ครองแผ่นดินโดยธรรม (บวร ในความหมายของในหลวง สามารถช่วยคนได้ทั้งประเทศ) ใครนำที่วัดไปขาย มหาชนต้องปกป้อง?

นี้คือข้อมูลที่มหาชนที่รักในหลวง ต้องช่วยกันตรวจสอบ วัดและมูลนิธิทั่วประเทศ 
มูลนิธิฯในฐานะผู้จัดการมรดกและผู้รับโอน ก็ต้องรับผิดทางอาญาหากมีการพิสูจน์ว่าเจตนาฉ้อโกงที่ดินของวัดจริง









พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงเสด็จไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงผนวชระหว่างวันที่ 22ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน พ.ศ.2499 รวมเวลาทั้งสิ้น 15 วัน โดยทรงได้รับพระฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า "ภูมิพโลภิกขุ"
หลายคนคงเคยได้ยินคุ้นหูกับคำว่า "บวร" ตามพจนานุกรมคำนี้มีหมายถึง ประเสริฐหรือล้ำเลิศ นอกจากนี้ยังเป็นคำราชาศัพท์ใช้กันในราชสำนักและแม้จะฟังดูห่างไกล แต่แท้จริง”บวร”อยู่ใกล้ชิดเกี่ยวพันกับคนไทยมากที่สุด ยิ่งถ้าทราบถึงแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีชื่อว่า "บวร" จะยิ่งเข้าใจความหมาย

"บวร" นอกจากความหมายข้างต้น ด้วยพระอัจฉริยภาพในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมองคำนี้ด้วยความลึกซึ้งและละเอียดอ่อน ยิ่งไปกว่านั้นทรงใช้อธิบายลักษณะความสัมพันธ์ภายในสังคมแบบไทย ๆ ลักษณะโครงสร้างทางสังคมไทยในมุมกว้างอย่างครอบคลุมยากจะหาผู้ใดในแผ่นดินคิดได้เสมอเหมือน..

คำว่า "บวร" เกิดจากการนำอักษรสามตัวมาเรียงต่อกันจนเกิดเป็นคำที่มีความหมาย ตามแนวพระราชดำริอักษรทั้งสามตัวล้วนมีความหมายในตัวเอง เป็นความหมายที่ผูกพันและคุ้นเคยตลอดมา เริ่มจาก บ.ใบไม้ แทนความหมายด้วยคำว่า บ้าน ซึ่งบ้านคือที่พักอาศัยหรือครอบครัวก็ได้ บ้านให้ความรักความอบอุ่นผูกพัน แม้จะเป็นหน่วยหรือสถาบันเล็กที่สุดในโครงสร้างของสังคม แต่เป็นจุดเริ่มต้นของสังคมใหญ่ ๆ เป็นฟันเฟืองชิ้นเล็กที่มีความหมายสำคัญมาก...

ว.แหวน แทนความหมายด้วยคำว่า วัด วัดเปรียบเสมือนศูนย์กลางทางจิตใจของคนไทยมาแต่ครั้งอดีตเป็นสถาบันที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ อบรมสั่งสอนคนในชุมชนรอบ ๆ วัดให้ประพฤติถูกทำนองคลองธรรม วัดนอกจากจะเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจของพระสงฆ์แล้ว สำหรับชาวบ้านยังเป็นสถานที่ให้คนในชุมชนพบปะกัน ใครเดือดเนื้อร้อนใจก็มาปรึกษากัน กลับจากวัดก็ได้คำสอนดี ๆ กลับไปมากมาย อย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีเสรีภาพในการนับถือศาสนาซึ่งทุกศาสนาไม่ว่าจะเป็นอิสลาม คริสต์ ล้วนมีหลักคำสอนให้ผู้คนประพฤติและปฏิบัติดี โดยนัย ว.แหวนจึงหมายรวมถึงศาสนาต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่แผ่นดินไทย..

ร.เรือ แทนความหมายด้วยคำว่า โรงเรียน โรงเรียนคือสถานที่ที่ให้ความรู้อย่างมีแบบแผน สำหรับเยาวชนซึ่งจะเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต ภาระของโรงเรียนอาจดูหนักอยู่บ้างในปัจจุบัน เนื่องจากโรงเรียนต้องดูแลเหล่าลูกศิษย์เหมือนลูกหลานของตน...

นอกจากนี้โรงเรียนจะต้องให้ความรู้ทางวิชาการอย่างเต็มที่รวมถึงทำให้ศิษย์เป็นคนดีแก่สังคม จากคำจำกัดความและความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านี้ที่เกิดขึ้นล้วนเกิดจากคำว่า "บวร" ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมองเห็นซึ่งหากให้ความสำคัญกับสามสิ่งนี้ดังที่พระองค์ทรงมองสังคมไทยที่ประเสริฐดีเลิศ ในความหมายของคำว่า "บวร" ก็จะบังเกิดขึ้น.....

การทำให้ "บวร" ประสานกันอย่างลงตัวไม่ได้เป็นเรื่องยากหรือต้องลงทุนอะไรมาก เพียงแต่ปัจจุบันลืมมองสังคมไทยที่อบอุ่นแบบอดีต ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด โรงเรียน ผูกพันกันมานานตั้งแต่สังคมไทยยังไม่มีโรงเรียน.....

ครองแผ่นดินโดยธรรม (บวร ในความหมายของในหลวง) ใครนำที่วัดไปขาย มหาชนต้องปกป้อง?


โกงที่ถวายวัด ให้ “ทักษิณ” ตราบาปติดตัว ยงยุทธ วิชัยดิษฐ ดวงวิญญาณของยายเนื่อม บนสรวงสวรรค์ คงเป็นสุข ที่ได้รับรู้ว่า บัดนี้ ปปช.หอบหลักฐาน 8 ลัง ยื่นฟ้องต่อศาลอาญาคดีทุจริต คดีที่ดินอัลไพน์ ในความผิด ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้น การปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157

วันนี้ 26 ต.ค.59 ศาลพิจารณาคำฟ้องแล้วประทับรับฟ้องคดี พร้อมทั้งสอบคำ ให้การจำเลย โดยจำเลยแถลงให้การปฏิเสธขอต่อสู้คดี ศาลจึงนัดตรวจพยานหลักฐาน ใน 13 ธ.ค 59 ก่อนที่ศาลจะอนุญาตให้ประกันตัวโดยตีราคาประกันเป็นเงินสด 2 แสนบาท พร้อมห้ามเดินทางออกนอกราชอาณาจักร โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล

คดีโกงที่ดินธรณีสงฆ์ เอาไปสร้างสนามกอล์ฟอัลไพน์ และบ้านจัดสรร เป็นผลงานชิ้นแรก ที่นายยงยุทธ แสดงตัวให้ นช. ทักษิณ เห็นว่า ยอมเป็นทาสรับใช้ ยอมทำทุกอย่าง เป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ มีหน้าที่ต้องรักษากฎหมาย แต่กลับเอื้อประโยชน์ส่วนตัวของนักการเมือง แลกกับ รางวัลตำแหน่ง ปลัดกระทรวงมหาดไทย

นายยงยุทธ ซึ่งเป็นรองปลัดกระทรวง รรก. ปลัดมหาดไทย ได้ลงนามในคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของกรมที่ดิน ที่ให้เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิ นิติกรรม และโฉนดที่ดิน เกี่ยวกับที่ดิน อัลไพน์ ตามความเห็นของ คณะกรรมการกฤษฎีกา
ถือเป็นการ “ หักดิบ” กฎหมาย ทำให้การซื้อที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 732 ไร่ ของวัดธรรมิการามวรวิหาร ปทุมธานี โดยบริษัทอัลไพน์ ของนายเสนาะ เทียนทอง ซึ่งต่อมาขายให้กับ นช.ทักษิณ ในราคา 500 ล้านบาท ทั้งๆที่มีกฎหมายห้ามซื้อขาย ที่ธรณีสงฆ์อยู่แล้ว และลบล้างคำสั่งของกรมที่ดิน รวมทั้งความเห็นของคกก.กฤษฎีกาที่ลงความเห็นว่า การโอนที่ ธรณีสงฆ์ ไปทำสนามกอล์ฟอัลไพน์ และบ้านจัดสรรนั้นทำไม่ได้

ยายเนื่อม ได้เขียนพินัยกรรม เอาไว้อย่างชัดเจนว่า มอบที่ดินให้กับวัดเพื่อประโยชน์ ต่อการวิปัสสนา และที่ผ่านมาวัดธรรมมิการามวรวิหาร ได้แสดงความเป็นเจ้าของที่ดิน โดยวัดได้นำที่ดินไปให้ กับประชาชนได้เช่าทำกิน จึงเป็นที่ธรณีสงฆ์ตามมาตรา33 ของ พรบ.สงฆ์ที่วัด ซึ่งการโอนกรรมสิทธิ์ที่ธรณีสงฆ์จะต้องออกด้วยกฎหมาย มิฉะนั้นจะไปซื้อขายไม่ได้



กรณีที่ดินสนามกอล์ฟอัลไพน์
     ประเด็นปัญหากฎหมายที่น่าสนใจกรณีที่ดินคุณยายเนื่อมสู่สนามกอล์ฟอัลไพน์
               เรื่องราวของที่ดินที่คุณยายเนื่อมยกเป็นมรดกให้วัดแต่ถูกเล่นแร่แปรธาตุกลายเป็นสนามกอล์ฟและบ้านจัดสรรได้กลับมาเป็นประเด็นขึ้นมาอีกหลังจากที่เงียบหายไปพักใหญ่ หลายๆคนอาจจะลืมไปแล้ว หลายๆคนอาจจะสงสัยในปัญหาข้อกฎหมายว่าจริงๆแล้วเป็นอย่างไร ใครจะต้องรับผิดชอบบ้าง ผมเห็นว่าในกรณีนี้มีประเด็นทางกฎหมายที่สนใจและน่าศึกษาเป็นอย่างยิ่ง จึงขอนำมาเสนอ ดังนี้
               แรกเริ่มเดิมทีนั้น คุณยายเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ผู้เป็นอุปัฏฐายิกาของเจ้าอาวาสวัดธรรมิการามวรวิหาร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้ทำพินัยกรรม ณ ที่ว่าการอำเภอดุสิต ต่อหน้าว่าที่ร้อยตรีเสมอใจ พุ่มพวงนายอำเภอดุสิตในขณะนั้น เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2512 ยกกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 20 ตำบลคลองซอยที่ที่ 5 ฝั่งตะวันออก (บึงตะเคียน) อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เนื้อที่ 730 ไร่ 1 งาน 51 ตารางวา ถวายเป็นกรรมสิทธิ์ให้แก่วัดธรรมมิการามวรวิหาร
           ต่อมาคุณยายเนื่อมได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2514 จึงมีการตั้งผู้จัดการมรดก แต่การณ์ปรากฏว่าแทนที่ที่ดินดังกล่าวจะถูกจดทะเบียนโอนให้เป็นกรรมสิทธิ์ของวัด แต่พระราชเมธาภรณ์อดีตเจ้าอาวาส แสดงเจตจำนงจะขายที่ดินของวัด แต่ผู้จัดการมรดกเดิมที่มีจำนวน 3 คนไม่ยอมจึงได้มีการตั้งผู้จัดการมรดกใหม่คือมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยฯ ต่อมาก็ได้โอนที่ดินทั้งสองแปลงให้แก่มูลนิธิมหามกุฏฯ แล้วจดทะเบียนขายในวันที่ 31 สิงหาคม 2533 ให้แก่บริษัท อัลไพน์ เรียลเอสเตท กับ บริษัท อัลไพน์ กอล์ฟแอนด์สปอร์ตคลับ โดยมีนางอุไรวรรณ เทียนทอง และนายชูชีพ หาญสวัสดิ์เป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งเป็นวันเดียวกับที่มูลนิธิมหามงกุฎฯ รับโอนที่ดินมาเป็นของตน โดยขายในราคาไร่ละ 1.5 แสนบาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 130 ล้านบาท
               แต่เนื่องจากตามประมวลกฎหมายที่ดิน ผู้ใดจะถือครองที่ดินของวัดเกิน 50 ไร่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจะต้องอนุมัติก่อน ซึ่งในการนี้ผู้ทำหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นคือ นายเสนาะ เทียนทอง ก็ได้อนุมัติที่ดินแปลงดังกล่าว และต่อมาก็ได้มีการขายต่อให้แก่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในปี 2543
               จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้กรมการศาสนาได้ส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา วินิจฉัยในข้อกฎหมายในวันที่ 25 ธันวาคม 2543 และได้รับคำตอบตามหนังสือ ที่ นร 0601/0175 ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2544 โดยสรุปว่าวัดฯได้กรรมสิทธิ์ทันทีที่นางเนื่อมถึงแก่กรรม ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นที่ธรณีสงฆ์ ตามมาตรา33(2) (13) แห่ง พรบ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ซึ่งการโอนที่ธรณีสงฆ์ต้องทำโดยพระราชบัญญัติ ตามมาตรา 34(14)แห่ง พรบ.คณะสงฆ์ โดยมาตรา 84 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่ใช้อ้างในการโอนไม่ใช่บทบัญญัติยกเว้นการได้มาดังกล่าว
                มูลนิธิฯ ในฐานะผู้จัดการมรดกของนางเนื่อมจึงต้องโอนที่ดินมรดกตามพินัยกรรมที่ระบุไว้ให้ตกแก่วัดฯเท่านั้น จะโอนให้แกบุคคลอื่นนอกเหนือจากวัดฯไม่ได้ การโอนที่ดินมรดกให้แก่บุคคลอื่นนอกเหนือจากที่ระบุให้เป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรม จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของเจ้ามรดก ซึ่งไม่ผูกพันทายาทและจะต้องรับผิดชอบต่อทายาท ตามมาตรา 1720(21) แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
                จากคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎีกาดังกล่าว กรมที่ดินจึงมีคำสั่งเพิกถอนรายการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและโฉนดที่ดินดังกล่าวซึ่งถือได้ว่าเป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่ง พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 จากนั้นประชาชนเจ้าของบ้านจัดสรรในสนามกอล์ฟอัลไพน์จึงอุทธรณ์คำสั่งทางปกครองดังกล่าวต่อผู้มีอำนาจวินิจฉัยอุทธรณ์ซึ่งก็คือปลัดกระทรวงมหาดไทย
                นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ รักษาการปลัดกระทรวงมหาดไทยในสมัยนั้นในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของกระทรวงมหาดไทยกลับมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งของกรมที่ดิน(ที่ให้เพิกถอนรายการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมและโฉนดที่ดิน) ก่อนเกษียณอายุราชการเพียงไม่กี่วัน จนมาถูกรื้อฟื้นเมื่อเดือนธันวาคม 2551 เมื่อมีการสั่งให้กรมที่ดินตรวจสอบใหม่
                จากข้อเท็จจริงที่กล่าวมานั้นมีประเด็นทางกฎหมายที่น่าสนใจสมควรที่จะพิจารณาเป็นอย่างยิ่งในหลายๆประเด็น
                ประเด็นแรก ปลัดกระทรวงมหาดไทยคนปัจจุบันจะสามารถทบทวนคำวินิจฉัยอุธรณ์หรือเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ถือว่าเป็นคำสั่งทางปกครองของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ได้หรือไม่
               คำตอบก็คือ ได้อย่างแน่นอน เพราะมาตรา 49 แห่ง พรบ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ บัญญัติให้เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 51 มาตรา 52 และ มาตรา 53 ไม่ว่าจะพ้นขั้นตอนการกำหนดให้อุทธรณ์หรือโต้แย้งตามกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมาแล้วหรือไม่
                ประเด็นที่สอง หากมีการทบทวนโดยการกลับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของนายยงยุทธแล้วบริษัทฯหรือประชาชนจะใช้สิทธิเรียกร้องหรือเยียวยาความเสียหายได้หรือไม่ อย่างไร
               คำตอบก็คือ ถ้าเป็นผู้ซื้อโดยสุจริต (มิใช่มาจากกลฉ้อฉล) ย่อมมีสิทธิรับการชดใช้จากการไล่เบี้ยเอากับผู้ขายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
           ประเด็นที่สาม หากปลัดกระทรวงมหาดไทยคนปัจจุบัน (ไม่ว่าจะชื่อวิชัยหรือมานิตก็ตาม) ไม่ยอมกลับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของนายยงยุทธแล้วจะทำอย่างไร
               คำตอบก็คือ สำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ทำหน้าที่แทนกรมศาสนาเดิม) ต้องนำคดีขึ้นสู่ศาล ซึ่งศาลในที่นี้คือศาลยุติธรรมเพื่อชี้ขาดกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ซึ่งกรณีการวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ในที่ดินนี้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเคยวินิจฉัยไว้ในคำวินิจฉัยที่ 4/2545 ว่า คดีพิพาทเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินอันเป็นสิทธิในทรัพย์สินของบุคคล ซึ่งจะต้องดำเนินการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายที่ดินและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อยู่ในเขตอำนาจของศาลยุติธรรม ซึ่งผมเห็นว่ากรณีนี้ก็ชัดเจนอยู่แล้วว่าเป็นกรรมสิทธิ์ของวัดอย่างแน่นอน
           ประเด็นสุดท้าย ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบบ้างในกรณีนี้
               1) กระทรวงมหาดไทย ที่จะต้องรับผิดตาม พรบ.ว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ที่เจ้าหน้าที่ของตนคือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยและปลัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติหน้าที่แล้วทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น โดยกระทรวงมหาดไทยก็ไปไล่เบี้ยในภายหลังเอากับบุคคลทั้งสองว่าจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงหรือไม่ หากไม่ได้จงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงความเสียหายที่กระทรวงมหาดไทยชดเชยไปก็เป็นตกเป็นพับไป แต่ถ้า บุคคลทั้งสองจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงกระทรวงมหาดไทยก็ใช้มาตรการบังคับทางปกครองบังคับ เช่น การยึด อายัด เอากับบุคคลทั้งสองมาชดใช้คืนต่อไป
           2) มูลนิธิฯในฐานะผู้จัดการมรดกและผู้รับโอน ก็ต้องรับผิดทางอาญาหากมีการพิสูจน์ว่าเจตนาฉ้อโกงที่ดินของวัดจริง
           3) นายเสนาะ เทียนทอง นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ ในฐานะเจ้าหน้าที่ของรัฐก็ต้องรับผิดทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 หากพิสูจน์ฯ ได้ว่าจงใจกระทำการหรือละเว้นกระทำการโดยทุจริตจริง
           ส่วนบุคคลอื่น เช่น อดีตเจ้าอาวาส หรือผู้ที่ตั้งบริษัทขึ้นมารองรับการโอนที่ดินดังกล่าวหรือซื้อขายที่ดินต่อๆมาทั้งที่รู้อยู่แก่ใจว่าเป็นที่วัด กฎหมายอาจจะเอื้อมไปไม่ถึงเพราะเป็นการกระทำโดยอ้อมหรือห่างไกลจากพยานหลักฐาน
---------------------------------------------

นี้คือข้อมูลที่มหาชนที่รักในหลวง ต้องช่วยกันตรวจสอบ วัดและมูลนิธิทั่วประเทศ 
มูลนิธิฯในฐานะผู้จัดการมรดกและผู้รับโอน ก็ต้องรับผิดทางอาญาหากมีการพิสูจน์ว่าเจตนาฉ้อโกงที่ดินของวัดจริง

  เสนอของบประมาณสนับสนุน การดำเนินโครงการ จาก ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา องค์กรภาคเอกชน และแก้ไขกฎหมายในการนำ ศาสนสมบัติและที่ราชพัสดุ หมายถึง อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด มาจัดสรรที่ทำกินเพื่อช่วยชาวนารวมถึงเกษตรกรและคนยากจน นำเงินของมูลนิธิมาบริหารจัดการแก้ปัญหาหนี้สินของชาวนา


 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

.สามารถ แก้ไขวิกฤตการณ์ของชาวนาและเกษตรในประเทศ สร้างจิตสำนึกที่ดี ให้อยู่ในจิตใจของเยาวชนและประชาชนในชาติอย่างยั่งยืน

.สามารถแก้ไขปัญหาของชาติ ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศมานานได้ เช่น ปัญหายาเสพติด และ การทุจริตคอรัปชั่น และการนำศาสนสมบัติและที่ราชพัสดุ หมายถึง อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินทุกชนิด ไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

.ชาวนาและเกษตรในประเทศ จะมีชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุข มีรายได้ กินอยู่พอดี ฝึกความรู้จักพอเพียงยึดธรรมะเป็นใหญ่


.ส่งผลดีในแง่ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจของชาติ  และการพัฒนาสังคม ตลอดจนความมั่นคงของชาติ  อย่างยั่งยืน

 

เนื่องในเวลานี้ได้มีปัญหาต่างๆเกิดขึ้น กับความมั่นคงของสถาบันพระศาสนาของชาติ 
จึงขอนำความคิดเห็นที่อาจเป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในพระศาสนา 
โดยขอสรุปภาพรวมดังนี้
 พระมหาเถรที่มาบวชเป็นอาชีพ ได้มองเห็นแล้วว่าผลประโยชน์ในพระศาสนาของชาติไทยนั้น มีมากมายมหาศาล เช่น
๑.ศาสนสมบัติของวัด คือ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง และเนื่องจากวัดเป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ การดูแลรักษาและจัดการก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาส ซึ่งเป็นผู้แทนของนิติบุคคล คือ วัด แต่แม้ว่าการดูแลรักษาและจัดการทรัพย์สินของวัดใดๆ จะเป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสวัดนั้นๆ ก็ตามการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดที่เจ้าอาวาสจะกระทำได้นั้น จะต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย และจำต้องเป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๑๑) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ซึ่งกำหนดวิธีการปฏิบัติในการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดไว้เป็นแม่ บทให้เจ้าอาวาสถือปฏิบัติ ซึ่งการจัดการทรัพย์สินของวัดในด้านการลงทะเบียนทรัพย์สิน การจำหน่ายออกจากทะเบียน การทำทะเบียนที่จัดประโยชน์ ทะเบียนผู้เช่า วัดสามารถกระทำได้โดยเรียบร้อย เพราะมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน ประกอบกับแบบทะเบียน แบบบัญชี และแบบพิมพ์อื่นๆ กรมศาสนาก็ได้กำหนดไว้ให้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการดูแลและจัดประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ของวัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งด้านพระศาสนาเอง และการจัดหารายได้เพื่อทำนุบำรุงรักษาวัด
๒.เงินที่อยู่ในมูลนิธิ ที่ฝากธนาคารต่างๆไว้ของแต่ละวัดทั่วประเทศ ประเมินไม่น่าตำกว่าหลักแสนล้านบาท
สรุป ชึ่งถ้านำที่ดินศาสนสมบัติ และ เงินที่อยู่ในมูลนิธิทั่วประเทศของวัดต่างๆ มาบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สุงสุดอย่างโปร่งใสและเป็นธรรม คงสามารถช่วยเหลือชาวไทยที่ยากจนได้ทั่วประเทศ
และนี้คือที่มาของปัญหา ที่มหาเถรสมาคมและนักการเมือง ต้องการเพื่อผลประโยชน์ตน


หมายเหตุ ประชาชนและสื่อมวลชน หน่วยงานด้านความมั่นคงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องดำเนินการตรวจสอบกรรมการมหาเถรทุกท่าน และเจ้าอาวาสวัดทั่วประเทศ ในเรื่องบัญชีธนาคาร และ มูลนิธิของวัดทั่วประเทศ การครอบครองรถหรูตลอดถึงทรัพย์สินต่างๆที่ได้มา ? ท่านใดอาบัติก็ต้องดำเนินการตามพระธรรมวินัย และให้ข้อมูลที่ประจักษ์แจ้งแก่ประชาชนชาวไทย ที่ได้ถวายปัจจัยทำบุญแก่พระสงฆ์ในประเทศนี้

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ