ข่าว วัดโสธรวรารามวรวิหาร

ข้าพเจ้าได้เดินทางไป กราบนมัสการท่านเจ้าคุณ พระราชมงคลรังษี เจ้าอาวาสวัดโสธร เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน ๒๕๕๔ โดยได้ขอความสนับสนุนโครงการศาลาศิลปะและหลักธรรมชาวพุทธ และได้ทราบว่าในเวลานี้ทางวัดได้มีโครงการสร้างมหาวิหาร จึงได้นำภาพและข้อมูลมาบอกบุญท่านผู้มีจิตศรัทธา










วัดโสธรวรารามวรวิหาร(วัดหลวงพ่อโสธร)/ Wat Sothon Wararam Woravihan
วัดโสธรวรารามวรวิหาร ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมือง ริมแม่น้ำบางปะกงเดิมชื่อว่า "วัดหงส์" สร้างใน สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นที่ประดิษฐาน "หลวงพ่อโสธร" พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดฉะเชิง- เทรา เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 1.65 เมตร สูง 1.48 เมตร ฝีมือช่างล้านช้าง ตามประวัติ เล่าว่า ได้ปาฏิหาริย์ลอยน้ำ มา และมีผู้อัญเชิญขึ้นมาประดิษฐานที่วัดแห่งนี้ แต่เดิมเป็นพระพุทธรูปหล่อทอง สำริดปางสมาธิ หน้าตักกว้าง ศอกเศษ รูปทรงสวยงามมาก แต่พระสงฆ์ในวัดเกรงว่าจะมีผู้มาลักพาไปจึงได้ เอาปูนพอกเสริมหุ้มองค์เดิมไว้ จนมีลักษณะดังที่เห็นในปัจจุบัน ทุกวันจะมีคนมานมัสการปิดทองหลวงพ่อ โสธรกันเป็นจำนวนมาก

รูปวัดหลวงพ่อโสธร



หลวงพ่อโสธร

ชื่อ
พระพุทธโสธร หรือเรียกกันทั่วไปว่า หลวงพ่อโสธร

สถานที่ประดิษฐาน            อุโบสถวัดโสธรวราราม อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราลักษณะศิลปะ                   ปางสมาธิวัสดุ                              สำริด พอกปูนปิดทองนาด                             หน้าตัก 65 นิ้ว
ประวัติ
 
                           
ไม่ปรากฏหลักฐานแน่นอนเกี่ยวกับผู้สร้างและปีที่สร้าง ประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรวราราม เมื่อราว พ.ศ. 2313 มีเกร็ดเล่าประวัติต่อๆ กันมาว่ามีพระพุทธรูปอยู่ทางเหนือ 3 องค์ เป็นพี่น้องกัน ได้แสดงอภินิหารลอยตามน้ำมา ผ่านย่านชุมชนหลายแห่ง บางแห่งคนจำนวนมากชวนกันฉุดก็ไม่อาจอัญเชิญขึ้นฝั่งได้ ในที่สุด พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ก็ได้ขึ้นฝั่งประดิษฐานยังวัดต่างๆ คือ 

1 องค์พี่ใหญ่ หลวงพ่อบ้านแหลม ลอยตามแม่น้ำไปขึ้นฝั่ง ณ วัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม 

2 องค์น้องสุดท้อง หลวงพ่อโต ขึ้นฝั่งประดิษฐาน ณ วัดบางพลีใหญ่ใน จังหวัดสมุทรปราการ 

3 ส่วนองค์กลาง หลวงพ่อโสธร ลอยตามน้ำมาบริเวณหน้าวัดโสธรวราราม พระอาจารย์ผู้ทรงความรู้ ประกอบพิธีบวงสรวงใช้สายสิญจน์อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ วัดโสธรวรารามได้สำเร็จ องค์พระพุทธรูปหล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้างศอกเศษ แต่ได้พอกปูนเข้าภายหลังเพื่อป้องกันการโจรกรรม 

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชหัตถเลขากล่าวถึง พระพุทธโสธร เมื่อครั้งเสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทรา ใน พ.ศ. 2451 ว่า “กลับมาแวะวัดโสธร ซึ่งกรมหลวงดำรงคิดจะแปลว่า “ยะโสธร” จะให้เกี่ยวแก่การที่ได้สร้างเมื่อเสด็จกลับจากไปตีเขมร แผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถหรือเมื่อใดนั้น แต่เป็นที่สงสัยด้วยเห็นไม่ถนัด พระพุทธรูปทำด้วยศิลาแลงทั้งนั้น องค์ที่สำคัญว่าเป็นหมอดีนั้น คือองค์ที่อยู่กลาง ดูรูปตักและเอวงาม ทำนองเดียวกับ พระพุทธรูปเทวปฏิมากร แต่ตอนบนกลายไปเป็นฝีมือผู้ที่ไปปั้น ว่าลอยน้ำมาก็เป็นความจริง เพราะเป็นศิลาคงทำไม่ได้ ในที่นี้”

ประเพณี        งานประจำปีนมัสการพระพุทธโสธร ปีละ 3 ครั้ง คือ        ครั้งที่ 1 กลางเดือน 5 ซึ่งถือว่าเป็นงานฉลองวันเกิดพระพุทธโสธร เริ่มงานวันขึ้น 14 ค่ำ จนถึงวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 รวม 3 วัน 3 คืน        ครั้งที่ 2 งานกลางเดือน 12 เริ่มตั้งแต่วันขึ้น 11 ค่ำ จนถึงวัดแรม 1 ค่ำ รวม 5 วัน 5 คืน        ครั้งที่ 3 งานตรุษจีน เริ่มงานตั้งแต่วันชีวอิด รวม 5 วัน 5 คืน


พระอุโบสถ 2,000 ล้าน "วัดหลวงพ่อโสธร" ได้ฤกษ์ฉลอง"ธันวา 48"
  สกุณา ประยูรศุข
เรือท่องเที่ยวลำใหญ่มีนักท่องเที่ยวอยู่เต็มค่อยๆ เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างช้าๆกลางลำน้ำบางปะกง เมื่อแล่นผ่านหน้า *วัดโสธรวรารามวรวิหาร* หรือ วัดหลวงพ่อโสธร พระศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองฉะเชิงเทรา

ความอลังการของพระอุโบสถหลังใหม่ ยังไม่หมดแค่นั้น เพราะหากเดินผ่านเข้าไปภายใน ประตูทางเข้า และผนังอาคารของโบสถ์เป็นจุดแรกที่ปะทะสายตา
การก่อสร้างผนังภายนอกพระอุโบสถ บุด้วยหินอ่อนจากอิตาลี เพื่อให้ทนแดดทนฝน และสวยงาม ซึ่งได้รับการบอกเล่าจากช่างว่า หินอ่อนจากอิตาลีมีความคงทน และมีอายุการใช้งานยาวนานกว่าหินอ่อนในเมืองไทย
ส่วนผนังภายในใช้หินอ่อนในประเทศ ซุ้มกรอบประตูหน้าต่างทำด้วยดินเผา โดยนำดินขาวคุณภาพดีมาปั้นเป็นซุ้มแล้วต้องเผาอุณหภูมิสูง 1,000 องศาเช่นกัน เมื่อเผาแล้วตรงไหนอยากให้เป็นสีทองก็จะเคลือบน้ำทองอีกทีให้เปล่งปลั่งสวยงาม
กระเบื้องหลังคาโบสถ์ทำจากเซรามิกเผาสีด่อน เพื่อให้ตัดกับสีทองของ *ฉัตรทองคำ* ช่อฟ้า ใบระกา และ ทวย ขณะที่รั้ว หรือ กำแพงแก้ว ทำด้วยหินแกรนิตสีดำ สลับลูกกรงเหล็กสีดำคาดทอง
กรรมวิธีของการทำส่วนประกอบพระอุโบสถแต่ละชิ้นแต่ละอันละเอียดลออ และต้องประณีตอย่างยิ่ง หากสิ่งไหนทำไปแล้วเกิดรอยแตก หรือตำหนิแม้แต่นิดเดียว ต้องทิ้งแล้วทำใหม่ทันที ดังนั้นจึงใช้เวลาในการก่อสร้างนานมาก
สำหรับพื้นภายในพระอุโบสถเป็นหินอ่อนสีแดง สลักลวดลายเป็นห้วงมหาสุมทร มีปลาในวรรณคดีว่ายวนเวียนราวกับเคลื่อนไหวได้ ทั้งปลาอานนท์ ปลากระโห้ กระแห คางเบือน ปลากราย ฯลฯ
ตรงกึ่งกลางเป็นดอกบัวขนาดใหญ่ มีกลีบคว่ำกลีบหงายสลับกัน ภายในดอกบัวเป็นที่ประดิษฐานองค์พระ หลวงพ่อโสธรองค์จริง อยู่ตรงกลาง รายล้อมด้วยพระองค์อื่นๆอีก 13 องค์ ทั้งหมดอยู่ภายในฐานกลีบบัว ซึ่งมีเกสรบัวเป็นที่ระบายความชื้นใต้ดินจากฐานองค์พระไม่ให้ความชื้นขึ้นมาทำลายองค์พระ
เลขานุการเจ้าอาวาส บอกว่าด้านบนสุด หรือ เพดานพระอุโบสถนั้น ทำเป็นท้องฟ้ามีดาวระยับระยับ เรียกว่า "จักรวาล" ใช้วัสดุเรืองแสง ถึงไม่เปิดไฟก็มองเห็นเป็นท้องฟ้าที่ดารดาษด้วยหมู่ดาว
"เป็นการสร้างตามตำราทางโหราศาสตร์ โดยจักรวาลจะทำมุมเล็งลักขณากับองค์พระเป็นมิ่งมงคลอยู่ตลอดเวลาที่พระอยู่ในพระอุโบสถ จะเห็นว่าตั้งแต่หลวงพ่อพุทธโสธรขึ้นจากน้ำ และมาประทับอยู่ที่ตรงพระอุโบสถปัจจุบันนี้ องค์พระไม่เคยขยับเขยื้อนไปไหนเลย และถ้ามองจากข้างล่างขึ้นไปจะเห็นว่าพระอุโบสถมีทั้งหมด 8 ชั้น ตั้งแต่ชั้น 5 ขึ้นไปเป็นที่ประดิษฐาน *พระบรมสารีริกธาตุ*"
ส่วนพื้นทั้งสี่มุมภายในพระอุโบสถเป็นซุ้มเสมาสำหรับบรรจุลูกนิมิต โดยลูกนิมิตนี้จะไม่ฝังดิน แต่จะใส่เข้าไปในซุ้มที่ตั้งไว้บนพื้น เพื่อกำหนดเป็นเขตพัทธสีมาที่ใช้ในการประกอบพิธีสังฆกรรมของพระสงฆ์

ที่มา : มติชนรายวัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง