#หลักธรรมปีใหม่๒๕๖๒

นมัสการถาม : ทำอย่างไร ประเทศชาติ ประชาชน จะอยู่ดีกินดี มีความสามัคคีปรองดองกัน
ถวายวิสัชนา : ให้เข้าหาพระศาสนา เพราะศาสนาสอนให้ละชั่ว กระทำความดี ทำใจให้ผ่องใส
นมัสการถาม : คนส่วนมากทำดี คนส่วนน้อยทำชั่ว จะทำให้คนส่วนมากเดือดร้อนไหม ทำอย่างไรจึงแก้ไขได้
ถวายวิสัชนา : ขอถวายพระพร ทุกวันนี้คนไม่รู้จักศาสนาจึงเบียดเบียนกัน ถ้าคนเรานึกถึงตนแล้วก็ไม่เบียดเบียนกัน เพราะต้องการความสุขความเจริญ คนอื่นก็เช่นกัน ทุกคนวันนี้เข้าใจว่าศาสนาว่าอยู่กับวัด อยู่ใตตู้ ในหีบ ในใบลาน อยู่กับพระพุทธเจ้าประเทศอินเดียโน่น จึงไม่สนใจบ้านเมืองจึงเดือดร้อนวุ่นวาย มองหน้ากันได้ ถ้าคนเราถือกันเป็นบิดา มารดา เป็นพี่ เป็นน้องกันแล้วก็สบาย ไปมาหาสู่กันได้ เพราะใจเราไม่มีเวร เวรก็ไม่มีใจ เราไม่มีกรรม กรรมก็ไม่มี ฉะนั้นให้เรามีพรหมวิหารธรรม อย่างมหาบพิตรเสด็จมานี้ทุกอย่างเรียบร้อยหมด (จากหนังสืออนุสรณ์พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร)

https://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2018/12/blog-post_16.html


#พระอาจารย์ของธรรมราชา!!! หลวงปู่ฝั้นอาจารย์ของสมเด็จพระสังฆราช!...ครั้งเทศน์ถวาย ร.9 และพระราชินี "นี่คือบันทึกประวัติศาสตร์อันล้ำค่า!!!"

https://www.tnews.co.th/contents/302553

รับสั่ง "อยากอยู่วัด แต่ไม่มีเวลา" เรื่องเล่าในหลวงกับ "หลวงปู่ฝั้น"
https://www.posttoday.com/social/local/462757
 


 นิพนธ์ สมเด็จพระสังฆราช ศึกษาที่
http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2012/08/blog-post_21.html

 https://www.facebook.com/pg/thaihistory/photos/?tab=album&album_id=258806637498779

            ข้าพเจ้า เดินตาม พระอาจารย์มหาบัว วันที่ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๓๗ วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี

ที่พึ่งของเรา คือพระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์
ธรรมเทศนา โดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
แสดงธรรมเมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน ๒๕๑๖
ณ ห้องประชุมตึก ๗๒ ปี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
เราทั้งหลายพากันอยู่กับเทวทูต อยู่ทุกวัน ทุกเวลา ทุกนาที
เทวทูตคืออะไรล่ะ คือความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย นี่แหละเราเห็นอยู่
เราทั้งหลายอยากพ้นทุกข์ ไม่ใช่อื่นเป็นทุกข์ พระพุทธเจ้าท่านให้เห็นเทวทูตเช่นนี้
เมื่อผู้ใดเห็นเทวทูตรู้จักเทวทูตนี่แหละ ผู้นั้นจะได้พ้นทุกข์
ทุกข์ไม่ใช่อื่น ทุกข์ไม่ใช่ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นทุกข์
ไม่มีวัตถุข้าวของเงินทองเป็นทุกข์ ไม่มียศถาบรรดาศักดิ์เป็นทุกข์ นั้นไม่ใช่
สิ่งนั้นๆ พระพุทธเจ้าท่านไม่ได้ว่าเป็นทุกข์
ทุกข์นั้นมีประจำอยู่แล้วทุกคน
เช่น หนีความเกิดไม่ได้ หนีความแก่ไม่ได้
หนีความเจ็บไข้ไม่ได้ หนีความตายไม่ได้ มีประจำอยู่แล้ว
หนทางจะหนีได้นั้นพระพุทธเจ้าท่านสอนสรณะที่พึ่งไว้
เอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ เอาพระธรรม พระอริยสงฆ์เป็นสรณะ
เป็นที่พึ่งกราบไหว้บูชาของเราทุกๆ วัน
เมื่อเราถึงพระพุทธเจ้าแล้วเราจะพ้นได้
ถ้าเราไม่ยึดเอาพระพุทธเจ้าเป็นสรณะเป็นที่พึ่งแล้วจะพ้นไม่ได้
ให้เราพากันกราบทุก ๆ วัน กราบแล้วเข้าวัด
วัดดูพุทธสรณะที่พึ่งของเรา ธรรมะสรณะที่พึ่งของเรา สังฆสรณะที่พึ่งของเรา แล้วเข้าวัด
พากันรู้จักวัดหรือยัง เดี๋ยวนี้คนเราไม่รู้จักวัด จึงได้พากันยุ่งยากเดือดร้อน
ถ้าต่างคนต่างเข้าวัดแล้วก็จะไม่ยาก
วัดอะไรล่ะ วัดดูตัวของเรา ไม่ใช่วัดของพระเจ้าพระสงฆ์
วัดของเรามีประจำวันทุกคน
กราบพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ สามหน กราบแล้วก็นั่งวัดดูใจของเรา
นึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่ในใจ พระธรรมอยู่ ในใจ พระอริยสงฆ์สาวกอยู่ในใจ
ระลึกคำบริกรรมภาวนาอยู่ว่า พุทโธ ธัมโม สังโฆ ๓ หน
แล้วนึกรวม พุทโธๆ คำเดียวในใจของเรา ใจเราก็เพ่ง พุทโธๆ หลับตา งับปากเสีย
ระลึกอยู่ในใจ ลิ้นก็ไม่กระดิก ใจเราก็เพ่งที่ระลึก พุทโธ หูเราก็ฟังที่ระลึกพุทโธ
พุทธะคือความรู้ เพ่งดูให้รู้ว่าทำไมเกิดมาจึงเป็นทุกข์ สุขเพราะอะไร
ทุกข์อยู่ที่ไหน สุขอยู่ที่ไหน ท่านจึงได้วางไว้ พุทธะคือผู้รู้ นี่เป็นที่พึ่งของเรา
เพ่งดูให้รู้ทัน ความเกิดคือความทุกข์ เรารู้แล้วเราก็ไม่เกิด
บางคนถามว่าตายแล้วได้เกิดไหม จงนั่งดูว่าใครจะห้ามได้ ความเกิดนี้ใครห้ามไม่ได้
พระพุทธเจ้าให้บำเพ็ญศีล สมาธิ ปัญญา เป็นหลักของพระพุทธศาสนา
บำเพ็ญศีลคือรักษากาย รักษาวาจา รักษาใจของเราให้มันสงบ ให้เรียบร้อย
เรารักษากาย สำรวมใจกายวาจาของเราให้เรียบร้อย
เราไม่ทำโทษน้อยใหญ่ทั้งทางกาย ทางวาจาและทางใจแล้ว
เกิดมาอีกเราก็ไม่เป็นคนพิกลพิการ
เกิดมาก็กายบริบูรณ์ วาจาก็บริบูรณ์ ใจก็บริบูรณ์ เราต้องการอย่างนี้
เรารักษาศีลไม่ใช่อื่น เรารักษากายวาจาใจ เท่านี้
รักษาเพื่อให้ตัวเราได้พ้นจากตกทุกข์ได้ยาก
ให้ตัวเราไม่วิกลวิการ ใจเราไม่วิกลวิการ รักษาตรงนี้
นี่แหละเป็นหนทางที่จะออกจากทุกข์ได้ ให้พากันทำตรงนี้
สัมมาสมาธิ ทำจิตให้เที่ยง อย่าให้มันไปก่อภพก่อชาติ ก่อกรรมก่อเวรอะไร
ใจมันสงบเพราะเป็นสมาธิ ใจตั้งมั่น ตั้งเที่ยง ตั้งตรง
ใจไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนไปในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรสสัมผัสทั้งหลายเหล่านั้น
เวลามันจะไปนั้น มันไปเที่ยวก่อภพก่อชาติน้อยใหญ่
ดังนั้นจึงให้เข้าวัดดู เราเข้าสมาธิ เราตั้งให้แน่ว
มันจะออกไปข้างหน้าเราก็รู้ จะไปข้างหลังเราก็รู้
จะออกไปทางซ้ายทางขวาทางล่างทางบน จิตของเราก็รู้ตามไป
นี่คือหัดทำสมาธิเพื่อทำจิตของเราให้ตั้งมั่น
ที่เราเป็นทุกข์ เพราะมันไม่ตั้งมั่น มันเป็นอนิจจัง มันไม่เที่ยง
สิ่งไหนเป็นอนิจจัง ไม่เที่ยง สิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
สิ่งไหนเป็นทุกข์ สิ่งนั้นก็ไม่ใช่ตัวตน
การทำใจให้ตั้งมั่นไม่หวั่นไหวเรียกว่าสมาธิ
เราจะหาอะไรทำก็ต้องหาของที่เที่ยงที่แท้ ไม่เอาของแปรผันยักย้าย
จึงต้องให้ทำสมาธิ มันจึงจะรู้
เมื่อรู้แล้วก็เกิดปัญญา ไม่ใช่อื่นไกล คือความรอบรู้ในกองสังขารการปรุงการแต่ง
จึงต้องให้เข้าวัดฟังธรรม จะได้รู้ว่าการปรุงอะไรเป็นกุศล เป็นกุศลเราเบิกบาน
เป็นพุทโธ มีความสว่างไสว จิตไม่เศร้าหมอง จิตไม่รำคาญ
จิตพุทโธจิตเบิกบาน จิตพุทโธจิตรู้ นี่แหละให้พากันรู้จัก
ถ้าอกุศลมันปรุงขึ้นแล้วก็ทำให้จิตเศร้าหมอง จิตฟุ้งซ่านรำคาญ
เกิดราคะ เกิดโลภะ เกิดโทสะ เกิดโมหะขึ้น
มันเป็นไปอย่างนี้เมื่อประกอบอกุศลกรรม มันทำสัตว์ทั้งหลายให้ตกทุกข์ได้ยาก
ได้ยินได้ฟังแล้วให้น้อมเข้ามาพิจารณาในดวงใจของเรา
พระพุทธเจ้าท่านวางศาสนาไว้ตรงนี้ ความมีศีล สมาธิ ปัญญา
ศีลไม่ใช่อื่นคือตัวของเราเองเป็นศีล สำรวมกาย วาจา ใจของเราให้เรียบร้อย
ศีลอยู่ตรงนี้ ไม่ใช่อยู่ตรงอื่น ไม่ใช่ศีลอยู่ที่พระพุทธเจ้า ไม่ใช่ศีลอยู่กับพระ
ศีลอยู่กับตัวของเรา ผู้ที่สำรวมตัวเรียบร้อยไม่ทำโทษน้อยใหญ่
ทำกาย วาจา ใจให้เรียบร้อย ไม่เป็นโทษไม่เป็นภัย
เมื่อยืนก็เป็นศีล เดินก็เป็นศีล นั่งนอนก็เป็นศีล ไปไหนก็เป็นศีล
ถ้าเราไม่ได้ทำโทษ ๕ อย่างคือปาณาฯ อทินนาฯ กาเมฯ มุสาฯ สุราฯ เราอยู่ไหนก็เป็นศีล
อยู่ในป่า ในดง ในบ้าน ในเมือง ในกลางหนทางก็เป็นศีล
เมื่อเราไม่ได้ทำโทษเหล่านั้นแล้ว โทษทั้งหลายก็ไม่มี
โทษ ๕ อย่างนั้นเราทั้งหลายไม่มีใครปรารถนา ไม่มีใครต้องการ
ให้พากันสำรวมระวังอย่าให้เกิดขึ้นในตัวของเรา
ห้าอย่างนี้คือฆ่าสัตว์ ลักขโมย ประพฤติกาเม กล่าวมุสา ดื่มสุราสาโท
สิ่งเหล่านี้ถ้าเราไม่ทำมันก็ไม่มีโทษ ไม่มีกรรม ไม่มีบาป ไม่มีความชั่ว
เราเกิดในภพใดชาติใดก็ตามเราก็เป็นคนสวยคนงาม
กายเรียบร้อย วาจาเรียบร้อย ใจเรียบร้อย เราก็มีความสุขความสบาย
เรามีความสุขความสบายเพราะเหตุใด เพราะเราละโทษห้าอย่างทั้งหลายนั้น
สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา
มีความสุขความสบาย มีโภคทรัพย์สมบัติ เป็นคนไม่ทุกข์ไม่จน
เพราะเหตุใดจึงไม่ทุกข์ไม่จน เพราะเราเกิดมาสมบูรณ์
กายเราก็สมบูรณ์ วาจาก็สมบูรณ์ ใจก็สมบูรณ์
ศึกษาอะไรก็ไม่ขัดไม่ข้อง ทำการทำงานอะไรไม่ขัดไม่ข้อง
เพราะโทษไม่มีในตัวเรา เราก็เจริญขึ้น เจริญเพราะไม่ขัดข้องมีความสะดวก
พระพุทธเจ้าสอนให้ทำอย่างนี้ ให้คนทั้งหลายเชื่อพระพุทธเจ้า
ท่านไม่ได้บัญญัติศาสนาให้ต้นไม้ ภูเขาเลากา
ในป่าในดง ในบ้านในเมือง ในถนนหนทาง ในโบสถ์ศาลาโรงธรรมวิหาร
ท่านบัญญัติศาสนาไว้ในตัวเรานี้ทุกคน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา
ก็อธิบายให้ฟังแล้ว สำรวมกายวาจาใจของเรา
กายของเรานี่เป็นพุทธศาสนา วาจาของเราเป็นพุทธศาสนา ใจของเราเป็นพุทธศาสนา
พระพุทธเจ้าสอนที่กายของเรา วาจาของเรา ใจของเรา
ท่านสอนให้ทำดี ไม่ให้ทำความชั่ว ให้ว่างไว้
ท่านทั้งหลายก็ได้เรียนมามากแล้ว สิ่งผิดสิ่งถูกก็ทราบอยู่แล้ว
สิ่งที่ไม่ดีก็อย่าทำ ถ้าเราไม่ทำแล้วสิ่งไม่ดีก็ไม่มาหาเรา
ถ้าเราทำแล้วสิ่งนั้นๆ ก็จำเป็นต้องได้
เราทำสมาธิ ทำจิตให้ตั้งมั่น ดูที่จิตของเรา
จิตของเราอยู่ที่ไหนเล่า จิตคือผู้คิด ผู้นึก ผู้ปรุง ผู้แต่ง
ใครเล่าเป็นบุญเป็นบาป ก่อภพ ก่อชาติ ก่อกรรม ก่อเวร
ท่านสอนให้ตั้งมั่นเพื่อเราจะได้หมดบาปหมดกรรม หมดเคราะห์ทั้งหลาย
จิตเป็นสมาธิ จิตตั้งมั่น เมื่อจิตสงบแล้วสิ่งทั้งหลายสงบหมด
ก็เมื่อจิตนี้ไม่ได้ไปก่อภพก่อชาติ ใครที่ไหนจะไปก่อเล่า
เมื่อจิตนี้ไม่ไปก่อแล้ว ความเกิดไม่มีแล้ว ความเจ็บจะมีมาแต่ไหนเล่า
ความแก่ไม่มีแล้ว ความเจ็บไข้ได้พยาธิจะมาจากไหนเล่า
ความเจ็บไข้ได้พยาธิไม่มีแล้ว ความตายจะมาแต่ไหนเล่า
ความตายไม่มีแล้ว ความเกิดจะมาที่ไหนเล่า มันเป็นอย่างนี้
นี่เราเวียนว่ายตายเกิด เกิดแล้วก็ตาย ตายแล้วก็เกิด
เกิดแล้วก็ตายอยู่อย่างนี้ กี่กัปกี่กัลป์อนันตกาล
ถ้าดูให้แน่วที่ใจก็เห็นว่าเรานี่เองไปก่อภพก่อชาติ
ถ้าหยุดเสียก็เป็นอมตะ เป็นของเที่ยงแท้ไม่แปรผัน ไม่ไปก่อภพก่อชาติ
เมื่อชาติไม่มีแล้วความแก่ก็ไม่มี ความแก่ไม่มีแล้วความเจ็บไข้ได้พยาธิก็ไม่มี
ความเจ็บไข้ได้พยาธิไม่มี ความตายมันก็ไม่มี มันเป็นอย่างนี้
เมื่อได้ยินได้ฟังแล้ว ให้โอปนยิโก น้อมเข้ามาดูภายใน
คนทั้งหลายตายแล้วเกิดไหม ดูที่เราน่ะแหละ
เกิดหรือไม่เกิดเดี๋ยวนี้ ทำอยู่เดี๋ยวนี้ละ จิตของเราอยู่เฉยๆ ไหมล่ะ
เอาโอปนยิกธรรม น้อมเข้าไปดูซิ จิตของเรามันเฉยๆ อยู่ได้ไหมล่ะ
มันก็ก่อภพก่อชาติไม่รู้ว่ากี่ภพแล้ว มันปรุงมันแต่ง
มันก่อตรงโน้น มันดับตรงนี้ ก่อตรงนั้น อยู่อย่างนั้น มันกี่ภพแล้วนี่ ที่นั่งอยู่เดี๋ยวนี้
ความเกิดนี่เราห้ามไม่ได้ เหตุนั้นท่านจึงให้พิจารณาพุทโธ
พร้อมกันท่านได้ให้พิจารณาเทวทูตนี้ ยกขึ้นในใจของตน
ทุกข์คือความเกิดนี้เราต้องหยุดเสีย ล้างบาปล้างกรรม ตัดบาปตัดกรรม
เราจะล้างด้วยมีดด้วยดาบก็ไม่ได้ จะล้างด้วยน้ำก็ไม่ได้
ต้องนั่งสมาธิให้จิตสงบเท่านั้นแหละ
เมื่อจิตสงบแล้วมันว่างหมดไม่มีอะไร มีแต่ความเบาความสบาย
เย็นอกเย็นใจ หายทุกข์หายยาก หายความลำบากรำคาญ
มีแต่พุทโธความเบิกบาน พุทโธความสว่างไสว พุทโธความผ่องใส
กรรมทั้งหลายมันก็หมดความชั่ว มีแต่พุทโธความเบิกบาน
เหตุนั้นสรณะที่พึ่งของเราต้องอาศัยความรู้นี้ เมื่อขาดความรู้ หาที่พึ่งไม่ได้
ในสัจจกิริยาคาถาท่านว่า นัตถิ เม สะระณัง อัญญัง ที่พึ่งอื่นของข้าพเจ้าไม่มี
จะพึ่งนั่นพึ่งนี่พึ่งอะไรไม่ได้ซักอย่าง ตัวเราเองก็พึ่งไม่ได้
ชาวบ้านชาวร้านประเทศชาติพึ่งไม่ได้ บิดามารดาปู่ย่าตายายพึ่งไม่ได้ทั้งหมด ตัวเราก็พึ่งไม่ได้
อะไรเล่าเป็นที่พึ่งของเรา พุทโธ เม สะระณัง วะรัง มีแต่พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ
พากันน้อมมาดูซิว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนเวลานี้
โอปนยิโก น้อมเข้ามาภายใน
พุทธะคือความรู้ นึกดูว่าอยู่ที่ไหนเดี๋ยวนี้ พุทโธ พุทโธ อยู่ในใจ
พุทโธคือความรู้ ใจเราเป็นผู้รู้ ขาดความรู้อย่างเดียวไม่มีที่พึ่งอะไรสักอย่าง
อุปมาเหมือนคนตาย คนตายแล้วขาดความรู้ ทำอะไรไม่ได้สักอย่างเดียว
เหตุนี้จึงได้มาเตือนใจให้เรามีที่พึ่งสรณะที่กราบที่ไหว้ อย่าได้สงสัยลังเล
เราอยู่ในภพใดชาติใด เราเกิดมาแล้ว ต่อไปให้รู้จักที่อยู่
เมื่อเรานั่งสมาธิ เราไปที่ที่อยู่ของเรา เมื่อจิตมันสงบ มันสบายอกสบายใจ
มันไม่ทุกข์ไม่ร้อน ไม่วุ่นไม่วาย สบาย นั่นแหละที่อยู่ของเรา
เมื่อจิตของเราเป็นอย่างนั้น มันนำความสุขความเจริญมาให้ ในปัจจุบันและเบื้องหน้า
จิตเช่นนั้นต้องนำไปสุคติ เพราะเดี๋ยวนี้มีความสุข ดับขันธ์ไปก็ต้องมีความสุข
ถ้าจิตของเราเป็นอกุศลทุกข์ยากวุ่นวาย ง่วงเหงาหาวนอน ทุกข์อกทุกข์ใจ
จิตอย่างนั้นก็นำไปทุคติ มาเกิดเป็นมนุษย์ก็เป็นมนุษย์มีทุกข์ ต่ำช้าเลวทราม
ถ้าไม่เป็นมนุษย์ เป็นเปรต เป็นเดรัจฉาน เป็นสัตว์นรกก็ได้ เหตุนั้นให้พากันเข้าใจ
เมื่อเห็นสิ่งเหล่านั้นเป็นทุกข์แล้วเราไม่ต้องการ
ก็พากัน พุทโธ พุทโธ กำจัดปัดเป่าเสียให้มันหนี
ถามว่าเราจะเป็นทุกข์ไหมถ้าไม่อยากได้ ก็ใครอยากจะเป็นเล่า ต้องโอปนยิโก
ถามดูซิใครเห็นทุกข์ ไม่ใช่ต้นไม้ภูเขาเลากาเป็นทุกข์
ไม่ใช่บ้านเมืองเป็นทุกข์หรือถนนหนทางเป็นทุกข์ ใจเราเป็นผู้ทุกข์
เหตุนั้นจึงได้มาเตือนใจให้เราภาวนา เลือกเฟ้นใจของเรา
ถ้าเราไม่เลือกเฟ้น ใจเราก็ใช้ไม่ได้ ใจเรามีทั้งดีทั้งชั่ว ต้องเลือกเฟ้น
เหมือนอย่างตัวปลาก็มีทั้งคุณทั้งโทษ ผู้มีปัญญาก็เลือกเอาแต่เนื้อ มันก็สบาย
ผู้ไม่มีปัญญาก็กินเอาก้างเข้าไปขวางคอตาย
จิตใจเรามีทั้งเปรต สัตว์นรก หูหนวกตาบอด ใบ้บ้าเสียจริต มีหมด
หูดีตาดี สวยงามก็มี ใจพระมหากษัตริย์ เศรษฐีเสนาบดี มีหมด
เทวบุตรเทวดา พระอินทร์พระพรหม มีหมด ให้เลือกเอา
ถามว่าจะรู้ได้อย่างไร ใจเทวบุตรเทวดา พระอินทร์พระพรหม
ได้แก่พุทโธ พุทโธ ใจเราเบิกบาน ใจเราสว่าง ใจเราไสว ก็นำไปทางนี้
ทีนี้พวกดำ ใจเราเศร้าหมอง จิตไม่ผ่องใส จิตมืดจิตมัว วุ่นวายเดือดร้อน
จิตทุกข์ขึ้นมาย่อมนำไปทุคติ จิตสุขสบายนำไปสู่สุคติ
นี่แหละเป็นข้อปฏิบัติ เราได้ยินได้ฟังแล้วตามศาสนาคำสั่งสอน
ท่านบอกไว้ในธรรมคุณ
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?t=50186



                         ฤทธิ์ของธรรมใครอย่าประมาท
http://www.luangta.com/thamma/thamma_talk_text.php?ID=5019&CatID=-1


ร๋วมขอพรปีใหม่

#ภารกิจติดตามโครงการด้านความมั่นคงพระศาสนาภาคใต้
ข้อมูลที่
https://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2018/12/blog-post_5.html

#พุทธคุณและพุทธศิลป์เพื่อสืบทอดพระศาสนา(มอบให้ท่านผู้ศรัทธาในการสนับสนุนโครงการ)

https://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2018/12/blog-post_13.html?fbclid=IwAR2A6486_Iw3L1S8D-zORrULrnOs9nbpxAGMgGUqzODTbb53TD9jKpHUQ1I

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ