#อุดมมงคลของสยามประเทศ ประวัติศาสตร์ที่มหาชนควรทราบในการบวงสรวงเทพเจ้าเหล่าพรหมอันมี พระศิวะเจ้า ผู้ประทานพร พระพรหมธาดา ผู้สร้าง และ พระนารายณ์ ผู้รักษา




การสังเวยบูชาพระสยามเทวาธิราชนั้น ถือเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่บูชา เพราะผู้ที่บูชาพระสยามเทวาธิราชนั้นจะได้รับแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ดังนั้นพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ นับแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาได้บูชาพระสยามเทวาธิราชมาโดยตลอดด้วยพระกตัญญูต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่คุ้มครองบ้านเมืองให้แคล้วคลาดปลอดภัย ดังที่หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเล่าไว้ว่า....ท่านผู้ใหญ่ชั้นคุณย่าของท่านได้เล่าให้ฟังว่าในรัชกาลที่๔ทรงสังเวยทุกๆวัน และเป็นที่นับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก บัดนี้เนื่องแต่ทางพระราชสำนักต้องตัดทอนรายจ่ายมากมายมาแต่รัชกาลที่๗ จึงคงมีเครื่องสังเวยแต่เฉพาะวันอังคารและวันเสาร์(อาทิตย์ละ๒วัน) และในเวลาปีใหม่ตามจันทรคติ(วันสงกรานต์)ก็มีการบวงสรวงสังเวยเป็นพิธีใหม่ มีละครรำของกรมศิลปากรในเวลาเช้าวันสังเวยนั้น

นับว่าเป็นสิ่งที่น่าตรึกตรองอยู่เหมือนกันว่าเหตุใดพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสักการะอยู่ตลอดรัชกาลทั้งที่พระองค์ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทั่วโลกยกย่อง ทรงเป็นปราชญ์ในพระพุทธศาสนา ทรงผนวชศึกษาพระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน ทรงรอบรู้เรื่องดาราศาสตร์และเป็นผู้มีเหตุมีผล การสร้างพระสยามเทวาธิราชเพื่อสักการะบูชาจึงต้องเป็นสิ่งที่มีเหตุผลสำหรับบ้านเมือง ช่วยให้เรามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ยึดมั่นเกิดกำลังใจในการช่วยกันปกป้องรักษาแผ่นดินเกิดแผ่นดินตาย อีกทั้งมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยดลบันดาลให้เหตุการณ์บ้านเมืองปลอดภัยจากความรุนแรงทั้งปวง



ในหลวง เสด็จฯ พร้อม พระราชินีสุทิดา ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์



"สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" เสด็จฯ พร้อมสมเด็จพระราชินีสุทิดา ถวายราชสักการะ พระบรมราชานุสรณ์ พระลานพระราชวังดุสิต และปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ กับศาลหลักเมือง ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

เมื่อเวลา 16.29 น. วันที่ 2 พ.ค. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จฯ โดยรถยนต์พระที่นั่ง จากพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ไปยังพระบรมราชานุสรณ์ พระลานพระราชวังดุสิต ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 ถวายราชสักการะพระบรมราชานุสรณ์ พระลานพระราชวังดุสิต การนี้ สมเด็จพระราชินีสุทิดา พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา โดยเสด็จฯ ด้วย



ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงวางพานพุ่มดอกไม้ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงกราบ แล้วประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จฯ ไปยังปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ
ต่อมาเวลา 16.38 น. รถยนต์พระที่นั่งถึงยังปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้าฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงวางพานพุ่มดอกไม้ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยถวายราชสักการะพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงกราบ



จากนั้นประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จฯ ไปยังศาลหลักเมือง โดยมี คณะองคมนตรี อาทิ นายเกษม วัฒนชัย, พล.อ.ไพบูลย์ คุ้มฉายา, พล.ร.อ.พงษ์เทพ หนูเทพ, พล.อ.เฉลิมชัย สิทธิสาท และนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.แรงงาน นางศิลปสวย ระวีแสงสูรย์ ปลัดกทม. และข้าราชการ เฝ้าฯ รับเสด็จ
เวลา 16.48 น. รถยนต์พระที่นั่งถึงศาลหลักเมือง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จเข้าหอพระพุทธรูป ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย ทรงกราบ เสด็จเข้าศาลหลักเมือง ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสักการะศาลหลักเมือง ทรงกราบ เสด็จเข้าศาลเทพารักษ์ ทรงวางพวงมาลัย ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสักการะ พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าหอกลอง เจ้าเจตคุปต์ ทรงกราบ.
ต่อมา ทรงเสด็จฯ ไปยังพระบรมมหาราชวัง เพื่อทรงบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ และพระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน โดยเสด็จฯไปยังหอพระสุราลัยพิมาน ขึ้นทางบันไดงิ้ว ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองทิศบูชาพระพุทธรูปสำคัญต่างๆ เสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งอัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสักการะเทวดารักษาพระมหาเศวตฉัตร เสด็จฯ ไปทรงจุดธูปเงินเทียนทองท้ายที่นั่งบูชาพระสยามเทวาธิราช เสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งภัทรบิฐทรงจุดธูปเทียนเครื่องทองน้อยสักการะเทวดารักษาพระมหาเศวตฉัตร เสด็จฯไปยังหอพระธาตุมณเฑียรทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการทองทิศถวายราชสักการะพระบรมอัฐิ-พระอัฐิสมเด็จพระบรมราชบุพการี เสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์กลาง ทรงจุดธูปเทียนเครอื่งทองน้อยสักการะเทวดารรักษาเครื่องราชกกุธภัณฑ์ และเทวดารักษาพระที่นั่งพุดตานกาญจนสิงหาสน์ เสด็จฯ ไปยังพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานองค์ตะวันออก เสด็จเข้าห้องพระบรรทม ทรงจุดธูปเทียนเครอื่งทองน้อยสักการะเทวดารกัษาพระมหาเศวตฉัตร พระแท่นราชบรรจถรณ์ 
เวลาพระฤกษ์ 16.09 - 20.30 น. เสด็จ ฯ ไปยังโต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวย ที่ท้องพระโรงหน้าพระที่นั่งจักรพรรดิพิมานทรงจุดเทียนทอง เทียนเงิน ธูป และธูปหางปักที่เครื่องบวงสรวงสังเวย ทรงกราบที่หน้าโต๊ะเครอื่งบวงสรวงสังเวย ชาวพนักงานประโคมฆอ้งชัย สังข์ แตร ภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ ประทับพระราชอาสน์ ทรงพระกรุณาโปรดเกลา ฯ ให้พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณประธานพระครพูราหมณ์อ่านประกาศบวงสรวง
เมื่อพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณประธานพระครูพราหมณ์ อ่านประกาศบวงสรวง จบ เสด็จ ฯ ไปทรงโปรยข้าวตอก ดอกไม้ที่โต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวย เสด็จฯ ไปทรงกราบที่หน้าโต๊ะเครื่องบวงสรวงสังเวย เสด็จฯ ไปประทับรถยนต์พระที่นั่งที่หน้าประตูสนามราชกิจ เสด็จพระราชดาเนินกลับพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตลอดเส้นทางเสด็จฯ มีประชาชนจำนวนมากได้แต่งกายด้วยเสื้อสีเหลือง มารอรับเสด็จฯ โดยต่างเปล่งเสียง ทรงพระเจริญ เมื่อขบวนเสด็จฯผ่าน และต่างซาบซึ้งที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโบกพระหัตถ์ให้ด้วย.


ตามคติโบราณในการสร้างพระนครใหม่นั้น ให้สร้างเทวสถานและเสาชิงช้า เพื่อบูชาพระศิวะ ผู้ทรงประทานพร พระนารายณ์ผู้ทรงรักษา พระพรหมผู้สร้าง เมื่อจัดตั้งเทวสถานแล้วก็เป็นสถานที่จะกราบไหว้เทพเจ้าสำคัญ และการสร้างเสาชิงช้าก็เป็นคติในการทำให้บ้านเมืองแข็งแรง พิธีที่ทำให้ประเทศชาติมั่นคงตามลัทธินั้น คือ พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย ซึ่งจะทำพิธีโล้ชิงช้าแสดงตำนานเทพเจ้าตอนสร้างโลก เมื่อได้ทำพิธีนี้แล้วถือว่าการสร้างพระนคร ได้สำเร็จลงโดยสมบูรณ์ เมื่อสร้างพระนครเรียบร้อยแล้ว จึงได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต่อไป



 พระเทวสถาน สำหรับพระนคร(โบสถ์พราหมณ์)
เลขที่ ๒๖๘ ถ.บ้านดินสอ ( เยื้องวัดสุทัศน์ ฯ ตรงข้ามลานคนเมือง ด้านข้างศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ) 
แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ๑๐๒๐๐
โทรศัพท์ : ๐๒-๒๒๒-๖๙๕๑ http://www.devasthan.org/

ตามคติโบราณในการสร้างพระนครใหม่นั้น ให้สร้างเทวสถานและเสาชิงช้า เพื่อบูชาพระศิวะ ผู้ทรงประทานพร พระนารายณ์ผู้ทรงรักษา พระพรหมผู้สร้าง เมื่อจัดตั้งเทวสถานแล้วก็เป็นสถานที่จะกราบไหว้เทพเจ้าสำคัญ และการสร้างเสาชิงช้าก็เป็นคติในการทำให้บ้านเมืองแข็งแรง พิธีที่ทำให้ประเทศชาติมั่นคงตามลัทธินั้น คือ พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย ซึ่งจะทำพิธีโล้ชิงช้าแสดงตำนานเทพเจ้าตอนสร้างโลก เมื่อได้ทำพิธีนี้แล้วถือว่าการสร้างพระนคร ได้สำเร็จลงโดยสมบูรณ์ เมื่อสร้างพระนครเรียบร้อยแล้ว จึงได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต่อไป

พระราชพิธีนี้ บวงสรวงเทพเจ้าเหล่าพรหมอันมี พระศิวะเจ้า ผู้ประทานพร พระพรหมธาดา ผู้สร้าง และ พระนารายณ์ ผู้รักษา เพื่อให้เมืองนั้น ๆ มีความเจริญรุ่งเรืองภิญโญยศสืบไป เป็นการขอพรวิเศษจากมหาเทพเบื้องบนดลบันดาลให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นปึกแผ่นมั่นคงแข็งแรง ปราศจากศัตรูหมู่ปัจจามิตร

โบสถ์พราหมณ์เทวสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
โดย รณธรรม ธาราพันธุ์

1 ปฐมกำเนิดเสาชิงช้า...
กรุงเทพมหานครหรือกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวงของสยามประเทศมาช้านาน นับได้แต่เริ่มสร้างบ้านแปลงเมืองสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลต้นแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 1 มีพระราชประสงค์สถาปนาเมืองขึ้นที่ชัยภูมิใหม่อันอยู่ตรงข้ามกับทำเลเดิมซึ่งคือ ธนบุรี แลมีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นอยู่ ครั้นสร้างพระนครในปีพุทธศักราช 2325 ล่วงแล้วได้ 2 ปี มีพราหมณ์ชาวสุโขทัยท่านหนึ่งชื่อ พราหมณ์กระต่าย กราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงธรรมเนียมการสร้างพระนครว่า...

ปกติการสร้างเมืองหลวงให้เป็นอุดมมงคลย่อมต้องคำนวณฤกษ์ยามให้ถี่ถ้วน ตลอดจนบวงสรวงเทพเจ้าเหล่าพรหมอันมี พระศิวะเจ้า ผู้ประทานพร พระพรหมธาดา ผู้สร้าง และ พระนารายณ์ ผู้รักษา เพื่อให้เมืองนั้น ๆ มีความเจริญรุ่งเรืองภิญโญยศสืบไป

ครั้นพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลต้นทรงสดับ ก็ทรงเห็นพ้องดีงามจึงมีพระบรมราชโองการสถาปนายศให้พราหมณ์กระต่ายเป็น พระครูสิทธิชัย และดำเนินการสร้างหอเทวาลัยขึ้นในปีพุทธศักราช 2327 เพื่อประดิษฐานเทวรูปมหาเทพและเพื่อประกอบพิธีต่าง ๆ ทางพราหมณ์ จากนั้นจึงดำเนินการสร้าง เสาชิงช้า ขึ้นพร้อม ๆ กับ วัดสุทัศน์เทพวราราม โดยกำหนดว่า ณ วัดสุทัศน์ ฯ แลเสาชิงช้านั้นคือใจกลางพระนคร

เสาชิงช้า ถูกสร้างขึ้นในวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พุทธศักราช 2329 ซึ่งแต่เดิมเสาชิงช้ามิได้ตั้งอยู่ ณ บริเวณปัจจุบัน แต่อยู่ตรงหน้าเทวสถานเลยทีเดียว หากภายหลังมีการสร้างโรงเก็บน้ำมันก๊าดขึ้น จึงย้ายเสาชิงช้ามาตั้งไว้ยังสถานที่ดังทุกวันนี้

เสาชิงช้าเป็นไม้สักล้วนมีความสูงจากฐานกลมถึงยอดลายกระจังประมาณ 21 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.50 เมตร ฐานนั้นก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาวพื้นปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีเสาชิงช้าแกนกลางหนึ่งคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ดล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย 

เมื่อสร้างเสาชิงช้าและเทวสถานแล้วเสร็จ ชาวพราหมณ์ที่มาจากเมืองศรีธรรมาโศกราชหรือนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกับพระครูสิทธิชัย (พราหมณ์กระต่าย) ประกอบพิธีโล้ชิงช้าขึ้นเพื่อแสดงเหตุการณ์ตอนพระเจ้าสร้างโลก หมายให้พระราชพิธีนี้เป็นการขอพรวิเศษจากมหาเทพเบื้องบนดลบันดาลให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นปึกแผ่นมั่นคงแข็งแรง ปราศจากศัตรูหมู่ปัจจามิตร

เมื่อทำพิธีโล้ชิงช้าเรียบร้อยแล้วจึงถือว่าการสร้างพระนครได้สำเร็จลงอย่างสมบูรณ์ จากนั้นค่อยประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต่อไป



#ร่วมขอพรพ่อจตุคามและศาลหลักเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อความเป็นแผ่นดินธรรมของพระราชาในรัชกาลที่๑๐ (แชร์เพื่อความมั่นคงของชาติ)




เหตุใด 'เสาหลักเมือง' กรุงเทพมหานคร จึงมีสองต้น ?

ศาลหลักเมือง กรุงเทพมหานคร
เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 สถาปนากรุงเทพมหานครเป็นราชธานีนั้น พระองค์โปรดฯ ให้ตั้งการพระราชพิธียกเสาหลักเมืองตามประเพณีที่มีมาแต่โบราณเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่บ้านเมืองและประชาชน  พระฤกษ์ยกเสาหลักเมืองกระทำในวันอาทิตย์ ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีขาล ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 06:54 น.

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1
(ภาพวาดฝีพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6)
ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงมีพระราชดำริว่าหลักเมืองชำรุดทรุดโทรมมาก ไม่สง่างาม จึงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นใหม่ อีกทั้งทรงตรวจดวงพระชะตาของพระองค์ ทราบว่าเป็นอริแก่ลัคนาดวงเมืองกรุงเทพฯ จึงทรงแก้เคล็ดโดยให้ช่างแปลงรูปทรงศาลหลักเมืองจากเดิมที่มีลักษณะเป็นศาลาและมีหลังคาเป็นเครื่องไม้มุงกระเบื้อง ให้เป็นอาคารจตุรมุขทรงประสาทยอดปรางค์ ก่ออิฐถือปูน ฉาบสีขาว  โปรดฯ ให้ถอนเสาหลักเมืองเดิมและประดิษฐานเสาหลักเมืองใหม่ พร้อมผูกดวงเมืองขึ้นใหม่ให้เป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒนมงคล มีอุดมมงคลฤกษ์ ณ วันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย (เดือน 1) ตรงกับวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2395

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4
การฝังเสาหลักเมืองเมื่อครั้งรัชกาลที่ 1 นั้น ได้เกิดอวมงคลนิมิตขึ้น คือเมื่อถึงมหาพิชัยฤกษ์อัญเชิญเสาลงสู่หลุม ปรากฏว่ามีงูเล็ก 4 ตัวเลื้อยลงหลุมในขณะเคลื่อนเสา จึงจำเป็นต้องปล่อยเลยตามเลย โดยปล่อยเสาลงหลุมและกลบงูทั้ง 4 ตัวตายอยู่ภายในก้นหลุม  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ พระโหราจารย์ถวายคำทำนายว่า ชะตาเมืองจะอยู่ในเกณฑ์ร้ายนับจากวันยกเสาหลักเมืองเป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน จึงสิ้นพระเคราะห์ และพระนครแห่งนี้ จักดำรงวงศ์กษัตริย์สืบไปเป็นเวลา 150 ปี

ชะตาแผ่นดินที่ร้ายถึงเจ็ดปีเศษนั้น เป็นช่วงเวลาที่ไทยติดพันศึกพม่าในสงครามเก้าทัพ ซึ่งสิ้นสุดลงหลังครบห้วงเวลาดังกล่าว


ส่วนคำทำนายว่าจักดำรงวงศ์กษัตริย์สืบไป 150 ปีนั้น ไปครบเอาปี พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินพอดี ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7
พระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จพระราชสมภพในปีมะเส็ง (งูเล็ก) พ.ศ. 2436 จะทรงกังวลพระทัยในคำทำนายดังกล่าวหรือไม่ประการใด มิอาจทราบได้ แต่ทรงสร้างสาธารณูปโภคมากมาย รวมถึงชักชวนเจ้านายที่ประสูติในปีมะเส็งด้วยกันสร้างสิ่งสาธารณะเพื่ออำนวยประโยชน์แก่ประชาชน นัยว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์

ทรงมีพระราชดำริให้สร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้า เป็นอนุสรณ์ในโอกาสสถาปนากรุงเทพมหานครครบ 150 ปีในปี พ.ศ. 2475  คำทำนายเรื่องสิ้นแผ่นดินจึงได้รับการ "แก้เคล็ด" โดยเกิดเป็นแผ่นดินใหม่ที่เชื่อมพระนครกับธนบุรีเข้าด้วยกัน

พระบรมวงศานุวงศ์อีก 4 พระองค์ที่ประสูติปีเดียวกันในปีมะเส็ง พ.ศ. 2424 คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพิสมัยพิมลสัตย์  พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศศิพงศ์ประไพ  และพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน  ได้ร่วมกันบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์สมทบกับเงินบริจาคของพระญาติมิตรสหาย สร้าง "ตึกสี่มะเสง" ให้แก่สภากาชาดสยามเมื่อปี พ.ศ. 2472 ปัจจุบันอาคารดังกล่าวถูกรื้อถอนไปแล้วเพราะชำรุดทรุดโทรมจากอายุการใช้งานอันยาวนาน  สภากาชาดไทยได้สร้างอาคารหลังใหม่ในบริเวณเดิม แต่ยังคงใช้ชื่ออาคารว่า "ตึกสี่มะเสง" เพื่อหวนรำลึกถึงพระเมตตาของทั้งสี่พระองค์

การเปลี่ยนแปลงการปกครองแผ่นดินโดยคณะราษฎรในปี พ.ศ. 2475 นั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ที่ประสูติปีนักษัตรเดียวกันคือปีมะเส็ง ต่างได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง นิมิตงูเล็กในเสาหลักเมืองจึงออกจะเป็นเรื่องอัศจรรย์

กรณีคำทำนายการดำรงวงศ์กษัตริย์เป็นเวลา 150 ปี ไม่เป็นไปตามคำทำนาย เพียงเปลี่ยนจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข กรณีนี้ คงเป็นด้วยการสะเดาะเคราะห์ผ่อนหนักให้เป็นเบา และคงเนื่องด้วยพระบารมีของพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ที่ทรงแก้อาถรรพณ์ถอนเสาหลักเมืองและวางดวงชะตาพระนครขึ้นใหม่

หลักเมือง กรุงเทพมหานคร
ในโอกาสที่กรุงเทพมหานครมีอายุครบ 200 ปีในปี พ.ศ. 2525 ศาลหลักเมืองได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ โดยรื้ออาคารศาลหลักเมืองหลังเดิมที่สร้างมาแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วสร้างอาคารศาลหลักเมืองหลังใหม่ขึ้นโดยยึดเอารูปแบบเดิมไว้ และได้นำเสาหลักเมืองต้นเดิมที่มีมาแต่เริ่มสร้างกรุงเทพฯ มาประดิษฐานคู่กับเสาหลักเมืองต้นปัจจุบัน

ด้วยเหตุนี้ เสาหลักเมืองที่ประดิษฐานภายในอาคารศาลหลักเมืองจึงมีสองต้น เสาต้นเดิมที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 คือต้นสูง ที่ได้ทำพิธีถอนเสาแล้ว แต่หาที่เก็บที่เหมาะสมไม่ได้ จึงคงไว้  แกนในเป็นเสาไม้ชัยพฤกษ์ มีไม้จันทน์ประกับนอก ลงรักปิดทอง ยอดของเสาทำเป็นดอกบัวตูม ที่โคนเสามีฐานบัวรองรับ ภายในกลวงสำหรับบรรจุชะตาพระนคร  ดวงนี้อยู่ใจกลางยันต์สุริยาทรงกลด จารึกในแผ่นทอง เงิน นาก

ส่วนเสาหลักเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 คือต้นที่มีส่วนสูงทอนลงมา  แกนในเป็นเสาไม้สัก มีไม้ชัยพฤกษ์ประกับนอก หัวเสาเป็นรูปยอดเม็ดทรงมัณฑ์  ปิดทองประดับกระจก มีฐานบัวหกเหลี่ยมและฐานสิงห์ประดับกระจกรองรับที่โคนเสา เป็นต้นที่สถิตประทับของพระหลักเมือง

มีเรื่องเล่ากันมากเกี่ยวกับการฝังหลักเมืองว่ามีการฝังคนทั้งเป็น เช่น ในหนังสือประวัติจังหวัดภูเก็ต ได้กล่าวถึงการฝังหลักเมืองไว้ตอนหนึ่งว่า

"เมื่อท้าวเทพกษัตรีและท้าวศรีสุนทรได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว พระยาถลาง (ทองพูน) ได้เป็นเจ้าเมืองถลาง  ได้จัดหาสถานที่เพื่อสร้างเมืองใหม่ขึ้น และได้ตกลงให้สร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ตำบลเทพกษัตรี อำเภอถลางในปัจจุบันนี้ โดยเรียกว่า "บ้านเมืองใหม่"  เมื่อจัดหาที่ได้แล้ว จึงได้ประกอบพิธีกรรมขึ้นเพื่อฝังหลักเมืองโดยนิมนต์พระภิกษุสงฆ์รวม 32 รูป เจริญพระพุทธมนต์อยู่ 7 วัน 7 คืน แล้วจึงให้อำเภอทนายป่าวร้องหาตัวผู้ที่จะเป็นแม่หลักเมือง ผู้ที่จะเป็นแม่หลักเมืองได้ต้องเป็นคนที่เรียกกันว่าสี่หูสี่ตา (คือคนที่ตั้งครรภ์นั่นเอง)  การป่าวร้องหาตัวแม่หลักเมืองนี้ ได้ประกาศป่าวร้องเรื่อยไปตลอดทุกหมู่บ้านว่า โอ้เจ้ามั่น โอ้เจ้าคง อยู่ที่ไหนมา ไปประจำที่  ในที่สุดจึงได้ผู้หญิงชื่อนางนาคท้องแก่ประมาณแปดเดือนแล้ว นางนาคได้ขานตอบขึ้น 3 ครั้ง แล้วได้ติดตามผู้ประกาศไป  ขณะนั้นเป็นเวลาพลบค่ำแล้ว เมื่อไปถึงหลุมที่จะฝังหลักเมือง นางนาคก็กระโดดลงไปในหลุมนั้นทันที ฝาหลุมก็เลื่อนปิด เจ้าพนักงานก็กลบหลุมฝังหลักเป็นอันเสร็จพิธีการฝังหลักเมือง"

สำหรับการฝังหลักเมืองกรุงเทพฯ นี้ เชื่อว่าไม่มีการนำคนทั้งเป็นมาฝัง เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 1 ทรงยึดมั่นในพระพุทธศาสนา และไม่ทรงโปรดให้พลีกรรมด้วยการฆ่าสัตว์

เทพารักษ์สำคัญห้าองค์ คุ้มครองรักษาพระนคร
เป็นองค์เดิมที่สร้างขึ้นสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 

ต่อมา สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
ได้มีการปรับปรุงพระนครครั้งใหญ่ มีการสร้างสถานที่ราชการ และขยายถนนเพิ่มขึ้น
จึงย้ายเทพารักษ์ทั้งห้าองค์ จากที่ประดิษฐานเดิม มาประดิษฐาน ณ ศาลหลักเมือง
ภายในบริเวณศาลหลักเมืองกรุงเทพฯ มีศาลเทพารักษ์อันเป็นที่ประดิษฐานของพระเสื้อเมือง พระทรงเมือง พระกาฬไชยศรี เจ้าเจตคุปต์ และเจ้าหอกลอง  เป็นเทพารักษ์สำคัญ 5 องค์ ทำหน้าที่ดูแลรักษาพระนครและประเทศชาติ พระมหากษัตริย์และประชาชนให้ความเคารพนับถือมาแต่โบราณกาลว่า สามารถอำนวยความสุขสวัสดี พิพัฒนมงคล ป้องกันภัยพาลพิบัติอุปัทวทุกข์ทุกประการแก่ผู้เคารพบูชาได้
พระเสื้อเมือง เป็นรูปเทวดาสวมมงกุฏ หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทอง ความสูง 93 เซนติเมตร พระหัตถ์ซ้ายถือคทา (ตะบอง) พระหัตถ์ขวาทรงจักร มีหน้าที่คุ้มครองป้องกันทั้งทางบกและทางน้ำ คุมกำลังไพร่พลแสนยากร รักษาบ้านเมืองให้ร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากอริราชศัตรูมารุกราน

พระทรงเมือง ลักษณะคล้ายพระเสื้อเมือง หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทอง ความสูง 88 เซนติเมตร พระหัตถ์ซ้ายถือพระขรรค์ พระหัตถ์ขวายกชูขึ้นถือสังข์หลั่งน้ำเทพมนตร์ มีหน้าที่รักษาการปกครอง กระทรวง ทบวง กรม ต่าง ๆ และดูแลทุกข์สุขของประชาชนให้ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดี

พระกาฬไชยศรี เป็นรูปพระกาฬประทับอยู่บนหลังนกแสก สันนิษฐานว่าจะมาแต่อุมาปางหนึ่งซึ่งพวกฮินดูนิยมทำรูปไว้บูชา เรียกว่า "กาลี"  พระกาฬเป็นบริวารของพระยม มีหน้าที่นำวิญญาณของมนุษย์ผู้ทำบาปไปสู่ยมโลก

เจ้าเจตคุปต์ เป็นเทพารักษ์แกะสลักด้วยไม้ เดิมมีศาลเล็ก ๆ อยู่ใกล้คุก ชาวบ้านจึงเรียกเพี้ยนเป็น เจ้าเจตคุก เป็นบริวารของพระยม มีหน้าที่จดความชั่วร้ายของชาวเมืองที่ตายไป และอ่านประวัติของผู้ตายเสนอต่อพระยม

เจ้าหอกลอง  เป็นเทพารักษ์ประจำหอกลอง หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ปิดทอง มีหน้าที่แจ้งเตือนเหตุการณ์ต่าง ๆ อันเกิดขึ้นในแผ่นดิน เช่น เมื่อเกิดอัคคีภัย หรือมีข้าศึกศัตรูยกมาประชิดพระนคร และคอยรักษาเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ เที่ยงคืน
เจ้าหอกลองนี้ เดิมอยู่ที่ศาลใกล้หอกลองในสวนเจ้าเชต หอกลองนี้ถูกรื้อทิ้งไปในสมัยรัชกาลที่ 5  แต่เดิมในหอกลองมีกลองอยู่ 3 ใบ ใบแรกชื่อ ย่ำพระสุริย์ศรี ใช้ตีบอกเวลาย่ำรุ่ง ย่ำค่ำ และเที่ยงคืน  ใบที่สองมีชื่อเรียกว่า อัคคีพินาศ ใช้ตีเวลาเกิดเพลิงไหม้  และใบที่สามมีชื่อว่า พิฆาตไพรี ใช้ตีเวลามีศึกสงครามบอกเหตุเรียกระดมพล



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ