พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก องค์ในประวัติศาสตร์ ของ สมเกียรติ กาญจนชาติ








พระกริ่งปวเรศ รุ่นแรก องค์ในประวัติศาสตร์ ของ สมเกียรติ กาญจนชาติ

ถ่ายที่ ประวัติศาสตร์ บน http://www.facebook.com/thaihistory

ข้อมูลประวัติศาสตร์
พระกริ่งปวเรศ เป็นพระกริ่งที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์โปรดให้สร้า้งขึ้น มีพระพุทธรูปลักษณะ ปางหมอยา เป็นชื่อเรียกพระกริ่งที่สร้างโดยฝีมือของช่างสิบหมู่ หรือ ช่างหลวง ตั้งแต่ พ.ศ. 2382 – พ.ศ. 2434 ในอาณาจักรพระเครื่องรางที่นับถือว่ามีอานุภาพขลังศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ รู้จักแพร่หลายในหมู่นักนิยมพระเครื่องตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 4 สืบมาถึงปัจจุบัน มีราคาซื้อขายสูงที่สุดในประเภทพระโลหะ การสร้างมีพิธีพระพุทธาภิเษก และมีพิธีโหร พิธีพราหมณ์ และพิธีบวงสรวงอัญเชิญเทพเทวาพระเบื้องบนมาช่วยร่วมพิธีกรรมต่างๆ

ประวัติที่มา

พระพุทธรูปที่ จัดว่าเป็นพระเครื่องในช่วงแรกนี้มีทั้งทำจากดินและจากโลหะ แต่พระที่ใช้โลหะเป็นวัสดุในการสร้างและเมื่อเขย่าแล้วจะมีเสียงดังกริ่งๆ ที่เรียกกันว่า พระกริ่ง ได้รับการยอมรับและศรัทธาในสังคมมากกว่า ได้กล่าวโดยกรมพระยาดำรงราชานุภาพ อาจเนื่องจากรูปแบบของพระกริ่งนั้นคือ พระไภษัชยคุรุ ในหนังสือตำนานพุทธเจดีย์ว่า พระกริ่งที่สร้างขึ้นทุกองค์เป็นพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตทั้งสิ้น และความเชื่อที่ว่าพระไภษัชยคุรุนั้น มีอำนาจพุทธานุภาพทำให้ผู้ที่บูชาหายจากความเจ็บป่วยไข้และพ้นภัยจากอันตรายทั้งปวง การสร้างพระกริ่งที่เป็นพระไภษัชยคุรุไวฑูรยประภาตถาคตขนาดเล็กขึ้นเพื่ออาศัยบารมีของพระไภษัชยคุรุนี้ ช่วยขจัดภยันตรายต่างๆและให้ผู้ที่พกพาติดตัวระหว่างเดินทางปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวงจากที่พกติดตัว จึงเป็นมูลเหตุที่สำคัญในการนับถือพระกริ่งเป็นเสมือนเครื่องรางและนำติดตัว กล่าวได้ว่า พระกริ่งปวเรศ เป็น พระกริ่งรุ่นแรก ที่สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ อีกทั้งยังมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความนิยมสร้างพระพุทธปฏิมาในลักษณะ พระกริ่ง ในเวลาต่อมาอย่างแพร่หลายได้รับความนิยม ศรัทธา สูงสุดในวงการซื้อขายที่ถือเป็นสุดยอดพระกริ่ง การสร้างเป็นพิธีกรรมของราชสำนักบุคคลทั่วๆไปย่อมไม่มีโอกาสได้พบเห็นจำนวน การสร้างเกือบทั้งหมดบรรจุกรุที่วัดพระแก้ว ไม่ทราบจำนวนการสร้างที่แน่ชัดจึงถือเป็นของหายากและเป็นที่สุดของพระกริ่ง ปวเรศ

ประวัติการสร้างพระกริ่งปวเรศ

พระกริ่งในสมัยรัตนโกสินทร์เริ่มสร้างที่มีความโดดเด่นมากในยุคสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2382 จัดได้ว่าเป็นพระกริ่งยุคเริ่มบุกเบิกและมีพลังพุทธนุภาพแรงที่สุด พระกริ่งปวเรศเริ่มมีชื่อเสียงในวงแคบๆตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมาถึงยุคของรัชกาลที่ 5 พระกริ่งที่โด่งดังในอดีตล้วนแต่เป็นพระกริ่งที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต เนื่องจากพระกริ่ง และพระกริ่งปวเรศมีจำนวนการสร้างมากแต่จำนวนเกือบทั้งหมดถูกเก็บรักษาไว้ใน กรุของวัดพระแก้ว (วัดพระศรีรัตนศาสดาราม) ทำให้บุคคลทั่วๆไปในยุคหลังสมัยรัชกาลที่ 5 แทบไม่เคยพบเห็นและรู้จัก

ภาพรวมของพระกริ่งปวเรศแบ่งออกเป็น 5 ยุค ดังต่อไปนี้

พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้า ยุคที่ 1 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2394 ถึง พ.ศ. 2408 ในสมัยของ รัชกาลที่ 4 มีพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระบาทสมเด็จฯปวเรศ), ตำแหน่ง วังหน้าและ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต

พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้า ยุคที่ 2 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2408 ถึง พ.ศ. 2411 ในสมัยของ รัชกาลที่ 4 ตำแหน่ง วังหน้า ว่างเว้น และ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต

พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้า ยุคที่ 3 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 24011 ถึง พ.ศ. 2415 ในสมัยของ รัชกาลที่ 5 กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ตำแหน่ง วังหน้าองค์สุดท้าย และ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) ร่วมอธิษฐานจิต

พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้า ยุคที่ 4 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2415 ถึง พ.ศ. 2428 ในสมัยของ รัชกาลที่ 5 กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ตำแหน่ง วังหน้าองค์สุดท้าย

พระกริ่งปวเรศและพระเครื่องวังหน้า ยุคที่ 5 เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2428 ถึง พ.ศ. 2435 ในสมัยของ รัชกาลที่ 5 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ เนื่องจากไม่มีตำแหน่งวังหน้า ผู้ที่มีอาวุโสของพระญาติวังหน้า จึงได้มีบทบาทสำคัญยุคสุดท้ายของพระกริ่งวังหน้าในยุคที่ 5

ความเชื่อและคตินิยม

สำหรับความเชื่อในเรื่อง เครื่องราง ของคนไทย มีมาแต่ครั้งโบราณ ดังจะเห็นได้ในวรรณกรรมที่มีการกล่าวถึงอยู่เสมอๆ โดยเฉพาะ เครื่องราง ที่นักรบใช้ติดตัวในยามออกศึกสงคราม เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจให้ห้าวหาญไม่เกรงคลัวข้าศึก โดยเชื่อกันว่า เครื่องราง ที่สร้างขึ้นด้วยวิชาไสยศาสตร์ชั้นสูง โดยพระเกจิอาจารย์ผู้มีวิชาอาคมอันเข้มขลัง จะสามารถช่วยคุ้มครองป้องกันภัยรอบตัวได้เป็นอย่างดี
ปัจจุบันนิยมนำมาห้อยคอเป็นเครื่องรางสำหรับคุ้มครองป้องกันและเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต
อาราธนาทำ น้ำมนต์ เมื่อเวลาเรารู้สึกดวงไม่ดี มีเคราะห์ หรือเจ็บป่วย นำพระกริ่งปวเรศ หรือพระกริ่ง (องค์แทนพระพุทธเจ้าไภษัชยคุรุไวฑูรย์ประภาสพุทธเจ้า) อาราธนาบารมีของพระองค์ท่านทำน้ำพระพุทธมนต์ ดื่ม รด อาบ กินเพื่อความสวัสดี มีชัยปราศจากโรคภัยและกำจัดปัดเป่าอัปมงคล อันตราย ภัยพิบัติต่างๆ
มวลสารพระกริ่งปวเรศ

สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ ที่ 13 เคยมีดำรัสถึงเรื่องพระกริ่งปวเรศนี้ว่า ตำราการสร้างพระกริ่งและตำรามงคลโลหะ ที่มีมาแต่โบราณสืบค้นได้ถึงสมัยสมเด็จพระพนรัตนวัดป่าแก้ว ท่านอาจารย์ตรียัมปวาย ได้กล่าวถึงเรื่องพระกริ่งปวเรศไว้ดังนี้ “พระกริ่งปวเรศที่คนโบราณเขานิยมกันนั้น มีอยู่เนื้อเดียว คือเนื้อนวโลหะผิวกลับดำ เมื่อขัดเนื้อในจะเป็นสีจำปาเทศ และเมื่อทิ้งไว้ถูกกับอากาศจะกลับดำอีกครั้งหนึ่งในเวลาไม่นาน[8] เนื้อนวโลหะ ประกอบไปด้วย โลหะ 9 อย่างได้แก่ ทองคำ เงิน ทองแดง จ้าวน้ำเงิน(พลวง) เหล็กละลายตัว ชิน(ตะกั่ว+ดีบุก) ตะกั่วน้ำนม ปรอท สังกะสี[9]

แหล่งข้อมูล ที่ http://th.wikipedia.org/wiki/พระกริ่งปวเรศ

พระเครื่องวัตถุมงคลต่างๆทำเพื่อสืบทอดอายุพระศาสนา เป็นพุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติ เป็นหลักฐานทางวัตถุว่า ที่นี่มีพระพุทธศาสนา มีผู้ศรัทธาในคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าและปฎิบัติตาม และเป็นสิ่งระลึกอันประเสริฐของบุคคล ผู้คนรุ่นแต่ก่อน ปัจจุบัน และต่อไปในอนาคต เป็นที่พึ่งทางใจจวบจนกว่าผู้นั้นจะมีปัญญา วาสนาบารมีแก่กล้า ละชั่ว ละบาปตัดกิเลส โลภ โกรธ หลงออกจากใจ ไม่ยึดถือในวัตถุสิ่งของต่างๆ รวมทั้งวัตถุมงคลพระเครื่องต่างๆ โดยปัญญาอันแท้จริง เห็นจริง รู้อะไรควรยึด อะไรควรปล่อย รู้ว่าสิ่งที่เรามีนี้มีประโยชน์ต่อเราแค่ไหนขอบเขตใด มีคุณและมีโทษแค่ไหน อะไรเป็นที่พึ่งชั่วคราว อะไรเป็นที่พึ่งถาวร พระเครื่องกันตายไม่ได้ แต่พุทธคุณมีจริง ธัมมานุภาพมีจริง สังฆานุภาพมีจริง อำนาจจิตมีจริง แต่ทุกคนมีวิบากกรรมเป็นของตนเอง สุขทุกข์เปลี่ยนไป เปลี่ยนมา ไม่มีที่สิ้นสุด ทำกรรมอะไรไว้ได้หนหลังก็ต้องชดใช้เสวยผลกรรมนั้นอย่างตรงไปตรงมา และอำนาจกรรมไม่ลำเอียงเข้าข้างใคร หากตนทำของตนเอง สิ่งอื่นบุคคลอื่นทำให้ ไม่ได้สั่งไม่ได้บังคับบัญชาไม่ได้ ท่านหลวงปู่เทพโลกอุดรสอนอย่างนี้

ด่วนโอกาศพิเศษ การอนุรักษ์เชิงประวัติศาสตร์ ท่านสามารถ ร่วมบริจาคบูชาเพื่อสืบทอดพระศาสนา มีการบันทึกในประวัติศาสตร์ไทย
โครงการจารึกวัดบวรนิเวศ ประวัติศาสตร์ความมั่นคงพระศาสนา
http://www.facebook.com/note.php?note_id=289855731073246 ที่จะช่วยมนุษย์โลก ท่านที่ร่วมบริจาคบูชาเพื่อสืบทอดพระศาสนา ในประวัติศาสตร์ไทย พิพิธภัณฑ์ภาพพระเครื่อง
หาทุนสนับสนุนการดำเนินโครงการ เพื่อถวายสมเด็จพระสังฆราช
ในการปกป้องและสืบทอดพระศาสนา และบริจาครายได้ครึ่งหนึ่งถวาย วัดบวร โดยท่านเป็นผู้มอบให้โดยตรงจึงประกาศขอรับการสนับสนุนในการบริจาค บริจาคที่ ธนาคารกรุงเทพ บัญชี สมเกียรติ กาญจนชาติ เลขที่ 209-0-518040 สาขา สวนจตุจักร ผู้ศรัทธาบริจาค ๓,ooo,ooo บาท พิพิธภัณฑ์ภาพพระเครื่องมอบ พระกริ่งปวเรศ เนื้อสำริดรุ่นแรก ๑ องค์ ผู้ศรัทธาบริจาค ๘oo,ooo บาท พิพิธภัณฑ์ภาพพระเครื่องมอบพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ๑องค์ ในภาพ ผู้ศรัทธาบริจาค ๒๕o,ooo บาท พิพิธภัณฑ์ภาพพระเครื่องมอบ เหรียญหลวงพ่อโสธร รุ่นแรก ๑ เหรียญ ในภาพ ข้อมูลที่http://www.facebook.com/photos.php?id=161446187234825 จะได้รับการบันทึกชื่อ หรือองค์กร ของท่านไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทย ตลอดไปเพื่อให้ลูกหลานได้จดจำ ในการหาทุนเพื่อปกป้องและสืบทอดพระศาสนา ไว้ที่หน้า http://www.facebook.com/note.php?note_id=158901190835368

โทรสอบถามที่ 084-6514822
ข้อมูลประวัติศาสตร์ที่ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.169594319753345.35350.161446187234825&type=3

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง