ร่วมสร้างบารมี ถวาย พระสังฆราช และ พระเจ้าอยู่หัว
โครงการสร้างบุญบารมี
ถวาย สมเด็จพระสังฆราช บรรเทาภัยพิบัติในชาติไทย
บารมี คือคุณความดีที่บำเพ็ญอย่างยิ่งยวด
เพื่อบรรลุจุดหมายอันสูงยิ่ง
พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน
จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามี ศีลปาฎิโมกข์สังวร
๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ยังไม่ตรัสเรียกว่าเป็นพระ แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น
เรียกกันว่าสมมุติสงฆ์ พระที่แท้จริงนั้นหมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผล
เป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม (จากหนังสือ
วิธีสร้างบุญบารมี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก)
บารมี ๓๐ ทัศ บารมีทั้ง ๑๐ ประการอันเป็นองค์บารมีของพุทธการกธรรม สามารถแตกเป็น ๓ ระดับ คือ
๑. (สามัญ)บารมี หรือบารมีต้น
๒. อุปบารมี หรือบารมีกลาง
๓. ปรมัตถบารมี หรือบารมีปลาย
การจำแนกระดับของบารมีนี้มีหลายประการ
เช่น จำแนกด้วยการกระทำ
บารมีต้น เป็นการอนุโมทนาการกระทำของผู้อื่น
อุปบารมี เป็นการให้ผู้อื่นทำ
ปรมัตถบารมี เป็นการกระทำด้วยตนเอง
จำแนกด้วยธรรม
บารมีต้น เป็นธรรมขาวเจือด้วยธรรมดำ
อุปบารมี เป็นธรรมขาวไม่เจือด้วยธรรมดำ
ปรมัตถบารมี เป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว
จำแนกด้วยกาล
บารมีต้น บำเพ็ญในกาลตั้งความปราถนาทางใจ
อุปบารมี บำเพ็ญในกาลตั้งความปราถนาทางวาจา
ปรมัตถบารมี บำเพ็ญในกาลตั้งความปราถนาทางกาย
จำแนกด้วยความยาก
บารมีต้น เนื่องด้วยวัตถุและทรัพย์นอกกาย
อุปบารมี เนื่องด้วยอวัยวะและเลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี เนื่องด้วยชีวิต
(อรรถกถาพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗๔ อรรถกถา จาริยาปิฏก)
บารมีทั้งสิบอย่างที่เป็นบารมีต้น รวมกันเรียกว่า บารมี ๑๐ ทัศ
บารมีทั้งสิบอย่างที่เป็นอุปบารมี รวมกันเรียกว่า อุปบารมี ๑๐ ทัศ
บารมีทั้งสิบอย่างที่เป็นปรมัตถบารมี รวมกันเรียกว่า ปรมัตถบารมี
๑๐ ทัศ
ผู้ปรารถนาสาวกภูมิ ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ
ผู้ปรารถนาปัจเจกภูมิ ต้องบำเพ็ญบารมี ๒๐ ทัศ คือ บารมีและอุป
บารมี
ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ ต้องบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ คือ บารมี อุปบารมี
และปรมัตถบารมี
เมื่อแจกแจงบารมีทั้ง ๓๐ ทัศ ตามความยาก จะได้ดังนี้
๑. ทานบารมี
บารมี สละธนสารสมบัติ บุตร ภริยา ให้เป็นทาน
อุปบารมี สละอวัยวะและเลือดเนื้อ ให้เป็นทาน
ปรมัตถบารมี สละชีวิต ให้เป็นทาน
๒. ศีลบารมี
บารมี ยอมสละธนสารสมบัติ บุตร ภริยา เพื่อรักษาศีล
อุปบารมี ยอมสละอวัยวะและเลือดเนื้อ เพื่อรักษาศีล
ปรมัตถบารมี ยอมสละชีวิต เพื่อรักษาศีล
๓. เนกขัมมบารมี
บารมี ถือบวช โดยไม่อาลัยในธนสารสมบัติ บุตร
ภริยา
อุปบารมี ถือบวช โดยไม่อาลัยในอวัยวะและเลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี ถือบวช โดยไม่อาลัยในชีวิต
๔. ปัญญาบารมี
บารมี ใช้ปัญญารักษา ธนสารสมบัติ บุตร ภริยา ของ
ผู้อื่น
อุปบารมี ใช้ปัญญารักษา อวัยวะและเลือดเนื้อ ของ
ผู้อื่น
ปรมัตถบารมี ใช้ปัญญารักษา ชีวิต ของผู้อื่น
๕. วิริยะบารมี
บารมี มีความเพียร ไม่อาลัยใน ธนสารสมบัติ
บุตร ภริยา
อุปบารมี มีความเพียร ไม่อาลัยใน อวัยวะ
และเลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี มีความเพียร ไม่อาลัยใน ชีวิต
๖. ขันติบารมี
บารมี อดทนต่อผู้ที่จะทำร้ายต่อ ธนสารสมบัติ
บุตร ภริยา
อุปบารมี อดทนต่อผู้ที่จะทำร้ายต่อ อวัยวะ
และเลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี อดทนต่อผู้ที่จะทำร้ายต่อ ชีวิต
๗. สัจจบารมี
บารมี ยอมสละธนสารสมบัติ บุตร ภริยา
เพื่อรักษาสัจจะ
อุปบารมี ยอมสละอวัยวะและเลือดเนื้อ
เพื่อรักษาสัจจะ
ปรมัตถบารมี ยอมสละชีวิต เพื่อรักษาสัจจะ
๘. อธิษฐานบารมี
บารมี ไม่หวั่นไหวแม้ต้องสูญเสีย ธนสารสมบัติ
บุตร ภริยา
อุปบารมี ไม่หวั่นไหวแม้ต้องสูญเสีย อวัยวะและ
เลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี ไม่หวั่นไหวแม้ต้องสูญเสีย ชีวิต
๙. เมตตาบารมี
บารมี มีเมตตาแม้ต่อผู้ที่จะทำร้าย ธนสารสมบัติ
บุตร ภริยา
อุปบารมี มีเมตตาแม้ต่อผู้ที่จะทำร้าย อวัยวะและ
เลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี มีเมตตาแม้ต่อผู้ที่จะทำร้าย ชีวิต
๑๐. อุเบกขาบารมี
บารมี วางเฉยได้ต่อผู้ที่จะทำร้าย ธนสารสมบัติ
บุตร ภริยา
อุปบารมี วางเฉยได้ต่อผู้ที่จะทำร้าย อวัยวะและ
เลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี วางเฉยได้ต่อผู้ที่จะทำร้าย ชีวิต
บารมี ๓๐ ทัศ บารมีทั้ง ๑๐ ประการอันเป็นองค์บารมีของพุทธการกธรรม สามารถแตกเป็น ๓ ระดับ คือ
๑. (สามัญ)บารมี หรือบารมีต้น
๒. อุปบารมี หรือบารมีกลาง
๓. ปรมัตถบารมี หรือบารมีปลาย
การจำแนกระดับของบารมีนี้มีหลายประการ
เช่น จำแนกด้วยการกระทำ
บารมีต้น เป็นการอนุโมทนาการกระทำของผู้อื่น
อุปบารมี เป็นการให้ผู้อื่นทำ
ปรมัตถบารมี เป็นการกระทำด้วยตนเอง
จำแนกด้วยธรรม
บารมีต้น เป็นธรรมขาวเจือด้วยธรรมดำ
อุปบารมี เป็นธรรมขาวไม่เจือด้วยธรรมดำ
ปรมัตถบารมี เป็นธรรมไม่ดำไม่ขาว
จำแนกด้วยกาล
บารมีต้น บำเพ็ญในกาลตั้งความปราถนาทางใจ
อุปบารมี บำเพ็ญในกาลตั้งความปราถนาทางวาจา
ปรมัตถบารมี บำเพ็ญในกาลตั้งความปราถนาทางกาย
จำแนกด้วยความยาก
บารมีต้น เนื่องด้วยวัตถุและทรัพย์นอกกาย
อุปบารมี เนื่องด้วยอวัยวะและเลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี เนื่องด้วยชีวิต
(อรรถกถาพระไตรปิฎก เล่มที่ ๗๔ อรรถกถา จาริยาปิฏก)
บารมีทั้งสิบอย่างที่เป็นบารมีต้น รวมกันเรียกว่า บารมี ๑๐ ทัศ
บารมีทั้งสิบอย่างที่เป็นอุปบารมี รวมกันเรียกว่า อุปบารมี ๑๐ ทัศ
บารมีทั้งสิบอย่างที่เป็นปรมัตถบารมี รวมกันเรียกว่า ปรมัตถบารมี
๑๐ ทัศ
ผู้ปรารถนาสาวกภูมิ ต้องบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศ
ผู้ปรารถนาปัจเจกภูมิ ต้องบำเพ็ญบารมี ๒๐ ทัศ คือ บารมีและอุป
บารมี
ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ ต้องบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ คือ บารมี อุปบารมี
และปรมัตถบารมี
เมื่อแจกแจงบารมีทั้ง ๓๐ ทัศ ตามความยาก จะได้ดังนี้
๑. ทานบารมี
บารมี สละธนสารสมบัติ บุตร ภริยา ให้เป็นทาน
อุปบารมี สละอวัยวะและเลือดเนื้อ ให้เป็นทาน
ปรมัตถบารมี สละชีวิต ให้เป็นทาน
๒. ศีลบารมี
บารมี ยอมสละธนสารสมบัติ บุตร ภริยา เพื่อรักษาศีล
อุปบารมี ยอมสละอวัยวะและเลือดเนื้อ เพื่อรักษาศีล
ปรมัตถบารมี ยอมสละชีวิต เพื่อรักษาศีล
๓. เนกขัมมบารมี
บารมี ถือบวช โดยไม่อาลัยในธนสารสมบัติ บุตร
ภริยา
อุปบารมี ถือบวช โดยไม่อาลัยในอวัยวะและเลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี ถือบวช โดยไม่อาลัยในชีวิต
๔. ปัญญาบารมี
บารมี ใช้ปัญญารักษา ธนสารสมบัติ บุตร ภริยา ของ
ผู้อื่น
อุปบารมี ใช้ปัญญารักษา อวัยวะและเลือดเนื้อ ของ
ผู้อื่น
ปรมัตถบารมี ใช้ปัญญารักษา ชีวิต ของผู้อื่น
๕. วิริยะบารมี
บารมี มีความเพียร ไม่อาลัยใน ธนสารสมบัติ
บุตร ภริยา
อุปบารมี มีความเพียร ไม่อาลัยใน อวัยวะ
และเลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี มีความเพียร ไม่อาลัยใน ชีวิต
๖. ขันติบารมี
บารมี อดทนต่อผู้ที่จะทำร้ายต่อ ธนสารสมบัติ
บุตร ภริยา
อุปบารมี อดทนต่อผู้ที่จะทำร้ายต่อ อวัยวะ
และเลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี อดทนต่อผู้ที่จะทำร้ายต่อ ชีวิต
๗. สัจจบารมี
บารมี ยอมสละธนสารสมบัติ บุตร ภริยา
เพื่อรักษาสัจจะ
อุปบารมี ยอมสละอวัยวะและเลือดเนื้อ
เพื่อรักษาสัจจะ
ปรมัตถบารมี ยอมสละชีวิต เพื่อรักษาสัจจะ
๘. อธิษฐานบารมี
บารมี ไม่หวั่นไหวแม้ต้องสูญเสีย ธนสารสมบัติ
บุตร ภริยา
อุปบารมี ไม่หวั่นไหวแม้ต้องสูญเสีย อวัยวะและ
เลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี ไม่หวั่นไหวแม้ต้องสูญเสีย ชีวิต
๙. เมตตาบารมี
บารมี มีเมตตาแม้ต่อผู้ที่จะทำร้าย ธนสารสมบัติ
บุตร ภริยา
อุปบารมี มีเมตตาแม้ต่อผู้ที่จะทำร้าย อวัยวะและ
เลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี มีเมตตาแม้ต่อผู้ที่จะทำร้าย ชีวิต
๑๐. อุเบกขาบารมี
บารมี วางเฉยได้ต่อผู้ที่จะทำร้าย ธนสารสมบัติ
บุตร ภริยา
อุปบารมี วางเฉยได้ต่อผู้ที่จะทำร้าย อวัยวะและ
เลือดเนื้อ
ปรมัตถบารมี วางเฉยได้ต่อผู้ที่จะทำร้าย ชีวิต
ข้าพเจ้า สมเกียรติ กาญจนชาติ ได้กราบท่านเจ้าประคุณ
สมเด็จพระวันรัต ณ.วัดบวรนิเวศ ได้ถวาย พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่
เพื่อนำออกช่วยน้ำท่วมแก่วัดที่ถูกน้ำท่วม ถวายสมเด็จพระสังฆราช
มีศรัทธาเชิญร่วมสร้างบุญบารมี
เพื่อประเทศไทย ผ่านพ้นภัยพิบัติ
รักในหลวงต้องกราบพระอริยะ http://www.alittlebuddha.com/ html/ The%20Vision%20of%20P.M.Narin/ The%20Vision%20of%20Phramaha%20 Narin%20117.html
รักในหลวงต้องกราบพระอริยะ http://www.alittlebuddha.com/
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ถวายพระพร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ” และขอให้พสกนิกรเป็นผู้คิดดี ไม่มุ่งร้ายผู้อื่น ห่างไกลกิเลส ย่อมทำให้พ่อหลวงมีความสุข
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระดำรัสถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ 5 ธันวาคม พระพุทธศักราช 2554ใจความว่า “พระพุทธภาษิตบทหนึ่ง ซึ่งเป็นพระพุทธพรสำคัญ พึงอัญเชิญไว้เหนือเศียรเกล้า เพื่อปกปักรักษาชีวิตให้สวัสดี มีความร่มเย็นเป็นสุข แม้กำลังอยู่ในท่ามกลางโลกที่ร้อนแรงเช่นในปัจจุบัน
พระพุทธภาษิต หรือ พระพุทธพร บทนั้นมีความว่า “ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ” และ “ใจของเรามีค่าสูงสุด ไม่พึงนำไปแลกกับสิ่งใดทั้งสิ้น“ พระพุทธภาษิต บทนี้เป็นพระพุทธพรที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง นั่นก็คือ ผู้ใดปฏิบัติตามที่ทรงมีพระพุทธเมตตาภาษิตสอน ผู้นั้นย่อมได้รับพระพุทธพร จากสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นพระพุทธพรที่มีผลประเสริฐสุด หาที่เปรียบมิได้ จะเกิดผลเลิศล้ำที่สุดแก่ผู้เข้าใจ และมุ่งมั่นปฏิบัติรักษาใจของตนให้ดีที่สุด ให้พ้นจากความคิดไม่ดีทั้งปวง เพื่อผลดีจะเกิดแก่ตน เพื่อผลไม่ดีจะไม่เกิดแก่ตน ความคิดที่ไม่ดีทั้งหลาย เช่น คิดมุ่งร้ายต่อผู้หนึ่งผู้ใด ผลไม่ดีอาจไม่เกิดแก่ผู้ถูกมุ่งร้ายได้ แต่ผลไม่ดีต้องเกิดแน่นอน แก่ผู้มีใจคิดมุ่งร้ายเป็นไปตามพระพุทธภาษิตที่ว่า “ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ”ความนึกคิดใดเกิดขึ้นในใจของผู้ใด ผลสำเร็จย่อมปรากฏแก่ใจผู้นั้น เป็นความสุขความทุกข์ตามความคิดในจิตใจผู้นั้น
พระพุทธพรบทนี้ สำคัญที่สุด จะเกิดผลเลิศล้ำที่สุด แก่ผู้มุ่งมั่นปฏิบัติรักษาใจของตนให้ดีที่สุด ให้พ้นจากความคิดไม่ดีทั้งปวง เพราะความคิดไม่ดีของตนเอง จะเกิดผลแก่ตนเองแน่นอนเสมอไป นอบน้อมอัญเชิญพระพรนี้ มาในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ด้วยมุ่งมั่นขอรับพระราชทานเป็นพระพรชัยมงคลจากสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า แก่พสกนิกรไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั่วหน้า เพื่อให้ความดีในจิตใจมากหลาย อันเกิดจากได้รับพระราชทานพระพุทธพรนี้ มีพลังพิชิตความร้อนแรงแห่งกิเลส ที่รุนแรงหนักหนาขึ้นทุกที ย่อมจะยังพระราชหฤทัยให้ไกลความเศร้าหมองน้อยใหญ่ได้ ตามพระพุทธพรสมเด็จพระบรมศาสดา พระผู้ทรงเหนือพรหมเทพมนุษย์สัตว์ ขอพระราชทานถวายพระพุทธพร”
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระดำรัสถวายพระพรแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาวันที่ 5 ธันวาคม พระพุทธศักราช 2554ใจความว่า “พระพุทธภาษิตบทหนึ่ง ซึ่งเป็นพระพุทธพรสำคัญ พึงอัญเชิญไว้เหนือเศียรเกล้า เพื่อปกปักรักษาชีวิตให้สวัสดี มีความร่มเย็นเป็นสุข แม้กำลังอยู่ในท่ามกลางโลกที่ร้อนแรงเช่นในปัจจุบัน
พระพุทธภาษิต หรือ พระพุทธพร บทนั้นมีความว่า “ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ” และ “ใจของเรามีค่าสูงสุด ไม่พึงนำไปแลกกับสิ่งใดทั้งสิ้น“ พระพุทธภาษิต บทนี้เป็นพระพุทธพรที่สำคัญที่สุดประการหนึ่ง นั่นก็คือ ผู้ใดปฏิบัติตามที่ทรงมีพระพุทธเมตตาภาษิตสอน ผู้นั้นย่อมได้รับพระพุทธพร จากสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเป็นพระพุทธพรที่มีผลประเสริฐสุด หาที่เปรียบมิได้ จะเกิดผลเลิศล้ำที่สุดแก่ผู้เข้าใจ และมุ่งมั่นปฏิบัติรักษาใจของตนให้ดีที่สุด ให้พ้นจากความคิดไม่ดีทั้งปวง เพื่อผลดีจะเกิดแก่ตน เพื่อผลไม่ดีจะไม่เกิดแก่ตน ความคิดที่ไม่ดีทั้งหลาย เช่น คิดมุ่งร้ายต่อผู้หนึ่งผู้ใด ผลไม่ดีอาจไม่เกิดแก่ผู้ถูกมุ่งร้ายได้ แต่ผลไม่ดีต้องเกิดแน่นอน แก่ผู้มีใจคิดมุ่งร้ายเป็นไปตามพระพุทธภาษิตที่ว่า “ทุกสิ่งสำเร็จด้วยใจ”ความนึกคิดใดเกิดขึ้นในใจของผู้ใด ผลสำเร็จย่อมปรากฏแก่ใจผู้นั้น เป็นความสุขความทุกข์ตามความคิดในจิตใจผู้นั้น
พระพุทธพรบทนี้ สำคัญที่สุด จะเกิดผลเลิศล้ำที่สุด แก่ผู้มุ่งมั่นปฏิบัติรักษาใจของตนให้ดีที่สุด ให้พ้นจากความคิดไม่ดีทั้งปวง เพราะความคิดไม่ดีของตนเอง จะเกิดผลแก่ตนเองแน่นอนเสมอไป นอบน้อมอัญเชิญพระพรนี้ มาในมหามงคลสมัยเฉลิมพระชนมพรรษา ด้วยมุ่งมั่นขอรับพระราชทานเป็นพระพรชัยมงคลจากสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า แก่พสกนิกรไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินทั่วหน้า เพื่อให้ความดีในจิตใจมากหลาย อันเกิดจากได้รับพระราชทานพระพุทธพรนี้ มีพลังพิชิตความร้อนแรงแห่งกิเลส ที่รุนแรงหนักหนาขึ้นทุกที ย่อมจะยังพระราชหฤทัยให้ไกลความเศร้าหมองน้อยใหญ่ได้ ตามพระพุทธพรสมเด็จพระบรมศาสดา พระผู้ทรงเหนือพรหมเทพมนุษย์สัตว์ ขอพระราชทานถวายพระพุทธพร”
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ