ประวัติ ขบวบการกับวัดธรรมกาย



คดีวัดธรรมกาย

16 พ.ค. 2010
posted by kanokwan
รูปภาพของ kanokwan
 ข้อความทั้งหมดใน blog นี้ เจ้าของ blogได้รวบรวมมาจากบทความต่างๆบน internet ไม่มีเจตนาที่จะใส่ร้ายป้ายสีใคร เพียงแต่ไม่ต้องการให้ใครเอาเปรียบใคร ไม่ต้องการให้คนใช้พุทธศาสนาเป็นเครื่องหากินกับชาวบ้าน เจ้าของ blog เองไม่มีความรู้ในเรื่องพุทธศาสนาเลย ไม่กล้าแม้แต่จะเรียกตัวเองว่าเป็นชาวพุทธ เพราะไม่เคยศึกษาธรรมะเลย จึงได้แต่ขอเป็นที่รวบรวมบทความของผู้รู้อื่นๆ
ได้ปรึกษาและได้รับการอนุมัติจาก webmaster ถ้าท่านผู้ใดเห็นว่ามีอะไรไม่สมควรกรุณาแจ้งโดยตรงกับ webmaster ได้
 
 
 
"...เมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ขบวนการของพระองค์ก็ใหญ่โตน่าดู น่าศึกษาว่าพระพุทธองค์จัดตั้งอย่างไรจึงได้ผลดี

แต่พระพุทธเจ้าคงจะรับสั่งไม่ได้ว่า ‘ถ้าไม่ได้เดือนละ 15 ล้านเราอยู่ไม่ได้’!
"
 
 
 
 
Your rating: None Average: 5 (1 vote)
 ล็อกอิน หรือ ลงทะเบียน เพื่อแสดงความคิดเห็น

ความคิดเห็น

รูปภาพของ kanokwan

ความแตกต่างระหว่างงานศพ ท่านพุทธทาส กับ แม่ชีจันทร์ วัดธรรมกาย

 "ไปทำบุญที่นี่มันยากนะ เพราะนอกจากต้องมีเงินมากๆแล้ว...
...ต้องโง่ด้วย" 

งานศพท่านพุทธทาส ยึดแนวทางปฏิบิติ "เป็นอยู่อย่างต่ำ มุ่งกระทำอย่างสูง"
แม้แต่งานศพของอินทปัญโญก็ยังแฝงไว้ด้วยการสอนธรรมของตัวท่านใน พินัยกรรม ของท่านที่ทำไว้ก่อนมรณภาพ ท่านเขียนไว้อย่างชัดเจนว่า ให้เผาศพท่านในสามเดือนโดยจัดการอย่างง่ายที่สุด ไม่จัดงานพิธี โดยให้เผาศพในบริเวณเขาพุทธทอง โดยปักเสาสี่มุมและคาดผ้าขาวเป็นเพดานเท่านั้น นี่เป็นเจตนาของท่านที่ต้องการให้งานศพของท่านเป็นแบบอย่างเหมือนสมัยพุทธกาล โดยมุ่งหวังให้สงฆ์รุ่นหลังยึดถือปฏิบัติต่อไปในภายหน้า
งานศพแบบสวนโมกข์ได้ปรากฏขึ้นแก่สายตาของพระ และฆราวาสจำนวนมากที่มาร่วมงานตามจุดประสงค์ของอินทปัญโญทุกประการ นี่เป็นการจัดการ ศพโดยวิธีเผากลางแจ้ง โดยตั้งโลงศพบนกองฟืน แล้วจุดไฟเผาต่อหน้าสายตาของผู้มาร่วมรับการสอนธรรมอย่างไม่มีสิ่งปิดบัง
ในประเทศนี้มีชาวพุทธจำนวนนับไม่ถ้วนที่ได้พยายามด้วยวิธีการต่างๆ ตาม "ความจริง" และ "ความเชื่อ" ของตน เพื่อที่จะเข้าใกล้พระพุทธเจ้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่จะมีใครสักกี่คนกันที่สามารถเป็นผู้อยู่ใกล้พระพุทธองค์อย่างที่สุด เหมือนอย่างท่านผู้ที่กำลังถูกเผาไหม้อยู่เบื้องหน้านี้




ภาพงานศพ แม่ชีจันทร์ ขนนกยูง วัดธรรมกาย เมื่อกันยายนปีที่แล้ว อลังการงานสร้าง เทียบชั้นงานเปิด โอลิมปิค "ปักกิ่งเกมส์" และยังจัดได้แบบพิธีเปิดฟุตบอลโลก 2010 ยังต้องอาย


ขอบคุณ จินดารัตน์ ศักดิ์สุภา <double-sugar@hotmail.com>
คำว่า บุญ นั้น ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่า เป็นเครื่องชำระชะล้างบาป การทำบุญหวังให้สวย ให้รวย ให้ได้วิมาน ให้ได้สวรรค์ เต็มไปด้วยกามารมณ์ เหล่านี้ มันเป็นการชำระชะล้างบาปหรือเปล่า
ท่านพุทธทาสภิกขุ
kanokwan | ส.ค. 12th, 2010 at 10:35 am
รูปภาพของ kanokwan

(no subject)

คำว่า บุญ นั้น ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่า เป็นเครื่องชำระชะล้างบาป การทำบุญหวังให้สวย ให้รวย ให้ได้วิมาน ให้ได้สวรรค์ เต็มไปด้วยกามารมณ์ เหล่านี้ มันเป็นการชำระชะล้างบาปหรือเปล่า
ท่านพุทธทาสภิกขุ
kanokwan | ส.ค. 12th, 2010 at 10:39 am
รูปภาพของ kanokwan

ทำไมต้อง 15,000 บาท

คำว่า บุญ นั้น ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่า เป็นเครื่องชำระชะล้างบาป การทำบุญหวังให้สวย ให้รวย ให้ได้วิมาน ให้ได้สวรรค์ เต็มไปด้วยกามารมณ์ เหล่านี้ มันเป็นการชำระชะล้างบาปหรือเปล่า
ท่านพุทธทาสภิกขุ
kanokwan | ก.ค. 23rd, 2010 at 11:32 am
รูปภาพของ kanokwan

รายการเจาะข่าววงในกับ ศ.สิวลักษณ์

คำว่า บุญ นั้น ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่า เป็นเครื่องชำระชะล้างบาป การทำบุญหวังให้สวย ให้รวย ให้ได้วิมาน ให้ได้สวรรค์ เต็มไปด้วยกามารมณ์ เหล่านี้ มันเป็นการชำระชะล้างบาปหรือเปล่า
ท่านพุทธทาสภิกขุ
kanokwan | พ.ค. 16th, 2010 at 11:58 pm
รูปภาพของ kanokwan

 เดี๋ยวกลับมา update

 เดี๋ยวกลับมา update ใหม่ว่าทำไมนักการเมืองถึงชอบไปทำบุญกันที่ธรรมกาย
 
"...ขนาดที่ว่า บอกให้สาวกที่ไม่มีตัง กู้เงินมาทำบุญให้วัดได้ โดยเอาเรื่องแม่ชีจันทร์เหยียบสะพานพุทธ ปัดระเบิดปรมณูมาล้างหัวที่ไร้สมองของคนบางคน"
 
 
 
 
 
 
 
คำว่า บุญ นั้น ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่า เป็นเครื่องชำระชะล้างบาป การทำบุญหวังให้สวย ให้รวย ให้ได้วิมาน ให้ได้สวรรค์ เต็มไปด้วยกามารมณ์ เหล่านี้ มันเป็นการชำระชะล้างบาปหรือเปล่า
ท่านพุทธทาสภิกขุ
kanokwan | พ.ค. 16th, 2010 at 11:25 pm
รูปภาพของ kanokwan

           




 


คำว่า บุญ นั้น ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่า เป็นเครื่องชำระชะล้างบาป การทำบุญหวังให้สวย ให้รวย ให้ได้วิมาน ให้ได้สวรรค์ เต็มไปด้วยกามารมณ์ เหล่านี้ มันเป็นการชำระชะล้างบาปหรือเปล่า
ท่านพุทธทาสภิกขุ
kanokwan | พ.ค. 17th, 2010 at 12:09 am
รูปภาพของ kanokwan

"ม็อบพระ" แฉ! วัดธรรมกาย ส่งท่อน้ำเลี้ยงหนุน

 
"ม็อบพระ" แฉ! วัดธรรมกาย ส่งท่อน้ำเลี้ยงหนุน
สรุปประเด็นข่าวโดยกระปุกดอทคอม
ภาพประกอบจากหนังสือพิมพ์คมชัดลึก
          บรรยากาศการชุมนุม ของกลุ่มองค์กรชาวพุทธ ที่เรียกร้องให้ สภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) บรรจุศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ ที่บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อวาน นี้ (25 เม.ย.) มีกลุ่มพระสงฆ์ราว 1,000 รูปและฆราวาสราว 500 คนที่สวมชุดขาวเดินทางมาด้วยรถตู้เข้ามาปักหลักชุมนุมในสถานที่ที่เจ้าหน้าที่จัดเตรียมกางเต้นท์และปูเสื่อไว้สองฝั่งถนนหน้ารัฐสภา และยังคงทยอยกันเดินทางมาสมทบเรื่อย ๆ
          ส่วน กระแสข่าวที่ว่า จะมีกลุ่มจากวัดพระธรรมกาย มาสนับสนุนการชุมนุมครั้งนี้พล.อ.ธงชัย เกื้อสกุล ประธานอำนวยการองค์กรพระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย กล่าวว่า วัดพระธรรมกายได้มอบหมายให้ พล.อ.อ.วีรวุธ ลวะ เปารยะ ไวยาวัจกรของวัด มาร่วมหารือกับองค์กรพระพุทธศาสนาและผู้แทนจากวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ที่มาชุมนุมเรียกร้องให้บัญญัติพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติไว้ในรัฐธรรมนูญ
          ประธานอำนวยการฯ กล่าวด้วยว่า นอกจากส่งไวยาวัจกรมาแล้ว วัดพระธรรมกายก็ยังได้มอบเงินมาสนับสนุนการชุมนุมในครั้งนี้ด้วย และพร้อมจะนำประชาชนที่สนับสนุนวัดพระธรรมกายมาร่วมเรียกร้อง ซึ่งอาจจะมีมากถึง 2 แสนคน หากการเรียกร้องไม่สำเร็จ 
          ขณะที่นางทองหล่อ กล่ำแสง อายุ 72 ปี หนึ่งในผู้ชุมนุม กล่าวว่า ที่มาร่วมชุมนุมวันนี้ เพราะตนได้ไปปฎิบัติธรรมที่วัดแห่งหนึ่ง แล้วเจ้าอาวาสได้ประกาศเชิญชวนให้ไปรวมตัวกันที่หน้ารัฐสภา เพื่อเรียกร้อง ทั้งๆที่ความจริงได้เวลาต้องกลับบ้านที่ จ.สมุทรปราการแล้ว แต่เพราะเจ้าอาวาสเปรียบเหมือนครู และตนก็เหมือนนักเรียนที่ไปเรียนปฎิบัติธรรม ดังนั้นเมื่อครูใช้ให้ไปช่วยก็ต้องไป  

คำว่า บุญ นั้น ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่า เป็นเครื่องชำระชะล้างบาป การทำบุญหวังให้สวย ให้รวย ให้ได้วิมาน ให้ได้สวรรค์ เต็มไปด้วยกามารมณ์ เหล่านี้ มันเป็นการชำระชะล้างบาปหรือเปล่า
ท่านพุทธทาสภิกขุ
kanokwan | พ.ค. 26th, 2010 at 5:24 pm
รูปภาพของ kanokwan

ความสัมพันธ์ระดับลึกระหว่างวัดธรรมกาย ทักษิณ ชินวัตร

ถึงแม้วัดพระธรรมกาย จะมีประวัติความเป็นมาไม่ชอบมาพากลหลายเรื่อง พระธรรมชโย เจ้าอาวาสเคยถูกสอบสวนเรื่องการถือครองที่ดิน จนเป็นข่าวฟ้องร้องดังมามาตั้งแต่ยุคอดีต รวมถึงกรณีที่มีแนวความเชื่อที่ขัดต่อพระไตรปิฎก และพุทธศาสนา ที่ว่า “นิพพานเป็นอัตตา” สื่อมวลชนเองก็เคยขุดคุ้ยเรื่องการหารายได้ ที่ดิน และวิธีระดมเงินทำบุญในรูปแบบต่างๆ จนถูกขนานนามว่า เป็นวัด “พุทธพาณิชย์” จนเป็นข่าวดังในช่วงระหว่างปี 2540-2543 
ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาเป็นที่รับรู้กันดีว่าวัดพระธรรมกายนั้นไม่ธรรมดา ไม่เพียงรอดพ้นคดีมาได้ ยังยืนหยัดอยู่ได้ในสังคม แถมยังได้ชื่อว่าเป็นวัดทรงอิทธิพลมากที่สุดในไทย โดยเครือข่ายความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับนักธุรกิจ และนักการเมือง 
วัดธรรมกาย จัดเป็นวัดที่มีทั้งทรัพย์สิน มีที่ดินมหาศาล สร้างปูชนียวัตถุ สร้างอุโบสถ อาคารปฏิบัติธรรมขนาดใหญ่โตรองรับคนได้เป็นแสนๆ และการออกแบบที่แปลกตาชนิดที่ไม่เคยเห็นในวัดไหนของไทยมาก่อน เพราะได้มาจากการเรี่ยไรเงิน โดยอ้างเอาความศักดิ์สิทธิ์ของพระ หรือสร้างขึ้นตามนิมิตที่เห็นในการทำสมาธิ 
นอกจากนี้ ยังสร้างพื้นที่สื่อของตัวเอง มีทั้งนิตยสาร เว็บไซต์ หรือแม้แต่โทรทัศน์ผ่านดาวเทียม “ดีเอ็มซี” ผลิตรายการเองตลอด 24 ชั่วโมง ถ่ายทอดผ่านดาวเทียมถึง 7 ดวง ครอบคลุมทุกภาคภูมิภาคทั่วโลก แปลเป็นภาษาอังกฤษ จีน ลาว เยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น และเขมร รายการผลิตเองถ่ายทอดพระธรรมชโยเทศน์ มิวสิกวิดีโอ โรงเรียนในฝันวิทยา เนื้อหาง่าย เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเด็ก ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เด็กจนถึงคนสูงอายุ 
ล่าสุดยังได้รุกคืบเข้าช่องช่องทรูวิชั่นส์ ซึ่งเวลานี้มีสมาชิกเกือบล้านเข้าไปแล้ว ก็ยิ่งทำให้ ธรรมกายซึมลึกเข้าไปยังผู้ชมทั่วไปได้มากยิ่งขึ้น 
เวลาจัดงานทำบุญใหญ่ในวันสำคัญๆ จะมีบรรดาเหล่ากัลยาณมิตรวัดธรรมกายที่มาทำบุญ แต่ละครั้งไม่ต่ำกว่าหลักแสน ทำเอาพื้นที่กว้างใหญ่มหาศาลเพียงใดก็ยังไม่พอรองรับ เวลานี้ยังบุกขยายไปทั่วมีเครือข่ายสาขาทั้งในและต่างประเทศ 
แกนนำ ผู้สนับสนุนรายใหญ่ของวัด มักจะเป็นนักธุรกิจติดอันดับ รวยติดอันดับของเมืองไทย มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีผู้มั่งคั่งและมีอิทธิพลแห่งแวดวงอสังหาริมทรัพย์อย่างอนันต์ อัศวโภคิน บุญชัย เบญจรงคกุล รวมถึงทักษิณ ชินวัตร และคนในพรรคไทยรักไทยเวลานั้น 
ด้วยการสร้างความเชื่อทางศาสนาในรูปแบบต่างๆ ของธรรมกายที่ทำมาอย่างต่อเนื่องจนสร้างมวลชนขึ้นมากมายในทุกระดับของสังคมไทย ขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และกลายเป็นจุดเชื่อมโยงกับผู้มีบทบาททางธุรกิจ การเมือง และสังคม 
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์ระดับลึกระหว่างวัดธรรมกาย ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย 
คดีอื้อฉาว พระธัมมชโยถูกฟ้องในฐานยักยอกทรัพย์ และเงินวัดธรรมกายซึ่งอยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไป เพราะเป็นคดีความอยู่ยาวนานมาถึง 7 ปี ในที่สุดอัยการในยุครัฐบาลทักษิณตัดสินใจสั่งให้ “ยกฟ้อง” ให้พระธัมมชโยและพวกพ้นผิดไปแบบง่ายๆ ท่ามกลางข้อกังขาของสังคมไทยในขณะนั้น 
สังคมไทยก็ได้คำตอบมากขึ้นเมื่อทักษิณได้ไปใช้พื้นที่วัดธรรมกายปราศรัยทางการเมือง สามารถระดมคนมาได้อย่างมากมาย ความสัมพันธ์ถึงขั้นที่ธรรมกายได้โควตาส่งคนเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลทักษิณ 
สมัยทักษิณเป็นรัฐบาล ยังเคยให้กระทรวงมหาดไทยระดมสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ทั่วประเทศมาจัดงานที่วัดธรรมกายมาแล้วหลายครั้ง 
เมื่อถึงจุดที่ทักษิณ ต้องการ ใช้ทุน และการเมือ เข้าแทรกแซง สถาบันศาสนา เพื่อก้าวไปสู่การกุมอำนาจสูงสุดของประเทศ วัดธรรมกายจึงเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญที่ทักษิณ เกือบสำเร็จมาแล้ว 
หากไม่เป็นเพราะถูกปฏิวัติจนต้องระเห็จออกนอกประเทศ และเดินเกมพลาดในการปลุกมวลชนเสื้อแดงจนขาดความน่าเชื่อถือไปแล้วก็ตาม ต้องจับตาว่าเครือข่ายอิทธิพลและมวลชนนับล้านคนของวัดธรรมกายที่แนบแน่นกับเครือข่ายทักษิณ จะถูกนำไปใช้เพื่อเป็นตัวแปรสำคัญแห่งการพลิกสู่เกมอำนาจของทักษิณหรือไม่ 
คำว่า บุญ นั้น ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่า เป็นเครื่องชำระชะล้างบาป การทำบุญหวังให้สวย ให้รวย ให้ได้วิมาน ให้ได้สวรรค์ เต็มไปด้วยกามารมณ์ เหล่านี้ มันเป็นการชำระชะล้างบาปหรือเปล่า
ท่านพุทธทาสภิกขุ
kanokwan | พ.ค. 26th, 2010 at 5:17 pm
รูปภาพของ kanokwan

  'ลีลาวดี วัชโรบล'


'ลีลาวดี วัชโรบล' จิ๊กซอว์ 'ทักษิณ' เปิดตัวเพื่อ 'ธรรมกาย'?


ไม่อาจปฏิเสธว่า "นายใหญ่" กับ "ธรรมกาย" มีความสนิทมักคุ้นกันมาก่อนหน้านี้ และยิ่งแน่นแฟ้นขึ้นก็ในช่วงที่อดีตนายกฯมหาเศรษฐีถูกรัฐประหาร
หัวเรือใหญ่แห่งธรรมกายก็เห็นอกเห็นใจระดมสรรพกำลังออกแรงช่วยในทางลับจนกลับมาผงาดหลังเลือกตั้งได้สำเร็จ
ไม่ต้องบอกหรอกว่า.. "ธรรมกาย" ต้องการอะไร
เพราะเช็คไปสุ่มเสียงเถระพระมีศักดิ์สูงหลายรูปก็ได้ตกไปเป็นบริวารไม่มากก็น้อย
ทว่า อุบัติการเกณฑ์เด็กนักเรียนกว่า 2 แสนคนทำพิธีวิสาขบูชาที่วัดธรรมกายนั้น บางที "ทักษิณ" อาจยังไม่ทันคิดว่า การไปออกงานแบบนั้น ย่อมสุ่มเสี่ยงโดนครหาได้
แต่อาจเพราะคนที่จัดแจงเจ้ากี่เจ้าการงานนี้คือ ลีลาวดี วัชโรบล อดีตรองนางสาวไทย และพิธีกรทีวี 
ซึ่งภายหลังมาเอาดีทางการเมืองกับพรรคประชากรไทย และตำแหน่งสุดท้ายได้เป็นกรรมการและโฆษกพรรค
ก่อนที่จะย้ายมาตาม "หัวหน้าหมัก" ลงสมัครส.ส.ในนามพรรคพลังประชาชน แต่สอบตก.. ด้วยความเอ็นดูของ "นายกฯหมัก" ก็พลักดันให้เธอได้เป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาการ สมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ นั่นเอง
ดังนั้น งานที่จัดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม จึงเป็นผลงานของ "ลีลาวดี" ก็ว่าได้
เพราะต้องไม่ลืมว่า เลขานุการ รมว.ศธ. คนนี้ ถือว่าเป็นศิษย์เอก "ธรรมกาย" ชนิดที่ซึ่งในรสธรรมยิ่ง เคยรับหน้าเป็นพิธีกรรายการเส้นทางบุญ, Relax and Alert ทาง DMC ซึ่งเป็นทีวีดาวเทียมธรรมกาย..
ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ "นายใหญ่" ในชุดขาวธรรมกายจะจรัสแสงจ้าไม่เกรงใจใครในประเทศนี้ หรือไม่ใช่!
................
(อ่านก่อน) เกณฑ์เด็ก 200,000 รับ 'ทักษิณ' โชว์พาว 'ธรรมกาย' เพื่ออะไร!?
http://www.oknation.net/blog/nity/2008/05/23/entry-4


คำว่า บุญ นั้น ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่า เป็นเครื่องชำระชะล้างบาป การทำบุญหวังให้สวย ให้รวย ให้ได้วิมาน ให้ได้สวรรค์ เต็มไปด้วยกามารมณ์ เหล่านี้ มันเป็นการชำระชะล้างบาปหรือเปล่า
ท่านพุทธทาสภิกขุ
kanokwan | พ.ค. 26th, 2010 at 5:14 pm
รูปภาพของ kanokwan

ธุดงคสถาน ปฐมฐานของความขัดแย้งที่ดิน - สีกา

มกราคม - มีนาคม ๒๕๔๓
สมเกียรติ มีธรรม

ข้อเขียนนีตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่ม พร้อมบทวิเคราะห์ และแก้ข้อกล่าวหา เรื่องขบวนการล้มพุทธ
ในหนังสือ “เปิดโปงขบวนการล้มพุทธ” และ “พุทธศาสนาชะตาของชาติ” ซึ่งเขียนโดยผู้ใช้นามว่า ดร.เบญจ์ บาระกุล

- ธุดงคสถาน ปฐมฐานของความขัดแย้งที่ดิน - สีกา
          อันที่จริงปัญหาวัดพระธรรมกาย ไม่ได้เกิดจากความอิจฉาริษยา หรือความจงเกลียดจงชังจากกลุ่มบุคคลใด กลุ่มบุคคลหนึ่ง ดังที่วัดพระธรรมกายมักยกมากล่าวอ้างเสมอว่ามีขบวนการล้มพุทธ ทำกันเป็นระบบ เป็นขบวนการและรับเงินสนับสนุนจากองค์กรต่างประเทศเข้ามาเพื่อทำลายพระพุทธศาสนา
          หากแต่ปัญหาของวัดพระธรรมกาย ถ้าพินิจพิจารณาโดยปราศจากภยาคติ ก็จะเห็นว่า เกิดจากมิจฉาทิฐิของพระและฆราวาส ที่เกาะกลุ่มกันเป็นแก๊งอยู่ในวัด จนเป็นเหตุให้ประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย และทำพระธรรมวินัยให้วิปริต ตลอดจนถึงการระดมทุนในรูปแบบต่างๆ และทำธุรกิจอีกหลายด้าน ทั้ง ๆ ที่ผ่านมามีผู้ปราถนาดีหลายท่าน เขียนหนังสือ และบทความ ออกมาทักท้วงตักเตือนอย่างต่อเนื่อง อาทิ หนังสือ “สวนโมกข์– ธรรมกาย–สันติอโศก” น.๕๕ ของนายแพทย์ประเวศ วะสี เขียนเตือนไว้ตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ว่า
          “ธรรมกาย” ในส่วนที่เป็นองค์กรจัดตั้งนั้น ย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ข้อดีคือ มีพลังรุกได้รวดเร็ว ข้อเสียคือ ๑.) ต้องใช้เงินมาก ๒.) หลักธรรมแคบ ๓.) มีอำนาจ ซึ่งจะนำไปสู่ความขัดแย้ง และคอรัปชั่นในอนาคต”
          นอกจากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๑ หลังจากเกิดเรื่องอื้อฉาวกรณีที่ดินกับชาวนารอบวัด มรว. คึกฤทธิ์ ปราโมช แสดงความคิดเห็นในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ คอลัมน์ซอยสวนพลู ฉบับวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๓๑ หน้า ๙ ว่า
          “สำหรับผมเอง เห็นว่า วัดธรรมกายมีสภาพห่างไกลจากวัดที่เรารู้จักออกไปมาก เพราะมีแผนการค้าอย่างทันสมัย เช่นเดียวกับองค์การค้าร้านค้าอื่นๆ กล่าวคือ มีสินค้าที่จะขาย ได้แก่ การทำสมาธิ แล้วก็มีการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ให้คนมาซื้อสินค้านั้น ซึ่งก็ได้ผลดีมาก การขายสินค้านั้นก็ทำด้วยวิธีการที่ชาญฉลาด เพราะมิได้เก็บเงินค่าทำสมาธิจากผู้ที่ไปเข้าวัดอย่างตรงไปตรงมา แต่ทำในรูปทอดผ้าป่า…”
          ถ้านับถอยหลังไปตั้งแต่เริ่มก่อตั้งวัดพระธรรมกายเป็นต้นมา(ปี ๒๕๒๐) พฤติกรรมตามที่นายแพทย์ประเวศ วะสี กล่าวไว้ มีความเข้มข้นขึ้นตามลำดับ ทั้งในแง่ของการโฆษณาประชาสัมพันธ์เพื่อระดมทุน และความขัดแย้งภายในวัด นับแต่ตั้งชื่อวัด(ปี พ.ศ. ๒๕๒๔)ตามชื่อผู้บริจาคที่ดินจำนวน ๑๙๖ ไร่ ว่า “วัดวรณีย์ธรรมกายาราม” และเปลี่ยนมาเป็น “วัดพระธรรมกาย” ในปีเดียวกัน อันมีสาเหตุมาจากความขัดแย้งอย่างรุนแรงด้านความคิด เกี่ยวกับการสร้างวัด ซึ่งอาจารย์วรณีย์ ต้องการให้สร้างวัดตามประเพณีนิยมแบบไทยๆ แต่พระธัมมชโยไม่เห็นด้วย และขัดขวางกลั่นแกล้งทุกวิถีทาง อาจารย์วรณีไม่สามารถทำอะไรได้ เพราะได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินยกให้เป็นของวัดเรียบร้อยแล้ว แต่มาถึงขั้นมีการทะเลาะแตกหักกับพระธัมมชโย และพระธัมมชโยได้สั่งตัดคำ “วรณีย์” ออกจากชื่อของวัด ซึ่งสอดคล้องกับคำให้สัม-ภาษณ์ของนายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคประชากรไทย ว่า
          “พ่อของนางสาววรณีย์เป็นลุงตน ได้รับมรดกมาจากป้า เมื่อจบการศึกษาจากต่างประเทศก็มาสอนที่วัดชนะสงคราม ได้เงินเดือนๆละ ๓,๐๐๐ บาท เมื่อคุณป้าคือ คุณหญิงหยด และคุณหญิงย้อย บอกให้นำเงินเดือนไปถวายพระ และด้วยความเลื่อมใสหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ เมื่อลูกศิษย์ต้องการขยายวัดก็ได้มาชวน จึงได้บริจาคที่ดิน ๑๙๓ ไร่ให้ไป ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดในปัจจุบัน โดยใช้ชื่อในตอนแรกว่าวัดวรณีย์ธรรมกายารามจากนั้นไม่นาน มีข่าวว่านางสาววรณีย์จะนำเงิน ๕ ล้านบาทไปถวายหลวงพ่อลิงดำ ทำให้ลูกศิษย์หลวงพ่อสด ๒ องค์นี้ไม่พอใจ เมื่อวันเปิดตัววัดใหม่ ก็ไม่ได้เชิญนางสาววรณีย์ สุดท้ายญาติผู้พี่ของตนจึงได้นำเงินไปบริจาคให้วัดปากน้ำ สร้างศาลาหินอ่อนเพื่อนั่งสมาธิ ตั้งแต่นั้น วัดพระธรรมกายและคุณพี่วรณีย์ก็ขาดกัน และขอให้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ มีการใช้ชื่อธรรมกายมาจนถึงทุกวันนี้..” ๒
          โดยก่อนหน้านี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๑๓ เมื่อศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมก่อตั้งขึ้นมาใหม่ ได้จัดอบรมเป็นระยะๆ โครงการที่รู้จักกันดีในสมัยนั้น ก็คือ โครงการอบรมศาสนทายาท และอุปสมบทหมู่ภาคฤดูร้อน เป็นโครงการแรกที่จัดขึ้นมาเมื่อเดือนเมษายน ๒๕๑๕ ในการอบรมรุ่นแรก มีนักเรียน นิสิต นักศึกษา เข้ารับการอบรม ๖๐ คน ได้ผ่านขั้นตอนการอบรมธรรมทายาทอย่างทรหด อดทน ด้วยการสมาทานศีล ๘ อยู่กลด เอาชนะใจตนเองด้วยการฝึกสมาธิให้ใจหยุด ใจนิ่ง ในสภาพความเป็นอยู่ที่ปราศจากเครื่องอำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวัน ท่ามกลางคูน้ำและคันดินที่เพิ่งถูกพลิกฟื้นขึ้นมาใหม่ จากสภาพท้องนาอันแห้งแล้ง ไม่มีต้นไม้ใหญ่ ไม่มีศาลาปฏิบัติธรรม ไม่มีโรงทานและเรือนไทย ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ธรรมทายาทที่ผ่านการอบรมรุ่นแรกนี้ จึงได้รับการขนานนามว่า “ธรรมทายาทรุ่นทนทายาด” นี่คือสัญญาณแห่งความวิปลาส ซึ่งจะนำไปสู่ความวิบัติ อันเกิดจากการกระทำของวัดพระธรรมกายเอง ที่พยายามหล่อหลอมอุดมการณ์แบบธรรมกายแก่ผู้เข้ารับการอบรม ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ทางวัดได้เสนอแผนการขยายพื้นที่วัดออกไปอีก ๖,๐๐๐ ไร่ ในนามโครงการสร้างสวนป่าชานเมือง สำหรับธุดงค์มหาชน มีการนำเสนอโครงการนี้ต่อรัฐบาลผ่านทางอธิบดีกรมป่าไม้ในขณะนั้น ซึ่งเป็นสมาชิกที่แข็งขันผู้หนึ่ง โดยหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือในรูปกองทุน อย่างไรก็ตาม แผนนี้ถูกปฏิเสธจากคณะกรรมการสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทางวัดจึงได้หาแนวทางระดมทุนใหม่ เพื่อขยายพื้นที่ออกไป โดยได้จัดซื้อที่ดินจากกองมรดกของ มรว.สุวพรรณ สนิทวงศ์ ในราคาไร่ละ ๒๐,๐๐๐ บาท เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ซึ่งเป็นที่มาของข้อพิพาทระหว่างวัดพระธรรมกายกับชาวนา จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ทางวัดพระธรรมกาย ได้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีความเป็นระบบแบบแผนยิ่งขึ้น โดยแบ่งสายงานออกเป็น ๓ ฝ่ายใหญ่ คือ ฝ่ายบริหารงานบุคคล ฝ่ายจัดหากองทุน และฝ่ายเผยแพร่ธรรมะ ขณะเดียวกันได้จัดทำโครงการชักชวนประชาชนเข้าวัดโดยกำหนดเป้าหมายไว้ ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ว่าต้องชักชวนคนเข้าวัดให้ได้ถึง ๑๐๐,๐๐๐ คน และเพิ่มสูงขึ้นในปีถัดมาและในระยะนี้เอง เริ่มมีสีกาเข้ามาเกี่ยวข้องกับเจ้าอาวาส ดังคำให้สัมภาษณ์ของพระอดิศักดิ์ วิริยสกฺโก ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ว่า
          “อาตมาในฐานะเป็นผู้คลุกคลีในการบริหาร มีความรู้สึกว่า บางครั้งการกระทำของเจ้าอาวาส เป็นไปด้วยอารมณ์มากกว่าเป็นไปด้วยเจตนารมณ์ร่วมกัน เริ่มเมื่อสร้างวัดเสร็จประมาณปี ๒๕๒๗ – ๒๕๒๘ ตอนนั้นเจ้าอาวาสเริ่มเปลี่ยนไป ไม่อยู่วัด เริ่มลับๆล่อๆไปอยู่เชียงใหม่ ถ้ามีงานจึงจะกลับมาสักครั้ง อยู่เชียงใหม่จะพาเศรษฐีทั้งหลายที่บริจาคให้กับวัดไปปฏิบัติธรรม ข้ออ้างของท่านคือบรรยากาศในวัดธรรมกายไม่สงบ เสร็จแล้วอาตมามองดูว่ามันเลยเถิด เช่น ท่านกล่าวชมสีกาต่างๆ สำนวนกล่าวชม เป็นลักษณะชายหนุ่มชมหญิงสาว มากกว่าที่จะเป็นความเมตตาของครูบาอาจารย์ อาตมาได้ยินด้วยตนเอง ยกตัวอย่าง ชมโยมผู้หญิงว่า “แหม! สวยจังเลย แก้มยุ้ย ติ่งหูสวย” ถ้าเป็นปรกติอาตมาจะเตือน แต่เมื่อถึงจุดที่สภาวะเจ้าอาวาสมีอิทธิพลสูง ไม่ใช่อาตมาจะตักเตือนได้ เป็นสภาวะที่ทุกอย่างเป็นคำสั่งของเจ้าอาวาส…”
          ซึ่งถ้าพิจารณาจากคำสัมภาษณ์ของพระอดิศักดิ์ วิริยสกฺโก ขณะที่พำนักอยู่วัดพระธรรมกาย จะเห็นได้ว่า บรรยกาศภายในวัด เริ่มตึงเครียดมากขึ้นตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ อภิญญา เฟื่องฟูสกุล เขียนไว้ว่า ในยุคนี้ แม้จะมีความเป็นระบบแบบแผนมากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติ โดยเฉพาะกระบวนการตัดสินใจ ไม่ได้เป็นไปในเชิงกระจายอำนาจ ทำให้เกิดความลักลั่น และเปิดโอกาสให้คนบางส่วนใช้ช่องว่างดังกล่าวสร้าง “กลุ่ม” หรือแนวร่วมของตนเพื่อขวางอีกคนหนึ่ง หรืออีกกลุ่มหนึ่ง

- ศูนย์กลางธรรมกายสากล ศูนย์กลางการค้าบุญระดับโลก
          กระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ และ ๒๕๒๙ เมื่อทางวัดจัดซื้อที่ดิน จำนวน ๒,๐๐๐ ไร่ ได้สำเร็จ เพื่อสานฝันในโครงการศูนย์กลางธรรมกายสากลแห่งโลก ทำให้ความขัดแย้งกับชาวบ้านส่วนหนึ่งที่มีอยู่เดิมรุนแรงขึ้น ซึ่งเป็นผู้เช่าที่จากเจ้าของที่ที่ขายให้แก่วัด จนชาวบ้านบางส่วนประมาณ ๓๐ คนได้เข้าร้องทุกข์ต่อกองปราบปราม กล่าวหาพระธัมมชโย พระทัตตชีโว พระปลัดสุธรรม สุธมฺโม นายสุนทร ศรีรัตนา และนายผ่อง เล่งอี้ รวมทั้งสิ้น ๕ ข้อหา เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๒๘ นอกจากนั้น ในปีเดียวกัน(๒๕๒๘) พระภาวนาวิริยคุณ รองเจ้าอาวาส เป็นผู้มีบทบาทมากที่สุดในภาคปฏิบัติ เป็นผู้รับคำสั่งจากพระธัมมชโยไปปฏิบัติ๘ ใช้อำนาจและความยิ่งใหญ่อันไม่ชอบธรรมข่มขู่กดขี่ คิดค้นกโลบาย เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ต้องการ เช่น ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ทางวัดธรรมกายต้องการให้ที่ดินของวัด ๒,๐๐๐ กว่าไร่เชื่อมเป็นผืนเดียวกัน แต่เจ้าของโรงเรียนอนุบาลแสงเทียนไม่ยอมขายให้ เพราะเป็นห่วงการศึกษาของเด็กในพื้นที่ พระเผด็จ ทตฺตชีโว ได้วางแผนใช้หน่วยพิทักษ์ป่าที่มาอบรมภายในวัดก่อนบรรจุเป็นข้าราชการ ให้ทำการนานัปการเพื่อบีบคั้นทั้งร่างกายและจิตใจ แต่ยังไม่ได้ผล จนในที่สุด พระทัตตชีโว ได้มีคำสั่งเด็ดขาดให้หน่วยพิทักษ์ป่ากลุ่มหนึ่ง ใช้กำลังข่มขืนบุตรสาวเจ้าของโรงเรียน จนเจ้าของตัดสินใจขายให้ทางวัดในวันรุ่งขึ้น
          เมื่อทางวัดสามารถขยายพื้นที่ออกไปได้สำเร็จ ในปีถัดมา(๒๕๒๙) มูลนิธิธรรมกาย จึงจัดส่งพิมพ์เขียวของแผนการตลาด เพื่อโปรโมต “สินค้า” (การทำบุญให้กลายเป็นสินค้า) ดังกล่าวเข้าประกวดใน “โครงการสุดยอดแผนการตลาด” ที่จัดโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสมาคมจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย และได้รับคัดเลือกเป็นหนึ่งใน ๑๙ สุดยอดแผนการตลาดประจำปีนั้น๑๐ ซึ่งสามารถชักชวนคนเข้าวัดได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ และเป็นช่วงที่วัดพระธรรมกายได้ระดมทุนสร้างฝัน โครงการศูนย์กลางธรรมกายสากลแห่งโลก อย่างเข้มข้น จน น.พ.ประเวศ วะสี เขียนหนังสือ สวนโมกข์–ธรรมกาย–สันติอโศก ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เสนอแนะให้วัดพระธรรมกายพิจารณาตนเอง ๓ ประการ ด้วยกัน กล่าวคือ
          ๑. “ธรรมกาย” ไม่ควรชูเรื่อง “ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นพระพุทธเจ้า” เพราะจะทำให้ต้องไม่ทะเลาะกับคนจำนวนมาก ในทางทฤษฎี ควรขยายการสอนธรรมะให้ครอบคลุมพุทธธรรมโดยกว้างขวาง และขยายเรื่องทางปัญญาให้ชัดเจน มิฉะนั้นจะเป็นช่องโหว่เรื้อรังหรือถาวร
          ๒. อย่าชู “ธรรมกาย” ให้เป็นเอกเทศ และดูเหมือน ไปบุกรุกเบียดพุทธอื่นๆ จะก่อความขัดแย้ง ซึ่งจะมีผลกระทบย้อนกลับมาหาตัว ควรชูพุทธเป็นส่วนรวม
          ๓. ลดภาพพจน์ในความต้องการทางการเงินลง ควรจะดำเนินการในทางที่ไม่ต้องใช้เงินมากนัก โดยการกระจายยิ่งกว่าการที่จะกระจุกให้ใหญ่ และแพงเพิ่มขึ้นอีกต่อไปเมื่อครั้งพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนน์ชีพอยู่ ขบวนการของพระองค์ก็ใหญ่โตน่าดู น่าศึกษาว่าพุทธองค์จัดตั้งอย่างไร จึงได้ผลดีแต่พระพุทธเจ้าคงจะรับสั่งไม่ได้ว่า “ถ้าไม่ได้เดือนละ ๑๕ ล้าน เราอยู่ไม่ได้”
          ในปีต่อมา(๒๕๓๑) ขณะที่ปัญหาความขัดแย้งกับชาวนารอบวัดรุนแรงขึ้น มรว.คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้เขียนบทความโจมตีการใช้เงินซื้อที่ดินของวัดพระธรรมกาย ลงในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ คอลัมน์ซอยสวนพลู วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๓๑ น. ๙ อย่างรุนแรงว่า
          “ผมเห็นว่า การที่วัดเรี่ยไรเงินจากอุบาสกอุบาสิกา เพื่อไปซื้อที่เป็นจำนวนถึง ๒,๐๐๐ ไร่นั้น เป็นการหรูหราฟุ่มเฟือยอย่างแน่นอน และเมื่อคำนึงว่า วัดธรรมกายในขณะนี้ มีเนื้อที่กว้างขวางใหญ่โต และตกแต่งเป็นระเบียบสวยงามอยู่แล้ว ก็ยิ่งทำให้นึกว่า การเพิ่มบริเวณออกไปถึง ๒,๐๐๐ ไร่นั้น เป็นการเกินความจำเป็นจริงๆ ไม่มีทางหลีกเลี่ยงที่จะมิให้คิดเช่นนั้นได้ แสดงให้เห็นว่า ใครก็ตาม ที่เป็นผู้วางแผนการพัฒนาของวัดธรรมกายนั้น เป็นผู้ที่ฟุ้งเฟ้อไม่มีประมาณ ถ้าหากเป็นพระ ก็เป็นพระที่ขาดสมณสารูปเอามากทีเดียว”

- ธุรกิจผู้ทำบุญ กับกลุ่มกัลยาณมิตร
          แต่กระนั้นก็ตาม วัดพระธรรมกายกลับเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ในปีเดียวกัน อันเป็นยุคทองของธุรกิจที่ดิน มูลนิธิธรรมกายถึงกับกระโดดลงมาทำโครงการอสังหาริมทรัพย์เอง มีโครงการบ้านจัดสรร และที่ดินอื่นๆ เกิดขึ้นมามากมาย ไปจนถึงบ้านพักให้เช่า ขายหนังสือ เสื้อผ้า ของที่ระลึก เทป และอุปกรณ์นั่งกลด ซึ่งประทับสัญลักษณ์ธรรมกาย เพื่อขายให้แก่บรรดาสาวกทั้งหลายที่ไปร่วมปฏิบัติธรรม
          บริษัทต่างๆ ที่ทำธุรกิจในด้านนี้ ได้แก่ บริษัทดูแวค มีทุนจดทะเบียน ๑ ล้านบาท ประกอบธุรกิจพัฒนาที่ดิน บริษัทดีเวิลด์ มีทุนจดทะเบียน ๑ ล้านบาท ทำโครงการตะวันธรรม ประกอบธุรกิจพัฒนาที่ดิน บริษัทเอพริล ทุนจดทะเบียน ๓ ล้านบาท รับสัมปทานให้เช่าบ้านพักบนภูกระดึง จากกระทรวงเกษตรฯ ๓๐ ปี บริษัทดอกหญ้า ทุนจดทะเบียน ๕ แสนบาท บริษัทบ้านหนูแก้ว ประกอบธุรกิจขายหนังสือ เสื้อผ้า ของที่ระลึก บริษัทบัวบานการเกษตร ทุนจดทะเบียน ๑ ล้านบาท ทำโครงการตะวันทอง ประกอบธุรกิจพัฒนาที่ดิน บริษัทเมืองแก้วมณี ประกอบธุรกิจ โครงการอสังหาริมทรัพย์ คอนโดมิเนียมและอาพาร์ตเมนต์ บริษัทยูทาวน์ ทุนจดทะเบียน ๑๐ ล้านบาท ทำโครงการรัตนปุระ บริษัทดีวีเอ็น ประกอบธุรกิจบ้านจัดสรร ในนามโครงการวิภาวันวิลล่า และบริษัทธรรมกิจนิเวศน์ ทำโครงการกิจนิเวศน์ ประกอบธุรกิจบ้านจัดสรร ๑๑ นอกจากนั้น ยังมี กลุ่มกัลยาณมิตร ทำหน้าที่ออกไปบอกบุญจากธรรมทายาทที่ร่วมนั่งปฏิบัติธรรม เพื่อนำเงินมาสร้างลานธุงคสถานให้ใหญ่ที่สุดในโลก เช่น บอกบุญถวายผ้าป่า จัดสถานที่รับบริจาค เพื่อร่วมสร้างลานธุดงคสถาน และจัดพิมพ์วารสารกัลยาณมิตรแจกจ่ายไปยังสมาชิกทั่วประเทศ เพื่อเสริมสร้างและจรรโลงพุทธศาสนา และเพื่อสนองตอบความต้องการของสมาชิกที่ต้องการนิพพาน ซึ่งทางวัดได้กำหนดการรับบริจาคปัจจัยว่า เป็นกองทุนหนังสือกัลยาณมิตรเพื่อหลวงพ่อธัมมชโย โดยแบ่งจุดรับบริจาคไว้ดังนี้ คือ ๑.ในงานวันกฐิน หรือวันสำคัญทางศาสนา มีจุดรับบริจาคที่วัดพระ-ธรรมกาย ๑๕ จุด ๒.วันอาทิตย์ รับบริจาค ณ วัดพระธรรมกาย มี ๕ จุดตามป้ายประกาศ ๓.วันธรรมดา จันทร์–เสาร์ จะเปิดรับบริจาค ณ สำนักงานกัลยาณมิตร อาคารสมาคมศิษย์เก่า มหา-วิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ ๔. ธนาณัติ ส่งไปที่วัดพระธรรมกาย ๑๒

- เงิน-อำนาจ-อุดมการณ์ของธัมมชโย
          และต่อมาในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๓๓ ทางวัดพระธรรมกายได้จัดโครงสร้างการทำงานใหม่อีกครั้งหนึ่ง ภายใต้การผลักดันของพระมโน เมตฺตานนฺโท มีการออกระเบียบ ประกาศ และขัอบังคับต่างๆ ให้กระจายอำนาจมากขึ้น แต่ในทางปฏิบัติ อำนาจก็ยังกระจุกตัวอยู่กับเจ้าอาวาส ทำให้เกิดความขัดแย้งส่วนบุคคลในระดับสูงขององค์กร จนท่านเมตตานันโทภิกขุต้องจรลีไปอาศัยอยู่วัดราชโอรสาราม เนื่องจากเกิดการแข่งขันกันทำงานให้เป็นที่โปรดปราน และได้ใกล้ชิดตัวเจ้าอาวาส(ซึ่งถูกสร้างภาพให้เป็นบุคคลพิเศษ) จนก่อให้เกิดความอึดอัด และตึงเครียดทางจิตใจ เป็นเหตุให้บางคนต้องลาออกไป แต่ก็มีบางรายที่ลงเอยด้วยโศกนาฏกรรม พระภิกษุรูปหนึ่ง(พระชิตชัย มหาชิโต)๑๓ ที่เป็นกำลังสำคัญในการก่อตั้งวัดมาตั้งแต่ต้น ได้ชื่อว่าอุทิศตนอย่างสุดจิตสุดใจ และเป็นที่รักเคารพยิ่งของชาวธรรมกายมรณภาพลงในวัด ด้วยการฆ่าตัวตาย หลังจากทุกข์ทรมานด้วยอาการเครียดของโรค Schizophrenia อย่างแรงที่ท่านพยายามปกปิดอยู่เป็นแรมปี๑๔
          ขณะที่ภายในวัดเกิดความขัดแย้งขึ้นนั้น โครงการธรรมทายาท รุกคืบหน้าไปยังต่างจังหวัดอย่างต่อเนื่อง ขยายออกไปตามชมรมพุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ สถาบันราชภัฏ และสถาบันเทคโนโลยีราชมงคลในส่วนภูมิภาค ปัจจุบันมีเครือข่ายมากถึง ๕๐ สถาบัน๑๕ จากนั้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ด้วยผลงานและความสัมพันธ์ที่ทางวัดสร้างไว้ ได้อำนวยประโยชน์ให้พระธัมมชโยเลื่อนสมณศักดิ์ จากพระราชาคณะชั้นสามัญ เป็น“พระสุธรรมยานเถร” และได้เลื่อนเป็นพระภาวนาวิริยคุณในปีถัดมา พอปี พ.ศ. ๒๕๓๖ รองเจ้าอาวาสได้รับรางวัลเสมาธรรมจักร ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์แก่พระพุทธศาสนา จากพระเทพรัตนราชสุดาสยาม-บรมราชกุมารี๑๖ ขณะที่อะไรดูจะสดใสง่ายไปทุกอย่าง ก็เกิดข่าวอื้อฉาว กรณีนายสอง วัชรศรีโรจน์ ถูกตรวจสอบเรื่องปั่นหุ้น ว่ามีส่วนโยงใยกับวัดพระธรรมกาย๑๗
          พอในปีต่อมา(๒๕๓๗) มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ ได้มอบปริญญาพุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ แก่เจ้าอาวาส๑๘ ซึ่งมีความโลภเป็นเจ้าเรือนอยู่แล้ว ยิ่งทะยานอยากไม่รู้จักพอ จึงได้แสวงหาการยอมรับในแวดวงมหาวิทยาลัย โดยให้สมาชิกฆราวาสระดับแกนนำกลุ่มกัลยาณมิตรในจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นกรรมการอยู่ในคณะกรรมการส่งเสริมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เสนอชื่อเจ้าอาวาส และรองเจ้าอาวาส ให้ได้รับปริญญาดุษฎีกิตติมศักดิ์ สาขาศิลปศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แต่ไม่ผ่านการพิจารณา เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่มีนโยบายมอบปริญญากิตติมศักดิ์แด่พระภิกษุ๑๙
          ต่อมาในปี ๒๕๓๘ วัดพระธรรมกายได้ขยายฐานออกไปยังนานาชาติ จัดตั้งศูนย์กัลยาณมิตรที่โตเกียว ไต้หวัน และฮ่องกง ศูนย์เหล่านี้มีการจัดกิจกรรมในลักษณะเดียวกับที่ประเทศไทย ทั้งสอนสมาธิ จัดอบรมเยาวชนภาคฤดูร้อน โดยจัดส่งพระภิกษุและเจ้าหน้าที่ไปกำกับดูแล๒๐ อย่างใกล้ชิด นอกจากนั้น ยังขยายฐานต่อไปยังออสเตรเลีย ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันวัดพระธรรมกายมีวัดสาขาในต่างประเทศจำนวน ๑๓ แห่ง ใน ๙ ประเทศ และมีศูนย์ถ่ายทอดเสียงการสอนปฏิบัติธรรม จากประเทศไทยผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เนต จำนวนเกือบ ๑๐๐ แห่งทั่วโลก๒๑ และในปีเดียวกันนั้นเอง เจ้าอาวาสได้เลื่อนสมณศักดิ์ชั้นราช จากพระภาวนาวิริยคุณ เป็น “พระราชภาวนาวิสุทธิ์” พอปีถัดมา(๒๕๓๙) ทางวัดได้จัดพิธีทอดกฐิน เป็นครั้งแรก พร้อมกันที่โตเกียว และไทเป เฉพาะที่โตเกียวแห่งเดียว วัดสามารถระดมสาธุชนได้ถึง ๔๐๐ คน ที่ไทเป มีคนร่วมงานราว ๕๐ คน๒๒ ส่วนในด้านเมืองไทย วัดพระธรรมกายได้เปิดตัวโครงการมหาธรรมกายเจดีย์ มีการตอกเสาเข็ม เทฐานราก เร่งก่อสร้างให้เสร็จในปี ๒๕๔๓ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทางวัดโหมระดมทุน เพื่อสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ โดยให้บริษัทดีเวิลด์ อินเตอร์เนชั่นแนล ดูแลการผลิตพระมหาสิริราชธาตุ โดยผลิตออกมา ๔ รุ่นด้วยกัน กล่าวคือ รุ่นดูดทรัพย์ พระคะแนนสุดๆ พระคะแนนสุดฤทธิ์สุดเดช และพระมหาสิริราชธาตุ ตั้งเป้าไว้สำหรับพระธรรมกายประจำองค์เพลที่ ๑ จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ มีตั้งแต่ราคา ๑๐,๐๐๐ – ๓๐,๐๐๐ บาท ขึ้นอยู่กับจะนำไปประดิษฐานบริเวณชั้นนอก ชั้นกลาง หรือชั้นในของเจดีย์ เมื่อจำหน่ายได้ตามเป้าหมาย ทางวัดจึงได้ปรับยอดการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น ๓๐๐,๐๐๐ องค์ ๗๐๐,๐๐๐ องค์ และ ๑,๐๐๐,๐๐๐ องค์ ตามลำดับ๒๓

- ท่าดีทีเหลว กระบวนการพิจารณาฝ่ายสงฆ์ และบ้านเมืองต่อกรณีธรรมกาย หรือจะเป็นไฟไหม้ฟาง
          กระทั่งมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ วัดพระธรรมกายได้ออกโฆษณาชุด “ปาฏิหาริย์-อัศจรรย์ตะวันแก้ว” เพื่อระดมทุนสร้างมหาธรรมกายเจดีย์ ให้เสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็นข่าวครึกโครมโหมสะพัดตามหน้าหนังสือพิมพ์ต่างๆ สร้างความเคลือบแคลงสงสัยให้แก่ชาวพุทธ จนลุกฮือขึ้นมาร้องเรียนถึงความไม่ชอบมาพากลของวัดพระธรรมกาย เห็นได้จากโพลของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนขณะนั้น ในประเด็นคำถาม ข่าวทางพุทธศาสนาที่คาใจคนไทยมากที่สุด ปรากฏว่า ข่าววัดพระธรรมกาย ติดอันดับ ๑ คิดเป็น ๔๕.๙%๒๔ ในจำนวน ๔ ข่าวคาว ในที่สุด คณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาญัตติตรวจสอบวัดพระธรรมกายเป็นครั้งแรก ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๑
          ต่อมากรมการศาสนา ได้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบหนังสือของวัดพระธรรมกาย ตามคำสั่งที่ ๒๓๕/๒๕๔๑ จำนวน ๑๑๓ เล่ม มีข้อสรุปออกมา ๔ ประการด้วยกัน กล่าวคือ ๑.) การสอนเรื่องนิพพานเป็นอัตตา ผิดกับคำสอนในพระไตรปิฎก ๒.) เน้นอิทธิปาฏิหาริย์ หลอกคนให้เชื่อ ๓.) ทำการเรี่ยไรเงิน และ ๔.) สร้างพระพุทธรูปผิดจากพุทธศิลป์เดิม โดยอ้างว่า สร้างตามนิมิต๒๕ หลังจากนั้น วันที่ ๑๒ ธันวาคม ๒๕๔๑ ที่ประชุมมหาเถรสมาคม ได้พิจารณาปัญหาวัดพระธรรมกาย และมอบหมายให้พระพรหมโมลี เจ้าอาวาสวัดยานนาวา เจ้าคณะภาค ๑ รับหน้าที่สอบสวน ๓ ประเด็นด้วยกัน กล่าวคือ เรื่องการโฆษณาวัตถุมงคล การก่อสร้างศาสนสถานใหญ่โต และการเรี่ยไรเงินทวนกระแสสังคม โดยกล่าวอ้างอิทธิปาฏิหาริย์ และให้เสนอผ่านเจ้าคณะหนใหญ่
          ในช่วงนั้น กรมการศาสนา ดูจะเอาจริงเอาจังกับการแก้ไขปัญหาวัดพระธรรมกายให้ลุล่วงไปด้วยดี มีการตั้งคณะทำงานหาข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการถึงกับโดดมากำกับ เข้าไปพบพระพรหมโมลีถึงที่วัด พร้อมกับชี้ชัดลงไปว่า การสอนเรื่องนิพพานเป็นอัตตาไม่ถูกต้อง๒๖ พร้อมกับให้วัดพระธรรมกายปฏิบัติตามมติของมหาเถรสมาคม ๔ แนวทางด้วยกัน กล่าวคือ ๑.) ให้ตั้งสำนักวิปัสสนาปฏิบัติตามหลักวิปัสสนาที่ถูกต้อง ๒.) ให้ตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม สอนให้เป็นระบบที่ถูกต้อง ๓.) เปลี่ยนคำสอนที่ว่านิพพานเป็นอัตตา และ ๔.) ให้วัดพระธรรมกายปฏิบัติตามกฎมหาเถรสมาคม ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง มติ ประกาศอย่างเคร่งครัด๒๗
          และในระยะเวลาไล่เลี่ยกันนั่นเอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และประธานที่ปรึกษากรรมมาธิการ การศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ได้นำข้อมูลที่ได้เก็บรวบรวมมาก่อนหน้านั้น ถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช พอในวันที่ ๕ มี.ค. ๔๒ สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีรับสั่งให้นำเรื่องวัดพระธรรมกายเข้าพิจารณา และที่ประชุมมีมติออกมาให้เจ้าคณะภาค ๑ รับไปพิจารณา

- ละเมิดพระลิขิตพระสังฆราช
          ในการประชุมครั้งต่อมา มหาเถรสมาคมได้มีมติในที่ประชุมให้ดำเนินการตามแนวทางเดิม พร้อมกับมอบเอกสารข้อมูลต่างๆ ให้กรรมการมหาเถรสมาคมไปศึกษาเพิ่มเติม ส่วนด้านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้เพิ่มประเด็นการถือครองที่ดินของธัมมชโย เข้าในที่ประชุมมหาเถรสมาคม ในวันที่ ๑๙ มี.ค. ๔๒ แต่ที่ประชุมให้เลื่อนการพิจารณาออกไป โดยอ้างว่ากรรมการฯ บางรูปอ่านเอกสารไม่จบ๒๘ ในที่สุดสมเด็จพระสังฆราชได้มีพระลิขิตออกมาว่า
          “การโกงสมบัติผู้อื่น ตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป คือประมาณไม่ถึง ๓๐๐ บาทในปัจจุบัน ภิกษุต้องอาบัติปาราชิก ฐานผิดพระธรรมวินัย พ้นจากความเป็นพระทันที ในกรณีนี้ ไม่ว่าจะมีผู้รู้เห็นหรือไม่ ไม่ว่าจะมีการสั่งให้สึก ไม่ว่าจะมีการจับสึก หรือไม่ก็ตาม ภิกษุผู้ละเมิดพระธรรมวินัยข้อนี้ ต้องอาบัติปาราชิก พ้นจากความเป็นพระโดยอัตโนมัติ…”
          ที่ประชุมมหาเถรสมาคม ได้พิจารณาพระลิขิตฉบับนี้อย่างกว้างขวาง พร้อมกับมอบหมายให้พระพรหมโมลีดูแล ติดตามหนังสือตอบรับปฏิบัติตามของวัดพระธรรมกาย แต่ก็ไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่านี้ ในที่สุด สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระลิขิตออกมาอีกครั้ง เป็นฉบับที่ ๒ ลงวันที่ ๕ เม.ย. ๔๒ ว่า
          “ความบิดเบือนพระพุทธธรรมคำทรงสอน โดยกล่าวว่าพระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือน แตกแยกออกไป กลายเป็นสอง มีความเข้าใจ ความเชื่อถือพระพุทธศาสนาตรงกันข้าม เป็นการทำลายพระพุทธ-ศาสนา ทำสงฆ์ให้แตกแยก
          ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษ แต่เป็นการทำที่ถูกต้อง คือต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็นพระให้แก่วัด ทันที”
          แม้ว่าสมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระลิขิต ออกมาอีกฉบับก็ตาม ที่ประชุมมหาเถรสมาคมดู จะเฉยเมย เพียงมอบพระลิขิตสมเด็จพระสังฆราช ให้กับเจ้าคณะภาค ๑ เท่านั้น และให้เจ้าคณะภาค ๑ รายงานเจ้าคณะหนกลางทราบ กระทั่งปลาย เดือนเมษายน ๔๒ วันที่ ๒๖ สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระลิขิตออกมาเป็นฉบับที่ ๓ เพิ่มเติมจาก ฉบับก่อนว่า
          “ไม่คิดให้มีโทษ เพราะคิดในแง่ยกประโยชน์ ให้ ว่าในขั้นต้นอาจมิใช่มีเจตนาถือเอาสมบัติ ของวัดเป็นของตนจริงๆ แต่เมื่อถึงอย่างไรก็ ไม่ยอมมอบคืนสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้นในขณะเป็น พระ ให้แก่วัด ก็แสดงชัดแจ้ง ว่าต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูก จัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระปลอม เป็นพระ ด้วยการนำผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำ ความเศร้าหมองเสื่อมเสีย ให้เกิดแก่สงฆ์ใน พระพุทธศาสนา”
          หลังจากพระลิขิตฉบับนี้ออกมา มีการสร้างข่าวว่าเป็นพระลิขิตปลอม สร้างความสับสนให้แก่สังคม อีกทั้งการดำเนินการฝ่ายสงฆ์ก็ไม่มีความคืบหน้าจนสมเด็จพระสังฆราชมีพระลิขิตออกมาอีกว่า
          “ในกรณีเกี่ยวกับเรื่องวัดพระธรรมกาย เราได้ทำหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราชสมบูรณ์ตามอำนาจแล้ว จึงไม่มีอะไรจะพูดอีกขณะนี้
          ขออนุโมทนาทุกท่านที่สนใจห่วงใยพระพุทธศาสนา แสดงความเป็นคนดี ด้วยมีกตัญญูกตเวทิตาธรรม”
          และต่อมาที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ อารักขาสมเด็จพระ-สังฆราช ให้กระทรวงศึกษาธิการ และกรมการศาสนา ดำเนินทุกวิถีทางเพื่อสนองพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช และให้กรมที่ดิน อำนวยความสะดวกแก่เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ในกรณีโอนที่ดิน ในชื่อเจ้าอาวาสเป็นของวัด และในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนั่นเอง สมเด็จพระสังฆราชได้มีพระลิขิตออก แจ้งให้แก่ที่ประชุมมหาเถรสมาคม ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๔๒ ว่า
          “ได้แจ้งให้เป็นที่เข้าใจชัดเจนดีทั่วกันแล้วก่อนหน้านี้ ว่าในตำแหน่งผู้เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องอดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เพื่อเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนาให้พ้นถูกทำลาย สมบูรณ์ที่สุดแล้วตามอำนาจ
          ท่านกรรมการมหาเถรสมาคมทั้งหลายจะทำอะไรต่อไปตามความต้องการ จะไม่มานั่งรับรู้รับฟังในที่ประชุมวันนี้ ที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๒”
          พระลิขิตฉบับนี้เป็นฉบับที่สุดท้าย ที่สมเด็จพระสังฆราช ได้ทำหน้าที่ของท่านในฐานะประมุขสงฆ์ ขณะที่ผองชนต่างเฝ้ารอคำพิจารณาจากที่ประชุมมหาเถรสมาคมว่า จะยุติปัญหาวัดพระธรรมกายลงได้ เมื่อมติมหาเถรสมาคมออกมาไม่ชัดเจน ต่อการดำเนินการกับวัดพระธรรมกาย จึงทำให้มหาชนที่เฝ้ารอผลพิจารณาของมหาเถรสมาคมไม่พอใจ จนพระธรรมปิฎก ได้ออกมาสัมภาษณ์ เตือนสติสังคมไทย และให้มหาเถรสมาคม แสดงจุดยืนที่ชัดเจนต่อการแก้ไขปัญหาวัดพระธรรมกาย โดยคำนึงถึงพระธรรมวินัยเป็น
          หลักหลังจากนั้นมาไม่กี่วัน ธัมมชโยได้ส่งตัวแทนนำโฉนดที่ดินจำนวน ๕ แปลง มาแสดงให้กรมการศาสนาตรวจสอบ เพื่อลดกระแสสังคมที่ร้อนแรงอยู่ในเวลานั้น แต่ก็ไม่สามารถโอนได้ เนื่องจากเอกสารไม่ครบ ต่อมาตัวแทนธัมมชโยเข้าหารือกับกรมการศาสนา และกรมที่ดิน ยืนยันที่จะมอบที่ดินแก่วัดพระธรรมกายให้ครบ ภายใน ๗ วัน (๑๘–๒๕ พ.ค. ๔๒) ส่วนที่ดินแปลงอื่น ทางวัดอ้างว่าต้องปรึกษาผู้บริจาคก่อน และจะทำการโอนให้ภายใน ๓๐ พ.ค. ๔๒ พร้อมกันนั้น กรมการศาสนาได้ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาวัดพระธรรมกาย และคณะอนุกรรมการ อีก ๑ ชุด เพื่อพิจารณาเรื่องที่ดิน และพระธรรมวินัย๒๙
          ทางฝ่ายมหาเถรสมาคม เวลาล่วงเลยมาครึ่งค่อนปี ก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้า ซ้ำยังพยายามตั้งอนุกรรมการขึ้นมา ทำหน้าที่ติดตามมติของมหาเถรสมาคม ส่วนกรมการศาสนา หลังจากตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาวัดพระธรรมกายขึ้นมาแล้ว ได้มอบหมายให้ นายมาณพ พลไพรินทร์ ยื่นข้อกล่าวหาธัมมชโย อาบัติปาราชิก กรณีที่ดิน และบิดเบือนหลักพระธรรมคำสอน ให้มีการสอบสวนอธิกรณ์ แต่ที่ประชุมมหาเถรสมาคมอ้างว่า ให้รอศาลสงฆ์พิจารณาก่อน๓๐
          ต่อมาวันที่ ๑ มิ.ย. ๔๒ ผู้แทนธัมมชโยแจ้งไม่ยอมโอนที่ดิน โดยให้เหตุผลว่า ต้องรอศาลสงฆ์ที่ดำเนินการอยู่ในขณะนี้ได้ข้อยุติก่อนจึงจะโอน จนเป็นเหตุให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการไม่พอใจ มอบหมายให้กรมการศาสนาออกจดหมายถึงธัมมชโย ให้รีบโอนที่ดิน ๑,๗๔๗ ไร่ ๒ งาน ๘๗ ตาราวา ในเขตพื้นที่ ๑๕ จังหวัดคืนให้แก่วัดพระธรรมกาย ภายในวันที่ ๑๐ มิ.ย. ๔๒ เมื่อถึงเวลากำหนด ธัมมชโยได้ให้ตัวแทนโอนที่ดินเพียง ๑๒ แปลง รวม ๓๐๔ ไร่ ในพื้นที่ จ.ชลบุรี จันทบุรี และลพบุรี เท่านั้น จนในที่สุดรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงสั่งให้ดำเนินคดีกับธัมมชโย ๓ ข้อหา คือ ๑.) แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงาน ๒.) เป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ และ ๓.) เป็นเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่๓๑ ขณะเดียวกัน ทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ตั้งคณะกรรมการสอบสวนขึ้นมาอีก ๑ ชุด เพื่อติดตามกรณีที่ดินวัดพระธรรมกาย ส่วนมหาเถรสมาคมไม่ได้นำกรณีวัดพระธรรมกายมาพิจารณาในที่ประชุมในเดือนมิถุนายนแต่อย่างใด
          จากการยื่นข้อกล่าวหาของนายมาณพ พลไพรินทร์ และนายสมพร เทพสิทธา ก่อนหน้านี้ ได้มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางต่อการพิจารณาของพระพรหมโมลีที่ว่า “ฆราวาสไม่สามารถฟ้องพระได้” กระทั่งในวันที่ ๑๕ ส.ค. ๔๒ ที่ประชุมมหาเถรสมาคม มีมติออกมาอีกครั้งว่า “ฆราวาสสามารถฟ้องพระได้” และให้พระพรหมโมลี ทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรชี้แจงเหตุผลให้ชัดเจนต่อที่ประชุมคราวหน้า
          และต่อมาในวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๔๒ ธัมมชโย เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนที่วัดชนะสงคราม ในคดีฉ้อโกง และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และได้รับประกันตัวไปในวงเงิน ๒ ล้านบาท ส่วนในด้านที่ประชุมมหาเถรสมาคม วันที่ ๒๓, ๒๕ ส.ค. และวันที่ ๑๔ ,๒๐ ก.ย. ๔๒ ก็ยังไม่ดำเนินการอะไรให้ก้าวไปกว่าที่แล้วมา มิหนำยังประวิงเวลา ด้วยการปรับปรุงมติของที่ประชุมบ้าง ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเสนอความเห็นบ้าง หรือมีการหยิบยกประเด็นอื่นขึ้นมาพิจารณาแทนเรื่องวัดพระธรรมกายบ้าง เป็นต้น
          ส่วนภาคประชาชนขณะนั้น ได้มีการเคลื่อนไหวมาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ทำปัพพาชนียกรรมที่วัดสวนแก้ว รวบรวมรายชื่อถวายกำลังใจและสนับสนุนพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช เล่นละครเตือนสติมหาเถรสมาคมที่วัดสระเกศ เปิดเวทีอภิปรายที่สนามหลวง ตลอดจนสัมมนาอภิปรายให้ความรู้กับประชาชน ตามวัด มหาวิทยาลัยต่างๆ หรือแม้ในรัฐสภา ก็มีการจัดสัมมนา อภิปราย อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น ยังมีกลุ่มต่างๆ ผุดขึ้นมาเคลื่อนไหว ประท้วงให้ดำเนินการกับธัมมชโยขั้นเด็ดขาด อาทิ กลุ่มธรรมาธิปไตย ชมรมพระเครื่อง กลุ่มแม่บ้านจังหวัดนครปฐม ตลอดจนคณาจารย์พิเศษ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตภาคเหนือ วัดสวนดอก จังหวัดเชียงใหม่ ที่ออกมาแสดงจุดยืนของตน โดยลาออกจากการเป็นอาจารย์พิเศษ หากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดสวนดอก ไม่แสดงจุดยืนชัดเจนต่อเรื่องวัดพระธรรมกายในต้นเดือนตุลาคม
          ส่วนด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ หลังจากสอบสวนติดตามกรณีที่ดินมาระยะหนึ่ง ได้ยื่นสำนวนคดีให้อัยการสั่งฟ้องธัมมชโย และนายถาวร พรหมถาวร ๒ ข้อหาด้วยกัน กล่าวคือ เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และเป็นเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ในวันที่ ๓ ต.ค. ๔๒ แต่ธัมมชโยอ้างว่าไม่สบาย ไม่มามอบตัว อัยการจึงส่งแพทย์โรงพยาบาลตำรวจไปตรวจถึงที่วัด ปรากฏว่า อาการปกติ จึงได้นำธัมมชโยเข้ามอบตัวกับอัยการ
          ต่อมาวันที่ ๑๙ ต.ค. ที่ประชุมมหาเถรสมาคมได้พิจารณาความเห็นของพระพรหมโมลีอีกครั้ง และมีมติออกมาว่า ฆราวาสฟ้องพระได้ และให้เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ทำหนังสือเรียกตัวธัมมชโยมารับฟังข้อกล่าวหาในวันที่ ๑๐ พ.ย. ๔๒ และอายัดบัญชีเงินฝากเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ปรากฏว่า ธัมมชโยไม่ยอมมาพบ เพียงแต่ส่งตัวแทนนำหนังสือแจ้งปฏิเสธข้อกล่าวหา โดยอ้างว่า อธิกรณ์ถึงที่สุดในวันที่ ๑๓ ส.ค. ๔๒ ที่ผ่านแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องมารับฟังข้อกล่าวหาอีก พร้อมกันนั้น ธัมมชโยได้ทำหนังสือถึงเจ้าคณะตำบลคลองหลวง ขอลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสเพื่อพักรักษาตัว และเสนอให้พระเผด็จ ทตฺตชีโว รักษาการเจ้าอาวาสแทน แต่เจ้าคณะตำบล และเจ้าคณะอำเภอคลองหลวง ไม่อนุญาตให้ลาออก เนื่องจากเห็นว่าจะทำความเสียหายแก่คณะสงฆ์ และการศึกษาของภิกษุสามเณร จึงได้ส่งหนังสือต่อไปยังเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีพิจารณา และเห็นว่า การกระทำของเจ้าคณะตำบลไม่ถูกต้อง ขัดกับกฎนิคหกรรม จึงได้ดำเนินการสั่งปลดเจ้าคณะตำบลออกจากตำแหน่ง
          ส่วนทางด้านเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้ตั้งคณะทำงานตรวจสอบหนังสือ “เปิดโปงขบวนการล้มพุทธ” และสอบประวัติ “ดร.เบญจ์ บาระกุล” อีกชุดหนึ่ง และในวันที่ ๑๒ พ.ย. ๔๒ เจ้าหน้าที่สอบสวนได้ยื่นฟ้องธัมมชโยต่ออัยการ อีก ๒ ข้อ คือยักยอกทรัพย์ และเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบ เกี่ยวกับการกว้านซื้อที่ดิน ๙๐๒ ไร่เศษ จังหวัดเพชรบูรณ์ พร้อมกับผู้ต้องหาซึ่งเป็นสาวกอีก ๓ คน ในข้อหาเป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
          เหตุการณ์วัดพระธรรมกายที่กล่าวมาเบื้องต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความเคลื่อนไหวฝ่ายต่างๆ ซึ่งยังไม่มีทีท่าว่าจบลงเมื่อไหร่ แม้จะมีวิญญูชนหลายท่าน คอยเตือนสติสำนักนี้มาอย่างแยบคาย และนมนานแล้วก็ตาม แต่ความวิปริตของเขาแก่กล้าขึ้นเรื่อยๆ จนมิจฉาทิฐิแสดงออกอย่างประจักษ์แจ้งแก่สาธารณชน ดังปรากฏเห็นได้ชัดในขณะนี้ และอดีตที่ผ่านมา ถึงกับละลาบละล้วงลามปามจาบจ้วงสมเด็จพระสังฆราช ฝ่าฝืนมติมหาเถรสมาคม โกหกหลอกลวงประชาชน นี้ยังไม่รวมไปถึงทำพระวินัยให้วิปริต และประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย ซึ่งร้ายแรงไม่ยิ่งหย่อนกว่าการจาบจ้วงสมเด็จพระสังฆราช และฝ่าฝืนมติมหาเถรสมาคม พฤติกรรมเช่นนี้ของเจ้าอาวาส และรองเจ้าอาวาส รวมถึงบรรดาสาวกทั้งหลาย ซึ่งอ้างตนว่าดำรงอยู่ในสมณเพศ และอ้างตนว่ารักษาศีลอย่างเคร่งครัดนั้น เขาปฏิบัติกันเยี่ยงเดียรถีย์โดยไม่มีหิริโอตตัปปะกระนั้นหรือ..!
          การดำรงตนอยู่ในสมณเพศนั้น นอกจากพระธรรมวินัยที่พระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ชัดเจนแล้ว พระพุทธองค์ยังทรงวางหลักเกณฑ์ในการตัดสินธรรมและวินัย อีกว่า คำสอนไหนเป็นธรรมเป็นวินัยที่พระพุทธองค์ทรงสอน และคำสอนไหนไม่เป็นธรรมไม่เป็นวินัยที่พระพุทธองค์ไม่ทรงสั่งสอน ซึ่งเราสามารถพิจารณาเทียบเคียงกันง่ายๆ ไม่ซับซ้อน โดยจับเอาวัตถุประสงค์หรือจุดมุ่งหมายเป็นสำคัญ กล่าวคือ ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด หมดเครื่องผูกรัดไม่พอกพูนกิเลส มักน้อย สันโดษ มีความสงัด ประกอบความเพียร และเพื่อความเลี้ยงง่าย ธรรมเหล่านั้น เป็นคำสอนของพระศาสดา สมณวิสัยของสาวกสงฆ์ และสมมติสงฆ์ในครั้งพุทธกาลและหลังพุทธกาล มีวิถีปฏิบัติที่ชัดเจนเช่นนี้มาตลอด ผู้ที่อ้างตนว่าเป็นพระสงฆ์นุ่งสบงทรงจีวรอย่างดี มีอาหารรสเลิศรับประทาน สะสมสมบัติพัสถาน อาคารที่ดินเป็นพันๆ ไร่ ตรงข้ามกับคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาแน่นอน ไม่ว่าจะมองในแง่ของหลักธรรมวินัย หรือมองในแง่ของการปกครองคณะสงฆ์ ก็ยิ่งห่างไกลออกไปจากความเป็นพระ แล้วจะให้ฆราวาสก้มลงกราบสนิทใจได้อย่างไร
          ยิ่งในระยะหลัง ทางวัดพระธรรมกายได้ตอบโต้บุคคล และกลุ่มบุคคลที่วัดพระธรรมกายเห็นว่า เป็นศัตรูกับตน ไม่เว้นแม้กระทั่งสื่อมวลชนที่พากันประโคมข่าวคาวเจ้าอาวาส และมูลนิธิวัดพระธรรมกายอย่างต่อเนื่องนั้น ก็ไม่พ้นที่จะถูกกล่าวหา ถ้าวัดพระธรรมกายมีสติพิจารณาให้รอบคอบ ย่อมเห็นที่มาที่ไปว่ามีควันต้องมีไฟเสมอ สื่อมวลชนก็ใช่ว่าจะกุข่าวขึ้นมาลอยๆ โดยไม่มีสาเหตุเอาเลย วิธีรุกเพื่อปกป้องความไม่ชอบมาพากลของตนให้พ้นผิด เข้าทำนองที่ว่าเอาดีใส่ตัวเอาชั่วให้ผู้อื่น กล่าวหาสื่อมวลชนว่า หนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ(ยกเว้น นสพ.พิมพ์ไทย)ลงข่าวเหมือนกันอย่างกับลอกกันมาและหาความจริงไม่ได้ ที่ร้ายไปกว่านั้น การสำแดงพลังด้วยการเกณฑ์พระเณรและฆราวาสที่เป็นสาวกมามากมาย รวมทั้งจัดทำเอกสารบิดเบือนข้อมูลเพื่อปกปิดความชั่วของตน จนสังคมเอือมระอานั้น เป็นการประจานตนอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งผู้ฉลาดเขาไม่ทำกัน กรณีปัญหาเรื่องที่ดิน เรื่องเงินๆ ทองๆ ของมูลนิธิธรรมกายและเจ้าอาวาส เสมือนวัวพันหลักที่ผูกรัดตัวเองแน่นหนา ตำรวจยิ่งสืบสาวก้าวไป ยิ่งเห็นโยงใยกันเป็นขบวนการใหญ่โต การกล่าวร้ายป้ายสีผู้อื่นว่า มีบุคคล และกลุ่มบุคคล คอยจ้องทำลายพุทธศาสนานั้น พฤติกรรมของวัดพระธรรมกายในห้วงเวลาที่ผ่านมา ย่อมเป็นคำตอบได้อย่างดีว่า
          ใคร..ที่เป็นมารร้ายทำลายพระพุทธศาสนา .. .

เชิงอรรถ

๑อ้างใน รายงานกรณีธรรมกาย ของคณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร น. ๗๒
๒มติชน ๔ มี.ค. ๔๒ น. ๒๓
๓อ้างใน หนังสือ “ธรรมทายาท” เล่ม ๑ จัดพิมพ์โดย ชมรมพุทธศาสตร์ ๗ สถาบัน พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๕๑๖ น. ๘๙
๔อ้างใน อภิญญา เฟื่องฟูสกุล “ศาสนทัศน์ของชุมชนเมืองสมัยใหม่ ศึกษากรณีวัดพระธรรมกาย” วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา ปีที่ ๕, ฉบับ ๑ ม.ค.- เม.ย. ๔๑ น. ๓๐
๕ผู้จัดการรายสัปดาห์ ๑๕ - ๒๑ ส.ค. ๒๕๓๑ น. ๑๑
๖“๑๙ สุดยอดการตลาด” น. ๓๔๔
๗อ้างใน รายงานกรณีธรรมกาย ของคณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร น. ๗๓
๘อ้างแล้วในเล่มเดียวกัน น. ๖๓
๙อ้างแล้วในเล่มเดียวกัน น. ๖๓, ๖๔ และดูรายละเอียดในข้อ ๓.๑ เล่มเดียวกัน น. ๗๒, ๗๓
๑๐อ้างใน อภิญญา เฟื่องฟูสกุล น. ๔๙
๑๑อ้างใน อภิญญา เฟื่องฟูสกุล น. ๔๘
๑๒ผู้จัดการรายสัปดาห์ ๑๕ - ๒๑ ส.ค. ๓๑ น. ๑๑
๑๓อ้างในหนังสือ แฟ้มคดีธรรมกาย น. ๔๑
๑๔อ้างใน อภิญญา เฟื่องฟูสกุล น. ๓๔
๑๕อ้างใน อภิญญา เฟื่องฟูสกุล น. ๔๓
๑๖อ้างใน อภิญญา เฟื่องฟูสกุล น. ๓๔
๑๗อ้างใน แฟ้มคดีธรรมกาย น. ๒๑
๑๘อ้างใน อภิญญา เฟื่องฟูสกุล น. ๘๑
๑๙อ้างใน อภิญญา เฟื่องฟูสกุล น. ๘๒
๒๐อ้างใน อภิญญา เฟื่องฟูสกุล น. ๘๑
๒๑อ้างใน เจาะลึกวัดพระธรรมกาย น. ๔๕
๒๒อ้างใน อภิญญา เฟื่องฟูสกุล น. ๘๑
๒๓อ้างใน แฟ้มคดีธรรมกาย น. ๑๕๗
๒๔มติชน ๑ มี.ค. ๔๒
๒๕สรุปความเป็นมา เกี่ยวกับการดำเนินงานกรณี วัดพระธรรมกาย ของกรมการศาสนา มติชน ๗ มิ.ย. ๔๒
๒๖อ้างแล้วใน ๒๕
๒๗อ้างแล้วใน ๒๕
๒๘อ้างแล้วใน ๒๕
๒๙มติชน ๑ มี.ค. ๔๒
๓๐อ้างแล้วใน ๒๙
๓๑มติชน ๑๒ มิ.ย. ๔๒

คำว่า บุญ นั้น ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่า เป็นเครื่องชำระชะล้างบาป การทำบุญหวังให้สวย ให้รวย ให้ได้วิมาน ให้ได้สวรรค์ เต็มไปด้วยกามารมณ์ เหล่านี้ มันเป็นการชำระชะล้างบาปหรือเปล่า
ท่านพุทธทาสภิกขุ
kanokwan | พ.ค. 16th, 2010 at 11:15 pm
รูปภาพของ kanokwan

เรื่องย่อหนังสือ "แฟ้มคดีธรรมกาย "

 เรื่องย่อหนังสือ "แฟ้มคดีธรรมกาย "
ข้อกล่าวหาวัดพระธรรมกาย และพระไชยบูลย์ สุทธิผล ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน แต่ละข้อกล่าวหายังไม่เคยได้รับการดำเนินการให้เกิดความกระจ่าง ทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐผู้มีหน้าที่โดยตรงและจากวัดพระธรรมกาย คงปล่อยให้อึมครึมลี้ลับ เกิดความอึดอัดเอือมระอาแก่พุทธศาสนิกชนเป็นอย่างมาก..
คณะทำงานรวบรวมข้อมูล-หลักฐานกรณีวัดพระธรรมกาย ได้ทำการศึกษา ตรวจสอบ รวบรวม วิเคราะห์ ค้นหา นับตั้งแต่เริ่มแรกที่ได้ทำงานร่วมกับคณะกรรมาธิการศาสนาฯ บางครั้งต้องถึงกับเข้าไปฝังตัวในกลุ่มกัลยาณมิตรของวัดพระธรรมกาย เข้าไปศึกษาหาหลักฐานจากชมรมพุทธศาสตร์สากลในมหาวิทยาลัยต่างๆ เป็นต้น คณะทำงานฯ จำต้องตั้งปณิธานเป็นบรรทัดฐานไว้เสมอว่า การทำงานเกี่ยวกับความเชื่อ ความนับถือส่วนบุคคลเช่นนี้“จะต้องทำงานประกอบด้วยความเมตตา รู้จักให้อภัย รู้จักการเสียสละ รอบคอบ และที่สำคัญ จะต้องไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่น” แต่จากการค้นหาข้อมูล ยิ่งสาวลึกเข้าไป ยิ่งพบความไม่ชอบมาพากลของวัดพระธรรมกายและบุคคลใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น  พบเห็นการจัดตั้งเครือข่ายเหมือนองค์กรอาชญากรรมใหญ่ๆ มีการใช้กลวิธีเล่ห์เพทุบายเพื่อประทุษร้ายบุคคลผู้วิพากษ์วิจารณ์วัดพระธรรมกายนานัปการ และขณะนี้เหตุการณ์บานปลายจนถึงขั้นกล่าวจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ไปแล้วดังนั้น คณะทำงานฯ จึงต้องหันกลับมาตั้งต้นใหม่ว่า"เราควรจะมีเมตตา ให้อภัยแก่คนที่ไม่รู้จักสำนึก” หรือไม่?
ซึ่งในกรณีของวัดพระธรรมกายนี้ เราสรุปได้ชัดเจนว่า บุคลากรของวัดพระธรรมกายและผู้ที่เกี่ยวข้องล้วนไร้สำนึกผิดชอบชั่วดี ส่วนหลักการเคารพสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ซึ่งวัดพระธรรมกายชอบยกขึ้นอ้างเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับตนเองนั้น คณะทำงานฯเห็นว่าเราจะเคารพศักดิ์ศรีและพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของประชาชนผู้ที่ถูกวัดพระธรรมกายหลอกลวง มากกว่าการพิทักษ์สิทธิของวัดพระธรรมกายซึ่งเป็นตัวการทำความเดือดร้อนให้แก่ประชาชน และทำความเสียหายให้แก่สถาบันพระพุทธศาสนาอันเป็นที่รักของเรา
ณ วันนี้ คณะทำงานฯ จึงตัดสินใจนำเสนอเผยแพร่ข้อมูลหลักฐาน ปรากฏเป็นหนังสือ "แฟ้มคดีวัดพระธรรมกาย เล่มที่ 1”เพื่อให้ประชาชนได้รับทราบข้อเท็จจริงทั้งหมด ดังมีหัวข้อและสรุปเนื้อหาย่อได้ดังนี้
1. รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 1ใน พ.ศ. 2532 หน่วยงานความมั่นคงและการข่าวของรัฐ ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายตรงต่อนายกรัฐมนตรี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในหลายกรณี เช่น การทำธุรกิจในทางลับ การมรณภาพของพระชิตชัย มหาชิโต พฤติการณ์ส่วนตัวของพระไชยบูลย์ที่ไม่ชอบมาพากล การขอเข้าพบหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เพื่อขอให้ยุติข้อเขียนในคอลัมน์ “ซอยสวนพลู” แต่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์มิให้เข้าพบ เป็นต้น คณะทำงานฯ ไม่ทราบเหตุผลว่า ข้อมูลที่ประทับตราว่า “ลับมาก” อยู่ในข่ายที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วน รัฐบาลกลับไม่ดำเนินการให้ถูกต้องตามอำนาจ ตามความชอบธรรมแห่งกฎหมายและการปกครองรัฐ กลับปล่อยให้ปัญหาวัดพระธรรมกายลุกลามแผ่ขยายออกไปจนถึงปัจจุบัน
2. รายงานเสนอนายกรัฐมนตรีฉบับที่ 2
ใน พ.ศ. 2535 หน่วยงานความมั่นคงและการข่าวของรัฐ ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับวัดพระธรรมกายตรงต่อนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง ซึ่งในปีนั้น ประเทศไทยเกิดวิกฤติทางการเมือง ทำให้ต้องเปลี่ยนนายกรัฐมนตรีถึง 3 ครั้ง อำนาจรัฐคาบเกี่ยวระหว่าง รสช. กับอำนาจจากการเลือกตั้ง นายกฯ อานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกเฉพาะกิจครั้งที่สอง จึงไม่สามารถสั่งปฏิบัติการเรื่องละเอียดอ่อนเช่นนี้ได้ อีกทั้งนายกฯ พลเอกสุจินดา คราประยูร ก็ประสบปัญหาทางการเมืองความไม่พอใจของประชาชน ทั้งระยะเวลาดำรงตำแหน่งเพียงเดือนกว่า จึงน่าเชื่อว่าคงไม่สามารถจัดการปัญหาวัดพระธรรมกายตามรายงานของหน่วยงานความมั่นคงได้ ก่อนหน้านี้ ในปี 2534 วัดพระธรรมกายถูกจัดเข้าข่ายเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติและอยู่ในบัญชีดำ (Black List) ของสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) แต่จากปัญหาความไม่ลงตัวในอำนาจของ รสช. จึงไม่อาจจัดการปัญหาดังกล่าวได้ ปล่อยให้วัดพระธรรมกายสร้างเครือข่ายองค์กรใหญ่โต มีกลุ่มผลประโยชน์เข้าไปสมรู้ ร่วมคิดจำนวนมากขึ้น
กระทั่งแผ่ขยายอาณาจักรสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนทุกหย่อมหญ้าในปัจจุบัน
3. ผลประโยชน์และรายได้ของพระธัมมชโย
มูลนิธิธรรมกาย มีนโยบายระดมทุนจากประชาชนมากมายหลายวิธีการ ในห้วงหลายปีที่ผ่านมา สุจริตชนโดยทั่วไปย่อมรู้เห็นว่า มีเงินหมุนเวียนในมูลนิธิแห่งนี้นับ 10,000 ล้านบาท แต่จากเอกสารงบดุลของมูลนิธิฯ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2540 ที่รายงานต่อทางการ มูลนิธิฯ มีสินทรัพย์หมุนเวียนเพียง 3 ล้านกว่าบาทเท่านั้น สำหรับงบดุลสิ้นสุดปี 2541 มูลนิธิฯ แห่งนี้ยังไม่รายงานต่อทางการแต่อย่างใด ทั้งที่เวลาผ่านเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 ของปี 2542 แล้ว ทางการเองก็ปล่อยปละละเลย ไม่ตรวจสอบ ไม่จัดการกับปัญหาของมูลนิธิฯ ปล่อยให้การดำเนินการของมูลนิธิธรรมกายกระทำการท้าทายอำนาจรัฐ ละเมิดกฎหมายบ้านเมืองอยู่ตลอดเวลาที่ผ่านมาคณะทำงานฯ เชื่อว่า รายได้และผลประโยชน์ของพระธัมมชโย รวมแล้วไม่น่าจะต่ำกว่าหนึ่งหมื่นล้านบาทอย่างแน่นอน ทรัพย์สินส่วนใหญ่จะอยู่ในลักษณะปกปิด ส่วนเงินสดจะปรากฏอยู่ในบัญชีลับๆ ซึ่งทางวัดพระธรรมกายได้มีหนังสือแจ้งไปยังสาขาของธนาคารที่ฝากเงินว่า ห้ามเปิดเผยบัญชีของพระธัมมชโยและบุคคลรอบข้างเด็ดขาดถ้าเปิดเผยทางวัดฯ จะถอนเงินฝากทั้งหมดซึ่งก็สร้างความหวาดกลัวให้กับธนาคารผู้รับฝากเป็นอย่างมากเพราะเกรงว่ายอดเงินก้อนมหึมาจะโยกย้ายไปฝากธนาคารอื่น ด้วยเหตุผลข้อนี้ คณะทำงานฯ จึงตรวจสอบอีกครั้งจึงพบว่า ปัจจุบันพระธัมมชโยน่าจะมีเงินสดหลายพันล้านบาท ใกล้เคียงกับเงินสดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร
4. การตัดต้นไม้มงคลของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง
พระธัมมชโย กระทำการละเมิด กระทำการหมิ่น อาฆาตมาดร้าย ต่อพระบรมเดชานุภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยการสั่งตัดต้นไม้ที่ทรงปลูก โดยสมเด็จย่าฯ สมเด็จพระเทพฯ และสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ฯ ซึ่งเป็นการปลูกแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เพราะพระธัมมชโยอาฆาตสถาบันฯ ว่าในกรณีขอพระราชทานสมณศักดิ์ไม่ได้ตามต้องการ เหตุการณ์ดังกล่าววัดพระธรรมกายชี้แจงว่า ผืนดินมีค่าความเป็นกรด-ด่าง หรือค่า pHสูง ทำให้ไม่เติบโต ต้องโยกย้ายไปปลูกพื้นที่ใกล้เคียง และภาพที่เห็นในสื่อมวลชนเป็นต้น
หมากพุ่มเตี้ย เป็นต้น  คณะทำงานฯ ได้ทำการพิสูจน์ทราบ ด้วยการใช้ภาพถ่ายมาเปรียบเทียบกัน ปรากฏว่าวัดพระธรรมกายชี้แจงข้อความอันเป็นเท็จต่อสาธารณชนไม่ตรงกับข้อเท็จจริงในภาพถ่าย จึงสรุปได้ว่า พระธัมมชโยได้กระทำ การอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ จริงอีกทั้งมีเหตุผลที่รับทราบกันทั่วไป ได้แก่ พระธัมมชโยตั้งปณิธานว่าถ้าเป็นฆราวาสจะต้องเป็นพระจักรพรรดิ (Emperor) ถ้าออกบวชจะต้องเป็น “พระบรมพุทธเจ้า” สานุศิษย์วัดพระธรรมกายล้วนคิดว่าตัวเองเป็นสาขาของพระพุทธเจ้า หรือ Sub Buddha บรรลุธรรมชั้นสูงกว่าใครๆ ในประเทศไทย จึงไม่แปลกใจว่าทำไมคนเหล่านี้ถึงกล้าละเมิด จาบจ้วง สถาบันชั้นสูงของไทย ทั้งในศาสนจักรและอาณาจักรอย่างหน้าตาเฉย
5. กรณีการมรณภาพของพระชิตชัย มหาชิโต (วิญญูนันทกุล)
ค่านิยมในการอัดวิชชาธรรมกายบนดอยสุเทพ-ปุยอันเป็นวิธีการ “อปกติ” ของพระธัมมชโย ทำให้เกิดอาการเครียดแก่พระชิตชัย มหาชิโต เป็นอย่างมาก เพราะพระชิตชัย มหาชิโต ไม่นิยมการพูดเท็จ เป็นพระที่มีสัจจะสูง พระธัมมชโย ถามว่า เห็นพระธรรมกายไหม พระชิตชัยตอบว่า “ไม่เห็น” ตามความเป็นจริง จึงทำให้พระธัมมชโยโกรธขึ้งอย่างรุนแรง จนกระทำการอเปหิสั่งไม่ให้ใครคบหากับพระชิตชัย ไม่ให้ออกสังฆสมาคม ทั้งที่พระชิตชัยมีลูกศิษย์ลูกหาจำนวนมาก ยิ่งเพิ่มความเครียดแก่พระชิตชัย จึงเป็นสาเหตุให้พระชิตชัยมรณภาพอย่างเป็นปริศนา การมรณภาพของพระชิตชัย แม้ทางการพิสูจน์จะทราบได้ว่าเป็นการกระทำอัตวินิบาตกรรมหรือฆ่าตัวตาย ก็ล้วนมีแหล่งกำเนิดมาจากพฤติกรรมและวิธีการของพระธัมมชโยทั้งสิ้น พระธัมมชโยจึงน่าจะมีความผิดเป็นตัวการ กระทำการใดๆ อันจงใจหรือเจตนาให้บุคคลอื่นฆ่าตัวตายซึ่งปัจจุบันเรื่องนี้ก็ยังเป็นปริศนาดำมืดอยู่เช่นเดิม ญาติพี่น้องตระกูลวิญญูนันทกุล ยิ่งมีความเชื่อว่าเป็นการฆาตกรรมอำพรางอยู่จนปัจจุบัน
6. กรณีการถือครองที่ดินทั่วประเทศ
การถือครองที่ดินของพระธัมมชโย ที่มักชี้แจงต่อสาธารณชนว่ามีผู้บริจาคนั้น เป็นความเท็จแทบทั้งสิ้นเพราะที่ดินที่พระธัมมชโยโอนให้วัดตามกำหนดเส้นตายของกรมการศาสนานั้น ข่าวในทางลับแจ้งว่าเป็นที่ดินที่ ดร.ประกอบ กีรจิตติ ถวายแทบทั้งสิ้น จึงเป็นที่ดินที่มีเอกสารสิทธิถูกต้อง ส่วนที่ดินอีกกว่า 1,400 ไร่นั้น เป็นการได้มาโดยการสั่งให้สานุศิษย์ผู้ใกล้ชิดทำการกว้านซื้อไว้แล้วยกถวายพระธัมมชโยในภายหลัง ในช่วงยื่นคำขาดที่ผ่านมา วัดพระธรรมกายและสานุศิษย์พยายามเปลี่ยนแปลง ปลอมแปลงเอกสารที่ดิน เพื่อให้ได้ข้อยุติว่า “เป็นการบริจาค” เพื่อหลีกเลี่ยงข้อหายักยอกทรัพย์ เจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ฯลฯ โดยกระทำการดังกล่าวที่บ้านของ “ดร.ประกอบ กีรจิตติ” ส.ส.เขต 10 กทม. พรรค ปชป. โดยการประสานงานหรือ ล็อบบี้ของ “พรรณพิพา วัชโรบล” อดีตผู้สมัคร ส.ส. เขต 3 พญาไท พรรค ปชป. ผู้เป็นญาติของนางสาวลีลาวดี วัชโรบล อดีตนางเอกภาพยนตร์ สานุศิษย์ผู้คอยเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้กับวัดพระธรรมกายเพื่อการระดมทุนในช่วงหลายปีที่ผ่านมาคณะทำงานฯ จึงได้เข้าทำการตรวจสอบการถือครองที่ดินในนามของพระไชยบูลย์ สุทธิผล ในพื้นที่ อ.ภูเรือ จ.เลย ปรากฏข้อเท็จจริงว่า นายสอง วัชรศรีโรจน์, นางชนัสถ์นันท์ สุขุมพานิช, นางวรรณา อุดมผล, นายเพชร แก่นทรัพย์ ไปกว้านซื้อที่ดิน น.ส.1 ก. จากชาวบ้านในพื้นที่ อ.ภูเรือ จ.เลย ใกล้กับที่ดินของนายแพทย์ชัยยุทธ กรรรณสูต ซึ่งประชาชนผู้ยากไร้ในพื้นที่ได้สิทธิการครอบครองจากการเข้าไปทำประโยชน์ในป่าสงวนไร้สภาพ หรือได้มาจากการจัดสรรที่ทำกินของรัฐ หลังจากนั้นก็ขอเปลี่ยนเป็น น.ส.3 ก. สามารถจำหน่ายถ่ายโอนได้แล้ว กระทำการยกให้พระไชยบูลย์ ในภายหลัง และตีราคาต่ำกว่าราคาประเมินของทางการ อันเป็นการหลีกเลี่ยงภาษีที่ดิน คณะทำงานฯ จึงสรุปว่า กรณีการถือครองที่ดิน พระธัมมชโยใช้เงินบริจาคของวัดให้สานุศิษย์ไปทำการกว้านซื้อที่ดิน แล้วยกถวายเป็นสมบัติของตนเองในภายหลัง ซึ่งถือว่าเป็นการเบียดบังทรัพย์สินของวัด ฉ้อโกงประชาชน
7. กรณีแหล่งผลิตพระมหาสิริราชธาตุ
พระธัมมชโยพยายามปั้นเรื่องเท็จ โดยนำเอาเรื่องในชาดกมาผสมผสานกับ “สินค้า” ที่ออกมาจำหน่าย คือ พระมหาสิริราชธาตุ ที่อ้างว่าพญานาครักษาไว้หลายร้อยล้านปี แต่จากการตรวจสอบของคณะทำงานฯ พบว่า วัตถุธาตุดังกล่าวนำเข้ามาจากประเทศพม่า และประเทศยุโรปตะวันออก ไม่ใช่วัตถุธาตุที่ทรงคุณค่าดังคำโฆษณาแต่อย่างใดคณะทำงานฯ ได้ส่งคนเข้าไปสอบถามพนักงานโรงงานของบริษัท D. Gems International จำกัด ของนางสงบ ปัญญาตรง สีกาอีกคนหนึ่งของพระธัมมชโย ปรากฏว่าเป็นโรงงานผลิตพระมหาสิริราชธาตุเถื่อน ใช้แรงงานต่างด้าวหนีเข้าเมือง ไม่มีสวัสดิการใดๆ แก่คนงานตามกฎหมายคุ้มครองและสวัสดิการแรงงาน เรื่องนี้จึงสรุปได้ว่า วัดพระธรรมกายโดยมีผู้นำบุญเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดกระทำการหลอกลวงประชาชนทำให้เสียทรัพย์ จนหลายครอบครัวต้องบ้านแตกสาแหรกขาด เกิดความเดือดร้อนไปหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ดังปรากฏเป็นข่าวอยู่ทุกวันนี้
8. กรณีความสัมพันธ์กับสตรีเพศ
เกือบจะเป็นเรื่องปกติเสียแล้ว สำหรับพระสงฆ์ชื่อดังที่จะต้องมีสันถวไมตรีทางกามรสกับสตรีเพศ เช่น พระยันตระ อมโรภิกขุ, พระภาวนาพุทโธ, นายจันทร์ อาจหาญ หรือหลวงตาจันทร์ วัดป่าชัยรังสี เป็นต้น แต่กรณีของพระธัมมชโย เป็นการเกี่ยวพันกับสตรีถึง 7 คน สตรีผู้ที่พระธัมมชโยให้ความอภิรมย์มากที่สุด ได้แก่
1.นางเพียงนิล ศิริเกษม ม่ายลูกสอง อดีตภรรยาน้อยของนายสุวิทย์ มหาแถลง เพื่อนของนายสอง วัชรศรีโรจน์ ซึ่งปัจจุบันปรากฏข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ “สยามรัฐ” และอีกหลายฉบับ จนกระทั่งเสี่ยสุวิทย์ มหาแถลง เสียชีวิตอย่างปริศนาภายในห้องทำงาน ท่ามกลางความเสียใจของ “นางอาภรณ์ มหาแถลง” ภรรยาหลวง ปัจจุบันนางเพียงนิลได้ยกลูกสาวให้เป็นบุตรบุญธรรมของพระธัมมชโย บางกระแสกล่าวว่า เด็กหญิงคนดังกล่าวมีอาการของโรคประจำตัวคล้ายกับพระธัมมชโย น่าจะเกิดจากกรรมพันธุ์หรือไม่
นอกจากนี้ ยังมีสตรีผู้ใกล้ชิด ที่พระธัมมชโยมีความสนิทสนมอย่างมากอีก 4 คน ได้แก่
2.นางจิรวัฒน์ (อี๊ด),
3.นางสงบ ปัญญาตรง,
4.นางสาววิชญา ไตรวิเชียร
และคนสุดท้ายที่ฮือฮาโจษขานกันมากที่สุด เพราะสามีของเธอบุกเข้าไปประจานพระธัมมชโยถึงในวัดพระธรรมกายท่ามกลางสานุศิษย์ชั้นนำ สีกาคนล่าสุดนี้ชื่อว่า 5.นางแก้วตา หรือทยา หรือติ๋ม เรื่องการปะทะคารมระหว่างสามีของเธอกับพระธัมมชโย เป็นที่โจษขานกันในวัดสนุกปากจนทุกวันนี้
9. คำให้การของพยานบุคคล อดีตแขนข้างขวาของพระธัมมชโย
กลุ่มผู้นำบุญ ที่มีบทบาทในการหาเงินทุนให้พระธัมมชโยมากที่สุด จนพระธัมมชโยยกย่องให้ “เป็นสาขาหนึ่งของพระบรมพุทธเจ้า” หรือ “Sub Buddha"ให้คำให้การชัดเจนหลายเรื่อง ทั้งเรื่องการชักชวนคนทำบุญ การตามตื๊อคนให้ทำบุญมากที่สุด วิธีการหา “เหยื่อ” เพื่อพาไปตบทรัพย์บนดอยสุเทพ-ปุยในพิธีการอัดวิชชาธรรมกาย คำให้การดังกล่าว ให้ความกระจ่างถึงวิธีการ “ตบทรัพย์” ของวัดพระธรรมกายและพระธัมมชโยชัดเจนที่สุด

หนังสือ "แฟ้มคดีธรรมกาย เล่มที่ 1"

 

คำว่า บุญ นั้น ใจความสำคัญมันอยู่ที่ว่า เป็นเครื่องชำระชะล้างบาป การทำบุญหวังให้สวย ให้รวย ให้ได้วิมาน ให้ได้สวรรค์ เต็มไปด้วยกามารมณ์ เหล่านี้ มันเป็นการชำระชะล้างบาปหรือเปล่า
ท่านพุทธทาสภิกขุ
รายชื่อพระเถระที่ร่วมขบวบการกับวัดธรรมกาย 
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกด
สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.9) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ, กรรมการมหาเถรสมาคม)

  1. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร ป.ธ.9) วัดสัมพันธวงศารามวรวิหาร (ธรรมยุต-กรรมการมหาเถรสมาคม)
  2. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี ป.ธ.9) วัดสุทัศนเทพวราราม (กรรมการมหาเถรสมาคม)
  3. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.9) วัดพิชยญาติการาม  (เจ้าคณะใหญ่หนกลาง, กรรมการมหาเถรสมาคม)
  4. พระพรหมเวที (สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.9) วัดไตรมิตรวิทยาราม  (เจ้าคณะภาค 8, กรรมการมหาเถรสมาคม)
  5. พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร ป.ธ.3) วัดยานนาวา (กรรมการมหาเถรสมาคม)
  6. พระพรหมสุธี (เสนาะ ปญฺญาวชิโร ป.ธ.6) วัดสระเกศ (เจ้าคณะภาค 12, กรรมการมหาเถรสมาคม)
  7. พระวิสุทธิวงศาจารย์ (วิเชียร อโนมคุโณ ป.ธ.9) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (เจ้าคณะภาค 7, กรรมการมหาเถรสมาคม)
  8. พระพรหมจริยาจารย์ (สงัด ปญฺญาวุโธ ป.ธ.7) วัดกะพังสุรินทร์ จังหวัดตรัง (เจ้าคณะใหญ่หนใต้)
  9. พระพุทธวรญาณ (ทอง สุวณฺณสาโร ป.ธ.6) วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม (เจ้าอาวาสวัดเบญจมบพิตร)
  10. พระธรรมวโรดม (สมเกียรติ กิตฺติวฑฺฒโน ป.ธ.9) วัดทินกรนิมิต จังหวัดนนทบุรี (เจ้าคณะภาค 9)
  11. พระพรหมเมธี (จำนง ธมฺมจารี) วัดสัมพันธวงศาราม (ธรรมยุต-เจ้าคณะภาค 4-5-6-7, กรรมการมหาเถรสมาคม)
  12. พระพรหมดิลก (เอื้อน หาสธมฺโม ป.ธ.9) วัดสามพระยา  (เจ้าคณะภาค 14, กรรมการมหาเถรสมาคม)
  13. พระพรหมโมลี (สุชาติ ธมฺมรตโน ป.ธ.9) วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ (เจ้าคณะภาค 5)
  14. พระพรหมสิทธิ (ธงชัย สุขญาโณ) วัดสระเกศ (เจ้าคณะภาค 10)
  15. พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.9) วัดราชโอรสาราม (ราชบัณฑิต)
  16. พระธรรมราชานุวัตร (สุทัศน์ สุทสฺสโน ป.ธ.6) วัดพระแก้ว จังหวัดเชียงราย (เจ้าคณะภาค 6)
  17. พระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฏฺโฐ ป.ธ.9) วัดกัลยาณมิตร  (เจ้าคณะภาค 13)
  18. พระธรรมปริยัติเวที (สุเทพ ผุสสฺธมฺโม ป.ธ.9) วัดพระปฐมเจดีย์ จังหวัดนครปฐม  (เจ้าคณะภาค 15)
  19. พระธรรมปิฎก (ชวลิต อภิวฑฺฒโน ป.ธ.9) วัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (เจ้าคณะจังหวัดสระบุรี)
  20. พระธรรมรัตนดิลก (เชิด จิตฺตคุตฺโต ป.ธ.9) วัดสุทัศนเทพวราราม (เจ้าคณะภาค 4)
  21. พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต ป.ธ.9) วัดประยูรวงศาวาส (เจ้าคณะภาค 2, กรรมการมหาเถรสมาคม)
  22. พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม ป.ธ.9) วัดระฆังโฆสิตาราม (เจ้าคณะภาค 11)
  23. พระธรรมวิมลโมลี (รุ่น ธีรปญฺโญ ป.ธ.9) วัดชลประทานรังสฤษฎ์ จังหวัดนนทบุรี (เจ้าคณะภาค 17)
  24. พระธรรมปริยัติโมลี (อาทร อินฺทปญฺโญ ป.ธ.9) วัดบพิตรพิมุข  (เจ้าคณะภาค 3)
  25. พระธรรมวงศาจารย์ (นิมิต ทนฺตจิตฺโต ป.ธ.4) วัดโคกสมานคุณ จังหวัดสงขลา (เจ้าคณะภาค 18)
  26. พระเทพสุธี (สงคราม อสิญาโณ ป.ธ.9) วัดไตรธรรมาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี (เจ้าคณะภาค 16)
  27. พระเทพรัตนสุธี (สมศักดิ์ โชตินฺธโร ป.ธ.5) วัดเขียนเขต จังหวัดปทุมธานี (เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี)
  28. พระราชวิสุทธิเวที (สายชล ฐานวุฑฺโฒ ป.ธ.9) วัดชนะสงคราม (เจ้าคณะภาค 1)


พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ประธานมูลนิธิธรรมกาย

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ23 มกราคม 2556 เวลา 02:18

    แล้วกรณีของพระพยอมกับวัดธรรมกายล่ะครับ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ23 มกราคม 2556 เวลา 17:10

    ธรรมกลาย มากมีล ลิง เสริมด้วย

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ