#หาความจริงที่มนุษย์ได้รับจากโรคระบาด โควิด-19 ธรรมรักษาได้? นำพระสมเด็จวัดระฆังยุคสมเด็จโตมอบให้ท่านผู้มีศรัทธา

                        วัดชลเฉลิมเขต อำเภอสุไหงโกลก  จ.นราธิวาส  วันที่ 17 มีนาคม 2563



 ได้กราบนมัสการ พระอาจารย์ของข้าพเจ้าเพื่อ เรียนถามเรื่องโรคระบาด  และถวายพระสมเด็จวัดระฆังยุคสมเด็จโต เพื่อช่วยทำน้ำพุทธมนต์ที่อาจช่วยรักษาผู้ป่วยที่เกิดจากโรคระบาด  ซึ่งท่านได้อธิบายตามหลักธรรมว่า บ้างคนช่วยได้แต่บ้างคนที่มีกรรมมากจะไม่สามารถช่วยได้ ให้ศึกษาพุทธทำนาย ตามลิงก์นี้
https://www.youtube.com/watch?v=tqhur2dcPos&feature=youtu.be&fbclid=IwAR3T-p-hKOo7ityeViUitCx8Rz7V8ef0IPHVcMuOiL0zIZCiRM2szgLVwK4

















นำพระสมเด็จวัดระฆังยุคสมเด็จโตมอบให้ท่านผู้มีศรัทธา
โครงการเพื่อสืบทอดพระศาสนา ศึกษาข้อมูลที่
ข่าวประวัติศาสตร์และความมั่นคงของพุทธศาสนาของชาติไทย สามจังหวัดชายแดนใต้ ๒๕๖๒ (โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ จิตอาสา)
https://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2019/10/blog-post_31.html

https://drive.google.com/file/d/1gUJ4E3DymKVyrGc9W7JumTmlKIodLXGS/view?fbclid=IwAR30wTYT2anjEfBcjG4Vx5U3gcKyh0Ei3L8pgVWw5YDbh4Wo0TSqPDDJnKQ

https://drive.google.com/file/d/1LsBG4JjFjeLmOJMxHBfm5Z-RI3FUEkNq/view?fbclid=IwAR3S5q4YkOCnl-5q_ILYyVQTd_yJaEJsLg_zhrycz3_1F46o8AW1egaIgpM

#ข้อมูลการฟอกเงินในวงการพระเครื่องไทยและสร้างมูลค่าเกินจริงในประเทศไทย ภัยต่อความมั่นคงของชาติ
https://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2018/01/blog-post_31.html?fbclid=IwAR33jD-kqrNjhHpwwagHK7lWsJTI3K9z_jupKSNfuR3Fpg-AV-_4TIDLRsM
ข้อมูลที่
https://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2017/08/blog-post_22.html?fbclid=IwAR0VpaQ9EQ3OUYACSnmg29BVmkNXxW_dfcjEIMHPrRGs-vv1OL04JyPD_jo

พระสมเด็จวัดระฆังที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ท่านได้จัดสร้างไว้ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๐๗ อายุ ๗๖ ปี ๕๘ พรรษา เมื่อท่านได้รับสมณศักดิ์เป็น "สมเด็จพระ พุฒาจารย์" อันเป็นช่วงเวลาที่ท่านได้จัดสร้างพระสมเด็จวัดพระแก้วด้วยเช่นกัน ส่วนพระสมเด็จชุดนี้จะสร้างที่วัดระฆัง หรือ วัดบวรสถานสุทธาวาส (วัดพระแก้ววังหน้า) ก็มิอาจทราบได้ แต่ถ้าให้วิเคราะห์ก็น่าจะสร้างที่วัดระฆังและนำไปบรรจุกรุที่วัดพระแก้ววังหน้า เพราะในเวลานั้น (ปี พ.ศ. ๒๔๐๘ – ๒๔๑๒) เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) เจ้าคุณกรมท่าในสมัยรัชกาลที่ ๔ เจ้าพระยาภานุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เจ้าคุณกรมท่าในสมัยรัชกาลที่ ๕ อันเป็นตำแหน่งที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกขาน (แต่ตำแหน่งทางราชการที่แท้จริงทั้งเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) และเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) คือตำแหน่งเสนาบดีกรมคลังซึ่งในขณะนั้นดูแลกรมท่าด้วย เพิ่งมาแยกใน ปี พ.ศ. ๒๔๑๘ เป็นกระทรวงการต่างประเทศ) และกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญสถานมงคล (วังหน้า) ได้ร่วมกันสร้างพระสมเด็จวัดพระแก้ว แต่ที่น่าแปลกก็เพราะว่ามีพระสมเด็จสกุลนี้ส่วนหนึ่งถูกเก็บไว้ในวิหารน้อยที่วัดระฆังฯ ด้วยเช่นกัน พระสมเด็จเขียวชุดนี้จะมีพุทธศิลป์ เนื้อมวลสารถึงยุคคือ องค์พระสวยงามได้สัดส่วนพบทั้งแบบพิมพ์สมัยใหม่ และแบบพิมพ์โบราณของวัดระฆัง คือพิมพ์ชิ้นเดียว และพิมพ์สองชิ้นแบบถอดยก ส่วนเนื้อมวลสารมีความละเอียดแก่ปูนแข็งแกร่งแต่หนึกนุ่มดูซึ้งเมื่อผ่านการใช้ในระยะเวลาหนึ่ง (บางท่านอาจคิดว่าเป็นพระสมเด็จบางขุนพรหม) สีขององค์พระออกเป็นสีเขียวเข้ม และสีเขียวก้านมะลิ อันเนื่องมาจากการสร้างที่มีการพัฒนาทรงพิมพ์เนื้อมวลสาร แต่กลับปรากฏคราบไขสวยงามอันเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญประการหนึ่งของพระสมเด็จวัดระฆัง ส่วนที่มาของสีเขียวนั้น พระอาจารย์จิ้ม กันภัย (พระภิกษุวงศ์ สุธรรมโม) ได้เล่าประสบการณ์ให้ฟังว่าได้นำวัสดุอุปกรณ์สีที่ทำเครื่องกังไสลายครามมาจากประเทศจีนผสมกับปูนเพชร หรือปูนเปลือกหอยตามสูตรที่ได้รับการปรับปรุงในการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังในยุคท้ายๆ และได้เล่าให้ฟังเพิ่มเติมอีกว่าในสมัยยุคแรกๆก็ได้มีการสร้างพระสมเด็จวัดระฆังที่มีวรรณะสีเขียวเหมือนก ันแต่ต่างกันตรงสีที่ใช้นั้นมาจากพืช โดยการใช้ต้นตำลึง และต้นคระไคร้นำมาคั้นจนได้น้ำสีเขียวนำมาผสมกับส่วนผสมตามสูตร สร้างเป็นพระสมเด็จวรรณะสีขาว หรือสีเขียวซึ่งสามารถนำมาแช่ทำน้ำมนต์รักษาโรคได้ โดยเฉพาะโรคอหิวา (โรคห่า) จากนั้นก็จะมีการสร้างจากหินลับมีดโกนที่สึกกร่อนจากการลับมีดที่ใช้ปลงผมพระ นำมาย่อยสลายด้วยการตำบดให้ละเอียดจัดสร้างเป็นพระสมเด็จวัดระฆังเนื้อหินลับมีดโกนขึ้น พระชุดนี้ (พระสมเด็จเขียว หรือ พระสมเด็จปีระกา) มีทั้งหมดหกพิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ประธาน พิมพ์ทรงเจดีย์ พิมพ์ปรกโพธิ์ (ปรกโพธิ์เม็ดและปรกโพธิ์บาย) พิมพ์สังฆาฏิ (มีหูและไม่มีหู) พิมพ์ฐานคู่ และพิมพ์ฐานแซม จำนวนการสร้างประมาณหนึ่งหมื่นองค์

เหตุแห่งความเลื่อมใสศรัทธาของประชาชนเป็นอย่างยิ่งต่อพระสมเด็จชุดนี้ก็เมื่อครั้งเกิดอหิวา หรือโรคห่าระบาดใหญ่ ในวันเสาร์ เดือน ๗ ปี พ.ศ. ๒๔๑๖ ในสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ เกิดระบาดนานถึง ๓๐ วัน มีผู้คนล้มตาย เป็นอันมากไม่ว่าเจ้าไม่ว่านาย บ่าวไพร่ และประชาชนโดยทั่วไป ตามพระราชพงศาวดารบันทึกไว้ว่ามีคนตายด้วยโรคนี้เป็นจำนวนถึงหลายหมื่นคน จนมีเรื่องเล่ากันว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ได้ไปเข้าฝันประชาชนให้อาราธนาพระสมเด็จฯมาทำน้ำมนต์ดื่มกิน และด้วยความศักดิ์สิทธิ์ผู้ที่ดื่มน้ำมนต์นี้หายจากโรคอหิวาได้อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง จึงมีชาวบ้านจากทั่วทุกสารทิศมาที่วัดระฆังเป็นจำนวนมาก พระสมเด็จที่ถูกเก็บไว้ที่วิหารน้อยจำนวนหลายพันองค์ถูกแจกจ่ายให้กับประชาชนโดยทั่วไปจนหมด จึงเกิดการซื้อขายขึ้นกล่าวกันว่าราคาขายในขณะนั้นเพียงองค์ละหนึ่งถึงสามตำลึงเท่านั้น นอกจากนั้นยังมีอาจารย์และผู้รู้อีกหลายท่านได้เขียนไว้ในหนังสือหลายเล่ม รวมทั้งกล่าวด้วยประสบการณ์ว่าหลังจากที่โรคอหิวานี้สงบลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้มอบพระสมเด็จชุดนี้จำนวนหนึ่งให้แก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ ประชาชนโดยทั่วไปเพื่อไว้ป้องกันโรค และอีกส่วนหนึ่งนำไปบรรจุกรุไว้ที่วัดบางน้ำชน เขตธนบุรี กรุงเทพฯ นี่คือที่มาของพระสมเด็จเขียวที่แสดงอิทธิคุณ และพุทธคุณในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บ

อาจารย์ไพรพนา (แบ่งปันข้อมูล)

- ข้าพเจ้า สมเกียรติ กาญจนชาติ เคยได้นำ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ รุ่นแรก ที่ สมเด็จโตท่านสร้างไว้ มาขุดเป็นผงและผสมกันขมิ้นชันเป็นแคบซูน เพื่อเป็นยาถวาย พระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสวัดระฆังในปัจจุบัน ซึ่งต้อนนั้นท่านอาพาสมาก และท่านได้ฉัน

และสวดมนต์โพช์ชง และได้หายจาคโรคภัยและแข็งแรงมาถึงปัจจุบัน

ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมที่ https://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2018/10/blog-post_27.html

โทรสอบถามได้ที่ สมเกียรติ กาญจนชาติ 084-6514822 (ปัจจัยไม่มากก็สามารถบูชาได้เราต้องการให้คนดีได้ครอบครอง ป้องกันภัยพิบัติต่างๆ)

https://www.facebook.com/notes/ประวัติศาสตร์/พระสมเด็จวัดระฆัง-ช่วยภัยพิบัติในอดีตรักษาโรคอหิวา-สมัยรัชกาลที่๕/170853416306812/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง