โครงการจัดสร้างเหรียญในประวัติศาสตร์ เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น เลื่อนฐานันดรศักดิ์ ในรัชกาลที่ ๑๐
โครงการ
จัดสร้างเหรียญในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนมอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์
จัดสร้างเหรียญในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนมอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์
เหรียญหลวงปู่ทวด
รุ่น เลื่อนฐานันดรศักดิ์
ในรัชกาลที่
๑๐ เพื่อการระลึกประวัติศาสตร์และความมั่นคงสถาบันของชาติ (ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง)
หลวงปู่ทวด เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงๆ
เรื่องราวต่อไปนี้ผู้เขียนได้รวบรวมจากหนังสืออ้างอิงหลายเล่มทั้งที่เป็นตำนานหลักฐานทางประวัติศาสตร์
หนังสือและเอกสารต่างๆ พอจะให้ท่านผู้อ่านได้ทราบว่า หลวงพ่อทวดคือใคร
เกิดในสมัยใดและได้สร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติและพระศาสนาไว้อย่างไรบ้าง
เพื่อเป็นคติเตือนใจแก่อนุชนรุ่นหลังสืบไป
ทารกอัศจรรย์
เมื่อประมาณสี่ร้อยปีที่ผ่านมาในตอนปลายรัชสมัยของพระมหาธรรมราชา
แห่งกรุงศรีอยุธยา
ณ
หมู่บ้านสวนจันทร์ ตำบลชุมพล เมืองจะทิ้งพระตรงกับวันศุกร์ เดือนสี่ ปีมะโรง
พุทธศักราช 2125
ได้มีทารกเพศชายผู้หนึ่งถือกำเนิดจากครอบครัวเล็กๆ
ฐานะยากจนแร้นแค้น แต่มีจิตอันเป็นกุศล
ชอบทำบุญสุนทานยึดมั่นในศีลธรรมอันดี
ปราศจากการเบียดเบียนมนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ทารกน้อยผู้
นี้มีนายว่า “ปู” เป็นบุตรของนายหู นางจันทร์ ในขณะเยาว์วัย
ทารกผู้นั้นยังความอัศจรรย์ให้แก่บิดามารดาตลอดจนญาติพี่น้องทั้งหลาย
ด้วยอยู่มาวันหนึ่งมีงูตระบองสลาตัวใหญ่มาขดพันอยู่รอบเปลที่ทารกน้อยนอนหลับอยู่
และงูใหญ่ตัวนั้นไม่ยอมให้ใครเข้ามาใกล้เปลที่ทารกน้อยนอนอยู่เลย
จนกระทั่งบิดามารดาของเด็กเกิดความสงสัยว่า
พญางูตัวนั้นน่าจะเป็นเทพยดาแปลงมาเพื่อให้เห็นเป็นอัศจรรย์ในบารมีของลูกเราเป็นแน่แท้
จึงรีบหาข้าวตอกดอกไม้และธูปเทียนมาบูชาสักการะ งูใหญ่จึงคลายลำตัวออกจากเปลน้อย
เลื้อยหายไป ต่อมาเมื่อพญางูจากไปแล้ว
บิดามารดาทั้งญาติต่างพากันมาที่เปลด้วยความห่วงใยทารก
ก็ปรากฏว่าเด็กชายปูยังคงนอนหลับอยู่เป็นปกติ
แต่เหนือทรวงอกของทารกกลับมีดวงแก้วดวงหนึ่งมีแสงรุ่งเรืองเป็นรัศมีหลากสี ตาหู
นางจันทร์จึงเก็บรักษาไว้ นับแต่บัดนั้นฐานะความเป็นอยู่การทำมาหากินก็จำเริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับอยู่สุขสบายตลอดมา
สามีราโม
เมื่อกาลล่วงมานานจนเด็กชายปูอายุได้เจ็ดขวบ
บิดาได้นำไปฝากสมภารจวง วัดกุฏิหลวง
(วัดดีหลวง)
เพื่อให้เล่าเรียนหนังสือเด็กชายปูมีความเฉลียวฉลาดมาก
สามารถเรียนหนังสือขอมและไทยได้อย่างรวดเร็ว ครั้นอายุได้ 15 ปี
ก็บรรพชาเป็นสามเณรและบิดาได้มอบแก้ววิเศษไว้เป็นของประจำตัว
ต่อมาสามเณรปูได้ไปศึกษาต่อกับสมเด็จพระชินเสน ที่วัดสีหยัง (สีคูยัง)
ครั้นอายุครบอุปสมบทจึงได้เดินทางไปศึกษาต่อที่นครศรีธรรมราช ณ
สำนักพระมหาเถระปิยทัสสี ได้ทำการอุปสมบทมีฉายาว่า “ราโม ธมฺมิโก” แต่คนทั่วไปเรียกท่านว่า “เจ้าสามีราม” หรือ “เจ้าสามีราโม” เจ้าสามีรามได้ศึกษาอยู่ที่วัดท่าแพ
วัดสีมาเมือง และวัดอื่นๆ อีกหลายวัด
เมื่อเห็นว่าการศึกษาที่นครศรีธรรมราชเพียงพอแล้วจึงขอโดยสารเรือสำเภาเดินทางไปกรุงศรีอยุธยา
ขณะเดินทางถึงเมืองชุมพร เกิดคลื่นทะเลปั่นป่วน
เรือไม่สามารถแล่นฝ่าคลื่นลมไปได้ต้องทอดสมออยู่ถึงเจ็ดวัน
ทำให้เสบียงอาหารและน้ำหมดบรรดาลูกเรือตั้งข้อสงสัยว่าการที่เกิดเหตุอาเพศในครั้งนี้เพราะเจ้าสามีราม
จึงตกลงใจให้ส่งเจ้าสามีรามขึ้นเกาะและได้นิมนต์ให้เจ้าสามีรามลงเรือมาด
ขณะที่นั่งอยู่ในเรือมาดนั้น
ท่านได้ห้อยเท้าแช่ลงไปในทะเลก็บังเกิดอัศจรรย์น้ำทะเลบริเวณนั้นเป็นประกายแวววาวโชติช่วง
เจ้าสามีรามจึงบอกให้ลูกเรือตักน้ำขึ้นมาดื่มก็รู้สึกว่าเป็นน้ำจืด
จึงช่วยกันตักไว้จนเพียงพอ นายสำเภาจึงนิมนต์ให้ท่านขึ้นสำเภาอีก
และตั้งแต่นั้นมาเจ้าสามีรามก็เป็นชีต้นหรืออาจารย์สืบมา
เมื่อถึงกรุงศรีอยุธยา
ก็ได้ไปพำนักอยู่ที่วัดแค ศึกษาธรรมะที่ วัดลุมพลีนาวาส
ต่อมาได้ไปพำนักอยู่ที่วัดของสมเด็จพระสังฆราช ได้ศึกษาธรรมและภาษาบาลี ณ
ที่นั้นจนเชี่ยวชาญจึงทูลลาสมเด็จพระสังฆราชไปจำพรรษาที่วัดราชนุวาส เมื่อประมาณ
พ.ศ. 2149
ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระเอกาทศรถ
รบด้วยปัญญา
กระทั่งวันหนึ่งถึงกาลเวลาที่ชื่อเสียงของหลวงปู่ทวดหรือเจ้าสามีรามจะระบือลือลั่นไปทั่วกรุงสยาม
จึงได้มีเหตุพิสดารอุบัติขึ้นในรัชสมัยของพระเอกาทศรถ กล่าวคือ
สมัยนั้นพระเจ้าวัฏฏะคามินี
แห่งประเทศลังกา
ซึ่งเคยเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรแหลมทองทางภาคใต้ คิดแก้มือด้วยการท้าพนัน
แปลธรรมะ
และต้องการจะแผ่พระบรมเดชานุภาพมาทางแหลมทอง ใคร่จะได้กรุงศรีอยุธยามา
เป็นประเทศราช
แต่พระองค์ไม่ปรารถนาให้เกิดศึกสงครามเสียชีวิตแก่ประชาชนทั้งสองฝ่าย
จึงทรงวางแผนการเมืองด้วยสันติวิธี คิดหาทางรวบรัดเอากรุงศรีอยุธยาเป็นเมืองขึ้นด้วยสติปัญญาเป็นสำคัญ
เมื่อคิดได้ดังนั้น พระเจ้ากรุงลังกาจึงมีพระบรมราชโองการสั่งให้พนักงาน
ท้องพระคลังเบิกจ่ายทองคำบริสุทธิ์แล้วให้ช่างทองประจำราชสำนักไปหล่อ
ทองคำเหล่านั้นให้เป็นตัวอักษรบาลีเล็กเท่าใบมะขาม ตามพระอภิธรรมทั้งเจ็ดคัมภีร์
จำนวน 84,000 ตัว จากนั้นก็ทรงรับสั่งให้พราหมณ์ผู้เฒ่าอันมีฐานะเทียบเท่าปุโรหิตจำนวนเจ็ดท่านคุมเรืองสำเภาเจ็ดลำบรรทุกเสื้อผ้าแพรพรรณ
และของมีค่าออกเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับปริศนาธรรมของพระองค์
เมื่อพราหมณ์ทั้งเจ็ดเดินทางลุล่วงมาถึงกรุงสยามแล้วก็เข้าเฝ้าถวายพระราชสาส์นของกษัตริย์ตน
แก่พระเจ้าเอกาทศรถ
มีใจความในพระราชสาส์นว่าพระเจ้ากรุงลังกาขอท้าให้พระเจ้ากรุงสยามทรงแปลและเรียบเรียงเมล็ดทองคำตามลำดับให้เสร็จภายในกำหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รับพระราชสาส์นนี้
เป็นต้นไป
ถ้าทรงกระทำไม่สำเร็จตามสัญญาก็จะยึดกรุงศรีอยุธยาให้อยู่ใต้พระบรมเดชานุภาพ
ของพระองค์
และทางกรุงสยามจะต้องส่งดอกไม้เงินดอกไม้ทองอีกทั้งเครื่องราชบรรณาการแก่กรุงลังกาตลอดไปทุกๆ
ปีเยี่ยงประเทศราชทั้งหลาย
พระสุบินนิมิต
เมื่อพระเอกาทศรถทรงทราบความ
ดังนั้น จึงมีพระบรมราชโองการให้สังฆการีเขียนประกาศนิมนต์พระราชาคณะและพระเถระทั่วพระมหานคร
ให้กระทำหน้าที่เรียบเรียงและแปลตัวอักษรทองคำในครั้งนี้
แต่ก็ไม่มีท่านผู้ใดสามารถเรียบเรียงและแปลอักษรทองคำในครั้งนี้ได้จนกาลเวลาลุล่วงผ่านไปได้หกวัน
ยังความปริวิตกแก่พระองค์และไพร่ฟ้าประชาชนต่างพากันโจษขานถึงเรื่องนี้ให้อื้ออึงไปหมด
ครั้นราตรีกาลยามหนึ่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเข้าพระบรรทมทรงสุบินว่า
ได้มีพระยาช้างเผือกลักษณะบริบูรณ์เฉกเช่นพระยาคชสารเชือกหนึ่ง
ผายผันมาจากทางทิศตะวันตก เยื้องย่างเข้ามาใน
พระราชนิเวศน์แล้วก้าวเข้าไปยืนผงาดตระหง่านบนพระแท่นพลางเปล่งเสียงโกญจนาทกึกก้องไปทั่ว
ทั้งสี่ทิศ
เสียงที่โกญจนาทด้วยอำนาจของพระยาคชสารเชือกนั้นยังให้พระองค์ทรงสะดุ้งตื่น
จากพระบรรทม
รุ่งเช้าเมื่อพระองค์เสด็จออกว่าราชการ
ได้ทรงรับสั่งถึงพระสุบินนิมิตประหลาดให้โหรหลวงฟังและได้รับการกราบถวายบังคมทูลว่า
เรื่องนี้หมายถึงชัยชนะที่ยิ่งใหญ่ของพระองค์และพระบรมเดชานุภาพ
จะแผ่ไพศาลไปทั่วสารทิศเป็นที่เกรงขามแก่อริราชทั้งปวง
ทั้งจะมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งจาก
ทางทิศตะวันตก
มาช่วยขันอาสาแปลและเรียบเรียงตัวอักษรทองคำปริศนาได้สำเร็จ
พระเจ้าอยู่หัวได้ฟังดังนั้นจึงค่อยเบาพระทัย
และรับสั่งให้ข้าราชบริพารทั้งมวลออกตามหาพระภิกษุรูปนั้นทันที
อักษรเจ็ดตัว
ต่อมาสังฆการีได้พยายามเสาะแสวงหาจนไปพบ “เจ้าสามีราม” ที่วัดราชานุวาส
และเมื่อได้ไต่ถามได้ความว่าท่านมาจากเมืองตะลุง (พัทลุงในปัจจุบัน)
เพื่อศึกษาพระธรรมวินัย สังฆการี
จึงเล่าความตามเป็นจริงให้เจ้าสามีรามฟังทั้งได้อ้างตอนท้ายว่า “เห็นจะมีท่านองค์เดียวที่ตรงกับพระสุบินของ
พระเจ้าอยู่หัว
จึงใคร่ขอนิมนต์ให้ไปช่วยแก้ไขในเรื่องร้ายดังกล่าวให้กลายเป็นดี ณ โอกาสนี้” ครั้นแล้วเจ้าสามีรามก็ตามสังฆการีไปยังที่ประชุมสงฆ์
ณ ท้องพระโรง พระเจ้าอยู่หัวทรงมีรับสั่งให้พนักงาน
ปูพรมให้ท่านนั่งในที่อันควร
พราหมณ์ทั้งเจ็ดคนได้ประมาทเจ้าสามีรามโดยว่า เอาเด็กสอนคลานมาให้แก้ปริศนา
เจ้าสามีรามก็แก้คำพราหมณ์ว่า กุมารเมื่ออกมาแต่ครรภ์พระมารดา
กี่เดือนกี่วันจึงรู้คว่ำ กี่เดือนกี่วันจึงรู้นั่ง กี่เดือนกี่วันจึงรู้คลาน
จะว่ารู้คว่ำแก่ หรือจะว่ารู้นั่งแก่ หรือจะว่ารู้คลานแก่ ทำไมจึงว่าเรา
จะแก้ปริศนาธรรมมิได้
พราหมณ์ก็นิ่งไปไม่สามารถตอบคำถามท่านได้
จากนั้นจึงรีบนำบาตรใส่อักษรทองคำเข้าไปประเคนแก่เจ้าสามีราม
ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า “ขออำนาจคุณบิดามารดา
ครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนคร
ตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง
ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง
ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด” ท่านรับประเคนมาจากมือพราหมณ์แล้วนั่งสงบจิตอธิษฐานว่า
“ขออำนาจคุณบิดามารดาครูบาอาจารย์และอำนาจผลบุญกุศลที่ได้สร้างมาแต่ปางก่อนและอำนาจเทพยดาที่รักษาพระนครตลอดถึงเทวดาอารักษ์ศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย
ครั้งนี้อาตมาจะแปลพระธรรมช่วยกู้บ้านกู้เมือง
ขอให้ช่วยดลบันดาลจิตใจให้สว่างแจ้งขจัดอุปสรรคที่จะมาขัดขวาง
ขอให้แปลพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าสำเร็จสมปรารถนาเถิด”
ครั้นแล้วท่านก็คว่ำบาตรเทอักษรทองคำเริ่มแปลปริศนาธรรมทันที
ด้วยอำนาจบุญญาบารมี
กฤษดาภินิหารของท่านที่ได้จุติลงมาเป็นพระโพธิสัตว์โปรดสัตว์ในพระพุทธศาสนา
กอปรกับโชคชะตาของประเทศชาติที่จะไม่เสื่อมเสียอธิปไตย เดชะบุญญาบารมีในพระพุทธ
พระธรรม พระสงฆ์
เทพยาดาทั้งหลายจึงดลบันดาลให้ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรจากเมล็ดทองคำ 84,000
ตัว
เป็นลำดับโดยสะดวกไม่ติดขัดประการใดเลย
ขณะที่ท่านเรียบเรียงและแปลอักษรไปได้มากแล้ว
ปรากฏว่าเมล็ดทองคำตัวอักษรขาดหายไปเจ็ดตัวคือ ตัว สัง วิ ธา ปุ กะ ยะ ปะ
ท่านจึงทวงถามเอาที่พราหมณ์ทั้งเจ็ด พราหมณ์ทั้งเจ็ดก็ยอมจำนวน
จึงประเคนเมล็ดทองคำที่ตนซ่อนไว้นั้นให้ท่านแต่โดยดี
ปรากฏว่าท่านแปลพระไตรปิฎกจากเมล็ดทองคำสำเร็จบริบูรณ์เป็นการชนะพราหมณ์ในเวลาเย็นของวันนั้น
พระราชมุนี
สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพระโสมนัสยินดีเป็นที่ยิ่ง
ทรงมีรับสั่งถวายราชสมบัติให้แก่เจ้าสามีรามให้ครอง 7 วัน
แต่ท่านก็มิได้รับโดยให้เหตุผลว่าท่านเป็นสมณะ พระองค์ก็จนพระทัยแต่พระประสงค์
อันแรงกล้าที่จะสนองคุณความดีความชอบอันใหญ่ยิ่งให้แก่ท่านในครั้งนี้
จึงพระราชทานสมณศักดิ์
ให้เจ้าสามีรามเป็น “พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์” ในเวลานั้น พระราชมุนีสามีรามคุณูปมาจารย์
หรือหลวงพ่อทวดได้ไปจำพรรษาอยู่
ณ วัดราชานุวาส ศึกษาและปฏิบัติธรรมอยู่เป็นเวลาหลายปี
ด้วยความสงบร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา
โรคห่าเหือดหาย
ต่อจากนั้น
กรุงศรีอยุธยาเกิดโรคห่าระบาดไปทั่วเมือง ประชาราษฎรล้มป่วยเจ็บตายลงเป็นอันมาก
ประชาชนพลเมืองเดือดร้อนเป็นยิ่งนัก สมัยนั้นหยูกยาก็ไม่มี
นิยมใช้รักษาป้องกันด้วยอำนาจ
คุณพระศรีรัตนตรัย
พระเจ้าอยู่หัวทรงพระวิตกกังวลมากเพราะไม่มีวิธีใดจะช่วยรักษาและป้องกันโรคนี้ได้
ทรงระลึกถึงพระราชมุนีฯ มีรับสั่งให้อำมาตย์ไปนิมนต์ท่านเจ้าเฝ้า
ท่านได้ช่วยไว้อีกครั้งโดยรำลึกถึงคุณพระศรีรัตนตรัยและดวงแก้ววิเศษ
แล้วทำน้ำพระพุทธมนต์ประพรมแก่ประชาชนทั่วทั้งพระนคร
โรคห่าก็หายขาดด้วยอำนาจ
คุณความดีและคุณธรรมอันสูงส่ง
ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนสมณศักดิ์ท่านขึ้นเป็นพระสังฆราชมีนามว่า “พระสังฆราชคูรูปาจารย์” และทรงพอพระราชหฤทัยในองค์ท่านเป็นอย่างยิ่ง
ถึงกับทรงมีรับสั่งว่า “หากสมเด็จเจ้าฯ
ประสงค์สิ่งใด หรือจะบูรณะวัดวาอารามใดๆ
ข้าพเจ้าจะอุปถัมภ์ทุกประการ”
กลับสู่ถิ่นฐาน
ครั้นกาลเวลาล่วงไปหลายปี
สมเด็จเจ้าฯได้เข้าเฝ้า ถวายพระพรทูลลาจะกลับภูมิลำเนาเดิม
พระองค์ทรงอาลัยมาก
ไม่กล้าทัดทานเพียงแต่ตรัสว่า “สมเด็จอย่าละทิ้งโยม” แล้วเสด็จมาส่งสมเด็จเจ้าฯ จนสิ้นเขตพระนครศรีอยุธยา
ขณะที่ท่านรุกขมูลธุดงค์ สมเด็จเจ้าฯ
ได้เผยแผ่ธรรมะไปด้วยตามเส้นทาง ผ่านที่ไหนมีผู้เจ็บป่วยก็ทำการรักษาให้
ตามแนวทางที่ท่านเดินพักแรมที่ใดนั้น ที่นั่นก็เกิดเป็นสถานศักดิ์สิทธิ์
ประชาชนในถิ่นนั้นได้ทำการเคารพสักการะบูชามาถึงบัดนี้ ได้แก่ที่บ้านโกฏิ
อำเภอปากพนัง ที่หัวลำภูใหญ่ อำเภอหัวไทร และอีกหลายแห่ง
สมเด็จเจ้าพะโคะ
ต่อจากนั้น
ท่านก็ได้ธุดงค์ไปจนถึงวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะ อันเป็นจุดหมายปลายทาง
ประชาชนต่างซึ่งชื่นชมยินดีแซ่ซ้องสาธุการต้อนรับท่านเป็นการใหญ่
และได้พร้อมกันถวายนามท่านว่า “สมเด็จเจ้าพะโคะ”และเรียกชื่อวัดพัทธสิงห์บรรพตพะโคะว่า “วัดพะโคะ” มาจนบัดนี้ สมเด็จเจ้าฯ
เห็นวัดพระโคะเสื่อมโทรมมาก เนื่องจากถูกข้าศึกทำลายโจรกรรม
มีสภาพเหมือนวัดร้างสมเด็จเจ้าฯ
กับท่านอาจารย์จวง
คิดจะบูรณะปฏิสังขรณ์วัดพะโคะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทราบ
ยินดีและอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่ง
โปรดให้นายช่างผู้ชำนาญ 500 คน
และทรงพระราชทานสิ่งของต่างๆ และเงินตราเพื่อการนี้เป็นจำนวนมาก ใช้เวลาประมาณ 3
ปี จึงแล้วเสร็จ
สิ่งสำคัญในวัดพะโคะหรือ
พระสุวรรณมาลิกเจดีย์ศรีรัตนมหาธาตุ
ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพระอรหันต์นามว่า
พระมหาอโนมทัสสีได้เป็นผู้เดินทางไปอัญเชิญมาจากประเทศอินเดียสมเด็จเจ้าฯ
ได้จำพรรษา
เผยแผ่ธรรมที่วัดพะโคะอยู่หลายพรรษา
เหยียบน้ำทะเลจืด
ขณะที่สมเด็จเจ้าฯ จำพรรษาอยู่ ณ วัดพะโคะ
ครั้งนี้คาดคะเนว่า ท่านมีอายุกาลถึง 80 ปีเศษ
อยู่มาวันหนึ่งท่านถือไม้เท้าศักดิ์สิทธิ์ประจำตัวไม้เท้านี้มีลักษณะคดไปมาเป็น
3 คด ชาวบ้านเรียกว่า
“ไม้เท้า
3 คด” ท่านออกจากวัดมุ่งหน้าเดินไปยังชายฝั่งทะเลจีน
ขณะที่ท่านเดินพักผ่อนรับอากาศทะเล
อยู่นั้น
ได้มีเรือโจรสลัดจีนแล่นเลียบชายฝั่งมา
พวกโจรจีนเห็นท่านเดินอยู่คิดเห็นว่าท่านเป็นคนประหลาดเพราะท่านครองสมณเพศ
พวกโจรจึงแวะเรือเทียบฝั่งจับท่านลงเรือไป เมื่อเรือโจรจีนออกจากฝั่งไม่นาน
เหตุมหัศจรรย์ก็ปรากฏขึ้น คือ เรือลำนั้นแล่นต่อไปไม่ได้ต้องหยุดนิ่งอยู่กับที่
พวกโจรจีนพยายามแก้ไขจนหมดความสามารถเรือก็ยังไม่เคลื่อน จึงได้จอดเรือนิ่งอยู่ ณ
ที่นั้นเป็นเวลาหลายวันหลายคืน ในที่สุดน้ำจืดที่นำมาบริโภคในเรือก็หมดสิ้น
จึงขาดน้ำจืดดื่มและหุงต้มอาหารพากันเดือดร้อนกระวนกระวายด้วยกระหายน้ำเป็นอย่างมาก
สมเด็จเจ้าฯ ท่านเห็นเหตุการณ์ความเดือดร้อนของพวกโจรถึงขั้นที่สุดแล้ว
ท่านจึงเหยียบกราบเรือให้ตะแคงต่ำลงแล้วยื่นเท้าเหยียบลงบนผิวน้ำทะเลทั้งนี้ย่อมไม่พ้นความสังเกตของพวกโจรจีนไปได้
เมื่อท่านยกเท้าขึ้นจากพื้นน้ำทะเลแล้วก็สั่งให้พวกโจรตักน้ำตรงนั้นมาดื่มชิมดู
พวกโจรจีนแม้จะไม่เชื่อก็จำเป็นต้องลองเพราะไม่มีทางใดจะช่วยตัวเองได้แล้ว
แต่ได้ปรากฏว่าน้ำทะเลเค็มจัดที่ตรงนั้นแปรสภาพเป็นน้ำจืดเป็นที่อัศจรรย์ยิ่งนัก
พวกโจรจีนได้เห็นประจักษ์ในคุณอภินิหารของท่านเช่นนั้น
ก็พากันหวาดเกรงภัยที่จะเกิดแก่พวกเขาต่อไป
จึงได้พากันกราบไหว้ขอขมาโทษแล้วนำท่านล่องเรือส่งกลับขึ้นฝั่งต่อไป
เมื่อสมเด็จเจ้าฯ ขึ้นจากเรือเดินกลับวัด
ถึงที่แห่งหนึ่งท่านหยุดพักเหนื่อย ได้เอา “ไม้เท้า 3 คด”
พิงไว้กับต้นยางสองต้นอันยืนต้นคู่เคียงกัน
ต่อมาต้นยางสองต้นนั้นสูงใหญ่ขึ้น
ลำต้นและกิ่งก้านสาขาเปลี่ยนไปจากสภาพเดิกกลับคดๆ งอๆ แบบเดียวกับรูปไม้เท้าทั้งสองต้น
ประชาชนในถิ่นนั้นเรียกว่าต้นยางไม้เท้า
ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งปรากฏอยู่ถึงทุกวันนี้
สมเด็จเจ้าพะโคะหรือหลวงปู่ทวดครองสมณเพศและจำพรรษาอยู่ที่วัดพะโคะ
เป็นที่พึ่งของประชาราษฎร์มีความร่มเย็นเป็นสุข ได้ช่วยการเจ็บไข้ได้ทุกข์ บำรุงสุข
เทศนาสั่งสอนธรรมของ
พระพุทธองค์
ประดุจร่มโพธิ์ร่มไทรของปวงพุทธศาสนิกชนตลอดมา
สังขารธรรม
หลังจากนั้นหลายพรรษา สมเด็จเจ้าฯ
หายไปจากวัดพะโคะเที่ยวจาริกเผยแผ่ธรรมะไปหลายแห่ง
จากหลักฐานทราบว่าท่านได้ไปพำนักที่เมืองไทรบุรี ชาวบ้านเรียกท่านว่า “ท่านลังกา” และได้ไปพำนัก
ที่วัดช้างไห้
ชาวบ้านเรียกท่านว่า “ท่านช้างให้” ดังนี้
ท่านได้สั่งแก่ศิษย์ว่าหากท่านมรณภาพเมื่อใด
ขอให้ช่วยกันจัดการหามศพไปทำการฌาปนกิจ ณ วัดช้างให้ด้วย ขณะหามศพพักแรมนั้น ณ
ที่ใดน้ำเหลืองไหลลงสู่พื้นดิน ที่ตรงนั้นให้เอาเสาไม้แก่นปักหมายไว้ต่อไปข้างหน้าจะเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อยู่มาไม่นานเท่าไร
ท่านก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา ปวงศาสนิกก็นำพระศพมาไว้ที่วัดช้างให้ อำเภอโคกโพธิ์
จังหวัดปัตตานี สถานที่ที่สมเด็จเจ้าฯ เคยพำนักอยู่ หรือไปมา นับได้ดังนี้
วัดกุฎิหลวง วัดสีหยัง
วัดเสมาเมือง
นครศรีธรรมราช กรุงศรีอยุธยา วัดพะโคะ วัดเกาะใหญ่ วัดในไทรบุรี และวัดช้างให้
ปัจฉิมภาค
สมเด็จเจ้าฯ
ในฐานะพระโพธิสัตว์หน่อพระพุทธภูมิ ผู้ทรงศีลวิสุทธิทรงธรรมและปัญญาญาณ
อันล้ำเลิศ
กอปรด้วยกฤษดาภินิหารและปาฏิหาริย์ไม่ว่าท่านจะพำนักอยู่สถานที่ใด
ที่นั่นจะเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ไม่ว่าท่านจะจาริกไป ณ ที่ใด
ก็จะมีคนกราบไหว้ฟังธรรม
หลักการปฏิบัติของท่านเป็นหลักสำคัญของพระโพธิสัตว์คือช่วยเหลือประชาชนและเผยแพร่ธรรมะให้ชาวโลกอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข
มีความเคารพเลื่อมใสในพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ สมดังคำว่า “พุทธัง ธัมมัง สังฆัง สรณัง คัจฉามิ” ตลอดไป
การจัดสร้างเหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น เลื่อนฐานันดรศักดิ์
1. เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น เลื่อนฐานันดรศักดิ์ เนื้อทองคำ
(ชุดกรรมการ) จำนวน 199 เหรียญ
เพื่อมอบให้โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค นำไปจัดหาทุน
โดยมอบให้ผู้มีอุปการะคุณบริจาคให้ โรงพยาบาล
เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น เลื่อนฐานันดรศักดิ์ เนื้อทองแดง
(เปิดจองทั่วไป สร้างตามจำนวนที่จอง) จำนวน
2. เหรียญเม็ดแตง รุ่น เลื่อนฐานันดรศักดิ์ เนื้อทองคำ
(ชุดกรรมการ) จำนวน 999 เหรียญ
เพื่อมอบให้โรงพยาบาลชุมชน ทั่วประเทศ
นำไปจัดหาทุน โดยมอบให้ผู้มีอุปการะคุณบริจาคให้
โรงพยาบาล
เหรียญเม็ดแตง รุ่น เลื่อนฐานันดรศักดิ์ เนื้อทองแดง
(เปิดจองทั่วไป สร้างตามจำนวนที่จอง) จำนวน
วัตถุประสงค์ เพื่อหาทุนมอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์
และทูลเกล้าถวายรายได้ส่วนหนึ่ง เพื่อโครงการจิตอาสา
หมายเหตุ รอมัติการประชุมคณะทำงาน
ควรว่าจ้างให้กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ออกแบบ แกะพิมพ์และปั๊มเหรียญรุ่นนี้ขึ้น
มีพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทย และเป็นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรัชกาลปัจจุบัน
ที่ วัดช้างให้ เชิญพระเถร ทุกจังหวัดเข้าพิธีอธิฐานจิต มีสมเด็จพระราชาคณะ เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสก บรรจุพุทธาคมครบ 108 รูป
• คณะกรรมการจัดสร้าง
• ประธานกรรมการ
การของบประมาณเงินทุนในการสร้างพระเครื่องครั้งนี้
ตามข้อมูลนี้
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2?fbclid=IwAR0KGuY2jb_Phz0CnbRlfNQ-OpMnLfkqDix2hyIUT_ALBPfFr30fdLKUXfE
โรงพยาบาลชุมชน
ในรัชกาลที่ ๑๐
ขอกราบทูลพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น
เพื่อให้เพียงพอกับความศรัทธาของประชาชน
ขอ การจะอัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ (วปร) มหาวชิราลงกรณ ปรมราชาธิราช มาประดิษฐานบนวัตถุมงคล ไม่ว่าจะเป็น พระบูชา พระเครื่อง หรือ เหรียญ นั้น ส่วนใหญ่จะมีขึ้นในโอกาสอันสำคัญๆ อาทิ ครบรอบพระชนมพรรษา หรือสถาปนาพระอาราม เป็นต้น และการจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ประดิษฐานบนพระเครื่องนั้น จะต้องทำหนังสือเป็นทางการผ่านสำนักพระราชวัง มีมูลเหตุแห่งการขอพระราชทาน และรายละเอียดต่างๆ อย่างครบถ้วน
ขอกราบทูลพระราชทาน พระบรมราชานุญาตให้สร้างขึ้น
เพื่อให้เพียงพอกับความศรัทธาของประชาชน
ขอ การจะอัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ (วปร) มหาวชิราลงกรณ ปรมราชาธิราช มาประดิษฐานบนวัตถุมงคล ไม่ว่าจะเป็น พระบูชา พระเครื่อง หรือ เหรียญ นั้น ส่วนใหญ่จะมีขึ้นในโอกาสอันสำคัญๆ อาทิ ครบรอบพระชนมพรรษา หรือสถาปนาพระอาราม เป็นต้น และการจะได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ประดิษฐานบนพระเครื่องนั้น จะต้องทำหนังสือเป็นทางการผ่านสำนักพระราชวัง มีมูลเหตุแห่งการขอพระราชทาน และรายละเอียดต่างๆ อย่างครบถ้วน
เมื่อทางสำนักพระราชวังตรวจสอบในเบื้องต้นแล้ว จึงนำขึ้นกราบบังคมทูลเพื่อพระองค์ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยว่าสมควรหรือไม่ จากนั้นทางสำนักพระราชวังก็จะทำหนังสือตอบมายังผู้ขอต่อไป วัตถุมงคลที่ผ่านพระบรมราชวินิจฉัย ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ ประดิษฐานบนพระเครื่องนั้น
1. เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น เลื่อนฐานันดรศักดิ์ เนื้อทองคำ
(ชุดกรรมการ) จำนวน 199 เหรียญ
เพื่อมอบให้โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค นำไปจัดหาทุน
โดยมอบให้ผู้มีอุปการะคุณบริจาคให้ โรงพยาบาล
เหรียญหลวงปู่ทวด รุ่น เลื่อนฐานันดรศักดิ์ เนื้อทองแดง
(เปิดจองทั่วไป สร้างตามจำนวนที่จอง) จำนวน
2. เหรียญเม็ดแตง รุ่น เลื่อนฐานันดรศักดิ์ เนื้อทองคำ
(ชุดกรรมการ) จำนวน 999 เหรียญ
เพื่อมอบให้โรงพยาบาลชุมชน ทั่วประเทศ
นำไปจัดหาทุน โดยมอบให้ผู้มีอุปการะคุณบริจาคให้
โรงพยาบาล
เหรียญเม็ดแตง รุ่น เลื่อนฐานันดรศักดิ์ เนื้อทองแดง
(เปิดจองทั่วไป สร้างตามจำนวนที่จอง) จำนวน
วัตถุประสงค์ เพื่อหาทุนมอบให้โรงพยาบาลทั่วประเทศ เพื่อจัดซื้อเครื่องมือแพทย์
และทูลเกล้าถวายรายได้ส่วนหนึ่ง เพื่อโครงการจิตอาสา
หมายเหตุ รอมัติการประชุมคณะทำงาน
ควรว่าจ้างให้กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ออกแบบ แกะพิมพ์และปั๊มเหรียญรุ่นนี้ขึ้น
มีพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทย และเป็นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรัชกาลปัจจุบัน
ที่ วัดช้างให้ เชิญพระเถร ทุกจังหวัดเข้าพิธีอธิฐานจิต มีสมเด็จพระราชาคณะ เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสก บรรจุพุทธาคมครบ 108 รูป
• คณะกรรมการจัดสร้าง
• ประธานกรรมการ
การของบประมาณเงินทุนในการสร้างพระเครื่องครั้งนี้
ตามข้อมูลนี้
https://th.m.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2?fbclid=IwAR0KGuY2jb_Phz0CnbRlfNQ-OpMnLfkqDix2hyIUT_ALBPfFr30fdLKUXfE
โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค
เป็นโรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรืออำเภอต่างๆ มีหลากหลายระดับตามขีดความสามารถ
โรงพยาบาลศูนย์
โรงพยาบาลศูนย์ (รพศ.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดประจำภูมิภาคที่มีขีดความสามารถระดับตติยภูมิ (Tertiary Care) มีจำนวนเตียงมากกว่า 500 เตียง[1] ในประเทศไทยมีอยู่ 34 แห่ง โดยมีโรงพยาบาลศรีสะเกษเป็นโรงพยาบาลศูนย์ล่าสุด มีศักยภาพบริการตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ในระดับ A หรือ advance- level Hospital [5] จำแนกตามภาคดังต่อไปนี้
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก
ภาคกลาง
ภาคใต้
โรงพยาบาลทั่วไป
โรงพยาบาลทั่วไป (รพท.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดทั่วไปหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอขนาดใหญ่ที่มีขีดความสามารถระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) มีจำนวนเตียง 120 - 500 เตียง[1] ในประเทศไทยมีอยู่ 83 แห่ง (รวมโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว) จำแนกตามภาค[5] ดังนี้
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก
- โรงพยาบาลตราด จังหวัดตราด
- โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว
- โรงพยาบาลบางละมุง จังหวัดชลบุรี
- โรงพยาบาลแกลง จังหวัดระยอง
- โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ระยอง จังหวัดระยอง
- โรงพยาบาลนครนายก จังหวัดนครนายก
- โรงพยาบาลกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี
- โรงพยาบาลอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
- โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ภาคกลาง
ภาคใต้
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช
โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) เป็นโรงพยาบาลชุมชนประจำอำเภอสังกัดกระทรวงสาธารณสุข (ยกเว้นโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้วที่เป็นโรงพยาบาลทั่วไปประจำจังหวัด[6]) มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 30 - 200 เตียง ดำเนินการโดยมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช[7] โดยโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ในสมัยรัฐบาลนายกรัฐมนตรีศาสตราจาย์ธานินทร์ กรัยวิเชียร ซึ่งมีดำริที่จะสร้างโรงพยาบาลอำเภอ ขนาด 30 เตียง ในอำเภอท้องถิ่นทุรกันดารในขณะนั้น จำนวน 20 แห่ง ทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายเป็นของขวัญแด่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีอภิเษกสมรส 3 มกราคม พ.ศ. 2520[8] ปัจจุบันในประเทศไทยมีโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช 21 แห่ง[9][1] ดังนี้
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออก
ภาคกลาง
ภาคใต้
โรงพยาบาลชุมชน
โรงพยาบาลชุมชน (รพช.) เป็นโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเป็นโรงพยาบาลประจำอำเภอทั่วไป มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) หรือระดับทุติยภูมิ (Secondary Care) ในบางแห่ง มีจำนวนเตียง 10 - 120 เตียง ในประเทศไทยมีอยู่ 723 แห่ง[1]
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
เดิมนั้นคือสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชน เป็นสถานพยาบาลประจำตำบลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีขีดความสามารถระดับปฐมภูมิ (Primary Care) โดยเกือบทั้งหมดจะไม่รับผู้ป่วยใน และไม่มีแพทย์ทำงานอยู่เป็นประจำ แต่จะอาศัยความร่วมมือกับแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชน ในปี พ.ศ. 2552 รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ มีนโยบายที่จะพัฒนาสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้มีศักยภาพมากขึ้น จึงจัดสรรงบประมาณในโครงการไทยเข้มแข็ง พ.ศ. 2555 เพื่อยกระดับสถานีอนามัย หรือศูนย์สุขภาพชุมชนให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ