หลักฐานประวัติศาสตร์ แอบอ้างสมเด็จพระสังฆราช ที่ชาวพุทธทั่งประเทศไม่ทราบ

เปิดหลักฐานจับโกหก แถลงการณ์สำนักนายกฯ แอบอ้างสมเด็จพระสังฆราช เผยหลักฐานจะจะ สำนักนายกฯโกหกอีกแล้ว อ้างสมเด็จพระสังฆราชลงนามในพระบัญชา “ทราบและเห็นชอบ” กับการตั้ง “สมเด็จเกี่ยว” เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทน แท้ที่จริงแล้วเป็นการเสนอหลัง “วิษณุ” ลงนามไปก่อนแล้ว 2 วัน สมเด็จพระสังฆราชทิ้งไว้ 13 วัน แล้วไม่ลงพระนาม ทรงมีพระลิขิตอักษรตัวหนึ่งแล้วขีดฆ่าออก ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีออกแถลงการณ์ เรื่องการแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2548 โดยมีความสำคัญตอนหนึ่งอ้างว่า สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก ได้ลงนามในพระบัญชารับทราบและเห็นชอบด้วยกับการแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2547 โดยทรงมีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2547 นั้น เป็นการโกหกโดยสิ้นเชิง สมเด็จพระสังฆราชไม่เคยทรงลงพระนาม มีแต่การลงนามของพระเทพสารเวที เลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเท่านั้น ที่ส่งไปถึงพล.ต.ท.อุดม เจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ในฐานะเลขาธิการมหาเถรสมาคม ที่ทำหนังสือขอรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชขึ้นมาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2547 ตามหนังสือ ที่ พศ 0006/3 และข้อความ “ขอให้ดำเนินการต่อไป” ของพระเทพสารเวทีนั้น ก็ไม่อาจตีความได้ว่าสมเด็จพระสังฆราชทราบและเห็นชอบ ในส่วนข้อความ “ทราบและเห็นชอบ” ที่ตั้งแทนเพื่อให้สมเด็จพระสังฆราชลงพระนาม อันเป็นที่มาแห่งข้ออ้างในการโกหกของแถลงการณ์สำนักนายกรัฐมนตรีนั้น ก็เป็นลายมือเขียนของพระเทพสารเวทีเช่นกัน โดยไม่มีการลงพระนามจากสมเด็จพระสังฆราชแต่ประการใด แต่มีร่องรอยว่าพระองค์ได้มีพระลิขิตเป็นตัวอักษรขึ้นมาตัวหนึ่ง แล้วขีดฆ่าออก ซึ่งนอกจากจะไม่เป็นการแสดงว่า “ทราบและเห็นชอบ” แล้วยังอาจตีความว่าพระองค์ “ไม่เห็นชอบ” ด้วยซ้ำ นอกจากนั้นที่แถลงการณ์โกหกฉบับเดียวกันนี้พยายามโยนให้เรื่องของมหาเถรสมาคมว่า “...เดิมทีมหาเถรสมาคมได้มีมติเห็นควรให้แต่งตั้งสมเด็จพระราชาคณะรูปหนึ่ง เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช...” นั้น ก็เป็นการ “อ้างพระ” เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ ปิดบังการกระทำที่ผิดกฎหมายและผิดประเพณีของนายวิษณุ เครืองามเท่านั้น ความจริงในเรื่องนี้มีว่า มหาเถรสมาคมประชุมเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2547 เพื่อให้มี “คณะกรองงานของสมเด็จพระสังฆราช” แต่นายวิษณุ เครืองามเสนอให้ที่ประชุมให้มีผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มหาเถรสมาคมจึงให้นายวิษณุ เครืองามไปดูหลักกฎหมายตามพ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2535 ก่อน ไม่ได้มีมติเห็นชอบด้วยแต่ประการใด จากนั้น ในวันที่ 13 มกราคม 2547 นายวิษณุ เครืองามจึงได้ลงนามเองในประกาศแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช โดยอ้างพระอาการประชวร และลงประกาศฉบับประวัติศาสตร์นั้นในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2547 อันเป็นวันเดียวกับที่พล.ต.ท.อุดม เจริญทำหนังสือขอพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชดังกล่าว สรุปการผิดขั้นตอน ของกระบวนการประกาศแต่งตั้งคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ 9 ม.ค. 47 มส.ประชุมเพื่อให้มีคณะกรรมการกรองงานของสมเด็จพระสังฆราช แต่นายวิษณุ เสนอให้มีผู้สำเร็จราชการสมเด็จพระสังฆราช มส.จึงให้นายวิษณุไปดูหลักกฎหมาย ตามพรบ.สงฆ์ 2505 ฉบับแก้ไข 2535 เสียก่อน ครั้นวันที่ 13 ม.ค. 2547 นายวิษณุอ้างข้อเท็จจริงอาการพระประชวรของสมเด็จพระสังฆราช ออกประกาศแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 73 และมาตรา 10 แห่ง พรบ.สงฆ์ วันที่ 15 ม.ค. 47 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ต่อมาวันที่ 20 ม.ค. 47 มีการประชุม มส.ตามปกติ พล.ต.ท.อุดม เจริญ นำประกาศแต่งตั้งฯ ที่นายวิษณุประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว(15 ม.ค. 47) (1) ทราบและอนุโมทนา และ (2) ขอให้ปฏิบัติตามมาตรา 10 แห่ง พรบ.สงฆ์ (3) ถวายให้สมเด็จพระพุฒาจารย์เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช (4) ให้มีพระราชาคณะ 5 รูป เป็นผู้ช่วยผู้ปฏิบัติหน้าที่ (5) ให้รัฐบาลรับไปจัดทำประกาศ ต่อมาเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 47 พล.ต.ท.อุดม เลขิการ มส.นำประกาศแต่งตั้งฯไปส่งมอบให้พระเทพสารเวที เลขานุการสมเด็จพระสังฆราช วัดบวรฯ เพื่อขอพระบัญชา สมเด็จพระสังฆราช เมื่อ 26 ม.ค. 2547 พระเทพสารเวทีนำหนังสือขึ้นกราบทูลสมเด็จพระสังฆราชเพื่อทราบ (ไม่มีหลักฐานปรากฏลงนามที่ชัดเจน) แต่พระเทพสารเวทีได้ลงนามถึงพล.ต.ท.อุม ผอ.สำนักพุทธฯ “ขอให้ดำเนินการต่อไปได้” วันที่ 30 ม.ค. 47 พล.ต.ท.อุดม เลขิการ มส.ทำหนังสือแจ้ง มส.ว่า สมเด็จพระสังฆราชทรงทราบและเห็นชอบ ซึ่งเป็นความเท็จ (ดูบันทึกข้อราชการ)ที่แนบวาระ 4.1 สรุป การที่ มส.อนุโมทนา – แต่งตั้ง - เสนอสมเด็จพระสังฆราช ล้วนแล้วแต่กระทำภายหลังวันที่ 13 ม.ค. 47 ทั้งสิ้น หนังสือ “ขอรับพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช” ที่ พศ 0006/3 วันที่ 15 มกราคม 2547 ที่สมเด็จพระสังฆราชไม่ได้ลงพระนามในช่องพระบัญชา (บนขวา) แต่ประการใด มีแต่เสมือนตัวอักษรตัวหนึ่งที่ถูกขีดฆ่าออกเท่านั้น ลายมือเขียนตั้งแท่น “ทราบและเห็นชอบ” เป็นของพระเทพสารเวที เลขานุการ (โปรดเปรียบเทียบกับลายมือของท่านเจ้าคุณฯตอนล่าง) การแอบอ้างว่าสมเด็จพระสังฆราชทรง “ทราบและเห็นชอบ” จึงเป็นการโกหก โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 พฤศจิกายน 2548 http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9480000152568 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา 103 วัดเจดีย์หลวง ถ.พระปกเกล้า ต.พระสิงห์ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200 โทร. 0-5327-0975-6, โทรสาร 0-5381-4752 MAHAMAKUT BUDDHIST UNIVERSITY; LANNA CAMPUS 103 Wat Jedeeluang Phrasingha Muang Chiang Mai 50200 TEL. 0-5327-0975-6, FAX. 0-5381-4752 Webmaster asksak@hotmail.com
ศึกษาข้อมูลประวัติศาสตร์ ขบวนการที่ทำกับ สมเด็จพระสังฆราช ได้ที่ http://www.facebook.com/thaihistory

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง