บทความประวัคิศาสตร์ พระศาสนา
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยของพระธรรมปิกฎ (ป.อ.ปยุตฺโต) โดยในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยมุ่งศึกษาบทบาทของท่านเฉพาะกรณีธรรมกายอย่างเป็นด้านหลักและศึกษากรณีอื่นๆ เช่น กรณีสันติอโศก เป็นต้น ประกอบบ้างตามสมควร ทั้งนี้เพื่อให้เห็นถึงพัฒนาการของแนวคิด บทบาท รวมทั้งแรงจูงใจที่เป็นเหตุปัจจัยให้ท่านมีแนวคิดและดำเนินบทบาทในการทำงานรักษาพระธรรมวินัยในแต่ละครั้ง
ผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็น ๕ บท ในแต่ละบทมุ่งศึกษาประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
บทที่ ๑ กล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
บทที่ ๒ กล่าวถึงแนวคิดและบทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยในสมัยพุทธกาลและหลังพุทธกาล
บทที่ ๓ กล่าวถึงบทบาทของพระธรรมปิกฎ (ป.อ.ปยุตฺโต) ในการรักษาพระธรรมวินัยกรณีธรรมกาย
บทที่ ๔ กล่าวถึงปัญหากรณีธรรมกายส่วนที่กระทบต่อพระธรรมวินัยสถาบันสงฆ์ และสังคมไทย
บทที่ ๕ กล่าวถึงข้อสรุปที่ได้จากการวิจัยและข้อเสนอแนะ
จากการศึกษาบทบาทในการรักษาพระธรรมวินัยของพระธรรมปิกฎ (ป.อ.ปยุตฺโต) เฉพาะกรณีธรรมกายเป็นหลักและกรณีอื่นๆ มีกรณีสันติอโศก เป็นต้น เป็นองค์ประกอบทำวิจัยได้ข้อค้นพบที่ถือว่าเป็นสาระสำคัญของงานวิจัยเรื่องนี้ ดังต่อไปนี้
๑. กรณีธรรมกายหมายถึงชื่อเรียกโดยรวมเกี่ยวกับพฤติการณ์ต่างๆ ที่สำนักวัดธรรมกายเป็นผู้ก่อให้เกิดขึ้น พฤติการณ์ทั้งหมดที่สำนักวัดพระธรรมกายเป็นต้นเหตุให้เกิดขึ้นนั้นเมื่อกล่าวโดยสรุปแล้วก็มีสองลักษณะเท่านั้น คือ การทำพระธรรมวินัยให้วิปริต และการประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัย
๒. การทำพระธรรมวินัยให้วิปริตที่พบว่ามีสาเหตุมาจากสำนักวัดพระธรรมกายก็คือ การทำลายความน่าเชื่อถือของพระไตรปิฎกซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ประมวลไว้ซึ่งพระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า การพยายามปลอมปนคำสอนในลัทธิของตนลงในพระไตรปิกฎ
การพยายามยกย่องครูบาอาจารย์ของตนหรือแม้แต่นักวิชาการจากต่างประเทศให้มีฐานะสำคัญถึงขนาดที่ใช้ทัศนะของท่านเหล่านั้นขึ้นมาอ้างเป็นมาตรฐานเพื่อตั้ดสินหลักการสำคัญของพระพุทธศาสนาอย่างเรื่อง นิพาน เป็นต้น การพยายามให้อรรถาธิบายชักจูงให้คนทั่วไปเข้าใจว่าบุญมีฐานะเป็นดุจสินค้าชนิดหนึ่งและเมื่อทำบุญและอานิสงส์ของบุญจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่างๆ ได้อย่างปาฎิหาริย์
๓. การประพฤติวิปริตจากพระธรรมวินัยเฉพาะประเด็นหลักได้แก่การพยายามนำเอาลัทธิทุนนิยมที่มีความโดดเด่นอยู่ที่ระบบการตลาดเข้ามาผสมผสานกับการบริหารจัดการวัด การจัดตั้งองค์กร รวมทั้งการระดมทุนและการเผยแผ่พระพุทธศาสนารวมทั้งการสร้างความสัมพันธ์กับบุคคล องค์กรทางธุรกิจ การเมือง และการศาสนา ทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งการทำเช่นนี้ส่งผลให้สำนักวัดพระธรรมกายกลายเป็นสำนักที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทั้งในทางวัตถุ ทุนทรัพย์ และในทางเกียรติคุณชื่อเสียง แต่วิธีเหล่านี้เป็นพฤติการณ์ที่สวนทางอย่างสิ้นเชิงกับพระพุทธศาสนาเถรวาทที่เน้นความเรียบง่ายความเป็นธรรมชาติชนิดที่ปราศจาการจัดตั้งหรือการจัดการ และไม่เกี่ยวข้องกับระบบทุนนิยม (รวมทั้งวัตถุนิยม) อย่างสิ้นเชิง
๔. พฤติการณ์อันสืบเนื่องมาขากสำนักวัดพระธรรมกายทั้งหมดนั้น เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของพระพุทธศาสนาและต่อสังคมไทยอย่างลึกซึ้งถึงรากฐานชนิดที่ว่า ถ้าสำนักวัดพระธรรมกายทำสำเร็จตามจุดมุ่งหมายที่สำนักตั้งเอาไว้ก็จะส่งผลให้พระพุทธศาสนาในประเทศไทยซึ่งเป็นพระพุทธศาสนาอย่างเถรวาทต้องสูญสิ้นอันตรธานไปและสังคมไทยก็อาจกลายเป็นสังคมที่มีค่านิยมหวังผลดลบันดาลเชื่อมั่นศรัทธาในเทพเจ้า ในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มัวเมาอยู่ในอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ และถูกหลอกให้เพลินจมอยู่ในสุขอันดื่มด่ำจากสมาธิวิธีที่ถือว่าเป็นมิจฉาสมาธิและเต็มไปด้วยผู้คนที่ตกเป็นทาสของลัทธิทุนนิยม บริโภคนิยม และวัตถุนิยมอย่างงมงายไม่อาจหลุดพ้นเป็นอิสระไปจากการครอบงำของลัทธิเหล่านี้ได้
๕. พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) เห็นว่า การทำพระธรรมวินัยให้วิปริตก็ดี การประพฤติให้วิปริตจากพระธรรมวินัยก็ดี ล้วนไม่เป็นผลดีต่อพระพุทธศาสนา ต่อสถาบันสงฆ์ และต่อสังคมไทย ท่านจึงได้อุทิศตนเองออกมาทำหน้าที่ในการรักษาพระธรรมวินัยเอาไว้ให้บริสุทธิ์ บริบูรณ์ ด้วยการชี้แจงแสดงหลักการที่แท้ของพระพุทธศาสนาผ่านหนังสือชื่อ "กรณีธรรมกาย" และผ่านการให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อมวลชน เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์และนิตยสารต่างๆ
๖. สาเหตุสำคัญที่ทำให้พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) สามารถดำเนินบทบ่ทในการรักษาพระธรรมวินัยได้อย่างมีประสิทธิภาพเป็นที่ยอมรับของฝ่ายเป็นเพราะท่านเจริญรอยตามพุทธจริยาและปฏิปทาของบุรพาจารย์ทั้งหลายแต่ปางก่อน และเพราะท่านประกอบด้วยคุณสมบัติที่สำคัญก็คือ การมีจิตสำนึกแห่งความเป็นชาวพุทธ การถือธรรมและถือประโยชน์สุขของมหาชนเป็นใหญ่ การเป็นภิกษุผู้เปี่ยมด้วยกตัญญุตาธรรมต่อพระพุทธศาสนา และการมีคุณสมบัติของชาวพุทธชั้นนำตามที่พระพุทธเจ้าทรงวางเอาไว้อย่างครบถ้วน
๗. ในกรณีธรรมกายที่กล่าวมาทั้งหมดนั้น พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้ทำบทบาทที่สำคัญสองประการด้วยกัน บทบาทประการที่หนึ่งก็คือ การทำหน้าที่รักษาพระธรรมวินัยเอาไว้ให้บริสุทธิ์บริบูรณ์เหมือนเดิม และบทบาทแระการที่สองก็คือ การได้อุทิศตนเป็นแบบอย่างของชาวพุทธชั้นนำผู้มีศักยภาพพร้อมเต็มที่ที่จะทำหน้าที่รักษาไว้ซึ่งพระธรรมวินัยให้ยังยืนสืบต่อไปในอนาคตตราบนานเท่านาน บทบาททั้งสอประการนี้นอกจากจะช่วยให้กรณีธรรมกายคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีแล้วยังก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการรักษา
พระธรรมวินัยแก่ชาวพุทธร่วมสมัยและแก่อนุชนในภายหลังได้อย่างมีนัยสำคัญไม่น้อยไปกว่าที่บุรพาจารย์ทั้งหลายได้เคยทำเอาไว้ในอดีตอีกด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ