พระพิทักษ์ป่าพะยูง ในประวัติศาสตร์

บทความ  ตอน พระราชวิสุทธิมุนี(พระอาจารย์เยื้อน ขฺนติพโล) พระผู้พิทักษ์ป่าแห่งอีสานใต้
พระราชวิสุทธิมุนี(พระอาจารย์เยื้อน ขฺนติพโล) พระผู้พิทักษ์ป่าแห่งอีสานใต้   เกิดเมื่อวันที่ 12 เมษายน 2495 ที่บ้านระไซร์ ต.นาดี อ.เมือง จ. สุรินทร์ อุปสมบท เมื่ออายุครบ 20 ปี ในวันที่ 16 เมษายน 2515 ณ วัดบูรพาราม อ.เมือง จ.สุรินทร์ (ธรรมยุต) โดยมี พระรัตนากรวิสุทธิ์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์เป็นพระอุปัชฌาย์  การศึกษา จบประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนบ้านระไซร์ ต.นาดี อ.เมือง จ.สุรินทร์   ฝึกอบรมและศึกษาดูงาน  ศึกษาธรรมและปฏิบัติภาวนาตั้งแต่ปี 2515 โดยศึกษากับหลวงปู่ดุลย์  ต่อมาท่านได้ฝากให้เข้ารับการศึกษาอบรมข้อวัตรปฏิบัติกับ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี   ในปี พ.ศ. 2530 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าอตุโลบุญญลักษม์ ( 2530-2543)  ต่อมา ปีพ.ศ. 2544 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร (2544-ปัจจุบัน) และในพ.ศ. 2557 ได้รับพระราชทานโปรดเกล้าฯ สมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ฝ่ายวิปัสสนาธุระ ที่ พระราชวิสุทธิมุนี ศรีศาสนกิจจาทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัด ฝ่ายธรรมยุติ
สำหรับพุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีป่าและภูเขาล้อมรอบ มีเนื้อที่ครอบคลุม ประมาณ 10,865 ไร่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธุ์ไม้ และสมุนไพรหายาก รวมทั้งสัตว์ป่านานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร มีทัศนียภาพที่งดงาม สภาพแวดล้อมเงียบสงบร่มเย็น เหมาะกับการศึกษาปฏิบัติธรรม และท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญยิ่ง ผืนป่าบางส่วนติดชายแดนไทย-กัมพูชา ถึงแม้ว่าจะมีร่องรอยการตัดไม้ทำลายป่าให้เห็นอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตาม  ป่าทั้งผืนแห่งนี้ จัดได้ว่าอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในอีสานใต้ของประเทศไทย  ในปี พ.ศ.2536 กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสมัยนั้น (ปัจจุบัน กรมป่าไม้ อยู่ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ได้ประกาศบริเวณพื้นที่ป่าเป็นเขตพุทธอุทยาน ให้ดำเนินโครงการส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ตามความคิดริเริ่มของพลเอกเชษฐา ฐานะจาโร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผบ.กกล.สุรนารี โดยมี เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
เนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี ในปี พ.ศ.2539 คณะกรรมการวัดได้มีมติในการจัดสร้างพระอุโบสถเพื่อเป็นอนุสรณ์เนื่องในมหามงคลวโรกาสครั้งนั้น ลักษณะพระอุโบสถเป็นทรงไทยประยุกต์ ขนาดกว้าง 30 เมตร ยาว 60 เมตร ผลจากพลังศรัทธาสามัคคี และความมานะพยายามของพระครูภาวนาวิทยาคม (เยื้อน ขนฺติพโล) เจ้าอาวาส ตลอดจนคณะสงฆ์ ศิษยานุศิษย์ และ พุทธศาสนิกชนทั่วไป ที่ได้ร่วมเสียสละกำลังกาย และทุนทรัพย์ อุปถัมภ์การก่อสร้างจนแล้วเสร็จ โดยไม่ใช้งบทางราชการแต่อย่างใด และได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.2541 เพื่อให้เป็นการสมบูรณ์ตามแบบพระธรรมวินัย และทางวัดได้ทำพิธีผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต ในวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2547 โดยมี พลเอกเชษฐา ฐานะจาโร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในขณะนั้นมาเป็นประธานในพิธี
ท่านพระราชวิสุทธิมุนี (พระอาจารย์เยื้อน  ขฺนติพโล) กล่าวว่า จังหวัดสุรินทร์มีพื้นที่ทั้งหมด 5.07 ล้านไร่ มีพื้นที่ป่าไม้อุดมสมบูรณ์ตามแนวชายแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชา ได้แก่ พื้นที่อำเภอบัวเชด อำเภอสังขะ อำเภอกาบเชิง และอำเภอพนมดงรัก โดยจังหวัดสุรินทร์ได้มีการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1.11 ล้านไร่ ได้แก่พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ และพื้นที่ป่าสวนแห่งชาติ 29 ป่า แต่มีพื้นที่เหลือเพียงร้อยละ11.50 หรือประมาณ 5.8 แสนไร่เท่านั้น
สำหรับพื้นที่ป่าพุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร  ประมาณ 10,865 ไร่ นี้ อาตมาตั้งใจที่จะสร้างให้เป็นป่าที่สมบูรณ์ที่สุดของอีสานใต้ เพื่อถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงอนุรักษ์ป่าและน้ำให้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าให้อยู่อย่างยั่งยืนตลอดไป เพราะอาตมาได้โปรดเกล้าเป็นพระราชวิสุทธิมุนี เพราะเป็นพระที่รักษาป่าให้คงอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์นับหมื่นไร่ และจะรักษาและสร้างป่าแห่งนี้ เป็นศูนย์เรียนรู้ทางธรรมะและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดสุรินทร์ โดยได้ดำเนินการพัฒนาสถานที่ให้เหมาะสมและมีความพร้อมในการรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศในอนาคตอันใกล้นี้  ซึ่งจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ การเดินป่า การนั่งรถชมป่าระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร หรือการนั่งช้างชมป่าด้วย  การสร้างป่ากับพระพุทธศาสนาเป็นของคู่กัน พระพุทธเจ้ารับสั่งตอบเทวดาที่มากราบทูลถามว่า  "ชนเหล่าใด สร้างสวนดอกไม้ ผลไม้ ปลูกหมู่ไม้ สร้างสะพาน และให้โรงเป็นทาน บ่อน้ำทั้งบ้านที่พักอาศัย ชนเหล่านั้นย่อมมีบุญ เจริญในกาลทุกเมื่อ ทั้งกลางวันและกลางคืน ชนเหล่านั้นตั้งอยู่ในธรรม สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นผู้ไปสวรรค์"  จึงนับว่า ป่าไม้ เป็นสิ่งที่ควรอนุรักษ์ ในพระพุทธศาสนาอีกด้วย  จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนชาวไทยและนักท่องเที่ยวทุกท่าน มาร่วมใจอนุรักษ์ป่าและน้ำ ให้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีค่าอย่างยั่งยืนของประเทศต่อไป
กัญญรัตน์  เกียรติสุภา  เรียบเรียง
ประชาสัมพันธ์หาทุนช่วยหลวงพ่อเยื้อนครับ ได้มอบพระไว้ที่หลวงพ่อแปดองค์มูลค่าสมมุติหลักล้านบาท
เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและพระศาสนาตลอดไป (ท่านผู้ศรัทธามอบทุนในโครงการ ห้าแสนบาท ขอมอบเหรียญหลวงพ่อโสธร รุ่นแรก ให้เป็นสิ่งมงคลสักการะหนึ่งเหรียญ ) รายได้ขอถวายปัจจัยครึ่งหนึ่งถวายเพื่อสร้างพระพุทธมหาเมตตา  ส่วนหนึ่งเพื่อการตั้งมูลนิธิ และเพื่อโครงการด้านความมั่นคงสถาบันพระศาสนา ที่ดำเนินการโดย
ข้าพเจ้า สมเกียรติ กาญจนชาติ โทร 084-6514822
ข้อมูล
www.facebook.com/thaihistory

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ