ภัยคุกคามพระศาสนาของโลก



ธรรมกาย = มหานิกาย
เปิดรายชื่อ "พระมหาเถระ" ผู้สนับสนุนธรรมกาย
วัดสัมพันธวงศ์ "ธรรมยุตหนึ่งเดียว" หนุนธรรมกาย




ของจริงยิ่งกว่าเป็นใบ้ เปิดรายนามพระมหาเถระผู้สนับสนุนธรรมกายอย่างเป็นทางการ ในเว็บไซต์ของมูลนิธิวัดพระธรรมกาย ได้ระบุรายนามพระมหาเถระผู้อุปถัมภ์ "โครงการบวชพระภาคฤดูร้อน 100,000 รูป"  มีทั้งสมเด็จพระราชาคณะ รองสมเด็จพระราชาคณะ กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะหน เจ้าคณะภาค ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศไทย รวมแล้วมากมายถึง 28 รูป

ที่น่าสนใจก็คือ ในบรรดารายนามทั้งหมดนั้น มี 2 ชื่อที่แปลกกว่าเพื่อน คือสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ และพระพรหมเมธี แห่งวัดสัมพันธวงศาราม ซึ่งทั้งสองรูปนั้นสังกัดธรรมยุติกนิกาย นอกนั้นเป็นพระในฝั่งมหานิกายทั้งสิ้น จึงแทบจะเชื่อได้ว่า ธรรมกายก็คือมหานิกาย ส่วนธรรมยุตที่โผล่มาแจมด้วยอีก 2 รูปนั้น ก็เท่ากับ "ข้าวนอกนา ปลานอกน้ำ" เรียกตามพระธรรมวินัยก็คือ "ทำตัวเองให้เป็นนานาสังวาส" อยู่นิกายนี้ แต่ปันใจไปให้นิกายโน้น แบบนี้ก็คงเข้าร่วมสังฆกรรมกับคณะสงฆ์ธรรมยุตไม่ได้แล้วล่ะ

ที่น่าฉงนมากกว่านั้นก็คือว่า มีพระผู้ใหญ่ในวัดสระเกศ จำนวน 2 รูป เข้าร่วมสนับสนุนโครงการนี้ด้วย คือพระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร) และพระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) แต่ทว่ากลับไม่มีชื่อของเจ้าอาวาสคือ "สมเด็จพระพุฒาจารย์" ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชในปัจจุบัน เพราะจากตำแหน่งและอำนาจที่สมเด็จพระพุฒาจาร์ดำรงอยู่ในเวลานี้ ก็น่าจะได้รับเกียรติให้ดำรงตำแหน่ง "ประธานที่ปรึกษาโครงการ" แต่กลับปรากฏชื่อของสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ เข้ามาแทน แต่ถึงกระนั้น แม้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์จะไม่ให้ใช้ชื่อ แต่การให้รองสมเด็จฯถึง 2 รูป ในวัด ไปเป็นกรรมการร่วมนั้น ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าสมเด็จพระพุฒาจารย์ คือ "ประธานโดยตำแหน่ง"ของโครงการนี้ ดีๆ นี่เอง

อย่างไรก็ตาม การได้รายชื่อพระมหาเถระผู้คุมอำนาจ "ส่วนใหญ่" ในฝ่ายมหานิกาย มาเป็นฝ่ายสนับสนุนโครงการนี้ได้มากมายเพียงนี้ ก็เท่ากับว่าคณะสงฆ์ไทยในฝ่ายมหานิกายทั้งสิ้น ได้พร้อมยอมรับโครงการของวัดพระธรรมกายว่าเป็นของพระสงฆ์ในฝ่ายมหานิกาย จึงไม่แปลกที่วัดพระธรรมกายจะอ้างได้อย่างเต็มปากเต็มคำว่า โครงการนี้เป็นของ "คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน"

ส่วนในฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อันมี "สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" เป็นประมุข และมี "สมเด็จพระวันรัต" รักษาการตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกนิกาย นั้น ไม่มีวัดใดให้การสนับสนุนโครงการนี้เลย ยกเว้น "วัดสัมพันธวงศาราม" เพียงวัดเดียวที่แหกคอกออกมา

มองอีกมุมหนึ่งก็จะเห็นว่า นี่เป็นการประลองกำลังกันระหว่าง "มหานิกาย" และ "ธรรมยุติกนิกาย" โดยวัดพระธรรมกายได้กลายเป็น "วัดหลัก" ของฝ่ายมหานิกายไปแล้ว

นี่กระมังที่เป็นเหตุผลว่า ทำไมไม่เสนอโครงการนี้ให้เป็นโครงการของมหาเถรสมาคมตามระเบียบที่เคยทำ แต่กลับทำในนามวัดพระธรรมกาย โดยเอารายชื่อกรรมการมหาเถรสมาคมฝ่ายมหานิกายไปเป็นที่ปรึกษา ก็เพราะว่า.. ถ้าเอาเข้ามหาเถรแล้ว ทางธรรมยุตเขาไม่ยอมนะสิ จึงต้องทำลับๆ ล่อๆ แบบนี้ ซึ่งก็น่าภูมิใจว่า บัดนี้ มหานิกาย (ทั้งสายในวังและนอกวัง) อันเคยแตกแยกกันเป็นหลายก๊กหลายเหล่านั้น ได้หล่อหลอมใจเป็นหนึ่งเดียวแล้ว โดยมี "ท่านธัมมชโย" เป็นฮีโร่ของเรา

ต่อไปเราก็จะมี "วัดพระธรรมกาย" เป็น "ศูนย์กลาง" ของฝ่ายมหานิกาย และคาดว่าคงจะสามารถเอาชนะธรรมยุติกนิกายได้อย่างขาดลอย เพราะเวลานี้ นอกจากว่าเราจะมีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว"ทั้งแผ่นดิน" แล้ว ทางสำนักพุทธฯก็อยู่กับเรา และเราก็ยังสามารถแซะคณะธรรมยุตระดับสมเด็จพระราชาคณะและรองสมเด็จฯ ซึ่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมอีกด้วย ให้แตกทัพออกมาอยู่ในฝ่ายเราได้ถึง 2 รูป แซะไปเรื่อยๆ เผลอๆ วัดบวรนิเวศอาจจะขอเปลี่ยนนิกายมาอยู่กับเราด้วยสิ อิอิ เว้าหยอกเด้อ !..

สมเด็จพระวันรัต อ่านแล้วไม่ต้องเครียดนะครับ นี่เป็นเพียงการ "เอาคืน" ของพณฯท่านธัมมชโย ที่ถูกธรรมยุตรุมกระหน่ำ "เล่นงานข้างเดียว" เมื่อสิบกว่าปีก่อนเท่านั้นเอง (รวมทั้งพระธรรมกิตติวงศ์ด้วย)  ลำพังท่านธัมมชโยก็คิดใหญ่คิดโตระดับโลกแล้ว ดันได้ "พระธรรมกิตติวงศ์ ราชบัณฑิต" ไปร่วมคิดอีก งานนี้รับรองว่าไม่ด้อยกว่า "บิลล์เกตส์" บวก "สตีฟ จ็อบส์" เป็นแน่ อิอิ เซื่อในสิ่งที่เฮ็ด เฮ็ดในสิ่งที่เซื่อ !




 

ที่ปรึกษาโครงการ

ประธานที่ปรึกษา

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.9) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ

กรรมการที่ปรึกษา
  1. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร ป.ธ.9) วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร (ธรรมยุต)
  2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี ป.ธ.9) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
  3. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.9) วัดพิชยญาติการามวรวิหาร
  4. พระพรหมเวที (สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.9) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร
  5. พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร ป.ธ.3) วัดยานนาวา
  6. พระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร ป.ธ.6) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
  7. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ ป.ธ.9) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
  8. พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ ป.ธ.7) วัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง
  9. พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร ป.ธ.6) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร
  10. พระธรรมวโรดม (สมเกีตรติ กิตฺติวฑฺฒโน ป.ธ.9) วัดทินกรนิมิต
  11. พระพรหมเมธี (จำนง ธมฺมจารี) วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร (ธรรมยุต)
  12. พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.9) วัดสามพระยาวรวิหาร
  13. พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ.9) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
  14. พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
  15. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9) วัดราชโอรสารามราชวรวิหาร
  16. พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ สุทสฺสโน ป.ธ.6) วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย
  17. พระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ.9) วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
  18. พระธรรมปริยัติเวที (สุเทพ ผุสสฺธมฺโม ป.ธ.9) วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร
  19. พระธรรมปิฎก (ชวลิต อภิวฑฺฒโน ป.ธ.9) วัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร
  20. พระธรรมรัตนดิลก (เชิด จิตฺตคุตฺโต ป.ธ.9) วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
  21. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.9) วัดประยูรวงศาวาสวรวิหาร
  22. พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.9) วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร
  23. พระธรรมวิมลโมลี (รุ่น ธีรปญฺโญ ป.ธ.9) วัดชลประทานรังสฤษฎ์
  24. พระธรรมปริยัติโมลี (อาทร อินฺทปญฺโญ ป.ธ.9) วัดบพิตรพิมุขวรวิหาร
  25. พระธรรมวงศาจารย์ (นิมิต ทนฺตจิตฺโต ป.ธ.4) วัดโคกสมานคุณ จังหวัดสงขลา
  26. พระเทพสุธี (สงคราม อสิญาโณ ป.ธ.9) วัดไตรธรรมาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
  27. พระเทพรัตนสุทธี (สมศักดิ์ โชตินฺธโร ป.ธ.5) วัดเขียนเขต จังหวัดปทุทมธานี
  28. พระราชวิสุทธิเวที (สายชล ฐานวุฑฺโฒ ป.ธ.9) วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร
  29. คณะสงฆ์จังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
  1. คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน
  2. คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร
  3. วัดพระธรรมกาย และมูลนิธิธรรมกาย
  4. สมาคมกำนัน ผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย
  5. ชมรมพุทธศาสตร์สากล ในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
ผู้อุปถัมภ์โครงการ
พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ประธานมูลนิธิธรรมกาย



ะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม รายงาน
13 กุมภาพันธ์ 
255
5





สำนักพุทธฯ "ร่วมงาน" ธรรมกาย !
บทบาทที่ไม่ต้องแปลของสำนักเลขาฯมหาเถรฯ






สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีหน้าที่หลักคือ เป็นเลขาธิการสนองงานมหาเถรสมาคม แต่ปัจจุบันวันนี้ สำนักพุทธฯภายใต้การนำของ "นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์" ได้ผันตัวเองไปสนองงาน "วัดพระธรรมกาย" อีกด้วย ไม่รู้สินะว่าได้เงินเดือนเท่าไหร่ ?






วิสัยทัศน์และพันธกิจของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ


นายนพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และตำแหน่งที่สอง คือเลขานุการวัดพระธรรมกาย ผู้สร้างมิติใหม่ให้แก่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ประกาศ "จับมือ" กับวัดพระธรรมกาย ในโครงการบวชพระ 100,000 รูป ทั้งๆ ที่ตัวเองเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคม แต่โครงการนี้ไม่มีมหาเถรสมาคมเกี่ยวข้อง มีแต่สำนักงานเลขาธิการไปร่วมมือ ก็ดีฮะ มหาเถรสมาคมก็ไปทาง เลขาธิการมหาเถรสมาคมก็ไปทาง ทางใครทางมัน ทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติและพระศาสนา อย่าไปยึดติดกับคำว่า"ใครทำ" หรือ "ทำกับใคร" แมวนั้นจะสีขาว สีดำ หรือสีสวาท ก็ไม่สำคัญเท่ากับว่า "ขอเพียงให้จับหนูได้" ก็พอใจแล้ว

ว่าแต่ "คุณนพรัตน์" นั้น ทำอะไรก็ใจกล้าหน่อยซี เรื่องนี้เป็นเกียรติประวัติแก่วงศ์ตระกูลทีเดียวเชียวนะ จะทำงานใหญ่ทั้งทีก็ลงทุนให้มันสมเกียรติอย่างหน่อย ปล่อยให้ลูกน้องไปแถลงข่าวแทนตัวเองน่ะมันไม่สมศักดิ์ศรี เผื่อวันหลัง"ท่านธัมมชโย" เขามีรางวัลให้จะได้เชิญถูกคน ดูแต่ "พระเดชพระคุณพระพรหมดิลก" ท่านซี เป็นถึง "รองสมเด็จฯ" แต่ยังยอมลดศักดิ์ศรีลงไปนั่งแถลงข่าวกับพระปลายแถววัดพระธรรมกายเลย ทำงานเพื่อพระศาสนาต้องยอมเสียสละตัวเอง ตัวเองเป็นแค่เด็กวัด อย่าถือยศถืออย่างเกินหน้าสมภารท่านเลย ประเดี๋ยวเจ้าคุณเอื้อนท่านจะอาย นะ ก้าๆ หน่อย



สำนักพุทธศาสนาร่วมวัดพระธรรมกาย
ส่งเสริมสืบทอดประเพณีการบวชของชาวไทย

นายกนก แสงประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดงานแถลงข่าว ร่วมกับวัดพระธรรมกาย เรื่อง การจัดโครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ภาคฤดูร้อนหนึ่งแสนรูป ว่า แผ่นดินไทยได้ชื่อว่าเป็นแผ่นดินธรรม ที่พระพุทธศาสนาปักหลักอย่างมั่นคงมายาวนานนับพันปี กระแสธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ซึมแทรกไปในทุกจังหวะชีวิตของชาวไทย เกิดเป็นประเพณีวัฒนธรรมชาวพุทธอันงดงาม จนได้รับการกล่าวขานเป็น "สยามเมืองยิ้ม" ดินแดนแห่งความสุขบนมนุษยโลก คำตอบของการดำรงความรุ่งเรืองและความสุขของประชาชาติไทยก็คือ การดำรงรักษาพระพุทธศาสนาให้มั่นคงคู่ผืนแผ่นดินไทย ซึ่งหัวใจของพระพุทธศาสนา คือศาสนทายาทที่มั่นคงในพุทธธรรม

ดังนั้นการสืบทอดรักษาประเพณีการบวชของชายไทย จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการธำรงความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ซึ่งถือเป็นภาระรับผิดชอบของชาวไทยทุกคน โดย สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ได้ร่วมกับ คณะสงฆ์ทั้งแผ่นดิน คณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร วัดพระธรรมกาย มูลนิธิธรรมกาย สมาคมกำนันผู้ใหญ่บ้านแห่งประเทศไทย ชมรมพุทธศาสตร์สากลในอุปถัมภ์สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ และองค์กรภาคีต่างๆ จึงได้ร่วมกันจัด"โครงการบรรพชาอุปสมบทหมู่ภาคฤดูร้อน ๑๐๐,๐๐๐ รูป ทุกหมู่บ้านทั่วไทย" ขึ้น ระหว่างวันที่ 22 มีนาคม ถึงวันที่ 13 พฤษภาคม ณ วัดที่เป็นศูนย์อบรมประจำอำเภอทั่วประเทศ เพื่อให้เยาวชนไทยและประชาชนทุกหมู่บ้านทั่วประเทศได้มีส่วนร่วมในโครงการอุปสมบทหมู่ฯ เป็นแบบอย่างอันดีให้เกิดโครงการเช่นนี้ขึ้นทั่วประเทศไทย ให้ผู้เข้าร่วมโครงการอุปสมบทได้มีโอกาสศึกษาปฏิบัติธรรมเพื่อเป็นหลักในการดำเนินชีวิตต่อไป

สำหรับคุณสมบัติผู้เข้าอุปสมบท เป็นชายแท้อายุ 20 - 50 ปี จบการศึกษา มัธยมศึกษาปีที่ 3 ขึ้นไป สุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคติดต่อ โรคจิตประสาท หรือโรคประจำตัวร้ายแรงอื่นๆ และไม่ติดยาเสพติด ร่างกายไม่พิการ เช่น ตาบอด หูหนวก แขนขาขาดไม่มีรอยสักขนาดใหญ่ หรือสักเป็นรูปไม่เหมาะสม รับสมัครได้ตั้งแต่วันนี้-22 มีนาคม 2555 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-831-1234087-707-7771-3 หรือ www.dmycenter.com


ที่มา : แนวหน้า
13 กุมภาพันธ์ 
255
5http://www.alittlebuddha.com/



ความคิดเห็น

  1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์นี้ ภิกษุไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะ
    หลอกลวงชน ไม่อยู่ประพฤติเพื่อจะประจบคน ไม่อยู่ประพฤติเพื่ออานิสงส์
    คือ ลาภ สักการะ และความสรรเสริญ ไม่อยู่ประพฤติด้วยคิดว่า ชนจงรู้
    จักเราด้วยอาการอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่แท้พรหมจรรย์นี้ ภิกษุอยู่
    ประพฤติเพื่อความรู้ยิ่ง และเพื่อกำหนดรู้.
    พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
    พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
    พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ได้
    ทรงแสดงพรหมจรรย์เครื่องกำจัดจัญไร เล่ม ๔๕ หน้า ๒๑๘ ปกนํ้าเงิน มมร. (ว่าด้วยพรหมจรรย์เครื่องกําจัดจัญไร)

    ตอบลบ
  2. พระไตรปิฎก ฉบับมหามกุฏฯ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๔๖ หน้าที่ ๓๔๕ ปกนํ้าเงิน //////////// ดูก่อน
    ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชั่วบางรูปในศาสนานี้ ก็เหมือนอย่างนั้นแล คิดอย่างนี้ว่า
    ชื่อในกาลไหนหนอ เราผู้อันบริวาร ๑๐๐ ฯลฯ แวดล้อมแล้ว จักไปสู่ที่จารึก
    ในคาม นิคม และราชธานี ผู้อันคฤหัสถ์ทั้งหลายและบรรพชิตทั้งหลายสักการ
    แล้ว เคารพแล้ว นับถือแล้ว บูชาแล้ว ยำเกรงแล้ว ได้จีวร ฯลฯ บริขาร
    โดยสมัยอื่นอีก เขาอันบริวาร ๑๐ ฯลฯ เที่ยวไปสู่คาม นิคม ราชธานีสักการะ
    แล้ว ฯลฯ ได้จีวร ฯลฯ บริขาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้มหาโจรที่ ๑ มีอยู่
    ปรากฏอยู่ในโลก. /////ยอดโจร///

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ