ความจริงสมเด็จพระนเรศวร และวัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา โดย น. ณ ปากน้ำ
มารู้จักความจริงเกี่ยวกับ “วัดป่าแก้วแห่งกรุงศรีอยุธยา” กันเถอะ
ความหมายของวัดป่าแก้ว วัดป่าแก้วในอยุธยา เดิมเข้าใจกันว่าคือ วัดใหญ่ชัยมงคล แต่ต่อมาในภายหลังมีหลักฐานได้ตรวจสอบรู้ชัดกันแล้วว่า ด้วยธรรมเนียมการสร้างวัดป่าแก้วที่อยู่ในเขตอรัญญิกนั้น ล้วนอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมืองใหญ่ทั้งสิ้น ดังตัวอย่างเช่น
กรุงสุโขทัย แถบอรัญญิกของอาณาบริเวณ วัดป่าแก้ว จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก
เมืองสวรรคบุรี วัดป่าแก้วเขตอรัญญิก คือวัดแก้ว อยู่ทางทิศตะวันตก
เมืองเชียงใหม่ วัดป่าแก้วเรียกว่า วัดป่าแดง อยู่ในแถบอรัญญิก ทางทิศตะวันตกนอกกำแพงเมือง
เมืองราชบุรี วัดป่าแก้วอรัญญิกของราชบุรี
เมืองสุพรรณบุรี วัดป่าเลไลยก็คือ วัดอรัญญิกของสุพรรณภูมิ ความหมายของวัดป่าแก้ว วัดป่าแก้วในอยุธยา เดิมเข้าใจกันว่าคือ วัดใหญ่ชัยมงคล แต่ต่อมาในภายหลังมีหลักฐานได้ตรวจสอบรู้ชัดกันแล้วว่า ด้วยธรรมเนียมการสร้างวัดป่าแก้วที่อยู่ในเขตอรัญญิกนั้น ล้วนอยู่นอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมืองใหญ่ทั้งสิ้น ดังตัวอย่างเช่น
กรุงสุโขทัย แถบอรัญญิกของอาณาบริเวณ วัดป่าแก้ว จะตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก
เมืองสวรรคบุรี วัดป่าแก้วเขตอรัญญิก คือวัดแก้ว อยู่ทางทิศตะวันตก
เมืองเชียงใหม่ วัดป่าแก้วเรียกว่า วัดป่าแดง อยู่ในแถบอรัญญิก ทางทิศตะวันตกนอกกำแพงเมือง
เมืองราชบุรี วัดป่าแก้วอรัญญิกของราชบุรี
สำหรับวัดป่าแก้วเขตอรัญญิกของอยุธยา ปัจจุบันทราบกันว่าแท้จริงแล้วว่า คือ วัดหนึ่งที่ถูกปล่อยให้รกร้าง และเรียกว่า วัดประเชด หรือชื่อ วัดวรเชษฐ (นอกเกาะ) ตั้งอยู่กลางทุ่งประเชดทางทิศตะวันตก นอกกำแพงเมือง ด้านวังหลัง ออกไปประมาณ ๔ กิโลเมตร
สาเหตุที่วัดป่าแก้วหรือวัดประเชดนี้ได้รกร้างไป สันนิษฐานว่าในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ได้มีการสถาปนาวัดไชยวัฒนารามนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตก เป็นวัดอรัญญิกฝ่ายซ้าย อันเป็นวัดใหญ่ที่มีอาณาบริเวณโตมาก พร้อมทั้งได้ย้ายให้พระสังฆราชฝ่ายซ้ายไปประจำวัดไชยวัฒนารามด้วย วัดอยู่ติดกับแม่น้ำตรงข้ามกับกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยา การไปมาหาสู่โดยสะดวก จึงเป็นวัดป่าแก้วไปโดยปริยาย
ดังนั้น ความไม่ชัดเจนทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย อันเนื่องมาจากเอกสารหนังสือต่าง ๆ ถูกทำลายเสียหายไป เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๓๑๐ หากเรายังพอสืบเสาะข้อมูลจากเอกสารที่ยังพอหลงเหลือ และเอกสารของชาวชาติที่ได้จดบันทึกไว้พอจะมีหลักฐานบ้าง ให้ศึกษาและเชื่อมต่อให้ดี ๆ ก็จะพบสิ่งที่หายไป สิ่งที่ทุกคนอยากรู้ อยากเห็นว่าอะไรคือความจริง
ความจริงที่ว่านี้คือ วัดวรเชษฐ (นอกเกาะ) เดิมชื่อ วัดประเชด มีสาระสำคัญเชื่อมโยงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต โดยเฉพาะสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา อันเนื่องมาจากเป็นวัดที่สมเด็จพระพนรัตน์ (สมเด็จแตงโม) พระมหาเถรคันฉ่อง พระอาจารย์ประจำอยู่ในฐานะสมเด็จพระสังฆราชด้านอรัญญวาสี และที่สำคัญวัดประเชด หรือวัดวรเชษฐ (นอกเกาะ) นี้ เป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงสร้างถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานการถวายพระเพลิง ตลอดจนสถานที่บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
สาเหตุที่วัดป่าแก้วหรือวัดประเชดนี้ได้รกร้างไป สันนิษฐานว่าในสมัยอยุธยาตอนปลาย ในสมัยพระเจ้าปราสาททอง ได้มีการสถาปนาวัดไชยวัฒนารามนอกกำแพงเมืองทางด้านทิศตะวันตก เป็นวัดอรัญญิกฝ่ายซ้าย อันเป็นวัดใหญ่ที่มีอาณาบริเวณโตมาก พร้อมทั้งได้ย้ายให้พระสังฆราชฝ่ายซ้ายไปประจำวัดไชยวัฒนารามด้วย วัดอยู่ติดกับแม่น้ำตรงข้ามกับกำแพงเมืองกรุงศรีอยุธยา การไปมาหาสู่โดยสะดวก จึงเป็นวัดป่าแก้วไปโดยปริยาย
ดังนั้น ความไม่ชัดเจนทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย อันเนื่องมาจากเอกสารหนังสือต่าง ๆ ถูกทำลายเสียหายไป เมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ ๒ ปี พ.ศ.๒๓๑๐ หากเรายังพอสืบเสาะข้อมูลจากเอกสารที่ยังพอหลงเหลือ และเอกสารของชาวชาติที่ได้จดบันทึกไว้พอจะมีหลักฐานบ้าง ให้ศึกษาและเชื่อมต่อให้ดี ๆ ก็จะพบสิ่งที่หายไป สิ่งที่ทุกคนอยากรู้ อยากเห็นว่าอะไรคือความจริง
ความจริงที่ว่านี้คือ วัดวรเชษฐ (นอกเกาะ) เดิมชื่อ วัดประเชด มีสาระสำคัญเชื่อมโยงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต โดยเฉพาะสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ทรงเป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๑๘ แห่งกรุงศรีอยุธยา อันเนื่องมาจากเป็นวัดที่สมเด็จพระพนรัตน์ (สมเด็จแตงโม) พระมหาเถรคันฉ่อง พระอาจารย์ประจำอยู่ในฐานะสมเด็จพระสังฆราชด้านอรัญญวาสี และที่สำคัญวัดประเชด หรือวัดวรเชษฐ (นอกเกาะ) นี้ เป็นวัดที่สมเด็จพระเอกาทศรถ ทรงสร้างถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานการถวายพระเพลิง ตลอดจนสถานที่บรรจุพระบรมอัฐิสมเด็จพระนเรศวรมหาราช
ชื่อวัดวรเชษฐ์ซึ่งปรากฏในคำให้การชาวกรุงเก่า มิได้ระบุตำแหน่งของวัดวรเชษฐ์ให้มีความชัดเจนด้วยการกำหนดทิศหรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์อื่น ๆ จากพระราชประวัติของสมเด็จพระเอกาทศรถ ในหนังสือคำให้การชาวกรุงเก่านั้น กล่าวว่า“ เมื่อพระเอกาทศรถได้ครองราชย์สมบัติแล้ว จึงให้ทำพระเมรุถวายพระเพลิงพระเชษฐาธิราช แล้วทรงสร้างวัดอุทิศพระราชกุศลถวายพระเชษฐาธิราช วัด ๑ พระราชทานนามว่า วัดวรเชษฐ์”
ข้อมูลจากหนังสือศิลปะกับโบราณคดีในสยาม ของสำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์ หน้าที่ ๙๑ – ๙๒ โดย น. ณ ปากน้ำ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ กล่าวไว้ว่า “ วัดวรเชษฐาราม มีอยู่สองแห่ง คือ วัดวรเชษฐาราม ซึ่งอยู่ใกล้วัดวรโพธิ์ กับ วัดวรเชษฐาราม กลางทุ่งประเชด นอกตัวเกาะอยุธยาทางทิศตะวันตก
เมื่อตรวจดูโบราณสถาน เห็นว่าวัดกลางทุ่งประเชดเป็นวัดเก่ามีเจดีย์กลมทรงสูงองค์หนึ่งทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดเป็นเจดีย์ก่ออิฐ ไม่สอปูนแบบอโยธยาและมีปรางค์เป็นหลักของวัด แม้องค์ปรางค์จะก่อด้วยเทคนิคสอปูนหนาแสดงว่ามาปฏิสังขรณ์ใหม่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย แต่เชื่อแน่ว่าข้างในจะต้องเป็นปรางค์เก่าของวัดนั้น ซึ่งต่อมาชำรุดมาก พังลงมาสมัยอยุธยาตอนปลายจึงไปซ่อมขึ้นใหม่
ส่วนวัดวรเชษฐ์ ซึ่งตั้งอยู่หลังพระราชวังหลวงนั้น มีเจดีย์แบบลังกาเป็นหลักของวัด และพระอุโบสถก็ก่อสร้างด้วยเทคนิคของอยุธยาสมัยกลาง ใบเสมาก็เป็นใบเสมาต้นของอยุธยาตอนกลาง จึงเชื่อแน่ว่าวัดวรเชษฐาราม ซึ่งสมเด็จพระเอกาทศรถสร้างอุทิศให้แก่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช”
ข้อมูลจากรายงานการขุดแต่งวัดวรเชษฐ์ ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หน้าที่ ๑ – ๒ กล่าวประเด็นคัดลอกความมาได้ว่า
“ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ กรมศิลปากรได้จัดทำแผนแม่บทนครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยาพบว่า โบราณสถานทั้งหมดภายในเกาะเมือง และนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา มีจำนวนประมาณ ๕๓๐ แห่ง แบ่งออกเป็น ๗ เขต สำหรับแผนแม่บทฉบับดังกล่าวใช้สำหรับเขตที่ ๑ คือ พื้นที่อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ประมาณ ๑,๘๑๐ ไร่ ส่วนอีก ๖ เขต พื้นที่มีโบราณสถานสำคัญที่ควรจะได้รับการอนุรักษ์เร่งด่วน นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาสามารถพิจารณาดำเนินการได้ก่อน
สำหรับวัดวรเชษฐ์ (นอกเมือง) เป็นโบราณสถานที่มีความสำคัญทางด้านประวัติศาสตร์ ซึ่งยังเป็นข้อถกเถียงกันในวงวิชาการว่า จะเป็นวัดที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชหรือไม่ เพราะมีวัดที่ใช้ชื่อ “วรเชษฐ์” เหมือนกัน ๒ แห่ง แห่งหนึ่งอยู่ภายในตัวเมืองใกล้พระราชวังหลวง วัดนี้ขุดแต่งบูรณะแล้วและหลักฐานที่พบก็แสดงให้เห็นว่ามีอายุในราวพุทธศตวรรษที่ ๒๒ ด้วย ดังนั้นหากมีการขุดค้น-ขุดแต่ง เมื่อศึกษาทางโบราณคดีที่วัดวรเชษฐ์ (นอกเมือง) คงจะได้หลักฐานที่นำไปสู่การวิเคราะห์เรื่อง “วัดวรเชษฐ์” ที่บรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
อีกประการหนึ่งวัดวรเชษฐ์ ( นอกเมือง ) ตั้งอยู่กลางทุ่งประเชดนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาทางด้านทิศตะวันตกริมถนนสายอยุธยา-สุพรรณบุรี (ทางหลวงหมายเลข ๓๒๖๓) สภาพโบราณสถานยังคงมีพระปรางค์และเจดีย์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ทำให้วัดนี้โดดเด่นเป็นจุดสังเกตประจำเมืองที่เห็นได้ชัดเจนสำหรับผู้เดินทางผ่านไปมาเช่นเดียวกับเจดีย์วัดใหญ่ไชยมงคลเป็นจุดสังเกตด้านทิศตะวันออก และเจดีย์ภูเขาทองเป็นจุดสังเกตด้านทิศเหนือ
งานที่ควรจะกระทำต่อเนื่องหลังจากการอนุรักษ์วัดวรเชษฐ์ คือการอนุรักษ์แนวถนนโบราณ ถนนเส้นนี้คงจะสร้างขึ้น เพื่อเป็นทางเสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดวรเชษฐ์โดยเฉพาะแนวถนนเริ่มจากริมน้ำเจ้าพระยา (ระหว่างวัดราชพลีกับวัดกษัตราธิราช) ตรงสู่วัดวรเชษฐ์ ถนนกว้างราว ๒๐ เมตร ถมดินสูงอาจปูด้วยอิฐ ปัจจุบันแนวถนนเส้นนี้บางส่วนถูกแนวถนนใหม่สร้างทับ บางส่วนถูกประชาชนบุกรุกเข้าไปสร้างที่พักอาศัย การดำเนินการอาจจะต้องย้ายแนวถนนปัจจุบันให้พ้นเขตถนนโบราณและชดเชยบ้านเรือนราษฎรซึ่งจะต้องทำแผนในระยะต่อไป”
หนังสือเมืองโบราณของสำนักพิมพ์เมืองโบราณ เรื่อง “ศิลปะสมัยพระเจ้าปราสาททอง ” เขียนโดย น. ณ ปากน้ำ ฉบับที่ ๓ ปีที่ ๗ เดือนสิงหาคม - พฤศจิกายน ๒๕๒๔ หน้า ๖๐ ดังนี้
“วัดไชยวัฒนารามเป็นการอวดศักดิ์ศรีของศิลปะอยุธยารุ่นปลายของสมัยกลางแสดงความงามและใหญ่โตเหลือที่พรรณนา วัดนี้เป็นวัดของสงฆ์ฝ่ายอรัญวาสีส่วนวัดป่าแก้วเดิมก็คือวัดวรเชษฐ์อยู่กลางทุ่งประเชด ทางทิศตะวันตก นอกตัวเมืองวัดวรเชษฐ์มีปรางค์ใหญ่เป็นหลักของวัดและมีเจดีย์ทรงสูงก่ออิฐไม่สอปูนปรากฏอยู่ด้วย เจดีย์องค์นี้คล้ายเจดีย์วัดกระซ้าย เป็นเจดีย์แบบอโยธยาแสดงว่าบนโคกนี้เคยเป็นวัดเก่ามีมาแต่สมัยอโยธยา พอสมัยสถาปนากรุงศรีอยุธยาแล้วใช้เป็นที่เผาศพเจ้าแก้วเจ้าไทยแล้วสถาปนาเป็นวัดป่าแก้ว ด้วยอยู่ทางทิศตะวันตกนอกตัวเมืองห่างออกไปเกือบสองกิโลเมตรแล้วสร้างศิลปวัตถุไว้มาก เนื่องจากเป็นวัดสำคัญเป็นที่สถิตของพระเถระผู้ใหญ่คือพระพนรัต อันเป็นสังฆราชฝ่ายอรัญวาสี ทั้งยังเป็นอาจารย์ของพระเจ้าแผ่นดินตลอดมาหลายสมัย จึงมีการสร้างถนนและพูนดินสูงและกว้างใหญ่จากวัดธรรมาราม อันเป็นท่าน้ำไปจนสู่วัดป่าแก้ว สำหรับเคลื่อนราชรถ และผู้คนจะไปนมัสการพระที่วัดนั้น
เมื่อกล่าวถึง ผังเมืองโบราณ และประเพณีเก่านิยมให้วัดป่าแก้ว หรือวัดฝ่ายอรัญญิกต้องอยู่นอกเมืองไปทางทิศตะวันตกระยะทางไม่เกิดสองหรือสามกิโลเมตร และได้ยกตัวอย่างประกอบไว้ด้วย แต่เพราะว่ามีผู้เชื่อถือในคำสันนิษฐานเดิมว่าวัดใหญ่ชัยมงคลคือวัดป่าแก้ว ซึ่งเป็นการผิดพลาดด้วยเหตุผลหลายประการ
ประการแรกวัดใหญ่ชัยมงคลเป็นเจดีย์ก่ออิฐไม่สอปูนทรง ๘ เหลี่ยมเป็นของสมัยอโยธยา
ประการที่สองวัดนี้ตั้งอยู่ผิดทิศผิดตำแหน่งที่จะเป็นวัดป่าแก้วคืออยู่ทิศตะวันออก ตามหลักแล้วต้องอยู่ทิศตะวันตกตายตัว ดังที่ต่าง ๆ ต่อไปนี้ วัดอรัญญิกของราชบุรี, วัดอรัญญิกของสุโขทัย, วัดป่าแดงอันเป็นฝ่ายอรัญญิกของเชียงใหม่, วัดป่าเลไลยก็คือ วัดอรัญญิกของสุพรรณภูมิ(สุพรรณบุรี), วัดแก้วของสรรคบุรี เป็นต้น เหล่านี้คือเมืองโบราณสำคัญที่เก่าแก่ขนาดที่เคยมีเจ้าฟ้ามหากษัตริย์ปกครองมาก่อน ย่อมจะมีระบบแบบแผนเหมือนกัน
เหตุไฉนกรุงศรีอยุธยาจึงผ่าเหล่าผ่ากอผิดเพศเพียงแห่งเดียว ซึ่งไม่น่าจะเป็นไปได้ และที่จริงตำแหน่งทิศตะวันตกนอกเกาะกรุงศรีอยุธยาก็มีวัดใหญ่โตรุ่นอยุธยาตอนต้นอยู่แล้ว ที่เราเรียกว่าวัดวรเชษฐ์อยู่กลางทุ่งประเชดทั้งยังจองถนนใหญ่จากชายฝั่งไปถึงตัววัด เพื่อสะดวกในยามหน้าน้ำ กษัตริย์เจ้านายและไพร่พลจะได้ไปมาหาสู่โดยสะดวก เห็นโดยข้อสรุปว่า วัดป่าแก้วก็คือวัดกลางทุ่งประเชดนี้เอง
และวัดนี้นี่แหละที่พระมหาจักรพรรดิ กับพรรคพวกได้ไปเสี่ยงเทียน แข่งบุญวาสนากับขุนวรวงศาธิราช ซึ่งท่านคายชานหมากปาไปจนเทียนดับกลายเป็นฤกษ์ดี เพราะเป็นที่เร้นลับไกลจากผู้คนมาก เรื่องวัดป่าแก้วกรุงศรีอยุธยานี้ ข้าพเจ้าเขียนไว้หลายครั้ง แต่ก็จำเป็นจะต้องเขียนให้ปรากฏอีกครั้งหนึ่ง เพราะยังมีคนไปตื่นหลง ๆ กับวัดใหญ่ชัยมงคลกันมากนัก ทั้งนี้ด้วยอิทธิพลของคำสันนิษฐานเดิมอันผิดพลาดเลยทำให้ผู้คนหลงผิดกันไป ข้าพเจ้านั้นออกบุกสำรวจด้วยตนเอง และลูบคลำต่อโบราณสถานนั้นเกิน ๕ ครั้งขึ้นไป ได้เห็นความใหญ่โตกว้างขวางและสิ่งก่อสร้างอันประณีตที่แสดงความสำคัญอย่างเยี่ยมยอด ถูกต้องตามตำแหน่งวัดป่าแก้วทุกประการ จึงขอยืนยันไว้อีกครั้งหนึ่งเพื่อยังความถูกต้องให้เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ไทย”
จากสำเนาเอกสาร เรื่อง ๔๐๑ ปี วันสวรรคต พระนเรศวร วีรกษัตริย์รักชาติซึ่งเป็นบทคำกล่าวของพิธีกรตอนหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวข้องกับวัดวรเชษฐ์ ดังนี้
“วัดวรเชษฐ์ ขณะสถานที่สวรรคตยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าอยู่บริเวณไหนกันแน่ การค้นคว้าหาพื้นที่ถวายพระเพลิง การเคลื่อนพระบรมศพ ก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่าตั้งอยู่บริเวณใด แต่เป็นที่เชื่อกันว่า “วัดวรเชษฐาราม” (นอกเกาะ) ซึ่งดูตามชื่อและหลักฐานที่ปรากฏในกฎหมายพระเอกาทศรถ เพื่อการถวายพระเพลิงและเก็บพระอัฐิ อีกทั้งลักษณะของปรางค์ ซึ่งได้รับอิทธิพลของเขมร ม.จ.ชาตรี เฉลิมยุคล บอกว่า มีการสันนิษฐานกันว่า พื้นที่ตรงนี้เป็นที่ปลงพระศพของสมเด็จพระนเรศวร เพราะมีถนนโบราณออกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นที่นำพระโกศมาตามประเพณีต้องวนเวียนก่อน ๓ รอบ ก่อนจะนำขึ้นมาปลงพระศพ”
ในหนังสืออธิบายภูมิสถาน กรุงศรีอยุธยา ๔๑๗ ปี กล่าวว่า “สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มีความเห็นว่า พระเอกาทศรถเป็นผู้สร้างพระมงคลบพิตร เพื่ออุทิศส่วนกุศล และเฉลิมพระเกียรติให้แก่สมเด็จพระนเรศวรผู้เป็นพระเชษฐาและเป็นผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่แก่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งนอกจากสร้างวัดวรเชษฐารามมหาวิหารอันเป็นวัดฝ่ายอรัญวาสี ให้แล้ว” (วัดวรเชษฐารามหลังพระราชวังหลวงข้างวัดวรโพธิ์เป็นวัดเล็กนิดเดียวดูไม่สมพระเกียรติยศเลย ถ้าเป็นจริงน่าจะเป็นวัดวรเชษฐ์ ริมทุ่งประเชด นอกเกาะเมือง)
ในหนังสืออธิบายภูมิสถาน กรุงศรีอยุธยา ๔๑๗ ปี แลหลังครั้งบ้านเมืองดี ประทุม ชุ่มเพ็งพันธุ์ แต่ง ชมรมเด็ก หน้า ๒๑๘ ปรากฏชื่อวัดวรเชษฐ์ ในลำดับที่ ๔ อยู่ในกลุ่มวัดร้างด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของกรุงศรีอยุธยา เช่นเดียวกับวัดกระชาย(วัดเจ้าชาย) ซึ่งเป็นทะเบียนวัดร้างที่พระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เตชะคุปต์) ได้ทำการสำรวจไว้เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๖ (ร.ศ.๑๒๑) เมื่อครั้งยังเป็นพระยาโบราณบุราณุรักษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นปลัดเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าได้ออกทำการสำรวจวัดในพระนครศรีอยุธยา ได้จัดทำบัญชีวัดร้างในอำเภอรอบกรุง (นอกเกาะเมือง) โดยใช้เกาะเมืองเป็นหลักแล้วประกอบทิศทั้งสี่เป็นหลัก ได้แบ่งกลุ่มวัดร้างไว้อย่างชัดเจน
ปัจจุบัน วัดวรเชษฐ (เกาะนอก) กำลังเป็นที่รู้จักในบรรดาศรัทธาธรรมผู้สนใจปฏิบัติกรรมฐาน
จึงขอเชิญชวนท่านผู้ใฝ่ธรรมเข้าร่วมการบวชเนกขัมมะปฎิบัติธรรมเฉลิมพระเกียรติบูชาพระคุณ
สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ณ วัดวรเชษฐ์ ต.บ้านป้อม อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา
สถานที่เกี่ยวข้องกับสมเด็จพระนเรศวรมหาราช อีกแห่งคือสถานที่ทรงกระทำยุทธหัตถี ที่พนมทวน
แหล่งโบราณคดีแห่งนี้สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ช่วงอยุธยาตอนต้น และตอนกลาง ได้พบซากกระดูกช้าง และอาวุธสมัยโบราณ แสดงว่าบริเวณนี้เคยเป็นสนามรบมาก่อน โบราณสถานที่สำคัญ มีดังนี้
เจดีย์ยุทธหัตถี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานในสงครามยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับพระมหาอุปราชา มีรูปแบบศิลปกรรมแบบอยุธยา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม ก่ออิฐฉาบปูน สูงประมาณ ๗ เมตร ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเจดีย์ ประมาณ ๓๕๐ เมตร มีพระปรางค์ ๑ องค์ และเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุมอีก ๒ องค์ ก่ออิฐฉาบปูน มีลวดลายประดับที่ฐานสิงห์ และที่ซุ้มปรางค์ด้านใต้มีลายประดับเป็นรูปคนในวรรณคดี ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และประกาศขอบเขต เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ มีพื้นที่ ประมาณ ๖๘ ไร่
ปรางค์และเจดีย์ใกล้กับดอนเจดีย์ อยู่ที่บ้านดอนเจดีย์ ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสงคราม เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา ประกอบด้วยปรางค์ประธาน และเจดีย์บริวาร ก่ออิฐฉาบปูน รวม ๓ องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปรางค์ประธานทรงมณฑปสี่เหลี่ยมย่อมุม ถัดขึ้นไปเป็นเรือนธาตุก่อปิดทับ ยอดปรางค์เป็นแบบฝักข้าวโพดมีกลีบขนุนประดับจำนวนมาก ลวดลายปูนปั้นมีความสวยงาม เจดีย์บริวารเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมย่อมุม
เจดีย์วัดบ้านน้อยอยู่ที่บ้านน้อย ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน มีซากวิหารร้าง เจดีย์งาย ซุ้มกำแพง ๒ ชั้น เป็นโบราณสถานสมัยอยุธยา
แหล่งโบราณคดีแห่งนี้สันนิษฐานว่ามีอายุอยู่ช่วงอยุธยาตอนต้น และตอนกลาง ได้พบซากกระดูกช้าง และอาวุธสมัยโบราณ แสดงว่าบริเวณนี้เคยเป็นสนามรบมาก่อน โบราณสถานที่สำคัญ มีดังนี้
เจดีย์ยุทธหัตถี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานในสงครามยุทธหัตถี ระหว่างสมเด็จพระนเรศวรมหาราช กับพระมหาอุปราชา มีรูปแบบศิลปกรรมแบบอยุธยา ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงกลม ก่ออิฐฉาบปูน สูงประมาณ ๗ เมตร ห่างออกไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเจดีย์ ประมาณ ๓๕๐ เมตร มีพระปรางค์ ๑ องค์ และเจดีย์สี่เหลี่ยมย่อมุมอีก ๒ องค์ ก่ออิฐฉาบปูน มีลวดลายประดับที่ฐานสิงห์ และที่ซุ้มปรางค์ด้านใต้มีลายประดับเป็นรูปคนในวรรณคดี ได้ขึ้นทะเบียนโบราณสถาน และประกาศขอบเขต เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙ มีพื้นที่ ประมาณ ๖๘ ไร่
ปรางค์และเจดีย์ใกล้กับดอนเจดีย์ อยู่ที่บ้านดอนเจดีย์ ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน สันนิษฐานว่า สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสงคราม เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยา ประกอบด้วยปรางค์ประธาน และเจดีย์บริวาร ก่ออิฐฉาบปูน รวม ๓ องค์ ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ปรางค์ประธานทรงมณฑปสี่เหลี่ยมย่อมุม ถัดขึ้นไปเป็นเรือนธาตุก่อปิดทับ ยอดปรางค์เป็นแบบฝักข้าวโพดมีกลีบขนุนประดับจำนวนมาก ลวดลายปูนปั้นมีความสวยงาม เจดีย์บริวารเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมย่อมุม
เจดีย์วัดบ้านน้อยอยู่ที่บ้านน้อย ตำบลดอนเจดีย์ อำเภอพนมทวน มีซากวิหารร้าง เจดีย์งาย ซุ้มกำแพง ๒ ชั้น เป็นโบราณสถานสมัยอยุธยา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ