ประวัติศาสตร์ พระสมเด็จจิตรลดา พระกำลังแผ่นดิน : ทำดีแบบปิดทองหลังพระเพื่อเป็นกำลังแผ่นดิน
พระสมเด็จจิตรลดา พระกำลังแผ่นดิน : ทำดีแบบปิดทองหลังพระเพื่อเป็นกำลังแผ่นดิน
ทำดีแบบปิดทองหลังพระ
เมื่อทำดีมากพอแล้วทองจะล้นออกมาด้านหน้าให้คนเห็นเอง
อย่าบ่นเหนื่อย อย่าบ่นท้อ…ให้มองที่ภาพพระราชกรณียกิจ ทุกพระองค์ทรงงานไม่มีวันหยุด
เดินตามรอยสถาบัน สร้างสรรค์สังคมและประเทศชาติ
ไม่ทำบุญเอาหน้า ภาวนากันตาย แต่ต้องทำทุกลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบอกใครก็ได้
เมื่อได้ทำแล้ว ส่งไม้ต่อให้คนรุ่นหลังเติมพลังให้เด็กๆ
ทำดีแบบปิดทองหลังพระ
เมื่อทำดีมากพอแล้วทองจะล้นออกมาด้านหน้าให้คนเห็นเอง
อย่าบ่นเหนื่อย อย่าบ่นท้อ…ให้มองที่ภาพพระราชกรณียกิจ ทุกพระองค์ทรงงานไม่มีวันหยุด
เดินตามรอยสถาบัน สร้างสรรค์สังคมและประเทศชาติ
ไม่ทำบุญเอาหน้า ภาวนากันตาย แต่ต้องทำทุกลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องบอกใครก็ได้
เมื่อได้ทำแล้ว ส่งไม้ต่อให้คนรุ่นหลังเติมพลังให้เด็กๆ
ในราวปีพุทธศักราช 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดชฯ ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าให้ นายไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ข้าราชการกองหัตถศิลป กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์เข้ามาเป็นผู้แกะแม่พิมพ์พระสมเด็จจิตรลดานี้ในพระราชฐาน ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ในการแกะแม่พระสมเด็จจิตรลดานั้น ท่านอาจารย์ไพฑูรย์ เมืองสมบูรณ์ ได้กรุณาให้เกียรติเล่าและถ่ายทอดประสบการณ์ที่มีโอกาสรับใช้ใต้เบื้องยุคลบาทถวายงานในการแกะแม่พิมพ์ไว้ในหนังสือ “พระพิมพ์จิตรลดา” ซึ่งเรียบเรียงและสัมภาษณ์โดย คุณประมุข ไชยวรรณ
อาจารย์ไพฑูรย์ได้ทำการแกะแม่พิมพ์ ตามพระกระแสรับสั่งขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเริ่มลงมือแกะพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดา ลงบนหินลับมีดโกน การแกะพิมพ์ (พระสมเด็จจิตรลดา หรือ พระกำลังแผ่นดิน) เป็นพุทธศิลป์แบบแม่พิมพ์ลึก แล้วใช้ดินน้ำมันกดลงบนแม่พิมพ์ลึก เพื่อถอดแบบองค์พระสมเด็จจิตรลดา
จากนั้นก็ทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงทอดพระเนตร และทรงวินิจฉัยแบบพิมพ์ พระองค์ท่านทรงมีพระกระแสรับสั่งให้แก้ไข ตกแต่ง แบบพิมพ์พระสมเด็จจิตรลดาหลายครั้ง จนเป็นที่พอพระราชหฤทัย
เมื่อได้แม่พิมพ์ที่สมบูรณ์ด้วยพุทธศิลป์ตามพระราชประสงค์ของพระองค์ท่านแล้ว จากนั้นพระองค์ทรงนำแม่พิมพ์ที่แกะไว้ทำการถอดต้นแบบพระสมเด็จจิตรลดาจากแม่พิมพ์หิน โดยพระองค์ท่านทรงใช้วัสดุเคมีที่นำเข้าจากต่างประเทศที่มีคุณภาพดี จนได้ตามจำนวนพระราชประสงค์แล้ว ก็ทรงนำต้นแบบพระสมเด็จจิตรลดาจำนวนหนึ่ง เรียงบนภาชนะที่เตรียมไว้เพื่อทำการหล่อแม่พิมพ์อีกครั้ง โดยการหล่อเป็นแม่พิมพ์ยาง
การแกะแม่พิมพ์พระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์เล็กท่านอาจารย์ได้แกะแม่พิมพ์ถวายหลังจากที่ได้แกะแม่พิมพ์ใหญ่ถวายได้ไม่นานนัก โดยมีพุทธศิลป์เหมือนกับแม่พิมพ์ใหญ่ทุกประการ ยกเว้นแต่มีขนาดเล็กกว่าเท่านั้น พระพุทธศิลป์ขององค์พระสมเด็จจิตรลดา เป็นพุทธศิลป์แบบพระพุทธรูป พิมพ์ปางนั่งสมาธิ แบบขัดสมาธิราบ พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ประทับเหนือดอกบัวบานบน 5 กลีบ ล่าง 4 กลีบ รวมเป็น 9 กลีบ ตรงกับรัชกาลที่ 9 รูปทรงสามเหลี่ยมหน้าจั่ว แบ่งเป็นสองแม่พิมพ์ตามขนาดขององค์พระ คือ พิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก พระพิมพ์ใหญ่มีขนาดกว้าง 2 ซม. สูง 3 ซม. ส่วนพระพิมพ์เล็กมีขนาดกว้าง 1.2 ซม. สูง 1.9 ซม.
พระราชประสงค์ในการสร้างพระสมเด็จจิตรลดา สืบเนื่องมาจากที่พระองค์ ได้รับทูลเกล้าฯ ถวายพวงมาลัยดอกไม้สดจากประชาชนในการเสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงพระพุทธปฏิมากรแก้วมรกต และได้ทรงแขวนไว้ ณ ที่บูชาองค์พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาลจนถึงคราวที่เสด็จพระราชดำเนินเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ทรงเห็นเป็นของสำคัญที่ควรเก็บดอกไม้แห้งเหล่านี้ไว้ให้เป็นประโยชน์เพื่อเป็นสิริมงคล และทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย ว่าสมควรใช้เป็นส่วนผสมสำคัญสำหรับสร้างเป็นพระสมเด็จจิตรลดา และเพื่อให้ได้พุทธคุณสูงยิ่งขึ้น เพียงเฉพาะดอกไม้แห้งจากพวงมาลัยที่ได้กล่าวถึงมาแล้ว คงไม่เพียงพอสำหรับที่จะทำเป็นองค์พระ จะต้องมีส่วนผสมอื่นที่สามารถจะผสานให้เป็นเนื้อเดียวกัน รวมทั้งวัตถุมงคลจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วราชอาณาจักรด้วย จึงจะได้อำนาจแห่งพุทธคุณโดยสมบูรณ์ ทรงให้เจ้าพนักงานรวบรวมเส้นพระเจ้า (เส้นพระเกศา) หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ (ตัดผม) ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนพระมหาเศวตฉัตร และด้ามพระขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล สีซึ่งขูดจากผ้าใบที่ทรงเขียนภาพโดยฝีพระหัตถ์ ชัน และสีซึ่งทรงขูดจากเรือใบพระที่นั่ง ส่วนผสมที่เป็นมงคลนี้ คือ ส่วนผสมที่เรียกว่า “ส่วนในพระองค์”
สำหรับส่วนผสมที่มาจากทุกจังหวัดของทุกภาค ทั่วราชอาณาจักร ทรงมอบให้กระทรวงมหาดไทยเป็นผู้จัดหาวัตถุมงคลนี้ ซึ่งนำมาจากปูชนียสถาน หรือพระพุทธรูปอันศักดิ์สิทธิ์ที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลายเคารพ ปฏิบัติบูชาสืบเนื่องกันมาเป็นเวลานานในแต่ละจังหวัด ได้แก่ ดิน หรือ ตะไคร่แห้งจากปูชนียสถาน ทองคำเปลวปิดพระพุทธรูป ผงธูปหน้าที่บูชา และน้ำจากบ่อศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งได้นำมาใช้เป็นน้ำสรงมุรธาภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นต้น
แม้แต่ภาชนะที่ผู้ว่าราชการจังหวัดต่างๆ ใช้บรรจุ ห่อ วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายถวายนั้น ก็มิได้ทรงทิ้งหรือทำลาย มีทั้งกระดาษ พลาสติก แก้ว และวัสดุอื่นๆ อีกหลายอย่าง เมื่อทรงใช้วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์เสร็จแล้ว ภาชนะวัสดุเหล่านั้นทรงให้ยุบรวมกันเป็นชิ้นเดียวและทรงเก็บรวบรวมในพระราชตำหนัก
ในการสร้างพระสมเด็จจิตรลดานี้ทรงมีพระราชประสงค์ในเบื้องต้น เพื่อบรรจุที่ฐานบัวขององค์พระพุทธวราชบพิตรและพระราชทานแก่ข้าราชบริพารที่ถวายงานใกล้ชิดเบื้องพระยุคลบาทรวมทั้งราชองครักษ์ประจำพระองค์ และพระราชทานให้กับพสกนิกรผู้ประกอบแต่กรรมดีแก่ประเทศชาติ โดยทรงมิได้เลือกชั้นวรรณะ ไม่ว่าจะเป็นนักการเมือง นายทหาร นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือชั้นผู้น้อย จนมาถึงคนขับรถ คนสวน แม่ครัว และบรรดาข้าราชการทหารที่ไปร่วมรบในสมรภูมิต่างๆ เช่น เวียดนามและลาว ผู้บังคับบัญชาในระดับสูงจะทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานให้แก่นายทหารเหล่านั้นในจำนวนที่ไม่มากนัก ซึ่งจะทรงมีพระราชวินิจฉัยด้วยพระองค์เองว่าจะมีพระราชทานหรือไม่ จำนวนเท่าใด แต่ในการขอพระราชทานจะต้องขอพระราชทานต่อพระองค์เท่านั้น จะไม่พระราชทานให้แก่ผู้ที่ไม่ได้ขอพระราชทาน ส่วนสมเด็จพระจิตรลดาพิมพ์เล็กทรงพระราชทานให้กับบุตรหลานข้าราชบริพารที่รับใช้ใกล้ชิดพระองค์มีทั้ง เด็กชาย เด็กหญิง และสตรีที่สนองงานพระองค์ ทรงสร้างไว้ทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็กประมาณ ไม่เกิน 3,000 องค์ และพระราชทานตั้งแต่ในปี 2508 จนสิ้นสุดในปี 2513
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงอธิษฐานพระบุญญาบารมีของพระองค์ท่าน ความมีศรัทธาปสาทะอย่างสุดซึ้ง ในพระบวรพุทธศาสนา และผลบุญกุศลที่พระองค์ทรงยึดมั่นอยู่ในการประกอบแต่กรรมดี ทั้งในอดีตชาติและปัจจุบันชาติ ช่วยดลบันดาลให้พระสมเด็จจิตรลาดที่พระองค์ทรงสร้างขึ้นนั้น สูงสุดด้วยพระพุทธานุภาพ และกฤตยานุภาพ คุ้มครองให้คลาดแคล้วผองภัยพิบัติ และอำนวยความเป็นสิริมงคลให้แก่ผู้ที่ได้นำไปบูชา ด้วยความเลื่อมใสศรัทธา และประกอบแต่กรรมดี ซึ่งอัญเชิญพระพุทธคุณด้วยพระราชหฤทัยอันมั่นคงในทศพิธราชธรรมให้อยู่อย่างมั่นคงกับพระสมเด็จจิตรลดาองค์นี้ ทุกครั้งที่ทรงเทพิมพ์ จะทรงเทพิมพ์ด้วยพระหัตถ์ ในยามดึกสงัดเพียงลำพังพระองค์เดียว มีเพียงเจ้าพนักงาน 1 คน ที่คอยถวายสุธารส และคอยหยิบสิ่งของต่างๆ ถวายตามพระราชประสงค์ การผสมผงวัตถุมงคลจะทรงผสมให้พอดีที่จะพิมพ์ให้หมดในแต่ละครั้งเท่านั้น
ผู้ที่ได้รับพระราชทานพระสมเด็จจิตรลดาทุกองค์จะได้รับพระราชทานจากพระหัตถ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โดยให้เป็นรายบุคคลๆ ไป พร้อมพระกระแสรับสั่งทุกครั้ง ให้ผู้ที่ได้รับพระราชทาน จงประพฤติปฏิบัติคุณงามความดีอยู่ในศีลธรรม และยึดมั่นอำนาจแห่งพระพุทธคุณ ทรงกำชับให้นำทองคำเปลวปิดที่หลังขององค์พระกอ่นนำไปบูชาเสมอ
ขณะปิดทองให้ตั้งจิตเป็นสมาธิ อธิษฐาน ขอให้ความดีที่มีอยู่ในตัว จงดำรงอยู่ต่อไปและขอให้ยังความเป็นสิริมงคล จงบังเกิดแก่ตัวยิ่งขึ้น อีกประสบแต่ความสุขความเจริญในทางดีงาม เมื่อได้รับพระราชทานแล้ว จะมีใบพระราชทาน (ใบกำกับพระพิมพ์) ซึ่งจะระบุ ลำดับ วัน เดือน ปี ที่ได้รับ ขนาดกว้างประมาณ 12.7 ซม. ยาว 15.8 ซม. เป็นเอกสารส่วนพระองค์ เอกสารสำคัญฉบับนี้ เจ้าหน้าที่สำนักพระราชวังจะแจ้งให้มารับภายหลังจากวันที่ได้รับพระราชทานองค์พระ โดยไม่มีหมายกำหนดที่แน่นอน
การบูชาพระสมเด็จจิตรลดามีสองวิธี คือ หนึ่ง “อามิสบูชา” อันได้แก่การบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน หรือสิ่งของต่างๆ อีกวิธีหนึ่งคือ “ปฏิบัติบูชา” ได้แก่บูชาด้วยการปฏิบัติ หมายถึงการทำดีละชั่ว หมั่นทำจิตให้สะอาดบริสุทธิ์ ไม่ให้มีความโลภ ความโกรธ ความหลงมาครอบงำ การบูชาด้วยการปฏิบัตินี้ คือการประกอบกรรมดี
ส่วนความแตกต่างของพุทธลักษณะขององค์พระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์ใหญ่ในแต่ละปี มีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถพอจะแยกจุดเด่นๆ ขององค์พระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์ใหญ่ ตั้งแต่ทรงสร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2508 ถึง ปี พ.ศ.2513 ตามหลักเกณฑ์จากประสบการณ์ของผู้เขียนดังนี้
ดูตามลักษณะพิมพ์ทรง ความคม ลึก ชัด ขององค์พระในแต่ละปีไม่เท่ากัน ซึ่งเข้าใจว่าเกิดจากการที่ทรงถอดจากแม่พิมพ์หินเป็นแม่พิมพ์ยางและตกแต่งแม่พิมพ์
ดูตามลักษณะพิมพ์ทรง ความคม ลึก ชัด ขององค์พระในแต่ละปีไม่เท่ากัน ซึ่งเข้าใจว่าเกิดจากการที่ทรงถอดจากแม่พิมพ์หินเป็นแม่พิมพ์ยางและตกแต่งแม่พิมพ์
ดูจากเนื้อสีวัสดุที่เป็นส่วนผสม ทำให้มวลสาร วัตถุมงคต่างๆ แข็งตัวรวมกันเป็นองค์พระ ซึ่งพระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์ใหญ่จะมีสีสันขององค์พระในแต่ละปีค่อนข้างจะดูแตกต่างกัน
ดูจากลักษณะด้านหลัง ด้านข้างสันขอบขององค์พระ และความหนา-บางขององค์พระ ซึ่งพระในแต่ละปีจะมีความแตกต่างกัน สังเกตได้ชัดเจนพอสมควร ตามลักษณะการเก็บงานและความเรียบร้อย
2. หลังจากทรงเทพิมพ์เป็นองค์พระแล้ว ดังรายละเอียดที่จะมีบรรยายไว้ใต้รูปขององค์พระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์ใหญ่ในแต่ละปี สำหรับพุทธลักษณะขององค์พระสมเด็จจิตรลดาพิมพ์เล็กนั้น ตามประวัติที่ทรงสร้างประมาณว่ามีไม่มากนัก และทรงมีการพระราชทานให้เพียง 2 ปี เท่านั้น(คือ ปี พ.ศ.2508 และ ปี พ.ศ.2509) ซึ่งดูเหมือนจะหาความแตกต่างไม่ได้เลยสำหรับพระพิมพ์สมเด็จจิตรลดาที่ออกมาในแต่ละปี
สำหรับประสบการณ์ที่เกิดจากการอาราธนาอัญเชิญพระพุทธคุณขององค์พระสมเด็จจิตรลดาไปบูชานั้น บังเกิดความศักดิ์สิทธิ์นำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล พบแต่ความสำเร็จ เป็นที่รักใคร่ของบุคคลทั่วไปที่ได้พบเห็นและให้ความเกื้อหนุนเสมอ มีพระพุทธานุภาพ คุ้มครอง ให้แคล้วคลาดจากผองภัยพิบัติต่างๆ หรือทุกสิ่งอย่างที่เป็นอุปสรรคก็ดูเหมือนจะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีเสมอ “ดุจพระบารมีปกเกล้าซึ่งเหมือนเป็นมงคล
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลประวัติศาสตร์
รวมภาพพระสมเด็จจิตรลดา ที่สวยที่สุดในการอนุรักษ์เชิงประวัติศาสตร์
ข้อมูลที่ควรศึกษาก่อนศรัทธา โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ ที่
มหาชนควรศึกษาข้อมูลก่อนศรัทธา
ประกาศการหาทุนโดย นำพระเครื่องศิลปวัตถุที่อนุรั กษ์เชิงประวัติศาสตร์ มอบให้แก่ท่านผู้มีศรัทธา บริจาคสมทบทุนในการดำเนิ นโครงการ โทร ปรึกษาและสอบถามข้อมูลได้ที่
สมเกียรติ กาญจนชาติโทร 084-6514822 และ 095-9849625 มูลค่าเป็นสิ่งสมมุติ ถ้ามีศรัทธาโทรมาครับ
ประกาศการหาทุนโดย นำพระเครื่องศิลปวัตถุที่อนุรั
สมเกียรติ กาญจนชาติโทร 084-6514822 และ 095-9849625 มูลค่าเป็นสิ่งสมมุติ ถ้ามีศรัทธาโทรมาครับ
พระเครื่งทุกองค์มีข้อมูลบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ แห่งเดียวในโลก ที่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ