ประจักษ์แก่มหาชน? การเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนค่ายมือถือ มหาชนควรทราบและแชร์เพื่อความมั่นคงของชาติ


วันนี้ได้เกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่าลงหัวใจคนไทย การออกมาตรา 44 และการที่ กสทช.ช่วยมหาเศรษฐีด้วยการอ้างถึง 5G ที่จำเป็นต้องทำ แต่กลับเป็นการล็อกสเปกให้กับ 3 บริษัทในรูปแบบผูกขาด ไม่มีทางเลือก กรณีที่เกิดขึ้นผมจะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เพื่อขอให้ตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีคนรับผิดชอบ
กลุ่มญาติวีรชนฯ และภาคประชาชน เตรียมยื่นฟ้องศาลอาญาคดีทุจริตฯ หลังร่วมกันชำแหละ มาตรา 44 - กสทช.เอื้อ 3 ค่ายมือถือยืดหนี้ 10 ปี ไม่คิดดอกเบี้ย ใช้อำนาจโดยมิชอบ หวั่นเข้าข่ายทุจริตเชิงนโยบาย
วันนี้ (20 เม.ย.2562) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากสำนักงาน กสทช.ตัดสินใจให้เอกชนที่บริการโทรคมนาคม 3 รายที่ให้บริการ 4G คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ มีโอกาสบริการ 5G คลื่น 700 เมกะเฮิรตซ์ ได้ต่อไปโดยไม่ต้องประมูล และ กสทช.กำหนดให้ทั้ง 3 รายขยายเวลาชำระเงินประมูล 4G ออกไปได้เป็น 10 ปี จากเดิมต้องชำระใน 5 ปี และไม่คิดอัตราดอกเบี้ยนั้น ล่าสุด เช้าวันนี้ คณะกรรมการญาติวีรชนพฤษภา 35 ร่วมกับคณะตรวจสอบภาคประชาชนร่วมกันแถลงคัดค้านการใช้ มาตรา 44 โดยมิชอบ เอื้อประโยชน์กลุ่มทุน มิใช่สาธารณะประโยชน์
 นายอดุลย์ เขียวบริบูรณ์ คณะกรรมการญาติวีรชนฯ เปิดเผยว่า สิ่งที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช.ออกมาตรา 44 เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กลุ่มทุนค่ายมือถือ แต่ไม่ใช่เอื้อประโยชน์ให้เกิดกับสาธารณประโยชน์ จึงมองว่าเป็นการออกกฎหมายโดยไม่ชอบ หลังจากมีหลายหน่วยขณะนี้ เริ่มออกมาคัดค้าน โดยเฉพาะล่าสุด กรณีที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้กล่าวเตือนทักท้วง แต่รัฐบาลไม่ได้รับฟัง มีการใช้อำนาจโดยมิชอบ ใช้อำนาจโดยไม่ฟังเสียงประชาชน เป็นเรื่องที่น่ากังวลและมาดำเนินการในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสมกับกาลเทศะในช่วงนี้อย่างยิ่ง
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ภาคประชาชน กล่าวว่า การออก มาตรา 44 ตามเจตนารมณ์ มีไว้สำหรับความจำเป็นเพื่อปฏิรูป, ส่งเสริมความสามัคคีสมานฉันท์, ป้องกันเหตุหรือระงับเหตุ หรือเกี่ยวข้องกับความจำเป็น ซึ่งมีหลายกรณีได้ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา แต่การนำมาตรา 44 มาใช้กับการดำเนินการคลื่นความถี่โทรคมนาคมนั้น รวมถึงเสมือนเป็นการสั่ง กสทช.ใช้กฎหมายที่มีอยู่แล้วไปดำเนินการโดยไม่ชอบ ไม่ใช่การใช้อำนาจรัฐฐาธิปัตย์ที่นายกรัฐมนตรีสั่งการ และส่งผลทำให้เกิดความเสียหายด้วยการขยายเวลาชำระงวดเงินประมูลของ 3 ค่ายมือถือจากเดิม 5 ปี ออกไปเป็น 10 ปี โดยไม่เสียดอกเบี้ย ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิทัลที่ยังต้องจ่ายเงินประมูลทีวีดิจิทัลโดยต้องเสียดอกเบี้ยด้วย
นายอิสระ ยังได้เปิดเอกสารร่างคุณสมบัติเบื้องต้น (TOR) คลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งกำหนดระยะเวลาการชำระค่าประมูลไว้ชัดเจน รวมถึงกำหนดเงื่อนไขการคิดอัตราใช้บริการกับประชาชน แต่ กสทช.ไม่ได้บังคับให้เป็นไปตามนั้น นอกจากนี้ ยังมีเงื่อนไขการกำหนดค่าบริการ ที่ระบุว่า สัญญาคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ กำหนดไว้ห้ามคิดเกิน 0.60 บาท แต่ปัจจุบันพบว่าค่ายมือถือเก็บอยู่ที่ 1 บาทเศษ ดังนั้น การใช้อำนาจมาตรา 44 ของ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นการใช้อำนาจโดยไม่ชอบ ซึ่งคดีเหล่านี้จะต้องนำขึ้นศาลเร็วที่สุด เพราะสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ ซึ่งการประกอบกิจการแม้พบว่าถ้าขาดทุนก็ไม่มีสิทธิ์จะร้องขอ และจากการตรวจสอบงบดุลของ บ.เอไอเอส พบว่ามีกำไร 3 ปี โดยในปี 2559-2560 กว่า 30,000 ล้านบาท และปี 2561 มีกำไรกว่า 20,000 ล้านบาท เหตุใดการลงทุนจึงไม่นำกำไรส่วนนี้มาดำเนินการ

วันนี้ได้เกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่าลงหัวใจคนไทย การออกมาตรา 44 และการที่ กสทช.ช่วยมหาเศรษฐีด้วยการอ้างถึง 5G ที่จำเป็นต้องทำ แต่กลับเป็นการล็อกสเปกให้กับ 3 บริษัทในรูปแบบผูกขาด ไม่มีทางเลือก กรณีที่เกิดขึ้นผมจะยื่นฟ้องต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง เพื่อขอให้ตรวจสอบเรื่องที่เกิดขึ้น ซึ่งเรื่องนี้ต้องมีคนรับผิดชอบ
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การใช้อำนาจ มาตรา 44 ต่อประเด็นที่ให้ กสทช.ดำเนินการเอื้อประโยชน์ให้ค่ายมือถือ เป็นการทุจริตเชิงนโยบายหรือไม่ เพราะบริษัททั้ง 3 รายมีผลประกอบการกำไรในเกณฑ์ดี ซึ่งการเรียกคืนความถี่คืนนั้น ไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44 แม้ว่านายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ระบุว่าการยืดชำระค่าประมูลจะทำให้รัฐมีรายได้มากกว่า 30-40% แต่ถ้านำคลื่น 5G ไปเปิดประมูล มั่นใจว่าจะทำให้รัฐมีรายได้มากกว่าการไม่เปิดประมูล ซึ่งไม่ทำให้เกิดการแข่งขัน
 สำหรับคลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะนำใช้บริการ 5G นั้น การนำมาใช้ในอุตสาหกรรมที่ต้องลงทุนมหาศาล จำเป็นต้องใช้คลื่นความถี่มากกว่า 700 เมกะเฮิรตซ์ แต่ไม่สามารถรองรับการใช้ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ได้ ซึ่งการใช้คำสั่ง คสช.ลักษณะนี้ เข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ และหากพิจารณาจากเนื้อหาตามมาตรา 44 จะพบว่ามาตรา 44 ไม่ได้บอกชัดว่าให้ กสทช.ทำอย่างนี้อย่างนั้น แต่การใช้มาตรา 44 เสมือนกำลังโยนความรับผิดชอบไปให้ กสทช.ที่ต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ไม่เช่นนั้นเลขาธิการ กสทช.จะแบกรับความเสี่ยงไว้เอง
อ่านข่าวที่ http://news.thaipbs.or.th/content/279392


สันดาน การประกอบธุรกิจไร้จริยธรรมในแผ่นดินไทย?
'ทรู' ออกฤทธิ์เตรียมฟ้องกลับ 'ทีโอที' หลังอนุญาโตตุลาการชี้ขาดสั่งจ่ายเงินเน็ตเร็วสูงทีโอที 9.4 หมื่นล้าน ไม่รวมดอกเบี้ย ค้านมติบอร์ด กสทช. จ่ายค่าเยียวยาคลื่น 1800 กว่า 3 พันล้าน อ้างสูงเกินจริง ... 'เอเซียพลัส' เผย หากสู้ตามขั้นตอนกฎหมาย ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงคำชี้ขาด ทรูต้องตั้งงบสำรองกำไรขาดทุน 1 แสนล้านกำลังกลายเป็นประเด็นร้อนแรงในกลุ่มทุนสื่อสาร เป็นเพราะเมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2561 คณะอนุญาโตตุลาการ ซึ่งได้มีคำสั่งชี้ขาดให้ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ชำระเงินค่าผิดสัญญาให้ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เป็น 2 ส่วน คือ ตั้งแต่เดือน ก.ย. 2544 ถึง ส.ค. 2558 ไม่ต่ำกว่า 76,000 ล้านบาท และตั้งแต่เดือน ต.ค. 2558 ถึง ธ.ค. 2560 ไม่ต่ำกว่า 18,200 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 9.4 หมื่นล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยนั้น

เมื่อย้อนรอยข้อพิพาทของทั้ง 2 ฝ่ายนั้น เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 2548 โดยทีโอทีได้ยื่นคำเสนอข้อพิพาทต่อสถาบันอนุญาโตตุลาการ ระบุว่า บริษัทฯ ละเมิดข้อตกลงในสัญญาร่วมการงานและร่วมลงทุนขยายบริการโทรศัพท์ โดยให้บริการหรือยินยอมให้ผู้อื่นนำอุปกรณ์ในระบบไปให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (ADSL) และเรียกค่าเสียหายจากการขาดรายได้จากการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (ADSL)

นอกเหนือจากเรื่องข้อพิพาทกับทีโอทีแล้ว ดูเหมือนทั้ง 2 วันดังกล่าว เป็นวันที่ไม่ถูกโฉลกกับ 'ทรู' เอาเสียเลย เพราะมติคณะกรรมการ กสทช. ในวันนั้น ให้บริษัทในเครือ คือ บริษัท ทรู มูฟ จำกัด ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ชำระค่าเยียวยาผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 3,381.95 ล้านบาท หลังสัญญาสัมปทานมือถือสิ้นสุดเมื่อเดือน ก.ย. 2556 ทั้ง 2 ข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ถ้าถึงที่สุดแล้ว ทรูพ่ายคดี ต้องจ่ายค่าเสียหายมูลค่าประมาณ 97,381 ล้านบาท

แต่ทว่า ... หลังมีคำพิพาท มีหรือทรูจะยอมจ่ายค่าเสียหายได้ง่าย ๆ พร้อมกับทำหนังสือชี้แจงถึงตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยระบุว่า บริษัทฯ ไม่เห็นด้วยกับมติของที่ประชุม กสทช. ให้นำส่งเงินรายได้จากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนคลื่นความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ จำนวน 3,381.95 ล้านบาท ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงเกินจริง

ขณะที่ เรื่องการเรียกค่าเสียหายจากการขาดรายได้จากการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (ADSL) ซึ่งบริษัทฯ ได้รับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการ ให้บริษัทฯ ต้องชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยนั้น บริษัทฯ ขอเรียนให้ทราบว่า คดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุดและบริษัทฯ ได้พิจารณาแล้ว ไม่เห็นพ้องกับคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ประกอบกับคำชี้ขาดดังกล่าวถูกชี้ขาดโดยคะแนนเสียงข้างมาก โดยคณะอนุญาโตตุลาการเสียงข้างน้อยไม่เห็นด้วย ซึ่งบริษัทฯ จะดำเนินการตามกฎหมายต่อไป เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการดังกล่าว


โครงการเพื่อประโยชน์สูงสุดของชาติ เสนอไป มันไม่ดำเนินการ?
มหาชนควรเข้าอ่านและศึกษาที่ 

https://drive.google.com/open?id=1ZLz9Y8UmX23KYEeLI5Y0LvUKgeIEqkcn

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง