ประวัติศาสตร์การตรวจสอบ บริษัทที่เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ
เรื่องโครงการ ตัวอย่างในการตรวจสอบ บริษัท เรียลมูฟ จำกัด ร้องเรียนเรื่อง การประกอบธุรกิจที่ไร้จริยธรรม เป็นภัยต่อความมั่นคงด้านเศรษฐกิจของชาติ (ถ้าโกง 300 บาท ต่อคน โกงคนใช้ 1 ล้านคน =300 ล้านบาทต่อเดือน ประชาชนต้องศึกษาและรู้ทัน บริษัท เหล่านี้ ในประเทฅศไทย ) เมื่อข้าพได้ส่งหนังสือร้องเรียนไป ประมาณ 3 ช.ม. ทางศูนย์ของ ทรูมูฟ ได้โทรมาจากหมายเลข 086-5703411(13 มีนาคม 2556) ว่าจะลบค่าบริการ 350 บาท ให้ ข้าพเจ้าตอบว่าไม่ต้องเพราะได้ดำเนินการทางกฎหมายไปแล้ว จึงขอนำมาเพื่อศึกษาให้ความรู้แก่ประชาชนชาวไทย ท่านสามาถขอแบบฟอรม์ ร้องเรียนได้ที่http://tcp.nbtc.go.th/tci_uploads/userfiles/files/complain_form2013.pdf
ข้อมูลเอกสาร
สำหรับความหมายของความมั่นคงของชาตินั้น ได้มีผู้กล่าวไว้มากมาย เช่น ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495 กล่าวว่า
“ความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร หมายความว่า การให้เอกราชของชาติหรือสวัสดิภาพของประชาชนให้อยู่ในความมั่นคง ปลอดภัย รวมตลอดถึงการให้ประเทศดำรงอยู่ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
ในเอกสารประการศึกษาวิชาความมั่นคงศึกษา (Security Studies) ของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก (วิชัย ชูเชิด, 2547, หน้า 15) กล่าวว่า
“ความมั่นคงของชาติ หมายถึง สภาวการณ์หรือสภาพที่รัฐชาติ ภายใต้การนำของรัฐบาลที่มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองดินแดนดังกล่าวด้วยตนเอง ที่สามารถดำรงอยู่ด้วยความปลอดภัยจากภยันอันตรายทั้งปวงไม่ว่าจะเป็น เกณฑ์การเสี่ยงใด ๆ ความเกรงกลัว ความกังวล และความสงสัย มีความเจริญก้าวหน้า มีเสรีต่อความกดดันต่าง ๆ ซึ่งจะประกันให้เกิดอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนภายในชาติดำเนินไปได้อย่างอิสระ มีความแน่นแฟ้นเป็นปึกแผ่น มีความแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงไปโดยง่าย มีความอดทนต่อแรงกดดันต่าง ๆ ที่มากระทบในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านเอกราช อธิปไตย ในด้านบูรภาพแห่งดินแดน ในด้านสวัสดิภาพ ความปลอดภัยและผาสุกของประชาชน ในด้านการปกครองของประเทศและวิถีการดำเนินชีวิตของจน อีกทั้งจะต้องมีขีดความสามารถที่จะพร้อมเผชิญต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น”
ดังนั้นถ้าจะสรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายและกระชับนั้น ความหมายของความมั่นคงของชาติจะหมายถึง “สภาพที่รัฐใดรัฐหนึ่งสามารถดำรงสภาพของรัฐนั้น ๆ ได้ในทุกสภาวการณ์ ไม่ว่าสภาวะนั้นจะเป็นเช่นไร”
สำหรับแนวคิดของความมั่นคงนั้น วิชัย ชูเชิด (2547, หน้า 21) ได้แบ่งแนวคิดของความมั่นคงออกเป็นสองประเภทคือ (1) แนวคิดความมั่นคงระหว่างประเทศ และ (2) แนวความคิดความมั่นคงทั่วไป โดยแต่ละแนวคิดจะมีแนวคิดย่อยดังต่อไปนี้
· แนวความคิดความมั่นคงระหว่างประเทศ มีแนวคิดย่อยที่พิจารณา 4 ประการคือ
1. ความมั่นคงร่วม (Collective Security): แนวคิดนี้เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่หลายชาติบอบช้ำจากสงคราม จึงพยายามให้โลกมีความสงบสุข มีสันติภาพ ด้วยการผลักดันให้มีกฎเกณฑ์ เพื่อป้องกันและลงโทษประเทศที่ก่อสงคราม โดยแนวความคิดนี้ทำให้หลายประเทศ ร่วมกันจัดตั้ง องค์สันติบาติชาติ (League of Nations) เพื่อดำเนินการในการจัดการระเบียบดังกล่าว อย่างไรก็ตามองค์กรสันติบาติชาติประสบความล้มเหลวในที่สุด แนวคิดของความมั่นคงร่วม โดยส่วนใหญ่แล้วจะให้ความสำคัญด้านสงครามและการทหารเป็นหลักมากกว่าความสำคัญด้านอื่น
2. ความมั่นคงสมบูรณ์แบบ (Comprehensive Security): แนวความคิดนี้เกิดขึ้นเป็นลำดับต่อมาจาก ความมั่นคงร่วม ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จมากนัก โดยแนวคิดนี้จะเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นในพัฒนาพลังอำนาจของชาติทุกด้านอย่างได้ดุล คือพัฒนาพลังอำนาจของชาติทุก ๆ ด้านไปพร้อม ๆ กัน และเท่าเทียมกัน เพราะถ้ามุ่งเน้นไปในด้านใดด้านหนึ่ง อย่างเช่น การทหารเพียงด้านเดียวนอกเหนือพลังอำนาจของชาติทางด้านอื่น เช่น เศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบให้ประเทศขาดความพร้อม ในการป้องกันประเทศอันนำไปสู่การสูญเสียเอกราชในที่สุด
3. ความมั่นคงสามัญ (Common Security): แนวความคิดนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในยุโรป หลังจากการประชุม “การลดอาวุธและความมั่นคง (Independent Commission on Disarmament and Security Issues)” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะป้องกันความขัดแย้งกันด้วยอาวุธนิวเคลียร์ในปี พ.ศ. 2525 การประชุมครั้งนี้มีรายงานเรื่อง “Common Security: A Blueprint for Survival” ของอดีตนายกรัฐมนตรีสวีเดน ที่กล่าวถึงหลักการ 6 ประการของความมั่นคงสามัญ คือ 1) ทุกชาติมีสิทธิตามกฎหมายในเรื่องความมั่นคงของชาติ 2) กำลังทหารมิใช่เครื่องมือในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาติที่ถูกต้องตามกฎหมาย 3) ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของนานาชาติ จะต้องมีการยับยั้งช่างใจต่อการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรงได้ 4) ความมั่นคงมิได้เกิดจากการใช้กำลังทหารที่เหนือกว่า 5) การปรับลดกำลังและจำกัดขีดความสามารถทหารมีความจำเป็นสำหรับความมั่นคงสามัญ และ 6) ทุกชาติต้องหลีกเลี่ยงการนำเอาเหตุการณ์ทางการเมืองเชื่อมโยงกับการเจรจาลดอาวุธ และต่อมาโซเวียตรัสเซีย โดย นาย มิคาเอล กาบาชอบ ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่เกี่ยวกับ “การเชื่อมั่นต่อกันของสมาชิก” ต่อที่ประชุม Helsinki ในปี พ.ศ. 2527 โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการชักชวนให้มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และมุ่งไปที่ความพยายามในการแสวงหาหนทางในการลดอาวุธ
4. ความมั่นคงร่วมมือ (Cooperative Security): แนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ที่ผสมผสานแนวความคิดของ ความมั่นคงแบบสามัญ และความมั่นคงสมบูรณ์แบบ แนวความคิดนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2533 โดยนาย โจ คลาก รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของแคนนาดา ได้กล่าวถึงความมั่นคงร่วมมือโดยเน้นไปที่ ความมั่นคงในภูมิภาคแปซิฟิกเหนือเป็นหลัก และหลังจากนั้นได้มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการโดยเลขาธิการทั่วไปของสหประชาชาติในเวลาต่อมา ความมั่นคงแบบนี้ จะมีลักษณะคล้ายกับความมั่นคงแบบสามัญมากแต่จะแตกต่าง ที่จะมีลักษณะค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป โดยมีการพัฒนาการร่วมมือขึ้นในรูปแบบเป็นพหุภาคี นอกจากนี้ยังมีความอ่อนตัวและประนีประนอมกว่าความมั่นคงสามัญ
·
แนวความคิดความมั่นคงทั่วไป มีแนวคิดย่อย 6 ประการคือ
1. ความมั่นคงของชาติ (National Security): แนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดที่มุ่งเน้นในการดำเนินการที่ก่อให้เกิดความมั่นคงโดยอาศัยพลังอำนาจของชาติ (National Power) เพราะพลังอำนาจของชาติจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพิทักษ์รักษาสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนหัวใจของชาติ นั่นก็คือความมุ่งประสงค์ของชาติ (National Purpose) และ ผลประโยชน์ของชาติ (National Interests) ดังนั้นการดำเนินการที่จะมุ่งไปสู่ความมั่นคงประเภทนี้จะมีความแตกต่างกันไปตาม ความมุ่งประสงค์ของแต่ละชาติ และผลประโยชน์ของแต่ละชาติ
2. ความมั่นคงภายใน (Internal Security): แนวความคิดนี้แนวความคิดที่เกี่ยวพันโดยตรงกับความมั่นคงของชาติ โดยความมั่นคงภายในจะมุ่งเน้นไปในเรื่องของความมั่นคงภายในประเทศที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของชาติในที่สุด
3. ความมั่นคงของภูมิภาค (Regional Security): แนวความคิดนี้จะให้ความสำคัญกับประเทศใกล้เคียงกันหลายประเทศที่รวมตัวกันเป็นภูมิภาคย่อย ซึ่งความมั่นคงในภูมิภาคนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ประเทศแต่ละประเทศมีความมั่งคงทั้งภายในและมีความมั่นคงของชาติ (พลังอำนาจของชาติที่เหมาะสม)
4. ความมั่นคงของโลก (International Security): แนวความคิดนี้มีลักษณะเหมือนกับความมั่นคงของภูมิภาค แต่จะแตกต่างกันที่การรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่ใหญ่ขึ้นคือทุกประเทศในโลกนี้ ซึ่งจะรวมความมั่นคงภายในแต่ละชาติและความมั่นคงของชาติแต่ละชาติ
5. ความมั่นคงของสภาวะแวดล้อม (Environmental Security): แนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดที่พยายามจะรักษาภาวะเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมภายในโลก เพื่อให้สังคมมนุษย์ยังคงอยู่ต่อไปภายในโลกนี้ร่วมกับธรรมชาติได้ การพิจารณาแนวความคิดนี้จะมองไปในอนาคตโดยใช้หลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับประเด็นสำคัญของความมั่นคงประเภทนี้คือ ประเทศที่ก่อให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมมากมักจะเป็นประเทศมหาอำนาจ หรือประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้นความรับผิดชอบในการออกค่าใช้จ่ายในการรักษาสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสัดส่วนที่แตกต่างกันอย่างไร
6. ความมั่นคงของบุคคล (Human Security): แนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดที่หลายประเทศได้เพ่งเล็งและให้ความสนใจเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นของสิทธิมนุษยชน โดยการดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นคงของมนุษย์นั้นจะต้องใช้พลังอำนาจของชาติในด้านต่าง ๆ มาเป็นเครื่องมือจำนวนมาก เพราะแต่ละบุคคลจะมีความมั่นคงได้ จะมีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาหลายประการเช่น สิทธิมนุษยชน คุณภาพชีวิต การศึกษา ฐานะทางการเงิน อนามัยชุมชน ฯลฯ
ข้อมูลเอกสาร
คำว่าความมั่นคงของชาติคิดว่าบุคคลทั่วไปคงจะนึกถึงเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับ สงคราม การทหาร การสู้รบ หรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรง แต่ในปัจจุบันเรื่องของความมั่นคงของชาติเป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ หลายประการที่แตกต่างกันหลายมิติ ซึ่งไม่ใช่มีแต่เรื่องของความรุนแรงแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังมีมิติอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการใช้ความรุนแรงหรือว่าสงคราม เช่น เรื่องของความมั่นคงภายใน ที่มีรากฐานมาจากความมั่นคงในชีวิตของคนในชาติ หรือ เรื่องของสิ่งแวดล้อมที่ผลมีกระทบต่อมนุษย์ เรื่องเหล่านี้ถือเป็นเรื่องราวอีกด้านหนึ่งของความมั่นคงของชาติ ดังนั้นกิจการทหารในปัจจุบันจึงเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งในหลายองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดความมั่นคงของชาติเท่านั้น
ในปัจจุบันโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการยุติของสงครามเย็น ได้ส่งผลให้ความสำคัญระหว่างประเทศระบบสองค่ายแบบหละหลวม (Loose-Bipolar) ตามแนวความคิดของ มอร์ตัน เอ แคแปลน (Morton A. Kaplan) ได้มลายหายไป ประกอบการที่สหรัฐ ฯ พยายามที่จะก้าวมาเป็นมหาอำนาจชาติเดียว และเป็นที่ทราบกันดีว่า สหรัฐ ฯ นั้นเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจเป็นทุนนิยม การสะสมทุนของสหรัฐ ฯ และกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพทางด้านเศรษฐกิจ ทำให้การค้าขายระหว่างประเทศแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งก็มากจนกระทั่งเกือบจะทุกประเทศทั่วโลก ต่างมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบเศรษฐกิจของตนให้มีความเข้มแข็ง สามารถป้องกันการคุกคามทางเศรษฐกิจจากประเทศประเทศที่มีศักดิ์ทางเศรษฐกิจสูงกว่าได้ ดังนั้นเราจึงสามารถกล่าวได้ว่า ความมั่นคงของชาติในปัจจุบัน จะพิจารณาจากความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นปัจจัยหลัก และความมั่นคงทางด้านอื่น ๆ จะมีความสำคัญในฐานะที่เป็นส่วนสนับสนุนให้ประเทศนั้น ๆ มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้อย่างถาวรและยั่งยืน
สำหรับความหมายของความมั่นคงของชาตินั้น ได้มีผู้กล่าวไว้มากมาย เช่น ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2495 กล่าวว่า
“ความมั่นคงหรือความปลอดภัยแห่งราชอาณาจักร หมายความว่า การให้เอกราชของชาติหรือสวัสดิภาพของประชาชนให้อยู่ในความมั่นคง ปลอดภัย รวมตลอดถึงการให้ประเทศดำรงอยู่ในการปกครองระบอบประชาธิปไตย ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย”
ในเอกสารประการศึกษาวิชาความมั่นคงศึกษา (Security Studies) ของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก (วิชัย ชูเชิด, 2547, หน้า 15) กล่าวว่า
“ความมั่นคงของชาติ หมายถึง สภาวการณ์หรือสภาพที่รัฐชาติ ภายใต้การนำของรัฐบาลที่มีอำนาจอธิปไตยในการปกครองดินแดนดังกล่าวด้วยตนเอง ที่สามารถดำรงอยู่ด้วยความปลอดภัยจากภยันอันตรายทั้งปวงไม่ว่าจะเป็น เกณฑ์การเสี่ยงใด ๆ ความเกรงกลัว ความกังวล และความสงสัย มีความเจริญก้าวหน้า มีเสรีต่อความกดดันต่าง ๆ ซึ่งจะประกันให้เกิดอำนาจหน้าที่ของแต่ละส่วนภายในชาติดำเนินไปได้อย่างอิสระ มีความแน่นแฟ้นเป็นปึกแผ่น มีความแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลงไปโดยง่าย มีความอดทนต่อแรงกดดันต่าง ๆ ที่มากระทบในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านเอกราช อธิปไตย ในด้านบูรภาพแห่งดินแดน ในด้านสวัสดิภาพ ความปลอดภัยและผาสุกของประชาชน ในด้านการปกครองของประเทศและวิถีการดำเนินชีวิตของจน อีกทั้งจะต้องมีขีดความสามารถที่จะพร้อมเผชิญต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น”
ดังนั้นถ้าจะสรุปเพื่อให้เข้าใจง่ายและกระชับนั้น ความหมายของความมั่นคงของชาติจะหมายถึง “สภาพที่รัฐใดรัฐหนึ่งสามารถดำรงสภาพของรัฐนั้น ๆ ได้ในทุกสภาวการณ์ ไม่ว่าสภาวะนั้นจะเป็นเช่นไร”
สำหรับแนวคิดของความมั่นคงนั้น วิชัย ชูเชิด (2547, หน้า 21) ได้แบ่งแนวคิดของความมั่นคงออกเป็นสองประเภทคือ (1) แนวคิดความมั่นคงระหว่างประเทศ และ (2) แนวความคิดความมั่นคงทั่วไป โดยแต่ละแนวคิดจะมีแนวคิดย่อยดังต่อไปนี้
· แนวความคิดความมั่นคงระหว่างประเทศ มีแนวคิดย่อยที่พิจารณา 4 ประการคือ
1. ความมั่นคงร่วม (Collective Security): แนวคิดนี้เกิดขึ้นหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่หลายชาติบอบช้ำจากสงคราม จึงพยายามให้โลกมีความสงบสุข มีสันติภาพ ด้วยการผลักดันให้มีกฎเกณฑ์ เพื่อป้องกันและลงโทษประเทศที่ก่อสงคราม โดยแนวความคิดนี้ทำให้หลายประเทศ ร่วมกันจัดตั้ง องค์สันติบาติชาติ (League of Nations) เพื่อดำเนินการในการจัดการระเบียบดังกล่าว อย่างไรก็ตามองค์กรสันติบาติชาติประสบความล้มเหลวในที่สุด แนวคิดของความมั่นคงร่วม โดยส่วนใหญ่แล้วจะให้ความสำคัญด้านสงครามและการทหารเป็นหลักมากกว่าความสำคัญด้านอื่น
2. ความมั่นคงสมบูรณ์แบบ (Comprehensive Security): แนวความคิดนี้เกิดขึ้นเป็นลำดับต่อมาจาก ความมั่นคงร่วม ซึ่งเป็นแนวความคิดที่ไม่ค่อยจะประสบความสำเร็จมากนัก โดยแนวคิดนี้จะเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นในพัฒนาพลังอำนาจของชาติทุกด้านอย่างได้ดุล คือพัฒนาพลังอำนาจของชาติทุก ๆ ด้านไปพร้อม ๆ กัน และเท่าเทียมกัน เพราะถ้ามุ่งเน้นไปในด้านใดด้านหนึ่ง อย่างเช่น การทหารเพียงด้านเดียวนอกเหนือพลังอำนาจของชาติทางด้านอื่น เช่น เศรษฐกิจอาจส่งผลกระทบให้ประเทศขาดความพร้อม ในการป้องกันประเทศอันนำไปสู่การสูญเสียเอกราชในที่สุด
3. ความมั่นคงสามัญ (Common Security): แนวความคิดนี้เกิดขึ้นครั้งแรกในยุโรป หลังจากการประชุม “การลดอาวุธและความมั่นคง (Independent Commission on Disarmament and Security Issues)” ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะป้องกันความขัดแย้งกันด้วยอาวุธนิวเคลียร์ในปี พ.ศ. 2525 การประชุมครั้งนี้มีรายงานเรื่อง “Common Security: A Blueprint for Survival” ของอดีตนายกรัฐมนตรีสวีเดน ที่กล่าวถึงหลักการ 6 ประการของความมั่นคงสามัญ คือ 1) ทุกชาติมีสิทธิตามกฎหมายในเรื่องความมั่นคงของชาติ 2) กำลังทหารมิใช่เครื่องมือในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างชาติที่ถูกต้องตามกฎหมาย 3) ในการดำเนินนโยบายต่างประเทศของนานาชาติ จะต้องมีการยับยั้งช่างใจต่อการกระทำที่อาจก่อให้เกิดความรุนแรงได้ 4) ความมั่นคงมิได้เกิดจากการใช้กำลังทหารที่เหนือกว่า 5) การปรับลดกำลังและจำกัดขีดความสามารถทหารมีความจำเป็นสำหรับความมั่นคงสามัญ และ 6) ทุกชาติต้องหลีกเลี่ยงการนำเอาเหตุการณ์ทางการเมืองเชื่อมโยงกับการเจรจาลดอาวุธ และต่อมาโซเวียตรัสเซีย โดย นาย มิคาเอล กาบาชอบ ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่เกี่ยวกับ “การเชื่อมั่นต่อกันของสมาชิก” ต่อที่ประชุม Helsinki ในปี พ.ศ. 2527 โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการชักชวนให้มีความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และมุ่งไปที่ความพยายามในการแสวงหาหนทางในการลดอาวุธ
4. ความมั่นคงร่วมมือ (Cooperative Security): แนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดที่เพิ่งเกิดขึ้นใหม่ ที่ผสมผสานแนวความคิดของ ความมั่นคงแบบสามัญ และความมั่นคงสมบูรณ์แบบ แนวความคิดนี้เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2533 โดยนาย โจ คลาก รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีของแคนนาดา ได้กล่าวถึงความมั่นคงร่วมมือโดยเน้นไปที่ ความมั่นคงในภูมิภาคแปซิฟิกเหนือเป็นหลัก และหลังจากนั้นได้มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการโดยเลขาธิการทั่วไปของสหประชาชาติในเวลาต่อมา ความมั่นคงแบบนี้ จะมีลักษณะคล้ายกับความมั่นคงแบบสามัญมากแต่จะแตกต่าง ที่จะมีลักษณะค่อย ๆ เป็นค่อย ๆ ไป โดยมีการพัฒนาการร่วมมือขึ้นในรูปแบบเป็นพหุภาคี นอกจากนี้ยังมีความอ่อนตัวและประนีประนอมกว่าความมั่นคงสามัญ
·
แนวความคิดความมั่นคงทั่วไป มีแนวคิดย่อย 6 ประการคือ
1. ความมั่นคงของชาติ (National Security): แนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดที่มุ่งเน้นในการดำเนินการที่ก่อให้เกิดความมั่นคงโดยอาศัยพลังอำนาจของชาติ (National Power) เพราะพลังอำนาจของชาติจะเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพิทักษ์รักษาสิ่งสำคัญที่เปรียบเสมือนหัวใจของชาติ นั่นก็คือความมุ่งประสงค์ของชาติ (National Purpose) และ ผลประโยชน์ของชาติ (National Interests) ดังนั้นการดำเนินการที่จะมุ่งไปสู่ความมั่นคงประเภทนี้จะมีความแตกต่างกันไปตาม ความมุ่งประสงค์ของแต่ละชาติ และผลประโยชน์ของแต่ละชาติ
2. ความมั่นคงภายใน (Internal Security): แนวความคิดนี้แนวความคิดที่เกี่ยวพันโดยตรงกับความมั่นคงของชาติ โดยความมั่นคงภายในจะมุ่งเน้นไปในเรื่องของความมั่นคงภายในประเทศที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของชาติในที่สุด
3. ความมั่นคงของภูมิภาค (Regional Security): แนวความคิดนี้จะให้ความสำคัญกับประเทศใกล้เคียงกันหลายประเทศที่รวมตัวกันเป็นภูมิภาคย่อย ซึ่งความมั่นคงในภูมิภาคนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ประเทศแต่ละประเทศมีความมั่งคงทั้งภายในและมีความมั่นคงของชาติ (พลังอำนาจของชาติที่เหมาะสม)
4. ความมั่นคงของโลก (International Security): แนวความคิดนี้มีลักษณะเหมือนกับความมั่นคงของภูมิภาค แต่จะแตกต่างกันที่การรวมตัวกันเป็นกลุ่มที่ใหญ่ขึ้นคือทุกประเทศในโลกนี้ ซึ่งจะรวมความมั่นคงภายในแต่ละชาติและความมั่นคงของชาติแต่ละชาติ
5. ความมั่นคงของสภาวะแวดล้อม (Environmental Security): แนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดที่พยายามจะรักษาภาวะเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อมภายในโลก เพื่อให้สังคมมนุษย์ยังคงอยู่ต่อไปภายในโลกนี้ร่วมกับธรรมชาติได้ การพิจารณาแนวความคิดนี้จะมองไปในอนาคตโดยใช้หลักวิชาการทางวิทยาศาสตร์ สำหรับประเด็นสำคัญของความมั่นคงประเภทนี้คือ ประเทศที่ก่อให้เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมมากมักจะเป็นประเทศมหาอำนาจ หรือประเทศที่มีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง ดังนั้นความรับผิดชอบในการออกค่าใช้จ่ายในการรักษาสิ่งแวดล้อมจะต้องเป็นสัดส่วนที่แตกต่างกันอย่างไร
6. ความมั่นคงของบุคคล (Human Security): แนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดที่หลายประเทศได้เพ่งเล็งและให้ความสนใจเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเด็นของสิทธิมนุษยชน โดยการดำเนินการเพื่อให้เกิดความมั่นคงของมนุษย์นั้นจะต้องใช้พลังอำนาจของชาติในด้านต่าง ๆ มาเป็นเครื่องมือจำนวนมาก เพราะแต่ละบุคคลจะมีความมั่นคงได้ จะมีองค์ประกอบที่ต้องพิจารณาหลายประการเช่น สิทธิมนุษยชน คุณภาพชีวิต การศึกษา ฐานะทางการเงิน อนามัยชุมชน ฯลฯ
ดังที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า เรื่องของความมั่นคงของชาติเป็นเรื่องที่มีปัจจัยและองค์ประกอบที่แตกต่างกันมากมาย และหลายระดับ การดำเนินการใด ๆ ถ้าขาดการพิจารณาในลักษณะที่เป็นองค์รวม (Holistic) แล้วอาจจะก่อให้เกิดการความล่อแหลมขึ้นได้ การร่วมมือจากหน่วยงานทุกหมู่เหล่าจะเป็นการดำเนินการที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติของเรา อย่างไรก็ตามการทำงานร่วมกันในลักษณะที่มีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้อง (stakeholder) เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ไม่ง่ายนัก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะคนไทยเราจะถนัดในลักษณะ “ข้ามาคนเดียว” หรือที่เรียกว่า “One man shows” คงต้องวิงวอนให้เรา ๆ ท่าน ๆ ช่วยหันหน้าเข้าหากันร่วมกันทำงาน แต่ก็อย่าให้เป็น “เรากันเรากินกันเป็นหมู่ แยกกันเราต่างคนต่างกิน” ละครับ นอกจากประเทศชาติไม่มั่นคงแล้ว เรายังอาจจะไม่เหลืออะไรให้ลูกหลานครับ........................
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ