เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ มหาชนควรศึกษาและแชร์เพื่อแผ่นดินอันทรงธรรมของพระราชา


กก.มรดกโลกรับรอง 'วัดพระบรมธาตุ' เข้าบัญชีเบื้องต้นมรดกโลก
https://www.thairath.co.th/content/352642



                                                         โครงการ
เมืองนครศรีธรรมราช ศูนย์กลางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
 "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่"
 ประวัติศาสตร์               
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ ที่ชาวนครเรียกว่า วัดพระธาตุ โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
และเป็น มิ่งขวัญชาวเมือง นครศรีธรรมราชตลอดจน พุทธศานิกชน ทั้งหลาย 



ข้อมูลประวัติศาสตร์



ในอดีต มีชื่อเรียกดินแดนแถบนี้หลายชื่อ เช่น ในคัมภีร์มหานิเทศของอินเดีย ที่เขียนขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 7-8 เรียกว่า "ตามพรลิงก์" หรืออาณาจักรตามพรลิงก์, บันทึกโบราณของเมืองจีนเรียก "เซี้ยะ-โท้ว (ถู-กวั่ว) ", "รักตะมฤติกา" (จารึกภาษาสันสกฤต) ซึ่งล้วนหมายถึง "ดินแดนที่มีดินสีแดง", ตะวันตกนิยมเรียกกันมา จนกระทั่งต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ "ลิกอร์" สันนิษฐานว่าชาวโปรตุเกสที่เข้ามาติดต่อค้าขายในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นผู้เรียกก่อน โดยเพี้ยนมาจากคำว่า "นคร" ส่วนชื่อ "นครศรีธรรมราช" มาจากพระนามของกษัตริย์ผู้ครองนครในอดีต มีพระนามว่า "พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช" (ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช) มีความหมายว่า "นครอันเป็นสง่าแห่งพระราชาผู้ทรงธรรม" หรือ "เมืองแห่งพุทธธรรมของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่"
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราชมีฐานะเป็นหัวเมืองชั้นเอกคู่กับเมืองพิษณุโลก มีขุนนางชั้นผู้ใหญ่ระดับเจ้าพระยาเป็นเจ้าเมือง มีบรรดาศักดิ์ตามพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือน นาทหารหัวเมือง ว่า เจ้าพระยาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ
นครศรีธรรมราช เป็นเมืองโบราณที่มีความสำคัญทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง และศาสนามากที่สุดเมืองหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นครศรีธรรมราชมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง มาไม่น้อยกว่า 1800 ปีมาแล้ว หลัก ฐานทางโบราณคดี และหลักฐานทางเอกสารที่ปรากฏในขณะนี้ยืนยันได้ ว่านครศรีธรรมราช มีกำเนิดมาแล้วตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 7 เป็นอย่างน้อย
จากประวัติศาสตร์อันยาวนานแห่งนครศรีธรรมราช สามารถประมวลได้ว่า "นครศรีธรรมราช"ได้ปรากฏชื่อในที่ต่างๆ หลายชื่อตามความรู้ความเข้าใจที่สืบทอด กันมา และสำเนียงภาษาของชนชาติต่าง ๆ ที่เคยเดินทางผ่าน ในระยะเวลาที่ต่างกันเช่น ตามพลิงคม ตามพรลิงก์ มัทธาลิงคม ตามพลิงเกศวร โฮลิง โพลิง เชียะโท้ว โลแค็ก (Locae) สิริธรรมนคร ศรีธรรมราช ลิกอร์(Ligor) ละคอน คิวตูตอน สุวรรณปุระ ปาฏลีบุตร (Pataliputra) และเมือง นคร เป็นต้น 
คำว่า"นครศรีธรรมราช" น่าจะมาจากสร้อยพระนามของปฐมกษัตริย์ ผู้ครอง นครศรีธรรมราช คือพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช คำนี้ แปลความได้ว่า "นครอันงามสง่าแห่ง พระราชาผู้ทรงธรรม" และธรรมของราชา แห่งนครนี้ก็คือ ธรรมแห่ง พระพุทธศาสนา
 ถ้าจะลำดับความเป็นมาของนครศรีธรรมราช จากหลักฐาน โบราณคดี และ ประวัติศาสตร์ที่สืบค้น ได้ในขณะนี้ พบว่ามีภูมิหลังอันยาวนานนับตั้งแต่ยุคหินกลาง ในราว 8,350-11 ,000 ปีที่ล่วงมา จากหลักฐานมีการพบเครื่องหิน ที่มีตัวขวานยาวใหญ่ (บางคนเรียกว่าระนาดหิน ) ที่อำเภอท่า ศาลา ในยุคโลหะ ได้พบหลักฐานทางโบราณคดี คือ กลองมโหระทึกสำริด 2 ใบ ที่บ้านเกตุ กาย ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง และที่คลองคุดด้วน อำเภอฉวาง
นอกจากนี้ในบริเวณพื้นที่อำเภอสิชลปัจจุบัน ยังมีร่องรอยโบราณสถาน และโบราณวัตถุเกี่ยวเนื่องในศาสนาพราหมณ์ ซึ่งมีอายุเก่าแก่ที่สุดใน นครศรีธรรมราช เช่น พระพุทธรูปสำริด ศิลปแบบอมราวดี
ของอินเดีย และเศียรพระพุทธรูปศิลปแบบคุปตะอินเดีย เป็นต้น จากหลักฐานเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าใน ช่วงนี้นครศรีธรรมราชได้รับ อิทธิพลวัฒนธรรมมาจากอินเดียอย่างมากมาย ทั้งในด้านศาสนา ความเชื่อ อักษร ภาษา ประเพณี และการปกครอง จนกลายเป็นพื้นฐานวัฒนธรรม นครศรีธรรมราชมาถึง ปัจจุบันนี้
พุทธศตวรรษที่ 17-19 เป็นช่วงที่นครศรีธรรมราชมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ภายใต้ การปกครองของราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองน่าจะ เนื่องมากจากการเป็นสถานีการค้าสำคัญของคาบสมุทรไทยเป็นจุดพักถ่าย ซื้อสินค้าระหว่าง ตะวันออกกับตะวันตกที่ดีที่สุดในเวลานั้น ประกอบกับบริเวณ หาดทรายแก้วอันเป็นศูนย์ กลางของชุมชน เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของ พระพุทธองค์ความศรัทธาและ ความเลื่อมใสในบวรพุทธศาสนา จึงเป็นปัจจัยชักนำให้ผู้คน จากทุกสารทิศในภาคใต้เข้ามา ตั้งถิ่นฐานในนครศรีธรรมราชอย่างหนาแน่น ในราว พ.ศ. 1700 เศษ ราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ก็สามารถจัดการปกครอง หัวเมืองรายรอบ ได้สำเร็จถึง 12 เมือง เรียกว่า
เมืองสิบสองนักษัตร คือ
1
เมืองสายบุรี
ตราหนู
2
เมืองปัตตานี
ตราวัว
 3
เมืองกลันตัน
ตราเสือ
 4
เมืองปาหัง
ตรากระต่าย
 5
เมืองไทรบุรี
ตรางูใหญ่
 6
เมืองพัทลุง
ตรางูเล็ก
 7
เมืองตรัง
ตราม้า
 8
เมืองชุมพร
ตราแพะ
 9
เมืองปันทายสมอ(กระบี่)
ตราลิง
 10
เมืองสระอุเลา (สงขลา)
ตราไก่
 11
เมืองตะกั่วป่า ถลาง
ตราหมา
 12
เมืองกระบุรี
ตราหมู

จากหลักฐานตำนานเมืองนครศรีธรรมราช ตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ตลอดถึงวรรณกรรมเรื่องพระนิพพานสูตรทุกสำนวน ต่างยืนยันให้เห็นอย่างชัดเจน ถึงความ รุ่งเรืองไพศาลของนครศรีธรรมราช ในยุคดังกล่าวและสามารถควบคุมหัวเมือง อื่น ๆ ได้ทั่ว ถึงคาบสมุทร มีแสนยานุภาพเกรียงไกรถึงขนาดกรีธาทัพไปตีลังกาถึงสองครั้ง
 เหนือสิ่งอื่นใดราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช ได้สถาปนาพระพุทธศาสนา ลัทธิลังกาวงศ์ ขึ้นอย่างมั่นคงในนครศรีธรรมราช มีการบูรณะพระเจดีย์เดิม ให้เป็นทรงระฆังคว่ำ อันเป็น ศิลปะลังกา จนนครศรีธรรมราชกลายเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรม เป็นเมืองแม่แห่งวัฒนธรรม ที่ได้ถ่ายทอด ศิลปวัฒนธรรมไปยัง หัวเมืองอื่น ๆ รวมทั้งสุโขทัยซึ่งในเวลานั้นเพิ่งเริ่ม ก่อตัวขึ้นเป็นราช ธานีทาง ภาคเหนือตอนล่างใหม่ ๆ 
เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยา(อาณาจักรอยุธยา) ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2310 ตำแหน่งเจ้าพระยานครศรีธรรมราช ว่างอยู่ หลวงสิทธิ นายเวรมหาดเล็ก (หนู) ซึ่งออกไปรับราชการ ตำแหน่งปลัดเมือง เป็นผู้รักษาราชการเมืองนครศรีธรรมราช ครั้นทราบว่ากรุงศรีอยุธยาเสียกรุง แก่พม่า ไม่มีเจ้านายปกครองประเทศ หลวงสิทธิ จึงตั้งตัวเป็นเจ้าผู้ครองเมืองนครศรีธรรมราช เป็นอิสระอยู่ก๊กหนึ่ง
ในปี พ.ศ. 2312 พระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ยาตรากองทัพไปปราบ และ จับตัวเจ้านคร (หนู) ได้ และมีพระราชดำริว่า เจ้านครมิได้มีใจกบฏคิดร้ายต่อประเทศ แต่ตั้งตัวขึ้นเนื่องจากบ้านเมืองเป็นจลาจล จึงโปรดเกล้าฯ ให้มารับราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี หรือ อาณาจักรธนบุรี และให้ เจ้านราสุริยวงศ์หลานเธอ ออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช
ต่อมาเจ้านราสุริยวงศ์ ถึงแก่พิราลัย พระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระราชดำริว่า เจ้านคร (หนู) ได้เข้ามารับราชการ มีความจงรักภักดี และได้ถวายธิดาทำราชการ มีราชบุตร (คือพระพงษ์นรินทรและพระอินทร์อภัย) เป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยเป็นอย่างยิ่ง จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้านครออกไปครองเมืองนครศรีธรรมราช และสถาปนาขึ้นเป็น พระเจ้านครศรีธรรมราช เจ้าขันธสีมา (หนู) เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 11 ขึ้น 3 ค่ำ จุลศักราช 1138 (พ.ศ. 2319) ปีวอกอัฐศก
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) มีพระราชดำริว่า พระเจ้านครศรีธรรมราช มีความชราทุพพลภาพ ไม่สามารถปกครองบ้านเมืองได้ จึงโปรดให้ออกจากตำแหน่ง กลับเข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ และโปรดให้เจ้าอุปราช (พัฒน์) บุตรเขยเจ้านคร ขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อวันอังคาร เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จุลศักราช 1146 (พ.ศ. 2327) ปีมะโรงศก แต่โปรดให้มียศเพียงเจ้าพระยาตามประเพณีแต่เดิม เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองนครศรีธรรมราช จึงเป็นเมืองที่เคยมีกษัตริย์ปกครอง และมีฐานะเป็นประเทศราช 8 ปี
มีเกร็ดย่อย คือ เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) รับราชการ จนถึงรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) มีความชราภาพ จึงทรงยกขึ้นเป็น เจ้าพระยาสุธรรมมนตรี ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ และทรงตั้ง พระบริรักษ์ภูเบศร์ (น้อย) บุตรเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย)คนใหม่
แต่มีเรื่องปรากฏหลักฐานในสมัยนั้นว่า เจ้าพระยานคร (น้อย) นี้ที่จริงเป็นราชบุตรลับ ของพระเจ้ากรุงธนบุรี หรือ สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เนื่องจากเมื่อครั้งเจ้านคร (หนู) ทำราชการอยู่ที่กรุงธนบุรี และถวายธิดาทำราชการฝ่ายในแก่พระเจ้ากรุงธนบุรี และมีน้องสาว (ปราง) มาอยู่ด้วยในวังคนหนึ่ง ความปรากฏตามพงศาวดารว่า เจ้าพระยาพิชัยราชา เจ้าเมืองสวรรคโลกให้ไปขอ เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงทราบ ก็ทรงพระพิโรธ ว่าเจ้าพระยาพิชัยราชาบังอาจ จะเป็นคู่เขยของพระองค์ ให้เอาไปประหารเสีย ต่อมาวงศ์ญาติเจ้านคร จึงนำธิดา (ปราง) คนนี้ ถวายพระเจ้ากรุงธนบุรี เสีย ต่อมาเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เมื่อครั้งยังเป็นอุปราชเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ ภริยาซึ่งเป็นบุตรเจ้านคร (หนู) เสียชีวิต เจ้าพระยานคร (พัฒน์) ทำความชอบได้เข้าเฝ้าครั้งหนึ่ง พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าภริยาเสียชีวิต ก็สงสารจึงจะพระราชทานธิดาเจ้านคร (หนู) ให้ใหม่ และให้นำตัวธิดาคนเล็กเจ้านคร (หนู) ไปพระราชทาน แต่นางในกระซิบว่า ดูเหมือนว่านางจะขาดระดูอยู่ แต่พระเจ้ากรุงธน ตรัสว่า "ได้ออกปากให้เขาแล้ว ก็พาไปเถอะ" เมื่อท้าวนาง พาธิดาเจ้านครไปส่งนั้น เจ้าอุปราช (พัฒน์) ก็ทราบความลับนั้น มีความยำเกรงพระบารมี ก็ต้องรับไว้เป็นท่านผู้หญิงกิตติมศักดิ์ อยู่ตลอดอายุ และนางนั้นก็มีบุตรกับเจ้าพระยานคร (พัฒน์) เพียงคนเดียว คือ เจ้าพระยานคร (ปริก)   
                                                  


หลักการและเหตุผล โครงการเมืองนครศรีธรรมราช ศูนย์กลางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา 
        เนื่องด้วยข้าพเจ้า นาย สมเกียรติ กาญจนชาติ และ คณะผู้ทำงานด้านจิตอาสาด้านความมั่นคง
สถาบันพระพุทธศาสนา  และ พันเอก ราชันย์ สุนทรเมือง นายทหารใน กอ.รมน. รวมถึง ผอ. วาทิน
กรดเต็ม ผู้อำนวยการสำนักพุทธศาสนา  จังหวัดนครศรีธรรมราช  ได้มีความคิดเห็น ในความสำคัญของประวัติศาสตร์  สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  จึงควรสร้างและปลูกฝัง จิตสำนึกในความสำคัญลงในจิตใจของมหาชนชาวไทย  เพื่อระลึกถึงประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาที่ยั่งยืนมาแต่ในอดีต
ถึงปัจจุบัน  จึงควรดำเนิน โครงการ เมืองนครศรีธรรมราช ศูนย์กลางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
เพื่อเป็นโครงการต้นแบบจิตอาสา  เพื่อถวายแด่  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานคำขวัญวันแม่แห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๑ เพื่ออัญเชิญลงหนังสือวันแม่แห่งชาติ ประจำปี ๒๕๖๑
ของสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ความว่า
"เมื่อเรารวมกำลังกันทั้งชาติ
ย่อมสามารถช่วยไทยไขปัญหา
ผนึกแรงหลอมรวมร่วมปัญญา
จักนำพาชาติตนรอดพ้นภัย"

วัตถุประสงค์โครงการต้นแบบของชาติ

๑.       วันพระใหญ่ หรือ วันธรรมสวนะ ถือเป็นวันสำคัญทาง
พระพุทธศาสนาเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนจะถือโอกาสไปวัด เพื่อทำบุญถวายภัตตาหารแด่
พระสงฆ์และฟังธรรมเทศนาแต่เนื่องจากวันพระส่วนใหญ่ตรงกับวันทำงานตามปกติ  จึงเป็น
สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พุทธศาสนิกชนห่างหายจากการเข้าวัดฟังธรรมทำบุญในวันพระ  จ.นครศรีธรรมราชจึงได้คิดส่งเสริมสนับสนุนให้ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะ นักเรียน และภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เข้าวัดทำบุญ  ไหว้พระสวดมนต์ ฟังธรรมเทศนาน้อมนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาใช้
ในชีวิต ประจำวันเป็นภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต และสร้างสันติสุขอย่างยั่งยืน  กิจกรรมคือ ให้นักเรียน
และประชาชน ในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้ร่วมใส่บาตร และสวดมนต์ โดย ปิดถนนบริเวณ
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เพื่อให้นักเรียนและพ่อแม่พี่น้อง ตลอดถึงประชาชนทั่วไปได้ร่วม ใส่บาตรทำบุญ  ไหว้พระสวดมนต์ ฟังธรรม ศึกษาเพื่อเข้าถึงหัวใจพระพุทธศาสนา และร่วมทำความดีด้วยหัวใจ
ถวายแด่  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙

2. เพื่อยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
เพื่อสร้างสิ่งยึดเหนี่ยว ด้านจิตใจ เรียนรู้ประวัติศาสตร์  ในความรักสถาบัน  ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ควรจัดสร้างเหรียญหลวงปู่ทวด (รุ่น เลื่อนฐานันดรและสมโภชช้างเผือก ในรัชกาลที่ ๑๐)  ด้านหน้าเหรียญมีความหมาย พระคาถาเยธัมมา : หัวใจพระพุทธศาสนา
ในบรรดาจารึกที่เก่าแก่ที่สุดที่เกียวกับพระพุทธศาสนา เท่าที่พอจะมีในเขตสุวรรณภูมิ ก็คงจะเป็นพระคาถา เย ธัมมา โดยจารึกที่พบเป็นจารึกบนแผ่นอิฐ จารึกด้วยอักษรปัลลวะ ภาษามคธ ค้นพบที่จังหวัดสุพรรณบุรี และพระคาถา เย ธัมมา นี้ก็ได้พบที่พระปฐมเจดีย์ด้วยเช่นกัน
พระคาถาเยธัมมา
เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา
เยสํ เหตุํ ตถาคโต อาห
เตสญฺจ โย นิโรโธ จ
เอวํ วาที มหาสมโณติ ฯ
คำแปล
ธรรมทั้งหลายเหล่าใดเกิดแต่เหตุ
พระตถาคตเจ้าทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมทั้งหลายเหล่านั้น
พระมหาสมณะเจ้า ทรงสังสอนอย่างนี้ ความเห็น : จากคำแปลที่ว่ามาคงแสดงให้เห็นได้ว่าพุทธศาสนาที่เผยแพร่มาในยุคแรกๆนั้นเป็นสิ่งที่สะอาด ไม่มีลัทธิอื่นเจือปน พระคาถานี้ถือเป็น อิทัปปัจจยตา อย่างย่อแบบหนึ่ง
ด้านหลังเป็น พระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช (สามารถปรับแก้ได้ตามความเหมาะสมของคณะทำงาน)

หมายเหตุ
1.ควรจัดสร้างสิ่งมงคล เพื่อหาทุนสนับสนุน โครงการ เมืองนครศรีธรรมราช ศูนย์กลางประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ของโลก
2.นำรายได้ ส่งเสริมกิจกรรมการปกครองในระบอบประชาธิปไตรอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น
พระประมุข ตามรัฐธรรมนูญ

3.มอบรายได้ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด ภาคใต้ 3 จังหวัด เพื่อซื้อเครื่องมือแพทย์มอบให้แก่โรงพยาบาล

และส่วนหนึ่งมอบให้ สำนักพุทธศาสนา 3 จังหวัด ภาคใต้ เพื่อทำกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพระศาสนา
4.ทูลเกล้าถวายรายแด่ส่วนหนึ่ง เพื่อโครงการกิจกรรมจิตอาสา  ในรัชกาลที่ 10
5.เพื่อเป็นโครงการต้นแบบในการสร้างจิตสำนึกในความมั่นคงของชาติ โดยใช้
หลักธรรมของพระพุทธศาสนา


รายชื่อคณะกรรมการในดำเนินโครงการ

1.พันเอก ราชันย์  สุนทรเมือง ผู้อำนวยการ กองวิเทศสัมพันธ์ กอ.รมน.สวนรื่นฤดี
2.ผอ.วาทิน  กรดเต็ม ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัดนครศรีธรรมราช
3.นาย สมเกียรติ กาญจนชาติ  ประชาชนจิตอาสา และผู้ประสานงานโครงการ
4.พระธรรมวิมลโมลี(ป.ธ.๙),  วัดไตรธรรมาราม จ.สุราษฎร์ธานี. เจ้าคณภาค๑๖
5.ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
6.ผู้บัญชาการทหารบก
7.ท่านแม่ทัพภาค๔
8. พลเอก นาวิน ดำริกาญจน์  กรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง
  
ประธานโครงการ
1.พลเอก ณพล  บุญทับ 
ที่ปรึกษาโครงการ
1.นาย ยงยุทธ  ลิ้มสวัสดิ์
2.พันตรี ณกษิมันต์ นิลผาย

(รายชื่อ สามารถเพิ่มเติมได้ตามความเหมาะสม)
  
ประวัติ วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

พ.ศ. 854 เจ้าชายทนทกุมารและพระนางเหมชาลา (พระโอรสธิดาในพระเจ้าโคสีหราชกับพระนางมหาเทวี ผู้ครองเมืองทันทบุรี) และบาคู (แปลว่า นักบวชชาวสิงหล ได้สร้างวัดพระบรมธาตุวรมหาวิหาร เจดีย์องค์เดิมเจดีย์แบบศรีวิชัย คล้ายเจดีย์กิริเวเทระ ในเมืองโบโลนนารุวะ ประเทศศรีลังกา
พ.ศ. 1093 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ปทุมวงศ์ แห่งอาณาจักรตามพรลิงก์ ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น พร้อมกับการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ เป็นเจดีย์แบบศาญจิ
พ.ศ. 1770 พระเจ้าจันทรภาณุศรีธรรมาโศกราช กษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งอาณาจักรตามพรลิงก์ และเป็นพระอนุชาของพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้บูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ เจดีย์แบบลังกา ทรงระฆังคว่ำ หรือ โอคว่ำ มีปล้องไฉน 52 ปล้อง สูงจากฐานถึงยอดปลี 37 วา 2 ศอก ยอดปลีของปล้องไฉน หุ้มทองคำเหลืองอร่าม สูง 6 วา (เท่ากับ 2 เมตร) 1 ศอก (เท่ากับ 0.50 เมตร) แผ่เป็นแผ่นหนา เท่าใบลานหุ้มไว้ น้ำหนัก 800 ชั่ง (เท่ากับ 960 บาท) รอบพระมหาธาตุ มีองค์เจดีย์ 158 องค์
พ.ศ. 2155 และ พ.ศ. 2159 สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถมีการซ่อมแผ่นทอง ที่ปลียอดพระบรมธาตุ
พ.ศ. 2190 สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ยอดพระบรมธาตุได้ชำรุดหักลง และได้มีการซ่อมสร้างขึ้นใหม่
พ.ศ. 2275 - 2301 สมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ มีการดัดแปลงทางเข้าพระสถูปพระบรมธาตุบริเวณวิหารพระทรงม้า
พ.ศ. 2312 สมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ปฏิสังขรณ์พระอารามทั่วไปภายในวัด และโปรดให้สร้างวิหารทับเกษตร ต่อออกจากฐานทักษิณรอบองค์พระบรมธาตุ
สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (พัฒน์) ได้บูรณะพระวิหารหลวง วิหารทับเกษตร พระบรมธาตุที่ชำรุด
ปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บูรณะกำแพงชั้นนอก วิหารทับเกษตร วิหารธรรมศาลา วิหารพระทรงม้า วิหารเขียน ปิดทองพระพุทธรูป
พ.ศ. 2457 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ติดตั้งสายล่อฟ้า ยอดองค์พระบรมธาตุเจดีย์
พ.ศ. 2515 - 2517 บูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารหลวง และพระอุโบสถ
พ.ศ. 2530 ซ่อมกลีบบัวทองคำ ที่ฉีกขาดเปราะบาง เสื่อมสภาพเป็นสนิม เสริมความมั่นคงแข็งแรงที่กลีบบัวปูนปั้น ในวันที่ 28 สิงหาคม 2530 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จอัญเชิญแผ่นกลีบบัวทองคำ ขึ้นประดิษฐบนองค์พระบรมธาตุเจดีย์
พ.ศ. 2537 - 2538 บูรณะปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์ และเสริมความมั่นคงปูนแกนในปลียอด ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 50 ล้านบาท สิ้นทองคำ 141 บาท (มาตราชั่ง ตวง วัด ของไทย 1 บาท เท่ากับ 15.2 กรัม)
กรมศิลปากร ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 ตอนที่ 34 วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2479 และคณะกรรมการมรดกโลก มีมติในการประชุมคณะกรรมการสมัยที่ 37 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2556 รับรองวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเข้าสู่บัญชีเบื้องต้นก่อนเสนอขึ้นทะเบียนมรดกโล


ย้อนรอย..การสร้างศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช สู่ศรัทธาองค์พ่อจตุคามรามเทพ

ศึกษาที่

http://oknation.nationtv.tv/blog/meeboo/2012/09/08/entry-1

ผู้เขียนโครงการ  นาย สมเกียรติ กาญจนชาติ วันที่ ๒ สิงหาคม  ๒๕๖๑


ศึกษาข้อมูลได้ที่






ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ