#ทรงต่อสู้กับสงคราม “ความยากจน” #โครงการชนะสงครามความยากจนของประชาชนในชาติไทย

                   ทรงต่อสู้กับสงคราม “ความยากจน”





                             รักพ่อควรอ่านคิดแล้วแชร์?
                          



หลักการและเหตุผล


แก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในชาติได้ อย่างยั่งยืน  โดย
1.ซื้อคืน ปตท. (ทรัพยากรด้านพลังงานของชาติ) เพื่อนำหุ้นมาจัดสรรให้ประชาชนคนไทยทุกคน เพื่อใช้ในการดำรงค์ชีวิต อย่างพอเพียง สามารถทำให้มีคุณภาพชีวิตและจิตใจดีขึ้น และสามารถแก้ปัญหาความยากจนได้
2.นำคลื่นการสื่อสารที่เป็นทรัพยากรของชาติ นำหุ้นมาจัดสรรให้ประชาชนคนไทยทุกคน เพื่อใช้ในการดำรงค์ชีวิต อย่างพอเพียง สามารถทำให้มีคุณภาพชีวิตและจิตใจดีขึ้น และสามารถแก้ปัญหาความยากจน


แหล่งการเงินที่สามารถนำมาซื้อสมบัติของชาติกลับคืนสู่ประชาชน


ทรัพย์สินของพระพุทธศาสนา ที่เงินมหาศาลจมอยู่กับนายทุน (ธนาคารในประเทศไทย)
หมายเหตุ เงินที่บรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ยาย ของมหาชนในชาติได้ทำบุญไว้ในสถาบันพระศาสนา
โดยปกติ ทรัพย์สินของวัดเป็นศาสนสมบัติ จะจำหน่ายจ่ายแจก ถ่ายโอนไม่ได้ จะต้องออก พ.ร.บ. เป็นรายกรณีเลยทีเดียว เพราะฉะนั้น ทรัพย์สินที่ควรเป็นของพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ต้นนั้น ถูกยักย้ายถ่ายโอนออกไปไหน อยู่ในชื่อใคร มูลนิธิ องค์กรใด อย่างไรบ้าง
มีทั้งทองคำ เงินสด เงินในบัญชี ที่ดิน อาคาร รีสอร์ท ฯลฯ
ฝ่ายรัฐบาล เจ้าหน้าที่ หรือฝ่ายอาณาจักร จำเป็นต้องเข้ามาจัดการ เพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง จะเป็นบุญครั้งใหญ่ของพระพุทธศาสนา หากจะต้องใช้อำนาจตามมาตรา 44 เพื่อให้การตรวจสอบจัดการมีประสิทธิภาพ รักษาประโยชน์สูงสุดของแผ่นดิน ก็เป็นเรื่องที่เข้าใจได้?


      “ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ยังทรงงานอยู่ เพราะประชาชนยังยากจนอยู่ เมื่อยังมีความยากจนจึงไม่มีเสรีภาพ เขาจึงเป็นประชาธิปไตยไม่ได้ ซึ่งปัญหาความยากจนไม่ใช่เป็นปัญหาด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว แต่โยงไปถึงการเมืองด้วย
      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีโครงการทั้งหมดประมาณ 6,000 โครงการ ซึ่งไม่ซ้ำกับโครงการรัฐบาล เพื่ออุดช่องโหว่ช่วยเหลือประชาชน แต่เมื่อราชการเข้ามาถึงจึงถอนออกมา จะเห็นได้ว่าโครงการต่างๆ ของพระองค์เน้นรักษา ดิน น้ำ ลม ไฟ หรือ ทรัพยากรธรรมชาติ
      เพราะถ้าไม่มีแผ่นดินจะมีประเทศได้อย่างไร แผ่นดินนี้ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งหมายถึง ชีวิต ที่ผ่านมาทุกคนใช้แผ่นดินนี้ด้วยความโลภ ทำลายแผ่นดิน
      ทั้งนี้พระองค์ทรงทำได้ด้วยการให้คำแนะนำหรือสอนเท่านั้น เพราะคนที่ดูแลคนทั่วประเทศ คือ รัฐบาล กระทรวง ทบวง กรมต่างๆ หากพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดี มีความสงบ ไม่ถูกข่มเหง ไม่ถูกโกง
       ทำได้เช่นนี้ประเทศมีความมั่นคง และไม่เป็นลัทธิบริโภคนิยม
      ไม่ใช้ทุกอย่างเกินตัว ต้องใช้อย่างพอประมาณ ต้องรู้ต้นทุนตัวเอง คนรวยแล้วต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่คดโกง ไม่คอร์รัปชั่น”
       ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวตอนหนึ่งในโอกาสร่วมบรรยายในการประชุมเชิงปฏิบัติการการนำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริไปขยายผลในพื้นที่ความมั่นคง ที่โรงแรมแม็กซ์ พระราม 9 เมื่อ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


     นับตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลที่ 9 เสด็จขึ้นครองราชย์ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489  ในพระราชหฤทัยมีแต่ความห่วงใยพสกนิกร  และนับแต่เสด็จนิวัติพระนครเมื่อปี พ.ศ. 2493 ก็ทรงงานเพื่อพสกนิกรมาโดยตลอด 70  ปี ที่ทรงงานพระองค์มีเป้าหมายประการเดียวคือ  การทำให้คนไทยทั้งประเทศอยู่ดีมีสุข  ทรงนำทัพต่อสู้กับความยากจนด้วยหลากหลายยุทธวิธี  โดยเน้นไปที่การสร้างความยั่งยืนให้กับประชาชน

     ในจำนวนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่มีอยู่ประมาณ 6,000 โครงการนั้น  2 ใน 3 เป็นโครงการที่เกี่ยวกับน้ำและดิน  โดยทรงเห็นความสำคัญของน้ำ เป็นอันดับแรก  ดังในพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 17  มีนาคม 2529 ความตอนหนึ่งว่า

     “…หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะปลูก เพราว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้…”

     หนึ่งในโครงการพระราชดำริ คือ อ่างเก็บน้ำห้วยตาจูอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ความจุ 22,278,000 ลูกบาศก์เมตร สร้างกั้นลำน้ำห้วยตาจูที่ไหลมาจากป่าต้นน้ำในเทือกเขาพนมดงรัก ตั้งอยู่ที่ตำบลกันทรอม อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ

     อ่างเก็บน้ำนี้สามารถส่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เพาะปลูกซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่น่าในตำบลกันทรอม ตำบลขุนหาญ ตำบลโนสูงและตำบลห้วยจันทร์ ได้ประมาณ 13,000 ไร่ในช่วงฤดูฝนและ ประมาณ 4,400-6,500 ในฤดูแล้ง  ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวจากเดิมที่ผลิตได้เฉลี่ย200-300 กิโลกรัมต่อไร่เป็น 500 กิโลกรัมต่อไร่  ส่วนนาปรังแต่เดิมไม่สามารถทำได้  แต่หลังจากโครงการฯแล้วเสร็จสามารถทำนาปรังได้ผลผลิตสูงถึงไร่ละ 800-1,000 กิโลกรัม

     จุดเด่นของโครงการฯ นี้ คือการบริหารจัดการน้ำของกลุ่มผู้ใช้น้ำที่ตกลงกับกรมชลประทาน ว่า จะบริหารจัดการกันเอง เพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่เพาะปลูกของพวกตน  และพร้อมที่จะรับผิดชอบหากผลผลิตอาจจะได้รับความเสียหายจากแนวทางของพวกตน เจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานทำหน้าที่เพียงปล่อยน้ำไปตามที่กลุ่มผู้ใช้น้ำแจ้งมา  ทำให้เกิดรูปแบบของ “น้ำตามสั่ง” คือจะใช้ก็สั่งให้ปล่อยมา

     และมีการปรับระบบการทำนามาใช้การหว่านแห้งที่เรียกกันว่า “นาสำรวย” ซึ่งสามารถประหยัดการใช้น้ำทำนาจากเดิม 1,600 ลูกบาศก์เมตรเหลือ 1,000 ลูกบาศก์เมตร  ทำให้มีน้ำเหลือมากพอที่จะกระจายให้กับพื้นที่นอกเขตชลประทานได้ด้วย

     ผลสำเร็จนี้ทำให้ “กลุ่มผู้ใช้น้ำห้วยตาจูอันเนื่องมาจากพระราชดำริ” เป็นต้นแบบของการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ใกล้เคียงหลายแห่ง เช่น อ่างเก็บน้ำหนองสิ อ่างเก็บน้ำห้วยตามาย  อ่างเก็บน้ำห้วยตึ๊กชู และอ่างเก็บน้ำห้วยศาลา

     จากบทบาทของกลุ่มผู้ใช้น้ำที่อ่างเก็บน้ำห้วยตาจูฯ  พิสูจน์ให้เห็นว่า  ประชาชนเข้าใจในพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างดีและได้ริเริ่มดำเนินตามรอยพระบาทในการบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ  สมดังที่ทรงมีพระราชประสงค์


     และอีกหนึ่งโครงการ คือ “โครงการเขื่อนลำนางรองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ”ตั้งอยู่ที่บ้านโนนดินแดง ตำบลโนนดินแดง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์  ความสำคัญของเขื่อนนี้ไม่ได้อยู่ที่การจัดสรรน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่ 68,410 ไร่เท่านั้น  แต่ยังแฝงความสำคัญทางยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศอยู่ด้วย

     เรื่องมีอยู่ว่าในปี 2520 นั้นพื้นที่อำเภอโนนดินแดงและอำเภอละหานทราย  กลุ่มผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ได้แสดงอิทธิพลขัดวางการพัฒนาทุกรูปแบบ  มีการขัดขวางการสร้างถนนเส้นทาง เชื่อมระหว่างอำเภอละหานทรายของจังหวัดบุรีรัมย์กับอำเภอตาพระยาของจังหวัดปราจีนบุรี(ปัจจุบันอยู่ในจังหวัดสระแก้ว) ที่มีระยะทาง 50 กิโลเมตร 

     จนทำให้ราษฎรและเจ้าหน้าที่ได้รับความสูญเสียมากมาย เพราะผู้ก่อการร้ายได้ใช้วิธีการวางทุ่นระเบิดและกับระเบิดดักเอาไว้  มีการต่อสู้ในพื้นที่อย่างรุนแรง  ราษฎรถูกกวาดต้อนไปนอกประเทศเพื่ออบรมลัทธิคอมมิวนิสต์  นอกจากนี้ยังมีการปล้นสะดมตามแนวชายแดนไทย-กัมพูชา  ความรุนแรงของสถานการณ์ทำให้ราษฎรต้องอพยพหลบภัยมาอยู่บ้านโนนดินแดง  ก่อให้เกิดความแออัด  อดอยากทุกข์ยากแสนสาหัส

     เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาทถึงเหตุการณ์ดังกล่าว  ในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2521  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นายมนัส  ปิติวงษ์ อธิบดีกรมชลประทานในขณะนั้นเข้าเฝ้าฯ และพระราชทานพระราชดำริให้พิจารณาจัดสร้างอ่างเก็บน้ำและฝายทดน้ำบริเวณต้นน้ำลำนางรอง

     ต่อมา วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ.2521 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้อธิบดีกรมชลประทานเข้าเฝ้าฯ และได้พระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการพัฒนาลุ่มน้ำลำนางรอง  โดยให้พิจารณาสร้างอ่างเก็บน้ำคลองมะนาวที่บ้านโนนดินแดงซึ่งแล้วเสร็จใน พ.ศ.2522  จากนั้นก็สร้างเขื่อนลำนางรองฯ ในพ.ศ.2522 จนแล้วเสร็จใน พ.ศ.2525

     ใน พ.ศ.2525 สร้างอ่างเก็บน้ำลำปะเทียแล้วเสร็จในพ.ศ.2527 ต่อมาได้สร้างระบบส่งน้ำอาคารประกอบ  ซึ่งใน พ.ศ.2529 กรมชลประทานได้อนุมัติตั้งเป็นโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำนางรอง สังกัดสำนักชลประทานที่ 8 เพื่อควบคุมการจัดสรรน้ำให้แก่เกษตรกรเพื่อใช้ในการเพาะปลูกและดูแลการบำรุงรักษาอาคารชลประทานให้สามารถใช้งานได้ดี  มีประสิทธิภาพตลอดเวลา  ในปีเดียวกันนี้ก็ได้สร้างอ่างเก็บน้ำลำจังหันฯจนแล้วเสร็จใน พ.ศ.2535

     จะเห็นได้ว่าพระราชดำริในการพัฒนาลุ่มน้ำลำนางรองนี้  นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อราษฎรในพื้นที่ซึ่งหนีร้อนมาพึ่งเย็นแล้ว  ยังเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในด้านการป้องกันภัยคุกคามจากกลุ่มผู้ก่อการร้ายไปพร้อมกันด้วย  เพราะเมื่อราษฎรมีที่อยู่ที่ทำกิน  เขาก็จะช่วยกันเป็นหูเป็นตาให้กับภาครัฐ  ช่วยกันป้องกันภัยที่คุกคามประเทศทั้งจากภายนอกและภายใน

     ปัจจุบันในพื้นที่ลุ่มน้ำลำนางรอง  เกษตรกรสามารถสร้างผลผลิตได้ตลอดทั้งปีในรูปแบบเกษตรครบวงจร  โดยช่วงฤดูฝนตั้งแต่ เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม  ทำนาได้ผลผลิตข้าวเฉลี่ยไร่ละ 50 ถัง  พอหมดฝนย่างเข้าฤดูหนาวระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนมีนาคมก็จะปลูกมะเขือเทศซึ่งให้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 6,700 กิโลกรัม  เข้าฤดูแล้งช่วง เมษายนถึงพฤษภาคมก็จะปลูกข้าวโพดฝักอ่อนที่ให้ผลผลิตเฉลี่ย 680 กิโลกรัมต่อไร่และแตงกวาเพื่อป้อนโรงงาน

     นอกจากประโยชน์การเกษตรและอุปโภคบริโภคแล้ว  “อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนลำนางรองฯ” ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวของประชาชนทั่วไปในฐานะของ “ทะเลสาบแห่งอีสานใต้”ด้วย

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริ แก่ พล.ท.พิศิษฐ์  เหมบุตร แม่ทัพภาคที่ 2 ในขณะนั้น พร้อมคณะทำงานพัฒนาเสริมพื้นที่ชายแดนอีสานตอนบนและตอนล่าง เมื่อ 29 พฤศจิกายน พ.ศ.2529 ณ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยเดียกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร  สรุปใจความได้ว่า  จะต้องทำการพัฒนาให้เข้าใกล้ชายแดนให้มากขึ้น  จะต้องเข้าไปถึงในที่ที่จะทำให้สามารถสร้างหมู่บ้านตามชายแดนซึ่งจะเป็นส่วนรักษาความปลอดภัยของประเทศให้ได้มากขึ้น 

     ตามแผนที่นั้นมีแห่งหนึ่งที่เป็นช่องเห็นได้ชัด คือ ช่องบก ในเขตอำเภอน้ำยืน  ในบริเวณนี้มีห้วย 2 ห้วยมาบรรจบกัน สามารถสร้างเขื่อนกั้นอ่างเก็บน้ำสูงประมาณ 10 เมตร  ถ้าทำระบบให้ดีก็สามารถเลี้ยงพื้นที่ได้ถึง 10,000 ไร่

  นี่คือ จุดเริ่มต้นของ “อ่างเก็บน้ำห้วยพลาญเสือ ทั้งตอนบนและตอนล่าง”  เป็นเหตุผลที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อราษฎรในพื้นที่และความมั่นคงของประเทศชาติ  เพราะช่องบกซึ่งอยู่ในรอยต่อ 3   

      การสร้างอ่างเก็บน้ำดักเอาไว้จะทำให้การเคลื่อนพลทำไม่ได้  โดยเฉพาะรถถังเบิกทาง

     นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่สอดประสานยุทธวิธีป้องกันประเทศ เข้ากับแนวพระราชดำริต่อสู้ความยากจน เพื่อความผาสุกของราษฎร  เป็นการแสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงนำหลักการประสานประโยชน์สูงสุดมาใช้ในการทรงงานเพื่อพัฒนาประเทศไทยได้อย่างยอดเยี่ยม.



……………………………………………………..

ที่มา : บางส่วนจากบทความแนวพระราชดำริสู้สงครามความยากจน ในสยามรัฐ

และ ขอขอบคุณ ภาพจากอินเตอร์เนต เว็บไซต์ต่างๆ และทางเฟซบุ๊ค ที่ไม่อาจกล่าวนามได้ทั้งหมด
(Cr.ภาพจาก คุณนภันต์ เสวิกุล)



อ่านที่
http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2017/06/blog-post.html

http://thaipublica.org/2015/09/jaran-8-9-2558/

#อย่าตระบัดสัตย์ต่อแผ่นดินพระราชา?
นายกฯ ระบุ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในหลวงรัชกาลใหม่ เป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญ คาดว่าจะจัดขึ้นในช่วงปลายปี 2560 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่นายกฯ กล่าวถึงช่วงเวลาอันสำคัญทางประวัติศาสตร์
นายกฯ ระบุ พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในหลวงรัชกาลใหม่ เป็นหนึ่งสิ่งที่สำคัญ คาดว่าจะจัดขึ้นในช่วงปลายปี 2560 ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่นายกฯ กล่าวถึงช่วงเวลาอันสำคัญทางประวัติศาสตร์
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวในรายการ "ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย วันนี้ (14 เม.ย.) ในตอนหนึ่งว่า สิ่งที่สำคัญประการหนึ่งคือ การเตรียมดำเนินการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในหลวงรัชกาลที่ 9 และพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ในหลวงรัชกาลที่ 10 ให้สมพระเกียรติในช่วงปลายปีนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ถ้อยแถลงดังกล่าวของนายกฯ ถือได้ว่ามีความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับงานพระราชพิธีที่สำคัญของประเทศ หลังจากที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธาน สนช. กราบบังคมทูลเชิญสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร องค์พระรัชทายาท เสด็จฯ ขึ้นทรงราชย์ เป็นพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 ตามกฎมณเฑียรบาล ว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ.2467 และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
http://www.bbc.com/thai/thailand-39600546
#ใครตระบัดสัตย์ขอให้มีอันเป็นไป
“ข้าพระพุทธเจ้าจะซื่อตรงจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ทุกพระองค์ ในพระบรมราชจักรีวงศ์จนกว่าชีวิตจะหาไม่ข้าพระพุทธเจ้า จะปฏิบัติหน้าที่พลเมือง เคารพกฎหมาย รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อการพัฒนาประเทศ อย่างสมดุลและยั่งยืน
ทั้งจะร่วมกันปฏิรูปประเทศและสนับสนุน ให้มีรัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยอันนี้พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ปกครองประเทศ ด้วยหลักนิติธรรม และธรรมาภิบาล เพื่อประโยชน์สุข แห่งประชาชนชาวไทย ข้าพระพุทธเจ้า จะเป็นคนดี มีคุณธรรม ร่วมกันนำพาประเทศชาติ ไปสู่อนาคตที่ยั่งยืน สงบสุข สันติสุข จะรู้รักสามัคคี เพื่อชาติศาสน์กษัตริย์ และประชาชนตลอดไป
ข้าพระพุทธเจ้า ขอปวารณาตัวว่า จะพัฒนาตนเอง เพิ่มการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อเป็นพลังที่ยั่งยืน ในการพัฒนาประเทศต่อไป ข้าพระพุทธเจ้า ขอถวายสัจวาจาว่าจะประพฤติปฏิบัติ ตามรอยพระยุคลบาท และศาสตร์ของพระราชาผู้ทรงธรรม น้อมนำพระราชดำรัส ดำเนินตามพระราชกรณียกิจและเชิญพระราชคุณธรรมจรรยา มาเป็นแนวทางการดำรงชีวิต ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยความเพียรอันบริสุทธิ์ เพื่อสืบสานพระบรมราชปณิธาน เพื่อความสุขความเจริญ ของปวงข้าพระพุทธเจ้า และเพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ของราชอาณาจักรไทยสืบไปด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ”



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง