"โบสถ์ดิน-เศรษฐกิจพอเพียง" ของสมเด็จพระสังฆราช ยังก่อสร้างไม่เสร็จ ? ชาวพุทธทั่วโลกต้องศึกษา




มหัศจรรย์ !
สองโครงการของสังฆราช


หุ้มทองยอดฉัตรพุทธคยาพริบตาเดียวก็เสร็จ
แต่โบสถ์ดินพอเพียงตามพระราชดำริยังไม่เสร็จ




ภาพเปรียบเทียบ


ซ้าย : โครงการสร้างโบสถ์ดินพอเพียง ในพระดำริของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ตามพระบรมราโชบาย "เศรษฐกิจพอเพียง"สร้างเพียง แห่ง ภาคละ 2 หลังๆ ละ 2 ล้านบาท รวมราคาทั้งสิ้น 18 ล้าน เปิดโครงการตั้งแต่ปีมะโว้ แต่จนป่านนี้ยังหาเงินได้ไม่ครบ การก่อสร้างจึงยังไม่เสร็จ

ขวา : โครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาโพธิเจดีย์พุทธคยา นำโดยคนไทยไฮโซ มีสมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานโครงการ ใช้ทองคำประมาณ 250 กิโลกรัม มูลค่าประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งทางกรรมการพุทธคยากำหนดให้แล้วเสร็จภายในปี พ.ศ.2556 ก็ปรากฏว่าสามารถระดมทองคำได้ทะลุเป้า จนเหลือล้น จะว่าคนไทยยากจนก็ไม่ใช่

สองโครงการนี้ เป็นโครงการของคณะสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร ด้านหนึ่งก็ประกาศตามรอย "พระนโยบายเศรษฐกิจพอเพียง" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ด้านหนึ่งก็ประกาศตามรอย "นโยบายขายบุญ" ของคนโลภในผ้าเหลือง รู้แต่ว่า วันนี้ หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ นำเสนอสกูปพิเศษว่าด้วย "โบสถ์ดิน-เศรษฐกิจพอเพียง" ของสมเด็จพระสังฆราช ยังก่อสร้างไม่เสร็จ เพราะเบี้ยน้อยหอยน้อย ต้องค่อยสร้างกันไป ตามยถากรรม ทั้งๆ ที่เป็นโครงการของสมเด็จพระสังฆราช พระองค์เดียวกันแท้ๆ แต่ก็แตกต่างกันราวฟ้ากับดิน "อันหนึ่งเป็นดิน อันหนึ่งเป็นทอง" ต้องถือว่าเป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่งกว่าพระเกศาและพระโลหิตของพระสังฆราชกลายเป็นพระธาตุเสียอีก ถ้าส่งไปลงกินเนสบุ๊ค รับรองว่าไม่มีใครเหมือนในโลกใบนี้





จากวัดบวรนิเวศวิหารสู่พุทธคยา สุดยอดดินแดนแห่งบุญ





หุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา ครั้งเดียวในชีวิต
เผลอๆ เกิดชาติหน้าก็ไม่มีโอกาสถวายทองให้แก่พระเจดีย์แห่งนี้
ดังนั้น จงอย่ารีรอ รีบตัดสินใจด่วน ก่อนโอกาสทองจะผ่านไปไม่กลับมา




งานทำทอง VS งานก่อสร้าง





นับเงินนับทอง VS นับดินนับทราย




คณะกรรมการฝ่ายทองคำ VS คณะกรรมการฝ่ายดิน





เอ้า ! มาละเหวย มาละวา
มาแต่ของเรา ของเขาไม่เห็นเอามา





ไชโย ไทยเราได้เป็นเจ้าของยอดฉัตรพุทธคยาแล้ว
และพรุ่งนี้เราค่อยปฏิรูปการเมืองเรื่องการทำบุญเอาหน้าฮ่ะ



ไม่นานมานี้ ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมความคืบหน้าโครงการก่อสร้างอุโบสถดินพอเพียงกับสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ที่วัดป่าห้วยปางเม็งเฉลิมพระเกียรติ

อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็น 1 ใน 9 แห่งทั่วประเทศ ที่ทั้งพระสงฆ์ นักเรียน นักศึกษา พุทธศาสนิกชน ต่างร่วมแรงร่วมใจกันสร้างขึ้น เพื่อถวายเป็นพระกุศลแด่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ถึงแม้ว่าวันนี้พระองค์ได้สิ้นพระชนม์ลงแล้ว การสานต่ออุโบสถดินพอเพียงก็ยังคงดำเนินการต่อไป เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ระลึกถึงสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก และต้นแบบของวัดพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เมื่อไปถึงที่วัดป่าห้วยปางเม็งเฉลิมพระ เกียรติ เราได้เห็นธรรมชาติรอบวัดที่ห้อมล้อมด้วยป่าเขา เห็นเนินเขาเล็ก ๆ ที่กำลังมีการก่อสร้างอุโบสถดิน เห็นน้อง ๆ นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา กำลังช่วยกันโกยดิน ขุดดิน อัดดินให้เป็นผนังของอุโบสถทีละชั้น ๆ ทีละเล็กทีละน้อย จนเกิดเป็นผนังอันแข็งแรง ใช้กันแดดกันฝนให้เป็นพื้นที่สำหรับพระสงฆ์ได้ใช้ประกอบสังฆกรรมต่าง ๆ ทั้งการบวชนาค การรับกฐิน ผ้าป่า ในการสืบทอดพระพุทธศาสนา

พระครูสังฆสิทธิกร หัวหน้าฝ่ายศาสนวิเทศสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เล่าให้ฟังว่า จากแนวคิดก้อนดินสู่ก้อนบุญ ทำให้เกิดโครงการอุโบสถดินพอเพียงขึ้นตั้งแต่ปี  2554 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา และสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ฉลองวาระครบ 23 ปีแห่งการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่วัดป่าพุทธนิมิตสถิตสีมาราม บ้านห้วยยาง อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร เป็นแห่งแรก ซึ่งได้สร้างเสร็จในปี 2555 โดยอุโบสถดินได้สะท้อนออกมาจากพระราชดำริและพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระสังฆราช ที่ทรงอยากให้คนไทยและชาวพุทธได้รู้จักหลักธรรมของพระพุทธองค์ นั่นคือ เรื่องความพอเพียงที่มีความเหมาะสมกับบุคคล สถานที่ และกาลเวลา

“เรายึดหลักคิดที่ว่าจากก้อนดินก้อนเล็ก ๆ ที่ไม่มีค่าอะไร เมื่อมาประกอบเข้ากับแรงบันดาลใจ ใช้ความคิด และสติปัญญาแล้ว ก็ทำให้เกิดการเรียนรู้ในการใช้ทรัพยากรใกล้ตัว มีการร่วมลงมือลงแรงจากชาวบ้านในพื้นที่ และนักศึกษาอาสาสมัครก็สามารถนำมาสร้างอุโบสถในพระพุทธศาสนาขึ้นได้ อุโบสถดินนี้อาจจะไม่สวยไม่หรูหรา แต่ก็ยังใช้เป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมตามกิจของสงฆ์ได้ครบถ้วนตามพระธรรมวินัยและต่ออายุพระพุทธศาสนาได้อีกยาวนาน”

พระครูสังฆสิทธิกร เล่าอีกว่า ปัจจุบันได้ดำเนินการการก่อสร้างอุโบสถดินเสร็จแล้ว 7 แห่ง ประกอบไปด้วย 1. วัดป่าพุทธนิมิตสถิตสีมาราม บ้านห้วยยาง อ.โคกศรีสุพรรณ จ.สกลนคร 2. วัดบุเจ้าคุณ อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา  3.วัดสิงห์ทอง บ้านหนองแซง อ.กุดชุม จ.ยโสธร  4. วัดสันติวรคุณ บ้านสำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา 5.วัดตอยาง อ.หนองโดน จ.สระบุรี  6. วัดพระธาตุโป่งนก อ.ด่านมะขามเตี้ย จ.กาญจนบุรี และ 7. วัดป่านันทบุรีญาณสังวราราม บ้านผาตูบ อ.เมือง จ.น่าน ส่วนที่เหลืออีก 2 แห่ง  ยังอยู่ระหว่างการก่อสร้างได้แก่ วัดป่าห้วยปางเม็งเฉลิมพระเกียรติ อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ และวัดทับทิมสยาม 01 อ.บ่อไร่ จ.ตราด

อย่างไรก็ตาม พระครูสังฆสิทธิกร ย้ำว่า สิ่งสำคัญที่สุดเราต้องการให้อุโบสถดินทั้ง 9 แห่งใน 4 ภูมิภาค เป็นอนุสรณ์ ที่สะท้อนถึงองค์สมเด็จพระสังฆราชที่ทรงมีความเรียบง่าย สิ่งก่อสร้างของพระองค์ก็สะท้อนตัวตนของพระองค์ ซึ่งเป็นพระกรรมฐาน แสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย และสะท้อนให้พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนได้เห็นเป็นตัวอย่างของความพอเพียง

เมื่อได้ฟังที่มาที่ไปจากพระอาจารย์แล้ว ท่านได้พาไปชมผนังของอุโบสถดินของวัดป่าห้วยปางเม็งเฉลิมพระเกียรติ ที่ใช้เทคนิคการบดอัดดินเป็นชั้น ๆ มีความแข็งแรงคงทนยาวนานได้เป็นพันปี มีเอกลักษณ์เช่นเดียวกับการสร้างกำแพงเมืองจีน และสถาปัตยกรรมในยุโรป ซึ่งพระครูสังฆสิทธิกรบอกอีกว่า น่าเสียดายที่องค์ความรู้เหล่านี้ถูกมองข้ามไป เนื่องจากไม่มีความคุ้นเคยกับทฤษฎีสมัยใหม่ ดังนั้นจึงรวบรวมองค์ความรู้การก่อสร้างอุโบสถดินแต่ละแห่งเพื่อเป็นต้นแบบให้วัดในถิ่นทุรกันดาร และขาดแคลนทุนทรัพย์ ขณะเดียวกันมหาวิทยาลัยสามารถนำความรู้ไปเผยแพร่สู่นักศึกษาและชุมชนได้อีกด้วย

อุโบสถดินไม่เพียงแต่จะเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับการใช้ดินสร้างสิ่งก่อสร้างแต่ยังเป็นสถานที่ที่คนในชุมชนจะได้ร่วมใจกัน เป็นสถานที่ให้เด็กและเยาวชนได้ปฏิบัติงานจริงเพื่อต่อยอดความรู้ที่เรียนมา รวมถึงได้เรียนรู้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและได้ระลึกถึงสมเด็จพระสังฆราช อย่างน้องบูม-อนุวัฒน์ พีระเป็ง นักศึกษาชั้นปีที่  3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา หนึ่งในแกนนำอาสาสมัครมาร่วมสร้างอุโบสถดิน บอกว่าได้เข้ามาช่วยสร้างอุโบสถดินตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งตอนแรกอาจารย์ได้ขอความร่วมมืออาสาสมัครมาสร้างอุโบสถดินบูมคิดว่า จะเป็นโอกาสที่ได้ฝึกปฏิบัติงานจริงและได้ทำบุญด้วย ตอนแรกรวมตัวมากับเพื่อนไม่กี่คน ตอนนี้มีเพื่อนสลับสับเปลี่ยนมาช่วยมากขึ้น ที่สำคัญขอให้ได้มีโอกาสถวายงานแด่สมเด็จพระสังฆราช ถึงแม้พระองค์จะสิ้นพระชนม์ไปแล้วแต่คุณประโยชน์ที่พระองค์ได้ทำไว้จะอยู่ในใจคนไทยตลอดไป

ขณะที่น้องวิก-อดิศักดิ์ อิศรี นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะสังคมศาสตร์ พร้อมน้องไตเติ้ล-นครินทร์ ดลราษี และน้องฝน-ภิญญาพัชร์ ศิลป์ศิริปรีชา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า ตั้งใจที่จะมาสร้างอุโบสถดินถวายสมเด็จพระสังฆราช รวมทั้งการมาทำงานครั้งนี้ ได้ฝึกความรู้ที่ได้เรียนมาและได้เรียนรู้หลักธรรม คือ ความพอเพียง ได้รู้จักการทำงานกับชุมชน ได้รู้จักสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนด้วย ที่สำคัญได้มาทำบุญ เพราะพวกเรายอมรับว่าการจะหาโอกาสเข้าวัดและได้ทำบุญใหญ่เช่นนี้ถือว่ามีโอกาสน้อยมาก

อุโบสถดินนอกจากจะเป็นต้นแบบของวัดพอเพียงแล้ว ยังเป็นอนุสรณ์ให้ระลึกถึงสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก รวมทั้งองค์ความรู้ ภูมิปัญญาของมนุษย์ในการใช้ดินทำเป็นสิ่งก่อสร้าง อีกทั้งยังเป็นโมเดลสิ่งก่อสร้างต้นแบบในการใช้ส่งเสริมคุณธรรม ความดีให้แก่เด็กเยาวชน และชุมชน รู้จักจิตอาสาเข้าถึงหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาด้วยการปฏิบัติ ทำให้ระบบบ้าน วัด โรงเรียน หรือหลัก “บวร” เชื่อมโยงการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบจนเกิดผลสู่คนและสังคมได้อย่างแท้จริง


ที่มา : เดลินิวส์

13 ธันวาคม 2556

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ