ประกาศการหาทุน โครงการสร้างอาคารเรียน ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวร เพื่อการศึกษาในมูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์

    โครงการสร้างอาคารเรียน ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวร
เพื่อการศึกษาในมูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์
                      งบประมาณ ๙๐,๐๐๐,๐๐๐บาท



                                  หลวงปู่กำลังสร้างอาคารเรียน ๑๐๐ ปี สมเด็จพระสังฆราช
มูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์  โดยพระธรรมวราจารย์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ
ต้องใช้ทุนทรัพย์เป็นจำนวนมาก 

เรียน   ท่านผู้มีจิตศรัทธาในการสืบทอดพระศาสนา  เพื่อความมั่นคงของชาติ

สิ่งที่ส่งมาด้วย  ๑.ข้อมูลโครงการต้นแบบโครงการสร้างอาคารเรียน ๑๐๐ พระชันษา
                         สมเด็จพระญาณสังวร  เพื่อการศึกษาในมูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์
                         ๒.ภาพศิลปวัตถุพระเครื่องโบราณที่อนุรักษ์  ที่นำออก
                         มอบให้ท่านที่มอบทุนในโครงการ

                        เนื่องด้วยข้าพเจ้า นาย สมเกียรติ กาญจนชาติ อดีตที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพิจารณา ติดตาม ตรวจสอบ ส่งเสริมกิจการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรมและกฎหมาย วุฒิสภา บ้านเลขที่ ๔๔๘/๙๘ อาคารทรัพย์แก้วทาวเวอร์ ถนนประชาอุทิศ ห้วยขวาง กรุงเทพ ๑o๓๑o ได้ดำเนินโครงการต่างๆที่เป็นประโยชน์ แก่ สถาบัน ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ตลอดมา ได้ดำเนิน โครงการเพื่อพระศาสนาและสถาบันชาติ   ซึ่งจำเป็นต้องระดมทุนหางบประมาณในการดำเนินโครงการอีกมาก 
 โดยได้รับคำแนะนำในการดำเนินโครงการจาก  ท่านเจ้าคุณ พระเทพสารเวที อดีตเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ  และ  พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺติสาโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ ควรดำเนินการเพื่อจัดหาทุน เพื่อสถาบันพระศาสนาและสถาบันชาติ โดยทำโครงการต้นแบบเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน โดยนำศิลปวัตถุพระเครื่องโบราณที่อนุรักษ์ไว้เพื่อสืบทอดพระศาสนา มอบให้แก่ท่านผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนเพื่อดำเนินโครงการ

                  ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอกราบเรียน นำเสนอโครงการที่มีความสำคัญยิ่งนี้มาให้ท่านผู้มีศรัทธาในพระศาสนา ได้เมตตาพิจารณาและขอการสนับสนุนหาทุนในโครงการนี้  เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและพระศาสนาตลอดไป
 โดยถวายรายได้ครึ่งหนึ่ง แด่ พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺติสาโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ รายได้สครึ่งหนึ่งข้าพเจ้าใช้ในการบริหารจัดการในโครงการด้านความมั่นคงของชาติ  ผู้ศรัทธามอบทุนสามารถรับพระกริ่งชุดประวัติศาสตร์นี้  ได้ที่ ท่านเจ้าคุณพระเทพสารเวที  อดีตเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราช
วัดบวรนิเวศ  (ดำเนินโครงการอย่างมีจริยธรรม)

 ชุดพระกริ่งในประวัติศาสตร์ไทย ชุด ๔ องค์นี้ มอบให้ท่านที่ศรัทธาบริจาค ๙๙ ล้านบาท                    
เพื่อหาทุนในการสร้าง อาคารเรียน ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวร เพื่อการศึกษาในมูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ ครึ่งหนึ่งทางพิพิธภัณฑ์ภาพพระเครื่องนำไปใช้ในการดำเนินการด้านความมั่นคงและยุทธศาสตร์ชาติ  ผู้บริจาคสามารถรับพระกริ่งปวเรศ  รุ่นแรก  ในประวัติศาสตร์  ได้ที่ท่าน เจ้าคุณพระเทพสารเวที อดีตเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ  ทุกองค์มีข้อมูลบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์

สำเนา:พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺติสาโร)



                                                                                                          ด้วยความเคารพอย่างสูง


                                                                                                           สมเกียรติ กาญจนชาติ
                                                                                                 ประธานพิพิธภัณฑ์ภาพพระเครื่อง

พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก ในประวัติศาสตร์เพื่อสืบทอดพระศาสนาของชาติไท


















ประวัติการสร้างพระกริ่งปวเรศ (ข้อมูลประวัติศาสตร์ในการอนุรักษ์)

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓ โปรดให้สร้างพระกริ่งปวเรศขึ้น โดยฝีมือของช่างสิบหมู่ หรือช่างหลวง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๘๒-๒๔๓๔ ตามประวัติมีการจัดสร้าง ๖ ครั้ง ระบุจำนวนให้ทราบเพียง ๒ ครั้ง รวมแล้วได้ ๑๒ องค์ แต่ก็สร้างเพื่อพิธีสำคัญของพระมหากษัตริย์เท่านั้นมีเพียงครั้งที่ ๖ เพื่อฉลองสมณศักดิ์สมเด็จกรมพระยาปวเรศ ที่อาจสร้างแจกเป็นที่ระลึกให้ข้าราชบริพาน พระสกนิกร ในสมัยนั้นแต่ก็ไม่ระบุจำนวนการสร้าง และก็มีหลายแบบพิมพ์ทรง

              พระกริ่งปวเรศ ถือว่ามีพลังพุทธนุภาพแรงที่สุด เริ่มมีชื่อเสียงในวงแคบๆ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมาถึงยุคของรัชกาลที่ ๕ พระกริ่งที่โด่งดังในอดีตล้วนแต่เป็นพระกริ่งที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต ในวงการพระเครื่องรางที่นับถือว่ามีอานุภาพขลังศักดิ์สิทธิ์เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่นักนิยมพระเครื่องปัจจุบัน มีราคาซื้อขายสูงที่สุดในประเภทพระโลหะ

              พุทธลักษณะของพระกริ่งปวเรศ เป็นรูปหล่อลอยองค์ ประทับนั่งสมาธิเพชร (วัชรสานะ) เหนืออาสนะบัลลังค์ บัวคว่ำ บัวหงาย ๒ ชั้น ชั้นละ ๗ กลีบ ฐานด้านหลัง ยื่นเล็กน้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ชั้นละ ๑ กลีบ พระเกศแบบตุ้มหรือบัวตูม ฐานพระเมาลี ด้านหน้า ปรากฏรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว พระศกแบบตอก “รอยตุ๊ดตู่”ปราศจากไรพระศก ใต้ฐานไม่ปะก้น หรือรอยเจาะก้นสำหรับบรรจุลูกกริ่งเหมือนทั่วๆ ไป แต่กว้านก้นลึก และกว้าง (กว้าง ๑ ซม. ยาว ๑.๖ ซม.)

              ประวัติการสร้างพระกริ่งปวเรศ วัดบวรนิเวศ สร้างครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔ โดยสมเด็จกรมพระยาปวเรศ ทรงสร้างเพื่อทดแทนพระกริ่งปวเรศทองคำที่หายไป เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๓ ในพระราชพิธีมุรธาภิเษกและพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ (ร.๔) และขณะรัชกาลที่ ๕ พระชนมายุ ๙ พระชันษา เพื่อใช้ในพระราชพิธีเจริญน้ำพระพุทธมนต์ พิธีรับพระสุพรรณบัฏ (พระราชนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ หน้า ๕๐-๕๑) จำนวนการสร้าง ๓ องค์

              การสร้างครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙ ในหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศ หน้า ๑๔๗ บันทึกไว้ว่า สร้างเพื่อถวายรัชกาลที่ ๔ ในพระราชพิธีที่รัชกาลที่ ๕ ทรงผนวชเป็นสามเณร เป็นที่ระลึกถวายรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ จำนวนการสร้าง ๙ องค์ ในปีนั้นกำลังของปีตกเลข ๙ พอดี

              การสร้างครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๑ ในพระราชนิพนธ์พงศาวดาร ร.๕ หน้า ๓๐-๓๔, หน้า ๔๗, และพระราชพิธีโสกันต์ หน้า ๕๔-๕๕ บันทึกไว้ว่าสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ถวายรัชกาลที่ ๕ พระชนมายุ ๑๕ พระชันษา ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ โดยมีผู้สำเร็จราชการเจ้าพระยาสีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) กริ่งรุ่นนี้ไม่มีเส้นพระศก และไม่มีส่วนผสมของเนื้อพระพุทธชินสีห์แบบครั้งที่ ๑ และ ๒ เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ มี ๓ ชนิด เนื้อสัมฤทธิ์เดช ออกสีแดงแก่ อ่อน, เนื้อสัมฤทธิ์โชติ ออกสีขาว หรือขาวจัด เนื้อสัมฤทธิ์เดช ออกสีเหลือง ส่วนจำนวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้

              การสร้างครั้งที่ ๔ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖ ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๑๑-พ.ศ. ๒๔๑๖ คณะกรรมการเผยแพร่เอกสารประวัติศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรีจัดพิมพ์เผยแพร่ พ.ศ.๒๕๑๖ หน้า ๑๒๑-๑๒๙ บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ ๕ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และบรมราชาภิเษกครองราชย์เป็นครั้งที่ ๒ กริ่งรุ่นนี้ไม่มีการบรรจุลูกกริ่งไว้ กรมพระยาปวเรศ ทรงออกแบบเป็น ๒ แบบ หล่อในคราวเดียวกัน เพื่อทรงถวายในพระราชพิธีทรงผนวช และบรมราชาภิเษกขึ้นครองราชย์สมบัติ สันนิษฐานว่าเป็นกริ่งในเก๋งจีนอยู่ที่วัดบวรนิเวศ ส่วนจำนวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้

              การสร้างครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๖ ในบันทึก สงครามปราบฮ่อสมัย ร.๕ ม.ร.ว.แสงโสม เกษมศรี ประวัติศาสตร์ไทย ปี ๒๕๐๓ ระบุว่า เรียกกริ่งปราบฮ่อ ร.๕ กรมพระยาปวเรศไม่ได้เป็นผู้ออกแบบ ช่างสิบหมู่และโหรหลวงเป็นผู้ออกแบบ ลักษณะ “ปราบฮ่อ” อยู่บนฐานชั้น ๒ ติดกับพระโสณี (ตะโพก) ด้านหลัง “ร.๕” ตัว “ร” หล่อติดระหว่างกลางฐาน ๑ และ ๒ ด้านซ้ายของกลีบบัวหลัง เลข “๕” หล่อติดแนวเดียวกันทางด้านขวาของกลีบบัวหลัง จำนวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้

              ส่วนการสร้างครั้งที่ ๖ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ ในบรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ มหามกุฎราชวิทยาลัย หน้า ๕ วรรค ๒ บันทึกไว้ว่า กรมพระยาปวเรศไม่ได้ออกแบบ จัดสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ทรงได้รับมหาสมณุตมาภิเษก ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ออกแบบโดยช่างสิบหมู่ บรมวงศานุวงศ์ และไวยาวัชกรวัดบวรนิเวศ สมัยนั้นจึงมีหลายแบบพิมพ์ทรง บางแบบใช้แม่พิมพ์เก่าก็มี โลหะก็ไม่เหมือนกัน บางองค์ก็แบบพิมพ์ใหม่ รวมทั้งที่อยู่ในขันน้ำมนต์ และยอดไม้เท้าของพระองค์ท่าน จำนวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้ (กริ่งรุ่นนี้วัดสุทัศน์ได้จัดสร้างขึ้นในปี ๒๔๔๓ เรียก “พระกริ่งคู่แฝด” จะต่างกันตรงอุดกริ่ง)

              ขอบคุณภาพจากพระครูสังฆวิจารณ์ (พิทยา) ญาณิกว์โส ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสุทัศน์เทพวราราม คณะ ๒ กทม.

พระกริ่งปวเรศองค์วัดบวร

              สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เคยมีดำรัสถึงเรื่องพระกริ่งปวเรศนี้ว่า ตำราการสร้างพระกริ่งและตำรามงคลโลหะ ที่มีมาแต่โบราณสืบค้นได้ถึงสมัยสมเด็จพระพนรัตนวัดป่าแก้ว

                 ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจ คือ แม้จะมีการประมาณว่า สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ จะสร้างพระกริ่งปวเรศประมาณ ๓๐ องค์ แต่กลับมีผู้ครอบครองพระกริ่งปวเรศที่ยืนยันว่าเป็นของแท้มากถึงหลักร้อยองค์ ทั้งนี้ หากไล่เรียงจำนวนผู้ครอบครองพระกริ่งปวเรศในปัจจุบันมีกว่ากว่า ๑๐๐ องค์ แต่ละคนล้วนคุยว่าเป็นของแท้ทุกองค์

ความเชื่อและคตินิยม

สำหรับความเชื่อในเรื่อง เครื่องราง ของคนไทย มีมาแต่ครั้งโบราณ ดังจะเห็นได้ในวรรณกรรมที่มีการกล่าวถึงอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะ เครื่องราง ที่นักรบใช้ติดตัวในยามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ห้าวหาญไม่เกรงคลัวข้าศึก โดยเชื่อกันว่า เครื่องราง ที่สร้างขึ้นด้วยวิชาไสยศาสตร์ชั้นสูง โดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมอันเข้มขลัง จะสามารถช่วยคุ้มครองป้องกันภัยรอบตัวได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันและเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
อาราธนาทำ น้ำมนต์ เมื่อเวลาเรารู้สึกดวงไม่ดี มีเคราะห์ หรือเจ็บป่วย นำพระกริ่ง
ปวเรศ หรือพระกริ่ง (องค์แทนพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาสพุทธเจ้า) อาราธนาบารมีของพระองค์ท่านทำน้ำพระพุทธมนต์ ดื่ม รด อาบ กินเพื่อความสวัสดี มีชัยปราศจากโรคภัยและกำจัดปัดเป่าอัปมงคล อันตราย ภัยพิบัติต่างๆ
มวลสารพระกริ่งปวเรศ

แผนการดำเนินการ

.นำรายได้ครึ่งหนึ่ง
สร้างอาคารเรียน ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวร เพื่อการศึกษาในมูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ ถวาย พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺติสาโร)
หมายเหตุรายได้ครึ่งหนึ่ง ข้าพเจ้า สมเกียรติ กาญจนชาติ นำไปดำเนินการด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสถาบันพระศาสนา และนำไปลงทุนเพื่อให้เกิดรายได้เข้ากองทุน โดย จัดหาศิลปวัตถุโบราณ ที่มีคุณค่าด้านจิตใจมอบให้ผู้ศรัทธาในการบริจาคในโครงการ เช่น พระพุทธรูป  พระเครื่องเก่าที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์เชิงประวัติศาสตร์เพื่อสืบทอดพระศาสนา 


วัตถุประสงค์

เพื่อสร้างอาคารเรียน ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวร เพื่อการศึกษาในมูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ อันประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหามงกุฎราชวิทยาลัย วิทยาลัยเขตสิรินธรราชวิทยาลัย และศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน วิทยาลัยเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ใช้เป็นต้นแบบการเรียนรู้และใช้ในทางยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของพระศาสนา และ ดำเนินการจิตอาสาด้านยุทธศาสตร์ความมั่นคงของสถาบันพระศาสนา

หลักการและเหตุผล

๑.สร้างความสามัคคีในชาวพุทธ"สามัคคีนี้แหละล้ำเลิศ จักชูชาติเชิดพระศาสนา" จะต้องร่วมใจร่วมกายกันเป็นเอกฉันท์ ด้วยกำลังศรัทธา กำลังกาย กำลังใจ และกำลังทรัพย์เป็นกำลังใหญ่เพื่ออุปถัมภ์พระพุทธศาสนาแทนบุรพชนของพวกเราทั้งหลายที่เคยได้ทำมาแล้วแต่อดีตกาล  ไม่ว่าจะเป็นการกุศลใดๆ ที่ไหนก็ตาม หากพวกท่านทั้งหลายได้มีกุศลจิตคิดร่วมใจกันเป็นเอกฉันท์สามัคคีกันเช่นกับการครั้งนี้ นอกจากจะทำงานนั้นๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้แล้ว ยังทำให้เกิดความสุข ปลื้มปีติอิ่มใจอีกด้วย (จาก การแสดงธรรมหลวงปู่เทสก์ วันที่ ๓ กันยายน ๒๕๐๖ )


๒.ร่วมสร้างสัญลักษณ์ของความดีของจังหวัด เช่น
แสดงให้เห็นว่าทุกศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและสันติ ด้วยเมตตาธรรม

๓.มีกิจกรรมด้านการฝึกอบรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม ให้กับเยาวชนในจังหวัด โดยประสานกับหน่วยงานราชการ และมีการบูรณาการกับหน่วยงานภายในจังหวัด  ร่วมวางแผนการดำเนินโครงการเพื่อรับฟังข้อเสนอแนะต่างๆในจังหวัด

.จารึกชื่อและองค์กรของท่านผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนในโครงการ ไว้ที่อาคารเรียน ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระญาณสังวร

                                    

พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺติสาโร)
เจ้าคณะสูง
 
(ลออ)        
     คณะสูง (ลออ) ตั้งอยู่ทางด้านหลังวัด ทางฝั่งทิศใต้ชองคูหลังคณะสูง (รามเดชะ) และคณะบัญจบเบญจมา ประวัติการก่อสร้างอาคารสถานที่ต่างๆ เริ่มขึ้นใน พุทธศักราช ๒๔๖๙ มีการสร้างกุฏิ ๒ ชั้นขึ้นทางด้านทิศใต้ของวัดบวรนิเวศวิหารติดกับคูน้ำ โดยนางเทศ บุญยรัตเวช และใช้ชื่อว่า "กุฏิบุญยรัตเวช" เป็นกุฏิไม้ทรงปั้นหยาเสาหัวเม็ด อันเป็นสมัยนิยมในครั้งก่อสร้าง ในปี พุทธศักราช ๒๔๗๐ นางลออ หลิมเซ่งท่าย ได้สร้างกุฏิตึก ๔ ชั้น เพื่อถวายแด่สมเด็จพระสมณเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (ครั้งทรงดำรงตำแหน่งสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์) และใช้ชื่อว่า "ตึกลออ หลิมเซ่งท่าย"
      
ตึกลออ หลิมเซ่งท่าย นี้ ในปัจจุบันเป็นที่พำนักของพระธรรมวราจารย์ ผู้เป็นเจ้าคณะ
"
กุฏิกลาง" เป็นกุฏิไม้ ตั้งอยู่ระหว่างกุฏิบุญยรัตเวช และตึกลออ หลิมเซ่งท่าย เป็นกุฏิครึ่งตึกครึ่งไม้ ๒ ชั้น  คณะสูง (ลออ) ยังเป็นที่ตั้งของ "ศาลาพระไพรีพินาศ" ศาลาไม้ทรงไทยซึ่งประดิษฐานพระไพรีพินาศองค์จำลอง เพื่อเป็นที่เคารพและสักการะ แก่พระภิกษุสามเณร ตลอดจนประชาชนทั่วไป
 พระธรรมวราจารย์หลวงปู่นักพัฒนาและนักสังคมสงเคราะห์

พระธรรมวราจารย์ หลวงปู่นักพัฒนา ผู้ที่ยังทำงานพัฒนาและสงเคราะห์ตลอดเวลาแม้ว่าจะอายุ 88 ปี แล้วก็ตาม
โดย...สมาน สุดโต
องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) นิมนต์ พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺติสาโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รักษาการเจ้าอาวาส วัดสิรินธรเทพรัตนาราม ในพระราชูปถัมภ์ ให้เดินทางไปประเทศปากีสถานเพื่อเยี่ยมชมและบูชาพุทธสถาน ที่ยังมีให้เห็นอย่างน่าอัศจรรย์แม้กาลเวลาจะล่วงเลยมาเกินกว่า 2,500 ปีแล้ว ทั้งนี้ตามคำเชิญของรัฐบาลปากีสถาน เมื่อวันที่ 22-28 มี.ค. 2553

ประวัติย่อ
พระธรรมวราจารย์หลวงปู่นักพัฒนาและนักสังคมสงเคราะห์
ประวัติย่อๆ ท่านมีนามเดิมว่า แบน นามสกุล อุปกลิ่น เกิด ณ บ้านเกาะจาก ต.เกาะทวด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 8 ต.ค. ปี พ.ศ. 2471
ท่านเขียนเล่าประวัติไว้น่าสนใจว่าเรียนจบชั้นประถมแล้ว อยากเรียนต่อแต่ไม่มีโอกาส จนกระทั่งอายุ 20 บวชพระ ที่วัดเกาะจาก เมื่อวันที่ 3 ก.ค. ปี พ.ศ. 2491 จึงได้ศึกษาพระปริยัติธรรมตามหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี และสอบได้ในปีนั้น ท่านเล่าว่าการเดินทางใน พ.ศ. นั้นแสนลำบาก แม้กระทั่งเดินทางไปสอบนักธรรมชั้นตรีที่สนามสอบรวมที่ อ.ปากพนัง ต้องแจวเรือไป 6 ชั่วโมง
ตอนหนึ่งท่านเล่าว่าเมื่อสอบได้จึงมีความคิดว่าจะไปศึกษาต่อ ณ กรุงเทพมหานคร โดยเลือกเอา วัดบวรนิเวศวิหาร แต่ท่านอาจารย์บอกว่า วัดบวรนิเวศวิหารระเบียบจัด จะต้องท่องพระปาฏิโมกข์กับสวดมนต์อีกหลายสิบสูตร จึงไปหาหนังสือพระปาฏิโมกข์เอามาท่อง ปรากฏว่าท่องจบภายใน 1 เดือน จึงท่องสวดมนต์ได้อีกหลายสูตร  7 วัน 7 คืนถึงกรุงเทพฯ
ท่านเล่าถึงการเดินทางมากรุงเทพฯ พ.ศ. 2492 ว่าหลังจากพบและร่ำลาพระอาจารย์วันรุ่งขึ้นเดินทางโดยทางเรือกลไฟ ค่าโดยสารพร้อมอาหาร 45 บาท ใช้เวลาเดินทาง 7 วัน 7 คืน เรือชื่อ มังกรทอง 2” มีกัปปิยภัณฑ์ติดตัวมาจำนวน 467 บาท โดยมีนายจรูญ แก้วจันทร์ เป็นลูกศิษย์นำทาง ขึ้นเรือที่ท่าสวัสดี กรุงเทพฯ วันที่ 20 พ.ค. ปี 2492 นั่งรถ 3 ล้อ ไปวัดบวรนิเวศวิหาร เข้าไปกราบพระมหาจับ อุคฺคเสโน พักกับท่านได้ 7 วัน ถึงวันที่ 27 พ.ค. ปี พ.ศ. 2492 เป็นวันที่รัฐบาลได้อัญเชิญพระบรมอัฐิรัชกาลที่ 7 ประดิษฐาน ณ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ท้องพระโรง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และได้อาราธนาพระภิกษุวัดบวรนิเวศวิหาร ไปสดับปกรณ์ ขณะนั้นเป็นอาคันตุกะ แต่ได้รับอาราธนาไปด้วย เนื่องจากพระสงฆ์ไม่พอกับจำนวน เห็นพระบรมมหาราชวังครั้งแรกรู้สึกงงงวย ทึ่งในความงาม และกาลล่วงมาถึงวันที่ 12 ส.ค. ปี พ.ศ. 2511 ได้รับอาราธนาไปในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 36 พรรษา นั่งอันดับที่ 37 ขณะนั้นได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นสามัญที่ พระโศภน คณาภรณ์ วันที่ 5 ธ.ค. ปี พ.ศ. 2510
อาวุโสอันดับ 2 ในวัดบวร
เมื่อเข้ามาพักวัดบวรนิเวศวิหาร พัก ณ ตำหนักจันทร์ จวนจะเข้าพรรษา ได้รับแจ้งว่าวัดบวรนิเวศวิหาร ยังไม่มีความประสงค์จะรับพระภิกษุเข้ามาอยู่ ท่านเจ้าคุณพระธรรมรัชมงคล (จับ) จึงนำไปฝากไว้ ณ วัดเขมาภิรตาราม
พระธรรมวราจารย์และพัลลภ ไทยอารี เลขาธิการ พ.ส.ล. กับคณะที่เยี่ยมตักสิลาปากีสถาน
ขณะที่อยู่วัดเขมาภิรตาราม ก็ยังตั้งใจทวนพระปาฏิโมกข์และท่องสวดมนต์ เพื่อเตรียมตัวเข้าศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ตามที่ตั้งใจไว้ แม้ว่าท่านเจ้าคุณพระเขมาภิมุขธรรม ชักจูงให้อยู่ ณ วัดเขมาภิรตารามต่อไปก็ไม่รับ โดยกราบเรียนว่า ผมได้ตั้งใจว่า จะเข้าอยู่วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ 22 ม.ค. ปี พ.ศ. 2493 ก็เดินทางจากวัดเขมาภิรตาราม พัก ณ ตำหนักจันทร์ ทางวัดจัดให้พระมหามณี เป็นผู้ซ้อมสวดพระปาฏิโมกข์และสวดมนต์ ต้องให้จบภายใน 1 เดือน พระมหามณี บอกว่าหากไม่จบตามกำหนดจะให้ออก แต่สวดซ้อมภายใน 20 วันก็จบตามหลักสูตร จึงนำขึ้นถวายตัวแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และไปกราบกรรมการวัดทุกรูป ภายใน 15 วัน สามารถรู้จักกับพระภิกษุสามเณรวัดบวรนิเวศวิหารหมดทุกรูป
เมื่อดูประวัติการเข้าอยู่วัดบวรนิเวศวิหารของหลวงปู่แล้ว ท่านถือว่าอาวุโสอันดับที่ 2 รองจาก พระเทพสารเวที (บุญยนต์ ปุญญาคโม) ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น
เมื่อสังกัดวัดบวรนิเวศสมปรารถนาได้สมัครเข้าเรียนภาษาบาลี โดยปีแรกเรียนบาลีไวยากรณ์ แต่เพื่อไม่ประมาทจึงได้ท่องบาลีไวยากรณ์ได้ 2 เล่ม คือเล่มนามนามและอาขยาต ทั้งนี้เพื่อจะสู้กับสามเณร มีพระภิกษุสามเณรเข้าศึกษาประมาณ 14 รูป มีพระมหาวีระ เปรียญธรรม 6 ประโยค เป็นครูสอน ต้องซ้อมสวดมนต์อีกครั้งในพระอุโบสถ ตอนเย็น พร้อมกับพระมหาบานเย็น บัดนี้ลาสิกขาแล้ว จึงจะสมบูรณ์ที่จะเข้าอยู่ในวัดบวรนิเวศวิหาร ปี พ.ศ. 2493 ไม่ได้สมัครสอบนักธรรมชั้นเอก เนื่องจากใช้สมองท่องสวดมนต์ ท่องบาลีไวยากรณ์ ครั้นถึงปี พ.ศ. 2494 จึงสมัครสอบนักธรรมชั้นเอก พร้อมกับ ดร.ประยูร เวชปาน ปรากฏว่าสอบ นักธรรมชั้นเอกได้ การศึกษาภาษาบาลีเป็นไปอย่างต่อเนื่องโดยมิได้ติดต่อกับทางบ้านเลย การสื่อสารในสมัยนั้นลำบากมาก เขียนจดหมายก็ไปไม่ถึง
โยมพ่อตายไม่รู้เดือน ก.ค. ปี พ.ศ. 2495 เวลาบ่าย ก็ได้รับโทรเลขครั้งแรก เปิดออกดู ลมเกือบจับ เพราะในโทรเลขบอกสั้นๆ ว่า พ่อตายแล้ว เผาแล้ว ไม่ต้องกลับลงชื่อ ประภาส” (หลวงลุง) เข่าอ่อน แต่จำต้องทำใจ เพราะจะคร่ำครวญร้องไห้ก็เปล่าประโยชน์ แต่วันที่เห็นหน้าพ่อครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 10 พ.ค. ปี พ.ศ. 2492 ซึ่งไปส่ง ณ เรือมังกรทอง 2 แต่นั้นก็มีความตั้งใจศึกษาภาษาบาลี เพื่อให้มีคำนำหน้าชื่อว่า มหาปี พ.ศ. 2496 เข้าสอบเปรียญธรรม 3 ประโยคปรากฏว่าสอบตก
ในปีนั้นเดินทางไปวัดเกาะจาก เพื่อบำเพ็ญกุศลอุทิศให้แก่โยมพ่อ แล้วปฏิญญาในใจว่า หากสอบไม่ได้เป็นมหา จะไม่กลับมาเยี่ยมบ้านเกิดอีกปรากฏว่าสอบตกอีก จึงมุมานะแปลธรรมบท 8 เล่ม 8 ภาค 8 วัน ได้ 1 จบ แปลเสียงดัง จนขึ้นชื่อลือนาม ในที่สุดก็แปลหนังสือได้ถึง 12 จบ อันเป็นการทำสถิติไว้ให้รุ่นน้องทำตาม และสอบได้เป็นมหา สมใจนึกและสอบสูงสุดเพียง ป.ธ. 5 ปี พ.ศ. 2500 หันไปเรียนสภาการศึกษามหามกุฏฯ จบเป็นรุ่นที่ 10 แต่ได้รับการประสาทปริญญาตรี เมื่อดำรงสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระโศภนคณาภรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2510 และทำงานในมหาวิทยาลัยสงฆ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2509–2541 อายุ 72 ปี
ชำนาญหลายด้าน
เมื่อมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ได้เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิด กับทั้งได้เป็นผู้คำนวณการย้ายราศีของดวงดาวให้แก่พระพรหมมุนี (ผิน) ผู้เป็นโหราศาสตร์อันขึ้นชื่อในสมัยนั้น และมีความรู้ไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนไฟฟ้าจาก 110 วัตต์ เป็น 220 วัตต์ ได้รับมอบหมายจากกรรมการ วัดบวรนิเวศวิหารให้เป็นผู้ควบคุมการเปลี่ยนไฟฟ้าทั้งวัด กับทั้งมีความรู้พิเศษ คือสามารถเขียนใบแต่งตั้งฐานานุกรม ใบปริญญาบัตร ประกาศนียบัตรของสถาบันต่างๆ เขียนวุฒิบัตรตลอดถึงใบอนุโทนาบัตร ฯลฯ งานอดิเรกคือแต่งหนังสือ สะสมของมีค่า และวัตถุโบราณ นับพันชิ้นจนสามารถตั้งเป็นพิพิธภัณฑ์ได้
ภูมิใจ
สิ่งภูมิใจคือการสร้างวัดสิรินธรเทพรัตนาราม ในพระราชูปถัมภ์ เริ่มก่อสร้างมาแต่ปี พ.ศ. 2533 ถึงปี พ.ศ. 2549 มีหอพักสำหรับพระภิกษุสามเณร 200 ห้องนอน มีกุฏิจำนวน 28 หลัง มีอาคารเรียนขนาดใหญ่ 2 หลัง มีห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติขนาดใหญ่ 1 หลัง กลุ่มอาคารศูนย์เด็กเล็ก 6 หลัง และตึกหอพัก 84 ห้องนอน เป็นอาคารคอนกรีต 3 ชั้น 1 หลัง รวมระยะเวลาการก่อสร้าง 18 ปี สิ้น ค่าก่อสร้างโดยประมาณ 161 ล้านบาทเศษ
ท่านพูดถึงสมณศักดิ์ว่าได้รับพระมหากรุณาธิคุณเลื่อนมาตามลำดับ จากพระครูปลัดสุวัฑฒนพรหมจริยคุณ ฐานานุกรมในพระพรหมมุนี (ผิน) เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระโศภนคณาภรณ์ เมื่อวันที่ 5 ธ.ค. ปี พ.ศ. 2510 พระราชสุมนต์มุนี วันที่ 5 ธ.ค. ปี พ.ศ. 2520 พระเทพวราจารย์ วันที่ 5 ธ.ค. ปี พ.ศ. 2531 พระธรรมวราจารย์ วันที 5 ธ.ค. ปี พ.ศ. 2537
ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกรรมการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 16-17-18 (ธ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และอื่นๆ อีกหลายตำแหน่ง และยังทำงานพัฒนาและสงเคราะห์ตลอดเวลาแม้ว่าจะอายุ 88 ปี แล้วก็ตาม

ความฝันของหลวงปู่ พระธรรมวราจารย์ กับโครงการพัฒนาเพื่อการศึกษา
(
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร) (รักษาการเจ้าอาวาสวัดสิรินธรเทพรัตนาราม ในพระราชูปถัมภ์)
โครงการเพื่อการศึกษาต่างๆ ที่หลวงปู่ได้ทำ อาทิ การจัดสร้างอาคารเรียน สถานที่พักพระภิกษุอาจารย์ โครงการศูนย์เด็กเล็ก พัฒนาและขยายวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ และอื่นๆ อีกมากมายหลายโครงการ หลวงปู่ท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านฝันเขียนโครงการโดยไม่มีทุนเลย แต่ด้วยความมั่นใจว่าน่าจะทำได้ และเขียนโครงการไปหาทุนไป ด้วยหวังว่าแต่ละโครงการนั้นน่าจะประสพผลสำเร็จ จึงมีความตั้งใจแน่วแน่ในการสร้างวิทยาเขตแห่งนี้ให้ได้สมปณิธานที่ตั้งไว้ และเขียนโครงการพร้อมกับหาทุนมาดำเนินการก่อสร้าง หากจะมาย้อนอดีตแล้ว ไม่นึกว่าจะทำได้สำเร็จดังปรากฏอยู่ ณ บัดนี้ ทั้งๆ ที่ไม่มีงบประมาณเลย แต่ด้วยความตั้งใจจริงกับมุ่งมั่น มุ่งสำเร็จเป็นที่ตั้ง กว่าจะสำเร็จแต่ละโครงการนั้น จะต้องประสพอุปสรรคนานัปประการ แต่สำเร็จไปได้ด้วยความตั้งใจจริง และทำจริงโดยไม่คิดว่าจะมีทุนมาสร้างได้ตามโครงการ แต่เมื่อกล่าวโดยสรุป ทุกโครงการดำเนินไปด้วยดีและประสพผลสำเร็จอย่างน่าอัศจรรย์ บางโครงการเขียนโดยละเอียดบ้าง หรือเขียนเพียงเงาๆ พอรู้เรื่องว่าจะทำอะไร จะสร้างอะไร เมื่อไร งบประมาณเท่าไร ทั้งเพื่อประโยชน์เก็บไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงในอนาคตต่อไป หากนับเวลาจากปีพ.ศ. ๒๕๓๓ จนถึงปี ๒๕๕๐ จะเห็นได้ว่าโครงการทั้งหลายอันประกอบด้วยค่าใช้จ่ายค่าก่อสร้างวิทยาเขต ศูนย์เด็กเล็กและวัดที่หลวงปู่ได้บันทึกไว้ เป็นระยะเวลา รวม ๑๘ ปี ใช้เงินค่าก่อสร้างกว่า ๑๖๔ ล้านบาท แม้ท่านอาจถูกเรียกว่า "ผู้ร่วมสร้างวิทยาเขต แต่ไม่ใช่ผู้สร้าง" วิทยาเขตแห่งนี้ เนื่องจากเป็นผู้สอนไม่ใช่ผู้สร้าง เพียงแต่มีความรู้สึกว่าภูมิใจและรู้สึกว่า "เป็นผู้อยู่อาศัย" กับทำงานไปตามนโยบาย

ความสำเร็จในการสร้างวิทยาเขต ศูนย์เด็กเล็กและวัดสำเร็จดังปรากฏอยู่ ณ บัดนี้นั้นเนื่องด้วยพระบารมีของท่านเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ท่านได้ทรงเป็นต้นกำเนิดแห่งการก่อสร้างสถานที่แห่งนี้ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ผู้ประทานนามสถานที่ และเสด็จพระราชดำเนินมาทรงปฏิบัติพระราชภารกิจ ทรงสนับสนุนด้วยดีตลอดมา และยังได้รับการสนับสนุนทุนทรัพย์จากภาครัฐบาล รัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน ตลอดถึงพุทธศาสนิกชนทั่วไปที่ได้บริจาคทรัพย์ทำให้หลายโครงการประสพผลสำเร็จด้วยดี

อนึ่ง เนื่องในวโรกาสมหามงคลสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเจริญพระชนมายุครบ ๑๐๐ พระชันษา ในวันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๕๖ นี้ วัดสิรินธรเทพรัตนาราม และมูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ ได้จัดสร้างวัตถุมงคลหลวงพ่อทวด รุ่น มงคลมหาบารมี ๘๕ ครั้งนี้ เพื่อนำรายได้จากการบริจาคบูชามาสมทบทุนสร้างอาคารเรียน ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระสังฆราช ณ วัดสิรินธรเทพรัตนาราม ในพระราชูปถัมภ์ จังหวัดนครปฐม
ขอเรียนเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาร่วมบริจาคบูชาตามกำลังศรัทธาสมทุนสร้างอาคารเรียน ๑๐๐ พระชันษา สมเด็จพระสังฆราช เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์สถาน เพื่อเฉลิมพระเกียรติ และเพื่อถวายเป็นพระกุศล

********************************
หลวงปู่ปิดทองหลังพระเพื่อละบาป
ใครไม่ทราบช่างเขาแต่เราเห็น
จะปิดหน้าปิดหลังไม่จำเป็น
สิ่งที่เห็นคือบุญชัดและศรัทธา
การสร้างบุญกุศลอย่าคิดวุ่น
ใช่สร้างบุญอวดเขาเอาแต่หน้า
เหมือนปิดทองหลังองค์พระปฏิมา
จะปิดหน้าปิดหลังชั่งกระไร

Cr.
คณะศิษยานุศิษย์ ๑ ตุลาคม ๒๕๕๑

********************************
Cr.
หนังสือ "หลวงปู่เล่าให้ฟัง" พิมพ์ในโอกาสที่พระธรรมวราจารย์ วัดบวรนิเวศวิหาร อายุ ๘๐ ปีบริบูรณ์ วันที่ ๘ ตุลาคม ๒๕๕๑

ศึกษาข้อมูลที่
http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2014/02/blog-post_10.html

ประจักษ์แจ้งการอนุรักษ์เชิงประวัติศาสตร์
ข้อมูลที่ http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2012/06/blog-post_2871.html
ช่วยแชร์ก็ได้บุญมากครับ
โทรสอบถามที่ สมเกียรติ กาญจนชาติ 084-6514822
พระเครื่องในประวัติศาสตร์ บันทึกไว้ที่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.169264189786358.35217.161446187234825&type=3








                                                  




ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง