#การทุจริตทั่วแผ่นดินใครต้องรับกรรม? รัฐบาลชุดนี้ต้องรับผิดชอบ? อดีตรัฐมนตรีต้องถูกตรวจสอบ?
https://m.facebook.com/DemocratPartyTH/posts/10154304023861791:0
#อ่านแล้วแชร์ช่วยชาติได้
| |
วันนี้ (9 เม.ย.) เมื่อเวลา 10.00 น.ที่ธันเดอร์โดม เมืองทองธานี กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) จัดงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ปี 2552 โดยนายอภิสิทธ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมทั้งมอบเกียรติบัตรและรางวัลผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปี 2552 แก่ ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ทั้งนี้ยังมีการมอบสัญลักษณ์เบี้ยยังชีพให้แก่ตัวแทนผู้สูงอายุ 5 ภาค และมอบสัญลักษณ์เงินสนับสนุนโครงการและทุนกู้ยืมประกอบอาชีพ จากกองทุนผู้สูงอายุ
นายวิฑูรย์ นามบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผย ประชาชาติธุรกิจ ว่า นโยบายเร่งด่วนของกระทรวงจะมาจากนโยบายของรัฐบาล ที่จะทำภายใน 1 ปี คือเรื่องผู้สูงอายุ เพราะเรื่องนี้จะเป็นสวัสดิการให้กับประชาชนทุกคนที่จะได้รับสิทธินี้ ในประเทศที่เจริญแล้วทุกประเทศเขาก็จะทำในเรื่องสวัสดิการ แต่ที่ประเทศเรายังทำไม่ได้และยังไม่สำเร็จเพราะขาดความพร้อมและเงิน
แต่ขณะนี้ในส่วนของผู้สูงอายุ เราจะต้องมอบเงินให้กับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปให้ได้ทุกคนในรูปของเบี้ยยังชีพ ตรงนี้จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดี เพราะว่าให้เงินผู้สูงอายุไปเดือนละ 500 บาท
ล่าสุด ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.) คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยได้ก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รัฐบาลจึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้อมในเชิงนโยบายหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างหลักประกันด้านรายได้ยามชราภาพ การสร้างระบบเพื่อสนับสนุนการดูแลระยะยาว
แต่รัฐบาลชุดปัจจุบันกลับมีความคิดจะรีบขยายฐานเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้วเจตนารมย์ของระบบเบี้ยยังชีพมุ่งช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้สูงอายุที่ยากไร้ด้อยโอกาสเท่านั้น
ปัจจุบันรัฐบาลโดยกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นสนับสนุนเบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้คัดเลือกผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพโดยใช้กลไกการมีส่วนร่วมของประชาคมในรูปของเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ โดยคุณสมบัติพื้นฐานของผู้มีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพนั้น
ประการแรกจะต้องมีภูมิลําเนาอยู่ในเขตพื้นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประการที่สองต้องมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การยังชีพ หรือถูกทอดทิ้ง หรือขาดผู้อุปการะเลี้ยงดู หรือไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้
ทั้งนี้มีเงื่อนไขว่าผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนกว่า หรือผู้ที่มีปัญหาซ้ำซ้อน หรือผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลทุรกันดารยากต่อการเข้าถึงบริการของรัฐจะเป็นผู้ได้รับการพิจารณาก่อน
ปัจจุบันจะจ่ายเบี้ยยังชีพเดือนละ 500 บาท/คน โดยมีระเบียบเอื้อว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีศักยภาพทางการคลังสามารถเพิ่มจำนวนเงินได้ แต่รวมแล้วไม่เกิน 1,000 บาท/เดือน/คน หรืออาจเพิ่มจำนวนผู้ได้รับเบี้ยยังชีพโดยใช้งบประมาณของตนเองได้ด้วย
หากพิจารณานสถิติผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา (เฉพาะส่วนงบประมาณเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ไม่รวมกรุงเทพมหานคร) จะพบว่าในปีงบประมาณ 2550 มีจำนวนผู้สูงอายุทั่วประเทศรับเบี้ยยังชีพสูงถึง 1,755,266 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจากปีงบประมาณ 2548 และ 2549 ที่ มีจำนวน 527,083 และ 1,073,190 คน ตามลำดับ
อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้สูงอายุในทะเบียนราษฎร์ทั่วประเทศ จะพบว่าสัดส่วนผู้สูงอายุรับเบี้ยยังชีพมีมากถึงร้อยละ 31.6 หรือเกือบ 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุทั่วประเทศกำลังรับเบี้ยยังชีพ
หากพิจารณารายภูมิภาค ในปีงบประมาณ 2550 มีผู้สูงอายุรับเบี้ยยังชีพในภาคเหนือ 355,154 คน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 863,794 คน ภาคกลาง 348,589 คน และภาคใต้ 187,729 คน เมื่อเทียบกับจำนวนผู้สูงอายุทั้งหมดในแต่ละภูมิภาค สัดส่วนของผู้รับเบี้ยยังชีพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีมากถึงร้อยละ 45.0 เท่ากับว่าผู้สูงอายุเกือบครึ่งหนึ่งในภาครับเบี้ยยังชีพ ขณะที่ภาคอื่นๆ สูงไม่ถึงร้อยละ 30 และหากพิจารณารายจังหวัดจะพบว่า จำนวนของผู้รับเงินสงเคราะห์รายจังหวัดก็เพิ่มขึ้นอย่างถ้วนหน้าทุกจังหวัด ส่วนในระดับประเทศ อัตราการเพิ่มจำนวนผู้รับเบี้ยยังชีพเฉลี่ยต่อปีระหว่างปีงบประมาณ 2548-2550 สูงถึงร้อยละ 116.5 หลายจังหวัดมีอัตราการเพิ่มของผู้สูงอายุรับเบี้ยยังชีพสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับประเทศมาก เช่น ภูเก็ต ชลบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ พระนครศรีอยุธยา
ทั้งๆ ที่เคยมีการประมาณการโดยทีดีอาร์ไอ โดยใช้ข้อมูลการสำรวจสถานะทางเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติว่า ในปี 2549 มีจำนวนผู้สูงอายุในครัวเรือนยากจนประมาณ 1.2 ล้านคน
คำถามสำคัญจึงมีว่า ประเทศไทยมีผู้สูงอายุยากไร้หรือด้อยโอกาสเพิ่มขึ้นมากมายขนาดนี้จริงหรือ?
จากงานวิจัยของดร.วรเวศม์ ชี้ว่า ปัญหาของระบบเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุมีหลายจุดตั้งแต่คุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับที่กำหนดไว้ในระเบียบ ไปจนถึงกระบวนการคัดเลือก
ประเด็นคุณสมบัติของผู้มีสิทธิได้รับ ดังที่ระบุไว้ข้างต้น นับว่ามีความหมายกว้างมากจนเอื้อให้มีการตีความเข้าข้างตนเอง อีกทั้งคำว่า "หรือ" ก็ทำให้ผู้สูงอายุที่ไม่ใช่ผู้ด้อยโอกาสที่แท้จริงมารับเบี้ยยังชีพ ตัวอย่างเช่น "รายได?ไม?เพียงพอแก?การยังชีพ" นั้นรวมกรณีที่รับบำนาญทุกเดือนหรือขาดรายได้ที่เป็นตัวเงินแต่มีอสังหาริมทรัพย์ด้วยหรือไม่ หรือกรณีคุณสมบัติ "ถูกทอดทิ้ง" นั้นรวมกรณีที่ลูกๆ ออกไปทำงานต่างถิ่น ไม่ได้ดูแลพ่อแม่ที่สูงอายุโดยตรง แต่ส่งเงินมาให้ใช้หรือไม่
ประเด็นกระบวนการคัดเลือกผู้สูงอายุขององค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) โดยระเบียบแล้วกำหนดให้ อปท.ใช้กลไกประชาคมในการคัดเลือก แต่ปรากฎว่าในการปฏิบัติจริง แม้จะอิงระเบียบเดียวกัน แต่รูปแบบของการคัดเลือกก็มีความเข้มงวดแตกต่างกันมาก มีทั้ง อปท.ที่ให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุทุกคนโดยไม่คำนึงถึงคุณสมบัติของแต่ละคน บางพื้นที่ให้ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ โดยกระจายอำนาจให้ชุมชนเป็นผู้คัดเลือก บางพื้นที่เข้มงวดมากให้ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ แต่จะมีคณะกรรมการระดับหมู่บ้านและระดับท้องถิ่นเป็นผู้กลั่นกรองอีกครั้งหนึ่ง
วิธีการเรียงลำดับผู้สูงอายุผู้มีสิทธิในบัญชีรายชื่อ บ้างก็ดูความลำบาก บ้างก็ใช้อายุเป็นหลัก บ้างใช้ความคิดเห็นของประชาคมตัดสิน การตีความคำว่าประชาคมก็มีความแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ เช่น บางพื้นที่ให้ตัวแทนแต่ละครัวเรือนมา บางพื้นที่ไม่ได้จำกัดจำนวนสมาชิกของแต่ละครัวเรือน
ความแตกต่างของการตีความระเบียบหรือการคัดเลือกที่แตกต่างกันระหว่างพื้นที่นอกจากทำให้การคัดเลือกไม่ตรงเป้าแล้ว ยังก่อให้เกิดปัญหาว่าผู้สูงอายุที่ยากไร้เหมือนกัน ได้รับการปฏิบัติไม่เหมือนกันในแต่ละพื้นที่ด้วย
ท่ามกลางกระบวนการคัดเลือกผู้สูงอายุที่สมควรได้รับเบี้ยยังชีพในปัจจุบันที่มีความอ่อนแอ แนวคิดการขยายฐานเบี้ยยังชีพไปสู่ผู้สูงอายุทุกคนเป็นแนวคิดที่ไม่เหมาะสม การให้เบี้ยยังชีพกับผู้สูงอายุทุกคนหมายถึงการละเลยต่อการช่วยเหลือผู้สูงอายุยากไร้อย่างแท้จริง งบประมาณผูกพันจำนวนมหาศาล รวมถึงอาจมีผลลดแรงจูงใจให้คนที่จะกลายเป็นผู้สูงอายุในอนาคตไม่เห็นความสำคัญของการออม
รัฐบาลจึงควรเร่งแก้ไขกฎกติกาต่างๆ ที่ใช้ในการคัดเลือกผู้สูงอายุที่สมควรได้รับเบี้ยยังชีพ เพื่อให้เบี้ยยังชีพได้ทำหน้าที่ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ยากไร้อย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดคุณสมบัติให้เข้มงวดและเป็นรูปธรรมมากขึ้นเพื่อลดอคติที่จะเกิดจากการตีความเข้าข้างตนเอง ผู้ที่มีสิทธิรับบำนาญอยู่แล้ว (เช่น บำเหน็จบำนาญของข้าราชการ กองทุนประกันสังคม เป็นต้น) ไม่ควรได้รับสิทธิ
กระบวนการคัดเลือกผู้สูงอายุที่สมควรได้รับเบี้ยยังชีพควรจะใช้การประชาคมในระดับหมู่บ้านควบคู่ไปกับการกลั่นกรองซ้ำโดยคณะกรรมการ อย่างน้อยก็เพื่อให้นิยามของคำว่า "ยากไร้" ไม่แตกต่างกันมากแม้ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน อันจะนำไปสู่ความยุติธรรมทั้งในแนวตั้ง (ผู้ยากไร้ควรได้รับ) และในแนวนอน (ผู้มียากไร้เหมือนกัน แม้อยู่ในพื้นที่ต่างกัน ควรได้รับการปฏิบัติเหมือนกัน) ควรจะมีการสร้างระบบตรวจสอบคุณสมบัติของผู้รับเบี้ยยังชีพโดยหน่วยงานที่ใหญ่กว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อการจัดสรรงบประมาณอย่างตรงเป้าหมายและเป็นการส่งเสริมการสร้างวินัยทางการคลังแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปพร้อมกันด้วย.
ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไปเมื่อ 16 พ.ย.ที่ผ่านมาเรียบร้อยแล้ว สำหรับ “ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ผู้สูงอายุ (ฉบับที่...) พ.ศ...” ถือเป็นอีกหนึ่งกฎหมายที่มีความสำคัญ เพราะหากพิจารณาจากสถานการณ์ประชากรของประเทศ โดยเฉพาะประชากรสูงวัยนั้น ปัจจุบันมีสัดส่วนสูงถึง 16% หรือ 11 ล้านคนของประชากรทั้งหมด และคาดว่าภายในปี 2564 สัดส่วนของประชากรกลุ่มดังกล่าวจะขยับเพิ่มขึ้นเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด หรือเพิ่มขึ้นปีละ 1% นั่นเอง
ตรงนี้รัฐบาลได้ให้ความสำคัญกับการให้ความช่วยเหลือและดูแลผู้สูงอายุ โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้น้อยเพื่อให้ได้รับสวัสดิการที่จำเป็นในการดำรงชีวิตประจำวันด้วย โดยที่ผ่านมาส่งผ่านความช่วยเหลือด้วยมาตรการให้เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ที่อยู่ในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการรัฐ ด้วยหวังว่าจะช่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยจากข้อมูลเบื้องต้นของกระทรวงการคลัง ระบุว่า ในแต่ละปีรัฐบาลได้ใส่เงินอุดหนุนเป็นเบี้ยยังชีพสำหรับผู้สูงอายุปีละกว่า 6.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับสูงมาก
ดังนั้นเมื่อข้อมูลประชากรในระยะต่อไประบุว่า จำนวนประชากรผู้สูงอายุจะมีเพิ่มมากขึ้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือ และลดภาระของงบประมาณที่จะใช้ในส่วนนี้ เพื่อจัดสรรไปใช้ในส่วนอื่นๆ อย่างทั่วถึง ดังนั้นกฎหมายฉบับดังกล่าวจึงได้มีการระบุเพิ่มเติมถึงแหล่งที่มาของ “กองทุนผู้สูงอายุ” และการนำเงินกองทุนผู้สูงอายุไปจัดสรรเป็นเงินช่วยเหลือให้กับผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นการรองรับมาตรการให้เงินช่วยเหลือแก่ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ
ปัจจุบันรัฐบาลได้จ่ายเบี้ยยังชีพให้กับผู้สูงอายุ ประมาณ 8 ล้านราย โดยในจำนวนนี้พบว่าเป็นผู้สูงอายุที่ลงทะเบียนในโครงการเพื่อรับสวัสดิการรัฐ จำนวน 3.6 ล้านราย ซึ่งกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่รัฐบาลต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ
สำหรับแหล่งที่มาของเงิน “กองทุนผู้สูงอายุ” จะมาจาก 2 ส่วนเป็นสำคัญ ได้แก่ 1.เงินบำรุงกองทุนฯ จากผู้มีหน้าที่เสียภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีสรรพสามิต ในอัตรา 2% ของภาษีที่เก็บจากสินค้าสุราและยาสูบ สูงสุดไม่เกิน 4 พันล้านบาทต่อปี และ 2.เงินจากโครงการบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุนผู้สูงอายุ ซึ่งได้กำหนดวันเริ่มโครงการ คือ วันที่ 1 ธ.ค.นี้เป็นต้นไป
ในส่วนของโครงการบริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้น กระทรวงการคลังประเมินว่า เมื่อหักลบจำนวนผู้สูงอายุที่อยู่ในโครงการสวัสดิการรัฐ จำนวน 3.6 ล้านราย ออกจากผู้สูงอายุที่รับเบี้ยยังชีพทั้งสิ้น 8 ล้านรายแล้ว จะเหลือผู้สูงอายุที่สามารถบริจาคเงินได้ประมาณ 4 ล้านราย และในส่วนนี้เองคาดว่าจะมี “ผู้ใจบุญ” ร่วมบริจาคเงินให้โครงการดังกล่าวทั้งสิ้น 1 ล้านราย คิดเป็นวงเงิน 8 พันล้านบาท ในส่วนนี้เมื่อรวมกับเงินจากภาษีสรรพสามิต จำนวน 4 พันล้านบาท จะทำให้กองทุนมีเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งเชื่อว่าจะเพียงพอในการจัดสรรดูแลผู้สูงอายุในกลุ่มเป้าหมายต่อไป
ไม่เพียงเท่านี้! ผู้บริจาคเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้ากองทุน จะได้รับเหรียญเชิดชูเกียรติ แล้วยังจะได้รับสิทธิในการหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1 เท่าของเงินที่บริจาค แต่เมื่อรวมกับเงินบริจาคอื่นแล้วไม่เกิน 10% ของเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่ายและหักค่าลดหย่อน
อย่างไรก็ดี ที่ผ่านมารัฐบาลเองก็ได้มีการออกมาตรการต่างๆ เพื่อเพิ่มช่องทางในการหารายได้ให้กับผู้สูงอายุ เช่น ให้สิทธิในการหักลดหย่อนภาษีกับผู้ประกอบการที่มีการจ้างผู้สูงอายุเข้าทำงาน และอาจจะมีโครงการในการฝึกอบรมทักษะอาชีพให้กับผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถมีงานทำในแบบที่เหมาะกับตัวเอง ถือเป็นการต่อยอดการยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นในประเทศไทยได้อีกทางหนึ่ง.
ติดตามข่าวสารด้านความมั่นคงของชาติได้ที่
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ