#ประวัติศาสตร์พระกริ่งปวเรศ เพื่อการอนุรักษ์ในประวัติศาสตร์ (ไม่ฟอกเงินในวงการพระเครื่อง)

พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก ในประวัติศาสตร์เพื่อสืบทอดพระศาสนาของชาติไทย

อดีตเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ ได้ช่วยตรวจสอบ ชุดพระกริ่งปวเรศในประวัติศาสตร์ ของ สมเกียรติ กาญจนชาติ (แท้ตรงตามข้อมูลประวัติศาสตร์)






อิสวาสุ ออฺม หรือ อิสวาสุ อะอฺมะ หรือ พระคาถาหัวใจพระรัตนตรัยเป็นพระคาถาแม่ที่วัดบวรนิเวศวิหารใช้เป็นเอกลักษณ์ เมื่อเห็นพระคาถา สามารถรู้ได้ทันทีว่าเป็นพระของวัดบวรนิเวศวิหาร พระเครื่องวัตถุมงคลของวัดบวรนิเวศวิหารหลายรุ่นต่างใช้พระคาถานี้ทั้งสิ้น จนเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีในกลุ่มผู้นิยมสะสมพระเครื่องสายวัดบวรนิเวศวิหาร อิสวาสุ สฺสวาอิ เป็นพระคาถาสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย อิ มาจาก อิติปิโส ภควาฯ สวา มาจาก สวากขาโต ภควาตาฯ สุ มาจาก สุปะฎิปันโน ภควาโตฯ ลงอักขระเป็นอนุโลม ปฎิโลม อิสวาสุ สุสวาอิ มะอะอุฯ เป็นพระคาถาสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย อะ มาจาก อรหันต์ อุ มาจาก อุตรธรรม มะ มาจาก มหาสังฆบดี ดีเยียมทางปกป้องรักษาผู้ประพฤติ ปฎิบัติธรรม ไม่ให้ตกไปในทางที่เสื่อม ที่ฉิบหาย


 อดีตเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ ได้ช่วยตรวจสอบ ชุดพระกริ่งปวเรศในประวัติศาสตร์ ของ สมเกียรติ กาญจนชาติ (แท้ตรงตามข้อมูลประวัติศาสตร์)


















ประวัติการสร้างพระกริ่งปวเรศ (ข้อมูลประวัติศาสตร์ในการอนุรักษ์)

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ โปรดให้สร้างพระกริ่งปวเรศขึ้น โดยฝีมือของช่างสิบหมู่ หรือช่างหลวง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๘๒-๒๔๓๔ ตามประวัติมีการจัดสร้าง ๖ ครั้ง ระบุจำนวนให้ทราบเพียง ๒ ครั้ง รวมแล้วได้ ๑๒ องค์ แต่ก็สร้างเพื่อพิธีสำคัญของพระมหากษัตริย์เท่านั้นมีเพียงครั้งที่ ๖ เพื่อฉลองสมณศักดิ์สมเด็จกรมพระยาปวเรศ ที่อาจสร้างแจกเป็นที่ระลึกให้ข้าราชบริพาน พระสกนิกร ในสมัยนั้นแต่ก็ไม่ระบุจำนวนการสร้าง และก็มีหลายแบบพิมพ์ทรง

              พระกริ่งปวเรศ ถือว่ามีพลังพุทธนุภาพแรงที่สุด เริ่มมีชื่อเสียงในวงแคบๆ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมาถึงยุคของรัชกาลที่ ๕ พระกริ่งที่โด่งดังในอดีตล้วนแต่เป็นพระกริ่งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต ในวงการพระเครื่องรางที่นับถือว่ามีอานุภาพขลังศักดิ์สิทธิ์เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่นักนิยมพระเครื่องปัจจุบัน มีราคาซื้อขายสูงที่สุดในประเภทพระโลหะ

              พุทธลักษณะของพระกริ่งปวเรศ เป็นรูปหล่อลอยองค์ ประทับนั่งสมาธิเพชร (วัชรสานะ) เหนืออาสนะบัลลังค์ บัวคว่ำ บัวหงาย ๒ ชั้น ชั้นละ ๗ กลีบ ฐานด้านหลัง ยื่นเล็กน้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ชั้นละ ๑ กลีบ พระเกศแบบตุ้มหรือบัวตูม ฐานพระเมาลี ด้านหน้า ปรากฏรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว พระศกแบบตอก “รอยตุ๊ดตู่”ปราศจากไรพระศก ใต้ฐานไม่ปะก้น หรือรอยเจาะก้นสำหรับบรรจุลูกกริ่งเหมือนทั่วๆ ไป แต่กว้านก้นลึก และกว้าง (กว้าง ๑ ซม. ยาว ๑.๖ ซม.)

              ประวัติการสร้างพระกริ่งปวเรศ วัดบวรนิเวศ สร้างครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔ โดยสมเด็จกรมพระยาปวเรศ ทรงสร้างเพื่อทดแทนพระกริ่งปวเรศทองคำที่หายไป เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๓ ในพระราชพิธีมุรธาภิเษกและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ (ร.๔) และขณะรัชกาลที่ ๕ พระชนมายุ ๙ พระชันษา เพื่อใช้ในพระราชพิธีเจริญน้ำพระพุทธมนต์ พิธีรับพระสุพรรณบัฏ (พระราชนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ หน้า ๕๐-๕๑) จำนวนการสร้าง ๓ องค์

              การสร้างครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙ ในหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศ หน้า ๑๔๗ บันทึกไว้ว่า สร้างเพื่อถวายรัชกาลที่ ๔ ในพระราชพิธีที่รัชกาลที่ ๕ ทรงผนวชเป็นสามเณร เป็นที่ระลึกถวายรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ จำนวนการสร้าง ๙ องค์ ในปีนั้นกำลังของปีตกเลข ๙ พอดี

              การสร้างครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๑ ในพระราชนิพนธ์พงศาวดาร ร.๕ หน้า ๓๐-๓๔, หน้า ๔๗, และพระราชพิธีโสกันต์ หน้า ๕๔-๕๕ บันทึกไว้ว่าสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ถวายรัชกาลที่ ๕ พระชนมายุ ๑๕ พระชันษา ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ โดยมีผู้สำเร็จราชการเจ้าพระยาสีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) กริ่งรุ่นนี้ไม่มีเส้นพระศก และไม่มีส่วนผสมของเนื้อพระพุทธชินสีห์แบบครั้งที่ ๑ และ ๒ เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ มี ๓ ชนิด เนื้อสัมฤทธิ์เดช ออกสีแดงแก่ อ่อน, เนื้อสัมฤทธิ์โชติ ออกสีขาว หรือขาวจัด เนื้อสัมฤทธิ์เดช ออกสีเหลือง ส่วนจำนวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้

              การสร้างครั้งที่ ๔ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖ ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๑๑-พ.ศ. ๒๔๑๖ คณะกรรมการเผยแพร่เอกสารประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรีจัดพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ.๒๕๑๖ หน้า ๑๒๑-๑๒๙ บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ ๕ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และบรมราชาภิเษกครองราชย์เป็นครั้งที่ ๒ กริ่งรุ่นนี้ไม่มีการบรรจุลูกกริ่งไว้ กรมพระยาปวเรศ ทรงออกแบบเป็น ๒ แบบ หล่อในคราวเดียวกัน เพื่อทรงถวายในพระราชพิธีทรงผนวช และบรมราชาภิเษกขึ้นครองราชย์สมบัติ สันนิษฐานว่าเป็นกริ่งในเก๋งจีนอยู่ที่วัดบวรนิเวศ ส่วนจำนวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้

              การสร้างครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๖ ในบันทึก สงครามปราบฮ่อสมัย ร.๕ ม.ร.ว.แสงโสม เกษมศรี ประวัติศาสตร์ไทย ปี ๒๕๐๓ ระบุว่า เรียกกริ่งปราบฮ่อ ร.๕ กรมพระยาปวเรศไม่ได้เป็นผู้ออกแบบ ช่างสิบหมู่และโหรหลวงเป็นผู้ออกแบบ ลักษณะ “ปราบฮ่อ” อยู่บนฐานชั้น ๒ ติดกับพระโสณี (ตะโพก) ด้านหลัง “ร.๕” ตัว “ร” หล่อติดระหว่างกลางฐาน ๑ และ ๒ ด้านซ้ายของกลีบบัวหลัง เลข “๕” หล่อติดแนวเดียวกันทางด้านขวาของกลีบบัวหลัง จำนวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้

              ส่วนการสร้างครั้งที่ ๖ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ ในบรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ มหามกุฎราชวิทยาลัย หน้า ๕ วรรค ๒ บันทึกไว้ว่า กรมพระยาปวเรศไม่ได้ออกแบบ จัดสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ทรงได้รับมหาสมณุตมาภิเษก ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ออกแบบโดยช่างสิบหมู่ บรมวงศานุวงศ์ และไวยาวัชกรวัดบวรนิเวศ สมัยนั้นจึงมีหลายแบบพิมพ์ทรง บางแบบใช้แม่พิมพ์เก่าก็มี โลหะก็ไม่เหมือนกัน บางองค์ก็แบบพิมพ์ใหม่ รวมทั้งที่อยู่ในขันน้ำมนต์ และยอดไม้เท้าของพระองค์ท่าน จำนวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้ (กริ่งรุ่นนี้วัดสุทัศน์ได้จัดสร้างขึ้นในปี ๒๔๔๓ เรียก “พระกริ่งคู่แฝด” จะต่างกันตรงอุดกริ่ง)

              ขอบคุณภาพจากพระครูสังฆวิจารณ์ (พิทยา) ญาณิกว์โส ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์เทพวราราม คณะ ๒ กทม.

พระกริ่งปวเรศองค์วัดบวร

              สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เคยมีดำรัสถึงเรื่องพระกริ่งปวเรศนี้ว่า ตำราการสร้างพระกริ่งและตำรามงคลโลหะ ที่มีมาแต่โบราณสืบค้นได้ถึงสมัยสมเด็จพระพนรัตนวัดป่าแก้ว

                 ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ แม้จะมีการประมาณว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ จะสร้างพระกริ่งปวเรศประมาณ ๓๐ องค์ แต่กลับมีผู้ครอบครองพระกริ่งปวเรศที่ยืนยันว่าเป็นของแท้มากถึงหลักร้อยองค์ ทั้งนี้ หากไล่เรียงจำนวนผู้ครอบครองพระกริ่งปวเรศในปัจจุบันมีกว่ากว่า ๑๐๐ องค์ แต่ละคนล้วนคุยว่าเป็นของแท้ทุกองค์

ความเชื่อและคตินิยม

สำหรับความเชื่อในเรื่อง เครื่องราง ของคนไทย มีมาแต่ครั้งโบราณ ดังจะเห็นได้ในวรรณกรรมที่มีการกล่าวถึงอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะ เครื่องราง ที่นักรบใช้ติดตัวในยามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ห้าวหาญไม่เกรงคลัวข้าศึก โดยเชื่อกันว่า เครื่องราง ที่สร้างขึ้นด้วยวิชาไสยศาสตร์ชั้นสูง โดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมอันเข้มขลัง จะสามารถช่วยคุ้มครองป้องกันภัยรอบตัวได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันและเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
อาราธนาทำ น้ำมนต์ เมื่อเวลาเรารู้สึกดวงไม่ดี มีเคราะห์ หรือเจ็บป่วย นำพระกริ่ง
ปวเรศ หรือพระกริ่ง (องค์แทนพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาสพุทธเจ้า) อาราธนาบารมีของพระองค์ท่านทำน้ำพระพุทธมนต์ ดื่ม รด อาบ กินเพื่อความสวัสดี มีชัยปราศจากโรคภัยและกำจัดปัดเป่าอัปมงคล อันตราย ภัยพิบัติต่างๆ
มวลสารพระกริ่งปวเรศ
#มอบสิ่งมงคลเพื่อสืบทอดพระศาสนา ให้ท่าน พล.ต.ธนาธิป สว่างแสง โฆษก กอ.รมน. เพื่อสืบทอดพระศาสนา
https://www.talknewsonline.com/53771/

https://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2019/03/blog-post_20.html

วันอังคารที่ ๒๖ มีนาคม ๒๕๖๒ มอบสิ่งมงคลให้สำหรับผู้ทำประโยชน์แก่ประเทศชาติ
ข้อมูล
https://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2019/03/blog-post_17.html?fbclid=IwAR2CDjvIat631MmOcPSiKjFeyldt6P64IpcN3AGcaqPaXBd4n1y7wsB2tqU

#ข้อมูลการฟอกเงินในวงการพระเครื่องไทยและสร้างมูลค่าเกินจริงในประเทศไทย ภัยต่อความมั่นคงของชาติ

ประจักษ์แจ้งการอนุรักษ์เชิงประวัติศาสตร์
ข้อมูลที่ http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2012/06/blog-post_2871.html
ช่วยแชร์ก็ได้บุญมากครับ
โทรสอบถามที่ สมเกียรติ กาญจนชาติ 084-6514822
พระเครื่องในประวัติศาสตร์ บันทึกไว้ที่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.169264189786358.35217.161446187234825&type=3

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ