ประวัติหลวงปู่แบน พระสุธรรมาธิบดี พระสงฆ์แท้ของพระราชา๙,๑๐ (โครงการเพื่อในหลวง)

                                             โครงการทำความดีถวายในหลวง๙,๑๐



https://www.facebook.com/pg/thaihistory/photos/?tab=album&album_id=1254173774628722







#พระสงฆ์ของพระราชา๙,๑๐ 
#หลวงปู่แบน พระธรรมวราจารย์ ธ. วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นพระสุธรรมาธิบดี เข้ารับพระราชทานเลื่อน-แต่งตั้งสมณศักดิ์ 159 รูป ท่านเจ้าคุณประยุทธ์ดำรงสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปสุดท้ายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เข้ารับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ 5 ธ.ค. #มหาชนควรศึกษาข้อมูลครับ ต้นแบบตามแนวพระราชดำริ 'บวร'เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร #ประจักษ์ในหัวใจมหาชน เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร #รักในหลวงต้องสนองพระราชปณิธาณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๙
https://drive.google.com/file/d/0B_nOh0gPsWNSaUJPc1gyczdBeEk/view

หลวงปู่แบนขวัญใจคนงาน สร้างวัด สร้างศูนย์เด็กเล็กเพื่อชนทุกชั้น



ผู้คนทุกระดับที่เหยียบย่างเข้าไปในวัดสิรินธรเทพรัตนาราม ต.อ้อมใหญ่ ต้องทึ่งที่เห็นวัดยิ่งกว่าวัด เพราะบนเนื้อที่ 62 ไร่นั้น เป็นทั้งวัด ทั้งวิทยาเขต และศูนย์เด็กเล็ก….
โดย…สมาน สุดโต
ผู้คนทุกระดับที่เหยียบย่างเข้าไปในวัดสิรินธรเทพรัตนาราม ต.อ้อมใหญ่ ต้องทึ่งที่เห็นวัดยิ่งกว่าวัด เพราะบนเนื้อที่ 62 ไร่นั้น เป็นทั้งวัด ทั้งวิทยาเขต และศูนย์เด็กเล็ก ผู้ที่รังสรรค์วัดยิ่งกว่า คือ พระธรรมวราจารย์ หรือผู้คนในวงการทั้งพระและ ฆราวาสจะเอ่ยนามด้วยความเคารพว่า หลวงปู่แบน ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ปัจจุบันอายุ 89 ปี
ท่านเมตตาเล่าให้กลุ่มผู้สื่อข่าวฟังที่กรุงปักกิ่ง เมื่อวันที่ 11 เม.ย. 2554 ในช่วงที่องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) ทูลเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ไปเป็นประธานถวายพระศาสดาองค์จำลองที่ พ.ส.ล.สร้าง ให้แก่วัดหลิงกวง นครปักกิ่ง และหลวงปู่ได้รับนิมนต์ไปร่วมพิธีอันทรงเกียรตินี้ด้วย
วัดในพระราชูปถัมภ์
ท่านเล่าว่า ท่านเริ่มก่อสร้างวัดและศาสนสถานมาตั้งแต่ปี 2533 ก่อนที่จะเป็นวัดสิรินธรเทพรัตนารามในพระราชูปถัมภ์ เป็นวัดในพระนามาภิไธยในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
การที่สร้างวัดนี้เนื่องด้วยสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดบวรนิเวศวิหาร ประทานที่ดินจำนวน 62 ไร่ 2 งาน และเมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2533 พระองค์ได้เสด็จฯ ไปทรงเททองหล่อพระประธาน ทรงวางศิลาฤกษ์หอฉันและกุฏิ ญสส.แล้ว พร้อมทั้งทรงมอบหมายให้หลวงปู่ที่เป็นพระเทพวราจารย์ดำเนินการก่อสร้าง
หลวงปู่เล่าว่า ท่านทำทุกอย่างที่วัดแห่งนี้ด้วยตัวท่านเอง และทำคนเดียว ตั้งแต่ออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง บริหารจัดการเรื่องปัจจัยที่ใช้ในการก่อสร้างเริ่มจากศูนย์ หรือไม่มีอะไรเลย ถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 20 ปี ถ้านับมูลค่าก่อสร้างอาคารต่างๆ แล้วมีประมาณ 100 ล้านบาท
สิ่งที่ท่านทำมากับมือ คือ วิทยาเขตแห่งที่ 2 ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ซึ่งปี 2534 ดำเนินการสร้างถนนเต็มรูปแบบ และอาคารสถานที่พร้อมที่จะรับพระภิกษุนักศึกษาเข้ามาศึกษาในระดับปริญญาตรี และรับเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีพระภิกษุนักศึกษาเข้ามาศึกษาจำนวน 300 รูป หากรวม|ฆราวาสด้วยก็ประมาณ 700-800 คน
ใครมาเรียนที่นี่จบแล้วมีศักดิ์และสิทธิเท่ากับ|ผู้จบมหาวิทยาลัยของรัฐทั่วไป แต่มีค่าใช้จ่ายที่ถูกมาก คือ ทางวิทยาเขตเก็บค่าหน่วยกิตเพียง 8,000 บาทเท่านั้น วิทยาเขตยังเปิดโอกาสให้ข้าราชการทหาร ตำรวจ เจ้าหน้าที่ อบต. อบจ. มาเป็นนักศึกษา เพื่อเพิ่มพูนความรู้ จบแล้วได้ปริญญาตรี

ส่วนค่าหน่วยกิตที่คิดถูก เพราะไม่ได้นำค่าหน่วยกิตไปเป็นค่าใช้จ่ายตัวอาคารสถานที่ แต่เอามาใช้กับการศึกษาเท่านั้น

สร้างศูนย์เด็กเล็ก
นอกจากนั้น ทางวัดได้เริ่มโครงการสร้างศูนย์เด็กเล็กตามแนวพระราชดำริในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อรองรับลูกคนงานที่ทำงานในย่านอ้อมน้อย อ้อมใหญ่ ซึ่งมีโรงงานจำนวนมาก
และพระองค์ได้เสด็จฯ ไปเปิดศูนย์เด็กเล็กตั้งแต่ปี 2536 ปีแรกที่เปิดดำเนินการมีเด็กเข้ามา 58 คน รุ่งขึ้นในปี 2537 ความต้องการของผู้ปกครองเพิ่มขึ้น จึงเปิดอีก 3 ห้องเรียน แต่ก็ยังไม่พอ จึงขอเงินตามโครงการตามแนวพระราชดำริมา 14 ล้านบาท |เพื่อสร้างอาคารที่มีห้องเรียนจำนวน 18 ห้อง รับนักเรียนได้ถึง 500-600 คน
ท่านบอกว่าคนอยากเข้าเรียนที่นี่กันมาก แต่หลวงปู่หาเงินสร้างห้องเรียนไม่ทัน ทั้งที่ 4 ปี สร้างเพิ่ม 1 อาคารก็ตาม ปี 2554 ก็สร้างเพิ่มอีก 1 อาคาร รวมเบ็ดเสร็จที่กำลังสร้างจะมี 31 ห้องเรียน
โครงการที่ท่านกำลังดำเนินการ คือ สร้างศาลาอเนกประสงค์กว้าง 18 เมตร ยาว 36 เมตร เมื่อต้องเข้าแถวหรือประชุมใช้ศาลานี้ได้เลย โดยไม่ต้องกลัวฝนจะตก แดดจะร้อน
ค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กเล็ก ซึ่งส่วนมากเป็นค่าอาหาร เก็บคนละ 400 บาทต่อเดือน อัตรานี้ 4 ปีขึ้น 50 บาท นับแต่เปิดมาตั้งแต่ปี 2536 เป็นต้นมา เก็บคนละ 600 บาทต่อเดือนเท่านั้น ปัจจุบันมีเด็กเล็กอายุ 3-6 ขวบ จำนวน 950 คน
หลวงปู่ว่า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนงาน ศูนย์เด็กเล็กทุกแห่งที่อยู่ในโครงการสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รับเด็กเล็กจากคนงานทุกเชื้อชาติ โดยไม่คำนึงว่าเกิดที่ไหน มีหลักฐานการเกิดหรือไม่ พ่อแม่เป็นใครไม่สำคัญ ขอให้มีผู้ปกครองมาแสดงตัว มารับผิดชอบรับส่ง และค่าใช้จ่ายคนละ 600 บาทก็พอแล้ว ส่วนเงินเดือนครูและเจ้าหน้าที่ศูนย์ 85 คน เป็นหน้าที่ของกระทรวงแรงงาน ตั้งงบประมาณมาจ่ายให้ปีละ 10 กว่าล้านบาท
นอกจากโครงการที่อ้อมใหญ่ จ.นครปฐมแล้ว หลวงปู่ต้องมาดำเนินการที่สวางคนิวาส สภากาชาดไทย โดยได้บูรณะซ่อมแซมอาคารเพื่อรับเด็กเล็กซึ่งเป็นลูกๆ ของคนงานย่านสมุทรปราการได้อีกประมาณ 500 คน นอกจากนั้นยังจะสร้างอาคารกว้าง 9 เมตร ยาว 180 เมตร อีก 1 อาคาร พร้อมทั้งปรับปรุงหอเอื้อสุขที่มีพื้นที่ใช้สอย 800 ตารางเมตร ให้เป็นห้องสันทนาการสำหรับเด็กเล็กอีกด้วย
ที่ยังขาดเหลือและต้องทำเพิ่มเติม คือ ห้องสุขาที่ถูกสุขลักษณะ รวมทั้งป้ายบอกทาง
หลวงปู่บอกว่า ขณะนี้ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการก่อสร้างศูนย์เด็กเล็กที่บางปะอิน บนเนื้อที่ 2 ไร่ 3 งาน เพื่อรองรับลูกคนงานจากนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน ซึ่งคาดว่ามีประมาณ 500-600 คน โครงการนี้ใช้งบประมาณ 15 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม โครงการต่างๆ ที่หลวงปู่ดำเนินการนั้น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระนามาภิไธย เช่น วิทยาเขตพระราชทานนามว่า “วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย” ศูนย์เด็กเล็กว่า “ศูนย์เด็กเล็กวิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย” มูลนิธิว่า “มูลนิธิสิรินธรราชวิทยาลัย” วัดว่า “วัดสิรินธรเทพรัตนาราม” และทรงรับทั้ง 4 องค์กรไว้ในพระราชูปถัมภ์ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้น
เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนที่มาทำบุญที่วัดสิรินธร เทพรัตนาราม หลวงปู่สร้างตู้ 40 กว่าตู้ตั้งที่เสาพระอุโบสถทุกเสา ในแต่ละตู้บรรจุของมีค่าและโบราณให้ประชาชนได้ศึกษาหาความรู้ด้วย โครงการนี้เป็นส่วนหนึ่งของพิพิธภัณฑ์ที่หลวงปู่จะทำที่ชั้นล่างพระอุโบสถที่วัดแห่งนี้ ซึ่งปัจจุบันมีของปริมาณมาก แต่ยังไม่ได้จัดหมวดหมู่เพื่อตั้งแสดงอย่างเป็นทางการเท่านั้น
อุโบสถสร้างปี 2543 เพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมพรรษา 48 พรรษา พ.ศ. 2546 พระองค์เสด็จฯ ไปวางศิลาฤกษ์ปี 2544 และปี 2546 ทรงเททองหล่อพระประธาน และทรงยกช่อฟ้าอุโบสถ พระองค์เสด็จฯ ไปวางศิลาฤกษ์เปิดอาคารเรียน ทรงยกช่อฟ้าอุโบสถรวม 6 ครั้งด้วยกัน
การก่อสร้างอาคารสถานที่ทั้งของวัด วิทยาเขต และศูนย์เด็กเล็ก สำเร็จลงด้วยดีด้วยพระบารมีของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
วัดสิรินธรเทพรัตนารามในพระราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่ซอยเทศบาล 1 ต.อ้อมใหญ่ อ.สามพราน จ.นครปฐม โทร. 02-808-5115 โทรศัพท์หลวงปู่ 08-1825-4744
ประวัติย่อๆ

พระสุธรรมาธิบดี
เดิม พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺติสาโร) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร รักษาการเจ้าอาวาสวัดสิรินธรเทพรัตนารามในพระราชูปถัมภ์ นามเดิม แบน นามสกุล อุปกลิ่น บิดาชื่อ นายปั้น มารดาชื่อ นางมะลิ เกิด ณ บ้านเกาะจาก ต.เกาะทวด อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช เมื่อวันที่ 8 ต.ค. 2471

อายุ 20 ปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดเกาะจาก โดยมีพระรัตนธัชมุนี (แบน คณฐาภรณเถระ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสุธรรมาธิบดี (เพิ่ม อาภาโค) เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูถาวรศีลวัฒน์ (เจริญ ถาวโร) เป็นพระศีลาจารย์ อุปสมบทเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2491 ณ วันนั้นผู้เข้ามาอุปสมบทพร้อมกันจำนวน 31 รูป ได้รับอุปสมบทชุดที่ 14
ปลายปี 2491 เข้าสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง ในสนามสอบรวมต้องแจวเรือไปปากพนังเป็นเวลา 6 ชั่วโมง พัก ณ วัดรามประดิษฐ์ 4 คืน เมื่อสอบ 4 วันเสร็จแล้ว เดินทางกลับโดยเปลี่ยนกันแจวเรือ
ต่อมาต้องการมาเรียนที่กรุงเทพฯ ตั้งใจอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเท่านั้น จึงเดินทางมาปี 2492 แต่มาแล้วก็อยู่ไม่ได้ เพราะไม่มีที่ว่าง แม้ว่าจะปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ต่างๆ แล้วก็ตาม ต้องไปพักที่วัดเขมาภิรตาราม
ท่านเล่าว่า การเดินทางสมัยนั้นลำบากแค่ไหนจากนครศรีธรรมราช กว่าจะถึงกรุงเทพฯ โดยทางเรือใช้เวลาเดินทาง 7 วัน 7 คืน ถึงกรุงเทพฯ วันที่ 20 พ.ค. 2492 โดยนั่งรถสามล้อจากท่าเรือถึงวัดบวรนิเวศวิหาร จึงเข้าไปกราบพระมหาจับ อุคฺคเสโน (พระธรรมรัชมงคล) พักกับท่านได้ 7 วัน ถึงวันที่ 27 พ.ค. 2492 เป็นวันที่รัฐบาลได้อัญเชิญพระบรมอัฐิรัชกาลที่ 7 ประดิษฐาน ณ ภายใต้นพปฎลมหาเศวตฉัตร ท้องพระโรง พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท และได้ท่านในฐานะอาคันตุกะได้นิมนต์ไปด้วย เนื่องจากพระสงฆ์ไม่พอ
เห็นพระบรมมหาราชวังครั้งแรกรู้สึกงงงวย ทึ่งในความงาม และเข้าครั้งที่ 2 วันที่ 12 ส.ค. 2511 ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 36 พรรษา ขณะนั้นเป็นพระโศภนคณาภรณ์แล้ว
ขณะที่อยู่วัดเขมาภิรตาราม ก็ยังตั้งใจทวนพระปาติโมกข์และท่องสวดมนต์เพื่อเตรียมตัวเข้าศึกษาพระปริยัติธรรม ณ วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ 22 ม.ค. 2493 ก็เดินทางจากวัดเขมาภิรตาราม มาวัดบวรนิเวศวิหาร ทางวัดให้พระมหามณีเป็นผู้ซ้อมสวดพระปาติโมกข์และสวดมนต์ กำชับว่าต้องให้จบภายใน 1 เดือน แต่ท่านสามารถสวดซ้อมภายใน 20 วันก็จบตามหลักสูตร แต่นั้นจึงนำขึ้นถวายตัวแด่สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และไปกราบกรรมการวัดทุกรูป ภายใน 15 วัน สามารถจะรู้จักกับพระภิกษุสามเณรวัดบวรนิเวศวิหารหมดทุกรูป
เมื่อเข้ามาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารได้สมปรารถนาก็ต้องเรียนตามที่ตั้งใจ แต่กว่าจะสอบได้เป็นมหาแบน ใช้เวลาเกือบ 10 ปี หรือสอบได้ในปี 2498 จากนั้น ก็เรียนที่สภาการศึกษา 10 ปี จบปริญญาตรี เมื่อจบแล้วได้ทำงานเป็นเสมียน ได้รับนิตยภัต (เงินเดือน) เดือนละ 130 บาท และทำงานในมหาวิทยาลัยสงฆ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2509 มาจนถึงวันที่ 3 ก.ค. 2541 ก็ออก (นิตยภัต 1 หมื่นกว่าบาท)
เมื่อมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ได้เป็นผู้รับใช้ใกล้ชิดกับทั้งได้เป็นผู้คำนวณการย้ายราศีของดวงดาวให้แก่พระพรหมมุนี (ผิน) ผู้เป็นโหราศาสตร์และเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และมีความรู้ไฟฟ้า ดังนั้นเมื่อเปลี่ยนไฟฟ้าจาก 110 วัตต์ เป็น 220 วัตต์ จึงได้รับมอบหมายจากกรรมการวัดบวรนิเวศวิหารให้เป็นผู้ควบคุมการเปลี่ยนไฟฟ้าทั้งวัด กับทั้งมีความสามารถพิเศษเขียนหนังสือสวย อะไรที่ต้องการลายมือต้องหลวงปู่เขียน เพราะลายมือเทียบได้กับอาลักษณ์
สมณศักดิ์เป็นที่พระธรรมวราจารย์ 5 ธ.ค. 2537 (เป็นมา 17 ปี นับถึงปีนี้)
หลวงปู่มีผลงานด้านสังคมสงเคราะห์ ส่งเสริมการศึกษา และสาธารณูปการมีมากจนเหลือที่จะบรรยาย แม้กระทั่งการแปรญัตติร่างพระราชบัญญัติยกฐานะมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง ทั้ง มมร และ มจร ท่านมีบทบาทมิใช่น้อยเลย แต่เมื่อยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัยสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2540 ท่านก็ถูกเลิกจ้างในปีถัดมา อนิจจา



 พระกริ่งแท้ในประวัติศาสตร์ ที่นำออกหาทุนในโครงการ ต้องศึกษา 
http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2016/07/blog-post.html?m=1

 ประวัติศาสตร์ #พระกริ่งปวเรศรุ่นแรก วัดบวรนิเวศ โครงการตั้งมูลนิธิ พระนเรศมหาบารมี ความเป็นมา เนื่องด้วยท่านเจ้าคุณ พระเทพสารเวที อดีตเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๙ วัดบวรนิเวศ ได้มีความเป็นห่วงในความมั่นคงของพระพุทธศาสนา จึงได้ให้คำแนะนำว่า ควรมีนายทหารยศพลเอก สักท่านหนึ่งที่มีความดีงามและกล้าหาญที่ จะตั้งมูลนิธิขึ้นเพื่อช่วยเหลือประเทศชาติและประชาชน และควรดำเนินการเพื่อจัดหาทุน เพื่อจัดตั้งมูลนิธิขึ้น โดยให้ข้าพเจ้า สมเกียรติ กาญจนชาติ นำศิลปวัตถุพระเครื่องโบราณที่อนุรักษ์ไว้เพื่อสืบทอดพระศาสนา มอบให้แก่ท่านผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุนเพื่อดำเนินโครงการจัดตั้ง มูลนิธิพระนเรศมหาบารมี ดังนั้นข้าพเจ้าจึงขอกราบเรียน นำเสนอโครงการที่มีความสำคัญยิ่งนี้มาให้ท่านผู้มีศรัทธาในการทำความดีได้เมตตาพิจารณาและขอการสนับสนุนการหาทุนในโครงการนี้ เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศชาติและพระศาสนาตลอดไป โดยมีท่าน พลเอก ประสูตร รัศมีแพทย์ เป็นองค์ประธานกรรมการ เพื่อตั้งมูลนิธิสนับสนุนช่วยเหลือพระศาสนาและประชาชนในลักษณะของการดำเนินงานพัฒนาต่างๆ ในกรณีที่ต้องถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของกฎเกณฑ์ ระเบียบ หรืองบประมาณที่ระบบราชการไม่สามารถดำเนินการได้ทันที จนเป็นเหตุให้การแก้ไขปัญหาไม่สอดคล้อง หรือทันกับสถานการณ์ที่จำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องกระทำโดยเร็ว การที่มูลนิธิเข้ามาดำเนินการเช่นนี้ ส่งผลให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง รวดเร็วฉับพลัน โดยไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อจำกัดใดๆ ทั้งสิ้น อาจกล่าวได้ว่าการดำเนินงานของมูลนิธิเป็นการช่วยให้กระบวนการพัฒนา เกิดความสมบูรณ์ขึ้น "ชัยชนะของประเทศนี้ โดยงานของมูลนิธิพระนเรศมหาบารมี นั้นก็คือ ความสงบ ... เป็น เมืองไทยที่มีความเจริญก้าวหน้า จนเป็นรัศมีของการพัฒนาร่วมสร้างพลังในแผ่นดิน มีจุดประสงค์ คือ ความสงบ ความเจริญ ความอยู่ดีกินดี" วัตถุประสงค์ ๑.เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการพัฒนาอื่นๆและงานทางพระพุทธศาสนา ตลอดจนการศึกษาของชาติ ๒.เพื่อส่งเสริม การพัฒนาสงเคราะห์และช่วยเหลือประชาชนในด้านเศรษฐกิจและสังคมให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น และให้สามารถช่วยตัวเองและพึ่งตนเองได้ ๓.ดำเนินการใดๆ อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวม ร่วมมือกับส่วนราชการและองค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์ หรือดำเนินการเพื่อเน้นในการสนับสนุนสาธารณประโยชน์ ๔.ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมือง เป้าหมายเป้าหมายที่สำคัญคือ เพื่อสร้างความสามัคคีร่วมมือกันทุกภาคส่วน ในการสงเคราะห์ช่วยเหลือ พระศาสนา รวมถึงประชาชนในชาติ ให้มีความร่มเย็นเป็นสุข และอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศ คือ ชัยชนะแห่งการพัฒนา แนวทางการดำเนินงาน งานของมูลนิธิพระนเรศมหาบารมี นั้นต้องทำเร็ว คิดเร็ว แก้ปัญหาเร็ว ... เรื่องเช่นนี้ไม่อาจทำได้ในระบบระเบียบของทางราชการ เนื่องจากราชการมีขั้นตอน ระเบียบแบบแผนที่ยุ่งยากพอสมควร จะไม่ทันกับเวลาและปัญหาที่ต้องใช้ความรวดเร็ว ... มูลนิธิฯ ดำเนินการเป็นตัวอย่างก่อน หากรัฐบาลเห็นสมควรว่ามีประโยชน์ก็นำไปทำต่อ หรือจะนำเป็นต้นแบบไปทดลองที่อื่นก็ได้... การดำเนินงานของมูลนิธิเป็นไปตามแนว พระราชดำริของในหลวง โดยเน้นกิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ไม่ซ้ำซ้อนกับแผนงาน โครงการของรัฐที่มีอยู่แล้ว แต่จะพยายามสนับสนุน ส่งเสริม และประสานการดำเนินงาน เพื่อให้โครงการต่างๆ เกิดความสมบูรณ์และสามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วและสอดคล้องกับสถานการณ์ โดยเฉพาะในกรณีที่โครงการของรัฐถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของกฎระเบียบต่างๆ อันเป็นผลทำให้โครงการนั้นๆ ไม่สามารถดำเนินการได้อย่างทันท่วงที เช่น ในกรณีที่อาจต้องสร้างอาคารเรียนให้เยาวชนเพื่อดำเนินงานตามโครงการ หนึ่ง แต่รัฐมีปัญหาด้านงบประมาณไม่เพียงพอใน การจัดซื้อ หรือมิได้ตั้งงบประมาณไว้ หรือถูกจำกัดด้วยเงื่อนไขของระเบียบต่างๆ ทำให้ดำเนินการจัดสร้างไม่ได้ หรือต้องตั้งงบประมาณจัดสร้างใน ๑-๒ปี ข้างหน้า ซึ่งจะทำให้โครงการล่าช้าไป เป็นต้น ในกรณีเช่นนี้มูลนิธิพระนเรศมหาบารมี จะได้ช่วยเหลือตามความเหมาะสมเพื่อให้โครงการ นั้น ๆ ดำเนินการได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงสุดวิธีการดังตัวอย่างข้างต้นนี้ อาจนับได้ว่าเป็นวิวัฒนาการใหม่ของแนวทางการพัฒนาประเทศที่มีมูลนิธิใน ฐานะเป็นนิติบุคคลและเป็นองค์กรสาธารณกุศลที่จะเข้ามาประสานงาน ร่วมมือ สนับสนุน โครงการพัฒนาของรัฐอย่างสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อให้โครงการที่มีปัญหานั้นๆ สามารถดำเนินงานไปได้ โดยก่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติ"มูลนิธิ มิได้มีหน้าที่โดยตรงที่จะบรรเทาทุกข์แก่ประชาชนให้มีกิน ให้สามารถที่จะดำเนินชีวิตที่สร้างสรรค์ โดยช่วยในการให้มีสิ่งที่เป็นอุปกรณ์ หรือจะเป็นสิ่งที่เป็นปัจจัยให้สามารถที่จะสร้างอนาคตแก่เยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ และส่งเสริมการทำมาหากินโดยให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืน และในด้านเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมก็ได้ทำ เพื่อที่จะให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตดีที่สุดเป้าหมายก็คือความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ ซึ่งถือว่าเป็นชัยชนะ" กิจกรรมหลักของมูลนิธิ ด้านการศึกษาของเยาวชน ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ด้านการปรับปรุงคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้านการพัฒนาการเกษตร ด้านการพัฒนาสังคม ด้านพลังงาน ด้านอื่นๆ

การนำศิลปวัตถุการอนุรักษ์เชิ่งประวัติศาสตร์ ออกหาทุน ศึกษาข้อมูลได้ที่



http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2016_11_01_archive.html




ครองแผ่นดินโดยธรรม ข้อมูลที่
http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2016/10/blog-post_26.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ