#ความล่าช้าทำให้ประเทศชาติสูญเสียการเป็นผู้นำด้านการสื่อสารในภูมิภาค












#ความล่าช้าทำให้ประเทศชาติสูญเสียการเป็นผู้นำด้านการสื่อสารในภูมิภาค และทำให้การพัฒนาประเทศสู่ไทยแลนด์4.0 ไปได้ช้ามาก มหาชนโปรดช่วยศึกษาและแชร์เพื่อให้ท่าน นายกรัฐมนตรีได้ทราบความจริงเรื่องนี้ครับ
#ยุทธศาสตร์ของพระราชาเพื่อมหาชน โปรดช่วยศึกษาและแชร์ถ้ามีคุณค่า
แผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 2559
http://www.mict.go.th/…/590613_4Digital_Economy_Plan-Book.p…
#หัวหน้าคณะคสช.
โครงการที่ช่วยประเทศชาติได้?

“คนไทยมีปัญหาพระราชาก็ทรงคิดหาทางแก้ไขโดย
#ศาสตร์พระราชา
มีคำกล่าวถึง “ศาสตร์พระราชา” มานานหลายปีที่ผ่านมา เช่น ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน, ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, ศาสตร์พระราชาจากภูผาสู่มหานที ซึ่งในต่างประเทศต่างทราบว่าเป็นแนวคิดตามแนวพระราชดำริขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 [2]
ในความคิดแวบหนึ่งคนไทยนี่ช่างโชคดี ที่เจอปัญหาอะไร พระราชาของเราก็หาทางแก้ไขไว้ให้ มีคำถามว่า “คนไทยรู้จักศาสตร์ของพระราชาดีแค่ไหน และเคยนำไปปฏิบัติกันหรือยัง” มาเริ่มต้นที่ตัวเรา และต่อไปก็คนรอบข้าง แล้วขยายออกวงกลางไปสู่สังคมและประเทศชาติในที่สุด
ตัวอย่างปัญหาเช่น ทุกครั้งที่คนไทยมีปัญหา น้ำเสีย น้ำท่วมดินถล่ม ไฟป่า พระองค์ท่านก็จะคิดศาสตร์มาแก้ไข เมื่อประเทศไทยฝนแล้งพระองค์ท่านก็มีศาสตร์ในการทำฝนเทียม หรือ ฝนหลวง ที่เรียกว่า “ฟากฟ้าลงภูผา ผ่านทุ่งนาสู่มหานที” เมื่อประชาชนชาวกทม.น้ำท่วม พระองค์ท่านก็คิดศาสตร์ที่ชื่อว่าโครงการแก้มลิง ที่คลองมักกะสัน เพื่อแก้ไขปัญหา โครงการขุดคลองลัดโพธิ์ หรือ การแก้ไขปัญหาน้ำเสีย ใช้ผักตบชวาที่เรียกว่า “ใช้อธรรมปราบอธรรม” (The use of vice to defeat vice) และก็มีกังหันชัยพัฒนา เติมออกซิเจน
มีคำถามหนึ่งว่า “ทำไมคนไทยรักพระราชาของเขาได้มากขนาดยอมตายแทนได้” คำตอบก็คือพระราชา ทรงห่วงใยประชาชนของพระองค์ และทำเพื่อบำบัดความทุกข์ทุกอย่างของประชาชนตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์ กว่า 70 ปี จึงเป็นหน้าที่ของคนไทยที่ต้องศึกษาศาสตร์แห่งพระราชา และช่วยกันดำเนินการตามรอยพระบาท หรือ “การเดินตามรอยเท้าพ่อ” ที่ต้องศึกษาแนวทาง ที่พระองค์ท่านได้ทรงงานและวางแนวทางหาหนทางแก้ไขปัญหาของประชาชนไว้ ที่ทุกคนรู้จักกันในนาม “ศาสตร์พระราชา” หรือ “ศาสตร์แห่งพระราชา”
ในแง่แนวคิด ปรัชญา และการปฏิบัตินั้น “การรักพระราชาของเรา” นั้นก็คือการปฏิบัติบูชาตามคำสอน หากคนไทยทุกคน ช่วยกันทำ กันปฏิบัติ และขยายผลการปฏิบัติให้กว้างขวาง จะยิ่งเกิดผลดีในการปฏิบัติ “เชิงสัญลักษณ์” มากขึ้น ที่ปกติเหล่าบรรดาข้าราชการและพสกนิกรทั่วไปทุกคนก็ได้ทำกันอยู่แล้ว เช่น คำขวัญ สโลแกน ที่เขียนขึ้นป้าย ติดเสื้อ ติดรถ ต่าง ๆ อาทิ “เราเกิด ในรัชกาลที่ 9” ซึ่งเรียกรวมๆกันว่า “ปฏิบัติบูชา” ช่วยกันทำ สังคมก็จะดียิ่งขึ้น การเขียนให้ดูสวยดูดีดูเท่ห์ แต่ไม่ช่วยกันทำ ช่วยกันปฏิบัติ ก็จะไม่เรียกว่า “รักพระองค์ท่านอย่างแท้จริง”
การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
เป็นเวลาเกือบ 20 ปีที่คนไทยรู้จัก “หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ที่ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” พระราชทานเป็นแนวทางในการนำพาประเทศไทยให้ข้ามพ้นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2540 หรือ “วิกฤตต้มยำกุ้ง” หรือ ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ “ฟองสบู่แตก” จนหลายภาคส่วนน้อมนำหลักปรัชญานี้ไปเป็นแนวทางปฏิบัติ โดยอาจารย์ยักษ์ หรือ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้เด็ดเดี่ยวตามรอยในหลวงให้เศรษฐกิจพอเพียงเลี้ยงชีวิต [3] ได้ศึกษาและเขียนเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง มาตลอดตั้งแต่ปี 2540 จวบจนทุกวันนี้ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้รับการนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย ทั้งในภาคเกษตรกรรม ธุรกิจ การจัดการทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม และสถานศึกษา จนประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม โดย “มูลนิธิมั่นพัฒนา” ที่จัดตั้งขึ้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2557 [4]
ศาสตร์พระราชา...ศาสตร์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ มีพระราชดำรัส เมื่อปี 2554 ว่า [5] “เป้าหมายในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ ‘การพัฒนาที่ยั่งยืน’ เพื่อปรับปรุงชีวิตความเป็นอยู่ของคน โดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ให้คนมีความสุข โดยต้องคำนึงเรื่องสภาพภูมิศาสตร์ ความเชื่อทางศาสนา เชื้อชาติ และภูมิหลังทางเศรษฐกิจ สังคม แม้ว่าวิธีการพัฒนามีหลากหลาย แต่ที่สำคัญคือนักพัฒนาจะต้องมีความรัก ความห่วงใย ความรับผิดชอบ และการเคารพในเพื่อนมนุษย์ จะเห็นได้ว่าการพัฒนาเกี่ยวข้องกับมนุษยชาติ และเป็นเรื่องของจิตใจ”
เมื่อ 28 ตุลาคม 2559 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในรายการ “ศาสตร์พระราชาสู่การปฏิบัติอย่างยั่งยืน” [6] ในการพัฒนาเศรษฐกิจสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 รวมทั้งการพัฒนาประเทศเพื่อก้าวเข้าสู่สังคมโลกทั้งในระดับภูมิภาค และ ในระดับโลก เพื่อน้อมนำพระราชดำรัสขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดชที่ให้ “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” ของการพัฒนา มาเป็นแนวทางในการดำเนินงาน เพื่อไม่ให้เกิดความขัดแย้งในพื้นที่ ประชาชนมีส่วนร่วม และได้ประโยชน์จากการพัฒนาอย่างแท้จริง ให้มีความ อยู่ดี กินดี
รัฐบาล ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้เชื่อมโยง “ศาสตร์พระราชา”ในเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (SEP - Sufficiency Economy Philosophy) กับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs - Sustainable Development Goals) ประสบความสำเร็จ ในการสร้างความตระหนักและการยอมรับในเวทีระหว่างประเทศในระดับหนึ่ง ยกตัวอย่าง ได้แก่ (1) ศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง เพื่อแก้ปัญหาการขาดน้ำกินและน้ำใช้, การขาดที่ดินทำกิน ซึ่งมีการส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีอย่างง่าย (2) ธนาคารอาหารเป็นกิจกรรมจากกองทุนอาหารกลางวันแบบยั่งยืน ให้เด็กนักเรียนทุกคนนำไปลงทุน เพื่อประกอบอาชีพทำการเกษตรและปศุสัตว์ขนาดเล็ก (3) โรงเรียนพระดาบส จัดให้มีการสอนวิชาชีพ หลักสูตร 1 ปี มุ่งให้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง เสริมด้วยทักษะชีวิต ให้สามารถดำรงตน ได้อย่างเหมาะสม (4) กังหันชัยพัฒนา เป็นการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ ลดกลิ่น น้ำไม่เน่าเสีย เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำได้ (5) บริษัท ประชารัฐ รักสามัคคี จำกัด ดำเนินการตามรูปแบบ “วิสาหกิจเพื่อสังคม” บนกลไก “ประชารัฐ”ที่ไม่มุ่งเน้นผลกำไรจากการประกอบการ
ลองมาดูเนื้อหาโดยสรุปของ “ศาสตร์แห่งพระราชา” ที่สำคัญเหล่านี้กัน อาทิ [7]
โครงการฝนหลวง จากฟากฟ้าลงภูผา ผ่านทุ่งนาสู่มหานที
วิธีทำฝนหลวงมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน คือการดัดแปรสภาพอากาศหรือก้อนเมฆในขณะนั้นเพื่อกระตุ้นให้มวลอากาศ ชื้นไหลพาขึ้นสู่เบื้องบนอันเป็นการชักนำไอน้ำหรืออากาศชื้นเข้าสู่กระบวน การเกิดเมฆ ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน คือการดัดแปรสภาพอากาศเพื่อทำให้เมฆเจริญขึ้นจนมีขนาดใหญ่หนาแน่นและพร้อมที่จะตกลงมาเป็นฝน ขั้นตอนที่ 3 โจมตีคือการดัดแปรสภาพอากาศที่จะกระตุ้นให้เม็ดละอองเมฆปะทะชนกันแล้วรวมตัว เข้าด้วยกัน จนมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการลดแรงไหลพาขึ้นเบื้องบน เพื่อให้เม็ดน้ำ มีขนาดใหญ่ตกลงสู่เบื้องล่างแล้วเกิดเป็นฝนตกลงมาสู่เป้าหมาย
ฝายชะลอความชุ่มชื้น(Check Dam) หรือฝายแม้ว
ใช้วัสดุธรรมชาติที่หาง่ายในท้องถิ่นเช่นก้อนหินและไม้เพื่อก่อเป็นฝายขวางร่องน้ำหรือห้วยเล็กๆทำหน้าที่กักกระแสน้ำไว้ให้ไหลช้าลงและให้น้ำสามารถซึม ลงใต้ผิวดินสร้างความชุ่มชื้นในบริเวณนั้น อีกทั้งยังช่วยดักตะกอนดินและทราย ไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง
แฝก
การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับเพื่อช่วยชะลอความชุ่มชื้นไว้ในดิน โดยรากของหญ้า แฝกจะขยายออกด้านข้างเป็นวงเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 50 เซนติเมตรและจะแทงลงไป เป็นแนวลึกใต้ดิน 1-3 เมตรแล้วสานกันเป็นแนวกำแพงดูดซับความชุ่มชื้นให้แก่ผิวดิน
ทฤษฎีใหม่
เป็นการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กบนผิวดินในพื้นที่การเกษตรของเกษตรกรโดยแบ่ง ที่ดินสำหรับใช้ขุดเป็นสระเก็บน้ำให้สามารถใช้ทำการเกษตรได้ตลอดปีและสามารถ เลี้ยงปลาไปพร้อมๆกันนอกจากนี้บริเวณขอบสระยังสามารถใช้ปลูกพืชผักสวนครัว ได้อีกด้วย
โครงการแก้มลิง
หลักการของโครงการ คือเมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองชักน้ำให้ไหลมารวมกันเก็บไว้ ในแหล่งพักน้ำแล้วจึงค่อยทำการระบายลงสู่ทะเลผ่านทางประตูระบายน้ำในช่วงที่ ปริมาณน้ำทะเลลดลง ขณะเดียวกันก็สามารถสูบน้ำออกจากคลองที่เป็นแก้มลิงลงสู่ ทะเลตลอดเวลาเพื่อที่น้ำจากตอนบนจะได้ไหลลงมาได้เรื่อยๆและเมื่อใดก็ตามที่ ระดับน้ำทะเลขึ้นสูงกว่าระดับน้ำในคลองที่เป็นแก้มลิงก็ให้ปิดประตูระบายน้ำกั้นไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับเข้ามา
การใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย
เป็นการนำน้ำคุณภาพดีจากแม่น้ำเจ้าพระยาส่งเข้าไปไล่น้ำเสียตามคลองใน เขตกรุงเทพฯและปริมณฑลได้แก่คลองบางเขน คลองบางซื่อ คลองแสนแสบ คลองเทเวศร์และ คลองบางลำภูเพื่อช่วยลดปัญหา ความเน่าเสียของน้ำในคลองต่างๆคล้ายกับ การ “ชักโครก”คือปิดและเปิดน้ำให้ได้จังหวะตามเวลาน้ำขึ้น-น้ำลงหากน้ำขึ้น สูงก็เปิดประตูน้ำให้น้ำดีเข้าไปไล่น้ำเสียครั้นน้ำทะเลลงก็เปิดประตูถ่ายน้ำเสียออกจากคลองไปด้วย
กังหันน้ำชัยพัฒนา
กังหันชัยพัฒนา หรือ เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย เป็นกังหันน้ำเพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำงานโดย การหมุนปั่น เพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสียจากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจน ให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร ใช้บำบัดน้ำเสียที่เกิดจากชุมชนและอุตสาหกรรมลักษณะเป็นเครื่องกลหมุนช้าแบบทุ่นลอยเพื่อช่วยเติมออกซิเจนที่ผิวน้ำ
การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์ 2 วิธี
วิธีที่ 1 การใช้น้ำหมักชีวภาพ โดยการใช้น้ำหมักชีวภาพปริมาณ 1 ต่อ 500 ส่วนราดลงทั้งในน้ำทิ้งจากครัวเรือน ตลาดสดฟาร์มปศุสัตว์หรือโรงงานอุตสาหกรรมเพื่อให้จุลินทรีย์ช่วยย่อยสลาย อินทรีย์สารในแหล่ง น้ำนอกจากนี้น้ำหมักชีวภาพยังสามารถนำไปใช้ได้ดีในการปรับสภาพน้ำในบ่อประมงทั้งบ่อเลี้ยงกุ้งและปลาได้เป็นอย่างดี วิธีที่ 2 ลูกระเบิดจุลินทรีย์ เป็นการบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำให้ดีขึ้นด้วยจุลินทรีย์เช่นเดียวกับการใช้น้ำ หมักประกอบด้วยโคลนจากท้องน้ำ 50กิโลกรัม,ร้า 10 กิโลกรัม,ปุ๋ยอินทรีย์เม็ดหรือ ผง 50 กิโลกรัมและน้ำหมักชีวภาพที่หมักจนได้ที่แล้ว 3 เดือนขึ้นไปโดยนำทุกอย่างมาผสมเข้าด้วยกันจนสามารถปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าลูกเปตองนำไปผึ่งไว้ในที่ร่ม จนแห้งสามารถนำไปบำบัดน้ำได้โดยใช้ในอัตราส่วน 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ล้านลิตร หรือ 25 กิโลกรัมต่อพื้นที่ไร่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่เน่าเสีย
ในบริบทของท้องถิ่นนั้นปัจจุบันได้มีการน้อมนำแนวพระราชดำริดังกล่าว มาปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตาม “แผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น ในด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ” (Local Sufficiency Economy Plan : LSEP) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2560 ซึ่งเป็นทางเดินที่ถูกทางแล้ว เราชาว อปท. มาช่วยกันนำทางการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมกันหน่อย
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/622463

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง