ด่วนมาก เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช เป็นห่วงสถาบันพระศาสนา
ข้าพเจ้า สมเกียรติ กาญจนชาติ เข้ากราบท่านเจ้าคุณ พระเทพสารเวที่ เลขานุการ สมเด็จพระสังฆราช วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๔ ณ.วัดบวรนิเวศ โดยได้นำข้อมูลการแต่งตั้ง นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
แต่งตั้ง นาย วิษณุ เครืองาม
พระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
เมื่อวันที่
20 กันยายน พ.ศ.2554 เวลา 18.00 น. คณะผู้บริหาร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย นำโดยพระเทพปริยัติวิมล
อธิการบดี ได้เข้าถวายสักการะเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต
ผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เพื่อถวายพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
ในการทรงแต่งตั้งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ 8
รูป/คน (ชุดใหม่) ณ ศาลาทรงไทย คณะเขียวบวร วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
ข่าว : มหาวิทยาลัยสงฆ์ มมร.
27 กันยายน 2554
27 กันยายน 2554
ตั้งสมเด็จพระมหามุนีวงศ์
เป็นนายกสภามหามกุฏราชวิทยาลัย"วิษณุ เครืองาม" ติดโผกรรม
ประวัติและพฤติกรรมของ นาย วิษณุ เครืองาม ที่ได้ทำกรรมไว้กับสถาบันพระศาสนา
ข้อวิจารณ์กรณีแต่งตั้งประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
นายสนธิ ลิ้มทองกุล และหลวงตามหาบัว ได้กล่าวว่า สมเด็จพระญาณสังวรฯ ไม่ได้ทรงพระประชวร แต่เพราะทรงเจริญพระชนมายุมากแล้วเท่านั้น จริงๆ แล้ว ทรงแจ่มใส ปฏิบัติพระศาสนกิจได้ การแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชจึงมิชอบ[8][3] หลวงตามหาบัวยังได้กล่าวหาว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นมหาโจรด้วย และทำอะไรไม่ได้ดีไว้หลายอย่าง[9] ช่วงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2548 หลวงตามหาบัวจึงได้มอบหมายให้ ประธานศิษย์ นายทองก้อน วงศ์สมุทร ถวายฎีกาแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอพระราชทานบิณฑบาตถอดสมณศักดิ์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ฐานขัดพระธรรมวินัย ดำเนินการประชุมมหาเถรสมาคมโดยไม่เป็นไปตามกฎระเบียบ และร่วมมือกับนายวิษณุ เครืองาม ทำลายหลักพระธรรมวินัยของพระพุทธศาสนา และขนบธรรมเนียมโบราณราชประเพณี ตลอดจนศีลธรรมอันดี[10][30] ในเวลาต่อมา หลวงตามหาบัวได้นำคณะสงฆ์และฆราวาสนับหมื่น ไปชุมนุมใหญ่ต้านสมเด็จพระพุฒาจารย์[31] ในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ได้ออกมากล่าวว่า "กรณีหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน ถวายฎีกาเป็นการปกป้องสถาบันศาสนา และสถาบันกษัตริย์ไม่ให้อ่อนแอ"[32] อย่างไรก็ตาม ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 หลวงตามหาบัวได้ออกคำสั่งให้นายทองก้อนออกจากวัด และห้ามยุ่งเกี่ยวกับเรื่องใด ๆ ของวัดป่าบ้านตาดอีกต่อไป เนื่องจากประพฤติไม่เหมาะสมอย่างรุนแรง เกี่ยวกับการบริหารสถานีวิทยุเสียงธรรมชุมชน จึงทำให้แนวร่วมต่อต้านสมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้อ่อนแอลงระยะหนึ่ง[33]
ในทางตรงข้าม คอลัมนิสต์แมงเม่า แห่ง หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ได้ออกมากล่าวว่า สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้ปฏิบัติหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชอย่างถูกต้อง ตามที่ได้รับมอบหมาย[34] และผู้สนับสนุนสมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้มีการรวมตัวกันเพื่อแสดงความเคารพและความสนับสนุนเป็นจำนวนมาก[4]
[แก้]การปฏิบัติหน้าที่หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549
หลังจากการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 ได้มีผู้ปลอมแปลงร่างพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช ให้ยกเลิกคณะผู้แทนปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเดิม และตั้งคณะผู้แทนปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชใหม่ โดยมีสมเด็จพระมหาธีราจารย์เป็นประธาน และสมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นที่ปรึกษา[35] ในวันต่อมา คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะกำกับ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้กล่าวว่า ไม่ทราบว่าใครส่งพระบัญชาปลอมมาให้ดู[36] ส่วนเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชยืนยันว่าตนไม่ทราบว่าผู้ใดทำเอกสารปลอมแต่อย่างใด คณะกรรมการวัดบวรนิเวศวิหารได้ให้ผู้แทนแจ้งความร้องทุกข์แก่พนักงานสอบสวน เพื่อหาผู้กระทำการปลอมพระบัญชา[37]
ในช่วงเวลาเดียวกัน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ กว่า 30 คน นำโดยนายไพศาล พืชมงคล ได้เตรียมยื่นหนังสือเสนอร่าง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ เพื่อให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาและตราเป็น พ.ร.บ. โดยเสนอให้ นับอาวุโสของสมเด็จและพระราชาคณะโดยพรรษา (แทนการนับอาวุโสตามสมณศักดิ์แต่เดิม) ซึ่งจะทำให้พระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดเป็นพระฝ่ายธรรมยุตินิกาย[38][39] พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2534 (ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้อยู่ในเวลานั้น) กำหนดไว้ว่า ผู้ที่จะได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราช ต้องมีอาวุโสทางสมณศักดิ์สูงที่สุด โดยดูจากการที่พระสงฆ์รูปนั้น ได้รับโปรดเกล้า ฯ เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ(คือมีการจารึกชื่อและราชทินนามลงบนแผ่นทองคำแท้) ก่อนพระสงฆ์รูปอื่น ๆ[4] ในเวลาเดียวกัน ได้มีผู้เรียกร้องให้รัฐบาลทหารเสนอร่างกฎหมายแก้ไข พ.ร.บ.คณะสงฆ์ เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยเปลี่ยนให้ พระราชอำนาจในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช เป็น พระราชอำนาจโดยสมบูรณ์ของพระมหากษัตริย์ โดยไม่มีข้อจำกัด ในเรื่องของความอาวุโสทางพรรษาหรือสมณศักดิ์[40]
ตำแหน่งรักษาการแทนสมเด็จพระพระสังฆราช และประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
[แก้]รักษาการแทนสมเด็จพระสังฆราช
ตามที่ สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงประชวร และเสด็จประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2545 ทำให้ทรงไม่สามารถปฏิบัติพระศาสนกิจได้สะดวก[6][7] ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลจึงได้ขอความเห็นจากคณะแพทย์และคณะกรรมการวัดบวรนิเวศวิหาร มีพระเทพสารเวที ผู้ปฏิบัติหน้าที่เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเป็นประธาน เสนอที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคมในวันที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2547 ที่ประชุมกรรมการมหาเถรสมาคม มีมติอนุโมทนาสนองข้อเสนอดังกล่าว โดยให้แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นการชั่วคราว[ต้องการอ้างอิง] และโดยที่สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ มีอายุถึง 96 ปี (ณ เวลานั้น) อีกทั้งยังอาพาธ ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้เช่นกัน จึงเห็นสมควรให้สมเด็จพระราชาคณะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ลำดับถัดไป ได้แก่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ โดยมีสมเด็จพระราชาคณะและพระราชาคณะอื่นอีก 5 รูป เป็นผู้ช่วยปฏิบัติหน้าที่[ต้องการอ้างอิง] โดยที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่14 มกราคม พ.ศ. 2547 โดยมีนาย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนาม[19] ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้ทรงมีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2547[ต้องการอ้างอิง] อย่างไรก็ตาม ในปลายปี พ.ศ. 2548 หนังสือพิมพ์ผู้จัดการออนไลน์ ได้กล่าวหาว่า ลายมือเขียน “ทราบและเห็นชอบ” ไม่ได้เป็นของสมเด็จพระสังฆราช แต่เป็นของ พระเทพสารเวที เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช[20]
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%92%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C_(%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%A7_%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%B8%9B%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%82%E0%B8%93)
ข้อมูลจาก wikpediai
http://www.facebook.com/thaihistory?sk=notes
รวมข้อมูลประวัติศาสตร์ ขบวนการผู้ทำกรรมไว้ กับ สมเก็จพระสังฆราช และ พระศาสนา
http://www.alittlebuddha.com/html/The%20Vision%20of%20P.M.Narin/The%20Vision%20of%20Phramaha%20Narin%20117.html
พระพรหมโมลี กรรมที่มีส่วนรวม
สรุปข้อมูลโดย สมเกียรติ กาญจนชาติ นักข่าวพลเมือง 30 กันยายน 2554
กราบขออนุโมทนา ที่มีส่วนช่วยปกป้องพระพุทธศาสนา ความขัดแย้งในบ้านเมือง ยังหาทางปรองดองไม่ได้ ความขัดแย้งภายในศาสนจักร ยิ่งทวีความยากลำบากขึ้นอีก ด้วยว่าไม่มีผุ้ใดกล้าลุกออกมา ชี้ถูกหรือผิด เพราะเป็นสถาบันที่ผู้คนให้ความเคารพ ในฐานะเป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณ
ตอบลบความขัดแย้งภายในหมาวิทยาลัยสงฆ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เกี่ยวกับการตั้งกรรมการสอบสวน อธิการบดี มมร และผู้เกี่ยวข้อง ก็นับว่าเป็นความเปราะบาง เป็นความละเอียดอ่อนยิ่ง เพราะหากได้กระทำกรรมอันประมาทในการตัดสินแล้ว สถาบันศาสนาจะหันหน้าไปพึ่งใคร นอกจากหันหน้ากลับมาพึ่งโยม พึ่ง อุบาสก อุบาสิกา ผู้ใฝ่ธรรม และมีจิตเป็นธรรมอย่างแท้จริง ขอให้ท่านยืนหยัดอยู่บนความถูกต้อง เพื่อพระพุทธศาสนาของเราต่อไป