ประวัติศาสตร์ การเมืองของผู้ห่มเหลือง ?


พม่าถวายสมณศักดิ์สูงสุด
"อัครมหาบัณฑิต"

แด่สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง

เชิดชูเกียรติในฐานะผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทวัดทรายมูล



ซ้าย สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ ปกครองคณะสงฆ์ภาค จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน

ขวา  : สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะใหญ่หนกลาง ปกครองคณะสงฆ์ในภาคกลางของประเทศไทย มีกรุงเทพมหานคร เป็นต้น




อ๋า ! ถ้าเช่นนั้นมันก็เป็น "สมณศักดิ์การเมือง" นะซีฮะ เพราะว่าวัดทรายมูลนั้นอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงใหม่อยู่ในคณะสงฆ์ภาค มีพระวิสุทธิวงศาจารย์ วัดปากน้ำ เป็นเจ้าคณะภาค และภาค 7 ก็อยู่ในหนเหนือ มีสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ เป็นเจ้าคณะใหญ่ ส่วนสมเด็จพระพุทธชินวงศ์นั้นปกครองคณะสงฆ์หนกลาง มิได้มีอำนาจในเขตจังหวัดเชียงใหม่อะไรเลย การให้สมณศักดิ์แก่สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ โดยยกเอาการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทว่าด้วยตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดทรายมูลเมืองเชียงใหม่มาเป็นผลงานครั้งนี้จึงมองได้ 3 นัย ได้แก่

1. เป็นสมณศักดิ์ทางการเมือง เพราะเป็นเรื่องของการเมืองพม่าที่เข้ามาล้วงลูกการเมืองในประเทศไทย ผ่านทั้งรัฐบาลและคณะสงฆ์

2. เป็นผลงานการล้วงลูก เพราะเป็นการทำงานข้ามเขตหรือล้ำเส้นของสมเด็จพระพุทธชินวงศ์


3. เป็นการให้บทเรียนแก่ทางวัดปากน้ำว่า "อย่าล้ำเส้น" เพราะวัดปากน้ำนั้นอยู่เบื้องหลังการจัดกิจกรรม "ปิดถนนเดินธุดงค์" ของวัดพระธรรมกาย และทำกันในเขตปกครองเจ้าคณะใหญ่หนกลาง อันถือได้ว่าเป็นการทำงานล้ำเส้นเช่นกัน


สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ได้รับปริญญาใบนี้มา ก็เท่ากับ "สอนมวย" หรือ "ฉีกหน้า" พระวัดปากน้ำทั้งวัด ว่าบริหารห่วยจัด ปล่อยให้เจ้าคณะอื่นเขาเข้าไปทำงานในพื้นที่และชิงเอาไปสร้างเป็นผลงานระดับประเทศได้ แหมอายจัง


แต่ตรงนี้ก็อาจจะเป็นการ "เอาคืน" ของคณะสงฆ์หนกลางก็ได้ เพราะสมเด็จวัดปากน้ำเป็นเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ แต่เป็นแบ๊กกราวน์ให้ธัมมชโยนำกำลังมา "ปิดถนนเดินธุดงค์" ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อันเป็นเขตอิทธิพลของเจ้าคณะใหญ่หนกลาง โดยอ้างว่า "รัฐบาลเห็นชอบด้วย" ผลงานการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทวัดทรายมูลครั้งนี้ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ก็อ้างได้เช่นกันว่า "รัฐบาลไทยเห็นชอบ"

ว่าแต่รัฐบาลเห็นชอบน่ะเห็นแน่ แต่สมเด็จวัดปากน้ำอาจจะ "ไม่ชอบ" ก็เป็นได้ อิอิ !








'เต็ง เส่ง' ถวายสมณศักดิ์ 'กรรมการ มส.'

รัฐบาลพม่าถวายสมณศักดิ์  'อัครมหาบัณฑิตแก่ 'สมเด็จพระพุทธชินวงศ์กรรมการ มส. พระผู้ไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทวัดทรายมูลคณะสงฆ์ไทย-พม่า

เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 2556 นายสมหมาย สุภาษิต รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารสำนักสงเสริมพระพุทธศาสนาและบริการสังคม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆนี้ นาย อู ติ่นวิน เอกอัครราชทูตสหภาพเมียนมาร์ ประจำประเทศไทยได้มีหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการถึงการถวายสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม กรรมการมหาเถรสมาคม ในฐานะรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส จ.นครปฐม ว่า พล.อ.เต็ง เส่ง ประธานาธิบดีแห่งสหภาพเมียนมาร์ ได้ถวายสมณศักดิ์อัครมหาบัณฑิตตามประกาศของทำเนียบประธานาธิบดี เลขที่ 1/2013 ซึ่งสมณศักดิ์อันทรงเกียรตินี้ เหมาะสมอย่างยิ่งกับสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เนื่องด้วยผลงานที่โดดเด่นทางด้านการอนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแผ่พระพุทธศาสนา รวมทั้งด้านปริยัติ ปฏิบัติ

นายสมหมาย กล่าวต่อไปว่า ทางสหภาพเมียนมาร์ยังเห็นว่า สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ยังมีอุทิศตนในการจัดทำปริวรรตคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามานานหลายปีติดต่อกัน ซึ่งเป็นความพยายามอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย และไม่หยุดนิ่ง ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อความสัมพันธ์ทางพระพุทธศาสนาระหว่างไทยพม่าในอนาคต โดยเฉพาะได้กระตุ้นและส่งเสริมความสัมพันธ์และธำรงไว้ซึ่งประเพณีโบราณในความร่วมมือทางพุทธศาสนาระหว่าง ประเทศ และยังเป็นประโยชน์ต่อการกระชับความสัมพันธ์อันเปี่ยมไปด้วยไมตรีจิตของทั้ง ประเทศ ให้แข็งแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วย โดยทางรัฐบาลสหภาพเมียนมาร์กำหนดพิธีถวายสมณศักดิ์ดังกล่าวในช่วงปลายเดือนมีนาคม 2556

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์จะเดินทางไปรับการถวายสมณศักดิ์ ณ กรุงเนปิดอ เมืองหลวงใหม่ของสหภาพเมียนมาร์ ซึ่งการถวายสมณสักดิ์แด่เจ้าประคุณสมเด็จในครั้งนี้ ถือเป็นวาระที่สำคัญ เนื่องจากในปีนี้ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ มีอายุครบ 6รอบ 72 ปี ในวันที่ กุมภาพันธ์ 2556 “ นายสมหมายกล่าว

สำหรับประวัติสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ มีนามเดิมว่า สมศักดิ์ ฉายา อุปสโม นามสกุลชูมาลัยวงศ์ เกิดวันที่ ก.พ. 2484 ณ ต.ปากจั่น อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา บรรพชาอุปสมบทเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ณ วัดละมุด จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อ เม.ย. 2504 ได้ศึกษาพระปริยัติธรรมเมื่ออุปสมบทอายุ 20 ปี ด้วยความสามารถพิเศษ กระทั่งสอบได้เปรียญธรรม 9ประโยค เมื่อ พ.ศ. 2515 หรือเพียง 11 ปี นับแต่อุปสมบท เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ได้ใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมโดยไปเรียนต่อระดับปริญญาโทและปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย สอบได้ Ph.D. เมื่อกลับไทยได้สร้างผลงานมากมาย ล้วนแต่เป็นการพัฒนาการศึกษาด้านปริยัติธรรมที่ยั่งยืน เช่น ตั้งสถาบันพุทธโฆส วิทยาเขตแห่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อสอนบาลีใหญ่ หรือมูลกัจจายน์ ระดับปริญญาตรี เป็นการฟื้นฟูการเรียนมูลกัจจายน์ที่เลือนหายไปจากประเทศไทยให้กลับมามีบทบาทอีกครั้ง

ส่วนผลงานที่รัฐบาลและคณะสงฆ์สหภาพเมียนมาร์ประทับใจเป็นอย่างยิ่ง นอกจากเป็นผู้มีความผูกพันกับสำนักมหาสี สยาดอว์ สำนักวิปัสสนาชื่อดังแห่งกรุงย่างกุ้ง สหภาพเมียนมาร์แล้ว ท่านยังช่วยแก้ปัญหาการตั้งเจ้าอาวาสวัดทรายมูล อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ทำให้คณะสงฆ์และรัฐบาลสหภาพเมียนมาร์พอใจ

วัดทรายมูลเป็นวัดไทยแต่พระสงฆ์พม่าอยู่จำพรรษาหลายรูปโดยมีพระพม่าเป็นเจ้าอาวาส เมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพ คณะสงฆ์ผู้ปกครองตั้งพระไทยรักษาการเจ้าอาวาส แต่ชาวพม่าประท้วงเป็นเรื่องเป็นราว จึงต้องระงับการแต่งตั้ง รัฐบาลตั้งแต่เอกอัครราชทูตพม่าประจำประเทศไทย ถึงนายกรัฐมนตรี พล.อ. เต็งเส่ง เคยหยิบยกเรื่องนี้หารือกับนายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และขอความช่วยเหลือจากสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ จึงสั่งการให้พระเทพมังคลาจารย์ (สมาน) รองเจ้าคณะจังหวัดเชียงใหม่ไปแก้ไข เรื่องทุกอย่างจึงเรียบร้อยถูกใจชาวพม่า จึงส่งผลให้ทางสหภาพเมียนมาร์ ถวายสมณศักดิ์อันทรงเกียรตินี้แก่สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ กรรมการมหาเถรสมาคมครั้งนี้



ข่าว : คมชัดลึก30 มกราคม 2556

มจร.เปิดโครงการธรรมยาตรา







มายเหตุอะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ

หนังสือพิมพ์ตั้งคำถาม “ตามรอยธุดงค์ธรรมชัย” หรือไม่ ?


ตอบว่า “ไม่หรอกฮะ” เพราะว่าคนละเส้นทาง งานนี้ไม่มีการขนทองคำไปวัดปากน้ำ ไม่มีการหว่านโฆษณาหน้ามืดไปทั่วโลก ไม่มีการปิดถนน-ปูพรม-โรยดอกไม้รองตีน และไม่มีการไปแจ้งให้กินเนสบุ๊คมาบันทึกสถิติแน่นอน เพราะถ้าทำพระพรหมบัณฑิตก็เสียความเป็นบัณฑิตแน่ๆ

แต่ที่น่าชื่นใจก็คือว่า แม้ว่าจะ “คล้าย” ธุดงค์ธรรมชัย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเหมือนไม่ได้ เพราะในความเป็นจริง ในพระพุทธศาสนาไม่มีการสงวนลิขสิทธิ์ พระธรรมคำสอนนั้นเป็นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิใช่ของพระธัมมชโย ธัมมชโยเสียอีกสิที่เอาทุกอย่างของคณะสงฆ์ไทยไปทำเป็นแบรนด์เนมของตัวเองขึ้นมา

และวันนี้ก็ต้องยกมือนิ้วโป้งให้แก่ พระพรหมบัณฑิต ที่คิดเองทำเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาวัดพระธรรมกาย ต่างจากพระธรรมปิฎก วัดพระพุทธบาทสระบุรี ซึ่งก็มีอำนาจวาสนาระดับเดียวกัน ขาดอย่างเดียวก็คือ “ไม่มีหัว” ต้องเดินตามก้นทัตตชีโวต้อยๆ

เริ่มโครงการทีหลัง แม้ว่าจะช้าไป แต่ก็ไม่สาย ดูอย่างโทรศัพท์ยี่ห้อ “ซัมซุง” ของเกาหลีสิ เมื่อก่อนก็ว่าเป็นสินค้าลอกเลียน แต่เดี๋ยวนี้พัฒนาจนสูสีกับแอ็ปเปิ้ล รถยนต์โตโยต้าก็พัฒนาจนล้ำหน้ากว่ารถอเมริกัน มันไม่แน่ ขอเพียงให้มีความคิดสร้างสรรค์และพัฒนาไม่หยุดยั้งเท่านั้น

โครงการธรรมยาตราของมหาจุฬาฯในครั้งนี้ ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดี ในปีต่อๆ ไป ก็อาจจะขยายโครงการออกไปให้ครอบคลุม77 จังหวัดทั่วประเทศไทย เพราะ มจร. มีสาขาอยู่ทั่วประเทศ พอขยายจนจดดินแดนไทยได้ทั้งหมดแล้ว ก็ต่อยอดเป็นโครงการธรรมยาตราอินเตอร์ นิมนต์คณะสงฆ์จากประเทศจีน อินเดีย ลาว เขมร และเวียตนาม มาปรึกษาลงปฏิญญา สร้างเส้นทางธรรมยาตรา 8 ทิศ วางยุทธศาสตร์ตั้งแต่หัวเมืองเชียงรุ้งในรัฐสิบสองปันนาของจีน ผ่านหลวงน้ำทาลงมาถึงเมืองหลวงพระบางของลาว ต่อเข้าเวียงจันทน์ จากนั้นก็ธุดงค์ข้ามโขงมาที่หนองคาย เป้าหมายต่อมาก็คือขอนแก่น แล้วลงมาพักพลที่วัดบ้านไร่ของหลวงพ่อคูณ จากนั้นก็ทำการจุกปากช่องให้เต็มไปด้วยผ้าเหลือง ก่อนจะเข้าเส้นชัยที่ มจร. วังน้อย

อีกเส้นหนึ่งก็คือ เชียงตุงของพม่าเดินมาถึงท่าขี้เหล็ก ข้ามน้ำกกมาแม่สาย เข้าไปพักพลที่วัดพระแก้วเมืองเชียงราย เสร็จแล้วก็แบ่งกำลังออกมาทางอำเภอแม่จัน แม่อาย ฝาง เข้าเชียงใหม่ หรือไม่ก็ลงมาทางแม่สรวย เวียงป่าเป้า เข้าดอยสะเก็ด ไหว้พระบรมธาตุดอยสุเทพฯของเชียงใหม่ สิ้นสุดจุดนี้ที่วัดสวนดอก

ส่วนเส้นทางทิศตะวันตกนั้น ก็เริ่มเปิดเจรจากับประเทศพม่า ซึ่งมีครูบาแสงหล้า (เจ้าคุณพระรัตนรังษี) เป็นผู้มีบารมีอยู่ทางฝั่งโน้น ทางฝั่งไทยเราก็มีผู้มีบารมีในพม่ามากมาย เปิดธรรมยาตราสายย่างกุ้ง-กรุงเทพฯ และเปิดรับสมัครทั้งพระเณรที่เป็นนิสิต มจร. และทั่วไป วางเส้นทางจากย่างกุ้งผ่านด่านพระเจดีย์สามองค์เข้ามาทางเมืองกาญจน์และวังน้อยอยุธยาเป็นสถานีสุดท้าย (เส้นทางนี้ต่อไปต้องขายให้ถึงพุทธคยาของอินเดียตามเส้นทางที่พระโลกนาถเคยเดิน)

สายตะวันออกนั้นก็นัดพบกันที่กรุงพนมเปญ ยกกำลังไปปักกรดล้อมนครวัดให้ลั่นโลก จากนั้นก็ออกเดินมาทางพระตะบอง ศรีโสภณ ข้ามด่านที่ปอยเปต ตัดเข้าปราจีนบุรี อีกไม่กี่วันก็ถึงกรุงเทพมหานคร

สายใต้นั้นก็วางจุดเริ่มต้นไว้ที่วัดบางแซะรัฐกลันตันของหลวงพ่อครนซึ่งเคยเป็นอธิบดีสงฆ์ในประเทศมาเลเซีย เดินขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงกรุงเทพฯ

นี่ว่าคร่าวๆ เพราะถ้าเอาจริงก็ต้องตั้งกรรมการศึกษาแผนงานกันทุกระยะ แต่เชื่อว่า ถ้า มจร. ใช้สัมพันธไมตรีที่มีอยู่กับประเทศเพื่อนบ้าน แล้วเสนองานผ่านมหาเถรสมาคมและรัฐบาลไทย ก็เชื่อแน่ว่าจะเป็นโครงการธรรมยาตราในประวัติศาสตร์ของหลายชนชาติในเอเชีย และเมื่อนั้น เส้นทางสายไหมก็จะกลายเป็นเส้นหมี่ไปทันที เพราะเส้นทางธรรมยาตราจะยิ่งใหญ่กว่า

จึงขอประกาศสนับสนุนโครงการธรรมยาตรารุ่นแรกของ มจร. โดยวัดไทยลาสเวกัส ขอบริจาคร่วมในโครงการนี้เป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท เป็นเบื้องแรก และวัดไทยในสหรัฐอเมริกา พระธรรมทูต และพุทธศาสนิกชนท่านใดมีจิตศรัทธาจะร่วมทำบุญด้วย ก็ขอนิมนต์-เรียนเชิญ ติดต่อมาได้ ที่วัดไทยลาสเวกัส


อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม
วัดไทยลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา
30 มกราคม 2556









ธรรมยาตรา 'มจร' ตามรอยธุดงค์ธรรมชัย ? :
 
สำราญ สมพงษ์รายงาน


เสร็จสิ้นลงแล้ว สำหรับโครงการธุดงค์ธรรมชัย เส้นทางมหาปูชนียาจารย์ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ปีที่ ของวัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี ระยะทางกว่า 446 กิโลเมตร 26 วัน โดยมีพระธุดงค์ร่วมกิจกรรม 1,128 รูป สร้างความปลาบปลื้มให้กับบรรดาลูกศิษย์ทั้งระดับรัฐมนตรี ส.ส.และประชาชนทั่วไป

อย่างเช่นนายอำนาจ บัวศิริ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้เปิดเผยว่า เป็นภาพที่ประทับใจ ที่ทำให้ทุกคนปลาปลื้มปีติ ในฐานะที่เป็นสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติก็ยินดีให้การต้อนรับและสนับสนุนเป็นอย่างมาก และอยากจะเห็นภาพดีๆแบบนี้ ความร่วมไม้ร่วมมือของชาวพุทธ

ถึงกระนั้นก็มีเสียงท้วงติงบ้างโดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงผ่านพื้นที่ใจกลางกรุงเทพมหานครทำให้การจราจรติดขัด อย่างเช่นหลวงปู่พุทธะอิสระ เจ้าอาวาสวัดอ้อน้อย (ธรรมอิสระ) ต.ห้วยขวาง อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เห็นว่า การออกมาเดินธุดงค์นั้นหากพิจารณาตามหลักพุทธศาสนามีหลักคิดอยู่ อย่างคือ 1.เป็นที่พึ่งตนเองได้ และเป็นที่พึ่งของคนอื่นได้ ซึ่งเป็นวิธีคิดของหลักพุทธศาสนาในสายโพธิ์สัตว์ และ 2.วิธีคิดของหลักพุทธศาสนาในสายหินยานหรือเถรวาท ซึ่งเป็นสายที่มีอยู่ในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลก ซึ่งมีวิธีคิดว่าไม่เบียดเบียนตนและไม่ทำให้ผู้อื่นอื่นเดือดร้อน

"การจะทำกิจกรรมอะไรก็ตามหากทำแล้วเบียดเบียนตนทำให้คนอื่นเดือดร้อนก็ถือว่าผิดหลักพุทธศาสนา เมื่อการกระทำผิดหลักพุทธศาสนา พุทธศาสนิกชนต้องต่อต้าน ซึ่งประชาชนทั่วไปทุกศาสนาทำได้คือการบีบแตรรถไล่" หลวงปู่พุทธะอิสระ กล่าว
อย่างไรก็ตาม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ความหมายของธุดงค์ไว้ด คือ องค์คุณเครื่องสลัดหรือกำจัดกิเลส ข้อปฏิบัติประเภทวัตรที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เพื่อเป็นอุบายขัดเกลากิเลส ช่วยส่งเสริมความมักน้อยและสันโดษเป็นต้นมี 13 วิธีด้วยกันคือ 1.การถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร 2.การถือผ้าไตรจีวรเป็นวัตร3.การถือบิณฑบาตเป็นวัตร 4. ถือการบิณฑบาตตามลำดับบ้านเป็นวัตร 5.ถือการฉันในอาสนะเดียวเป็นวัตร 6.ถือการฉันในบาตรเป็นวัตร 7.ถือการห้ามภัตที่ถวายภายหลังเป็นวัตร 8.ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร 9. ถือการอยู่โคนไม้เป็นวัตร 10. ถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตร 11. ถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร 12. ถือการอยู่ในเสนาสนะที่เขาจัดไว้ให้เป็นวัตร 13. ถือการนั่งเป็นวัตร
หากพิจารณาตามโครงการธุดงค์ธรรมชัยแล้วก็คงเข้าได้เฉพาะในข้อถือการอยู่กลางแจ้งเป็นวัตรเท่านั้น และหากไม่ใช้สติกำหนดการเดินอย่างเช่นการเดินจงกรมก็ไม่ต่างอะไรกับการเดินแฟชั่น

ขณะเดียวกันในสังคมไทยก็จะจัดกรรมการเดินอีกประเภทหนึ่งนั้น คือ การเดินการกุศลมีเป้าหมายเพื่อเชิดชูสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือเดินเพื่อสุขภาพ ตามความหมายนี้คงเป็นกิจกรรมที่ชาวบ้านทั่วไปเดิน แต่ถ้าหากมีพระเข้าไปร่วมด้วยก็จะใช้คำว่า "ธรรมยาตรา" อย่างเช่น ธรรมยาตราเขาพระวิหารเป็นต้น หรือเช่นการจัดธรรมยาตรามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร) ภายใต้การดำเนินการของดร.สุรพล สุยะพรหม รองอธิการบดีฝ่ายกิจการทั่วไป และนายกสมาคมสมาคมศิษย์เก่า มจร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาสืบเนื่องปีพุทธชยันตี 2600 ปี และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ภายใน มจร ต.ลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ตั้งแต่เวลา08.30น.เป็นต้นไปของวันศุกร์ที่ กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 นี้ โดยตั้งเป้ามีพระภิกษุสงฆ์และพุทธศาสนิกชนจำนวน 2500 รูป/คนเข้าร่วม

กิจกรรมธรรมยาตรา มจร ดังกล่าวเริ่มจากการเดินภายในพื้นที่ มจร ไปยังโบสถ์กลางน้ำที่สร้างโดยการสนับสนุนของพระธรรมโกศาจารย์ หรือหลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ อดีตเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์ จ.นนทุบรี เจริญพระพุทธมนต์ เจริญจิตภาวนา ภวายภัตตาหาเพลแก่พระภิกษุสงฆ์ 1,250 รูป และรับฟังปาฐกถาพิเศษเรื่องธรรมยาตราโดยพระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร เป็นเสร็จพิธี

อย่างไรก็ตามฝ่ายวิชาการสมาคมสมาคมศิษย์เก่า มจร ได้เสนอบทความเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมธรรมยาตราครั้งนี้ความว่า พุทธบูชาแห่งธรรมยาตรามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย "ทุกย่างก้าวในกิจกรรมวันนี้ เราจะเดินด้วยความสงบ มีสติ เพื่อสันติสุขและเพื่อระลึกถึงพุทธานุภาพของพระพุทธศาสนา น้อมถวายความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และแสดงออกซึ่งความกตัญญูต่อมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นแหล่งให้ความรู้เกื้อกูลบ่มเพาะชีวิตให้มีความสุข สันติ ด้วยการเจริญบทพุทธคุณ อิติปิโสภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธภะคะวา...สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม...สุปฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ....โลกัสสาติ"

นี้คือส่วนหนึ่งของเสียงการภาวนาของขบวนพุทธบูชาธรรมยาตรามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งจะจัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 1กุมภาพันธ์ 2556 ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อรำลึกนึกถึงความต่อเนื่องของการจัดงานเฉลิมฉลองปีพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า กอปร์กับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ย้ายที่ทำการของมหาวิทยาลัยจากวัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร มาตั้งสถานที่แห่งใหม่คือที่บริเวณกิโลเมตรที่ 55 ถนนพหลโยธิน เลขที่ 79 หมู่ที่ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับตั้งแต่วันที่ ตุลาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ปีการศึกษาแล้ว โดยสถานที่ทำการแห่งใหม่นี้ได้มีการจัดซื้อที่ดินและจัดให้มีสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เพิ่มขึ้นตลอดมาและในอนาคตอันใกล้นี้ ความสำคัญของสถานที่ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ให้แก่คนไทยเท่านั้น แต่ยังจะเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของโลกอีกด้วย

ในพระไตรปิฎกไม่มีการกล่าวถึงคำว่า "ธรรมยาตรา" คำที่ใกล้เคียงและมีการใช้กันค่อนข้างแพร่หลายในสังคมไทย คือ จาริก หมายถึง เที่ยวไป เดินทางเพื่อศาสนกิจ โดยมีข้อความซึ่งมีความหมายที่ใกล้เคียงที่สุด อาจจะเป็นตอนหนึ่งในปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า คือ

"...ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก เพื่อความสุขแก่ชนหมู่มาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้ไปด้วยกัน รูป โดยทางเดียวกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงแสดงธรรม งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง..."

หลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็มีการเดินทางของเหล่าสาวกเพื่อรำลึกถึงพระพุทธเจ้าไปยังสถานที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธองค์ โดยมีข้อความในพระไตรปิฎก มหาปรินิพพานสูตร เกี่ยวกับข้อปฏิบัติหลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพานไปแล้วว่า ให้ไปเยือนยังสังเวชนียสถาน ๔ แห่งที่พระพุทธองค์ประสูติ ตรัสรู้ แสดงปฐมเทศนา และปรินิพพาน
คำว่า "ธรรมยาตรา" ปรากฏชัดเจนในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชที่ทรงครองราชย์ระหว่าง พุทธศักราช 270-311 ดังปรากฏในศิลาจารึกฉบับที่ ซึ่งพระเจ้าอโศกให้เขียนสลักจารึกไว้ในที่ต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักรเพื่อสื่อพระราชกรณียกิจตามพระธรรมวิชัยในช่วงที่ครองราชย์ ความว่า

"...สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปริยทรรศี ผู้เป็นที่รักแห่งทวยเทพ เมื่ออภิเษกได้แล้ว 10 พรรษา ได้เสด็จไปสู่สัมโพธิ(พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า) จากเหตุการณ์ครั้งนั้นจึงเกิดมีธรรมยาตรา (การท่องเที่ยวโดยทางธรรม) นี้ขึ้น ในการ ธรรมยาตรา นั้นย่อมมีกิจดังต่อไปนี้ คือ การเยี่ยมเยียนสมณะพราหมณ์และการถวายทานแด่ท่านเหล่านั้น การเยี่ยมเยียนท่านผู้เฒ่าผู้สูงอายุ และการพระราชทานเงินทองเพื่อ(ช่วยเหลือ)ท่านเหล่านั้น การเยี่ยมเยียนราษฎรในชนบท การสั่งสอนธรรมและซักถามปัญหาแก่กัน.."

"ธรรมยาตรา" เป็นคำที่มาจากการนำคำว่า "ธรรม" และ "ยาตรา" มาประกอบกัน ในประเทศไทยมีผู้สรุปความหมายของธรรมยาตราที่มีการตีความแตกต่างกันในสังคมไทยว่า มี ประเภท คือ 1) การเดินทางไปยังสถานที่ที่มีความเกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 6) การเดินทางด้วยการนำสิ่งเคารพในพระพุทธศาสนาไปด้วยรูแบบขบวน 3) การเดินทางเพื่อทำบุญต่าง ๆ มีการให้ทาน เป็นต้น 4) การเดินทางที่ต้องเรียนรู้ แบ่งปันประสบการณ์ โดยเอาแง่มุมทางพระพุทธศาสนากับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและวิถีชุมชนด้วยสันติวิธีและปัญญา 5) การเดินโดยมีธรรมะเป็นแกนกลางในการขับเคลื่อน 6) การเดินไปเพื่อประท้วงปัญหาที่เกิดขึ้นแก่สังคมและมนุษย์ โดยมีจุดร่วมกันอยู่ที่เป็นการเดินเป็นขบวนและมีพระสงฆ์หรือสัญลักษณ์ทางศาสนาร่วมอยู่ในขบวน

การใช้คำว่า ธรรมยาตรา ในลักษณะที่เป็นการเดินขบวนด้วยเท้าในระยะทางไกลโดยใช้วิถีปฏิบัติทางศาสนาเพื่อการเคลื่อนไหวทางสังคม (social movement)เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในประเทศกัมพูชา ในปีพุทธศักราช 2535 ใช้ชื่อว่า Dhammayietraมีความหมายว่า การจาริกของความจริง (pilgrimage of truth)” โดยการนำของสมเด็จพระมหาโฆษนันทะและการสนับสนุนจากองค์การสหประชาชาติ มีจุดมุ่งหมายที่จะนำสันติภาพและสมานฉันท์คืนสู่กัมพูชาซึ่งบอบช้ำจากภัยสงครามมาเป็นเวลานาน ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติแบบหนึ่งในพุทธศาสนาที่เรียกว่า "พุทธศาสนาเพื่อสังคม(Engaged Buddhism)" เนื่องจากได้ผสานการปฏิบัติทางศาสนาคือการเจริญสติด้วยการเดินซึ่งเป็นหนึ่งในมหาสติปัฏฐานสูตรเข้ากับปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคมไปในทางที่ดีขึ้น

ธรรมยาตราในกัมพูชาเป็นการนำเอาความคิดเรื่องพุทธศาสนาเพื่อสังคมมาใช้และนำการปฏิบัติที่ทั้งพระภิกษุและฆราวาสสามารถปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน เช่น เรื่องความเป็นกลางและสันติวิธี ธรรมยาตราไม่เพียงแต่การนำวิธีการเดินอย่างมีสติเข้ากับประเด็นทางสังคมเท่านั้น สำหรับชาวกัมพูชาแล้ว การสนับสนุนการเดินขบวนของพระสงฆ์อย่างสงบถือเป็นการทำบุญที่จะช่วยให้สงครามสงบได้โดยเร็ว ส่วนผู้ที่ยังขมขื่น เศร้าโศกจากหายนะที่เกิดขึ้น การให้คำแนะนำของสมเด็จพระมหาโฆษนันทะเรื่องความเมตตากรุณาก็จะช่วยฟื้นฟูจิตใจของพวกเขาให้กลับมาเหมือนเดิมได้ผ่านการกระทำอย่างมีสติ

การเดินธรรมยาตราครั้งสำคัญที่เป็นปฏิบัติการทางสังคมซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากธรรมยาตราในประเทศกัมพูชาเกิดขึ้นครั้งแรกเกิดขึ้นครั้งแรกปีพุทธศักราช 2539 และจัดต่อเนื่องมาทุกปีจนถึงปี 2547 คือ ธรรมยาตราเพื่อทะเลสาบสงขลา ริเริ่มโดยพระนวกะกลุ่มเสขิยธรรมซึ่งได้มาเรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาของทะเลสาบสงขลาและเห็นว่าควรจะช่วยเหลือ นอกจากนี้ ก็ได้มีขบวนธรรมยาตราเกิดขึ้นในประเทศไทยในหลากหลายพื้นที่และประเด็น เช่น ธรรมยาตราสู่ชุมชนแห่งขุนเขาโดยเสมสิกขาลัย ในปี2540 ธรรมยาตราเดินเท้าต้านไฟป่าในปี 2540 ณ จังหวัดลพบุรี ธรรมยาตราแม่น้ำมูล ในปี 2542 ธรรมยาตราลุ่มน้ำปะทาวในปี 2543 ธรรมยาตรารักษาแม่น้ำโขงในปี 2546 ธรรมโฆษณ์ธรรมยาตราในวาระ 100 ปีชาตกาลพุทธทาสภิกขุ ในปี 2549 ฯลฯ
จุดมุ่งหมายสำคัญของการเดินธรรมยาตรา คือ การพยายามที่จะเชื่อมการพัฒนาสังคมและศาสนธรรมเข้าด้วยกัน ดังที่ พระไพศาล วิสาโล กล่าวไว้ว่า

"...เป็นการเดินอย่างสงบ เพื่อเป็นสื่อธรรมะไปยังทุกหนแห่งที่เดินผ่าน ขณะเดียวกันก็อาศัยการเดินนั้นเป็นการปฏิบัติธรรมเพื่อขัดเกลาตนเองไปด้วย ความเปลี่ยนแปลงในสังคมนั้นแยกไม่ออกจากความเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง และทั้งหมดนี้จะต้องเริ่มจากความเปลี่ยนแปลงในใจของผู้เดินเป็นประการแรก.....แต่ที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันก็คือการเดินเปิดโอกาสให้ทุกคนในคณะธรรมยาตราได้รู้จักตนเองอย่างลุ่มลึก เมื่อเดินอย่างสงบและมีสติ เราย่อมเห็นความรู้สึกนึกคิดของตัวเองแจ่มแจ้งขึ้น รวมทั้งสังเกตเห็นความแปรเปลี่ยนภายในอย่างชัดเจน และเมื่อเผชิญกับความทุกข์ขณะเดิน ไม่ว่า ความร้อน ความเหนื่อย ความเมื่อย สติที่พัฒนาระหว่างเดินจะช่วยรักษาใจไม่ให้ทุกข์ไปกับกายได้....."

พุทธบูชาแห่งธรรมยาตรามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ครั้งที่ นี้ จัดขึ้นเพื่อรำลึกนึกถึงพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ในวาระการเฉลิมฉลองปีพุทธชยันตี 2600 ปีแห่งการตรัสรู้ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ที่ได้ทรงบำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาติ พระพุทธศาสนาและพสกนิกรชาวไทยตลอดมา กอปรกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ย้ายที่ทำการของมหาวิทยาลัยจากวัดมหาธาตุ ท่าพระจันทร์ กรุงเทพมหานคร มาตั้งสถานที่แห่งใหม่คือที่บริเวณกิโลเมตรที่ 55ถนนพหลโยธิน เลขที่ 79 หมู่ที่ ตำบลลำไทร อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับตั้งแต่วันที่ ตุลาคม พ.ศ. 2550เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า ปีการศึกษาแล้ว โดยในปี 2554 แม้ว่า จะประสบความเสียหายจากมหาอุทกภัย แต่ก็ยังปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นศูนย์พักพิงผู้ประสบภัยน้ำท่วมสำหรับประชาชนในบริเวณรอบ ๆ มหาวิทยาลัย พุทธบูชาแห่งธรรมยาตรานี้ ยังเป็นการสร้างความรัก ความสมัครสมานสามัคคีในชาว มจร. เพื่อร่วมกันอย่างเต็มกำลังความสามารถและสติปัญญาปฏิบัติพันธกิจให้บรรลุผลสำเร็จและเจริญก้าวหน้า ไม่เพียงแต่เป็นสถานที่ศึกษาพระพุทธศาสนาบูรณาการเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ให้แก่คนไทยเท่านั้น แต่ยังจะเป็นศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาของโลกอีกด้วย

คงพอจะอนุมานได้ว่าระหว่าง ธรรมยาตรา มจร. กับธุดงค์ธรรมชัยวัดธรรมกายแตกต่างกันอย่างไร หากจะให้ชัดเจนต้องไปร่วมกิจกรรมดังกล่าว


ข่าว :คมชัดลึก31 มกราคม 2556




จริงหรือไม่ ? ใช่หรือเปล่า ?

ภาพธัมมชโยเล่นดนตรีว่อนเน็ต







กำลังฮือฮากันไปทั่ว เมื่อมีผู้โพสต์ภาพ พระเทพญาณมหามุนี หรือหลวงพ่อธัมมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ในท่ากำลังเล่นดนตรีจีนยังกะมืออาชีพ บนหัวนั้นสวมหมวกลายดอกไม้ทอง ทำนองเครื่องประดับมหาลดาของนางวิสาขา มีทั้งใส่ตุ้มหูสวมแหวนทองยอดทับทิม และใส่ปลอกนิ้วยาวเฟื้อยเหมือนสาวๆ ช่างฟ้อนเล็บทางเชียงใหม่ด้วย เห็นแล้วก็พูดได้คำเดียวว่า "เหมือนมาก"

ภาพนี้น่าจะเป็นภาพตัดต่อ เพราะในยุคปัจจุบันนั้น โปรแกรมคอมพิวเตอร์สามารถตกแต่งได้ไม่ยากนัก แต่อย่างไรก็ตาม ก็ต้องรอฟังคำชี้แจงจากวัดพระธรรมกายต่อไป




อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม รายงาน30 มกราคม 2556


ศึกษาข้อมูล วิทยานิพนธ์ด้านความมั่นคงสถาบันพระศาสนา ในประวัติศาสตร์ ได้ที่https://docs.google.com/file/d/0B_nOh0gPsWNSUkVWRG9aQ3pkbmc/edit
ช่วยแบ่งปันได้เพื่อสร้างบุญบารมี ถวายสมเด็จพระสังฆราช ครับ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง