#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑









 "พระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด ปี 2505" มูลเหตุของการจัดสร้างนั้น เป็นเพราะหลังจาก "พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี พ.ศ.2497" สร้างและปลุกเสกแล้วเสร็จออกให้เช่าบูชา ปรากฏว่ามีผู้ร่วมบุญจำนวนมาก จำนวนพระไม่พอกับความต้องการ จึงเกิดเสียงเรียกร้องให้จัดสร้างพระเครื่องหลวงปู่ทวดขึ้นอีก โดยในครั้งนี้จัดสร้างเป็นพระเนื้อโลหะตามความประสงค์ของ "หลวงปู่ทวด" ผ่านทาง "หลวงปู่ทิม" ปรากฏว่า ได้สร้างประสบการณ์เฉกเช่นเดียวกับ "พระหลวงปู่ทวด ปี พ.ศ.2497" ทุกประการ


 ปัจจุบันจะหาดูของแท้ๆ นั้นยากยิ่งนัก เพราะของทำเทียมมีมากมาแต่ดั้งเดิม 

 พระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด จัดสร้างในปี พ.ศ.2505 โดยสร้างเป็นเนื้อโลหะหลากหลายชนิด ทั้งเนื้อทองคำผสม เนื้อนวโลหะ เนื้อเมฆพัด และเนื้อโลหะผสม โดยเนื้อโลหะผสมจะมี 2 วรรณะ สืบเนื่องจากส่วนผสมของโลหะ คือ วรรณะแดง (แก่ทองแดง) และวรรณะเหลือง (แก่ทองเหลือง) 



 ทั้งหลายทั้งมวลนี้ การจัดสร้างจึงจำเป็นต้องมีทุนมากกว่าการหล่อแบบเดิม ซึ่งก็ได้ พระเจ้า วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพรฯ หรือ "พระองค์ชายกลาง" ทรงเป็นประธานอุปถัมภ์ ตามคำอนุญาตจาก"หลวงปู่ทวด" ผ่าน "หลวงปู่ทิม" เช่นกัน 

 ขั้นตอนการจัดสร้าง เริ่มด้วยทางวัดประกอบพิธีปลุกเสกเนื้อโลหะและลงแผ่นทอง "ชนวน" จากนั้น พระองค์ชายกลาง ได้นำโลหะชนวนทั้งหมดที่ปลุกเสกไปหล่อที่ วัดคอกหมู (วัดสิตาราม) กรุงเทพฯ โดยหล่อขึ้นเป็น 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง เล็ก ใช้กรรมวิธีการเทหล่อแบบเป็นช่อ เมื่อแล้วเสร็จตามขั้นตอนออกมาเป็นองค์พระ ช่างจะคัดเลือกองค์ที่เทไม่สวยออกมา ให้ทำแม่พิมพ์ปั๊มซ้ำอีกครั้งเป็นจำนวนมาก อันเป็นที่มาของ "พิมพ์ปั๊มซ้ำ" ส่วนการเท "พระเนื้อเมฆพัด" ใช้แม่พิมพ์เป็นเหล็กหยอดทีละองค์

 จากนั้นนำพระทั้งหมดกลับมาประกอบพิธีปลุกเสกใหญ่ที่วัดช้างให้ ซึ่งประกอบพิธีพร้อมกับ "งานสมโภชรูปเหมือนหลวงปู่ทวดองค์ใหญ่" ประจำวัดช้างให้ เป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ตั้งแต่วันที่ 16-18 พฤษภาคม พ.ศ.2505 ซึ่งต่อมาได้กำหนดให้เป็น "งานประจำปีของวัดช้างไห้" จวบจนปัจจุบัน

 พระหลวงปู่ทวด หลังเตารีด ปี 2505 เป็นการจำลองแบบมาจาก "พระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี 2497" ดังนั้น เอกลักษณ์แม่พิมพ์ต่างๆ จึงจะคล้ายกับพระหลวงปู่ทวด ปี 2497 มาก จุดสังเกตแม่พิมพ์เบื้องต้น ถ้าเป็น"พิมพ์กลาง" ปลายจะมนเหมือนกลีบบัว ส่วนพิมพ์อื่นๆ นั้นปลายจะแหลมเหมือนเตารีด โดยแบ่งได้เป็น

 - พิมพ์ใหญ่ เนื้อทองคำผสม จำนวน 99 องค์ 

 - พิมพ์ใหญ่ เนื้อเมฆพัด จำนวนไม่ถึง 1,000 องค์ 

 - พิมพ์ใหญ่ เนื้อนวโลหะและเนื้อโลหะผสม อีกจำนวนหลายหมื่นองค์ 

 ที่เหลือเป็น "พิมพ์กลาง" และ "พิมพ์เล็ก" นอกจากนี้ยังมีการปั๊ม "หลวงปู่ทวด รุ่นหลังตัวหนังสือ" และ "พระกริ่ง" อีกด้วย 

 เอกลักษณ์แม่พิมพ์ ของหลวงปู่ทวด หลังเตารีด ปี 2505 มีดังนี้ :

 - หูด้านซ้ายของหลวงปู่จะไม่กางมาก และจะแนบติดกับศีรษะมากกว่าหูด้านขวา 

 - ทุกพิมพ์จะเห็นก้อนชายจีวรมือซ้ายย้วยนูนชัดเจน 

 - ช่างจะแต่งเส้นหน้าผาก และขอบข้างรอยต่อระหว่างชายจีวรกับหน้าแข้งให้เห็นเด่นชัด และนิ้วเท้าก็จะเห็นเป็นนิ้วๆ อีกด้วย เข้าใจว่าคงจะเอาแม่พิมพ์ของหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี 2497 มาเป็นแบบให้ช่างแต่ง

 ข้อสังเกตในการพิจารณาประการหนึ่ง คือ ตอนขนส่งองค์พระทั้งหมดไปวัดช้างให้นั้น อาจารย์สวัสดิ์ ได้ใช้น้ำยาชนิดหนึ่งสีออกดำๆ ชุบองค์พระเพื่อรักษาเนื้อองค์พระไว้ ส่งผลให้องค์พระมีคราบคล้ายน้ำมัน ผนึกติดแน่นอยู่ในซอก หากสังเกตให้ดีองค์พระจะดูเหมือนเป็นมันเยิ้ม เนื้อไม่แห้ง จะมีน้ำหนักและความแกร่งในตัว และอีกประการ ก็คือ ถ้าพบพระบางองค์ ด้านหน้า มีตัว"ฉ" ปรากฏอยู่ที่ใดที่หนึ่ง หรือด้านหลังมีรอยตอกคำว่า "หลวงปู่ทวดวัดช้างให้" ไม่ต้องตกใจ เพราะนั่นเป็นเจตนาของพระองค์ชายกลางทรงให้ตอกไว้ การพิจารณาของแท้ให้พิจารณาที่ตัวอักษร จะมีลักษณะเป็นเหลี่ยมลึกและชัดเจน

 สำหรับ "พิมพ์ปั๊มซ้ำ" นั้น พระพิมพ์ใหญ่เนื้อโลหะผสมและพิมพ์กลางจะถูกนำไปปั๊มซ้ำจำนวนมาก โดยเฉพาะ "พิมพ์กลาง" เกือบทั้งหมดเป็นพระปั๊มซ้ำ ให้สังเกตจากรอยเขยื้อนของการปั๊ม และให้ดูที่ฐานบัว แทนที่จะเป็นฐานบัวคว่ำบัวหงายแล้วมีเส้นขีดกึ่งกลาง กลับมีเส้นพาดแบ่งบัวตอนบนออกอีก ความจริงเป็นเส้นระหว่างบัวแต่เขยื้อน เลยแบ่งบัวออกกลายเป็นบัวสามชุด

 ปรากฏชัดเจนใน "พิมพ์กลาง" แต่ในพิมพ์เล็กไม่ปรากฏการปั๊มซ้ำครับผม


หลวงปู่ทวดหลังตัวหนังสือ 05
"ได้รับความนิยมแพร่หลาย เนื่องจากสนนราคายังถูกกว่าหลวงปู่ทวดพิมพ์อื่นๆ และไม่ต้องห่วงครับมีของเก๊มากมายในท้องตลาด"
ในคราวที่มีการสร้าง "พระหลวงปู่ทวดเนื้อโลหะ" ตามคำเรียกร้องของสาธุชนที่เรียกกันว่า "หลังเตารีด” ปี พ.ศ.2505 นั้น มีการสร้างและปลุกเสกพระเครื่องหลวงปู่ทวดอีกหลายประเภท ที่รู้จักกันดีเรียกว่า "พระหลวงปู่ทวดหลังตัวหนังสือ" ซึ่งสร้างโดยการปั๊มจากโรงงานและได้รับความนิยมแพร่หลาย เนื่องจากสนนราคายังถูกกว่าหลวงปู่ทวดพิมพ์อื่นๆ และไม่ต้องห่วงครับมีของเก๊มากมายในท้องตลาด
เอกลักษณ์ของพระหลวงปู่ทวดหลังตัวหนังสือนั้น อาจสรุปได้ดังต่อไปนี้
  • เนื่องจากเป็นการปั๊มด้วยเครื่องของโรงงาน ขอบข้างขององค์พระจะมีรอยเส้นของการกระแทกตัดอยู่โดยรอบ
  • หลวงปู่ทวดหลังตัวหนังสือมีความหนาพอสมควร และวัสดุที่ใช้เป็นประเภทโลหะผสมแก่ทองเหลือง พบเป็นทองเหลืองล้วนๆ บางส่วน มีการนำไปกะไหล่ทองหรือบ้างก็รมดำ ตัวองค์พระมีความฉ่ำเนื่องจากน้ำมันที่อาจารย์สวัสดิ์ชุบ ก่อนส่งไปทางรถไฟให้พระอาจารย์ทิมวัดช้างให้ปลุกเสก เข้าไปเกาะติดอยู่ตามซอก
  • เนื่องจากเป็นพระโรงงานจึงมีความเรียบร้อยกว่าแบบอื่นๆ สามารถแบ่งออกเป็น พิมพ์ใหญ่กับพิมพ์เล็ก "พิมพ์ใหญ่"จะมีบล็อกตัว ท. คือมีตัว ท ทหาร บริเวณใต้หน้าตักเหนือฐานบัว, พิมพ์บล็อกวงเดือน หมายถึงบริเวณฐานจะมีรอยวงโค้งเป็นริ้วๆ คล้ายวงเดือนบล็อกเสาอากาศ หมายถึงด้านหลังองค์พระที่เป็นตัวหนังสือมีเส้นพิมพ์แตกลากไล่จากด้านบนลงมาล่างในแนวเฉียง ปลายเส้นบนชี้ไปตามเข็มนาฬิกาที่เวลา 11.00 น. และบล็อกธรรมดา นอกจากนี้ยังมีบล็อกที่เรียกกันต่างๆ อีก เช่น บล็อกสายฝนหมายถึงใต้ท้องแขนซ้ายมีเส้นเล็กๆ คล้ายสายฝน บางทีก็มีเรียกบล็อกหน้าวงเดือนหลังเสาอากาศ เป็นต้น
  • ส่วน "พิมพ์เล็ก" นั้น นอกจากเนื้อที่กล่าวแล้ว ยังปรากฏเนื้ออัลปาก้าด้วย และมีหลายบล็อกเช่นกัน ได้แก่ บล็อกตัว ท. บล็อก ว จุด หมายถึง ตัว ว แหวนของคำว่า วัด ด้านหลัง จะมีจุดตรงหัว ว แหวน ให้สังเกตเส้นจะต่อกับจุดที่ปรากฏคล้ายคีมคีบจุดเอาไว้ นอกจากนี้ก็จะมีบล็อกธรรมดาทั่วไป ซึ่งบล็อกธรรมดาจะไม่มีจุดตรงตัว ว แหวนด้านหลัง ส่วนด้านหน้าจะเป็นบล็อกเดียวกันกับบล็อก ว จุดครับ
  • ทีนี้เราลองมาพูดกันถึง "บล็อกนิยมพิมพ์ใหญ่มีตัว ท." กันก่อนนะครับ วิธีสังเกตนอกจากจะต้องดูธรรมชาติขององค์พระและรอยปั๊มให้เป็นแล้ว มีข้อสังเกตคือ รูปทรงองค์พระจะมีลักษณะเป็นกลีบบัวแต่ปลายมนไม่แหลมเหมือนหลังเตารีดตาหลวงปู่จะนูนกลมเป็นเม็ดที่เรียกว่าตาเนื้อทั้งสองข้างบ่าขวาจะยกสูงกว่าบ่าซ้ายเห็นกระดูกไหปลาร้าชัดเจนและปลายนอกกระดูกไหปลาร้าจะจรดกับเส้นกระดูกหัวไหล่ปลายนิ้วชี้มือซ้ายขององค์พระแตกเป็นปากตะขาบ
  • ด้านหลังของหลวงปู่ทวดหลังตัวหนังสือจะเรียงเป็นแถว อ่านได้ว่า แถวที่ 1 นะ แถวที่ 2 โมโพธิสัต แถวที่ 3 โตอาคันติมา แถวที่ 4 ยะอิติภะคะวา ซึ่งพระคาถานี้ได้ผูกขึ้นมีความศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง
                   3

"นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา" ถอดความได้ว่า "ข้าพเจ้าขอนอบน้อมแด่เจ้าประคุณสมเด็จหลวงปู่ทวด ผู้เป็นพระโพธิสัตว์ อันเป็นผู้นำพาโชคเข้ามาสถิตในตัวของข้าพเจ้านี้ซึ่งข้าพเจ้าขอนอบน้อมบูชาด้วยความเคารพ” ด้านล่างสองแถวเป็นคำ หลวงพ่อทวด วัดช้างให้ ถ้าเป็นบล็อกเสาอากาศเส้นจะผ่าน คำว่า โม-ในแถว 2 โต-อะ ในแถว 3 อิ-ติ ในแถว 4 จนถึง คำว่า ง-พ่อ
  • ส่วนตัว ว ด้านหลังองค์พระนั้น จะมีหลายลักษณะ เช่น ว มีจุด ว หัวกลวง ว หัวแบน ว หัวเหลี่ยมให้สังเกตที่ตัวอักษรที่ตั้งขึ้นมาจากพื้นจะต้องเป็นเหลี่ยมคมชัดไม่เบลอ องค์หลวงปู่มีน้ำหนักพอสมควร และมีร่องรอยการปั๊มตัดเป็นเส้นๆ ตามขอบชัดเจน



องค์นี้ได้มอบให้คุณ ชาตา บุญสูง ที่มีพระคุณช่วยสนับสนุนทุนในการปกป้องพระศาสนาและความมั่นคงของชาติ (27 มีนาคม 2561)

#ขอประชาสัมพันธ์
#ชมรมพิทักษ์รักษาศิลปะวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระเครื่องแท้ทุกองค์มีบันทึกข้อมูลไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ที่
https://www.facebook.com/thaihistory/photos/a.169264189786358.35217.161446187234825/1828280937218000/?type=3&theater

การนำวัตถุมงคลในประวัติศาสตร์ออกมอบให้ ท่านผู้ศรัทธาร่วมบริจาคทุนในการปกป้องพระศาสนาและโบราณสถาน #ชมรมพิทักษ์รักษาศิลปะวัฒนธรรม โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

เรียน ท่านผู้มีศรัทธาในพระศาสนา

ควรศึกษาข้อมูลก่อนศรัทธา
โทรสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 0846514822
สมเกียรติ กาญจนชาติ ผู้ประชาสัมพันธ์ 14 มีนาคม 2561
ข้อมูล https://www.facebook.com/ssomkiert
ข้อมูลที่
http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2018/03/blog-post.html

https://www.pinterest.com/pin/427771664600221338/

https://www.facebook.com/thaihistory/photos/a.1773404056039022.1073741849.161446187234825/1818541288191965/?type=3&theater

#ด่วนหยุดมารศาสนา
วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหารกำลังรื้อหอระฆัง
ที่มีระฆังที่ใหญ่ที่สุดในประไทย
#การทำลายพระพุทธศาสนาและประวัติศาสตร์ชาติไทย
#มหาชนโปรดช่วยปกป้องด้วยการอ่านดูและแชร์ครับ
#ท่านนายกและคณะคสช.
https://www.matichon.co.th/news/333458

https://www.isranews.org/isranews-art…/41262-open_41262.html

https://youtu.be/5XjiVitWMpw

https://youtu.be/F9iIFcZdgpA

https://youtu.be/9s35QuQzm1Q


                                    คุณ ชาตา บุญสูง และ ข้าพเจ้า สมเกียรติ กาญจนชาติ

   ภาพหลวงปู่ทวด ด้านล่างตามภาพ ห้าองค์นี้ นำออกมอบให้ท่านผู้บริจาคทุนให้แก่ชมรม หกหมื่นบาท มอบพระหลวงปู่ทวด หลังหนังสือใหญ่ ให้ท่านหนึ่งองค์



















#ควรศึกษาข้อมูลก่อนศรัทธา ที่  
https://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2018/01/blog-post_31.html?m=1

#ข้อมูลการฟอกเงินในวงการพระเครื่องไทยและสร้างมูลค่าเกินจริงในประเทศไทย ภัยต่อความมั่นคงของชาติ


ซูเปอร์คอนเนกชันโดยแท้ .. เมื่อไล่สำรวจตรวจสอบเส้นทางเติบใหญ่ของ “เสี่ยอ๊อด” พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ถึงกับต้องโค้งคำนับให้กับ “เส้นทางจอมยุทธ์” .. ตั้งแต่จุดกำเนิดที่ได้ไปติดตาม มนตรี พงษ์พานิช นักการเมืองรุ่นลายครามแห่งพรรคกิจสังคม อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง จนได้วิชายุทธ์แก่กล้า .. รวมทั้งเปิดโลกทัศน์ให้เป็น “เซียนอ๊อด นักเลงพระไฮเอนด์” ในวันนี้ ทำให้รู้จักผู้คนในแวดวงพระเครื่องมากมายผ่านผู้เป็น “นาย” ในฐานะนายตำรวจติดตาม .. ก่อนที่จะมีบารมีจนได้ครอบครอง “พระกริ่งปวเรศ” แห่งวัดบวรนิเวศวิหาร ที่ได้รับต่อมาจาก “เสี่ยกำพล” กำพล วิระเทพสุภรณ์ แห่งวิคตอเรียซีเครท .. เป็นพระที่มี “พุทธคุณ” ส่งให้ขึ้นชั้น ผบ.ตร.เลยทีเดียว ก่อนจะส่งต่ออีกครั้งในสนนราคาสูงลิ่ว 34 ล้านบาท .. และจากวงการพระเครื่องที่ทำให้ “เสี่ยอ๊อด” ได้รู้จัก “บิ๊กเนม” มากหน้าหลายตาแล้ว ก็ยังต่อยอดไปยัง “วงการตลาดหุ้น” ทั้งในนามตัวเอง และ “ลูกเอ๋อ - ลูกอ้าย” บุตรทั้งสอง .. ซึ่งการลงทุนเข้าออกหุ้นแต่ละตัวของ “เซียนอ๊อดและพวก” มีร่องรอยความน่าสนใจทั้งสิ้น .. ทั้ง AQ ที่แปลงร่างมาจาก “กฤษดามหานคร” (KMC) หนึ่งใน “หุ้นสวิง” ที่ทำเอา “เม่า” โอดโอยมาหนักต่อนัก .. หรือ POLAR ที่มาจาก บมจ. วธน แคปปิตัล หรือ “WAT “ เดิม ก็ผันผวนหนักตลอด และทิ่งดิ่งติดฟลอร์เมื่อ “กลุ่มพุ่มพันธุ์ม่วง” หันหลังให้ .. หุ้น FER ที่โยงได้กับ “เครือข่ายชินวัตร” เดิมชื่อ บมจ. เอ็มลิ้ง เอเชีย คอร์ปอเรชั่น หรือ M-LINK ของ “มาดามแป๋ว” มณฑาทิพย์ ชินวัตร พี่สาว “น้องปู” ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร .. ที่ปรากฏชื่อ “ลูกอ้าย” ร.ต.ท.รชต พุ่มพันธุ์ม่วง ถือหุ้นใหญ่ 10.07% และ “ผู้พันปุ่น” น.ต.ศิธา ทิวารี นั่งเป็นประธานบอร์ดให้อยู่ .. ยังมีหุ้น บมจ. สามารถ ไอ-โมบาย (SIM) ของตระกูล “วิไลลักษณ์” .. และ บมจ. ดับบลิวพี เอ็นเนอร์ยี (WP) ที่เคยแท็คทีมกับ สุริยา ลาภวิสุทธิสิน มีเรื่องมีราวกับ พล.ต.ท. ชัจจ์ กุลดิลก ..








ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ