ประวัติศาสตร์ ขอความเป็นธรรม แก่ ทรราช ? ต้องศึกษา ?

ความเป็นธรรมเพื่อ สมเด็จพระสังฆราช 
ข้อมูลประวัติศาสตร์ ที่  

ข้อมูลทรราชในผ้าเหลือง ที่

ด่วนเรื่องที่ชาวพุทธทั่วโลก ต้องศึกษาขบวนการทำลายสถาบันพระศาสนา ประจักษ์แจ้งที่ ศึกษาข้อมูล วิทยานิพนธ์ด้านความมั่นคงสถาบันพระศาสนา ข้อมูลที่ https://docs.google.com/file/d/0B_nOh0gPsWNSUkVWRG9aQ3pkbmc/edit

 เป็นประเด็นคาใจผู้เขียนมานานนักหนาแล้ว เรื่องของ "ความเป็นกลาง" คนส่วนใหญ่เข้าใจว่า "ความเป็นกลางคือไม่เข้าข้างฝ่ายใดเลย ไม่ว่าถูกหรือผิด" ซึ่งเป็นการนำเอาธรรมะข้อที่ว่า "อุเบกขา" มาสนับสนุนความเป็นกลางของตนเองอย่างไม่ตรงตามหลักการของพระพุทธองค์ด้วย ขออ้างอิง
      จึงอยากจะชี้แจงถึง "ความเป็นกลาง" ไว้ ณ ที่นี้ว่า คำว่า "เป็นกลาง" นี้ มิใช่เรื่องของการนิ่งดูดายไม่สนใจไยดี แบบว่า ผิดก็ชั่ง ถูกก็ชั่ง ทำตัวเป็นพระประธานในโบสถ์สถานเดียว อย่างนี้มิใช่ความเป็นกลางในทางพระพุทธศาสนา หากแต่แท้ที่จริงแล้ว ความเป็นกลางก็คือ การยืนยันหลักธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องของ "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" ไม่ใช่ "ไม่มีอะไรดีหรือชั่วเลยในโลกนี้" นี่คือคำจำกัดความ
     ยกตัวอย่าง ศาลสถิตยุติธรรม ซึ่งมีหน้าที่พิจารณาอรรถคดี แน่นอนว่าศาลจะต้องมีความเป็นกลางและเป็นธรรม ไม่เอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก่อนจะเห็นพยานหลักฐาน แต่เมื่อพิจารณาจากพยานหลักฐานแล้ว พบว่าฝ่ายหนึ่งผิด ฝ่ายหนึ่งถูก ศาลที่เป็นธรรมคือเป็นกลางก็ต้องตัดสิน "ให้ผิด-ให้ถูก" ไปตามพยานหลักฐานที่พบนั้น ไม่ใช่อ้างว่า "ศาลเป็นกลาง"แล้วตัดสินให้ "ถูกทุกฝ่าย" หรือ "ผิดทุกฝ่าย" หรือ "ไม่มีฝ่ายไหนถูกฝ่ายไหนผิด" หรือ"ดองคดีไว้ไม่ตัดสิน เหมือนศาลสงฆ์ที่มีพระพรหมโมลีรับคดีธรรมกายมา 5 ปีที่ผ่านมา" อย่างนี้ถือว่ามิใช่ศาลที่ดีแน่นอน โดยเฉพาะหลักธรรม "อคติ 4" ที่ต้องนำมากำกับการทำงานอย่างเคร่งครัด นั่นคือ

1. ฉันทาคติ   ลำเอียงเพราะความรัก
2. โทสาคติ   ลำเอียงเพราะความโกรธ
3. โมหาคติ   ลำเอียงเพราะความโง่
4. ภยาคติ    ลำเอียงเพราะความกลัว

     นั่นคือว่า ผู้จะทำงานต่อประเทศชาติ ศาสนา และประชาชนแล้ว ต้องละวางอคติเหล่านี้ไม่มีความรัก ไม่มีความโกรธ ไม่มีความโลภ ไม่มีความหลง และที่สำคัญก็คือ ไม่กลัวแต่โทษทีเถิด มันหายากนาคนชนิดนี้ เอาแค่ความรักชนิดเดียวมันก็ตัดยากแล้ว ยิ่งความโกรธ ความโลภ และความหลง ด้วย มันมีอยู่ด้วยกันทั้งนั้น แถมด้วยความกลัวต่อภัยที่จะมาจากการทำหน้าที่อย่างตรงไปตรงมา โดยเฉพาะกลัวตาย ถ้าไม่กลัวตายเสียอย่างเดียวแล้ว ใครๆ ก็หายกลัวด้วยกันทั้งสิ้น นี่แหละที่ว่ามันยากกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา
     แต่ถึงแม้ว่าไม่รัก ไม่โกรธ ไม่โลภ และไม่กลัวแล้ว ยังมีอีกตัวที่สำคัญสุดๆ คือ "ไม่หลง"คำๆ นี้ตีความหมายว่า ต้องรู้แจ้งเห็นจริง ทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ รู้เหตุ รู้ผล รู้ตน รู้ประมาณ รู้กาลเวลาและสถานที่
      การพิจารณาหาเหตุผลอย่างบริบูรณ์นั้นคือ ต้องมีข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วน และเมื่อนำเข้าสู่กระบวนการพิจารณาว่าผิดหรือถูกนั้น ก็ต้องอาศัยสติปัญญาอันสามารถรวมกับทัศนะ อันเป็นกลาง ไม่เอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแบบว่าตั้งธงไว้ก่อน รู้ด้วยว่า ถ้าตัดสินใจไปเช่นนี้จะมีผลอย่างไรต่อประชุมชน ซึ่งจะเป็นเหตุผล "สุดท้าย" ในการทำงาน คือการประเมินผลดีผลเสียอย่างรอบด้านนั่นเอง ถ้าใช้ศัพท์นิยมก็เห็นจะต้องกล่าวว่า "การทำงานในระบบบูรณาการ" มิใช่จับจดเหมือนตาบอดคลำช้าง
     จึงต้องขอย้ำความรู้ความเข้าใจในเรื่องของ "ความเป็นกลาง" นี้ให้ชัดเจน อย่าเล่นสำนวนไทยเพียงวลีเดียวว่า "พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง" เพราะยังมีเหตุผลกลไกที่ต่างชั้นต่างระดับกันในการพิจารณาหาเหตุผล
     ถ้าเรามีกฎเกณฑ์ที่โปร่งใส บริสุทธิ์ ยุติธรรม ตามครรลองคลองธรรมทุกขั้นตอน ก็เชื่อแน่ว่า หากศาลตัดสินออกมาเช่นใดแล้ว จะมีคนยอมรับนับถือ หรือถึงกับเทิดทูนบูชาในการพิจารณาคดีความนั้นๆ นั่นเพราะเป็นการทำงานด้วยธรรม
     หลักการใหญ่ๆ ในการประพฤติปฏิบัติธรรมตามพระธรรมคำสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็คือ ศีล สมาธิ และปัญญา
ศีล มี 5 ข้อ
1. ไม่ฆ่าคนและสัตว์
2. ไม่ลักขโมย ไม่โกงกิน ไม่ฉ้อราษฎร์บังหลวง ไม่ออกกฎหมายเอื้ออาทรให้พวกพ้องและตัวเอง รวมถึงไม่โกงภาษีอากรด้วย
3. ไม่ประพฤติผิดในคู่ครองของผู้อื่นและตนเอง
4. ไม่เจรจามุสาวาท ไม่พูดกลับไปกลับมาหาที่แน่นอนมิได้ ไม่กล่าววาจาส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบคาย ไม่พูดคำประชด งดเว้นคำพูดแสลงใจ พูดแต่ปิยวาจา ไม่พูดทำนองยกตนข่มท่าน ไม่อวดดีแต่ฝ่ายเดียว ต้องอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น เป็นคุณสมบัติของผู้มีศีลข้อนี้
5. ไม่ดื่มสุรายาเมา ไม่เสพยาม้า ยาบ้า ยาอี สิ่งเสพติดทั้งหลาย และไม่สนับสนุนให้มีการค้าขายโฆษณาสินค้าเหล่านี้ ไม่ว่าจะทางหนังสือพิมพ์ ทีวี หรือแม้แต่การนำเข้าตลาดหลักทรัพย์เพื่อเพิ่มทุนให้แก่สินค้าที่ผิดศีลธรรมเช่น เหล้า เบียร์ ไวน์ เป็นต้น
     เมื่อมีศีล ก็จะทำให้กายและวาจา สงบ ไม่ลุกรี้ลุกรน พูดก็จะพูดดี ทำก็จะทำดี ไม่มีภัย ส่งผลให้จิตใจชื่นบานแจ่มใสไม่ขุ่นมัว และจะมีสมาธิในการทำงาน หรือแม้แต่ในการใช้ชีวิตประจำวัน คือจะเกิดความนิ่ง เป็นสมาธิที่ไม่ต้องนั่งภาวนาอะไรเลย มันจะเกิดเองเป็นเองโดยธรรมชาติ ถ้าหากเพียงรักษาศีลห้าข้อให้ได้ดีเท่านั้น และสุดท้าย เมื่อเกิดสมาธิขึ้นเป็นความมั่นคงในกมลสันดานแล้ว ก็จะเกิดสติปัญญาสามารถ มองเห็นอรรถสาระแห่งชีวิตและหน้าที่การงานว่า คืออะไร และทำไปเพื่ออะไร
     ผู้ที่ทำได้เช่นนี้ ย่อมจะมีความสุขสำเร็จ ถึงจะพยายามทำงานเป็นการปิดทองหลังพระก็ตาม ก็ย่อมจะมีคนรู้เห็นและเชิดชู ยิ่งอยู่ในที่ลับคนก็ยิ่งอยากให้ได้รับแสงสว่าง ดังที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า "ธรรมะของเดียรถีย์ยิ่งปิดยิ่งรุ่งเรือง แต่เปิดเผยกลับไม่รุ่งเรือง ส่วนธรรมะของพระพุทธองค์นั้นยิ่งปิดยิ่งไม่รุ่งเรือง แต่ยิ่งเปิดเผยยิ่งรุ่งเรือง" ซึ่งแสดงถึงหลักการ "ท้าพิสูจน์" นั่นเอง
     ก็ลองเอาไปใคร่ครวญพิจารณาหาเหตุผลเอาเองเถิด เพราะทุกท่านก็อ่านเป็น แต่จะคิดเป็นหรือไม่ ต้องอาศัยหลักธรรมนำทาง ดังกล่าวมาฉะนี้
     ขอย้ำว่า
ธรรมะย่อมชนะอธรรม
ผู้ประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุข
ผู้ที่มีธรรมะในการทำงาน ย่อมรู้สึกเป็นสุขกาย สบายใจ และเย็นใจ ไม่ร้อนรน
เหมือนคำกล่าวว่า "อยู่ก็สบาย ไปก็ไม่ต้องเป็นห่วง"
เพราะมิได้ทำงานเพื่อตัวเอง แต่เป็นการทำงานเพื่อคนอื่น เพื่อส่วนรวม แล้วจะห่วงอะไร
จริงไหม ท่านนายกรัฐมนตรี ?
ผลงานผู้ห่มเหลือง ที่ ช่วยลูกศิษย์ผู้ปราชิก
ข้อมูลที่ 

ศึกษาข้อมูลมารศาสนา ที่


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง