ข่าวพระพุทธรูป ลีลา ที่สูญหาย

ท่านใดพบเห็นช่วยแจ้งไปที่วัดเทพลีลา หรือ ข้าพเจ้า สมเกียรติ กาญจนชาติ โทร 084-6514822 ประวัติวัดเทพลีลา พระอารามหลวง เมื่อปีมะเส็งพุทธศักราช ๒๓๗๖ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพ เพื่อสู่รบกับต่างชาติ เมื่อเดินทัพมาจากกรุงเทพฯและได้พักทัพอยู่ที่ริมคลองแสนแสบ แม่ทัพ นายกองและพลทหารก็พักอยู่ริมคลองแสนแสบ (ที่ตั้งวัดเทพลีลา) เมื่อตกเย็นทหารได้ลงอาบน้ำในลำคลองนี้ ขณะที่ลงอาบน้ำ บ้างก็เล่นน้ำอยู่นั้น มีทหารนายหนึ่งที่พบพระพุทธรูปยืนปางลีลาแบบสมัยสุโขทัย มีส่วนสูง ๑ เมตร ๒๐ เซนติเมตร ทหารนายนั้น จึงนำไปมอบให้ท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา ท่านจึงสั่งให้อัญเชิญพระพุทธรูปไว้ที่ริมฝั่งคลองใต้ต้นไม้ก่อน เมื่อเสร็จศึกสงครามแล้วก็กลับมาสร้างวัดตรงที่นี้ รุ่งขึ้นต้องเคลื่อนทัพไปยังเมืองไซ่ง่อน ตามพระบรมราชโองการ ณ วันเสาร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ เวลา ๙ โมงเช้า (๐๙.๐๐ น.) จุลศักราช ๑๑๙๕ ปีมะเส็ง เบญจศก เป็นปีที่ ๑๐ ในรัชกาลที่ ๓ (กับวันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๗๖) ทัพช้างและม้าพักพลอยู่ที่ตั้งของโรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งคุณหญิงเจือ นครราชเสนี (เจือ สิงหเสนี) ทายาทของท่านเจ้าพระยาฯ ได้บริจาคให้ทางราชการ กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้สร้างเป็นโรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) ในปัจจุบันนี้ ตามคำบอกเล่าเมื่อท่านเจ้าพระยาบดินทรเดชา(สิงห์ สิงหเสนี) สมุหนายกใหญ่ในราชกาลที่ ๓ เมื่อเสร็จศึกสงครามแล้วก็กลับมาสร้างวัด แล้วอัญเชิญพระพุทธรูปปางลีลาองค์นั้น เป็นพระประธานในอุโบสถ และตั้งชื่อว่า "วัดเทพลีลา" ที่ตั้งวัดเทพลีลา วัดเทพลีลา (วัดตึก) แต่เดิมเป็นวัดราษฎร์เล็กๆ แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เลขที่ ๔๗ (เดิม) ถนนรามคำแหง ซอยรามคำแหง ๓๙ แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ แต่เดิมมีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๔๕ ไร่ ๘๐ ตารางวา ปัจุบันเหลือเนื้อที่ที่เป็นส่วนของวัดประมาณ ๙ ไร่ นอกนั้นเป็นที่ตั้งของโรงเรียนวัดเทพลีลาทั้งฝ่ายประถมและมัธยม ที่อยู่อาศัยของประชาชนและอยู่ในมหาวิทยาลัยรามคำแหงอีก ๔ ไร่เศษ ซึ่งมหาวิทยาลัยชำระค่าเชาเป็นรายปี ยังมีที่ธรณีสงฆ์ อยู่ที่ แขวงวังทองหลาง จำนวน ๑๔ ไร่ ลักษณะเนื้อที่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า อาณาเขตของวัดเทพลีลา ด้านทิศตะวันตกติดกับคลองแสนแสบ ด้านทิศตะวันออก ติดกับอาคารบ้านเรือนและโรงเรียนเทพลีลา(มัธยม) ด้านทิศเหนือติดกับโรงเรียนวัดเทพลีลา(ประถม) ด้านทิศใต้ ติดกับซอยรามคำแหง ๓๙ การสร้างอุโบสถหลังใหม่ ภายหลังได้มีโจรได้เข้าไปงัด อุโบสถหลังเดิม ขโมยเอาพระพุทธรูปปางลีลาดังกล่าวไป ซึ่งก็ยังตามหาไม่พบตราบทุกวันนี้ เจ้าอาวาสในสมัยนั้น จึงได้จัดสร้างพระพุทธรูปปางลีลาองค์ใหม่ขึ้นมาแทนโดยเลียนแบบองค์เดิม พร้อมทั้งสร้างอุโบสถหลังใหม่ขึ้นมา พร้อมทั้งดำเนินการตามขั้นตอนเพื่อขอรับพระราชทานวิสุงคามสีมา ต่อมาจึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พระราชทานวิสุงคามสีมา ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๐๓ ตอนที่ ๑ ลงวันที่ ๒๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ เสด็จพระราชดำเนินมายังวัดเทพลีลา เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๘ ทางคณะวัดเทพลีลาจึงทำหนังสือเพื่อนำความกราบบังคมทูล ขอพระราชทานอัญเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานในพิธีตัดหวายลูกนิมิตอุโบสถวัดเทพลีลา จนต่อมาทางสำนักราชเลขาธิการ จึงมีหนังสือ ที่ รล ๐๐๐๗/๗๑๖๔ ลงวันที่ ๑๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ เพื่อแจ้งเรื่องการรับเชิญเสด็จฯ ต่อมาเมื่อวันศุกร์ที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ เวลา ๑๐.๐๐ น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามราชกุมารี ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธาน ในพิธีตัดหวายลูกนิมิต ท่ามกลางความปลาบปลี้มปีติยินดี และชื่นชมโสมนัสเป็นอย่างยิ่งของคณะวัดเทพลีลาทั้งปวง ที่ได้รับพระมหากรุณาในครั้งนี้ ลำดับเจ้าอาวาสวัดเทพลีลา มีเจ้าอาวาสปกครองวัดรวมทั้งสิ้น ๘ รูป พระอาจารย์แดง พระอาจารย์ต่วน พระอาจารย์เปล่ง จั่นสุวรรณ์ พระมหาสนิท พฺรหฺมสิริ ป.ธ.๖ (พระราชปัญญาภรณ์ อดีตรองเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุ ฯ) พระอาจารย์แฉล้ม ทีจะเอี่ยม (ลาสิกขา) พระครูโสภณสมาจารย์ (ผ่อง) (ลาสิกขา) พระครูสุวรรณสุทธิกร (ทองสุข สีลวณฺโณ) พระราชปริยัติสุนทร (ประสาร เตชสีโล) พ.ศ. ๒๕๓๗ -ปัจจุบัน การยกฐานะวัดเทพลีลาเป็นพระอารามหลวง วัดเทพลีลาวัดตึก)แต่เดิม เป็นวัดราษฎร์เล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ริมคลองแสนแสบ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย แต่ถึงแม้จะเป็นวัดเล็กก็จริง แต่ผลแห่งการดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ทั้ง ๖ ด้าน คือ ด้านการปกครอง ด้านศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านเผยแผ่ศาสนธรรม ด้านสาธารณสงเคราะห์ ด้านสาธารณูปกครอง วัดเทพลีลาได้ดำเนินการอย่าง เต็มที่จนมีความเจริญก้าวหน้าในทุกๆด้านโดยเฉพาะงานด้านศาสนศึกษา วัดเทพลีลาได้รับการกล่าวถึงผลงานเป็นที่ปรากฏให้เห็นเป็นอย่างมากต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งตรงกับปี มหามงคลวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ๖๐ปี ที่ประชุมมหาเถรสมาคมเห็นชอบการจัดกิจกรรมร่วมฉลองในงานมหามงคลดังกล่าว โดยจะมีการยกวัดราษฏร์ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ซึ่งต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปดเกล้าฯ ยกฐานะวัดเทพลีลาเป็น "พระอารามหลวง ชั้นครี ชนิดสามัญ" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ ๑๒๓ ลงวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๙ ปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ห้องสนทนาธรรม เว็บบอร์ด สำนักงานเลขานุการสำนักเรียนวัดเทพลีลา สำหรับคณะครูวัดเทพลีลา สำนักงานกลางวัดเทพลีลา ประวัติวัดเทพลีลา ประวัติเจ้าอาวาสวัดเทพลีลา ประวัติอาจารย์ใหญ่ ประวัติสำนักเรียนวัดเทพลีลา http://www.watthepleela.com/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง