จารึกประวัติศาสตร์ อริยสงฆ์ของชาติไทย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชประวัติศาสตร์ความมั่นคงพระศาสนา
หลักธรรมสำคัญ
ของ พระพุทธศาสนา พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วันพฤหัสบดีที
๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๖ พระองค์เข้าพระนิพพานแล้ว ชาวไทยควรศึกษาข้อมูล จากนี้ไปชาติไทยไม่มี สมเด็จพระสังฆราช เช่นพระองค์อีกแล้ว
ครูอาจารย์จะอยู่ในที่ห่างไกลจากกรุงเทพ ไปทางอีสาน สมเกียรติ
กาญจนชาติ บันทึก)
นิพพานมี ๒
ขอให้ท่านทั้งหลายตั้งใจฟัง นั่งสำรวมกาย วาจา ใจ ทำสมาธิในการฟัง
จะแนะนำให้รู้จักพุทธศาสนาเรื่องนิพพานสืบต่อไปอีก
นอกจากที่มาเรื่องนิพพานในบาลีที่ยกขึ้นมากล่าวแล้วนั้น
ก็ยังมีพระบาลีที่แสดงนิพพานอีกหลายแห่ง จะยกที่ใช้แสดงกันเป็นส่วนมาก ในบาลีอีกแห่งหนึ่งได้แสดงถึงนิพพานสอง
คือ สอุปาทิเสสนิพาน
นิพพานที่ยังมีอุปาทิเหลือ
อนุปาทิเสสนิพาน
นิพพานที่ไม่มีอุปาทิเหลือ
มีอธิบายที่เข้าใจกันโดยทั่วไปตามที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า
กรมพระยาวชิรญาณวโรรสได้ทรงแสดงอธิบายไว้ในธรรมวิภาคปริเฉทสอง โดยความว่า นิพพานของพระอรหันต์ที่ยังมีเบญจขันธ์
๕ ยังเหลืออยู่ คือยังดำรงชีวิตอยู่เรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน
ส่วนนิพพานของพระอรหันต์ ผู้ดับขันธ์คือสิ้นชีวิตเรียนว่า อนุปาทิเสสนิพพาน
นิพพานในที่นี้จึงหมายถึงความดับกิเลสสิ้นเชิง
ท่านผู้ดับกิเลสสิ้นเชิงนั้นเรียกว่า พระอรหันต์ พระขีณาสพ พระพุทธเจ้า
ก็ได้ทรงเป็นผู้ดับกิเลสสิ้นเชิง ทรงเป็นพระอรหันต์ ดังที่เราสวดกันว่า อรหัง
สัมมาสัมพุทโธ ทรงเป็นพระขีณาสพ คือสิ้นอาสวกิเลสทั้งหมด
และบุคคลทั้งหลายที่ได้ฟังธรรมคำสอนของพระองค์
บรรลุถึงความสิ้นกิเลสทั้งหมดก็เรียกว่าพระอรหันต์ พระขีณาสพ
ดังที่มีประวัติแสดงถึงพระสาวกมีพระเบญจวัคคีย์ พระกัสสป พระสารีบุตร
พระโมคคัลลานะ เป็นต้น ซึ่งบรรลุถึงความสิ้นกิเลส เป็นพระอรหันต์ พระขีณาสพ
ในพุทธศาสนา ท่านผู้สิ้นกิเลสทั้งหมดนี้ เมื่อบรรลุถึงความสิ้นกิเลสดังเช่น
พระพุทธเจ้าทรงบรรลุถึงความสิ้นกิเลส เมื่อตรัสรู้พระธรรมในราตรีที่ตรัสรู้นั้น
ก็ชื่อว่าได้บรรลุสอุปาทิเสสนิพพาน เพราะว่ายังมีชีวิตอยู่
เหมือนดั่งพระพุทธเจ้าก็ยังได้ทรงดำรงพระชนมชีพอยู่ประกาศพุทธศาสนาสืบต่อไปอีกถึง
๔๕ ปี เมื่อได้เสด็จดับขันธ์ในที่สุดคือความสิ้นชีวิตก็ชื่อว่าได้บรรลุ
อนุปาทิเสสนิพาน ดังที่เรียกว่า เสด็จดับขันธปรินิพพาน พระอรหันต์ทั้งหลายเมื่อได้ดำรงชีวิตอยู่ก็ชื่อว่าได้บรรลุสอุปาทิเสสนิพพาน
เมื่อท่านถึงความสิ้นชีวิตจึงชื่อว่าได้บรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน
ดังที่เรียกว่านิพพาน ฉะนั้น คำว่านิพพานนี้จึงเป็นคำใช้ที่หมายถึงพระอรหันต์ทั้งหลาย เมื่อท่านดับขันธ์คือถึงความสิ้นชีวิต
เรียกว่า นิพพานอีกด้วย คือหมายความอย่างสามัญว่าตาย
คล้ายกับถ้อยคำที่ใช้หมายถึงตายของบุคคลทั้งหลายในโลกที่ใช้ต่างๆกัน
ทั่วไปก็ใช้ว่าตาย ถึงแก่กรรม ทำกาลกิริยา และยังมีคำบัญญัติ
สูงต่ำ เช่น ถึงอนิจกรรม ถึงอสัญกรรม สิ้นพระชนม์ ทิวงคต สวรรคต
แต่สำหรับพระสงฆ์ก็เรียกว่าถึงมรณภาพ เมื่อเป็นพระอรหันต์ก็ใช้ว่านิพพาน
ดังเช่นพระพุทธเจ้าเองเสด็จนิพพาน หรือปรินิพพาน หรือเสด็จดับขันธปรินิพพาน
พระสาวกก็เรียกว่า นิพพาน เช่น พระสารีบุตรนิพพาน พระโมคคัลลานะนิพพาน
ในขั้นนี้ก็หมายเอาอนุปาทิเสสนิพพาน นิพานที่ไม่มีอุปาทาน แต่ว่าพระอรหันต์
นั้นสิ้นอุปาทานคือความยึดถือแล้ว จึงใช้คำให้ต่างกันว่า “อุปาทิ” คือหมายถึงขันธ์ ๕ โดยเฉพาะ
เมื่อดับกิเลสทีแรกขันธ์ ๕ ยังดำรงอยู่ก็ชื่อว่าบรรลุสอุปาทิเสสนิพาน ดับขันธ์คือขันธ์แตกสลายที่เรียกว่าตายในที่สุด
ก็เป็นอันบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน
แต่ยังมีอธิบายอย่างอื่นอีก ในคัมภีร์ขั้นพระบาลีเองมีอธิบายโดยความว่า
พระอรหันต์ที่ดับกิเลสยังมีอินทรีย์ ๕ ยังมี เวทนา คือยังเสวยสุข เสวยทุกข์
หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขอยู่ เรียกว่าสอุปาทิเสสนิพพาน
ส่วนพระอรหันต์ผู้ดับกิเลสแล้วไม่มีอินทรีย์ ๕ ดับอินทรีย์ ๕ เสียอีกด้วย
ดับเวทนาคือความ เสวยสุข เสวยทุกข์ หรือเป็นกลางๆ ไม่ทุกข์ไม่สุขเสียด้วย เรียกว่า
อนุปาทิเสสนิพพาน จึงมีปัญหาว่า ข้อว่าดับอินทรีย์ ๕ ดับเวทนานั้นหมายถึงอะไร
อาจจะหมายถึงการเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ คือเข้าสมาบัติอันหมายถึงสมาธิอย่างลึกซึ้งแนบแน่นจนถึงขั้นดับสัญญาเวทนาก็ได้
ในขณะที่เข้านิโรธสมาบัติข้อนี้ก็ดับอินทรีย์ ๕ ดับเวทนาทั้งหมด
ถ้าหมายอย่างนี้ก็เรียกในขณะที่พระอรหันต์เข้านิโรธสมาบัตินี้ว่า อนุปาทิเสสนิพาน
อีกอย่างหนึ่งหมายถึงดับขันธ์ คือขันต์ ๕ แตกทำลายที่เรียกว่าตายก็ดับอินทรีย์ ๕
ดับเวทนาหมด ถ้าหมายอย่างนี้ก็มีความหมายอันเดียวกันกับที่กล่าวมาข้างต้น อีกแห่งหนึ่งอธิบายสอุปาทิเสสถึงความดับกิเลสของพระอริยบุคคลชั้นต่ำ
ตั้งแต่พระโสดาบันขึ้นมาถึงพระอนาคามี
คือพระอริยบุคคลชั้นต่ำเหล่านี้ดับกิเลสได้บางส่วนยังไม่สิ้นเชิงยังมี่กิเลสเหลืออยู่
ดังเช่นเมื่อยกเอาสังโยชน์ ๑๐ ขึ้นแสดง พระโสดาบันละสังโยชน์ได้สาม
พระสกทาคามีก็ละสังโยชน์ได้สามแต่ว่าทำ ราคะ โทสะ โมหะ ให้เบาบางลง
พระอนาคามีละสังโยชน์ได้ ๕ ฉะนั้น จึงยังมีสังโยชน์เหลืออยู่ที่ยังไม่ละไม่ได้
พระโสดาบันก็บังเหลืออยู่ถึงอีก ๗ พระสกทาคามียังเหลืออยู่ถึงอีก ๗
แต่ว่าบ้างข้อก็เบาบางลงไป ส่วยพระอนาคามีนั้นยังเหลืออยู่อีก ๕
ความดับกิเลสของท่านเรียกว่า สอุปาทิเสสนิพพาน ความดับกิเลสที่ยังมีอุปาทิเหลือ
ส่วนการดับกิเลสของพระอรหันต์นั้นดับได้สิ้นเชิงไม่มีเหลือ
เพราะว่าละสังโยชน์ได้หมด เพราะฉะนั้นจึงเรียกว่า อนุปาทิเสสนิพพาน
ความดับกิเลสที่ไม่มีอุปาทิเหลืออยู่ เมื่ออธิบายอย่างนี้อุปาทิจึงหมายถึงกิเลส
เช่น สังโยชน์ เป็นต้น เมื่อดับกิเลสยังไม่หมดยังมีเหลืออยู่ก็เป็นสอุปาทิเสส
ดับได้หมดไม่มีเหลือเป็นอนุปาทิเสส แม้ว่าท่านจะดำรงชีวิตอยู่ก็เรียกว่าอนุปาทิเสสได้
เพราะว่ามุ่งถึงดับกิเลสเท่านั้น
ดับกิเลสได้ทั้งหมด เมื่อใช้ในความหมายว่าดับกิเลสสิ้นเชิง
ดัลกิเลสได้ทั้งหมด
เมื่อใช้ในความหมายว่าดับกิเลสสิ้นเชิงดับกิเลสทั้งหมดนิพพานจึงเป็นบรมธรรม
ธรรมอย่างยิ่ง เป็นบรมสัจจะ สัจจะอย่างยิ่ง ในพุทธศาสนาดังกล่าวมา
อนึ่ง ความหมายของคำว่านิพพานที่ใช้ในพุทธศาสนาเองยังมีใช้ผ่อนคลายลงมา
คือผ่อนคลายลงมาถึงความดับกิเลสได้บางส่วนก็เรียกว่านิพพานได้
ได้แก่การดับกิเลสของพระโสดาบัน พระสกทาคามี และพระอนาคามีดังที่กล่าวมาในอธิบายของนิพพาน
นัยที่ ๒ ที่ ๓ นั้นแล้ว อนึ่ง ยังได้ใช้ผ่อนคลายมาถึงนิพพานฌานอีกด้วย
คือหมายถึงว่า เมื่อทำสมาธิจนได้สมาธิที่แนบแน่นเป็นอัปปนาสมาธิเข้าฌาน
อำนาจของสมาธินี้ก็ดับกิเลสให้สงบลงไปได้ชั่วคราวเหมือดั่งหินทับหญ้า
ในขณะที่ก้อนหินยังทับหญ้าอยู่หญ้าก็ไม่งอก เมื่อยกก้อนหินนั้นออกแล้วหญ้าก็งอกได้
ฉันใดก็ดี เมื่อออกจากสมาธินั้นกิเลสก็กลับเกิดได้ ในขณะที่เข้าสมาธิถึงขั้นอัปปนา
คือแนบแน่นนี้ก็มี เรียกว่านิพพานได้ เรียกย่อๆ เพื่อเข้าใจง่ายว่านิพพานฌาน หรือแม้ปฎิบัติทางปัญญากำหนดทำความรู้กิเลสที่บังเกิดขึ้นในใจ เมื่อ ราคะ
โทสะ โมหะ บังเกิดขึ้น และทำความรู้ว่า ราคะ โทสะ โมหะ
ที่บังเกิดขึ้นนี้ทำให้ก่อกรรมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นให้เดือดร้อน
เป็นไปเพื่อดับปัญญาคือความรู้ประโยชน์ตนประโยชน์ผู้อื่น
ดับความรู้ประโยชน์ทั้งสอง เมื่อกำหนดพิจารณา ไปดั่งนี้ ราคะ โทสะ โมหะก็ดับสงบ
ก็มีความรู้ว่า ความดับสงบราคะ โทสะ โมหะ นี้ ไม่เป็นไปเพื่อก่อกรรม
เพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นดั่งนั้น
ไม่เป็นไปเพื่อดับปัญญาดั่งนั้นความรู้ความเห็นที่บังเกิดขึ้นนี้
แม้ในขณะที่กำลังพิจารณาอยู่นี้ก็เรียกว่าเป็น สันทิฎฐิโก ธัมโม
ธรรมที่บุคคลพึงปฎิบัติเห็นเอง เรียกว่า สันทิฎฐิกนิพพาน
นิพพานที่บุคคลพึงปฎิบัติเห็นเองดั่งนี้
แม้ข้อนี้ก็มีพระบาลีแสดงไว้ดั่งนี้ และก็แสดงเป็นกลางๆ ไม่จำกัดว่า
ความรู้ความเห็นความดับความสงบดังกล่าวเป็นไปอย่างสมบูรณ์สิ้นเชิง
หรือว่าไม่สมบูรณ์สิ้นเชิงก็ได้ เป็นไปอย่างเด็ดขาด คือเมื่อสงบเมื่อดับลงไปแล้วก็เป็นอันดับอันสงบไปเลยไม่กลับเกิดขึ้นอีก
หรือว่าเป็นไปอย่างชั่วคราวแบบหินทับหญ้าดั่งกล่าวนั้น ไม่มีแสดงจำกัดเอาไว้
ฉะนั้น จึงเป็นที่เข้าใจว่าแม้นิพพานปํญญาคือความดับความสงบที่เกิดขึ้นด้วยปํญญา
พิจารณาดังกล่าวนั้นก็เรียกว่านิพพานได้ นิพพานฌาน นิพพานปํญญา
อันหมายถึงว่าเป็นความดับได้บางส่วน เป็นความดับได้ชั่วคราวดั่งนี้ มีคำเรียกว่า
ตทังคนิพาน แปลว่านิพพานด้วยองค์อันนั้น คือดับด้วยฌาน สมาธิ
หรือว่าด้วยปัญญาข้อนั้นอันเป็นของชั่วคราว พึงเข้าใจว่าแม้ทางพุทธศาสนาเอง
คำว่านิพพานก็ผ่อนใช้ลงมาได้ดั่งนี้.
( วันที่
๒ กันยายน ๒๕๑๘ )
ต้องศึกษาขบวนการทำลายสถาบั นพระศาสนา ประจักษ์แจ้งที่ ศึกษาข้อมูล วิทยานิพนธ์ด้านความมั่นคงส ถาบันพระศาสนา ข้อมูลที่ https://docs.google.com/ file/d/ 0B_nOh0gPsWNSUkVWRG9aQ3pkbm c/edit
ต้องศึกษาขบวนการทำลายสถาบั
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ