คดีประวัติศาสตร์ ปาราชิก

เดลินิวส์ 30/4/2542 สังฆราชชี้ขาด ธัมมชโย ปาราชิกต้องสึก ใน 3 วันหรือลงมติ ธรรมกายวุ่นหนัก เรียกประชุมด่วน สมเด็จพระสังฆราชฯ ให้จับ "ธัมมชโย"สึก ฐานปาราชิกขาดจากความเป็นสงฆ์ เอาสมบัติวัดเป็นของตัว ต้องถูกจัดการเด็ดขาด เช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระแต่ปลอมเป็นพระ ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสียแก่สงฆ์ในศาสนาพุทธ ตรัสชัดพระต้องถือธรรมะเป็นใหญ่ ไม่ยึดติดกับอำนาจ เงินทอง สมณศักดิ์ ยอมสละชีวิตรักษาธรรมะได้ งานนี้อยู่ที่กรมการศาสนา มี 2 ทางเลือก จับสึกทันทีใน 3 วัน หรือโยนเรื่องเข้ามหาเถรฯ ระบุเกือบ 40 ปี มหาเถรฯ ไม่เคยขัดแย้งประมุขสงฆ์ ชาวบ้านโทรศัพท์แสดงความยินดี ระบุถ้ากรมศาสนายึกยักจะไปบุกถล่ม จะดูใจมีพระเถระ หน้าไหน มากล้าอุ้มอีก ข่าวสะพัด "ธัมมชโย"รุดเข้าเฝ้า สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริยายก ฯ ทรงมีพระบัญชา ให้จัดการปัญหาวัดพระธรรมกายขั้นเด็ดขาด โดยมีพระลิขิต ให้กรมการศาสนา จับพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (ไชยบูลย์ ธัมมชโย) สึกเพราะปาราชิก ขาดจากความเป็นสงฆ์ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 15.30 น.ของวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมาสมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงมีพระบัญชาให้กรมการศาสนามารับ พระลิขิตเกี่ยวกับวัดพระธรรมกาย โดยลิขิตนี้เป็นเรื่องสืบเนื่องจาก ที่เคยพระประทานไว้ในเรื่องการ ถือครองที่ดินของพระไชยบูลย์ที่มีนับพันไร่ และมีพระบัญชาให้โอนให้วัด ปรากฎว่าพระไชยบูลย ์และวัดพระธรรมกายแสดงท่าทีชัดเจนไม่ยอมโอนที่ดินให้วัด สมเด็จพระสังฆราชจึงทรงถือว่า เป็นการแสดงชัดเจน มีเจตนาเอาสมบัติของวัด เป็นของตนจริง ๆ ต้องอาบัติปาราชิกต้องพ้นจากการเป็นพระ และ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด ขณะเดียวกัน ผู้สื่อข่าว"เดลินิวส์" ได้เดินทางไปวัดบวรนิเวศ และได้พบพระมหาสะท้าน พระวิปัสสี ซึ่งเป็นพระในสำนักงานเลขาฯ และได้เดินทางออกมาก่อน ที่สมเด็จพระสังฆราช จะออกจากวัดบวร และถามผู้สื่อข่าวว่า "จะมารับเอกสารพระบัญชาหรือ" สำหรับรายละเอียด ของพระลิขิต ที่เกี่ยวข้องกับการให้จับพระไชยบูลย์สึก ก็คือ"ส่วนที่มิใช่การลงโทษแต่เป็นการทำที่ถูกต้อง คือต้องมอบสมบัติทั้งหมดที่เกิดขึ้น ในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันที (5เมษายน พ.ศ.2542) ไม่คิดให้มีโทษ เพราะคิดในแง่ยกประโยชน์ให้ว่า ในขั้นต้น อาจมิใช่เจตนา ถือเอาสมบัติของวัดเป็นของตนจริงๆ แต่เมื่อถึงอย่างไร ก็ไม่ยอมคืนสมบัติทั้งหมด ที่เกิดขึ้นในขณะ เป็นพระให้แก่วัด ก็แสดงชัดเจนว่า ต้องอาบัติปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะ โดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาด เช่นเดียวกับ ผู้ที่ไม่ใช่พระปลอมเป็นพระ ด้วยการนำเอาผ้ากาสาวพัสตร์ไปครอง ทำความเศร้าหมองเสื่อมเสีย ให้แก่เกิดแก่สงฆ์ในพระพุทธศาสนา" และได้มีการลงพระนามสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก วัดบวรนิเวศวิหาร กทม. 26 เมษายน พ.ศ. 2542 ขณะเดียวกัน นายอาคม เอ่งฉ้วน รมช.ศึกษาธิการ กล่าวว่าไม่กล้าออกความเห็นเพราะยังไม่เห็นอะไร แต่ไม่น่าจะเป็นไปได ้เพราะสมเด็จพระสังฆราชจะไม่ก้าวก่าย งานของมหาเถรสมาคมฯ เพราะท่านเป็นประธาน มหาเถรฯอยู่แล้ว เมื่อมหาเถรฯมีมติให้พระพรหมโมลี เจ้าคณะภาค 1 เป็นผู้ดำเนินการ ท่านคงจะไม่มีพระบัญชาอะไรอีก และเรื่องนี้ อาจจะมาจากห้องกระจก ที่เคยกล่าวถึงพระลิขิตมาแล้ว นายพิภพ กาญจนะ อธิบดีกรมการศาสนากล่าวว่าตนไม่ทราบเรื่อง เพราะไม่เห็นพระลิขิต แต่จะเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราช เพื่อสอบถามข้อเท็จจริง ขณะที่นายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ รองอธิบด ีกรมการศาสนากล่าวว่า ถ้ามีพระบัญชา หลักการสำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช จะต้องมีหนังสือ มาถึงอธิบดีกรมการศาสนา อย่างเป็นทางการ แต่ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ เพราะไม่เห็นหนังสือเช่นกัน อย่างไรก็ตามพระวิปัสสี เจ้าหน้าที่ประจำสำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชกล่าวพระลิขิตดังกล่าวเพิ่งมาถึงอาตมา และได้ตรวจสอบแล้วว่า เป็นพระลิขิตจริง เพื่อให้สำนักงานเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช ประสานงาน ไปยังกรมการศาสนา ดำเนินการเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ เจ้าหน้าที่ก็ได้นำพระลิขิตนี้ไปยังกรมการศาสนา แล้ว แต่ไม่ทราบว่า จะถึงมือ อธิบดีกรมการศาสนาหรือยัง อย่างไรก็ตาม พระลิขิตนี้ไม่ได้หมายถึง วัดพระธรรมกายเพียงอย่างเดียว แต่หมายถึงวัดอื่นด้วย ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพระลิขิต ของสมเด็จพระสังฆราชนั้น ครั้งแรกพระสังฆราชทรงประทานให้นายพิภพ กาญจนะ อธิบดีกรมการศาสนา ตั้งแต่ปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา เพื่อสะสางปัญหาธรรมกายโดยแยกเป็น 2 ประเด็นคือ 1.การบิดเบือนพระศาสนา ซึ่งทรงมีพระลิขิตว่าความบิดเบือนพระพุทธธรรม คำทรงสอนโดยกล่าวหาว่า พระไตรปิฎกบกพร่อง เป็นการทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อคำบิดเบือน แตกแยกออกไปกลายเป็นสอง มีความเข้าใจพระพุทธศาสนา ตรงกันข้ามเป็นการทำลายพระพุทธศาสนาทำสงฆ์ให้แตกแยก เป็นอนัตตริยธรรม มีโทษทั้งปัจจุบัน และอนาคตที่หนัก" และ2.เรื่องที่ดินที่มีพระลิขิตว่า "ส่วนที่มิใช่เป็นการลงโทษแต่เป็นการทำที่ถูกต้อง คือต้องมอบ สมบัติทั้งหมด ที่เกิดขึ้น ในขณะเป็นพระให้แก่วัดทันที" ปรากฎว่า พระลิขิตนี้กรมการศาสนา ไม่ยอมเสนอเข้าที่ประชุม เพราะมีพระเถระระดับสูงบางรูปไม่ให้เปิดเผย และไม่ให้นำเข้า ที่ประชุมมหาเถรฯ จนในที่สุด"เดลินิวส์" เปิดเผยพระลิขิตดังกล่าว และมีการนำพระลิขิต เข้าที่ประชุมมหาเถรฯ ในวันที่ 5 เม.ย. โดยสมเด็จพระสังฆราชให้จัดทำพระลิขิตขึ้นมาใหม่ ใช้กระดาษ ที่มีพระนามาภิไธยย่อ และที่ประชุมมหาเถรฯ มีมติให้มอบให้พระพรหมโมลีไป นอกจากนั้นนายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรี สั่งการให้นายอาคม เอ่งฉ้วน รมช.ศึกษาธิการ จัดการเรื่องที่ดิน ซึ่งมีการส่ง นายสุทธิวงศ์ ตันตยาพิศาลสุทธิ์ รองอธิบดีกรมการศาสนาไปพบพระเผด็จ ทัตตชีโว รองเจ้าอาวาส วัดพระธรรมกาย โดยพระเผด็จกล่าวว่าจะยังไม่มีการโอนที่ดินเพราะวัดไม่มีเงิน รวมถึงผู้บริจาคบางราย อาจไม่ยอม เพราะต้องการบริจาคให้พระไชยบูลย์ ที่ดินบางแปลงก็ใช้ประโยชน์ได้ บางแปลงก็ไม่ได้ ซึ่งจะมีการตั้งกรรมการของวัด พิจารณาว่า แปลงใดจะโอน แปลงใดจะไม่โอน สุดท้ายเมื่อวันที่ 26 เม.ย.มหาเถรฯประชุม และจะออกมติมหาเถรฯ บังคับให้พระต้องโอนที่ดินให้วัด ซึ่งรอการรับรองมติอีกครั้งในการประชุมครั้งหน้า ในวันนั้นเองสมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงทำพระลิขิตอีกฉบับ เพื่อยุติปัญหาธรรมกายที่ยืดเยื้อยาวนาน รวมถึง สร้างความเสื่อมให้กับพระศาสนา พระพิศาลธรรมพาที (พยอม กัลยาโน) ประธานมูลนิธิสวนแก้ว กล่าวว่า สมเด็จพระสังฆราชเคยสั่งให้พระยันตระ สึกมาแล้ว ทำไมจะสั่งพระไชยบูลย์สึกอีกไม่ได้ และอยากดูว่าศิษย์วัดธรรมกาย จะคลั่งหรือไม่ นายมาณพ พลไพรินทร์ ผู้เชี่ยวชาญ กรมการศาสนา ให้สัมภาษณ์กรณีดังกล่าวว่าพระลิขิตยังไม่ใช่พระบัญชา เป็นเพียงความคิดเห็น ของพระสังฆราช ในฐานะ ที่เป็นประธานมหาเถรสมาคม ซึ่งถ้าเป็นพระบัญชา จะต้องมีตราสัญลักษณ์ และมีการออกหมายเลขหนังสือ อย่างไรก็ตามขั้นตอนยังไม่สิ้นสุด การปฏิบัติตามความเห็นของพระสังฆราช เป็นหน้าที่ของอธิบดีกรมการศาสนา ในฐานะเลขานุการ นำความเห็นดังกล่าว เสนอต่อที่ประชุมมหาเถรสมาคม โดยสิ้นสุด ด้วยการออกเป็นคำสั่งหรือเป็นมติของมหาเถรฯ แต่ที่ผ่านมา ยังไม่เคย มีเหตุการณ์ที่มติของมหาเถรสมาคมจะออกมา ไม่เหมือนกับพระลิขิต หรือพระประสงค์ของสมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่มี พ.ร.บ.คณะสงฆ์ 2505 เป็นต้นมาไม่เคยพบเห็นเลย ส่วนระยะเวลานานเท่าใด ในการสึกเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ต้องดูด้วยว่า การมีความเห็นให้สึกนั้น ด้วยข้อกล่าวหาอะไร ซึ่งหากให้สึกด้วยข้อหาปาราชิก ถ้าเป็นพระบัญชา ต้องให้สึกภายใน 3 วัน โดยเจ้าหน้าที่ บ้านเมืองต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฏหมาย" นายจรวย หนูคง ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ และนักวิชาการประจำกรรมาธิการการศาสนาฯ เปิดเผยว่า ตนเห็นพระลิขิตแล้ว ดูจากลายลักษณ์อักษรการลงพระนามแล้ว เป็นของสมเด็จพระสังฆราชจริง ถือเป็นพระวินิจฉัย ของสมเด็จพระสังฆราช ในนามประธานมหาเถรสมาคม ซึ่งการดำเนินงานโดยทางที่ถูกต้องแล้วมี 2 ทาง ไม่ใช่แนวทางเดียว โดยกรมการศาสนาจะสนองพระบัญชาเลยก็ได้หรือว่านำเข้าที่ประชุมมหาเถรฯเพื่อลงมติ เพราะถือว่า สมเด็จฯ เป็นพระประมุขสูงสุด แต่เพื่อความรอบคอบก็ควรเสนอที่ประชุมมหาเถรฯ ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ประชุมมหาเถรฯจะขัดแย้งพระวินิจฉัยหรือไม่ นายจรวยกล่าวว่าการประชุมมหาเถรฯ ครั้งที่ผ่านมา ที่ประชุมมีความเห็นขัดแย้งกัน อย่างไรก็ตามคิดว่าทางออก คือพระไชยบูลย์จะต้องรีบโอนที่ดินให้วัดทันที เพื่อไม่ต้องสึก ถ้าไม่ยอมโอนก็ตีความได้ว่าจะเบียดบังยักยอก เอาของศาสนา หรือเรียกว่าโกง เพราะที่ดินที่ได้มานั้น เพราะคนทำบุญให้ศาสนา ตนเชื่อว่าพระไชยบูลย์น่าจะยอมโอน และไม่ยอมสึกง่าย ๆ พระศรีปริยัติโมลี กล่าวว่าวันน ี้ได้นำพระธรรมทูต พร้อมครูบาอาจารย์ กรรมการโครงการ ธรรมทูตเข้าเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชฯ 70 คน เมื่อเวลา 14.30 น. ซึ่งพระสังฆราชทรงตรัสเป็นนัย ๆ ว่าให้คิดถึงประเด็นธรรมกายว่า พวกเราเหล่าพระสงฆ์ต้องถือธรรมะเป็นใหญ่ ไม่ยึดติดกับอำนาจลาภ ยศ เงินทอง สมณะศักดิ์ ต้องยอมเสียสละทุกอย่าง เพื่อให้ธรรมะเป็นใหญ่ แม้กระทั่งชีวิตก็ยอมเสียสละได้เพื่อธรรมะ สำหรับกรณีพระลิขิตนี้ แสดงออกชัดว่าครั้งแรกท่านออกพระลิขิตมาแล้ว แต่ไม่ยอมทำตามต้องออกมาอีกฉบับ เป็นนัยให้เห็นว่า ท่านอึดอัดพระทัย ไม่สบายใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกรรมการมหาเถรฯ และกรมการศาสนา ไม่จัดการเด็ดขาด และไม่คลี่คลายความสงสัยให้ประชาชน เป็นสิ่งไม่ถูกต้อง ควรเร่งให้จัดการให้ชัดเจน ไม่เช่นนั้นประชาชนสับสนแตกแยก พระสงฆ์แตกแยกเป็น 2 ฝ่าย บานปลายหนัก จริง ๆ แล้วกรรมการมหาเถรฯ น่าแสดงอะไรชัดเจน โดยพูดเอง จัดการเอง อย่างชัดเชน เช่นพระพรหมโมลี น่าจะมีการติดตามบังคับดูแลวัด แต่กลับ ไม่มีการดำเนินการเลยไม่มีผลอะไร ลอย ๆ ทั้งเรื่องการฝ่าฝืนพระธรรมคำสอน เรื่องที่ดินร้ายแรงทั้งนั้น ตั้งแต่ เจ้าคณะผู้ปกครอง เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัดมองเรื่องใหญ่เป็นเรื่องเล็ก จริง ๆ ไม่ใช่ ไม่ใช่ปล่อยปละละเลย ให้คาราคาซังอย่างนี้" รายงานข่าวจากมหาเถรฯ สมาคม เปิดเผยว่าในการประชุมหาเถรฯ ครั้งที่ผ่านมาสมเด็จพระสังฆราชฯไม่พอพระทัย เกี่ยวกับการยืดเยื้อ ในการแก้ปัญหาธรรมกาย โดยเฉพาะเรื่องที่ดิน ที่มีการดึงเรื่องและพยายาม จะให้กลายเป็นเรื่องใหญ่เกี่ยวพันกับวัดอื่นด้วย เพื่อให้เกิดปัญหา และหลังการประชุม สมเด็จพระสังฆราชฯ จึงทรงทำ พระลิขิตต่อท้ายพระลิขิตเดิม "เดลินิวส์"ยังได้รับโทรศัพท์ จากชาวพุทธจำนวนมาก ที่แสดงความยินด ีที่สมเด็จพระสังฆราช ทรงมีพระลิขิตแก้ปัญหาอย่างเด็ดขาด และกล่าวว่าหากกรมการศาสนา ไม่เร่งจัดการจะไปถล่มที่กรม และอยากรู้ว่ จะมีพระมหาเถระรูปใดจะอุ้มต่อไป ในวันเดียวกัน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คณะทำงานของกระทรวงศึกษาธิการทำรายงานเสนอแล้วว่า คำสอนของวัดพระธรรมกาย โดยเฉพาะในหนังสือพระแท้ ที่ใช้ในการตอบปัญหาธรรมะ ในงานวันเกิดพระไชยบูลย์ ขัดกับหลักศาสนาอย่างชัดเจน และจะเสนอให้พระพรหมโมลี เจ้าคณะภาคที่ 1 เพื่อให้พิจารณาให้เป็นไปตาม พระลิขิต ของสมเด็จพระสังฆราช ที่ทรงห่วงใยความมั่นคงของพระพุทธศาสนา ที่วัดพระธรรมกายมีการบิดเบือน ผิดเพี้ยน ไปจากพระไตรปิฎก ทำให้สงฆ์หลงเชื่อ เกิดความแตกแยก เป็นการทำลายพระศาสนา สำหรับคำสอน ผิดเพี้ยนมี 4 ประเด็นหลัก คือ1.การสอนเรื่องธรรมกายตั้งแต่หน้า 64 หน้า 68 และ 69 โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้า ทรงค้นพบ แล้วมีการอ้างว่าหายไปจนมีการค้นพบใหม่ ซึ่งปรากฎว่าเป็นการสอนผิดเพี้ยน จากพระไตรปิฎก ที่ในพุทธเถรวาท ไม่ถือธรรมกายเป็นเรื่องสำคัญ และมีการกล่าวถึงธรรมกายครั้งแรก และครั้งเดียว ในพระสูตรอย่างเป็นหลักการเท่านั้น โดยเป็นคำเรียกแทนพระนาม พระพุทธเจ้าในฐานะที่ทรง เป็นแหล่งรวม และเป็นที่ไหลออกมาแห่งธรรม ไม่ใช่ในฐานะวิชชาทางพุทธ 2.เรื่องปฐมมรรค ในหน้า 69-70 ที่วัดพระธรรมกายบัญญัติศัพท์ขึ้นมาเอง และอธิบายให้สับสน โดยอ้างว่า เป็นดวงใสอยู่กลางกาย และจะเป็นทางเข้าสู่การบรรลุธรรม ขั้นพระอรหันต์ 3.เรื่องอายตนนิพพานในหน้า 70 ที่ว่าเป็นที่อยู่ ของพระนิพพาน เป็นสถานที่ โดยจะดูดธรรมกายเข้าไปสู่ในนั้น โดยเมื่อพระพุทธเจ้าดับขันธ์ปรินิพพาน ก็ถูกอายตนนิพพาน ดูดเข้าไป ซึ่งโดยแท้ที่จริงคำว่าอายตนนิพพานไม่มีในภาษาบาลีอยู่เลย และมีแต่คำว่าอายตน ที่อธิบายภาวะดับทุกข์ ที่เรียกว่า"นิพพาน" และในการแปลความหมายคำว่า "อายตน"ก็ไม่ให้แปลความหมายว่า เป็นแดนทางรูปธรรม คือเป็นสถานที่ ไม่มีในพระพุทธศาสนา และคณะทำงานยังเสนอความเห็น ด้วยว่าถ้าเห็นแก ่พระธรรมวินัย ไม่ประสงค์จะทำให้กระทบกระทเือนต่หลักของพระพุทธศาสนา และเป็นความตรงไปตรงมา ก็น่าจะบอกว่าคำนี้ คิดค้นขึ้นมาเอง จากพระอาจารย์ที่สอนวิชชาธรรมกาย และถ้าจะให้ถูกต้องแท้จริง เมื่อเป็นพระก็ต้องสอน ให้ตรงตามพระธรรมวินัย เรื่องที่ 4 เรื่องบาปย่อมชำระล้างได้ด้วยบุญ ในหน้า 208-210 ว่าบุญหมายถึงความผ่องแผ้ว ความบริสุทธิ์ ความดีงาม ธรรมชาติเครื่องล้างกาย วาจา ใจ ให้ปราศจากมลทิน เหมือน้ำใสสะอดา ยอ่มีอานุภาพ ล้างสิ่งที่แปดเปื้อน เมื่อผู้ได้ก่อกรรมทำบาป หากสำนึกผิดก็จะต้องรีบล้างบาป โดยการหยุดทำบาป และสร้างบุญแทน เมื่อสั่งสมบุญมากขึ้น ๆ วิบากแห่งกรรมชั่วย่อมตามมาไม่ทัน การพูดเช่นน ี้คณะทำงาน ของกระทรวงศึกษาธิการเห็นว่า จะไปเหมือนกับศาสนาอื่นที่ล้างบาปได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ทำบาป ไม่เกรงกลัวความชั่ว ไม่มีในศาสนาพุทธ ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดปทุมธาน ีรายงานบรรยายกาศ จากวัดพระธรรมกายว่า ทางวัดพระธรรมกาย ได้มีการประชุมเตรียม จัดงานฉลองธรรมกายเจดีย์ ซึ่งขณะที่ประชุมกันอยู่นั้นได้มีพระลูกวัด เข้ามารายงาน ที่ประชุมให้ทราบว่า ทางสถานีโทรทัศน์ต่างๆ ได้นำเสนอข่าวพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช โดยได้ทรงแสดงความเห็น ถึงความผิด ของเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ต้องปาราชิก ซึ่งคณะกรรมการ ในที่ประชุม ได้มีการแสดงความคิดเห็นตรงกันว่า พระลิขิตของสมเด็จพระสังฆ์ราช ก็คือพระลิขิต ไม่มีอำนาจชี้ขาด และยังต้องมีขั้นตอน ต่างๆอีกมาก ดังนั้นวัดพระธรรมกาย ยังต้องคงอยู่ต่อไปอีกนาน ที่สำคัญวัดธรรมกาย ยังมีเจ้าคณะตำบล อำเภอ และกรรมการในเถรสมาคม อย่างไรเสียก็ต้องออก เป็นมติ จากมหาเถรสมาคมออกมาก่อน ขณะเดียวกัน ประดา ศิษยานุศิษย์ของวัดพระธรรมกาย เมื่อได้ทราบข่าว ของเจ้าอาวาสที่ตนเองศรัทธา ต่างโทรศัพท ์เข้ามาสอบถาม ไม่ขาดระยะ โดยเฉพาะนักข่าวจากสำนักต่างๆ ได้เดินทาง ไปรอทำข่าว อยู่บริเวณหน้าวัดพระธรรมกาย แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปภายในบริเวณวัด คงปักหลักรอทำข่าว ทามกลางสายฝน อยู่บริเวณ หน้าวัดพระธรรมกาย อ่านและศึกษาข้อมูลที่ http://www.facebook.com/thaihistory?sk=notes ข้อมูลเพิ่มเติมที่ http://topicstock.pantip.com/religious/topicstock/2008/08/Y6927126/Y6927126.html สรุปข้อมูลที่ http://www.thaiwashington.org/node/296 ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.alittlebuddha.com/html/The%20Vision%20of%20P.M.Narin/The%20Vision%20of%20Phramaha%20Narin%2078.html เดลินิวส์ 28/4/2543 พระธรรมโมลีรักษาการเจ้าคณะภาค 1 นายวิชัย ตันศิริ รมช.ศึกษาธิการ กล่าวภายหลังการเข้านมัสการสมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงคราม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง พร้อมด้วยนายไพบูลย์ เสียงก้อง อธิบดีกรมการศาสนา เพื่อสอบถามความคืบหน้าการดำเนินการแต่งตั้งเจ้าคณะภาค 1 เพื่อดำเนินการตามกฎนิคหกรรมกับวัดพระธรรมกายว่า สมเด็จพระมหาธีราจารย์แจ้งว่าพระเทพสุธี เจ้าอาวาสวัดสามพระยา รองเจ้าคณะภาค 1 ซึ่งรักษาการเจ้าคณะภาค 1 ได้ทำหนังสือขอลาออกจากการรักษาการเจ้าคณะภาค 1 อย่างเป็นทางการตั้งแต่เมื่อวันที่ 26 เม.ย. เนื่องจากเห็นว่าคณะผู้พิจารณาชั้นต้นยังไม่ครบองค์ประชุมเพราะจากการทาบทามเจ้าคณะจังหวัดในภาค 1 แล้วก็ตอบปฏิเสธกลับมาทุกรูป ซึ่งสมเด็จพระมหาธีราจารย์ได้ขอเวลาอีก 2-3 วัน ในการพิจารณาแต่งตั้งรักษาการเจ้าคณะภาค 1 รูปใหม่ รมช.ศึกษาธิการกล่าวว่า เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นครบองค์ประชุมเชื่อว่า น่าจะสามารถดำเนินการตามกระบวนการนิคหกรรมได้ทันที ไม่ต้องรอเรียกเจ้าอาวาสและรองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายมารับทราบข้อกล่าวหาอีก เนื่องจากเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานีได้เรียกมารับทราบข้อกล่าวหาหลายครั้งแล้ว แต่ไม่มาถือว่าเป็นการแสดงเจตนาที่จะขัดคำสั่งเจ้าคณะผู้ปกครองชัดเจนอยู่แล้ว ด้านอธิบดีกรมการศาสนา กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้การดำเนินการตามกฎนิคหกรรมล่าช้า เพราะกฎมหาเถรสมาคมระบุว่าหากตำแหน่งเจ้าคณะภาคว่างลงรองเจ้าคณะภาค จะต้องรักษาการแทนไปก่อน ดังนั้นเมื่อเจ้าคณะภาค 1 ว่าง รองเจ้าคณะภาค 1 ก็ต้องขึ้นมารักษาการแทนทำให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้นกรณีวัดพระธรรมกายซึ่งต้องประกอบด้วย เจ้าคณะภาค 1 รองเจ้าคณะภาค 1 และเจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี ไม่ครบองค์ประชุม เพราะฉะนั้นการที่พระเทพสุธียื่นใบลาออกจากการรักษาการเจ้าคณะภาค 1 ก็เป็นเรื่องที่ดีที่เจ้าคณะใหญ่หนกลางจะแต่งตั้งรักษาการเจ้าคณะภาค 1 รูปใหม่ ซึ่งจะเป็นรูปใดก็ได้ที่มีความเหมาะสมขึ้นมาเพื่อใหัครบองค์ประชุม ซึ่งจะสามารถดำเนินการตามกฏนิคหกรรมกับพระวัดพระธรรมกายได้ทันที ขณะเดียวกันมีรายงานข่าวจากวัดชนะสงครามแจ้งว่า สาเหตุที่พระเทพสุธี เจ้าอาวาสวัดสามพระยาขอลาออกจากตำแหน่งรักษาการเจ้าคณะภาค 1 เนื่องจากว่าไม่สามารถดำเนินการสรรหาเจ้าคณะจังหวัดมาร่วมเป็นองค์ประชุม ในการดำเนินการตามกระบวนการนิคหกรรมนายไชยบูลย์ สุทธิผล เจ้าลัทธิธรรมกายกับพระเผด็จ ทัตตชีโว รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายได้ รวมทั้งท้อแท้กรรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กันก่อนหน้าที่จะรับตำแหน่งรักษาการว่าไร้ความสามารถ คดีวัดพระธรรมกายคงไม่มีความคืบหน้าด้วย รายงานยังแจ้งด้วยว่า ขณะนี้สมเด็จพระมหาธีราจารย์ เจ้าอาวาสวัดชนะสงครามและเจ้าคณะใหญ่หนกลาง ได้ติดต่อทาบทางผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่ง รักษาการเจ้าคณะภาค 1 เรียบร้อยแล้ว ซึ่งได้แก่ พระธรรมโมลี เจ้าคณะภาค 15 และเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม ซึ่งพระราชาคณะรูปดังกล่าวนี้มีนิสัยตรงไปตรงมาเหมือนกับสมเด็จพระมหาธีราจารย์มาก และในอดีตก็เคยเป็นพระสงฆ์ในปกครองด้วยเคยจำวัดอยู่คณะ 10 ในวัดชนะสงครามมาก่อน ส่วนเหตุที่ต้องให้มารักษาการเจ้าคณะภาค 1 นั้นเนื่องจากต้องรอให้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าคณะภาค 15 ก่อน อย่างไรก็ดีหลายฝ่ายเชื่อว่ากรณีปัญหาวัดพระธรรมกายจะมีความคืบหน้าอย่างแน่นอน สำหรับประวัติของพระธรรมโมลี (สมศักดิ์ อุปสโม)นั้น จบเปรียญธรรม 9 ประโยค เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2484 ณ ตำบลปางจั่น อ.นครหลวง พระนครศรีอยุธยา อุปสมบทเมื่อปี 2504 ที่วัดละมุด อยุธยา โดยมีพระครูนครวิหารคุณ (ฟัก) วัดบันไดเป็นพระอุปัชฌาย์ ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม เป็นเจ้าคณะภาค 15 เป็นรองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาลีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม ที่กองปราบปราม เมื่อเวลา 14.00 น. พล.ต.ท.ล้วน ปานรศทิพ ผบช.ก.ในฐานะพนักงานสอบสวนคดีวัดพระธรรมกาย ได้เรียก พล.ต.ต.วันชัย ศรีนวลนัด รอง ผบช.ก. พล.ต.ต.ปานศิริ ประภาวัตร ผู้ช่วย ผบช.ก. และพนักงานสอบสวนในคดีเข้าประชุมนานประมาณ 3 ชั่วโมงในการประชุมครั้งนี้มีการพิจารณาประเด็นของ สีกา ส.ที่พนักงานสอบสวนพบว่า มีการโอนเงินจากวัดพระธรรมกายเป็นเงินจำนวนกว่า 700 ล้านบาท เนื่องจากมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะขออนุมัติออกหมายจับได้ หลังจากนั้น พล.ต.ท.ล้วน ได้เปิดเผยว่า ได้สอบถามถึงรายละเอียดที่ได้มอบหมายให้พนักงานสอบสวนไป โดยพยานหลักฐานสามารถรวบรวมได้จำนวนหลายอย่าง แต่ไม่สามารถบอกได้ สำหรับการตรวจสอบบัญชีของสีกาที่เกี่ยวข้องนั้น บางส่วนก็ชัดเจน บางส่วนก็ไม่ชัดเจน ซึ่งต้องหาหลักฐานเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามในสัปดาห์หน้าจะมีการดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดแน่นอน มีรายงานด้วยว่า ในการประชุมครั้งนี้พนักงานสอบสวนเตรียมตัวออกหมายจับผู้เกี่ยวข้องอีก 3 คน. อ่านที่ http://rabob.tripod.com/daily493.htm ข้อมูลสรุป คดีการเมืองเรื่องธรรมกาย ก่อนอื่นต้องขอแสดงความดีใจกับพระราชภาวนาวิสุทธิ์ หรือหลวงพี่ธัมมชโย ผู้ก่อตั้งวัดพระธรรมกายให้ยิ่งใหญ่เป็นหนึ่งในโลก กับการที่ทางอัยการสูงสุดได้ยื่นคำร้องต่อศาลอาญา"ขอถอนฟ้องพระธัมมชโย" ซึ่งต้องคดีอาญามาจากปี พ.ศ.2542 และนับจากวันที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เดินทางไปปาฐกถาที่วัดพระธรรมกาย เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม คือเดือนก่อน ถึงวันนี้ (22 สิงหาคม) ก็แค่ 35 วันเอง เห็นผลทันตายิ่งกว่าต้มมาม่า วันที่ศาลอาญาได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าคำร้องขอมีเหตุผลพอเพียง จึงสั่งจ่ายคดีพระธัมมชโยออกจากสารบบ ปลดพันธนาการอันทุกข์ทรมานของท่านธัมมชโยซึ่งแทบจะเรียกว่า "ศึกหนักที่สุดในชีวิต" นี้ออกไป ต่อไปวัดพระธรรมกายก็คงจะเดินหน้าไปตามเป้าหมายหรืออุดมการณ์ที่วางไว้ ซึ่งสังคมไทยก็ต้องจับตาต่อไปว่า การตัดสินใจถอนฟ้องของอัยการสูงสุดครั้งนี้จะเป็นผลดีหรือผลร้ายต่อคณะสงฆ์ไทย ซึ่งต้องให้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ การที่ศาลอาญาพิจารณาให้ "ถอนฟ้อง" ได้ในครั้งนี้ นับเป็นกรณีที่แปลกประหลาด เพราะว่าเป็นการขอถอนฟ้องโดยผู้ฟ้องคืออัยการสูงสุด ซึ่งอัยการสูงสุดได้บอกเหตุผลแก่ศาลว่า เหตุที่ต้องขอถอนฟ้องพระธัมมชโยนั้น เพราะ 1. พระธัมมชโยได้คืนเงินให้แก่ทางวัดพระธรรมกายครบถ้วนทุกบาททุกสตังค์แล้ว ถือว่าได้ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จึงไม่มีเหตุผลที่จะฟ้องร้องเอาผิดอีกต่อไป 2. เรื่องพระธรรมคำสอน ได้รับความคิดเห็นสนับสนุนจากผู้รู้และมียศตำแหน่งในทางพระพุทธศาสนาสำคัญ 3 ท่าน คือ 1.อธิบดีกรมการศาสนา 2.ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 3.เจ้าคณะภาค 1 ซึ่งทั้งสามท่านยืนยันว่า พระธัมมชโยมิได้สอนสั่งนอกพระไตรปิฎกแต่อย่างใด ทั้งจำเลยยังได้ช่วยเหลือกิจการคณะสงฆ์ไทยเป็นอันมาก ทั้งในด้านการศึกษา การเผยแผ่ และสาธารณูปการ รวมทั้งการสาธารณสงเคราะห์ด้วย ซึ่งผลงานของวัดพระธรรมกายนั้นเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล มิใช่เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น 3. ถ้าฟ้องร้องต่อไปให้สิ้นสุดกระบวนการ ก็จะเป็นการสร้างความแตกแยกในศาสนจักรและประชาชนคนไทยในชาติ นั่นเป็นเหตุเป็นผลที่ทางอัยการสูงสุดได้สืบเสาะหาในการอ้างต่อศาลเพื่อขอถอนฟ้องพระธัมมชโย ซึ่งก็เป็นการประจานตัวเองของอัยการว่า "นอกจากจะดำรงตำแหน่งอัยการแล้ว ยังรับจ็อบเป็นทนายช่วยแก้ต่างให้แก่พระธัมมชโยอีกต่างหากด้วย" และต่อไปนี้เป็น "มุมมองของพระมหานรินทร์" ต่อประเด็นที่อัยการขอถอนฟ้อง ประมวลเหตุผลที่อัยการได้อ้างมานั้น เราท่านจะเห็นว่า เป็นเหตุผลที่น่าฟัง แต่ก็ยังไม่สนิทใจ ก่อนอื่นต้องขอพูดคุยในเรื่องอำนาจหน้าที่ของอัยการเสียก่อน อัยการมีอำนาจหน้าที่ในการ "ยื่นฟ้อง" หรือ "สั่งฟ้อง" ต่อศาล เมื่อเห็นว่าจำเลยมีความผิดจริงตามหลักฐานพยานที่ปรากฏ แต่การยื่นหรือสั่งฟ้องต่อศาลของอัยการนั้น จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์หาเหตุผลว่ามีน้ำหนักเอาผิดจำเลยได้หรือไม่ ซึ่งเมื่อเห็นว่าจำเลยทำผิดจริง มีหลักฐานพยานชัดเจน และเข้าข่ายคดีอาญา อัยการก็จะทำเรื่อง "สั่งฟ้อง"หรือ "ยื่นฟ้อง" ต่อศาล เพื่อขอให้พิจารณาตัดสินคดี และเมื่อยื่นฟ้องไปแล้ว ก็จะเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลอาญาจะพิจารณาไต่สวนประมวลความผิดและตัดสินลงโทษหรือยกโทษให้แก่จำเลยซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับการหักล้างกันในชั้นศาลเป็นประการสุดท้ายด้วย นั่นเป็นนิยามของคำว่า "สั่งฟ้อง" หรือ "ยื่นฟ้อง" แต่สำหรับคดีพระธัมมชโยครั้งนี้ อัยการมีคำสั่งฟ้องหรือยื่นฟ้องไปนานแล้ว กำลังอยู่ในระหว่างสืบพยานในศาลซึ่งทราบว่าเหลือพยานอีกเพียง 2 ปาก คดีก็จะสิ้นสุดในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้แล้ว ทว่า ก่อนที่คดีจะเดินทางไปจนสิ้นสุดกระบวนการอยู่แล้ว จู่ๆ อัยการก็ยื่นคำร้องต่อศาลอาญาว่า "ขอถอนฟ้อง" ซึ่งมิใช่การสั่งไม่ฟ้อง ตรงนี้ดูให้ดีนาท่านผู้อ่าน พระธัมมชโยนั้นถูกฟ้องโดยอัยการสูงสุดไปหลายปีดีดักแล้ว เพราะตอนนั้นอัยการพิจารณาจากพยานหลักฐานทุกประการแล้ว ก็ประชุมกันลงมติว่า "สมควรฟ้องศาลเพื่อเอาผิดพระธัมมชโย" แต่ต่อมา เมื่อดำเนินคดีไปได้หลายปีจวนจะจบแล้ว อัยการเกิดกลับใจกลับไปบอกศาลเสียใหม่ว่า "ไม่ติดใจเอาความกับพระธัมมชโยแล้ว" ตามเหตุผลที่ได้ยกมาอ้างข้างต้น ดังนั้น การถอนฟ้อง จึงมิใช่การไม่ฟ้อง หากแต่เป็นการไม่ฟ้องโดยได้ฟ้องไปแล้ว การถอนฟ้องพระธัมมชโยในครั้งนี้ มิใช่การตัดสินจากศาลอาญาว่า "พระธัมมชโยไม่ผิด"หากแต่เป็นการรอมชอมของอัยการก่อนศาลจะตัดสิน ซึ่งถ้าหากอ่านตามรูปการที่ว่า "คดีอาญายอมความไม่ได้" การถอนฟ้องครั้งนี้ก็ต้องนับว่าเป็นคดีมหัศจรรย์ หรือคดีทรงอิทธิพลแห่งยุคทีเดียว นั่นเป็นบทบาทและหน้าที่ของอัยการสูงสุด และทีนี้ก็จะเข้าสู่ข้ออ้างในการขอถอนฟ้องของอัยการ 3 ข้อข้างต้น ตามข้อแรกนั้น อัยการอ้างต่อศาลว่า "พระธัมมชโยได้คืนเงินให้แก่ทางวัดพระธรรมกายครบถ้วนทุกบาททุกสตังค์แล้ว ถือว่าได้ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก จึงไม่มีเหตุผลที่จะฟ้องร้องเอาผิดอีกต่อไป" ตรงนี้มีข้อวินิจฉัยใน 2 ประเด็น คือ 1. การที่พระธัมมชโยได้เบียดบังเงินวัดไปจัดซื้อจัดจ้างเป็นการส่วนตัวนั้นผิดกฎหมายหรือไม่ ซึ่งครั้งแรกนั้นอัยการได้วินิจฉัยว่า "ผิด" จึงสั่งฟ้อง แต่เมื่อฟ้องไปได้เกือบสิ้นสุดคดีความแล้ว อัยการกลับอ้างว่า "พระธัมมชโยได้คืนเงินให้แก่วัดแล้วทุกบาททุกสตังค์ จึงไม่น่าจะฟ้องเพื่อเอาผิดอีก" เหตุผลก็คือ เพราะคืนเงินที่โกงมานั้นแล้ว ข้อสงสัยในประเด็นนี้ก็คือว่า ถ้าอัยการเห็นว่าการโกงเงินวัดนั้นเป็นความผิด เมื่อพระธัมมชโยได้โกงไป ก็แสดงว่าได้กระทำความผิดไปแล้ว แล้วอัยการก็สั่งฟ้อง แต่ตอนหลังพระธัมมชโยได้ขอไถ่โทษโดยการ "คืนเงินวัด"คำถามจึงมีว่า เมื่อมีการทำผิดนั้นครบถ้วนสมบูรณ์แล้วถือว่าเป็นความผิดหรือไม่ ? และการคืนเงินให้แก่วัดพระธรรมกายถือว่าเป็นการไถ่ถอนความผิดได้หรือไม่ ? ยกตัวอย่างเช่นว่า ถ้ามีการปล้นธนาคารแห่งหนึ่ง ซึ่งโจรได้เงินไป 10 ล้านบาท ตอนหลังโจรถูกจับได้ และถูกส่งฟ้องศาลในคดีอาญา ต่อมาโจรนั้นสำนึกผิด ได้นำเอาเงินมาคืนให้แก่เจ้าทุกข์คือธนาคาร และอัยการก็เห็นว่าจำเลยได้คืนเงินแล้ว จึงเห็นสมควรถอนฟ้องต่อศาลอาญา การกระทำเช่นนี้มีเหตุผลสมกันในวิจารณญาณของอัยการสูงสุดหรือไม่ ? ซึ่งตรงนี้ ถ้าศาลยินยอมให้ถอนคดีออกไปได้ ก็ถือเป็นมาตรฐานได้ว่า ต่อไปถ้ามีพระรูปไหนโกงเงินวัดไป แล้วถูกดำเนินคดี ก็แก้ตัวง่ายๆ เพียงหาเงินมาคืนให้ อัยการสั่งไม่ฟ้อง หรือถอนฟ้อง ศาลก็สั่งปล่อยตัว ก็หมดมลทิน และอาจจะนำไปเทียบเคียงกับคดีโกงอื่นๆ ได้ด้วย โดยไม่ต้องมีการปรับไหมอะไรทั้งสิ้น 2. อัยการอ้างอิงพาดพิงถึงพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทรงมีพระสังฆราชวินิจฉัยไว้เป็น 2 ประเด็น คือ 2.1 พระธัมมชโยได้สอนสั่งพระธรรมวินัยระบุว่า พระไตรปิฎกบกพร่อง ก่อให้เกิดความแตกแยกในคณะสงฆ์เป็นสองฝ่าย ถือเป็นการทำลายพระพุทธศาสนา เป็นอนันตริยกรรม 2.2 การเบียดบังทรัพย์สินของวัดไปเป็นสมบัติส่วนตัว พระธัมมชโยถ้าหากไม่มีเจตนาจะลักขโมยก็ต้องรีบคืนทรัพย์สินให้แก่วัดพระธรรมกายในทันทีเพื่อแสดงความบริสุทธิ์ มิเช่นนั้นก็เข้าข่ายอาบัติปาราชิกข้อที่ 2 ต้องสิ้นสุดจากความเป็นพระ ซึ่งตามประเด็นในพระลิขิตทั้งสองข้อนั้นก็แบ่งออกเป็นสองส่วน คือส่วนที่เกี่ยวกับการทำลายพระธรรมคำสอน เป็นการสร้างความแตกแยกในคณะสงฆ์ ที่เรียกว่าสังฆเภท เป็นโทษขั้นอนันตริยกรรม ระดับเดียวกับข้อหาหนักอื่นๆ คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ และทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงเสียพระโลหิต พระธัมมชโยโดนคดีทางพระธรรมวินัยในข้อนี้ ซึ่งนับว่าสาหัสมาก ซึ่งส่วนที่เกี่ยวกับพระธรรมวินัยในข้อนี้ ต้องชี้ว่า "มิใช่อำนาจหน้าที่ของอัยการจะยื่นฟ้องต่อศาล" หากแต่เป็นอำนาจของ "ศาลสงฆ์" เท่านั้น ที่จะต้องพิจารณาไต่สวน ซึ่งคณะสงฆ์ได้ อ่านละเอี่ยดที่ http://www.alittlebuddha.com/html/The%20Vision%20of%20P.M.Narin/The%20Vision%20of%20Phramaha%20Narin%2078.html

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ4 มีนาคม 2555 เวลา 21:33

    เมื่อไรจะมีใครจัดการเด็ดขาด กับพวกลวงโลกนี้ ให้มันพ้นไปจากวงการศาสนาพุทธเสียที

    ตอบลบ
    คำตอบ
    1. ดำเนินการอยู่ครับ ข้อมูลที่ http://www.facebook.com/photo.php?fbid=338151649564277&set=a.258806637498779.62591.161446187234825&type=3&theater

      ลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ4 เมษายน 2555 เวลา 05:49

    สาธุ ...ขอเอาใจช่วยให้ประสปความสำเร็จ รอยด่างดำในพุทธศาสนาจะได้สะอาดเสียที

    ตอบลบ
  3. ขออนุโมทนา ในกำลังใจและความคิดที่เป็นกุศลครับ ชาวไทยต้องช่วยกันครับ ในเมื่อเขากล้าทำกับสถาพระศาสนา เราก็กล้าที่จะตรวจสอบในความเป็นธรรม

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ12 สิงหาคม 2555 เวลา 06:24

    เรื่องคืบหน้าไปถึงใหนแล้วคะ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ