#ยุทธศาสตร์พระราชาของโลก ควรศึกษาเห็นด้วยโปรดช่วยแชร์

 https://www.facebook.com/thaihistory/

"สหประชาชาติ" สดุดีในหลวง รัชกาลที่ 9 ยกย่องกษัตริย์นักพัฒนา -ต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

ข้อมูลที่ประเทศไทยช่วยศึกษารัฐควรลงทุน?โครงการระบบสื่อสารด้านความมั่นคงของชาติ

ใครๆก็บ่นว่าขายของไม่ออก เศรษฐกิจไม่ดี เผอิญว่าไปอ่านบทความนึงของ Wall Street Journal ที่น่านำมาคิดต่อ คือ เป็นบทความที่รายงานว่า บริษัทเนสท์เล่ บริษัทโคคาโคลา บริษัทขายแชมพู ในอินเดีย ยอดขายตก!!!

การวิจัยพบว่า

คนอินเดีย เอาเงินไปใช้กับมือถือ และพวกเค้ากำลังสนุกกับการใช้ Internet จากมือถือ เลยเอาเงินไปซื้อเนทกันมาก เลย ลดการใช้เงินกับสินค้าและเครื่องดื่มที่คุ้นเคย http://on.wsj.com/2vJnQs4 จนยอดขายของเนสท์เล่ โค้ก และ อื่นๆลดลง ผมเลยเกิดความสงสัยครับ ว่า แล้วเมืองไทยล่ะธุรกิจของเราได้รับผลกระทบจากการบูมของมือถือไหม

เรามาดูตัวเลขกันครับ

1.
จำนวนโทรศัพท์มือถือในเมืองไทยในปี 2017 มีจำนวน 90 ล้านเครื่อง
2.
ค่าใช้จ่ายโทรศัพท์มือถือแต่ละเบอร์ มีค่าเฉลี่ยประมาณ 220 บาทต่อเดือน (ข้อมูลปี 2015)
3.
แต่ละปี ต้องนำเข้าโทรศัพท์มือถือเข้ามาประมาณ 25 ล้านเครื่อง (ข้อมูลปี 2556) ค่าเฉลี่ยเครื่องละ 7 พันบาท (จากการประเมินของ กสทช)
เรามาดูกันครับว่า ในปีนึงๆคนไทยเสียเงินไปกับการใช้มือถือเป็นเงินเท่าไหร่

ค่าใช้สัญญาณโทรศัพท์ = 90 ล้าน x 220 บาทต่อเดือน x 12 เดือนต่อปี คิดเป็นเงิน 237,600 ล้านบาท ต่อปี

ค่าเครื่องโทรศัพท์ = 25 ล้านเครื่อง x 7,000 ล้านบาท คิดเป็นเงิน 175,000 ล้านบาท ต่อปี

รวมสองตัวเลขนี้ออกมาเป็น 412,600 ล้านบาท หรือ พูดกันง่ายๆว่า เงินในกระเป๋าคนไทยจำนวน สีแสนกว่าล้านบาท หายไปกับการใช้การมีโทรศัพท์มือถือ (แน่นอนว่า เกิดประโยชน์ต่อผู้ใช้บ้างไม่มากก็น้อย)

เงินจำนวนนี้ ถ้าเอาไปซื้อรถราคา 1 ล้านบาท ก็จะได้รถยนต์ 4 แสนกว่าคัน (ปี 2559 เราซื้อรถเก๋งกัน 5 แสนกว่าคัน)

เงินจำนวนนี้ หายออกไปจากระบบไปสู่เมืองนอก ไปสู่บริษัทที่ให้บริการสัญญาณโทรศัพท์

ผมไม่สามารถสรุปได้ว่า เงิน 4 แสนเกือบ 5 แสนล้านบาทที่หายออกไปจากระบบการเงินของเรานั้น ส่งผลอะไรต่อระบบเศรษฐกิจ ส่งผลอะไรกับการซื้อขายอาหารการกินที่แม่ค้าแม่ขายบ่นกันทั่วหน้าหรือเปล่า

หรือ 4-5 แสนล้านบาทนี้ เป็นเงินจิ๊บๆเมื่อเทียบกับเม็ดเงินที่หมุนเวียนกันอยู่ในระบบการเงินของเรา
ข้อมูลเอามาให้คิดกันครับ
Trachoo Kanchanasatitya

ข้าราชการทั่งประเทศมีประมาณ 2 ล้านคน  ถ้าขายโทรศัพท์มือถือในโครงการนี้ได้ 1 ล้านเครื่องควรลงทุนไหม?

โครงการเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล  แด่  พระบาทสมเด็จพระปรมินทร
      มหาภูมิพลอดุลยเดช  มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี  จักรีนฤบดินทร  สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร ( โครงการภูมิพลอดุลยเดช   ซิสเต็ม๙ หรือ SAVE THE WORLD SYSTEM 9 )                                                      
การสร้างโครงข่ายรวมคอมพิวเตอร์และการสื่อสารความเร็วสูงทั่วทุกส่วนราชการทั่วประเทศ(Government-wide intergraded computer network)









หลักการและเหตุผล
ยูเอ็นเชิดชู "ศาสตร์พระราชา"ในหลวงรัชกาลที่ 9 สู่พิมพ์เขียวพัฒนาโลก
#การแก้ปัญหาในโลกนี้ ต้องใช้ความเมตตาและความรัก เทคโนโลยีมีไว้ช่วยมนุษย์ ไม่ได้มาแทนที่มนุษย์
วันที่ 26 ก.ย.2560 นางอิริน่า โบโคว่า ผู้อำนวยการใหญ่ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒน ธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูเนสโก เป็นประธานในการขึ้นกล่าวสดุดี ถวายพระราชสักการะแสดงความอาลัยแด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร พร้อมกับสมาชิกยูเนสโกเนื่องในการประชุมวันสันติภาพโลกนานาชาติ 2017 จัดโดยองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก
ที่สำนักงานใหญ่องค์การยเนสโก กรุงปารีส และสำนักงานผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การยูเนสโก
นางอิริน่า บอกตอนหนึ่งว่า รู้สึกประทับใจมาก เมื่อสัปดาห์ก่อนที่ได้ฟัง นายดอน ปรมัตวินัย
รัฐมนตรีว่ากระทรวงการต่างประเทศ กล่าวในเวทีการประชุมสหประชาชาติ โดยกล่าวเทิดพระเกียรติ
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ยึดหลักการประชาชนเป็นศูนย์กลาง และถือแง่คิดที่ทางยูเอ็น ได้นำมาใช้เป็น
พิมพ์เขียว ที่จะผลักดันการพัฒนาอย่างยั่งยืนในแผน SDGs ของสหประชาชาติ ซึ่งมีแผนดำเนินการ
17 ด้านขณะที่ตัวแทนประธานกลุ่มจี 77  จากประเทศเอกวาดอร์ กล่าวว่า คำสอนในหลวงรัชกาลที่ 9
คือหลักคำสอนถึงสันติภาพ ที่ควรน้อมนำกันไปปฏิบัติในระดับโลก โดยเฉพาะการเรียนรู้ตลอดชีวิต
พระราชกรณียกิจของในหลวง สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง มีความลึกซึ้งขณะที่ตัวแทนจาก
กลุ่มเอเชียแปซิฟิก ยังตอกย้ำว่า การทรงงานของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเน้นหลักการสันติภาพ
หลักการยั่งยืนในการเป็นหน่อที่นำไปสู่สันติภาพในระดับนานาชาติ
"ยูเอ็น"บรรจุศาสตร์พระราชาพัฒนาโลก 15 ปี 
ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ ผู้อำนวยการสถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม บอกว่า
ที่ผ่านมานานาประเทศชื่นชมในหลวงรัชกาลที่ 9 เพราะพระองค์ทรงปฏิบัติพระองค์เอง ภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียง และทรงทำผ่านโครงการพัฒนา โครงการพระราชกรณียกิจ
ทำให้พระองค์เคยได้รับรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์ ของโครงการพัฒนา
แห่งสหประชาชาติ UNDP ในปี 2549 ซึ่ง นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติ เดินทางมาทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลความสำเร็จสูงสุดด้านการพัฒนามนุษย์
ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ
ขณะนี้ ทางยูเนสโก จะอัญเชิญแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9
บรรจุภายใต้แผนการพัฒนาขององค์การสหประชาชาติ หรือยูเอ็น โดยจะให้ชาติสมาชิกทำการบ้าน
ในการกำหนดแนวทางมาตรการ ไปทำแผนพัฒนาอย่างยั่งยืนภายใต้บริบทของประเทศตัวเอง ซึ่งมีการกำหนดเป้าหมายภายใน 15 ปีข้างหน้า หรือ พ.ศ.2573 นำศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน

ทั่วโลกแซ่ซ้อง สรรเสริญพระบารมี "สภาคองเกรสสหรัฐฯ " ผ่านมติการเทิดพระเกียรติและแสดงความรำลึกแด่ ในหลวงรัชกาลที่ ๙ เว็บไซต์ของสภาคองเกรสสหรัฐฯ สมัยประชุมที่ ๑๑๕ ได้ออกเผยแพร่
มติที่ประชุมของวุฒิสภา ที่มีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.. ๒๕๖๐  ที่ผ่านมา
โดยนายออร์ริน แฮตช์ วุฒิสมาชิกรัฐยูทาห์ จากพรรครีพับลิกัน ในฐานะประธานชั่วคราวของวุฒิสภา โดยทางด้านวุฒิสภาได้มีมติผ่านการพิจารณาและลงมติเป็นเอกฉันท์โดยคณะกรรมาธิการด้านวิเทศสัมพันธ์ของวุฒิสภา และผ่านการอนุมัติอย่างเป็นทางการจากวุฒิสภาแบบเต็มคณะเป็นขั้นตอนสุดท้าย โดยไม่มีการแก้ไขเนื้อความ ให้ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๐ ว่าด้วยการเทิดพระเกียรติ
และแสดงความรำลึกแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ซึ่งทรงเป็นมิตรใกล้ชิดอย่างยิ่งของสหรัฐฯ และทรงงานอย่างหนักเพื่อพสกนิกรของพระองค์ ตลอดรัชสมัย ๗๐  ปีแห่งการครองราชย์ โดยสาระสำคัญของมติดังกล่าวนั้น ได้กล่าวถึงพระราชประวัติโดยสังเขป
ของพระบาทสมเด็จพระประมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และความสัมพันธ์ทางการทูตอันมั่นคงยาวนาน ๑๘๓  ปี ระหว่างสหรัฐฯกับไทย และแสดงความหวังว่าความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างระดับทวิภาคีจะได้รับการพัฒนาให้รุ่งเรื่องยิ่งขึ้นไป นอกจากนี้
มติของที่ประชุมยังขอน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระพรชัยมงคล
แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ ๑๐ อีกด้วย

พระราชดำรัส king Rama9 : ปัญหาโลกร้อน เราจึงต้องมีความรับผิดชอบในโลกมากขึ้น
“...พูดอย่างนี้ท่านทั้งหลายก็งง วันนี้มีแต่งง เพราะวันนี้ไปถึงสิ่งแวดล้อมขั้นโลก แต่ก่อนนี้เคยพูด
ถึงสิ่งแวดล้อมขั้นประเทศ เดี๋ยวนี้ถึงขั้นโลก ก็เป็นความรับผิดชอบที่เรามี ความจริงต้องพูดถึงขั้นโลกเพราะประเทศไทยนี้ก็เติบโตขึ้นมา จะมีหน้ามีตาในโลกว่าเป็นประเทศที่มั่นคง เป็นประเทศที่ดีอย่างนั้นอย่างนี้ เราจึงต้องมีความรับผิดชอบในโลกมากขึ้น ทั้งนี้ก็เชื่อว่า เป็นความดีของประเทศไทย...
ข้อความดังกล่าวคือส่วนหนึ่งในตอนท้ายๆ ของพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทร
มหาภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต
 เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ธันวาคม 2532 หรือเมื่อ 28 ปีมาแล้ว
เราคงจำกันได้ว่า เมื่อปลายปี 2558 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยได้เข้าร่วมประชุมเวทีโลกที่ชื่อว่า“COP21 ปารีส-2558” ซึ่งเป็นการประชุมใหญ่ประจำปีครั้งที่ 21
ที่จัดโดยองค์การสหประชาชาติ นั่นหมายความว่าในหลวงได้มีพระราชดำรัสเรื่องปัญหาโลกร้อน
ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการประชุม “COP1 เบอร์ลิน-2538” (ประเด็นหลักของการประชุมว่าด้วยองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับปัญหาโลกร้อน) ถึง 6 ปีก่อนพิธีสารเกียวโตว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ
 (COP3-เกียวโต-2540) ที่คนไทยพอจะคุ้นหูเสียอีก นับว่าพระองค์มีสายพระเนตรอันยาวไกลต่อปัญหาของมนุษยชาติ ในพระราชดำรัสดังกล่าว นอกจากทรงทักทายตามปกติแล้ว พระองค์ทรงเริ่มต้น
ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก แล้วตามด้วยจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยยกเอาเรื่องใกล้ตัวของคนไทยคือ
เรื่องน้ำท่วมกรุงเทพฯ จากนั้นก็ตามด้วยสาเหตุพร้อมด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่ค่อนข้างละเอียด
และซับซ้อนถึงที่มาที่ไปของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหา ความตอนหนึ่งว่า
เพราะมีสารคาร์บอนขึ้นไปในอากาศมาก จะทำให้เหมือนเป็นตู้กระจกครอบ แล้วโลกนี้ก็จะร้อนขึ้น
เมื่อโลกนี้ร้อนขึ้นมีหวังว่าน้ำแข็งจะละลายลงทะเล และรวมทั้งน้ำในทะเลนั้นจะพองขึ้น เพราะ
สิ่งของที่ร้อนขึ้นย่อมมีการพองขึ้น ปริมาตรก็มากขึ้น เมื่อน้ำพองขึ้นก็จะทำให้ที่ที่ต่ำ เช่น กรุงเทพฯ
ถูกน้ำทะเลท่วม อันนี้ก็เป็นเรื่องเขาว่า ก็เลยสนใจว่าเรื่องเป็นอย่างไร จึงได้ข้อมูลว่าสิ่งที่ทำให้คาร์บอน (ในรูปคาร์บอนไดออกไซด์) ในอากาศเพิ่มมากขึ้นนั้น มาจากการเผาเชื้อเพลิงซึ่งอยู่ในดิน และ
จากการเผาไม้ ซึ่งตามตัวเลขจำนวนคาร์บอนในอากาศนี้... ไม่ทราบว่าท่านจะจดจำได้หรือไม่
นี่ก็เป็นตัวเลข ท่านทั้งหลายฟังแล้วก็คงปวดหัว แต่คงหาผู้ที่จะเขียนตัวเลขเหล่านี้ให้ได้ ก็เป็นอันว่าปัญหามันมีจริง ว่าเราจะประสบความเดือดร้อน
เนื่องจากพระราชดำรัสดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ ๒๘ ปีมาแล้ว ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม ภาพข้างล่างนี้เป็นค่าเฉลี่ยในช่วงปี ๒๕๔๘-๒๕๕๗ ซึ่งมีบางองค์กรได้จัดทำให้ดูเข้าใจง่ายขึ้น (หมายเหตุ ความจริงพระราชดำรัสมีรายละเอียดในกลไกของธรรมชาติมากกว่านี้อีก)  ข้อมูลจาก http://m.manager.co.th/Daily/detail/9590000108456







        โครงการภูมิพลอดุลยเดช   ซิสเต็ม๙ หรือ SAVE THE WORLD SYATEM 9       (  ต้นแบบ การร่วมพัฒนานวัตกรรมภายใต้ลิขสิทธิ์ร่วมกัน เพื่อ ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน  )

สรุปโครงการนี้สามารถช่วยโลกได้

เสนอข้อตกลงร่วมลงทุนในโครงการ SAVE THE WORLD SYSTEM 9 

โครงการเพื่อถวายงาน เป็นพระราชกุศล   แด่ 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช  มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี  จักรีนฤบดินทร 
สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร                                
1.แนวคิดพิจารณาในการร่วมลงทุนพัฒนาต้นแบบในประเทศไทย   โดยแบ่งเป็นสามส่วน
(สหประชาชาติ  หรือ บริษัทที่สนใจร่วมลงทุน)  รัฐบาลไทย  และข้าพเจ้า สมเกียรติ กาญจนชาติ
เพื่อนำมาเป็นหุ้นส่วนทางการลงทุนในการลงทุนในโครงการเพื่อสร้างนวัตกรรมและสร้างโครงข่ายสื่อสารในโครงการต้นแบบของประเทศไทย สามารถปรับแก้ได้ตามความเหมาะสม
2.เสนอข้อมูลและการสนับสนุนช่วยเหลือการลงทุนโครงการให้ประเทศไทย 
3.ประเมินการลงทุนในโครงการนี้ หนึ่งหมื่นเก้าพันล้านเหรีญสหรัฐฯ   
4.สิ่งที่จะได้ร่วมกันคือ ได้โครงการต้นแบบของโลกในการสร้างระบบงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
รัฐบาลส่งเสริมการผลิตซอฟต์แวร์ที่ใช้งานในสื่อโซเชียลมีเดียเป็นของตัวเอง ด้วยเหตุผลว่า การพึ่งพาระบบสื่อโซเชียลของต่างประเทศจะทำให้สูญเสียการกำกับดูแลที่กฎหมายไทยครอบคลุมไม่ถึง
รวมถึงรัฐต้องสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีต่างๆมากยิ่งขึ้น ซึ่งควรพัฒนาซอฟต์แวร์ของรัฐบาลไทยให้ไปถึงระดับ Global ที่มีการส่งออกไปยังต่างประเทศด้วย  โดยร่วมกับสหประชาชาติ ตลอดถึง
องค์กรต่างๆ สามารถนำไปใช้ช่วยเหลือประเทศต่างได้ทั่วโลก โดยมียุทธศาสตร์ การสร้างบิ้กดาต้า ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลทั่วโลก   สร้างเครือข่ายให้ประชากรโลกได้ใช้ร่วมกันทุกด้านโดยมีแอพพลิเคชั่น SAVE THE WORLD SYSTEM 9  แพลตฟอร์มที่สามารถใช้ได้ทั่วโลกผ่านคอนเซ็ปของ Big Data ซึ่งผู้เชี่ยวชาญบางส่วนให้คอนเซ็ปสำหรับ Big Data เอาไว้ว่าต้องประกอบไปด้วยลักษณะที่สามารถสังเกตได้ คือ
1.ปริมาณ (Volume)
2.ความเร็ว (Velocity)
3.ความหลากหลาย (Variety)
ใหญ่แค่ไหนถึงเรียก Big Data ถ้าจะพูดถึงขนาดของ Big Data ก็ต้องบอกว่า มันคือ Data ทุกอย่างรวมกัน แต่ในแนวคิดปัจจุบันเห็นพ้องไปทางเดียวกัน Data ที่ถือเป็น Big Data จะไม่สามารถนำมาบริหารจัดการได้ด้วยโปรแกรมแบบเดิมๆที่เราคุ้นเคยกันอย่าง spreadsheets หรือ เครื่องมือทั่วๆไปที่มีอยู่ในระบบการจัดการฐานข้อมูล โดยปกติแล้วนั้น การวิเคราะห์ Big Data มักจะมีการแยะข้อมูลออกเป็นหมวดหมู่เพื่อให้ข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องอยู่รวมกัน ซึ่งนั้นหมายความว่าสำหรับ
 Big Data แล้วไม่จำเป็นจะต้องมีการสร้าง Sub-sets ย่อยๆของข้อมูลแต่อย่างใด เพราะมีเครื่องมือช่วยในเรื่องนี้อยู่แล้ว 
4.1 ได้มีลิขสิทธิ์การสร้างนวัตกรรมอุปกรณ์การสื่อสารและโทรศัพท์สมาร์โฟร์ ให้มาตั้งโรงงานผลิต    เพื่อจำหน่ายให้ประเทศสมาชิกในโครงการทั่วโลก (นายกรัฐมนตรีไทย เผย นักลงทุนตอบรับนโยบายรัฐบาล สนใจลงทุนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก นายกรัฐมนตรีเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่การท่าอากาศยาน
อู่ตะเภา อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เผยนักลงทุนตอบรับนโยบายรัฐบาล สนใจลงทุนระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก)
4.2 ได้นวัตกรรมระบบงานและแอปพิเคชั่น C4i  ในระบบ e-goverment ระบบการบริหารจัดการของรัฐบาลที่สามารถนำไปใช้ในประเทศสมาชิกทั่วโลก




ต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ
ภายใต้ลิขสิทธิ์ที่ได้แจ้งไว้ ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
                                                                                                      
การพัฒนาระบบการบริหารจัดการในระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
ระบบงานที่พัฒนานี้อยู่ที่ศูนย์ C4I ของผู้ว่าราชการจังหวัด  สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนกลางในการบริหารจัดการได้ทั่วประเทศ สู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สั่งการผ่านแอพพลิเคชั่น บนมือถือ
ต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ
           (โครงการ ภูมิพลอดุลยเดช   ซิสเต็ม๙ หรือ SAVE THE WORLD SYSTEM 9 )
         1. วางรูปแบบเครือข่าย WIMAX หรือ ระบบ 5G  ครอบคลุมทั่วประเทศ โดยใช้เสาส่งสัญญาณ
ของ 5 หน่วยงานที่มีอยู่ทั่วประเทศคือ กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมทั้งของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ที่มีอยู่ทั่วประเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้านความมั่นคงของชาติและระบบการสื่อสารของชาติ ซึ่งการตั้งเสาส่งใหม่ประชาชนจะต่อต้านเนื่องด้วยกระทบกับปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ รัฐบาลสามารถวาง โครงข่ายรวมคอมพิวเตอร์และการสื่อสารความเร็วสูงทั่วทุกส่วนราชการทั่วประเทศ  สร้างเครือข่ายให้ประชากรโลกได้ใช้ร่วมกันทุกด้านโดยมีแอพพลิเคชั่นใหม่ที่ร่วมกันพัฒนาขึ้น
SAVE THE WORLD SYSTEM 9  แพลตฟอร์มที่สามารถใช้ได้ทั่วโลกผ่านคอนเซ็ปของ Big Data โดยสามารถนำรายได้จากการเช่าเสาส่งสัญญาณจากสี่เหล่าทัพ ในพื้นที่มีความปลอดภัยด้านความมั่นคงของชาติ มากกว่าเสาส่งสัญญาณของภาคเอกชน  มาเป็นรายได้ที่นำไปช่วยด้านงบประมาณของแต่ละเหล่าทัพ  และสามารถ ให้ภาคเอกมาเช่าเพื่อดำเนินการด้านการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ ให้กับประชาชน
โดยทั้งสี่เหล่าทัพ  จะมีโครงข่ายรวมคอมพิวเตอร์และการสื่อสารความเร็วสูงทั่วทุกส่วนราชการทั่วประเทศ โครงการด้านความมั่นคงและพัฒนารับการถ่ายทอดเทคโนโลยีของตนเอง เช่น กองทัพเรือ ดำเนินโครงการเรือดำน้ำ สี่เหล่าทัพจะสามารถบูรณาการระบบสู่ C4I สร้างระบบเมืองต้นแบบที่สามารถนำระบบที่พัฒนานี้ ไปใช้งานได้จริงในแต่ละจังหวัด  เช่น ที่จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดยะลา หรือ          สามจังหวัดภาคใต้ โดยแต่ละจังหวัดจะมีระบบงานที่พัฒนานี้อยู่ที่ศูนย์ C4I ของผู้ว่าราชการจังหวัด  สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนกลางในการบริหารจัดการได้ทั่วประเทศ สู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์
    2.ร่วมพัฒนาสร้างเซฟเวอร์ขนาดใหญ่ ( save the world9 ) เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลสำคัญ     ของโลก  และศูนย์กลางเครือข่ายสารสนเทศระดับประเทศ เป็นศูนย์กลางเครือข่ายสารสนเทศระดับกระทรวง รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมข้อมูลหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ ตามแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ได้พระราชทานแก่ประชาชนคนไทยนำไปปรับใช้เพื่อยกระดับชีวิตให้ดีขึ้น เพื่อใช้ในการบริหารงาน     ในการบริการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ในการแก้ปัญหาโลกร้อน และด้านอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของโลก รวมถึงระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติจากธรรมชาติ และจากการกระทำของมนุษย์   สู่ เทคโนโลยี AI  ที่ต้องพัฒนาตามลำดับสู่ ปัญญาประดิษฐ์เป็นส่วนหนึ่งในด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ เพื่อช่วยมนุษย์โลกไม่ได้มาแทนที่มนุษย์
3.พัฒนานวัตกรรมและระบบงาน เพื่อ ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน  ( ภูมิพลอดุลยเดช   ซิสเต็ม๙ หรือ SAVE THE WORLD SYATEM 9 )  แอพพลิเคชั่น C4I บนมือถือ สมาร์ทโฟน  ที่ สามารถเชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนกลางในการบริหารจัดการได้ทั่วประเทศ สู่รัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ สั่งการผ่านแอพพลิเคชั่น บนมือถือ (หรือร่วมลงทุนสร้างสมาร์ทโฟนกับบริษัทที่มาร่วมลงทุนในโครงการ ที่สามารถจำหน่ายให้ข้าราชการทั่วประเทศและประชาชนทั่วไป)

ตัวอย่างข้อมูล เช่น รวมข้อมูลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ ๙ (ศาสตร์ของพระราชา)  ที่สามารถนำไปแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาต่างๆ ให้กับประชาชน  โดยประเทศต่างๆทั่วโลกสามารถนำข้อมูลไปประยุกค์ใช้ได้
                     ตามเป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ / เป้าหมาย
การให้บริการ
สร้างเครือข่ายให้ประชากรโลกได้ใช้ร่วมกันทุกด้านโดยมีแอพพลิเคชั่น
SAVE THE WORLD SYSTEM 9  แพลตฟอร์มที่สามารถใช้ได้ทั่วโลกผ่านคอนเซ็ปของ Big Data มีการพัฒนาโครงข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงครอบคลุมถึงหมู่บ้าน
มีการพัฒนา และปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ มาตรการ และมาตรฐานที่เอื้อต่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล
มีการให้บริการ และเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐ
บุคลากรทุกภาคส่วนได้รับการพัฒนาความรู้ทักษะ และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
เพื่อก่อให้เกิดรายได้และยกระดับคุณภาพชีวิต
ประชาชน ได้รับโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล
ประชาชนรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน สามารถเข้าถึงและรับรู้ข้อมูล ข่าวสารการเตือนภัยพิบัติที่ถูกต้องได้อย่างสะดวก รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ ทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
7.ตั้งธนาคารเพื่อร่วมลงทุนโครงการในประเทศไทย โดยร่วมลงทุนด้านอาหารและน้ำดื่ม ใช้ศาสตร์ของพระราชา สามารถช่วยเหลือประชากรในประเทศที่ยากจนทั่วโลก

สร้างนวัตกรรม
       -
ระยะที่1มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย       
     -
ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของ  โครงการทดลองปฏิบัติก่อน (PilotProject)
       -
ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์

 
หลักเกณฑ์ประกอบการพิจารณาว่าสิ่งใดคือ นวัตกรรม 

1.  เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน เช่น สร้างเครือข่ายให้ประชากรโลกได้ใช้ร่วมกันทุกด้านโดยมีแอพพลิเคชั่น SAVE THE WORLD SYSTEM 9  แพลตฟอร์มที่สามารถใช้ได้ทั่วโลกผ่านคอนเซ็ปของ Big Data
2. 
มีการนำวิธีการจัดระบบ (System Approach) มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใช้เข้าไปในกระบวนการ และผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3. 
มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรืออยู่ระหว่างการวิจัยว่าจะช่วยให้ดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4. 
ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งในระบบงานปัจจุบัน 
5.  ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น (ลิขสิทธิ์ )
6.ประเมินค่าลิขสิทธิ์ในการพัฒนานวัตกรรมในโครงการ เพื่อเป็นมูลค่าในการร่วมลงทุน

นวัตกรรม (Innovation) เป็นคำที่คณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
บัญญัติขึ้น เดิมใช้ นวกรรม มาจากคำกริยาว่า Innovate มาจากรากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Inovare (in (=in)+novare= to renew, to modify) และ novare มาจากคำว่า novus (=new)
Innovate  แปลตามรูปศัพท์ได้ว่า "ทำใหม่ , เปลี่ยนแปลงโดยนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามา "
Innovation =
การทำสิ่งใหม่ ๆ หรือสิ่งใหม่ ๆ ที่ทำขึ้นมา (International Dictionary)
 นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ ๆ อาจเป็นแนวความคิด หรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัย และได้ผลดี
มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย


การดำเนินโครงการ

             เสนอท่านนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี เพื่อตั้งคณะทำงานร่วมมี โดย มีสหประชาชาติเป็นแม่งาน และรัฐบาลไทย โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นหน่วยงานหลัก และตัวแทนจากสี่เหล่าทัพ ร่วมถึงกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ภาคเอกชน ในการระดมความคิด และเพื่อการประสานกับบริษัทด้านเทคโนโลยี ด้านการสื่อสาร ในการร่วมมือในโครงการร่วมพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี ร่วมกัน เพื่อมีลิขสิทธิ์ร่วมกัน (ประเมินค่าลิขสิทธิ์ ในการพัฒนานวัตกรรมในโครงการต้นแบบการพัฒนานวัตกรรมของประเทศ ภายใต้ลิขสิทธิ์ที่ได้แจ้งไว้ ต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญา
เพื่อเป็นมูลค่าในการร่วมลงทุน) โดยขอให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับประเทศไทยในโครงการนี้   หรือมีการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลไทย และรัฐบาล หรือบริษัทต่างประเทศ ที่จะเข้ามาร่วมในโครงการ
เพื่อร่วมพัฒนานวัตกรรมต้นแบบในการบูรณาการการใช้เทคโนโลยีด้านความมั่นคงของชาติ  และการบริหารจัดการในระบบรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์  ร่วมถึงแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย 
 (ร่วมลงทุนกับรัฐบาลในประเทศสมาชิกของสหประชาชาติ หรือ  บริษัท คูเกิล  หรือ facebook และ
บ. LINE โดยสามารถนำระบบงานใหม่นี้ไปใช้ในการพัฒนายุทธศาสตร์ ด้านการสื่อสารและความมั่นคงของสหประชาชาติ

อ่านเพิ่มเติมที่
https://drive.google.com/file/d/0B_nOh0gPsWNSc0RLNlM4M2hMbG8/view





#อย่าให้นายทุนคุมการสื่อสารของชาติไทย?
อ่าน
http://www.naewna.com/columnist/1259

#ความล่าช้าทำให้ประเทศชาติสูญเสียการเป็นผู้นำด้านการสื่อสารในภูมิภาค

อ่าน

#เมื่อระบบสื่อสารของชาติตกอยู่ในมือนายทุนชั่วมหาชนควรดูและศึกษา?
ข้อมูลที่

กฎหมายลิขสิทธิ์ไทย เป็นกฎหมายที่มีผลใช้บังคับเมื่อ พ.ศ. 2537 กำหนดงานที่ได้รับความคุ้มครอง อันได้แก่ งานสร้างสรรค์ประเภท วรรณกรรม นาฏกรรม ศิลปกรรม ดนตรีกรรม โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ สิ่งบันทึกเสียง งานแพร่เสียงแพร่ภาพ หรืองานอื่นใดในแผนกวรรณคดี แผนกวิทยาศาสตร์ หรือแผนกศิลปะ ของผู้สร้างสรรค์ ไม่ว่างานดังกล่าวจะแสดงออกโดยวิธีหรือรูปแบบอย่างใด
งานด้านวรรณกรรมที่กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครอง ได้แก่ งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ รวมถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ การคุ้มครองงานสร้างสรรค์เหล่านี้จะเกิดขึ้นทันทีเมื่อสร้างขึ้นโดยไม่มีขั้นตอนทางกฎหมายใดๆและไม่จำต้องมีการเผยแพร่ผลงานสู่สาธารณชนก่อน จึงหมายความว่า เมื่อท่านสร้างสรรค์งานหรือเขียนงานนิพนธ์ขึ้นชิ้นหนึ่ง กฎหมายให้ความคุ้มครองงานชิ้นนั้นทันที เจ้าของผลงานเท่านั้นมีสิทธิ์ในการเผยแพร่งานสู่สาธารณชน เว้นแต่ได้รับความยินยอมหรืออนุญาตจากเจ้าของ หาผู้ใดทำละเมิดนำงานไปเผยแพร่ คัดลอก ดัดแปลง ไม่ว่าบางส่วนหรือทั้งหมด จักต้องรับโทษอาญาและชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งแก่ผู้สร้างสรรค์งานชิ้นนั้น ส่วนการจดแจ้งงานลิขสิทธิ์ที่กระทำกับกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้น มิใช่การจดทะเบียนลิขสิทธิ์ แต่เป็นการเผยแพร่ชื่องานลิขสิทธิ์ของตนแก่บุคคลภายนอกเพื่อประโยชน์ในการค้นหา ติดต่อ กับเจ้าของชิ้นงาน
แต่เนื่องจากมีหลายกรณีใกล้หมดอายุความจึงต้องทำเรื่องฟ้องคดีควบคู่ไปกับการเจรจาด้วย อาทิ กรณีบริษัท ทรูมูฟ จำกัด ซึ่งสัมปทานสิ้นสุดไป 2 ปีแล้วแต่ยังไม่ได้ส่งมอบเสาและสถานีฐานตามสัญญาจึงต้องฟ้องเรียกค่าเสียหาย
สัญญาสัมปทานโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยที่เกิดขึ้นพร้อมกับอุตสาหกรรมมือถือในบ้านเรา กำลังจะสิ้นสุดลงชุดแรกในวันที่ 15 กันยายน 2556 นี้ (เจ้าของสัมปทานคือ CAT Telecom ส่วนผู้รับสัมปทานคือ True Move และ DPC/GSM1800)
การที่มันเป็นสัญญาสัมปทานชุดแรกที่จะสิ้นอายุ บวกกับการเปลี่ยนผ่านของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยจากระบบสัมปทาน (รัฐวิสาหกิจ-เอกชน) มาเป็นระบบใบอนุญาต (กสทช-เอกชน) ทำให้เกิดปัญหาขึ้นมากมายเต็มไปหมด ซึ่งผู้อ่าน Blognone เองน่าจะพอทราบกันมาบ้างจากสื่อต่างๆ
ปัญหาเรื่องคลื่น 1800MHz มีความซับซ้อนสูงมาก (โดยเฉพาะประเด็นเรื่องกฎหมาย) บทความนี้จะอธิบายที่มาที่ไปของปัญหานี้ ก่อนจะเข้าสู่รายละเอียดให้มากขึ้นในบทความต่อๆ ไปครับ
Disclaimer: ผมถือว่ามีส่วนได้เสียกับปัญหาเรื่องคลื่น 1800MHz เพราะดำรงตำแหน่ง "อนุกรรมการเตรียมความพร้อมสำหรับการบริหารคลื่นความถี่วิทยุโทรคมนาคมระบบเซลลูล่า Digital PCN 1800" หรือเรียกง่ายๆ ว่า "อนุฯ 1800 ชุดแรก" ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ทำงาน และทาง กสทช. ได้ตั้ง "อนุฯ 1800 ชุดที่สอง" มาทำงานแทนแล้ว
สัญญาสัมปทานกับความถี่ย่าน 1800MHz
คลื่นความถี่ย่าน 1800MHz เดิมทีอยู่ภายใต้การดูแลของ กสท โทรคมนาคม ซึ่งในสมัยนั้นยังเป็นรัฐวิสาหกิจเต็มรูปแบบ (ก่อนจะแปรรูปในภายหลัง ต่อไปจะขอเรียกว่า CAT เพื่อความสั้นกระชับ)
CAT "ให้สัมปทาน" ความถี่ย่านนี้กับบริษัทเอกชนเพื่อนำไปให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยเอกชนที่ได้คลื่นจาก CAT มีทั้งหมด 3 บริษัทคือ True Move (ไม่มี H หรือ TA Orange เดิม), DPC (รู้จักกันในชื่อการค้าว่า GSM1800 ซึ่งถือเป็นบริษัทในเครือ AIS) และ dtac
สัญญาที่กำลังจะหมดลงและเป็นปัญหาอยู่ในขณะนี้คือส่วนของ True Move และ DPC ซึ่งมีช่วงกว้างคลื่นเท่ากัน และหมดสัญญาพร้อมกัน (แต่ถือเป็นคนละสัญญากัน คนละบริษัทกัน)
แยกส่วนสัญญาสัมปทาน
สัญญาสัมปทานที่ CAT เซ็นไว้กับ True Move และ DPC นั้นเก่ามาก เกิดก่อนยุคของ กสทช. นานหลายปี ตอนนั้นแนวคิดของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ยังมองวิธีการจัดสรรคลื่นในรูปแบบของ "สัมปทาน" (concession) แบบเดียวกับสัมปทานทางด่วน นั่นคือรัฐเป็นเจ้าของทรัพยากร แต่ไม่มีเงินลงทุนเอง จึงให้เอกชนมาลงทุนและหาผลประโยชน์เป็นระยะเวลาหนึ่ง เมื่อสิ้นสุดช่วงเวลานั้นแล้ว รัฐจะได้เป็นเจ้าของ "สิ่งปลูกสร้าง" ที่เอกชนลงทุนและเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ไปบ้างแล้ว
รูปแบบของสัญญาสัมปทานแบ่งได้ใหญ่ๆ 2 แบบคือ
BOT (Build-Operate-Transfer) สร้างก่อน ให้เอกชนดำเนินการ หมดสัญญาค่อยโอนความเป็นเจ้าของให้รัฐ
BTO (Build-Transfer-Operate) สร้างก่อน โอนความเป็นเจ้าของให้รัฐก่อน แล้วเอกชนดำเนินการจนสิ้นสุดสัญญา
สำหรับสัญญาสัมปทานของ CAT เป็นรูปแบบหลังคือ BTO นั่นคือเอกชนลงทุนสร้างโครงข่าย โอนความเป็นเจ้าของโครงข่ายให้ CAT แล้วเอกชนนำมาใช้ประโยชน์ในการให้บริการโทรศัพท์มือถือจนสิ้นสุดสัญญาปี 56
ดังนั้นในเนื้อหาของสัญญาสัมปทานจริงๆ จะเรียบง่ายมาก นั่นคือ
CAT กำหนดให้เอกชนใช้คลื่นตามช่วงเวลาที่กำหนด
เอกชนลงทุนโครงข่าย โอนให้ CAT เป็นเจ้าของแต่ให้เอกชนดำเนินการและดูแลรักษา โดยต้องจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ CAT คิดตามสัดส่วนของรายได้ที่เอกชนได้รับ
เมื่อสิ้นสุดสัญญาแล้ว คลื่นความถี่ โครงข่าย ลูกค้าของเอกชนจะถูกส่งมอบให้ CAT ทั้งหมด (แถวที่หนึ่งและสองในตาราง) โดยเอกชนต้องเตรียมความพร้อมให้คนของ CAT สามารถให้บริการโทรศัพท์มือถือต่อไปได้ด้วย
อ่านต่อที่
https://www.blognone.com/node/46559

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ