ประวัติศาสตร์ พระศาสนา ชาวพุทธต้องศึกษา

  จิตที่เป็นธาตุรู้นี้เมื่อได้ปฎิบัติไปๆ และได้เสวนากับบัณฑิต คือคนดีซึ่งเป็นผู้ฉลาดรู้ ที่ให้คำแนะนำสั่งสอนให้ใคร่ครวญพิจารณา ก็ย่อมจับ
ความจริงได้โดยลำดับว่าอะไรเป็นตัวทุกข์ อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เมื่อเป็นดั่งนี้ เมื่อเกิดบ่อยๆเข้า และได้ประสบเหตุการณ์ต่างๆ มากเข้า ได้มีการเสวนา คือ คบหากับบรรดาผู้รู้ ผู้ฉลาดมากขึ้น ก็ทำให้จิตนี้ได้มีการอบรมและได้ปํญญา คือความรู้ทวีมากขึ้นทุกทีๆ

เพราะฉะนั้น จึงกล่าวว่าเกิดมาก็เพื่อศึกษา เพื่อให้มีความรู้ ความฉลาดยิ่งขึ้น และเพื่ออบรมจิตยิ่งขึ้นนั้นเอง และการที่ต้องมีความวนอันเป็นความวนเวียนอยู่นี้ จิตที่ต้องประสบกับความเวียนเกิดเวียนตาย ประสพกับวัฎฎะคือความวนทั้ง ๓ ดังกล่าวมานั้นมากขึ้นๆ ก็ได้ความฉลาดและความรู้มากขึ้น ว่านั่นเป็นตัวทุกข์ นั่นเป็นตัวเหตุให้เกิดทุกข์

คัดลองมาจากหนังสือ จิตศึกษา หน้า ๑๖๓ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
วันที่ ๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ



เนื้อความ : (อนุตตริยะ)
คอลัมภ์วิจารณธรรม หนังสือพิพม์ พิพม์ไทย ฉบับวันที่ 30

------------------------
ความเคารพศรัทธาอย่างมั่นคงต่อองค์สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ของพระภิกษุสงฆ์สายวัดป่า อันส่งผลให้ได้พากันออกมาเคลื่อนไหวตามคำสั่งของพระธรรมวิสุทธิมงคล หรือหลวงตาพระมหาบัว ญาณสัมปันโน ผู้เป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ในทันทีที่ลั่นวาจาว่า "เราจะยกทัพมาช่วยเพื่อนเรา ด้วยสมเด็จพระสังฆราชเพื่อนเรากำลังถูกรุมกินโต๊ะทั้งที่มีชีวิตอยู่เป็นๆ "

เรื่องนี้ย่อมมีที่มาและที่ไปว่าทำไมพระสงฆ์สายวัดป่าจึงมีความเคารพเทิดทูนต่อสมเด็จพระสังฆราชยิ่งกว่าพระสายปริยัติวัดในเมือง ประการที่หนึ่ง นับเนื่องจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้เคยเป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อครั้งทรงผนวช นับตั้งแต่ก่อนการทรงผนวชจนตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช ดังนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์กับสถาบันพระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญยิ่งที่ใครก็ตามไม่ควรจะกระทำล่วงล้ำกล้ำเกิน

ประการที่สอง สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงมีแนวปฏิบัติทางสายวิปัสสนากรรมฐาน ซึ่งเป็นประเพณีนิยมของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตที่นับเนื่องมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช ทั้งนี้เพราะทรงถือปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนา ที่ว่าเพื่อเป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติสำหรับแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ซึ่งวิปัสสนาธุระคือการอบรมจิตใจตามหลักสมถะและวิปัสสนา เพื่อให้รู้แจ้งในธรรมและกำจัดกิเลสออกจากจิตใจ

ฉะนั้น พระสงฆ์ธรรมยุตจึงถือปฏิบัติสืบทอดมาแต่ครั้งนั้น กล่าวคือ ในเวลาพรรษาก็อยู่ศึกษาคันธุระในสำนักของตนๆ เมื่อออกพรรษาแล้วก็ออกจาริกธุดงค์ไปตามป่าเขาเพื่อหาที่วิเวกปฏิบัติวิปัสสนาธุระ ซึ่งประเพณีปฏิบัติดังกล่าวได้เจริญแพร่หลายในหมู่พระสงฆ์ธรรมยุตสืบมาจวบจนถึงปัจจุบัน ดังที่เรารู้จักกันในนามพระสายวัดป่า เป็นที่ทราบกันดีว่าการศึกษาปฏิบัติกรรมฐานมิได้จำกัดวงอยู่เฉพาะในหมู่พระสงฆ์ธรรมยุตเท่านั้น แต่ได้แพร่หลายไปยังพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายด้วย เช่น

พระสายวิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่ชา สุภทฺโท แห่งวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี

สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้ทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักวิปัสสนากรรมฐานนี้อย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด แต่ด้วยพระภารกิจทางการปกครองจึงไม่มีโอกาสที่จะจาริกอยู่ในสำนักวัดป่า แต่ก็สามารถปฏิบัติได้โดยถือปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า "แม้จะอยู่ในบ้านในเมือง ก็ให้ทำสัญญาคือทำความรู้สึกกำหนดหมายในใจว่าอยู่ในป่า อยู่ในที่ว่าง อยู่ในที่สงบก็สามารถทำจิตใจให้ว่างให้สงบได้" ซึ่งเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้ทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักดังกล่าว

เมื่อมีโอกาสพระองค์จะเสด็จจาริกไปประทับตามสำนักวัดป่าในแถบภาคอีสานชั่วระยะเวลาหนึ่งเสมอมา และสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือจะต้องจะต้องทรงเสด็จเข้ายังวัดป่าบ้านตาดเพื่อเยี่ยมและปรึกษาข้อธรรมกับหลวงตาพระมหาบัว พระองค์ทรงตรัสสอนแก่สานุศิษย์เป็นอนุสรณ์ว่า

"คนนรก" หมายถึงคนที่ร้อนรนอยู่เสมอเพราะมีโลภ โกรธ หลง ประกอบทุจริตต่างๆ อยู่เป็นอาจิณ ซึ่งเสมือนไฟเผาเสมอ ทีแรกอาจเป็นไฟเย็นแต่เมื่อความชั่วปรากฏก็จะเป็นไฟร้อน

พระองค์ทรงตรัสถึง

"คนเดียรัจฉาน" ว่า คือคนที่ทำอะไรไม่มีความละอาย ไม่มีความกลัวเกรงต่อความชั่วอะไร ทำชั่วได้อย่างเปิดเผยหรืออย่างหน้าตาเฉย ส่วน

"คนเปรต" คือคนที่มีความโลภ อยากได้อยู่ไม่รู้จักอิ่มพอ มุ่งที่จะอาศัยเบียดเบียนผู้อื่นอยู่เท่านั้น

(สุวฑฺฒโนวาท)

ด้วยทรงเป็นพระสังฆบิดรของพระสงฆ์ทุกหมู่เหล่าและยังทรงเป็นสมเด็จพระอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน ในยามที่พระองค์ทรงถูกกลั่นแกล้งรังแก พระลูกพระหลานที่เป็นพระสายวัดป่าจึงพากันออกมาให้การช่วยเหลือดูแลเทิดพระคุณ ด้วยเหตุฉะนี้ !!

โดย ณ หนูแก้ว
-----------------------------------------------

ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม






ขวา) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ซ้าย) พระธรรมวิสุทธิมงคล หรือ หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
(ถ่ายเมื่อ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ณ วัดป่าบ้านตาด อ.เมือง จ.อุดรธานี

-----------------------------------------------------------


หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน
เทศน์อบรมฆราวาส ณ ศาลาสวนแสงธรรม กรุงเทพฯ
เมื่อเช้าวันที่ ๑๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๘

ขอให้ตายใจในธรรมของพระพุทธเจ้า
(หลวงตามองภาพในหนังสือพิมพ์ที่ถ่ายกับสมเด็จพระสังฆราช) นี่เวลาท่านจ้อกัน ดูอาการท่านจ้อกัน ท่านนิ่งเฉย ทางนี้ก็กำลังจ้อ สนใจกัน (สื่อใจไม่ผ่านวาจา) สื่อใจอะไรจ้อตลอด จับมือจับแขนกัน เท่ากับเพื่อนเก่า เป็นเพื่อนกัน แต่ก่อนเป็นเพื่อกัน พรรษาท่านแก่กว่าเราสามเดือน เราเกิดแก่กว่าท่านดูเหมือนสองเดือนหรือสามเดือน นี่ละเพื่อนเก่าคุยกัน สนิทกัน (ไม่ต้องมีเสียงนะครับ) ไม่มีเสียง เราจะใช้เสียงน้อยมาก แต่ท่านไม่ได้ใช้ เสียงท่านไม่ได้ใช้ มีแต่เราใช้กราบเรียนท่าน ที่เหลือเราก็มาเยี่ยมท่านอะไรๆ นิดหน่อย แต่ดูอาการก็สนใจ จับมือจับแขนกันดูซิน่ะ ใครจะไปจับมือจับแขนท่านได้ มีแต่หลวงตาละจับได้สบาย นี่ดูเอา

(หลวงตาท่านหยิบหนังสือพิมพ์มาดูภาพท่านกับสมเด็จพระสังฆราชตลอดที่ท่านเทศน์เรื่องสมเด็จพระสังฆราช) ท่านไม่ได้ใช้วาจาเลยนะ ไม่พูดเลย มีแต่เราพูดเล็กน้อย พอให้ท่านทราบเท่านั้น แล้วก็ไม่อยู่นาน เวลาสำคัญๆท่านคุยธรรมะเรื่องภายในสำคัญๆ อยู่มาก เฉพาะสองต่อสอง เรื่องสำคัญท่านจะถาม คุยกันธรรมดา ว่าท่านพูดน้อยท่านก็ไม่ได้พูดน้อย เวลาคุยกันเฉพาะสองต่อสองคุยกันธรรมดาเลยนะ เวลาออกสังคมท่านพูดน้อยมาก

เวลาคุยกันสองต่องสองนี้คุยกันธรรมดาเลย มีอะไรท่านก็รับสั่งถามมา เราก็ตอบไปๆ ท่านถามข้ออรรถข้อธรรมข้อใด พูดกันธรรมดา แต่เวลาสิ่งสำคัญๆ ท่านมักจะถามเฉพาะสองต่อสอง อยู่วัดบวรฯก็ดี อยู่วัดป่าบ้านตาดก็ดี แต่ท่านรู้สึกว่าอาการของท่านเพียบกว่าเรามากนะ ทั้งๆที่อายุเท่ากัน เราแก่กว่าท่านดูสามเดือน เราบวชท่านก็แก่กว่าเราสามเดือน ไล่เลี่ยกัน แต่ดูท่านรู้สึกจะเพียบกว่าเรามาก

วันนี้ก็ไม่พูดอะไรมากนักละ วันไหนพูดทุกวันๆ นี่ตอนกลางคืนเทศน์ทุกคืนนะ ออกวิทยุกระจายทั่วประเทศไทยทุกคืนๆ ส่วนไปเทศน์ที่ไหนต่อที่ไหนไม่ทราบ แต่เทศน์ที่นี่ออกวิทยุเดี๋ยวนั้นเลย

เห็นไหมละพระท่านคอยดูแลอุปถัมภ์อุปัฏฐากท่าน บกพร่องที่ไหน ไหนจะไปหาใครมาทำงานแทนสมเด็จสังฆราช มันเสือกหาอะไร ว่าอย่างนี้ละเรา มันหยาบมากต้องบอกว่าเสือก ไม่อย่างนั้นน้ำหนักมันไม่เท่ากัน การพูดนี้ไม่ได้พูดหยาบโลน เอาน้ำหนักฟัดกัน มันเสือกหาอะไร คือความดื้อด้านของคนที่มานี่เสือกมาหาอะไร มันก็รับกันได้ละซิ มันโกโรโกโส เป็นพระผู้ใหญ่เท่าไรยิ่งหยาบโลนลงไป จะให้เขากราบไหว้ลงคอเหรอ อยากเป็นสังฆราช เป็นสังฆราชมาแล้วใครจะกราบ หมามันก็ไม่กราบพระประเภทนี้นะ 
ฯ ๗๑  ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม

#6




'' บุญพระนอนองค์ใหญ่ จะช่วยต้านภัยพิบัติ " - หลวงปู่สังวาลย์ เขมโก
ฯ ๗๑  ตอบพร้อมอ้างอิงข้อความเดิม

หลวงตามหาบัว ท่านเมตตาเล่าให้ฟังว่า ดังนี้

หลวงตาบัวเข้าเฝ้าสังฆราช

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 13 ธันวาคม ที่ตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาล ชั้น 6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ พระธรรมวิสุทธิมงคล(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) เจ้าอาวาสวัดป่าบ้านตาด อ.เมืองอุดรธานี เข้าเยี่ยมพระอาการอาพาธสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประมาณ 20 นาที หลวงตามหาบัวให้สัมภาษณ์ภายหลังว่า "ท่านทรงมีอาการปกติ ปกติท่านก็เป็นพระสังฆราชอยู่แล้ว แล้วจะให้ท่านเป็นอะไรอีก หรือแม้หลวงตาบัวก็เป็นหลวงตาบัวอย่างนี้อยู่แล้วจะให้หลวงตาบัวเป็นอะไรอีก วันนี้ท่านไม่ค่อยได้รับสั่งอะไร ท่านรับสั่งยาก หลวงตาบัวก็ลงไปกราบที่ตักท่าน"

"ท่านให้อาตมานั่งที่เก้าอี้ และท่านชี้ไปที่เก้าอี้ด้วยบอกให้นั่ง ท่านมีความพอพระทัยที่อาตมามาเยี่ยม แต่ไม่กล้าเยี่ยมนาน พระองค์ทรงแย้มพระสรวล และทราบว่าอาตมามาเยี่ยม อาตมาเองสนิทกับสมเด็จมานานแล้ว สนิทกันตั้งแต่อยู่วัดบวรนิเวศวิหารด้วยกัน ท่านเคยไปพักพลานามัยที่วัดป่าบ้านตาดหลายครั้ง แต่ละครั้งจะพักประมาณ 1 สัปดาห์กว่าๆ" หลวงตามหาบัวกล่าว

มติชน วันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2548
ปีที่ 28 ฉบับที่ 10140



-------------------------------------------------------

ฯ ๗๑  

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ