ประชาสัมพันธ์ นำชุดพระกริ่งในประวัติศาสตร์ไทย ให้ผู้ศรัทธาร่วมประมูลสร้างบุญบารมี (ไม่ฟอกเงินผิดกฎหมาย)
ประวัติการสร้างพระกริ่งปวเรศ วัดบวรนิเวศ
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๓
โปรดให้สร้างพระกริ่งปวเรศขึ้น โดยฝีมือของช่างสิบหมู่ หรือช่างหลวง ตั้งแต่ พ.ศ.๒๓๘๒-๒๔๓๔ ตามประวัติมีการจัดสร้าง ๖ ครั้ง ระบุจำนวนให้ทราบเพียง ๒ ครั้ง รวมแล้วได้ ๑๒ องค์ แต่ก็สร้างเพื่อพิธีสำคั ญของพระมหากษัตริย์เท่านั้นมี เพียงครั้งที่ ๖ เพื่อฉลองสมณศักดิ์สมเด็ จกรมพระยาปวเรศ ที่อาจสร้างแจกเป็นที่ระลึกให้ ข้าราชบริพาน พระสกนิกร ในสมัยนั้นแต่ก็ไม่ระบุ จำนวนการสร้าง และก็มีหลายแบบพิมพ์ทรง
พระกริ่งปวเรศ ถือว่ามีพลังพุทธนุภาพแรงที่สุด เริ่มมีชื่อเสียงในวงแคบๆ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมาถึงยุคของรัชกาลที่ ๕ พระกริ่งที่โด่งดังในอดีตล้ วนแต่เป็นพระกริ่งที่สมเด็ จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต ในวงการพระเครื่องรางที่นับถื อว่ามีอานุภาพขลังศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่นั กนิยมพระเครื่องปัจจุบัน มีราคาซื้อขายสูงที่สุ ดในประเภทพระโลหะ
พุทธลักษณะของพระกริ่งปวเรศ เป็นรูปหล่อลอยองค์ ประทับนั่งสมาธิเพชร (วัชรสานะ) เหนืออาสนะบัลลังค์ บัวคว่ำ บัวหงาย ๒ ชั้น ชั้นละ ๗ กลีบ ฐานด้านหลัง ยื่นเล็กน้อย บัวคว่ำ บัวหงาย ชั้นละ ๑ กลีบ พระเกศแบบตุ้มหรือบัวตูม ฐานพระเมาลี ด้านหน้า ปรากฏรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยว พระศกแบบตอก “รอยตุ๊ดตู่”ปราศจากไรพระศก ใต้ฐานไม่ปะก้น หรือรอยเจาะก้นสำหรับบรรจุลู กกริ่งเหมือนทั่วๆ ไป แต่กว้านก้นลึก และกว้าง (กว้าง ๑ ซม. ยาว ๑.๖ ซม.)
ประวัติการสร้างพระกริ่งปวเรศ วัดบวรนิเวศ สร้างครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๔ โดยสมเด็จกรมพระยาปวเรศ ทรงสร้างเพื่อทดแทนพระกริ่ งปวเรศทองคำที่หายไป เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๓ ในพระราชพิธีมุรธาภิ เษกและพระราชพิธีบรมราชาภิ เษกของพระมหากษัตริย์ (ร.๔) และขณะรัชกาลที่ ๕ พระชนมายุ ๙ พระชันษา เพื่อใช้ในพระราชพิธีเจริญน้ำ พระพุทธมนต์ พิธีรับพระสุพรรณบัฏ (พระราชนิพนธ์สมเด็ จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ หน้า ๕๐-๕๑) จำนวนการสร้าง ๓ องค์
การสร้างครั้งที่ ๒ เมื่อ พ.ศ.๒๔๐๙ ในหนังสือตำนานวัดบวรนิเวศ หน้า ๑๔๗ บันทึกไว้ว่า สร้างเพื่อถวายรัชกาลที่ ๔ ในพระราชพิธีที่รัชกาลที่ ๕ ทรงผนวชเป็นสามเณร เป็นที่ระลึกถวายรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ จำนวนการสร้าง ๙ องค์ ในปีนั้นกำลังของปีตกเลข ๙ พอดี
การสร้างครั้งที่ ๓ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๑ ในพระราชนิพนธ์พงศาวดาร ร.๕ หน้า ๓๐-๓๔, หน้า ๔๗, และพระราชพิธีโสกันต์ หน้า ๕๔-๕๕ บันทึกไว้ว่าสร้างเพื่อเป็นอนุ สรณ์ถวายรัชกาลที่ ๕ พระชนมายุ ๑๕ พระชันษา ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ขึ้นครองราชย์สมบัติ โดยมีผู้สำเร็จราชการเจ้ าพระยาสีสุริยวงศ์ (ช่วง บุญนาค) กริ่งรุ่นนี้ไม่มีเส้นพระศก และไม่มีส่วนผสมของเนื้อพระพุ ทธชินสีห์แบบครั้งที่ ๑ และ ๒ เป็นเนื้อสัมฤทธิ์ มี ๓ ชนิด เนื้อสัมฤทธิ์เดช ออกสีแดงแก่ อ่อน, เนื้อสัมฤทธิ์โชติ ออกสีขาว หรือขาวจัด เนื้อสัมฤทธิ์เดช ออกสีเหลือง ส่วนจำนวนการสร้างไม่ได้กล่ าวไว้
การสร้างครั้งที่ ๔ เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖ ในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวั นในรัชกาลที่ ๕ พ.ศ.๒๔๑๑-พ.ศ. ๒๔๑๖ คณะกรรมการเผยแพร่เอกสารประวัติ ศาสตร์ สำนักนายกรัฐมนตรีจัดพิมพ์ เผยแพร่ พ.ศ.๒๕๑๖ หน้า ๑๒๑-๑๒๙ บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ ๕ ทรงผนวชเป็นพระภิกษุ และบรมราชาภิเษกครองราชย์เป็ นครั้งที่ ๒ กริ่งรุ่นนี้ไม่มีการบรรจุลู กกริ่งไว้ กรมพระยาปวเรศ ทรงออกแบบเป็น ๒ แบบ หล่อในคราวเดียวกัน เพื่อทรงถวายในพระราชพิธี ทรงผนวช และบรมราชาภิเษกขึ้นครองราชย์ สมบัติ สันนิษฐานว่าเป็นกริ่งในเก๋งจี นอยู่ที่วัดบวรนิเวศ ส่วนจำนวนการสร้างไม่ได้กล่ าวไว้
การสร้างครั้งที่ ๕ เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๖ ในบันทึก สงครามปราบฮ่อสมัย ร.๕ ม.ร.ว.แสงโสม เกษมศรี ประวัติศาสตร์ไทย ปี ๒๕๐๓ ระบุว่า เรียกกริ่งปราบฮ่อ ร.๕ กรมพระยาปวเรศไม่ได้เป็นผู้ ออกแบบ ช่างสิบหมู่และโหรหลวงเป็นผู้ ออกแบบ ลักษณะ “ปราบฮ่อ” อยู่บนฐานชั้น ๒ ติดกับพระโสณี (ตะโพก) ด้านหลัง “ร.๕” ตัว “ร” หล่อติดระหว่างกลางฐาน ๑ และ ๒ ด้านซ้ายของกลีบบัวหลัง เลข “๕” หล่อติดแนวเดียวกันทางด้ านขวาของกลีบบัวหลัง จำนวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้
ส่วนการสร้างครั้งที่ ๖ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๓๔ ในบรรณานุกรมหอสมุดแห่งชาติ มหามกุฎราชวิทยาลัย หน้า ๕ วรรค ๒ บันทึกไว้ว่า กรมพระยาปวเรศไม่ได้ออกแบบ จัดสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์ทรงได้ รับมหาสมณุตมาภิเษก ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๘ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ออกแบบโดยช่างสิบหมู่ บรมวงศานุวงศ์ และไวยาวัชกรวัดบวรนิเวศ สมัยนั้นจึงมีหลายแบบพิมพ์ทรง บางแบบใช้แม่พิมพ์เก่าก็มี โลหะก็ไม่เหมือนกัน บางองค์ก็แบบพิมพ์ใหม่ รวมทั้งที่อยู่ในขันน้ำมนต์ และยอดไม้เท้าของพระองค์ท่าน จำนวนการสร้างไม่ได้กล่าวไว้ (กริ่งรุ่นนี้วัดสุทัศน์ได้จั ดสร้างขึ้นในปี ๒๔๔๓ เรียก “พระกริ่งคู่แฝด” จะต่างกันตรงอุดกริ่ง)
ชุดพระกริ่งในประวัติศาสตร์ไทย (ชุดหนึ่งมี ๔ องค์นี้ มอบให้ท่านที่ศรัทธาบริจาค
#ศรัทธาโทร เสนอมูลค่ามา ที่ 0846514822 หรือ e-mail ssomkiert@gmail.com
สมเกียรติ กาญจนชาติ เจ้าของพระชุดประวัติศาสตร์
นำศิลปวัตถุพระเครื่องโบราณชุดประวัติศาสตร์ มี๓ชุดในโลก (ชุด๑ พื้นสีเขียว) ที่อนุรักษ์ไว้เพื่อสืบทอดพระศาสนา เพื่อมอบให้แก่ท่านผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทุน ให้แก่
โครงการ ร่วมปกป้องประวัติศาสตร์ชาติไทย และโบราณสถานของชาติไทย
#ร่วมปกป้องประวัติศาสตร์ชาติไทย และโบราณสถานของชาติไทย
ข้อมูลที่
ทุกองค์มีข้อมูลบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์
ศึกษาข้อมูลได้ที่
ท่านเจ้าคุณ พระธรรมมงคลวุฒจารย์ อดีตเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรนิเวศ)
#ข้อมูลการฟอกเงินในวงการพระเครื่องไทยและสร้างมูลค่าเกินจริงในประเทศไทย ภัยต่อความมั่นคงของชาติ
#ปล่อยผ่านไม่ได้
#ย้อนประวิติศาสตร์
#โปรดอ่านและแชร์เพื่อความมั่นคงของชาติ
“เสี่ยอ๊อด”ทุบสถิติปล่อย“พระกริ่งปวเรศ”34 ล้าน เมื่อปี 2558 พร้อมเล่าตำนานรับต่อมาจาก“เสี่ยกำพล” ห้อยคออยู่นับสิบปี ก่อนตัดใจนำออกประมูลเพื่อการกุศล แต่ดันไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์สิน เมื่อปี 2557
#ย้อนประวิติศาสตร์
#โปรดอ่านและแชร์เพื่อความมั่นคงของชาติ
“เสี่ยอ๊อด”ทุบสถิติปล่อย“พระกริ่งปวเรศ”34 ล้าน เมื่อปี 2558 พร้อมเล่าตำนานรับต่อมาจาก“เสี่ยกำพล” ห้อยคออยู่นับสิบปี ก่อนตัดใจนำออกประมูลเพื่อการกุศล แต่ดันไม่ปรากฏในบัญชีทรัพย์สิน เมื่อปี 2557
นอกเหนือจาก“พอร์ตหุ้น”ที่น่าอิจฉาแล้ว .. “พอร์ตทรัพย์สินอื่น”ของ “เสี่ยอ๊อด ไซด์ไลน์”พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธ์ม่วง ก็น่าสนใจไม่น้อย .. ก็ในบัญชีที่ยื่นต่อ ป.ป.ช. เมื่อปี 57 “เสี่ยอ๊อดและภรรยา”ระบุว่า ครอบครองทรัพย์สินอื่นรวมมูลค่า 40 ล้านบาท แบ่งเป็นของ “เสี่ยอ๊อด”15รายการ มูลค่า 30 ล้านบาท .. จำนวนนี้มีหนึ่งรายการที่เป็น“พระเครื่อง 12 องค์”ตีมูลค่าไว้ 25 ล้านบาท .. ทว่าเมื่อเดือนก.ย.58 ก่อนเกษียณจากตำแหน่ง “ผบ.ตร.ไซด์ไลน์”ไม่นาน “เสี่ยอ๊อด”ได้เป็นโต้โผจัดงาน “นิทรรศน์ศรัทธาแห่งสยาม”ขึ้น .. หลักใหญ่ใจความก็เพื่อเชิญชวนสมัครพรรคพวกนำ“พระเครื่อง-พระบูชา”มาร่วมประมูลในงาน เพื่อนำ“รายได้ส่วนหนึ่ง”ไปสมทบทุนสร้างโรงพยาบาลศูนย์ปฏิบัติการตำรวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จ.ยะลา .. ปรากฏว่าได้รับความสนใจจาก“มหาเศรษฐี-เซียน-นักเลงพระ-ตำรวจรักพระ”ที่มากันอย่างคลาคล่ำ .. ที่ขาดไม่ได้ก็ “เสี่ยกำพล”กำพล วิระเทพสุภรณ์ เจ้าของอาบอบนวดวิคตอเรียซีเครท ที่วันนี้ถูกหมายจับในหลายข้อหา .. ว่ากันว่ามูลค่า“พระเครื่อง-พระบูชา”ในงานวันนั้น รวมกันเป็นพันล้าน แต่ละองค์ประมูลขั้นต่ำหลักล้านขึ้น จนตำรวจต้องวางมาตรการรักษาความ ปลอดภัยเข้มงวดมากเป็นพิเศษ ..
ไฮไลต์ การประมูลวันนั้นอยู่ที่“พระกริ่งปวเรศ”ที่ว่ากันว่า เป็นองค์ที่มีตำหนิเหมือนองค์ที่“วัดบวรฯ”ที่สุด .. เจ้าของก็ไม่ใช่ใครที่ไหน เป็น “เสี่ยอ๊อด”เจ้าของงาน ซึ่งรู้กันดีในวงการว่าครอบครองพระองค์นี้มานานนับ 10 ปี เจ้าตัวยังประกาศ “พุทธคุณ”ด้วยว่า หนุนส่งจนได้เป็น“ผบ.ตร.” ก่อนหน้านั้นด้วย .. เมื่อถึงงานงานใหญ่ที่ตัวเองเป็นโต้โผ ก็เลยตัดใจนำออกมาประมูลเพื่อการกุศล .. ท้ายที่สุดมี“เศรษฐีใจบุญ”คว้า“พระกริ่งปวเรศ”ไปครอง เคาะราคากันดุเดือดจนไปหยุดที่ 34 ล้านบาท ซึ่งถือเป็น“สถิติใหม่”ของพระตระกูลนี้ ด้วยเดิมมีราคาสูงสุดอยู่ที่ 20 ล้านบาทเท่านั้น .. ตามที่“บิ๊ก อ๊อด”เล่าประวัติว่า เดิม“พระกริ่งปวเรศ”องค์ดังกล่าว เป็นของ“ผู้ดีเก่าคนหนึ่ง”แล้วขายให้“เสี่ยต้า บางแค”ก่อนตกมาถึงมือ“เสี่ยกำพล”ที่มีมิตรจิต-มิตรใจที่ดีกับ “เสี่ยอ๊อด”จึงปล่อยเช่ากันในราคา 15 ล้าน .. พร้อมกะเกณฑ์ว่า สนนราคาที่ได้ในการประมูลน่าจะไม่ต่ำกว่า 20 ล้าน หากต่ำกว่านั้น “บิ๊กอ๊อด”ก็เคาะราคา 20 ล้าน ประมูลคืนมาเอง พอมี“เศรษฐีใจบุญ”ทุ่มทุนถึง 34 ล้านบาท ก็“วิน-วิน”กันไป .. หลังจากนั้นเห็นว่า“เสี่ยอ๊อด”เสียดายไม่น้อย จนต้องไปควานหาเช่า“พระกริ่งปวเรศ”องค์ใหม่ มาห้อยคอแทน .. ที่ยกเอาประวัติศาสตร์การประมูล“พระกริ่งปวเรศ”หนนั้นขึ้นมา ก็แค่จะชี้ให้เห็นว่า เหตุใดพระเครื่องราคานับ 20 ล้าน ที่ “บิ๊กอ๊อด”บอกเองว่าห้อยคอมานับสิบปี ก่อนยื่นบัญชีทรัพย์สินต่อป.ป.ช. เมื่อปี 2557 จึงไม่ปรากฏรวมอยู่ในรายการ“ทรัพย์สินอื่นฯ”ที่เป็น “พระเครื่อง 12 องค์”ซึ่งตีมูลค่าไว้ 25 ล้านบาท .. เมื่อมีหลักฐานไทม์ไลน์การครอบครองชัดเจนเช่นนี้ ก็อาจเข้าข่าย“ปกปิดบัญชีทรัพย์สิน”หรือไม่ อย่างไร .. ครั้นจะ“หลงลืม”ก็ไม่น่าใช่ เล่นห้อยคอจนได้เป็น ผบ.ตร. ขนาดนั้น .. เรื่องแบบนี้ ป.ป.ช. จะปล่อยผ่านไปก็กระไรอยู่นะขอรับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ