โครงการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และจริยธรรม จังหวัดภูเก็ต ต้นแบบเมืองสวรรค์ที่ต้องไป


ประวัติศาสตร์ความดีงาม

ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร

ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร(จัน) (มุก)
ได้กระทำการป้องกันรักษาเมืองถลางไว้เป็นสามารถ
เมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. 2328
มิให้ข้าศึกตีหักเอาเมืองได้
เป็นวีรกรรมอันควรแก่ชนชาวเมืองถลาง
ตลอดจนชาวไทยทั่วกันยกย่องสรรเสริญ
จึงสร้างอนุสาวรีย์ให้ไว้เป็นอนุสรณ์
เมื่อ พ.ศ. 2509

เรื่องราวความเป็นมาของ วีรสตรีบนแผ่นดินถลาง บันทึกไว้ว่า
ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นนามเทิดพระเกียรติแห่งวีรกรรมที่ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ ท่านผู้หญิงจัน เป็นท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุก เป็น ท้าวศรีสุนทร
ท่านทั้งสอง เป็นบุตรีของเจ้าเมืองถลาง นามว่า พระถลางจอมร้าง (บ้านตะเคียน) และ แม่เซีย หรือหม่าเสี้ย ก็เรียก กล่าวกันว่า มารดาท่านมีเชื้อสายเจ้าเมืองไทรบุรี ท่านมีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 4 คน โดยคุณจันเป็นบุตรีคนหัวปี คนรองคือ คุณมุก คนที่สามเป็นหญิง ชื่อหมา คนที่สี่เป็นชายชื่ออาด (ต่อมาได้เป็นพระยาถลาง ตำแหน่งเจ้าเมืองถลางอีกคนหนึ่ง) คนสุดท้ายเป็นชายชื่อเรือง (ได้เป็นพระพล ตำแหน่งปลดเมืองถลางต่อมาด้วย)
คุณจัน นั้น คาดคะเนกันว่า ท่านน่าจะเกิด ระหว่างปี พ.ศ. 2278 - 2283 ในรัชสมัยแผ่นดิน พระเจ้าบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ส่วนคุณมุกก็คงจะเป็นน้องสาว วัยไล่เลี่ยกับท่าน เพราะระหว่างนำสู้ศึกถลาง ท่านน่าจะมีอายุระหว่าง 45 - 50 ปี
ในวัยเด็กท่านอยู่กับครอบครัว บิดา มารดาท่านตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านตะเคียน (ชาวถลางปัจจุบันเรียกว่า บ้านเคียน) เนื่องด้วยท่านทั้งสองเป็นเชื้อสายของเจ้าเมือง คงได้รับการอบรม และฝึกสอนให้มีจิตใจ เข้มแข็ง อดทน รู้หลักการปกครองผู้คนได้ ท่านทั้งสอง จึงเป็นคนที่แข็งแกร่ง เยี่ยงอย่างชาย ไม่อ่อนแอเหมือนหญิงทั่วไป ซึ่งความเข็มแข็ง อดทนนั้น เป็นลักษณะพิเศษ ที่อยู่ในบุคลิกท่าน ที่เราได้ทราบเรื่องของท่านในต่อมา เมื่อถึงวัยสาว ประมาณ พ.ศ. 2297 คุณจันได้แต่งงาน กับหม่อมศรีภักดี บุตรจอมนายกองเจ้าเมืองตะกั่วทุ่งมีลูกด้วยกัน 2 คน คนโตเป็นผู้หญิงชื่อ ปราง คนเล็กเป็นชายชื่อ เทียน คุณจันแต่งงาน และย้ายไปอยู่ที่ตะกั่วทุ่ง ได้เพียง 5 ปี หม่อมภักดี ก็ถึงแก่กรรม จึงหอบลูกน้อยกลับไปอยู่ที่บ้าน พระยาถลางจอมร้างที่บ้านเคียนตามเดิม ส่วนคุณมุกนั้น ไม่มีบันทึกว่า ท่านได้เข้าพิธีแต่งงาน สันนิษฐานกันว่า ท่านครองโสดอยู่กับบิดา มารดาที่บ้านเคียน และเมื่อพี่สาวต้องหอบลูกๆ กลับมาอยู่บ้านเดิมอีกครั้ง คุณมุก คงจะรับภาระเลี้ยงดูหลานๆ
สันนิษฐานกันว่า บุคลิกและอุปนิสัยคุณจันคงจะเป็นหญิงที่มีบุคลิกสง่า คล่องแคล่ว มีความรอบรู้การบ้านการเมืองดี ไม่ชอบที่จะอยู่เฉยๆ  เป็นลูกสาวเจ้าเมือง ที่อยู่ในระดับ ปกครองบ้านเมือง ได้รู้จักมักคุ้นกับบุคคลในวงการเดียวกันเรื่อยมา ในชีวิตส่วนตัวของท่านนั้น เป็นหม้ายอยู่ได้ 3 ปี  ประมาณปี พ.ศ. 2305   ท่านได้สมรสใหม่กับ พระยาพิมล ( ขัน ) ซึ่งเจ้านครศรีธรรมราช ผู้มีอำนาจปกครองดูแล หัวเมืองฝ่ายใต้ทั้งหมด ขณะนั้น เจ้านครศรีธรรมราช ได้ส่ง พระยาพิมล ( ขัน )  มาช่วยราชการอยู่ที่เมืองถลาง ชีวิตครอบครัวใหม่ ของท่านนั้น มีบุตรใหม่อีก 3 คน คนโตเป็นผู้หญิงชื่อ ทอง คนกลาง และคนสุดท้ายเป็นชาย ชื่อจุ้ยกับเนียม
ในปลายแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าเอกทัศ ขณะที่กรุงศรีอยุธยากำลังคับขัน ใกล้เสียกรุงประมาณต้นปี 2310  นั้น พระยาถลางจอมร้างได้ถึงแก่กรรมลง พระยาถลางอาด ได้เป็นเจ้าเมืองแทน แต่ได้มีเรื่องหมางใจ กับพี่เขยพระยาพิมล ( ขัน ) และได้ร้องฟ้องไปถึง เจ้านครศรีธรรมราช ซึ่งได้รับตัดสินความ ให้พระยาพิมล ( ขัน ) ไปเป็นเจ้าเมืองพัทลุง ซึ่ง คุณจันไม่ได้ ตามไปอยู่ที่ เมืองพัทลุงด้วย กลับพาลูกๆ และคุณมุกไปอยู่กับเครือญาติ หม่อมศรีภักดี ที่เมืองตะกั่วทุ่ง
เมื่อพระยาพิมล ( ขัน ) ถูกสั่งย้ายให้ไปปกครองเมืองพัทลุงนั้น ได้ทำนุบำรุงบ้านเมือง ให้อยู่เป็นสุขสบาย ไปตั้งชุมชนใหม่ เรียกว่า บ้านพระยาขัน ( อยู่ในเขต ต.ควนมะพร้าว อ.เมือง จ.พัทลุง จนถึงทุกวันนี้ )  นับว่าเป็นผู้มีความสามารถ ในการปฏิบัติราชการ ตามแบบอย่างเจ้าเมืองที่ดี ระหว่างที่กรุงศรีอยุธยา แตกพ่ายแพ้ต่อสงครามเมื่อปี 2310 ต่อมาพระสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงกรีฑาทัพ เพื่อปราบหัวเมือง ที่ตั้งตัวเป็นก๊กต่างๆ นั้น เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ซึ่งปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ ก็ตั้งตัวเป็นอิสระบ้างในปี พ.ศ. 2312 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงนำกองทัพเข้าปราบ เมืองนครศรีธรรมราช ได้แต่เจ้านครศรีธรรมราช หนีไปทาง  เมืองพัทลุง พระยาพิมล ( ขัน ) ได้พาหนีต่อทว่าถูกจับตัวได้ ในคราวนั้นพระยาพิมลขัน ได้รับการอภัยโทษ ไม่ถูกจองจำเหมือน เจ้าพระยานครศรีธรรมราช แต่ต้องพ้นจากตำแหน่งเจ้าเมืองพัทลุง ซึ่งท่านก็มิได้ย่อท้อ ท่านเปลี่ยนเข็มชีวิตใหม่ เป็นพ่อค้า ติดต่อค้าขายถึงเกาะปีนัง ซึ่งระยะนี้พระยาพิมล ( ขัน ) ได้มีโอกาส กลับมาพักแรมกับครอบครัว ที่ตะกั่วทุ่ง และมีบุตรเพิ่มขึ้นอีก 2 คน เป็นหญิงชื่อ กิม และเมือง โดยในขณะที่พระยาพิมล (ขัน) ทำการค้าขายนั้น ท่านได้คุ้นเคย กับชาวอังกฤษ สนิมสนมเป็นเพื่อนรักกันคือ กัปตันฟรานซิสไลท์ นายทหารเรือนอกประจำการ ของอังกฤษ รับตำแหน่ง เป็นนายพานิช สังกัดบริษัทอีสอินเดีย มีสำนักงานใหญ่ อยู่ที่เมืองเบงกอล ทางตอนใต้ของอินเดีย
โดยประวัติของกัปตันฟรานซิสไลท์มีดังนี้ กัปตันไลท์ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2288 ที่เมืองซัฟฟอร์ด ประเทศอังกฤษ เป็นนายทหารเรือ ยศเรือโท ประจำอยู่ในเรือแอโรเก้น ( H.M.S.Arrogant ) ครั้น พ.ศ. 2308 ได้ลาออกจากราชการเป็นนายพานิชสังกัด บริษัท อีสอินเดีย ของอังกฤษ โดยเป็นกัปตันเรือ ค้าขายระหว่างอินเดีย กับชายฝั่งตลอดแหลม มลายู เช่น เมืองตะนาวศรี มะริด เมืองถลาง เมืองไทรบุรี ปีนัง และ มะละกา เป็นต้น ระหว่างที่จอดเรือตามเมืองท่าต่างๆ นั้น  ก็จะนำสินค้าจากอังกฤษและยุโรป ส่งขาย และรับสินค้าพื้นเมืองกลับไปขาย เมื่อเรือเข้าเทียบท่า ที่เมืองถลางสินค้าที่ส่งขาย ได้แก่ เสื้อผ้าแพรพรรณ อาวุธยุทธปัจจัย ยาฝิ่น แล้วรับซื้อดีบุก ยางสน ไข่มุก งาช้าง หนังสัตว์ และ อำพันทอง ( สมุนไพร ) กัปตันไลท์ ดำเนินกิจการค้า ด้วยนโยบายแฝงด้วยการเมืองอยู่ด้วย เมื่อเข้าติดต่อค้าขายกับเมืองไทย ก็สร้างมิตรไมตรีกับเจ้าเมืองเสมอ
ในปี  พ.ศ. 2319 เจ้านครศรีธรรมราช ผู้ถูกอาญาจากสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นำตัวมาคุมไว้ ที่กรุงธนบุรีนั้นได้ แสดงความจงรักภักดี ช่วยราชการต่างๆ จนสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ไว้วางพระราชหฤทัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กลับไป ปกครองเมืองนครศรีธรรมราช หัวเมืองประเทศราชฝ่ายใต้อีก เมื่อได้รับอำนาจกลับคืนมา เจ้าพระยานครศรีธรรมราช ระลึกถึง  คุณงามความดีที่พระยาพิมล ( ขัน ) เป็นผู้ภักดีในยามยาก จึงตั้งให้เป็นเจ้าเมืองถลางขึ้นใหม่ แทน พระยาถลางอาด ที่ปกครองบ้านเมือง ไม่อยู่ในทศพิธราชธรรม จนถูกชาวเมืองเป็นกบฏ สู้รบกันจนถูกยิงตาย แล้วพระยาพิมล ( ขัน ) ได้รับแต่งตั้ง ให้เป็น พระยาสุรินทราชา เจ้าเมืองถลาง ในปี พ.ศ. 2319 และคุณจันก็ได้เป็นท่านผู้หญิงภริยาเจ้าเมือง ชีวิตครอบครัวกลับคืน สู่ความผาสุกอีกครั้งหนึ่ง
ความสนิมสนม ของเจ้านครศรีธรรมราช พระยาพิมล ( ขัน ) และกัปตันไลท์ ได้เกิดขึ้นกลมเกลียวกัน ในปีนั้นเอง สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี มีพระบรมราชโองการโปรดฯ ให้เจ้าพระนครศรีธรรมราช จัดส่งอาวุธปืน เพื่อใช้ป้องกันพระนคร กัปตันไลท์ ได้จัดหาอาวุธปืน และยุทธปัจจัยขึ้นทูนเกล้าฯ  สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ตามพระราชประสงค์ จึงได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์ให้เป็น พระยาราชกปิตัน พร้อมกับพระราชทานดีบุกจำนวน 100 ภารา ( มาตราชั่งน้ำหนัก ) ตอบแทนด้วย
พระยาราชกปิตัน หรือกัปตันไลท์ ยังมีชื่อเรียก ในหมู่คนไทย และในจดหมายเหตุหลายชื่อ เช่น พระยาราชกปิตันเหล็ก หรือกปิตันเหล็ก กปิตันลาด ท่านราชโต๊ะ โตกพระยา ละโตก เป็นต้น  ความสนิทสนมระหว่าง กัปตันไลท์ กับบรรดาเจ้าเมืองฝ่ายไทยหลายท่าน ทำให้ท่าน รู้จักภาษาไทยแตกฉาน มีบันทึกเล่าว่าท่านได้สมรส กับหญิงชาวถลางเชื้อสายโปรตุเกส ชื่อ มาตินา โรเซลล์
นอกเหนือจากมีความสนิทสนมกับเจ้าเมือง ในหัวเมืองฝ่ายใต้ และพระมหากษัตริย์ไทยแล้ว ยังมีบันทึกว่า ในปี  พ.ศ. 2329  กัปตันไลท์ ได้เจรจากับเจ้าเมืองไทยบุรีขอเช่า เกาะหมากหรือเกาะปีนัง เป็นสถานีการค้า และสถาปนาตนเอง เป็นเจ้าเมืองด้วย แล้วเปลี่ยนชื่อเกาะปีนังใหม่ว่า ปริ้นออฟเวลส์
ต่อมาเมื่อมีการติดต่อค้าขายกับกัปตันไลท์ หรือพระยาราชกปิตัน ซึ่งนำเรือเข้าเทียบท่าเรือเมืองถลาง ( คือบ้านท่าเรือในปัจจุบัน ) เสมอ อีกทั้งพระยาพิมล ( ขัน )  เอง ยังคงมีเรือออกเที่ยวติดต่อค้าขาย จึงได้ออกมาสร้างบ้านอีกหลังไว้ที่ท่าเรือ เพราะมีจดหมายเหตุ ของกัปตันฟอร์เรสต์ชาวอังกฤษกล่าวถึง บ้านเจ้าเมืองถลางว่า มีอยู่ 2 แห่ง คือที่บ้านท่าเรือ และ บ้านเคียน จึงสันนิษฐานกันว่า ที่บ้านเคียนนั้น เป็นบ้านที่พระยาถลางพิมล ( ขัน ) อาศัยอยู่กับครอบครัวอย่างถาวร ส่วน บ้านท่าเรือ ใช้เป็นที่พักสำหรับ ออกมาตรวจราชการ เกี่ยวกับเรือสินค้า คอยดูเรื่องการ เก็บภาษีอากรอย่างใกล้ชิด และถูกต้อง เรียบร้อยตามกระบวน ความยุติธรรม อีกทั้งเป็นที่รับแขกบ้านแขกเมือง พ่อค้าวานิชทั้งหลาย ที่นำเรือสินค้า เข้ามาติดต่อค้าขาย ในบันทึกนั้นเล่าไว้ว่า จากบ้านท่าเรือนั้น พระยาถลางขึ้นช้างเดินไป ประมาณ 7 ไมล์ ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ก็จะถึงบ้านพระยาถลาง อีกแห่งหนึ่ง เป็นเรือนไม้มุงจาก มีสวนผลไม้หลายอย่าง ในบริเวณบ้าน ซึ่งเป็นระยะทางจากบ้านท่าเรือ (เขตตำบลศรีสุนทร) ถึงบ้านเกาะเคียน หรือบ้านเคียน (เขตตำบลเทพกระษัตรี) อำเภอถลางในปัจจุบัน
หลักฐานที่แจ้งชัดว่า พระยาพิมล ( ขัน ) หรือพระยาสุรินทราชา ได้มีบ้านพักถาวร อยู่ที่บ้านเคียน และบ้านรับรองอยู่ที่ท่าเรือนั้น ดูได้จากจดหมาย ที่ท่านผู้หญิง เขียนถึงพระยาราชกปิตันหรือ กัปตันไลท์ ประมาณต้นปี พ.ศ. 2328 ในขณะที่กัปตันไลท์ นำเรือมาเทียบท่า ขนส่งและรับซื้อสินค้าเหมือนเช่นเคย แต่ทว่าระยะสั้น การค้าขายของกัปตันไลท์ ก็คงจะฝืดเคืองเช่นกัน เมื่อ มาถึงเมืองถลางก็ให้คน ถือจดหมายไปทวงหนื้สินที่ยังค้างกันอยู่
ปัญหาหนี้สินที่พระยาพิมล ( ขัน ) ติดค้างอยู่กับกัปตันไลท์นั้น คงจะเป็นหนี้สินอันเกี่ยวกับ การจัดซื้ออาวุธยุทธโธปกรณ์ ที่ได้ขอให้กัปตันไลท์ จัดซื้อไว้ป้องกันเมือง เพราะดูจากสมัยที่ท่าน ได้รับตำแหน่ง เป็นพระยาถลางใหม่ๆ ระหว่างปี พ.ศ. 2319  - 2320 นั้น ก็เคยขอให้กัปตันไลท์ ช่วยจัดซื้ออาวุธปืนให้ โดยทำสัญญาแลกเปลี่ยนดีบุก ในสมัยที่นำส่งไปช่วยเจ้าพระยานครฯ และต่อมาในปี พ.ศ. 2325 คราวที่ในกรุงผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ขึ้นครองราชย์นั้น กัปตันไลท์ส่งข่าวมาบอกว่า ทางพม่า เตรียมการศึกไว้ หวังที่จะยึดเอาเมืองสยามให้ได้ ในฐานะที่พระยาพิมล ( ขัน ) เป็นเจ้าเมืองถลาง ก็จะต้องเตรียมสะสมอาวุธ โดยสั่งซื้อจากกัปตันไลท์ไว้ด้วย จึงมีอาวุธ เหลือไว้ให้ ท่านผู้หญิงจัน ได้ใช้ป้องกันเมือง ระหว่างที่ถูกข้าศึกเข้าล้อมอยู่ ในจดหมายทวงหนี้ ของกัปตันไลท์ ได้บอกข่าวศึกว่าพม่า เตรียมยกทัพมาแน่ๆ ขอให้พระยาถลาง จัดเตรียมสู้ไว้ และศึกครั้งนี้ กัปตันไลท์คงจะต้องออกเรือหนีภัยศึก อันใหญ่หลวงออกไป จากถลางชั่วคราว ไม่ทราบว่านานเท่าใด จึงได้ทวงหนี้สินที่คั่งค้างกันอยู่ และจากข้อความในจดหมาย ของท่านผู้หญิงจัน ที่มีถึงกัปตันไลท์ ขอผัดผ่อนหนี้สิน ก็เพราะขณะนั้นพระยาสุรินทราชา เจ้าเมืองถลาง กำลังป่วยหนักอยู่ ซึ่งก็ไม่ทราบสาเหตุเช่นกันว่า เจ็บป่วยด้วยโรคอะไร ข้อความในจดหมาย ของท่านผู้หญิงจัน ซึ่ง คุณ ประสิทธิ์  ชิณการณ์ และ อาจารย์สมหมาย ปิ่นพุทธสิทธิ์ ได้ช่วยกันถอดข้อความ เป็นภาษาไทยปัจจุบัน และนำลงพิมพ์ไว้ใน เอกสาร "จดหมายเหตุเมืองถลาง 13 มีนาคม 2525" นั้นมีข้อความ ตอนสำคัญว่า

" ... ด้วยมีหนังสือไปนั้น ได้แจ้งแล้ว ครั้นจะเอาหนังสือไปเรียนแก่พญาถลาง ๆ ป่วยหนักอยู่แล ซึ่งว่า มาค้าขาย ณ เมืองถลางขาดทุนหนักหนาช้านานแล้วนั้น เห็นธุระของตะโกลาอยู่ แต่หากว่าลาโตกเมตตา เห็นดูข้าเจ้าจึงเปลืองทุนเป็นอันมากทน ระมานอยู่ด้วยความเห็นดู แลซึ่งว่าแต่งกำปั่นแล้วจะลากลับไป แลมีราวข่าวว่า พม่าจะมาตีเมืองถลาง ท่านพญาถลางเจ็บหนักอยู่ ถ้าพม่ายกมา จึงข้าเจ้าจะได้พึ่งตาโลก เป็นหลักที่ยุคต่อไป แลซึ่งว่าจะเอาดีบุกค่าผ้านั้น ท่านพญาถลางยังเจ็บหนัก มิได้ ปรึกษาว่ากล่าวก่อน ถ้าท่านพญาถลางคลายป่วยแล้วจะได้ปรึกษาว่ากล่าวจักเตือนให้ ..."
จดหมายฉบับนี้ท่านผู้หญิงได้เขียนเมื่อเดือนอ้าย ปีมะเส็ง จุลศักราช 1147 หรือ พ.ศ. 2328 ก่อนที่สงครามจะถึงถลางประมาณ 2 เดือนเท่านั้น
สงครามใหญ่ที่รุกรานไปถึงถลางนั้นก็คือ  สงครามเก้าทัพ ที่พระเจ้าประดุง กษัตริย์พม่า กรีฑาบุกไทย พร้อมกันทุกด้าน นับแต่หัวเมืองเหนือจรดใต้ โดยหมายยึดเมืองไทยให้ได้ เมื่อต้นเดือน กุมภาพันธ์ 2328 นั้น ทางหัวเมืองฝ่ายใต้ตะกั่วป่า ตะกั่วทุ่ง ( เขตอำเภอท้ายเมืองปัจจุบัน ) เรื่อยลงมาถึงเมืองถลาง แม่ทัพพม่า ที่นำบุกหัวเมืองฝ่ายใต้นั้นคือ พระเจ้าอังวะ คุมกองทัพบก กองทัพเรือ ตีตะลุยเรื่อยมา ยี่หวุ่นแม่ทัพเรือพม่า ได้นำทหารเข้าล้อมเมืองถลางไว้ เมื่อพิจารณาจากลำดับเหตุการณ์ ทางประวัติศาสตร์   ในขณะที่เมืองถลางถูกทัพพม่าล้อมไว้นั้น พระยาถลาง ได้ถึงแก่อนิจกรรมลง ในราวเดือน ธันวาคม 2328  หลังจากที่ท่านผู้หญิงจัน จดหมายถึงกัปตันไลท์ ไม่กี่วันนั่นเอง นับระยะเวลาที่พระยาพิมล ( ขัน ) เป็นเจ้าเมืองถลางอยูได้ 10 ปี
ความสำคัญของ บ้านเคียน อันเป็นที่อยู่ถาวร ของครอบครัวท่านผู้หญิงจันนั้น ในคราศึกถลาง ก็ได้ใช้เป็นที่ตั้งค่ายยึดชัยภูมิ อย่างขันแข็ง สู้กับกองทัพพม่าเรียกว่า ค่ายบ้านเคียน อยู่ติดกับค่ายใหญ่ อีกค่ายหนึ่ง ที่หลังวัดพระนางสร้างตั้งประจันหน้า สู้กับพม่าที่ตั้งค่าย รายล้อมอยู่กลางทุ่ง ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่า บ้านโคกพม่า ที่ทราบเช่น ก็เนื่องจากได้พบข้อความในจดหมาย ที่ท่านผู้หญิงจัน เขียนถึงกัปตันไลท์ ประมาณเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2329 เล่าถึงสภาพบ้านเมืองในยามศึกไว้ตอนหนึ่งว่า

"... แลอนึ่ง เมื่อพม่ายกมานั้น พญาธรรมไตรโลกให้เกาะเอาตัวตูข้าไปไว้ ณ ปากพระ ครั้นพม่ายกมาตีปากพระได้ กลับแล่นหนีมา ณ บ้าน แลคนซึ่งให้รักษาบ้านเรือนอยู่นั้น แล่นทุ่มบ้านเรือนเสียข้าวของทั้งปวงเป็นอันณราย มีคนเก็บรับเอาไปสิ้น แลอยู่ทุกวันนี้ ยากจนขัดสนเป็นยิ่งนัก..."

ข้อความเกี่ยวกับตัวท่านเล่าว่า ก่อนศึกนั้น ได้ถูกพระยาธรรมไตรโลก นำตัวท่านและครอบครัว ไปอยู่ที่ค่ายปากพระ นั้น คงเป็นเรื่องการระดมไพร่พล จากเมืองถลางให้ไปช่วยป้องกัน ค่ายปากพระ ในขณะนั้น เจ้าเมืองถลางถึงอนิจกรรมแล้ว อีกทั้ง ปลัดและกรมการเมือง ที่ช่วยราชการ ในเมืองถลางนั้น ก็ล้วนแล้วแต่เป็น ลูกหลานท่าน ท่านผู้หญิงจัน ในฐานะภริยาเจ้าเมือง และอาวุโสที่สุด จึงต้องรับภาระ เป็นหัวหน้าไพร่พล ยกไปช่วยป้องกันค่ายหลวงที่ปากพระก่อน
ครั้นเมื่อพม่า ตีค่ายปากพระ แขวงเมืองตะกั่วทุ่งแตก ด้วยความเป็นห่วงบ้าน และชาวเมืองถลาง ท่านจึงนำไพร่พล กลับมาป้องกันเมืองถลาง ซึ่งระหว่างนั้น ทางกรุงเทพฯ ก็ยังไม่ได้ตั้งใคร เป็นเจ้าเมืองถลางคนใหม่ ในความรับผิดชอบ ต่อบ้านเมืองและทำหน้าที่ แทนสามีที่เป็นเจ้าเมืองถลาง ประกอบกับเคยได้รับการฝึกสอน ให้อดทนเข้มแข็งจากบิดา ผู้เป็นจอมร้างบ้านเคียน ท่านจึง ได้ชวนคุณมุก ผู้เป็นน้องสาวที่สนิท และติดตามไปช่วยดูแลหลานๆ นำไพร่พล และชาวถลาง ตั่งมั่นสร้างค่ายรายล้อมต่อสู้กับข้าศึก
โดยใช้กลลวงทางยุทธวิธีอันแยบยล จนพม่าต้องเลิกทีพกลับไปเมื่อ วันที่ 24 มีนาคม 2328 อันเป็นวันชนะศึกถลาง
สำหรับข้อความที่ว่า เมื่อท่านผู้หญิงจันนำไพร่พลหนีวงล้อมพม่า ครั้นถึงบ้านเคียน ที่ท่านอาศัยอยู่นั้นถูกทิ้งร้าง ไม่มีใครช่วยดูแลให้ข้าวของ ก็ถูกขโมยไปจนหมดสิ้นนั้น นับเป็นสภาพบ้านเมือง ที่เรียกว่าบ้านแตกสาแหรกขาด สภาพการณ์เช่นนี้ สายเลือดที่เป็นนักปกครอง นักสู้ท่านจึงมีมานะรวบรวมไพร่พลเข้าสู้กับข้าศึก
หลังจากเสร็จสิ้นการศึกถลาง ได้ประมาณ 7 เดือน ท่านผู้หญิงจันได้มีจดหมายถึง กัปตันไลท์ เล่าถึงสภาพบ้านเมือง ในยามศึก ให้ทราบแล้ว ได้เล่าถึงชีวิตครอบครัว ของท่านระยะนั้น ยากจนลงท่านต้องอพยพ ไปทำเมืองดีบุกที่บ้านตะปำ ( สะปำอยู่เหนือบ้านท่าเรือ ) เพื่อกอบกู้สภาพการ เศรษฐกิจของเมืองถลางให้ดีขึ้น โดยเอาดีบุก ส่งขาย แลกกับ ข้าวปลาอาหาร เลี้ยงผู้คน พลเมือง ดังข้อความในจดหมายตอนหนึ่งว่า

"... แลที่อยู่ทุกวันนี้ ณ เมืองถลาง พม่าตีเอาบ้านเมืองเป็นจุลาจน อดข้าวปลาอาหารเป็นหนักหนา ตูข้ายกมาตั้งทำดีบุกอยู่ ณ ตะปำ ได้ดีบุกบ้างเล็กน้อย เอาซื้อข้าวแพง ได้เท่าใดซื้อสิ้นเท่านั้น ..."

"... อนึ่ง ตูข้าได้จัดดีบุกสิบภารา เป็นส่วนเจ้าหลิบแปดภารา ส่วนตูข้าสองภารา จัดมาให้แก่ท่านแลเจ้าหลิบนั้น ได้แต่ง    ให้จีนเฉียวพี่ชายแลตูข้าได้แต่งนายแช่มจีน เสมียนอิ่ว คุมเอาดีบุกไปเถิงท่าน ให้ช่วยจัดข้าวของให้ อนึ่งถ้าข้าว ณ เกาะปูเหล้าปีนัง ขัดสน ขอให้ท่านช่วยแต่งผู้หนึ่ง ผู้ใด ไปช่วยจัดซื้อข้าว ณ เมืองไซ ถ้าได้ข้าวของแล้ว ขอท่านได้ช่วย แต่งสลุบกำปั่น  เอามาส่งให้ทัน ณ เดือนสิบเอ็ด เห็นว่าจะได้รอดชื่อ เห็นหน้าท่านสืบไป เพราะในบุญของท่าน และธุระซึ่งว่ามานี้ แจ้งอยู่แก่ใจกปิตันลินสิ้นทุกประการ”
             
ในระยะนั้นการทำเหมืองดีบุกคงจะช่วยกอบกู้การเศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว ข้อความในจดหมาย คำว่าภารานั้น เป็นมาตราชั่งน้ำหนักในสมัยโบราณ อัตราส่วน นน. 1 ภารา มีค่าเท่ากับค่าของทองคำหนัก 400 ชั่ง   ( 1 ภารา = 20 ตุล,  1 ตุล = ทองคำ  20  ชั่ง )
หลังจากที่ท่านผู้หญิงจัน และ คุณมุกนำไพร่พล และชาวเมืองถลางสู้ศึกถลาง จนปกป้องบ้านเมือง ให้พ้นภัยแล้วนั้น บันทึกในพงศาวดารเมืองถลางกล่าวว่า ท่านได้รับ พระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็น ท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทรนั้น ในบันทึก ไม่ได้ลงข้อความละเอียดว่า ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เมื่อใด และขุนนางใดเป็นผู้นำหนังสือ และตราตั้งนั้นมามอบให้ท่านผู้หญิง ก็เนื่องจากนักประวัติศาสตร์ ยังหาร่องรอย หลักฐานตราประทับ หรือหนังสือแต่งตั้งไม่พบ จึงเพียงทราบกันว่า ท่านได้รับพระราชทาน บรรดาศักดิ์เท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าท่านผู้หญิงจันจะได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ ทว่าท่านก็คงยังใช้ชีวิต เป็นผู้นำครอบครัว ลูกๆ หลาน ๆ เหมือนภริยา เจ้าเมืองถลางในอดีต และในระหว่างที่ทางกรุงเทพ ยังไม่ได้จัดแต่งตั้งให้ผู้ใด เป็นเจ้าเมืองถลางสืบต่อจาก พระยาพิมล ( ขัน ) นั้น ในประมวลความ ในประวัติศาสตร์ ซึ่งรวบรวมจากบันทึกเหตุการณ์ และจดหมายถึงกัปตันไลท์
ท่านผู้หญิง ได้รับการขอร้อง จากคุณเทียน ลูกชายคนโตที่เกิดกับ หม่อมศรีภักดีบรรดาศักดิ์ ขณะนั้นเป็นพระยาทุกราช ช่วยราชการเมือง ให้เดินทางเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเข้าเฝ้า พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลมหาราช และ สมเด็จกรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เพื่อแสดง ความจงรักภักดี และขอผัดผ่อนการชำระภาษีอากร ที่เจ้าเมืองถลางพระพิมล ( ขัน ) ได้รับหนังสือเร่งรัด ให้ส่งภาษีและอากร ให้ท้องพระคลังให้ครบ นอกจากนั้น นัยสำคัญอีกประการหนึ่ง ก็เพื่อที่จะกราบทูล ให้ทรงพระราชวินิจฉัยให้ พระยาทุกราชหรือ คุณเทียน ได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นเจ้าเมืองถลางด้วย ซึ่งกำหนดการท่านผู้หญิง ได้เขียนจดหมายถึงกัปตันไลท์ ขอให้ซื้อสิ่งของต่างๆ เพื่อ นำไปทูลเกล้าฯ  ถวายพระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และ สมเด็จกรม พระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท ในครั้งนั้น โดยนัดให้กัปตันไลท์นำของต่างๆ ไปส่งที่เกาะตะลิบง ( เขตจังหวัดตรังในปัจจุบัน ) ซึ่งอยู่กลางทางในราวเดือน สิงหาคม พ.ศ. 2330 ดังข้อความใจจดหมายกล่าวไว้ว่า

"... ข้าพเจ้าจะเข้าไปกรุงแน่ แต่จะเข้า ณ ทางตรัง ถ้าข้าพเจ้ามาเถิงเกาะตะลิโบงแล้ว จะให้พญาทุกราชกับพ่อจุ้ยมา กราบเท้าพญานายท่าน จะขอพึ่งชื่อของท่าน สักสามสิบสี่ภารา จะได้เอาไปแก้ไข ณ กรุงให้พ้นกรมการ ณ เมืองถลาง เบียดเสียดว่ากล่าว แล้วถ้าสมความคิดข้าพเจ้าไปครั้งนี้ การดีบุก ณ เมือง ก็อยู่ในพญานายท่านได้ใช้ไม่ให้ขัดสน ..."

"... แลให้โตกพญานายท่าน ช่วยจัดปืนสูตัน 50 บอก ผ้าขาวก้านแย่งลายเครือ ผ้าขาวอุเหม้าเนื้อดี ผ้าขาวกาษาหน้าทองและหน้าจั่ว   ผ้าลายดอกต่างกันผ้าเข้มขาบ โหมดตาด ผ้าดำเนื้อดี แพรดาไหรยสีต่างกัน น้ำมันจัน น้ำกุหลาบ...ให้พญานายท่าน ได้เห็นดูอนุเคราะห์ จัดคนซึ่งท่านไว้ใจให้คุมมาพบกับข้าพเจ้า ณ เกาะตะลิโบง ณ เดือนเก้าข้างขึ้น 9 - 10 ค่ำ ..."

"... ข้าพเจ้าไปเถิง จะพ้นไปทีเดียว จะได้กลับมาทันทีทันมรสุม แลการบ้านเมืองถลาง ซึ่งลูกค้าไปค้าขายเกินอยู่ทั้งนั้น แล้วราชพลเมืองขัดสนมิได้ทำดีบุกแต่ต้นมรสุมประการใด ..."


อนึ่ง การเดินทางเข้ากรุงของท่านผู้หญิงจันในปี 2330 นั้น แม้ว่าท่านจะต้องเลื่อน การเดินทางออกไปอีก 2 - 3 เดือน เพราะได้สวนทาง กับคณะข้าหลวง ที่เดินทางมาเร่งรัดหนี้สิน ที่เจ้าเมืองถลางยังค้างอยู่ การเดินทางเข้าเฝ้าครั้งนั้น ท่านคงได้รับผลสำเร็จ ตามความมุ่งหมาย ทุกประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เรื่องพระยาทุกราช ( คุณเทียน ) ซึงรับราชการ ตำแหน่งปลัดเมืองถลาง นั้น ได้รับแต่งตั้งให้เป็น เจ้าเมืองถลาง บรรดาศักดิ์พระยาเพชรคีรีศรีพิชัยรามคำแหง ส่วนคุณจุ้ย บุตรชายที่เกิดจากพระยาพิมล ( ขัน ) ได้รับตำแหน่งเป็น หลวงเพชรภักดีศรีพิชัยสงครามยกบัตร ช่วยราชการเมืองถลาง
นอกจากนั้น แสดงความจงรักภักดีต่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ท่านได้พา คุณทอง บุตรสาวอีกคนหนึ่ง ที่เป็นพี่สาวคุณจุ้ย ถวายตัวเป็นบาทบริจาริกา และเป็นเจ้าจอมมารดา ของพระองค์เจ้าหญิงอุบล ในรัชกาลที่ 1 ส่วนคุณเนียม บุตรชายอีกคนหนึ่งนั้น ได้พาเข้าถวายตัว เป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 1 สำหรับลูก ๆ ที่ไม่ได้กล่าวชื่อถึงนั้น คงจะมีครอบครัว และทำมาค้าขาย อยู่ในเมืองถลาง เป็นชาวถลางธรรมดา ไม่ได้รับราชการ ในตำแหน่งสำคัญ   จึงไม่มีชื่อปรากฏ อยู่ในบันทึก พงศาวดารหรือจดหมายเหตุใดๆ
เมื่อจัดภาระผู้นำครอบครัวเจ้าเมืองถลางให้ลูกๆ ได้รับราชการในตำแหน่ง ที่ท่านตั้งใจสมปรารถนาแล้ว ท่านผู้หญิงจัน และคุณมุกคงเข้าพำนักอยู่ที่บ้านท่าเรือ เพื่อดูแลเรื่องการจัดเรือค้าขาย และติดต่อ ส่งดีบุกออกขาย ให้กับเรือ ที่เข้าเทียบท่าเมืองถลางเรื่อยมา ซึ่งจากบันทึกจดหมายเหตุ ของ กัปตันโธมาส ฟอร์เรส ที่คนไทยรู้จักนามท่าน "แจน ซีลัน" บันทึกไว้เมื่อ พ.ศ. 2335 ว่า เขาได้แวะ ที่ท่าเรือเมืองถลาง ซึ่งเป็นบ้านของพญาถลางพิมล เห็นมีบ้านเรือนอยู่ประมาณ แปดสิบหลังคาเรือน
หลังจากที่พระยาเพชรคีรีศรีพิชัยรามคำแหง หรือพระยาถลางเทียน ได้ตำแหน่งเป็น เจ้าเมืองถลาง มีอำนาจปกครอง หัวเมืองฝั่งตะวันตกถึง 8 เมืองนั้น บันทึกประวัติศาสตร์พงศาวดารเมืองถลาง มักกล่าวถึงเฉพาะผู้มีตำแหน่งหรือเจ้าเมือง มิได้กล่าวถึง ท่านผู้หญิงจันอีกเลย มีแต่ในจดหมาย ของพระยาถลางเทียน เขียนถึงกัปตันไลท์ ( ขณะนั้นเป็นเจ้าเมืองปีนัง ) จดหมายลงวันที่ 23 เมษายน 2335 ข้อความในจดหมายกล่าวถึง ท่านผู้หญิงไว้ตอนหนึ่งว่า

"เจ้าคุณมารดาแก่ลงกว่าแต่ก่อนแล้วก็ขัดสนไม่สบาย เหมือนแต่ก่อน"

ซึ่งหากนับอายุท่านคงประมาณ 60 ปี นับเป็นวัยที่ชรามาก ( คนสมัยก่อนอายุร่วงโรยเร็ว เพราะ ทำงานหนัก ทำงานสิ่งใด ไม่มีเครื่องทุนแรงเหมือนปัจจุบัน เพียงวัย 60 ก็นับว่า อยู่ในเกณฑ์ ที่ชราภาพ)

ในบั้นปลายชีวิต ของท่านผู้หญิงจัน ที่ต้องล้มเจ็บป่วยลงด้วยความชราภาพนั้น ในปี พ.ศ. 2336 ท่านต้อง ได้รับความทุกข์ระทม อย่างใหญ่หลวงอีกครั้งหนึ่งในชีวิต เมื่อทราบข่าวว่า พระยาถลางเทียน และยกบัตร ( คุณจุ้ย ) ซึ่งคุมทัพเรือออกไปช่วย กองทัพของสมเด็จกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท คราวศึกเมืองมะริด เสียชีวิตในการรบครั้งนั้นทั้งสองคน ยังความโศกเศร้าสู่ ครอบครัวท่านอีกครั้งหนึ่ง และจากนั้นไม่นานนัก ท่านก็ถึงแก่อนิจกรรมประมาณปี พ.ศ.2336 ส่วนท้าวศรีสุนทรหรือคุณมุก คงใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว และหลานๆ และคงถึงแก่อนิจกรรม ในเวลาต่อมา ในสมัยปลายรัชกาลที่  1 แต่คงเป็นปีก่อนศึกถลางครั้งที่ 2 ในรัชกาลที่ 2 แน่แท้
หากประมวลความเรื่องราวกับชีวิตความเป็นอยู่ของท่านท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร นั้นนัยว่า ท่านเป็นผู้หญิง ที่ต้องบากบั่นตรากตรำทำงาน เพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข ของบ้านเมือง ตลอดมานับแต่ การรับภาระชำระหนี้สินภาษีอากร ส่งเข้าท้องพระคลังหลวง แทนพระยาถลางซึ่งส่งให้ไม่ครบ อันเป็นความรับผิดชอบในหน้าที่ต่อบ้านเมือง ท่านมีความเฉลียวฉลาด เข้มแข็ง เด็ดขาดสมกับ ที่เป็นเชื้อสายนักปกครองเมื่อมีภัยศึก ท่านได้นำไพร่พล เข้าต่อสู้ด้วยกุศโลบายอันแยบยล จนได้รับชัยชนะข้าศึก ปกป้องเมืองถลางไว้ได้ ในยามที่บ้านเมืองขัดสน จากภัยของสงคราม ท่านก็ไม่ยอมย่อท้อ ต่อชีวิต นำชาวบ้านทำเหมืองดีบุกส่งขาย เพื่อกอบกู้การเศรษฐกิจ ให้ไพร่พล ชาวถลาง มีความอยู่ดีกินดีขึ้น ซึ่งวีรกรรมและผลงานของท่าน นับเป็นแบบอย่างของหญิงไทย ที่ได้รับยกย่องเป็นวีรสตรีเมืองถลาง
พระราชดำริพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ในคราที่พระองค์เสด็จ พระราชดำเนิน ประพาสภูเก็ต และทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ พ.ศ. 2452 ความตอนหนึ่งว่า
"... นึกขึ้นมาก็ต้องนึกชมว่า ท้าวเทพกษัตรีนี้เป็นผู้หญิงคนเก่งคนหนึ่ง ผู้หญิงที่จะมีชื่อเสียง ปรากฏอยู่ในตำนาน ของชาติเรามีน้อยนัก สมควรแล้ว ที่จะมี อนุสาวรีย์ไว้ให้ระลึกถึง และจำได้ต่อไป ชั่วกาลนาน ..."
ที่มา http://phuketindex.com/travel/photo-stories/s-thaothep/details.htm





ข้อมูลแผนที่



ประวัติ จังหวัดภูเก็ต

ภูเก็ต " ได้มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่บ้านกมลา อำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งได้ขุดพบเครื่องมือหินและขวานหินเป็นการแสดงให้ทราบว่ามี มนุษย์อาศัยในดินแดนแถบนี้ไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี มาแล้วและได้มีหลักฐานการ กล่าวถึงดินแดนในแถบนี้อีกครั้ง เมื่อปี พ .ศ.700 หรือ คริสต์ศตวรรษที่ 2 ในบันทึกของนักเดินเรือ ชื่อ คลอดิอุส ปโตเลมี กล่าวถึงผืนดินหรือแผ่นดินในส่วนนี้ว่า แหลมตะโกลา เป็นผืนดินที่ถูกดันออกมาทางใต้กลายเป็นแหลมยาวๆ อยู่ส่วนปลายสุดของจังหวัดพังงา อันเนื่องมาจากการเคลื่อนไหวของรอยเลื่อน ของเปลือกโลกขนาดใหญ่ ที่เรียกว่า รอยเลื่อนคลองมารุย (Klong Marui Fault) ซึ่งวางตัวเป็นแนวยาวจากจังหวัดสุราษฎร์ธานีและพังงา ลงมาทางทิศตะวันออกของภูเก็ต ต่อมาได้ถูกคลื่นลมในทะเลกัดเซาะ และตัดพื้นที่ดังกล่าวนี้ ออกจากผืนแผ่นดินใหญ่ จนกลายเป็นเกาะโดยเกิดร่องน้ำระหว่างจังหวัดภูเก็ตและพังงาขึ้น ที่เรียกว่า ช่องแคบปากพระ (เป็นร่องน้ำแคบ ๆ โดยส่วนที่ลึกที่สุดลึกเพียง 8-9 เมตร ) ในปัจจุบัน
        สำหรับการเรียกขานภูเก็ตของชาวต่างประเทศ ในอดีตนอกจากจะมีปรากฎในบันทึก เมื่อปี พ .ศ.700 ของนักเดินเรือ คลอดิอุส ปโตเลมี ที่เรียกผืนดินในบริเวณนี้ว่า แหลมตะโกลา แล้ว ได้มีปรากฎหลักฐานการกล่าวถึง ผืนดินในบริเวณนี้อีกครั้ง จากบันทึก และแผนที่การเดินเรือมาเอเชียตะวันออก ของชาติยุโรป ระหว่างพ.ศ.2054-2397 เรียกผืนดินนี้ว่า จังซีลอน นอกจากนี้ ได้มีหลักฐานเกี่ยวกับการเรียกขาน ผืนดินนี้ของชาวทมิฬ์ในปี พ.ศ.1568 ว่า มณิคราม หมายถึง เมืองแก้ว ซึ่งมีความหมายตรงกับชื่อ ภูเก็จ ที่ปรากฎในจดหมายเหตุเมืองถลาง ฉบับที่ 1 ในปีพ.ศ .2328 และได้มีการเรียกขานเรื่อย ๆ จนกลายเป็น ภูเก็ต ซึ่งได้ปรากฎในราชกิจจานุเบกษา มาตั้งแต่ พ.ศ.2450 เป็นต้นมา ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า ชื่อของจังหวัดภูเก็ตที่ได้มีการกล่าวขานตั้งแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนั้น ประกอบด้วย แหลมตะโกลา มณิคราม จังซีลอน ภูเก็จ และภูเก็ต ซึ่งในบางครั้งได้มีการเรียกขานว่า สิลัน ถลาง และทุ่งคาร่วมด้วย

ข้อมูลจังหวัด

เข้าศึกษาได้ที่ http://www.phuket.go.th/webpk/contents.php?str=infopk

ข้อมูลประวัติศาสตร์ กลุ่มบุคคลสำคัญที่สร้างความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรื่องจากอดีตสู่ปัจจุบัน

งานทวี บุญสูง อุปัติศฤงค์ และวานิช ตระกูลนายเหมืองชาวจีนฮกเกี้ยนเก่าแก่เหล่านี้ ร่ำรวยด้วยสินทรัพย์ไม่น้อยกว่าพันล้านและผ่านกระบวนการสั่งสมทุนจากการทำเหมืองแร่ ชั่วอายุคนหนึ่งสู่อีกชั่วอายุคนหนึ่ง ความแข็งแกร่งของทุนมากขึ้นตามอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยเฉพาะการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหมืองแร่
บ่อเกิดความมั่งคั่งมาจากทรัพยากรในดินคือ สินแร่ดีบุกที่ใช้แล้วก็หมดไป แต่สร้างฐานะความเป็นปึกแผ่นและชื่อเสียงสู่เจ้าของเหมืองแร่ นอกจากนี้ความเป็นเจ้าของที่ถือครอง ที่ดินรายใหญ่จากการเป็นเจ้าของสวนยาง สวนปาล์มและสวนมะพร้าว ก็ยังทำให้สินทรัพย์ ของนายเหมืองตระกูลต่าง ๆ ในปัจจุบันทบทวีคูณนับร้อยเท่าของมูลค่าเดิม
แม้กระนั้นการรักษามรดกที่ตกทอดจากบรรพบุรุษสู่รุ่นลูกหลาน ก็นับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของคนรุ่นที่สามของตระกูลเพราะโครงสร้างเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงรวดเร็วยิ่งกว่าที่บรรพบุรุษเคยเป็นมา
รุ่นลูกหลานที่เด่น ๆ ของแต่ละตระกูลอาทิ ศิวะแห่งงานทวี อาทรแห่งบุญสูง บันลือแห่งตันติวิท ภูมิศักดิ์แห่งหงษ์หยก วิจิตรแห่งตระกูล ณ ระนอง ไพบูลย์แห่งอุปัติศฤงค์ อังคณาแห่ง วานิชเป็นต้น บุคคลเหล่านี้เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการสานต่อและพัฒนาการลงทุนที่แตกแขนงไป หลังจากมีการหดตัวของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ในปลายปี 2528 เป็นต้นมา
ตลอดช่วงปี 2530 เป็นต้นมา การขยายตัวของเศรษฐกิจภูเก็ตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพระ อุปสงค์ต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการเพิ่มขึ้นตลอดเวลา การลงทุนของตระกูลต่าง ๆได้มีทิศทางไปในทางเดียวกัน คือการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นโรงแรม อาคารพาณิชย์และธุรกิจการค้าการบริการเช่นตัวแทนขายรถยนต์และปั๊มบริการน้ำมัน ซึ่งเป็นการประยุกต์การลงทุนของตนให้สอดคล้องกับนโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวของรัฐบาล
"งานทวี" ถือได้ว่าเป็นตระกูลที่สามารถปรับตัวเองสู่ความเป็นนักอุตสาหกรรมชั้นนำได้ดี เพราะมีทั้งความรู้ในเทคโนโลยีสมัยใหม่และการจัดการแบบครอบครัวที่มีประสิทธภาพ อีกทั้งมีการระดมทุนด้วยวิธีการนำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ และมีการลงทุนซื้อลิขสิทธิ์เทคนิคการผลิตกับต่างประเทศเพื่อเรียนรู้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้กิจการของงานทวีพี่น้องแตกตัวออกจากกิจการเหมืองแร่ สวนยางไปสู่อุตสาหกรรมโรงงานถุงยางอนามัยที่ใช้เทคนิคการผลิตจากบริษัท มาป้า (MAPA) แห่งเยอรมนีโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ผลิตแผงวงจรไฟฟ้าและระบบโทรศัพท์อุตสาหกรรมวัสดุก่อสร้างเช่นบริษัททักษิณคอนกรีต บริษัทไทยไวร์โปรดักส์ เป็นต้น
แต่อีกด้านหนึ่งตระกูลนี้ก็ยังช้าด้านการพัฒนาที่ดินเมื่อเทียบกับกลุ่มอื่นๆ แม้ว่าจะเป็นเจ้าของพื้นที่มากที่สุดในภูเก็ต
"คนตระกูลนี้เขาบอกว่าเรื่องอะไรที่จะเอาเงินก้อนใหญ่มาลงทุนแล้วเก็บทีละเล็กละน้อยเหมือนเบี้ยหัวแตก สู้เอาเงินไปลงทุนในโครงการใหญ่ ๆ ทำเงินเป็นกอบเป็นกำเช่นสวนยางมิดีกว่าหรือ ขนไปขายทีละ 10-20 ตันได้เงินมาเป็น 10-20 ล้านเวลาทำเหมืองแร่ก็เป็นแบบนี้ อันนี้เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนภูเก็ตที่เคยเป็นนายเหมืองแล้วไม่ต้องการจะทำธุรกิจอื่น จนกว่าจะจนแต้ม จริง ๆ อย่างคุณบันลือ ตันติวิท ที่เคยขายแร่ทีละเป็น 10 ล้านแล้วมาเก็บทีละร้อยละพันจากโรงแรม แกก็ไม่เอา แต่พอแกทำจริง ๆ มันบูม แกก็บ่นว่าถ้ารู้ว่ามันดีอย่างนี้ทำนานแล้ว" แหล่งข่าวคนเก่าแก่ในภูเก็ตเล่าให้ฟัง
รากฐานดั้งเดิมของคนในต้นตระกูลงานทวี ทำเหมืองแร่ เรือขุด ทำสวนปาล์มและปลูกยางพารา ผู้นำตระกูลคือปัญญา งานทวีเจ้าของร้าน "จิ้นเต็ก" ที่เริ่มต้นจากการรับซื้อเศษแร่ และร่ำรวยจากการรับเหมาส่งแร่ให้กองทัพญี่ปุ่นโดยตรงในช่วงสงครามเอเชียบูรพา
ปัจจุบันตระกูลงานทวีมีพี่น้อยทั้งสิ้น 47 คน โดยมีชัยกิจ งานทวีเป็นผู้สืบทอดกุมบังเหียนบริหารบริษัทงานทวีพี่น้องซึ่งมีทุนจดทะเบียน 98 ล้านบาทและบริษัทในเครือที่มีสาขากรุงเทพฯและต่างประเทศนับร้อยบริษัท
"การที่เรามีที่ดินที่ภูเก็ตมากก็คงมาจากแนวความคิดที่ว่าถ้าหากเอาเงินไปฝากธนาคารหลังสงครามเลิกใหม่ ๆ ก็คงได้ดอกเบี้ยไม่เท่าไหร่ ? สู้นำไปลงทุนด้านเหมืองแร่ดีบุกและซื้อที่ดินไม่ได้เวลานี้เรามีที่ดินที่ยังไม่ได้ทำอะไรที่ภูเก็ตอีกมาก ที่ยังว่างเปล่าเป็นที่สวนมะพร้าวและยางพารา" ศิวะ งานทวีเล่าให้ฟัง
สำหรับในเมืองที่ดินผืนใหญ่และทำเลงามของงานทวีมีที่ถนนบางกอกจำนวน 30 ไร่ซึ่งสร้างรั้วและถมดินเรียบร้อยเพื่อสร้างโรงแรมชั้นหนึ่ง ส่วนที่พัฒนาไปแล้วคือที่บริเวณแถวน้ำซึ่งโรงแรมซิตี้โฮเต็ลได้สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2531 และได้ขายที่ดินที่ตำบลป่าตอง อำเภอกะทู้เนื้อที่ 7 ไร่เศษในราคาสูงร้อยกว่าล้านบาทซึ่งคุ้มกว่าที่จะนำมาจัดสรรเอง นอกจากนี้ยังมีโครงการคอมเพล็กซ์ "ซิตี้ปาร์ค" ที่กำลังเปิดขายปีนี้ด้วย การพัฒนาที่ดินทั้งหมดทำในนามบริษัทงานทวีทรัพย์สิน
อีกตระกูลหนึ่งที่มีที่ดินแถบชานเมืองมากแล้วหันมาลงทุนด้านนี้ก็คือตระกูล "วานิช" ซึ่งมีอังคณา วานิชบุตารสาวคนที่สี่ของเอกพจน์ วานิชเป็นผู้บริหารโครงการใหญ่ "วานิชพลาซ่า" หลังจากที่เธอเคี่ยวกรำกับงานบริหารบริษัทยูนิวานิชทำโรงกลั่นน้ำมันปาล์มที่กระบี่ ซึ่งเป็นกิจการร่วมลงทุนระหว่างตระกูลวานิชกับบริษัทยูนิลีเวอร์
"เดิมที่ดินตรงนี้เป็นโรงงานยางรมควันสมัยคุณปู่แล้วถูกทิ้งไว้นาน ดิฉันนึกเสียดายจึงคิดพัฒนาพื้นที่ 10 ไร่ซึ่งปัจจุบันราคาตารางวาละ 3-4 หมื่นบาทนี้ให้เป็น "วานิชพลาซ่า" โดยเราลงทุนทั้งสิ้น 200 ล้านบาททำเป็นคอมเพล็กซ์ซึ่งมีโรงแรมชั้นหนึ่ง 19 ชั้น 200 ยูนิต อาคารพาณิชย์และศูนย์การค้า จะเสร็จปี 2535 ซึ่งเราคิดว่าตลาดยังไปได้ใน 7-8 ปีข้างหน้านี้" อังคณา วานิช กรรมการผู้จัดการบริษัทวานิช ลีเนียลเล่าให้ฟัง
นอกจากนี้โครงการต่อไปที่อังคณาคิดจะทำคือโครงการบ้านจัดสรรที่อ่าวมะขามบนพื้นที่ 26 ไร่ บ้านจัดสรรแบบนี้จะทำคล้ายวิลล่าที่มองเห็นทะเลโดยรอบเพื่อขายกลุ่มเศรษฐีกรุงเทพฯ เป็นหลัก ในราคาหลังละ 5-6 ล้านบาท
ตระกูล "วานิช" นี้ต้นตระกูลคือเถ้าแก่เจียร วานิชซึ่งเป็นคนพังงาและเป็นผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันขึ้นที่ภาคใต้เป็นคนแรก เถ้าแก่เจียรมีลูกชายคนเดียวคือเอกพจน์ วานิชกิจการหลักของตระกูลนี้ได้แก่โรงกลั่นน้ำมันปาล์มสองแห่งคือบริษัทสยามปาล์มน้ำมันและอุตสาหกรรม บริษัทไทยอุตสาหกรรมน้ำมันและสวนปาล์ม ที่กระบี่ ซึ่งในปัจจุบันนี้มีสวนปาล์ม
ประมาณ 40,000-50,000 ไร่ นอกจากนี้ยังมีเหมืองแร่ที่สุราษฎร์ บริษัทเจียรวานิช บริษัท วานิชยิปซั่ม บริษัทภูเก็ตโรงงานยาง บริษัทภูเก็ตชิปปิ้งปักษ์ใต้ขนส่งทางทะเล และยังมีการ ลงทุนทำโรงพยาบาลเอกชลที่จังหวัดชลบุรีด้วย รวมทั้งกิจการธุรกิจตัวแทนขายแร่ยิปซัมที่ ปีนังในนามบริษัทฮับยิปซั่มเอเยนซีและทำการค้าที่สิงคโปร์ด้วย
นับว่าเป็นการลงทุนกลุ่มใหญ่ตระกูลหนึ่งในภาคใต้ที่มีการพัฒนาการทำอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูงจากอดีตสู่ปัจจุบัน !!
ขณะเดียวกันตระกูล "บุญสูง" ก็ประสบปัญหาการบริหารการจัดการแบบครอบครัวซึ่งความขัดแย้งของลูกหลานหลังมรณกรรมของจุติ บุญสูง และทำให้กิจการในเครือกลับถดถอยจากความเป็นยักษ์ใหญ่ทางอุตสาหกรรมชั้นนำแห่งภาคใต้ในอดีตสมัยจุติ บุญสูง ผู้ยิ่งใหญ่ที่มีสายสัมพันธ์ทางการค้ากับญี่ปุ่นโดยเฉพาะในบริษัทอีซูซุมอเตอร์ (ประเทศไทย) และบริษัทตรีเพชรอีซูซุ
แต่ปัจจุบันกิจการในตระกูลบุญสูงมีการลงทุนในภูเก็ตกระจุกตัวในกิจการค้าในนามบริษัท "จุติพาณิชย์" ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ "อีซูซุ" ในเขตภูเก็ต ตรัง กระบี่ พังงาและนครศรี-ธรรมราช กิจการโรงแรมเจ.บี.โฮเต็ลที่หาดใหญ่ และกิจการเหมืองแร่ที่ยังคงมีอยู่คือบริษัทเรือขุดแร่จุติ เรือขุดแร่บุญสูง นอกจากนี้ยังมีกิจการบ้านจัดสรร "หมู่บ้านบุญสูง" ด้วยและมีการถือหุ้นบ้างในอุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่นบริษัทไทยน้ำทิพย์ บริษัทจี เอส สตีล บริษัท เรโนล์ดอะลูมิเนียม
กิจการเหล่านี้มีลูกที่เกิดจากจุติ บุญสูงกับภรรยา 3 คนเป็นผู้ดูแล ผู้ที่มีบทบาทในช่วงเวลาที่ผ่านมามากคือไมตรี บุญสูง ซึ่งเป็นอดีตนายกเทศมนตรีภูเก็ต แต่ต่อมาไมตรีได้เพลามือด้านการบริหารธุรกิจหันไปหาความสงบทางศาสนา ขณะที่ประหยัด บุญสูงคุมกิจการเรือขุดแร่บุญสูงและกิจการในกรุงเทพฯ
ดังนั้นผู้บริหารที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคนสำคัญของกิจการในตระกูลนี้คืออาทร ต้องวัฒนาซึ่งเป็นลูกเขยจุติ บุญสูง ปัจจุบันเป็นประธานหอการค้าจังหวัดภูเก็ต
และในปีนี้เองอาทรก็ได้ประกาศแยกตัวออกมาทำกิจการค้าส่วนตัวเองในนามบริษัทเอ.อาร์ ซึ่งค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าเนชั่นแนล และค้ารถมอเตอร์ไซค์ในลักษณะขายหรือให้เช่าซื้อและยังมีแผนกบริการท่องเที่ยวด้วย
"การแยกตัวของอาทรครั้งนี้มองได้หลายแง่ แต่ในสายตาผมว่าเขามีฝีมือคนเชื่อถือ เขามากในทางธุรกิจและราชการถ้าเขาไม่มีฝีมือก็คงเป็นลูกเขยจุติไม่ได้ และการที่เขาแยกก็เป็นการเปิด โอกาสให้น้องเมียด้วย" แหล่งข่าวกล่าว
อีกตระกูลหนึ่งที่ยิ่งใหญ่ในด้านการถือครองที่ดินสวนยางนับหมื่นไร่ก็คือ "อุปัติศฤงค์" ต้นตระกูลคือหงอฮั่นก๋วน พ่อม่ายจีนที่เติบใหญ่จากบริษัทไทยทองรับซื้อแร่ดีบุกและสวนยาง หงอฮั่นก๋วนมีลูกชายคือซันเหล แซ่หงอ ต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อจเร อุปัติศฤงค์
กิจการเริ่มต้นจากร้าน "ซินฮ่องซุ่ย" ขายของชำเล็ก ๆ และเคยเปิดโรงเหล้ากะทู้ขายเหล้าขาวตรารวงข้าวแต่ปัจจุบันเลิกกิจการไปแล้ว และขณะนี้ตระกูลอุปัติศฤงค์เติบใหญ่กลายเป็นตัวแทนจำหน่ายรายใหญ่ของเบียร์ตราสิงห์และรถจักรยานยนต์ฮอนด้าในปัจจุบัน
การลงทุนของตระกูลจะมีสายสัมพันธ์ส่วนตัวแนบแน่นจากการแต่งงานกับตระกูลหงษ์หยก ตันติวิทและจินดาพล เช่นในอดีตการร่วมลงทุนกับตระกูลตันติวิท ทำเหมืองในนามบริษัท บ่วนหงวนตินไมนิ่ง และตั้งโรงงานยางแผ่นรมควันส่งออกนอกประเทศชื่อบริษัทภูเก็ตทองสินโดยมีจเรบริหาร ส่วนบริษัทสหการอุตสาหกรรมและสวนยางก็เป็นกิจการที่ทายาทลูกสาวหงอฮั่นก๋วนชื่อเบญญาดูแลร่วมกับสามีอรัญ จินดาพล
ในรุ่นที่สามของตระกูล นอกจากความเป็นปึกแผ่นของกิจการตัวแทนขายเบียร์รายใหญ่ในภูเก็ตแล้ว การลงทุนในกิจการพัฒนาที่ดินในนามบริษัทยูไนเต็ด พร็อพเพอตี้ ก็เกิดขึ้นด้วยการทำบ้านจัดสรร "ภูเก็ตวิลล่า" ขาย
นอกจากนี้ยังมีการลงทุนที่ร่วมกับจินดาพลและทุนต่างประเทศคือบริษัท MUREX ในโครงการบลู แคนยอนซึ่งใช้เนื้อที่ 1,830 ไร่ทำบ้าน 135 หลัง คอนโดมิเนียม 4 ชั้นและสนามกอล์ฟขนาดมาตรฐานพร้อมสปอร์ตคลับซึ่งจะเสร็จในกลางปีหน้า
การที่ระบบเศรษฐกิจอุตสาหกรรมเติบโตเช่นนี้ เปิดโอกาสให้ทุนท้องถิ่นที่สำคัญดังกล่าวสามารถขยายการลงทุนไปในภาคเศรษฐกิจสำคัญอื่น ๆ ได้นอกเหนือจากการลงทุนที่กระจุกตัวอยู่แต่ในธุรกิจที่เป็นแกนหลัก เป็นหนทางที่จะทำให้ทุนท้องถิ่นเหล่านี้พร้อมที่จะ ก้าวไปสู่ธุรกิจสมัยใหม่ต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับเงื่อนไขที่แท้จริงของเศรษฐกิจภาคใต้ !!

10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่ต้องไปเยือนสักครั้ง

เที่ยวภูเก็ต 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่น่าไปสัมผัส


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

           จังหวัดภูเก็ต เจ้าของฉายาไข่มุกอันดามัน เมืองท่องเที่ยวที่ทำให้หลายคนนึกถึงเสมอเมื่อต้องการเดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อนที่ทะเล อีกทั้งยังเป็นเมืองที่สร้างสีสันระดับอินเตอร์ เพราะมีสิ่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติที่หลงใหลหาดทรายขาว น้ำทะเลใส แสงแดดเจิดจ้า และความสะดวกสบายทั้งด้านการเดินทาง ที่พัก ร้านอาหาร หรือการแสดงอันเต็มไปด้วยสีสันมากมาย เดินทางมาเที่ยวภูเก็ตกันตลอดทั้งปี ฉะนั้น วันนี้กระปุกท่องเที่ยวจึงรวบรวมเอา 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่ไม่ควรพลาดมาแนะนำกันค่ะ


เที่ยวภูเก็ต 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่น่าไปสัมผัสเที่ยวภูเก็ต 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่น่าไปสัมผัส
 
1. วัดไชยธาราม (วัดฉลอง)


          วัดไชยธาราม หรือวัดฉลอง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองชาวภูเก็ต ซึ่งชาวภูเก็ตให้ความเคารพนับถือเป็นเวลานับร้อยปี อีกทั้งนักท่องเที่ยวที่มาภูเก็ตจะต้องมาเคารพสักการะ หลวงพ่อแช่ม แห่งวัดฉลอง โดยหลวงพ่อแช่มเป็นผู้นำชาวภูเก็ตต่อสู้กับพวกจีน (อังยี้) ทำเหมืองที่ทำการขบถจะยึดเมืองภูเก็ตเมื่อปี พ.ศ.2415 นอกจากนี้ ท่านมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการรักษาโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการ ต่อกระดูก รักษาเส้น ฯลฯ ส่วนภายในวัดยังมีอุโบสถ์หลังเล็ก ภายในจะเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นของพระประธาน และมีรูปปั้นอีก 2 ตัวขนาบข้าง คือ ท้าวนนทรี เป็นรูปปั้นยักษ์ยืนอยู่ทางเบื้องซ้าย ส่วนทางด้านขวามีรูปปั้นตาแก่นั่งสูบบุหรี่ เรียกว่า ตาขี้เหล็ก เล่ากันว่าตอนที่สร้างโบสถ์เสร็จมีปูนเหลืออยู่จำนวนหนึ่ง ช่างนึกสนุกจึงนำปูนมาปั้นเป็นรูปตาแก่ และประชาชนนิยมบนตาขี้เหล็กด้วยหมากพลูและบุหรี่มาจนทุกวันนี้

          สำหรับการเดินทางไปที่วัด สามารถออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 4021 ผ่านสามแยกบริเวณสนามกีฬาสุระกุลเลี้ยวซ้ายไปทางห้าแยกฉลอง วัดฉลองจะอยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงห้าแยกฉลองประมาณ 4 กิโลเมตร

          เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.

          ที่อยู่ : หมู่ 6 ตำบลฉลอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต


 เที่ยวภูเก็ต 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่น่าไปสัมผัส

2. ตึกโบราณสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส

          สถาปัตยกรรมในตัวเมืองภูเก็ตส่วนใหญ่มักเป็นตึกสมัยเก่า มีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบชิโน-โปรตุกีส ที่สร้างขึ้นเกือบร้อยปีมาแล้ว เมื่อครั้งกิจการเหมืองแร่เริ่มเจริญใหม่ ๆ อาคารส่วนใหญ่ถูกสร้างขึ้นโดยนักธุรกิจชาวจีน ที่มีความร่ำรวยจากการเข้ามาทำธุรกิจเหมืองแร่ดีบุกในจังหวัดภูเก็ต ซึ่งปัจจุบันยังมีตึกที่ได้รับอิทธิพลทางด้านสถาปัตยกรรมแบบจีนมาผสมผสาน เรียกว่าสถาปัตยกรรมแบบ ชิโน-โปรตุกีส (Sino-Portuguese) เช่น อาคารปัจจุบันที่ทำการศาลากลางจังหวัด, ศาลจังหวัด, ธนาคารนครหลวงไทย เป็นต้น โดยลักษณะของตึกที่ว่าจะเป็นอาคารจะมีส่วนลึกมากกว่าส่วนกว้างและไม่สูงนัก ซึ่งนักท่องเที่ยวโดยส่วนใหญ่จะมาเดินชมตึก ชมทัศนียภาพของอาคาร รวมทั้งถ่ายภาพเก็บความงามเหล่านี้ไว้เสมอ

          เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวันเวลา 06.00-20.00 น.

          ที่อยู่ : ถนนถลาง ถนนดีบุก อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต


 เที่ยวภูเก็ต 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่น่าไปสัมผัส

3. แหลมพรหมเทพ

          ถือเป็นอีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวยอดฮิตภายในจังหวัดภูเก็ต เพราะเป็นจุดชมวิวพระอาทิตย์ตกที่สวยงามอีกแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยเป็นแหลมที่อยู่ตอนใต้สุดของเกาะภูเก็ต ชาวบ้านเรียกว่า แหลมเจ้า ซึ่งจากริมหน้าผามีแนวต้นตาลลาดลงสู่ปลายแหลมที่เป็นโขดหิน สามารถเดินไปจนถึงปลายแหลมได้ มองเห็นน้ำทะเลสีเขียวมรกต และสามารถเห็นเกาะแก้วอยู่ด้านหน้าแหลม ทางขวาจะเห็นแนวหาดทรายของหาดในหาน


          นอกจากนั้นยังมี ประภาคารกาญจนาภิเษก แหลมพรหมเทพ สร้างขึ้นในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฉลองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี มีขนาดความกว้างที่ฐาน 9 เมตร สูง 50 ฟุต และแสงไฟจากโคมไฟจะมองเห็นไกลถึง 39 กิโลเมตร ภายในประภาคารมีการแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับการสร้างประภาคาร การรักษาเวลามาตรฐาน การคำนวณ และแสดงเวลาดวงอาทิตย์ขึ้นและตก อีกทั้งจากบนยอดของประภาคารยังเป็นจุดชมวิวได้ด้วย

           เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน เวลา 06.00-19.00 น.

           โทรศัพท์ : 0 76211 036, 0 7621 2213 (ททท.สำนักงานภูเก็ต)


 เที่ยวภูเก็ต 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่น่าไปสัมผัส

4. วัดพระทอง (พระผุด)

          วัดพระทอง หรือวัดพระผุด ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 21 กิโลเมตร วัดนี้มีพระพุทธรูปผุดขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ เมื่อคราวศึกพระเจ้าปะดุงยกพลมาตีเมืองถลาง (พ.ศ. 2328) ทหารพม่าพยายามขุดพระผุดเพื่อนำกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปคราวใดก็มีฝูงแตนไล่ต่อยจนต้องละความพยายาม ต่อมาชาวบ้านได้นำทองหุ้มพระพุทธรูปที่ผุดจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ดังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังเป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ต เช่น จังซุ่ย เสื้อกันฝนชาวเหมืองแร่ดีบุก รองเท้าตีนตุกของสตรีเชื้อสายจีนที่ต้องมัดเท้าให้เล็กตามค่านิยมของสังคมสมัยนั้นอีกด้วย

           เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน เวลา 07.00-17.00 น.

           ที่อยู่ : หมู่ 7 ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต


 เที่ยวภูเก็ต 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่น่าไปสัมผัส
5. หาดป่าตอง
          หาดป่าตอง อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 15 กิโลเมตร ตามเส้นทางถนนวิชิตสงคราม หรือ ทางหลวงหมายเลข 4020 ไป 9 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 4029 ไปอีก 6 กิโลเมตร นับเป็นอ่าวที่มีชื่อเสียงมากที่สุด เพราะเป็นอ่าวที่มีความโค้งมาก หาดทรายงดงามเป็นแนวยาว 9 กิโลเมตร น้ำทะเลใสสะอาด เหมาะแก่การเล่นน้ำ อีกทั้งบริเวณชายหาดยังมีกิจกรรมทางน้ำให้ได้เล่นกันมันส์ ๆ ไม่ว่าจะเป็น ขับเจ็ทสกี, สปีดโบ๊ท รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ อย่างครบครัน และบริเวณหาดมีที่พัก บริษัทนำเที่ยว ศูนย์การค้า และแหล่งบันเทิงบริการนักท่องเที่ยวอย่างครบครัน

          เวลาเปิด-ปิด : เปิดทำการทุกวัน เวลา 06.00-20.00 น.


 เที่ยวภูเก็ต 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่น่าไปสัมผัส

6. หาดกะตะ-หาดกะรน

          อยู่ห่างจากตัวเมือง 17 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางถนนเจ้าฟ้า ถึงห้าแยกอ่าวฉลองเลี้ยวขวา เข้าถนนปฏัก หาดกะตะ แบ่งออกเป็น 2 หาด คือ หาดกะตะใหญ่ และ หาดกะตะน้อย เป็นหาดที่เหมาะสำหรับการเล่นน้ำ และใช้เป็นที่ฝึกดำน้ำเนื่องจากมีแนวปะการังติดต่อกันไปจนถึงเกาะปู ซึ่งอยู่ด้านหน้าหาดกะตะ ปัจจุบันหาดกะตะเป็นหาดหนึ่งที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน เช่น สถานที่พัก บริษัทนำเที่ยว ร้านค้า และแหล่งบันเทิงต่าง ๆ ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว เช่นเดียวกับ หาดกะรน ที่อยู่ถัดจากหาดกะตะไปทางด้านเหนือ ไปตามถนนซึ่งแยกจากหาดกะตะ 3 กิโลเมตร เป็นหาดทรายขาว ละเอียด ทอดตัวในแนวยาว ไปจนสุดหาด และเป็นหาดหนึ่งที่มีสถานที่พัก บริษัทนำเที่ยว ร้านค้าจำนวนมาก สำหรับรองรับนักท่องเที่ยวที่มาเยือน

           เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง


 เที่ยวภูเก็ต 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่น่าไปสัมผัส

7. หาดกมลา

          ถือเป็นชายหาดที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต ตั้งอยู่เหนือหาดป่าตอง ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ  26 กิโลเมตร ความยาวของหาดทรายยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นหาดที่สงบเงียบ มีสถานที่พักบริการนักท่องเที่ยวมากมาย ปัจจุบันได้มีการพัฒนาจนกลายเป็นหาดที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ด้วยการสร้างแหล่งช้อปปิ้ง, สปา, มินิบาร์ รวมทั้งการแสดงโชว์แสง สี เสียง อีกทั้งยังเป็นสถานที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงมุสลิม จึงเป็นสถานที่เหมาะกับนักท่องเที่ยวที่ชอบเดินทางมาพักผ่อนเป็นครอบครัวและเพื่อนกลุ่มใหญ่ นอกจากนี้ ในบริเวณหาดยังมีอนุสรณ์สถานสึนามิ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อสะท้อนถึงภัยพิบัติคลื่นยักษ์ ชื่อว่า จิตจักรวาล อีกด้วย

           เวลาเปิด-ปิด : เปิดบริการทุกวัน เวลา 06.00-18.00 น.

           ที่อยู่ : หาดกมลา ตำบลกมลา อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต


 เที่ยวภูเก็ต 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่น่าไปสัมผัส


8. ภูเก็ตแฟนตาซี

          เรียกได้ว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นอาณาจักรแห่งความบันเทิงในระดับโลกเลยก็ว่าได้ สำหรับ ภูเก็ตแฟนตาซี ศูนย์การแสดงศิลปวัฒนธรรมไทยผสมผสานเทคนิคพิเศษในระดับโลก ที่ได้รับการยอมรับจากนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ถึงความอลังการของโชว์ ซึ่งนอกจากโชว์แล้วยังมีร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึกและหัตถกรรมไทยต่าง ๆ ห้องเกม โดยแต่ละอาคารได้รับการออกแบบเป็นอาคารทรงไทยประยุกต์ลักษณะต่าง ๆ มีการดึงเอาจุดเด่นของแต่ละภาคมาใช้ และตกแต่งโดยใช้แสงสีต่าง ๆ ดูตระการตา

           ราคา : อัตราค่าเข้าชมการแสดงรวมอาหารเย็น ผู้ใหญ่ 1,600 บาท เด็ก 1,200 บาท ชมการแสดงอย่างเดียว ผู้ใหญ่ 1,100 บาท เด็ก 800 บาท

           เปิดบริการทุกวัน : เวลา 17.30-23.30 น.(การแสดงเริ่มเวลา 21.00 น.)

           ที่อยู่ : 99 หมู่ 3 ตำบลกมลา อำเภอกระทู้ จังหวัดภูเก็ต

           โทรศัพท์ : 076-385-000-19 หรือฝ่ายรับจองบัตรโทรศัพท์ 076-385-111

           เว็บไซต์ : www.phuket-fantasea.com


 เที่ยวภูเก็ต 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่น่าไปสัมผัส

9. เกาะมะพร้าว

          เกาะมะพร้าว อยู่ห่างจากภูเก็ตทางทิศตะวันออกประมาณ 2 กิโลเมตร แต่บรรยากาศของทั้งสองเกาะนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยภูเก็ตนั้นขึ้นชื่อในเรื่องความเจริญ ครบครันไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวก และมีบรรยากาศคึกคัก แต่สำหรับเกาะมะพร้าวกลับเป็นเกาะที่มีแต่ธรรมชาติและบรรยากาศอันเงียบสงบ (บริเวณท่าเรือแหลมหินของเกาะภูเก็ต มีบริการเรือหางยาวส่งนักท่องเที่ยวสู่เกาะมะพร้าว)

          เกาะมะพร้าว เป็นหนึ่งในเกาะบริวารของจังหวัดภูเก็ต หากเรายืนอยู่ที่ท่าเรือแหลมหิน มองออกไปเบื้องหน้าก็จะพบวิวเกาะมะพร้าวตั้งอยู่แค่เอื้อม โดยมีพื้นที่อยู่ประมาณ 2,620 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นสวนมะพร้าว จึงเป็นที่มาของชื่อเกาะมะพร้าว บนเกาะมีท่าเรืออยู่ 2 แห่ง ท่าเรือแรก คือ ท่าเรือหน้าหาด ตั้งอยู่ฝั่งตะวันตกของเกาะเป็นท่าเรือคอยต้อนรับนักท่องเที่ยวจากภูเก็ต ส่วนอีกแห่ง คือ ท่าเรือหน้าบ้าน ตั้งอยู่ทางทิศเหนือ เป็นท่าเรือขนส่งสินค้าของชาวประมง

          สำหรับชายหาดบนเกาะมะพร้าวมีที่เที่ยวชม 3 แห่ง ได้แก่ ชายหาดบริเวณท่าเรือหน้าหาด ชายหาดบริเวณท่าเรือหน้าบ้าน และชายหาดทางด้านทิศตะวันออกของเกาะ โดยชายหาดทั้งสองแห่งที่อยู่บริเวณท่าเรือ ส่วนใหญ่เป็นหาดเลนจึงไม่นิยมมากนัก นักท่องเที่ยวจะนิยมไปเล่นน้ำที่ชายหาดด้านทิศตะวันออกเสียมากกว่า ซึ่งนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเกาะมะพร้าวนอกจากจะสามารถเที่ยวชมและเล่นน้ำทะเลภายในเกาะแล้ว ยังมีเกาะบริเวณใกล้เคียงที่น่าสนใจอีกด้วย เช่น เกาะรังใหญ่ ที่ตั้งอยู่ใกล้เกาะมะพร้าว เกาะนี้นอกจากจะเด่นด้วยชายหาดขาวสะอาดน่าเล่นน้ำทะเลแล้ว ยังมีฟาร์มหอยมุกให้ชมด้วย

           ช่วงเวลาการท่องเที่ยว : พฤศจิกายน-เมษายน


 เที่ยวภูเก็ต 10 สถานที่ท่องเที่ยวภูเก็ต ที่น่าไปสัมผัส

10. หลาดปล่อยของ 

          หลาดปล่อยของ คือ ตลาดนัดสุดแนวของชาวจังหวัดภูเก็ต โดยคำว่า หลาด หมายถึง ตลาด ที่เป็นเหมือนตัวกลางระหว่างผู้บริโภคและผู้ค้า ส่วนคำว่า ปล่อยของ คือ การปลดปล่อยความคิดแปลกใหม่ที่ออกมาจากตัวตนของตัวเอง ดังนั้น หลาดปล่อยของ หมายถึง แหล่งรวมสินค้าแปลกแหวกแนวไม่เหมือนใคร มีทั้งสินค้าไอเดีย งานแฮนด์เมด, งานศิลปะ, งานแฟชั่นทั้งแบบเก่าและใหม่, การแสดง, อาหารนานาชนิด รวมทั้งไลฟ์สไตล์อื่น ๆ นอกจากนี้ หลาดปล่อยของเป็นสถานที่พักผ่อนท่ามกลางบรรยากาศกลางแจ้งสบาย ๆ ใน Limelight Avenue ใจกลางเมืองภูเก็ต ทั้งช้อปปิ้ง ดื่มกิน ฟังเพลง ชมการแสดงจากนักร้อง นักแสดงมืออาชีพและสมัครเล่น ที่มาช่วยกันสร้างสีสันสถานที่แห่งนี้ ให้เป็นตลาดทางเลือก Phuket Indy Market หนึ่งเดียวของจังหวัดภูเก็ต

รายชื่อวัดในจังหวัดภูเก็ต


วัดราษฏร์ในอำเภอกะทู้

วัดราษฏร์มหานิกาย

วัดราษฏร์ในอำเภอถลาง

วัดราษฏร์มหานิกาย

วัดราษฏร์ธรรมยุติกนิกาย

วัดราษฏร์ในอำเภอเมืองภูเก็ต

วัดราษฏร์มหานิกาย

วัดราษฏร์ธรรมยุติกนิกาย

  • วัดเจริญสมณกิจ ตำบลตลาดใหญ่
  • วัดถาวรคุณาราม ตำบลตลาดใหญ่
  • วัดพิทักษ์สมณกิจ ตำบลรัษฎา
  • วัดพิทักษ์สมณกิจ ตำบลรัษฎา
  • วัดอร่ามรัตนาราม ตำบลรัษฎา
  • ข้อมูลจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%95
  • วัดในจังหวัดภูเก็ตนั้นมีอยู่มากมายและมีนักท่องเที่ยวเข้าชมและสักการะไม่ขาดสาย ตั้งออกไปนอกตัวเมืองภูเก็ต เป็นระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร เดินทางโดยใช้ถนนวิจิตรสงครามไปยังถนนเลี่ยงเมือง และเลี้ยวซ้ายแล้วขับไปอีกประมาณ 10 นาที วัดฉลองจะอยู่ทางซ้ายมือของคุณ ที่นี่เป็นที่ประดิษฐานของรูปหล่อหลวงพ่อแช่ม ผู้ที่ช่วยเหลือชาวเมืองภูเก็ตจากกบฏอั้งยี่ หรือกุลีจีน ซึ่งเป็นกบฏในระหว่างสมัยรัชกาลที่ 5 ถือได้ว่าเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดภูเก็ต ซึ่งนักท่องเที่ยวจะต้องไม่พลาดที่จะไปนมัสการรูปปั้นเหมือน หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม ซึ่งมีกิตติศัพท์ในเรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ การรักษาโรค บุญญาบารมี และเมตตาธรรมที่สูงส่ง เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง
    ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 20 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางถนนเทพกระษัตรี ถึงสี่แยกอำเภอถลาง วัดจะตั้งอยู่ทางด้านซ้าย เป็นวัดประจำอำเภอถลาง เป็นวัดที่เก่าแก่และเป็นแหล่งประวัติศาสตร์เมืองถลางที่สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเคยเป็นค่ายสู้รบกับพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2328 นอกจากนี้ ภายในอุโบสถยังเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปดีบุกที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในโลก 3 องค์ เรียกว่า "พระในพุง" หรือ "พระสามกษัตริย์" ซึ่งอยู่ในพระอุทรของพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ 3 องค์อีกชั้นหนึ่ง
    วัดพระทอง (วัดพระผุด)อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 21 กิโลเมตร ไปตามถนนเทพกระษัตรีผ่านสี่แยกอำเภอถลาง ถึงที่ว่าการอำเภอถลาง ทางด้านขวามือจะมีป้ายบอกทางเข้าวัดพระทอง วัดนี้มีพระพุทธรูปผุดขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ เมื่อคราวศึกพระเจ้าปะดุง ยกพลมาตีเมืองถลาง พ.ศ. 2328 ทหารพม่าพยายามขุดพระผุดเพื่อนำกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปคราวใดก็มีฝูงแตนไล่ต่อยจนต้องละความพยายาม ต่อมาชาวบ้านได้นำทองมาหุ้มพระพุทธรูปที่ผุดจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ ดังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน
    มีนิทานพื้นบ้านเล่าถึงประวัติพระผุดนี้ว่า ครั้งหนึ่งมีเด็กเลี้ยงควายได้เอาควายไปผูกไว้กับพระเกตุมาลาที่โผล่มาเพราะคิดว่าเป็นไม้ หลังจากที่กลับมาถึงบ้าน ทั้งเด็กและควายก็เสียชีวิตลงโดยไม่ทราบสาเหตุ ต่อมาพ่อของเด็กได้มีฝันบอกเหตุว่า เป็นเพราะบุตรชายได้เอาควายไปผูกไว้ที่พระเกตุมาลาของพระพุทธรูป ในตอนรุ่งเช้าไปดูเข้าจึงรู้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่จมอยู่ในดิน แต่ขุดขึ้นมาได้เพียงแค่ครึ่งองค์เท่านั้น ภายหลังมีพระธุดงค์มาปักกลดบริเวณนั้นแล้วพบเข้าจึงได้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้น
    นอกจากนี้วัดพระทองยังเป็นที่ตั้งของ “พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง” ซึ่งเป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ต เช่น "จังซุ่ย" ซึงเป็นเสื้อกันฝนชาวเหมืองแร่ดีบุก รองเท้าตีนตุกของสตรีเชื้อสายจีนที่ต้องมัดเท้าให้เล็กตามค่านิยมของสังคมสมัยนั้น เป็นต้น พิพิธภัณฑ์เปิดให้เข้าชมฟรีทุกวัน ตั้งแต่เวลา 07.00 น. – 17.00 น.
    ตั้งอยู่ บ้านโคกโตนด ถนนเจ้าฟ้า ตำบลฉลอง สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ. 2301 ต่อมาได้โยกย้ายไปสร้างวัดใหม่ขึ้นมาคือ "วัดฉลอง" ทำให้วัดเดิมต้องกลายสภาพเป็นวัดร้างชั่วระยะหนึ่ง ชาวบ้านเรียกบริเวณนั้นว่า "โคกวัด" ได้ใช้เป็นป่าช้า เมื่อ พ.ศ.2446 มีพระธุดงค์มาปักกลด ชาวบ้านเลื่อมใสจึงได้บูรณะพัฒนาขึ้น จนได้รับยกย่องให้เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างในปี พ.ศ. 2507 ทางวัดเปิดสอนพระปริยัติธรรม และได้ให้ทางราชการสร้างโรงเรียนประถมศึกษาขึ้นในวัด นอกจากนี้ยังมีพิพิธภัณฑ์และห้องสมุดไว้บริการประชาชนอีกด้วย 
ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://www.sawadee.co.th/phuket/temple.htm


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ