิธีสงกรานต์ ในวันที่ ๑๓ เมษายนของทุกปี จัดที่วัดเทพมณเฑียร
พิธีวันวิสาขบูชา ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือนหก จัดที่วัดเทพมณเฑียร
พิธีบูชาพญานาคและหนุมาน ในวันขึ้น ๕ ค่ำ เดือนเก้า จัดที่วัดวิษณุ
พิธีฉลองวันอวตารพระกฤษณา ในวันแรม ๘ ค่ำ เดือนแปด จัดที่วัดวิษณุ และวัดเทพมณเฑียร
พิธีฉลองวันวิชยาทศนี หรือทศหราหรือคูเชร่า ในวันขึ้น ๑๐ ค่ำ เดือนสิบเอ็ด จัดที่วัดวิษณุ วัดเทพมณเฑียร และวัดศรีมหาอุมาเทวี
พิธีดูเซร่าหรือเนาวราตรี เป็นพิธีเก่าแก่สืบเนื่องมาแต่โบราณในสมัยพระเวท และได้ตกทอดมาสู่เมืองไทย โดยชาวอินเดียยุคโบราณ มีการประกอบพิธีบูชาองค์เจ้าแม่และองค์เทพต่าง ๆ รวม ๑๐ วัน ๑๐ คืน ในคืนสุดท้ายจะมีการเชิญองค์เจ้าแม่นำหน้าขบวนแห่ออกไปนอกเทวาลัย
ในงานพิธีประชาชนจะพากันถือศีลกินมังสะวิรัต บ้างก็บำเพ็ญกุศลบนบานศาลกล่าวขอโชคลาภ ในวันวิชัยทัสมิ เจ้าแม่อุมาเทวีจะมาปรากฎในร่างของคนทรงเพื่อแสดงนาฎลีลา นำหน้าขบวนแห่ไปเยี่ยมเยียนบรรดาสานุศิษย์ผู้ศรัทธาตามเคหะสถานบ้านเรือนต่าง ๆ
การประกอบพิธีมีการปลุกเสกร่ายพระเวทรวม ๙ วัน ๙ คืน ถือกันว่าผู้ที่มาร่วมพิธีจะได้รับพระชัยมงคลเป็นสิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว
พิธีประจำสัปดาห์ จัดให้มีทุกวันอาทิตย์ที่วัดเทพมณเฑียร เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๐.๐๐ น. ที่วัดอารยสมาช เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๒.๐๐ และที่วัดวิษณุ เวลา ๑๓.๐๐ - ๑๒.๐๐ น.
หลักธรรมของศาสนา
ธรรมแปลได้หลายอย่าง คือแปลว่าหน้าที่ก็ได้ แปลว่าสิ่งที่ควรทำก็ได้ นอกจากนี้ยังแปลได้ว่าความเจริญ ความรู้ของจริง การรู้ความถูกต้อง และรู้ตรรกศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ความร้อนเป็นธรรมะของไฟ ความสว่างและความร้อนเป็นธรรมะของดวงอาทิตย์ ความเย็นเป็นธรรมะของหิมะ การมองเห็นเป็นธรรมะของดวงตา เป็นต้น
หลักธรรมสำคัญ มีอยู่สี่ประการด้วยกัน คือการปฏิบัติธรรมของพระพรหม เรียกว่าพรหมธรรมคือ
เมตตา หมายถึงความรัก ความสงสาร ที่เกิดจากจิตใจโดยไม่มีตัณหามาเกี่ยว จะต้องมีพร้อมทั้งกาย วาจา ใจ เป็นความคิดปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข
กรุณา หมายถึงความปรารถนาให้ผู้อื่นมีสุข โดยที่ตนจะทำการช่วยเหลือเมื่อมีโอกาส และต้องทำทั้งกายวาจา ใจ โดยไม่มีตัณหามาเกี่ยวข้อง เป็นความคิดปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
มุทิตา หมายถึงความยินดี เมื่อเห็นผู้อื่นมีความสุข ต้องทำทั้งกายวาจาใจ โดยไม่มีตัณหามาเกี่ยวข้อง
อุเบกขา หมายถึงการวางเฉยในสิ่งที่ให้ร้ายแก่ตน และการวางเฉยในฐานะที่เราไม่สามารรถที่จะช่วยเหลือได้ จะต้องมีทั้งกาย วาจา ใจ
ลักษณะธรรมในพระธรรมศาสตร์ มีอยู่สิบประการด้วยกันคือ
ธฤติ ความพอใจ คล้ายกับคำว่าสันโดษ มีความพยายามอยู่ด้วยความมั่นคงเสมอ มีความรู้สึกยินดี และพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ โดยปราศจากความโลภ
กษมา ความอดกลั้นหรือความอดโทษ มีความพากเพียรพยายามอดทน โดยถือเอาความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง
ทมะ การระงับจิตใจ รู้จักข่มใจของตนด้วยความสำนึกในเมตตาและมีสติอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้หวั่นไหวไปตามอารมณ์ได้ง่าย
อัสเตยะ ไม่ลัก ไม่ขโมย
เศาจะ ความบริสุทธิ์ การทำตนเองให้มีความบริสุทธิ์ทั้งกายและใจ
อินทริยนิครหะ การปราบปรามอินทรีทั้งสิบ การอดกลั้นหรือการระงับอินทรีย์ทั้งสิบได้แก่ประสาท ความรู้สึก ทางความรู้คือ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง กับประสาทความรู้สึกทางการกระทำ มีมือ เท้า ทวารหนัก ทวารเบา และลำคอ
ธี เหมือนกับธิติหรือธีรหรือพุทธิ หมายถึงปัญญา สติ ความคิด ความมั่นคงยืนนาน
วิทยา ความรู้ทางปรัชญาศาสตร์คือ รู้ลึกซึ้งและมีความรู้เกี่ยวข้องกับชีวะกับมายาและกับพระพรหม
สตยะ ความจริง ความเห็นอันสุจริต ความซื่อสัตย์ต่อกัน จนเป็นที่ไว้วางใจกัน เชื่อใจกันได้
อโกรธะ ไม่โกรธ มีความอดทน สงบเสงี่ยม รู้จักทำจิตใจให้สงบ
ธรรม อรรถ กาม และโมกษ ผู้ใดปฏิบัติได้สำเร็จเรียกว่าสำเร็จขั้นกรรมโยค ในศาสนาพราหมณ์ ฮินดู คัมภีร์ทุกเล่มอ้างไว้เหมือนกันว่า กรรมเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในชีวิตของมนุษย์ ชีวะของแต่ละคนล้วนเวียนว่ายตายเกิด ประสบทุกข์ สุข โดยอาศัยกรรมทั้งสิ้น กรรมใดที่ได้เลือกกระทำโดยใช้ชญาณ (ความรู้ความถูกต้อง) และถือเอาภักติเป็นทางเลือก กรรมนั้นย่อมเป็นเหตุแห่งความสุข แห่งยศ และแห่งเกียรติ ในยามที่บุคคลนั้นยังมีชีวิตอยู่ และจะได้ประสบสุขในชีวิตหน้าต่อไปอีก ตรงกันข้ามกรรมใดที่เลือกทำโดยปราศจากชญาณ และโดยไม่ถือเอาภักติเป็นเกณฑ์ กรรมนั้นย่อมเป็นเหตุ แห่งความทุกข์ ความเสื่อมยศ และความเสื่อมเกียรติทั้งในชีวิตนี้ และชีวิตหน้า
หลักวรรณาศรม ในคัมภีร์ต่าง ๆ ของหินทุธรรมได้สอนไว้ว่า การกระทำทุกอย่างในโลกนี้ ถ้าจะให้ได้ผลสำเร็จตามความประสงค์แล้ว ควรจะต้องประกอบด้วยองค์สามคือ ชญาณ วิชญาณ และภักติ ถ้ามนุษย์ต้องการจะเข้าให้ถึงองค์สามแห่งการปฏิบัติกรรมโยคแล้ว ก็ควรมีหลักทางวรรณะเข้าประกอบด้วย มนุษย์แบ่งออกเป็นวรรณะใหญ่ ๆ สี่วรรณะด้วยกันคือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพทศย์ และศูทร
พราหมณ์ คำว่าพราหมณ์หมายถึง ผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับพระพรหม พระเวท และอาตมา ในคัมภีร์ธรรมศาสตร์บอกไว้าว่า ผู้ที่มีลักษณะ ๑๑ ประการ ผู้ที่กำหนดผู้นั้นย่อมเป็นพราหมณ์ ได้แก่
ศมะ หมายถึงสุภาพที่ภายในจิตใจไม่มีความยุ่งยากหรือปั่นป่วนด้วยกามโกรธ โลภ หลง แต่ประการใด เป็นธรรมชาติของเขาเช่นนั้นตั้งแต่วัยเด็กมา
ทมะ หมายถึง สภาพที่จิตใจได้รับการระงับไว้แล้ว สำนึกในเมตตา และมีสติอยู่เสมอ
ตบะ หมายถึง ฝักใฝ่แต่ในความประพฤติที่จะหาความรู้ ความจริง
เศาจะ หมายถึง การทำตนเองให้บริสุทธิ์ทั้งกายและใจ
สันโดษ หมายถึง สภาพที่พอใจ หรือมีความสุขอยู่แล้วในทางสันติ
กษมา หมายถึง ความอดกลั้น หรือความอดโทษ ถือเอาความเมตตากรุณาเป็นที่ตั้ง
สรลตา ความซื่อตรงโดยนิสัย พูดตรงและทำตรง
ชญาณะ ความรู้ ความเห็น ความชอบ ความถูกต้อง หรือความวิเวก
ทยา ความมีเมตตากรุณาต่อชีวะทั้งหลาย
อาสติกตา ความเห็นอันสุจริต
สัตยะ จริง หรือ ความจริง หรือ ความเห็นอันสุจริต กล่าวคือ ควรแสดงความซื่อสัตย์ต่อกัน จนเป็นที่ไว้วางใจกันและเชื่อใจกันได้ โดยไม่คิดคดทรยศต่อกันอีกต่อไป
ทั้งหมดเป็นธรรมะของพราหมณ์ นอกจากนี้ในพระธรรมศาสตร์ ยังได้กำหนดการกระทำของชนในแต่ละวรรณะไว้ด้วยว่า วรรณะใดมีการกระทำชนิดใดบ้าง เพื่อสะดวกในการครองชีพของแต่ละวรรณะ เช่น วรรณะพราหมณ์ มีสิทธิ หรือมีหน้าที่ ๖ ประการคือ
ปฐนัง ได้แก่ การศึกษาชั้นสูง และพยายามแสวงหาความจริง
ปารนัง ได้แก่ การให้การศึกษาแก่ผู้อื่น เช่น เป็นครู อาจารย์
ยชนัง ได้แก่ การทำพิธีบูชาต่าง ๆ เช่น พิธียัชญ์ (ยัญญกรรม) การจัดพิธีการกุศลต่าง ๆ
ยาชนำ ได้แก่ การทำพิธีบูชาต่าง ๆ เช่น พิธียัญยกรรม และพิธีการกุศลอื่น ๆ ตามความประสงค์ของผู้ใดผู้หนึ่ง
ทานัง ได้แก่ การทำบุญให้ทาน แก่ผู้อื่นตามกำลังเท่าที่จะสามารถทำได้
ประติครหะ ได้แก่ การรับบุญจากผู้มีจิตศรัทธา
นอกจากสิทธิและหน้าที่ดังกล่าวแล้ว หากจำเป็นในยามวิบัติกาล ก็อาจประกอบการกสิกรรม การค้าขาย หรือธุรกิจอื่น ๆ อีกได้
กษัตริย์ คำว่า กษัตริย์ แปลว่า นักรบ หรือผู้ป้องกันภัย เป็นวรรณะที่สองรองจากวรรณะพราหมณ์ มีสิทธิปกครองประเทศชาติ คือ ทำหน้าที่เป็นพระเจ้าแผ่นดิน คัมภีร์ธรรมศาสตร์บ่งไว้ว่า ผู้ที่มีลักษณะ ๑๑ ประการ ที่กำหนด ผู้นั้นย่อมเป็นกษัตริย์ ได้แก่
ศุรตา ความกล้าหาญ ไม่ขลาดกลัว
วิรยะ แรงหรือกำลัง หรืออำนาจ ความเพียร ความมั่นคงในการรู้เผชิญภัย รบทัพจับศึก
ไธรยะ ความมั่นคง ไม่รู้จักเบื่อหน่ายท้อถอย มีแต่ความเพียรพยายามอย่างมั่นคงเสมอเป็นนิตย์
เตชะ หมายถึง ความมียศ และมีเกียรติ รู้จักใช้อำนาจในทางที่ถูกต้อง และสุจริต
ทานะ การให้ หมายถึง ความมีจิตใจที่เต็มไปด้วยอุปการะ ชอบอุปถัมภ์ บำรุงผู้อื่นเป็นนิตย์
ทมะ เหมือนกับของพราหมณ์
กษมา เหมือนกับของพราหมณ์
พราหมณภักติ ความภักดีต่อพราหมณ์
ปรสันนตา ความร่าเริงยินดี คือความไม่รู้จักวิตก และก่อให้เกิดความปลื้มปิติแก่ผู้อื่น
รักษภาวะ หมายถึง ความเตรียมตัวพร้อมอยู่เสมอ ที่จะปกป้องรักษาประเทศชาติ และช่วยหลือผู้อ่อนแอ หรือเพื่อรักษาความยุติธรรม
สัตยะ ความเห็นอันสุจริต
ทั้งหมดเป็นธรรมะของกษัตริย์ นอกจากนั้นผู้เป็นวรรณะกษัตริย์ ควรมีการกำหนดไว้ด้วยว่า หน้าที่ของตนมีสี่ประการคือ
ปฐนํ ยชนัง ทานัง เหมือนที่กล่าวไว้แล้วในหน้าที่ของพราหมณ์
รักษา เป็นผู้รักษา หรือคุ้มครองป้องกัน รู้จักใช้อาวุธต่าง ๆ รู้จักยุทธวิธี ตลอดจนรู้จักหลักวิชากฎหมายคือ นิติศาสตร์ด้วย
นอกจากสิทธิและหน้าที่ ทั้งสี่ประการดังกล่าวแล้ว หากจำเป็นในยามวิบัติกาล พระธรรมศาสตร์ยังอนุญาตให้ผู้ที่เป็นกษัตริย์ ประกอบอาชีพอื่นได้ เช่น เป็นครู อาจารย์ ทำพิธียัญและการกุศลต่าง ๆ ทำการกสิกรรม และการค้าขายเพื่อการครองชีพได้
แพศย์ เป็นวรรณะที่สาม หมายถึงผู้ที่ทำหน้าที่ประกอบการค้า และพาณิชยการต่าง ๆ คัมภีร์ธรรมศาสตร์ บ่งไว้ว่าผู้ที่มีลักษณะสี่ประการที่กำหนดได้ชื่อว่า เป็นแพศย์ คือ
- มีความเฉลียวฉลาดในการแลกเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ คือ การค้าขาย มีความมั่นใจในอุตสาหกรรมต่าง ๆ
- มีสมองดีในการคิดเลข คำนวนต้นทุนกำไร รู้จักว่าเมื่อไรควรเสีย เมื่อไรควรได้ มีความรอบคอบอยู่เสมอ
- มีความเชื่อถือ และความจงรักภักดีต่อพระเจ้าคือ พระพรหม ตลอดจนคำสอนของพระพรหมด้วย
- มีความนับถือวรรณะพราหมณ์ และวรรณะกษัตริย์
ข้อควรปฎิบัติของชนในวรรรณะแพศย์คือ ให้ทำการประกอบอาชีพกสิกรรม และการค้าขาย แต่ในยามวิบัติกาลพระธรรมศาสตร์ ก็อนุญาตให้ประกอบอาชีพได้ทุกอย่างตามกาละเทศ โดยต้องเป็นอาชีพที่สุจริตเท่านั้น
ศูทร เป็นวรรณะที่สี่ เป็นผู้รับใช้ในกิจการงานต่าง ๆ โดยทั่วไป คัมภีร์พระธรรมศาสตร์ บ่งไว้ว่าผู้ที่มีลักษณะเจ็ดประการ ที่กำหนดได้ชื่อว่า เป็นศูทร คือ
นันรตา แปลว่า ความถ่อม น้อม หรือคดโค้ง งอ อันเป็นลักษณะของผู้ที่ต้องค้อมตัว คอยรับใช้ผู้อื่นอยู่เสมอ ด้วยความเสงี่ยมเจียมตน
นิษกปฎตา ความเป็นผู้ปราศจากความเฉื่อยชา ปราศจากการล่อลวง ตลบแตลง คดโกง มีแต่ความซื่อสัตย์เยี่ยงทาษ และผู้รับใช้ที่ดีมีหลักธรรม และความเจียมตัวเจียมกายแล้วทั้งปวง
เศาจะ อาสติกตา เหมือนของพราหมณ์ ที่กล่าวแล้ว
อสเตยะ ไม่ลัก ไม่ขโมย
สัตยะ เหมือนของพราหมณ์ที่กล่าวแล้ว
อาทรภาวะ เป็นภาวะดีแห่งความเคารพนับถือที่แสดงต่อ หรือมีต่อผู้อื่น ในที่นี้หมายถึง ความเคารพนับถือและจงรักภักดีต่อชนในวรรณะที่สูงกว่า
นอกจากชนในสีวรรณะดังกล่าวแล้ว ยังมีการกล่าวถึงชนอีกวรรณะหนึ่งที่เรียกว่า จัณฑาล ชื่อของวรรณะนี้ไม่เคยมีปรากฎในพระเวท
ในคัมภีร์ต่าง ๆ ของศาสนาพราหมณ์ฮินดูได้สอนไว้ว่า ผู้ที่ถือกำเนิดมาเป็นมนุษย์ทุกคนควรทำตนให้เป็นไปตามวรรณะ ที่ได้กำหนดไว้แล้ว ตอนหนึ่งของพระเวทบ่งไว้ว่าวรรณะย่อมมีติดมากับทุก ๆ คนตั้งแต่เกิด แต่อีกตอนหนึ่งก็บอกว่า วรรณะทั้งสี่มีลักษณะแต่ละวรรณะเป็นอย่างไรบ้าง ก็แล้วแต่คนได้มีลักษณะตรงกับวรรณะใด ก็ให้ถือว่าคน ๆ นั้น เป็นวรรณะนั้น
ในสมัยโบราณผู้เป็นพ่อแม่มักจะพยายามหาวิธะตรวจพิจารณาดูว่า เด็กของตนมีลักษณะตรงกับวรรณะใด อาจจะใช้ความตั้งใจสังเกตเอาว่าเด็กนั้นมีนิสัยอย่างไร ชอบของสิ่งไร ชอบกินอะไร ชอบเล่นของเล่นชนิดไหน เขาจะทดลองสังเกตมาตั้งแต่เด็กอายุได้ ๑ - ๘ ขวบ เมื่อทราบได้แน่นอนแล้วว่า เด็กคนนั้นมีลักษณะส่วนมากไปตรงกับวรรณะใด เขาก็จะจัดการให้ได้เรียนไปตามวรรณะนั้นต่อไป ซึ่งคล้ายกับวิธีแนะแนวในสมัยปัจจุบัน วิธีการดังกล่าวได้กลายเป็นพิธีการทางศาสนา หรือทางขนบธรรมเนียมประเพณี กล่าวคือ พอเด็กอายุได้หกเดือนขึ้นไป ก็จะทำพิธีการป้อนข้าวเด็กเป็นครั้งแรก ในพิธีนี้เมื่อเริ่มทำพิธีบูชาด้วยการสวดมนต์เสร็จแล้ว เขาก็จะนำสิ่งของต่าง ๆ มารวมวางไว้ ณ ที่แห่งหนึ่ง เช่นของกินและของเล่นต่าง ๆ นอกจากนั้นก็มีหนังสือ ปากกา อาวุธ เครื่องใช้ในการแพทย์ เครื่องใช้ในการฝีมือต่าง ๆ ฯลฯ แล้วก็เสี่ยงทาย โดยให้เด็กออกไปอยู่ท่ามกลางสิ่งของเหล่านัน เมื่อเด็กจับสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา พวกผู้ใหญ่ก็มักจะถือเอาสิ่งนั้นเป็นหลักพิสูจน์ถึงกาลอนาคต เช่น ถ้าเด็กจับหนังสือก็ว่าเด็กนั้นมีลักษณะจะเป็นพราหมณ์ ถ้าจับอาวุธก็ว่าจะเป็นกษัตริย์ เป็นต้น ปัจจุบันพิธีนี้จัดทำกันครั้งเดียวระหว่างที่เด็กอายุ ๖ เดือน ถึง ๑ ปี แต่ในสมัยโบราณพิธีนี้ใช้กับเด็กอายุ ๑ ขวบ ถึง ๘ ขวบ ทุก ๆ ปี หรือทุก ๖ เดือน
หลักแห่งอาศรม อันเป็นสถาบันหนึ่งของศาสนาพราหมณ์ฮินดู ได้แบ่งชีวิตมนุษย์ออกเป็นสี่ตอน แต่ละตอนเรียกว่า อาศรม โดยถือว่ามนุษย์เรานี้ส่วนเฉลี่ยอายุได้ ๑๐๐ ปี แบ่งออกเป็นสี่ภาค หรือสี่อาศรม แต่ละอาศรมเป็นเวลา ๒๕ ปี คือ
พรหมจริยอาศรม ในช่วงเวลา ๒๕ ปีแรก มนุษย์มีหน้าที่รับแต่การศึกษาไปตามวรรณะของตน ผู้ที่เข้ามาอยู่ในอาศรมนี้เรียกว่า พรหมจารี เข้ามาอยู่โดยประกอบพิธีที่เรียกว่า อปนยนสันสการ ซึ่งจัดทำแก่เด็กขณะมีวัยได้ ๘ - ๑๒ ขวบ ส่วนมากเด็กที่เป็นพราหมณ์จะทำพิธีนี้เมื่ออายุได้ ๘ ขวบ เด็กที่มีลักษณะวรรณะกษัตริย์จะทำพิธีนี้เมื่ออายุ ๑๑ - ๑๒ ขวบ เด็กที่มีลักษณะวรรณะแพศย์จะทำพิธีนี้เมื่ออายุ ๑๒ ขวบ หรือลงกว่านั้นไปเล็กน้อย ส่สนเด็กที่มีลักษณะวรรณะศูทร ไม่มีการกำหนดอายุ เพราะพวกนี้ต้องรับการศึกษาภาคปฎิบัติมากกว่าวิชาหนังสือ บรรดาพรหมจารีจะต้องอยู่ในพรหมจริย อาศรม จนถึงอายุ ๒๕ ปี เต็ม
คฤห์สถาศรม เป็นระยะที่สองแห่งชีวิต กล่าวคือ เมื่อสำเร็จการศึกษาออกมาแล้ว ก็มาช่วยแบ่งเบาภาระจากบิดามารดา ด้วยการช่วยทำงาน และจัดแจงพิธีสมรสเพื่อรักษาวงศ์ตระกูล ให้มั่นคงยืนนานต่อไป กับทั้งย่างเข้าสู่ความเป็นคฤหัสถ์ หรือฆราวาส แล้วจัดการงานไปตามวรรณะของตน เพื่อการครองชีพต่อไปเป็นระยะเวลานานอีกประมาณ ๒๕ ปี จนถึงอายุประมาณ ๕๐ ปี หรือจนถึงบุตรธิดาของตนเป็นคฤหัส์ถไปแล้ว
วานัปรัสถาศรม เป็นช่วงระยะที่สามแห่งชีวิต เมื่อบุตรธิดาได้สำเร็จการศึกษาออกไปเป็นคฤหัสแล้ว ตัวบิดามารดาผู้ชราก็ควรยกทรัพย์สมบัติมอบให้บุตรธิดา แล้วตนเองก็ออกไปอยู่ที่อาศรม อันตั้งอยู่ในป่าเพื่อเสียสละอุทิศ กำลังร่างกายของตนทำงานให้แก่สังคมส่วนรวม ด้วยการเป็นครูบาอาจารย์ทำหน้าที่ให้การศึกษา และนึกคิดแต่ในทางที่จะทำให้สังคมเจริญ สำหรับสตรีถ้าไม่มีความประสงค์จะไปอยู่ในอาศรมในป่ากับสามี ก็อาจจะอยู่กับบุตรธิดา ต่อไปได้ ส่วนผู้ใดไม่ต้องการจะออกไปอยู่ ณ อาศรมในป่า ก็อาจอยู่ที่บ้านได้ แต่ต้องบำเพ็ญกิจเพื่ออุทิศตนให้แก่สังคมต่อไป จนถึงอายุ ๗๕ ปี
สนยัสตาศรม เป็นระยะสุดท้ายแห่งชีวิตคือ อายุย่างเข้า ๗๕ ปี ก็พาตนไปบวชเป็น สันยาสี บำเพ็ญสมาธิ และพยายามแสวงหาโมกษธรรม หรือความจริงว่าตนเองเป็นใคร พระพรหมคือใคร ในโลกนี้มีสารวัสดุอะไรบ้าง ฯลฯ เมื่อได้คำตอบสำหรับตนเองแล้ว ก็เผยแพร่คำตอบนั้นให้ได้เป็นที่รู้กันไปทั่ว โดยถือว่ามนุษย์ทั้งปวงเป็นประดุจสมาชิกในครอบครัวของตนเอง และในทำนองเดียวกันก็เป็นส่วนหนึ่งของพระพรหมด้วย
หลักคำสอนทางสาสนา
คำสั่งสอนทางศาสนาของครูอาจารย์ต่อ นิสิต นักศึกษา ตอนที่เขาเหล่านั้นลาครูกลับบ้าน หลังจากเรียนสำเร็จแล้ว ซึ่งเป็นสาระสำคัญของธรรมคือ
๑. จงพูดแต่ความสัตย์
๒. จงกระทำปฎิบัติแต่ทางธรรม
๓. อย่าประมาทในการอ่านหนังสือธรรม จงพยายามหาเวลาอ่านหนังสือเกี่ยวกับธรรมพอสมควร ให้เป็นนิตย์
๔. จงเอาจตุปัจจัยถวายแก่ครูอาจารย์แล้วตนเองก็เข้าสู่เพศฆราวาส อย่าทำให้วงศ์ตระกูลต้องขาดสาย จงปฎิบัติหน้าที่ของตนให้เหมาะสมกับสามีที่ดี ซื่อสัตย์ต่อภรรยา และบิดาที่ดีต่อบุตร
๕. จงอย่าประมาทในการพูดความสัจ
๖. จงอย่าประมาทในการกระทำ จงพยายามทำกุศลกรรม
๗. จงอย่าประมาทในการปฎิบัติธรรม
๘. อย่าประมาทในการทำให้มีความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ
๙. อย่าประมาทในการค้นหาความรู้ทางธรรม และในการเผยแพร่ธรรม โดยการอ่านตำรา ๆ และปาฐกถา
๑๐. จงอย่าประมาทในการบูชาสักการะเทพเจ้า เทวดา และบรรพบุรุษของตน
๑๑. จงถือว่ามารดาเป็นเสมือนพระเจ้าองค์หนึ่ง
๑๒. จงถือว่าบิดาเป็นเสมือนพระเจ้าองค์หนึ่ง
๑๓. จงถือว่าครูอาจารย์เสมือนพระเจ้าองค์หนึ่ง
๑๔. ถือว่าแขกที่มาสู่บ้านโดยบังเอิญ เป็นเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง
๑๕. จงกระทำในสิ่งที่ดีที่ไม่เป็นที่ติดฉินนินทา นอกจากนี้ยังต้องปฎิบัติตาม และยึดถือขนบธรรมเนียม ประเพณีแต่โบราณด้วย
๑๖. บรรพบุรุษได้สร้างทางแห่งความสุจริตไว้ จงเดินบนทางนั้น
๑๗. จงฟังและเคารพบุคคลที่มีวัยวุฒิและคุณวุฒิ
๑๘. สิ่งที่จะมอบให้ผู้อื่น จงให้ด้วยความศรัทธา ด้วยความเต็มใจและดีใจ ด้วยความรัก และความอ่อนหวาน อย่าให้ด้วยความไม่ศรัทธา ด้วยความกลัว หรือการถูกบังคับ
๑๙. จงไปหาผู้อาวุโส หรือผู้ปฎิบัติธรรม เมื่อสงสัยในข้อปฎิบัติว่าถูกต้องหรือไม่ เพื่อให้ท่านเหล่านั้นขจัดข้อข้องใจให้
๒๐. สิ่งเหล่านี้เป็นคำสั่ง เป็นคำสั่งสอนจากพระเวท และอุปนิษัท เป็นคำสั่งสอนของครู จึงควรปฎิบัติตาม
การปฎิบัติระหว่างบุคคลต่อบุคคล ในคัมภีร์ และตำราของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ได้บัญญัติการปฎิบัติระหว่างบุคคลไว้เป็นอันมาก เช่น
ปิตฤธรรม คือ การปฎิบัติหน้าที่ของบิดาต่อบุตร บิดาต้องรับหน้าที่เลี้ยงดูบุตร ถึงบุตรมีอายุบรรลุนิติภาวะในการเลี้ยงดูบุตรนั้น
มคฤธรรม คือ การปฎิบัติหน้าที่ของมารดาต่อบุตร มารดาจะต้องรับหน้าที่เหมือนบิดา แต่เอาใจใส่เป็นพิเศษกับบุตร ตอนที่บุตรอยู่ในบ้าน หากบุตรนั้นเป็นเพศหญิง จะรับหน้าที่อบรมสั่งสอนเป็นพิเศษ เพื่อสร้างอนาคตของบุตรหญิงนั้น ๆ มารดาเป็นครูคนแรกของเด็ก ๆ มารดาจึงต้องระมัดระวัง สร้างนิสัย อุปนิสัยเด็กก่อน
อาจารยธรรม คือ การปฎิบัติหน้าที่ของครู อาจารย์ต่อศิษย์ครูอาจารย์จะต้องรับหน้าที่ถ่ายทอดวิชาความรู้ ให้แก่ศิษย์อย่างถูกต้อง ยุติธรรม เลี้ยงดูลูกศิษย์อย่างที่พ่อแม่เลี้ยงดูบุตร สร้างและแก้ไขความประพฤติ นิสัย อุปนิสัยของลูกศิษย์ ร่วมกับพ่อแม่ของลูกศิษย์
บุตรธรรม และศิษยธรรม คือ การปฎิบัติหน้าที่ของบุตรต่อบิดามารดา และการปฎิบัติหน้าที่ของลูกศิษย์ต่อครู ในตำราของศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ได้บัญญัติไว้ว่า บุคคลที่จงรักภักดีต่อมารดา ผู้นั้นเป็นผู้ชนะโลกนี้ บุคคลที่จงรักภักดีต่อบิดา ผู้นั้นย่อมชนะโลกสวรรค์ และบุคคลที่จงรักภักดีต่อครู - อาจารย์ ผู้นั้นย่อมชนะโลกพระพรหม (พรหมโลก)
ภราตฤธรรม คือ การปฎิบัติของพี่ต่อน้อง และร้องต่อพี่ น้องต้องเคารพนับถือพี่เหมือนบิดามารดา และครูจึงมีบัญญัติว่า จะถือว่าครู อาจารย์เป็นรูปพระปรมาตมัน บิดาเป็นรูปพระประชาบดี มารดาเป็นรูปพระแม่ธรณี และพี่เป็นรูปพระครู จงอย่าดูถูกทั้งบิดามารดา ครู และพี่ ไม่ว่าตนเองอยู่ในฐานะใดก็ตาม
ปติธรรม คือ การปฎิบัติหน้าที่ของสามีต่อภรรยา ผู้เป็นพี่ชายต้องเลือเจ้าสาว ผู้ที่เหมาะสมแก่ตระกูลของตน เหมาะต่อสังคมที่ตนอาศัยอยู่ ดังนั้น ก่อนเลือกเจ้าสาวจึงต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้ใหญ่ก่อน เมื่อเป็นภรรยาแล้วก็ต้องเลี้ยงดูกันไปตลอดชีพ เอาใจใส่ต่อภรรยาอย่างจริงจัง ถือว่าผู้หญิงอื่น ๆ เป็นเสมือนมารดา พี่น้อง หรือลูกหลาน (ตามวัย) ของตน ได้มีบัญญัติไว้ว่า ที่ไหนสตรีเพศ (ภรรยา) ได้รับความนับถือจากฝ่ายชาย (สามี) ที่นั้นย่อมมีเทพทั้งหลายอาศัยอยู่ตลอดกาล ที่ไหนภรรยาได้รับแต่อนาทร ที่นั้นการกระทำการกุศลของฝ่ายชายกลายเป็นโมฆะ ตระกูลใดหรือครอบครัวใดในระหว่างสามีกับภรรยา มีความพอใจซึ่งกันและกัน ตระกูลนั้น หรือครอบครัวนั้น ย่อมมีแต่ความสุขความเจริญอย่างแน่นอน
ปัตนีธรรม คือ การปฎิบัติหน้าที่ของภรรยาต่อสามี ผู้เป็นภรรยาต้องปฎิบัติหน้าที่ต่อสามีด้วยความซื่อสัตย์สุจริต ต้องเอาใจใส่ต่อสามีอย่างจริงจัง อยู่ในโอวาทและความควบคุมดูแลของสามีตลอด
สวามี - เสวกธรรม คือ การปฎิบัติหน้าที่ของสวามี (นายจ้าง) ต่อเสวก (ลูกจ้าง) และการปฎิบัติหน้าที่ของเสวกต่อสวามี ผู้เป็นนายจ้างมีหน้าที่เลี้ยงลูกจ้าง และครอบครัวของเขา จ่ายเงินเดือน หรือให้ตอบแทนประการใด ก็ควรพิจารณาก่อนว่า ปัจจัยที่มอบให้แก่ลูกจ้างนั้น มีเพียงพอเพื่อการครองชีพของเขา และครอบครัวหรือไม่ ต้องเอาใจใส่ในทุกข์สุขของเขา เช่นเดียวกับผู้เป็นลูกจ้าง ต้องปฎิบัติงานซื่อสัตย์ต่อนายจ้าง และทำอย่างที่นายจ้างได้รับผลมากที่สุด
ราชธรรม คือ การปฎิบัติหน้าที่ของพระราชาต่อประชาชน กับปฎิบัติหน้าที่ของประชาชนต่อพระรชา จงถือว่าประชาชนเป็นเสมือนบุตรหลาน และเอาใจใส่ความสุขทุกข์ของประชาชนอย่างใกล้ชิด ในด้านประชาชนมีหน้าที่ต้องถวายความเคารพนับถือพระราชาอย่างสูงสุด พระราชาธิราชเจ้า ทรงเป็นเสมือนเทพเจ้าแปดองค์คือ พระอินทร พระยมราช พระวายุ พระสูรย์ พระอัคนี พระวรุณ พระจันทร พระกุเวร ในคัมภีร์ได้กล่าวไว้ว่า พระพรหมธาดาได้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์ โดยเอาพระเดชาบารมีของเทพเจ้าทั้งแปดดังกล่าวแล้ว เพื่อปกป้องปกครองและรักษาประชาชน ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ได้ถวายความเคารพนับถือพระราชาเสมือนดังพระนารายณ์ด้วย
มานวธรรม มีการสั่งสอนไว้หลายประการด้วยกัน เช่น
- หากเกิดมาเป็นมนุษย์ จงปฎิบัติแต่ทางกุศล
- บุคคลที่ได้กระทำโดยการพูด โดยกาย โดยใจ แล้ว ผลแห่งการกระทำนั้นก็จักอำนวยให้แก่บุคคลนั้น เป็นอุดมคติ จึงจงทำแต่ดีตลอด
- คิดแต่ทรัพยสมบัติของผู้อื่น คิดแต่ทำเสียประโยชน์ของผู้อื่น ไม่ยอมนับถือผู้ใหญ่ เป็นโทษทางจิตใจ จงอย่าทำ
- ก่อนจะลงมือกระทำใด ๆ จงพิจารณาดูว่าขัดกับธรรมเนียมประเพณีของประเทศชาติ หรือขัดแย้งกับขนบธรรมเนียมของตระกูลตนเอง หรือของสังคมที่ตนสังกัดอยู่หรือไม่ หากไม่ขัดแล้วจึงลงมือทำ
- บุคคลใดไม่ซื่อตรงต่อมิตร ไม่รู้จักบุญคุณ หักหลังผู้อื่น ต้องไปตกนรก
- บุคคลใดที่เสียสละชีวิตเพื่อประเทศชาติ เพื่อธรรมบุคคลนั้นจะไปสุคติสูงสุด โดยผ่านสุริยจักรวาลไป
- ในโลกนี้ ใครมาแย่งที่ดิน (ประเทศชาติ) ของเรา ซึ่งปู่ย่าและบิดามารดาได้รักษาไว้ ผู้นั้นจะเป็นศัตรูที่หนึ่งของเรา ขอให้ทำลายผู้นั้นเสีย ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นญาติมิตรก็ตาม
- พระราชาเป็นญาติของผู้ที่ไม่มีญาติ เป็นตาของผู้ที่ไม่มีความสว่างในดวงตา เป็นบิดาและมารดาของประะชาชน ที่เดินบนทางยุติธรรม
- ทรัพยสมบัติเงินทองมีคติ ๓ ประการ คือ จ่ายออกโดยจัดทานในกุศลธรรมต่าง ๆ จ่ายออกเพื่อหาเครื่องอุปโภคบริโภค หากไม่จัดทำทั้งสองประการนี้แล้ว ก็ถูกวินาศไป
- จงฟังสาระสำคัญธรรม คือ สิ่งที่ตนเองไม่ชอบ สิ่งนั้นอย่าอำนวยให้แก่ผู้อื่น การกระทำของผู้อื่นประการใดที่เราไม่ชอบ อย่ากระทำการนั้นต่อผู้อื่น สารธรรมนี้จงถือไว้ตลอดไป ก็มีแต่ความสุขสันต์เป็นนิตย์
ปรัชญาในภควัทคีตา คำสั่งสอนของพระกฤษณะที่กล่าวในภควัทคีตา มิใช่เพียงสั่งสอนอรชุนเท่านั้น หากยังเหมาะสำหรับทุกคน เพราะแต่ละคำสอน จะสามารถอธิบาย และครอบคลุมปัญหาต่าง ๆ ที่เกิด หรือสิ่งที่อยู่ในใจของศาสนิกชนให้หมดสิ้นเช่น ใครเป็นผู้สร้างจักรวาลและสิ่งต่าง ๆ ในจักรนวาล ที่ปัญหานี้อรชุนได้ถามพระกฤษณะ คำตอบคือ พระองค์นั่นเองเป็นผู้สร้าง และเป็นผู้ทำลาย พระองค์จะมาในรูปแบบที่ต่างกัน ทุก ๆ สิ่งในจักรวาล จะมีพระองค์เป็นส่วนหนึ่งเสมอ แม้สิ่งมีชีวิตที่เล็กที่สุด สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของพระองค์ และเขาเหล่านั้น ก็พยายามที่จะกลับไปสู่จุดหมายอันเดียวกันนั่นคือ พระองค์ หรือพระกฤษณะนั่นเอง เมื่อใดเขาเหล่านั้นสามารถที่จะกลับมาพบพระองค์แล้ว วิญาณนั้นก็ถือว่าเป็นอมตะ และเมื่อสิ่งใดหรือเขาเหล่านั้นได้กลับมาพบกับพระกฤษณะ การพบนี้ก็เรียกว่า นิรวาน ตราบใดที่สิ่งเหล่านั้นไม่ถึงนิรวาน วิญาณก็จะไม่มีการสิ้นสุด จะเวียนว่ายตายเกิดไปเรื่อย ๆ โดยจะเปลี่ยนแปลงไปตามกรรม ที่แต่ละบุคคลได้กระทำขึ้น ซึ่งจะเปลี่ยนแปลง เกิดในสิ่งต่าง ๆ ถึง ๘ ล้าน ๖ แสน ๔ หมื่นชนิด
ในจำนวนสัตว์ทุกชนิดนั้น มนุษย์ถือว่าเป็นสัตว์ชั้นสูงที่สุด ประเสริฐที่สุด แต่การที่จะเกิดเป็นมนุษย์ได้นั้นยากมากเพราะจะต้องสร้างกรรมดีมาตลอด มนุษย์สามารถมีอิสระที่จะทำความดีได้ และอาจจะบรรลุถึงนิพพาน
กรรมในภควัทคีตา กรรมที่จะทำขึ้นในมนุษย์ประกอบด้วยกรรมสามชนิดคือ กรรมดี กรรมชั่ว และกรรมที่เป็นไปตามปกติ สม่ำเสมอ
ยังมีกรรมวอีกประเภทหนึ่งถือว่าเป็นกรรมชั้นสูงที่สุดคือการสร้างกรรมหรือกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง โดยไม่หวังผลตอบแทน ไม่เห็นประโยชน์ส่วนตน ทำเพื่อคนอื่น ในการทำกรรมนี้ มนุษย์ต้องเสียสละตนเองเพื่อประเทศชาติ
กรรมชั้นสอง คือการปฏิบัติหนัาที่ตามความเหมาะสมในนอันที่ควร เช่นนักเรียนควรมีหน้าที่ศึกษา
กรรมชั้นสาม คือกรรมที่ทำเพราะความจำเป็น
การปฏิบัติประจำวันทางศาสนา คือทำบูชาห้าประการหรือการกระทำพิธียัญญะห้าประเภท
พรหมยัญญะ ได้แก่ การตั้งจินตนาการถึงเฉพาะแต่พระปรมาตมันและอาตมา โดยตั้งสมาธิทางลัทธิโยคะ หรือกระทำพิธีบูชาตามยคำสั่งสอนของคัมภีร์พระเวท หรือมิฉะนั้นก็ทำการศึกษาพระธรรมให้แตกฉานยิ่งขึ้น ผู้บรรลุพรหมยัญญะจะสามารถบำเพ็ญประโยชน์ให้แก่คนทั้งปวงได้ด้วยใจบริสุทธิ์ โดยมิได้เลือกหน้า
พรหมยัญญะ กระทำสามเวลา ตอนเช้าระหว่าง ๐๔.๐๐ น. ถึง ๐๘.๐๐ น. ตอนกลางวันระหว่าง ๑๑.๓๐ น. ถึง ๑๓.๐๐ น. ตอนเย็นระหว่าง ๑๗.๑๕ น. ถึง ๒๐.๐๐ น. ตอนเช้าตื่นขึ้นมาแล้วชำระร่างกายให้บริสุทธิ์ก่อนเข้าพิธี ใช้คาถาพระคายตรีอ่านในใจและจินตนาการ พระรูปกายตรีปางทรงพรหมา ไปพร้อมกัน กลางวันอ่านคาถาพระกายตรีและจินตนาการพระแม่กายตรีปางพระนารายณ์ ตอนเย็นอ่านคาถาพระกายตรีและจินตนาการรูปพระแม่กายตรีปางพระศิวะ
การอ่านพระคาถากายตรีต้องวอ่านหนึ่งพันครั้งในแต่ละเวลา หากปฎิบัติได้ ๑๒ ปี ก็จะมีบารมีสูงขึ้นในร่างกายและจิตใจของผู้ปฏิบัติ มีความศักดิ์สิทธิ์ในตัวเองเป็นพิเศษ หากไม่สามารถปฏิบัติได้ถึงขั้นนี้ ก็ต้องอ่านหนึ่งร้อยแปดครั้งในแต่ละเวลา ถ้าเห็นว่ายังทำไม่ได้อีกก็อ่านเพียงสองเวลาเช้า เย็น
เทวยัญญะ ได้แก่ การทำพิธีบูชาไฟชนิดที่เรียกว่า การหวน หมายถึงการเวียนกลับหรือหมุนเวียนกลับ ในการบูชาไฟย่อมมีสิ่งของต่าง ๆ เช่น เนยงาดำ ธูป ผง ไม้จันทน์ กำยาน ฯลฯ ของเหล่านี้เมื่อนำมาเผาก็ทำให้เกิดควัน ควันเหล่านี้ก็จะกลายมาเป็นเมฆ เมฆกลายเป็นฝน
ปิตฤ ยัญญะ ได้แก่การสักการะบูชาบรรพบุรุษ ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ และล่วงลับไปแล้ว มีสี่ประเภทด้วยกันคือ
- บิดามารดา น้า อา ป้า ลุง ที่เป็นบรรพบุรุษสายเลือดแห่งตระกูล ที่ยังมีชีวิตอยู่
- ครู อาจารย์ ผู้สอนศาสนา ตลอดจนผู้เขียนหนังสือธรรมะ นักบวช พระเจ้าแผ่นดินที่ยังมีชีวิตอยู่
- สิ่งที่มีประโยชน์แก่มนุษย์ชาติโดยธรรมชาติเช่น มาตุภูมิ ดิน น้ำ ลม ไฟ พระอาทิตย์ พระจันทร์ ฯลฯ
- บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว
มนุษยยัญญะ ได้แก่ การรู้จักต้อนรับแขก และการปฏิบัติในทางที่ดีต่ออาคันตุกะ ผู้มาเยี่ยมเยียน รวมถึงการกระทำเพื่อประโยชน์สุขของมวลมนุษย์
ภูตยัญญะ ได้แก่ การมีอุปการะและเมตตากรุวณาต่อชีวะทุกประเภททั่วโลกคือการไม่เบียดเบียนใคร
พราหมณ์ในนครศรีธรรมราช
หลังจากที่พวกพราหมณ์รู้ภูมิภาคตะวันออกของทวีปเอเซียแล้ว พราหมณ์ที่เป็นพ่อค้าก็เริ่มใช้เส้นทาง โดยผ่านช่องแคบ จากปากคลองปกาไส ไปออกปากแม่น้ำตาปี ที่อ่าวบ้านดอน โดยผ่านพื้นที่ของอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ไปตามช่องแคบที่อยู่ระหว่างเขาหน้าแดงหน้าเรืองของยตำบลพรดินนา ไปตามร่องน้ำที่เป็นคลองสินปุน แล้วไปบรรจบกับแม่น้ำตาปี ในเขตอำเภอทุ่งใหญ่ จังหวัดนครศรีธรรมราช ผ่านเข้าเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่อำเภอเวียงสระ อำเภอพระแสง อำเภอพุนพิน แล้วออกทะเลที่อ่าวบ้านดอน
พวกพราหมณ์พ่อค้าได้ใช้เส้นทางนี้อยู่หลายร้อยปีจนช่องแคบดังกล่าวตื้นเขิน ใช้เดินเรือไม่ได้ พ่อค้าอินเดียก็ใช้การแล่นเรือผ่านสิงคโปร์ ที่อยู่ทางปลายสุดของแหลมมลายู เพื่อไปตะวันออกไกลคือจีนและญี่ปุ่น โดยแล่นเรือเรียบริมฝั่งแหลมมลายูด้านวตะวันออกผ่านเมืองนราธิวาส ปัตตานี สงขลา นครศรีธรรมราช และอ่าวบ้านดอนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี แล้วมุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ ๒๐ องศา เข้าทะเลจีนใต้จนถึงประเทศจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี
พราหมณ์รุ่นแรกที่ตั้งหลักอยู่ที่บ้านทุ่งตึก บนเกาะพระทอง แล้วต่อมาได้อพยพเข้ามาบนแผ่นดินใหญ่ ตั้งชุมชนที่บ้านคูลา ปัจจุบันคือคูระบุรี จากนั้นได้ย้ายไปอยู่ที่ปากน้ำตะกั่วป่า เรียกหมู่บ้านของตนว่า ตะโกลา เมื่อกว่าพันปีมาแล้ว ได้สร้างเทวสถานขึ้นที่เชิงเขาเหล ตำบลรามณีย์ อำเภอตะกั่วป่า เมื่อประมาณปี พ.ศ.๑๙๘๕ ต่อมาบางส่วนได้อพยพข้ามเขาศก ไปทางตะวันออกเข้าสู่เขตจังหวัดสุราษฎรธานี แล้วเดินทางเลียบลำแม่น้ำตาปี ถึงอำเภอท่าขนอน และอำเภอพุนพิน จากอำเภอพุนพินได้แบ่งออกเป็นสองพวก โดยมุ่งไปทางฝั่งทะเลตะวันออกของแหลมมลายูพวกหนึ่ง อีกพวกหนึ่งเดินบกไปทางทิศใต้ ไปตั้งชุมชนที่อำเภอเวียงสระปัจจุบัน
โบสถ์เทพมณเฑียร มีเทววรูปประดิษฐานอยู่หลายองค์ด้วยกัน ดังนี้
- พระนารายณ์ และพระแม่ลักษมี (พระวิษณุ และพระลักษมี) เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ สัญลักษณ์แห่งการรักษาความดี และต่อสู้อธรรม ถือว่าเป็นผู้ปกครองและบริหารโลก เป็นเจ้าแห่งโมกษะ ส่วนพระแม่ลักษมีได้ชื่อว่าเป็นเทวีแห่งโชคลาภ
- พระราม และภควดีสีดา (พระราม และพระแม่สีดา) พระรามเป็นอวตารปางที่เจ็ดของพระนารายณ์ สัญลักษณ์แห่งการพัฒนาการของสังคม ศาสนา การเมือง และให้แสงสว่างแก่มนุษยโลก
- พระกฤษณะและพระนางราธา พระกฤษณะเป็นอวตารปางที่แปดของพระนารายณ์ สัญลักษณ์แห่งการรักษาต่อสู้อธรรม สิ่งที่มอบให้แก่มนุษยโลกคือ คัมภีร์ภควัตคีตา มีว่าเวลาเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในชีวิต เมื่อรับหน้าที่อันใดแล้วควรจะปฏิบัติอย่างจริงจัง และความซื่อสัตย์อีกประการหนึ่งคือเรื่องหลัก กรรมโยค คือ ผลแห่งกรรม ทำดีได้ดีทำชั่วได้ชั่ว
- พระพุทธเจ้า ชาวพราหมณ์ฮินดูถือว่าเป็นอวตารปางที่เก้าของพระนารายณ์ สัญลักษณ์แห่งความไม่เบียดเบียน (อหิงสา) ด้วยแสงสว่างแห่งสันติ ความรัก ความนับถือ และทำลายความโง่เขลา โดยให้แสงสว่างใหม่ที่เรียกว่า กรรมโยค คือผลแห่งกรรม
- พระศิวะ (พระอิศวร) เป็นเทพเจ้าแห่งการทำลาย สิ่งใดที่มากเกินหรือล้นเหลือเกินไปก็จะถูกขจัดให้มีความพอดี นอกจากนี้ยังได้ชื่อว่า เป็นเทพเจ้าแห่งศิลป และการฟ้อนรำเรียกว่า นาฎราช
- พระแม่ทุรคา สัญลักษณ์แห่งความเข้มแข็งและความมีอำนาจสำหรับทำลายอธรรม เป็นอวตารของเจ้าแม่อุมา การนับถือบูชาเช่นเดียวกับเจ้าแม่กาลี จัณฑี และไวษณวี
- พระพิฆเนศวร (พระคเณศ) เป็นโอรสของพระอิศวรและพระแม่อุมา ได้ชื่อว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความสมบูรณ์ ความสำเร็จ และเจ้าแห่งศิลป เมื่อมีการบูชาต้องทำการบูชาเป็นลำดับแรก
- พระหนุมาน เป็นอวตารของพระศิวะ เพื่อคุ้มครองดูแลพระราม
- พระแม่สตี (รานีสตีเทวี) เป็นพระแม่เทวีที่ทำความดี แสดงความจงรักภักดีต่อสามีโดยเผาพระองค์ตามสามีของท่าน วันสำคัญทางงศาสนา
ขอบคุณคะ กำลังศึกษาคะ
ตอบลบ