ประวัติศาสตร์ การสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช และอำนาจกรรม


ประวัติศาสตร์ การสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช มาตรา 7 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง
ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช  ชาวพุทธต้องติดตามผู้ใดบุญบามีไม่ถึงจะเป็นเช่นไร ?
เราขอเตือนผู้ที่เคยช่วยผู้ปราชิกหรือศีลไม่บริสุทธิ์ อย่าเล่นกับกรรมในครั้งนี้
ข้อมูลประวัติศาสตร์ ที่ ชาวไทยต้องอ่าน
http://picasawebcothssomkiert.blogspot.com/2011/12/blog-post_11.html
https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%A3%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%84%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/285376564854496
อำนาจกรรม นิพนธ์ของ สมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ ๑๙
https://www.facebook.com/notes/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%8C/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1-%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%A2-%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A/239256836133136

เปิดโผ "3สมเด็จ

สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
และอีก 2 สมเด็จพระราชาคณะ




สมณศักดิ์พัดยศ พระสงฆ์ไทย พุทธศักราช 2557

พลันที่ข่าวการสิ้นพระชนม์ ของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พระสังฆราชองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้กระจายไปในตอนกลางดึกของวันที่ 24 ตุลาคม ที่ผ่านมา นอกจากความโศกเศร้าอาลัยจะท่วมทับประเทศไทยแล้ว ในทางการปกครองของคณะสงฆ์ ก็เริ่มพูดคุยกันถึงเรื่องตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ต่อไป ซึ่งก็คือ พระองค์ที่ 20 นี่มิใช่เรื่องที่จะ "มิบังควรพูด" ในท่ามกลางบรรยากาศอันโศกสลดดังที่เห็นแต่อย่างใด หากแต่เป็นเรื่องที่ "สมควรพูดอย่างยิ่ง" เพราะ "อภิเษกกษัตริย์ กำจัดศัตรู เรียนรู้วิชา แสวงหาทรัพย์ ระงับป่วยไข้" เป็นเรื่องด่วนที่สุดทั้งในส่วนตัวและประเทศชาติบ้านเมือง เพราะประเทศชาติบ้านเมืองจะขาดผู้นำไม่ได้แม้แต่นาทีเดียว เดี๋ยวเกิดสงครามปึงปังขึ้นมาจะหาคนบัญชาการยาก

วันนี้ อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ จะนำเสนอเรื่องสำคัญในรอบ 30 ปี ของคณะสงฆ์ไทย ซึ่งก็คือเรื่องนี้แหละ และคิดว่าท่านผู้อ่านแฟนานุแฟนอะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ก็คงสนใจไม่แพ้เราทีเดียว

พูดเป็นสำนวนก็ต้องบอกว่า "โผเจ้าคุณ ปี 56" ต้องถูกเบียดจนตกขอบ-ชิดซ้าย หรือกลายเป็นเรื่อง "ชิลๆ-เด็กๆ" ไปเลยทีเดียว เมื่อเจอ "โผสามสมเด็จ" ในวันนี้ อ๋อแน่นอนว่า เรื่องนี้ต้องขยาย

ก่อนอื่นต้องขอเริ่มที่ชื่อของ "โผสามสมเด็จ" ว่ามีที่ไปที่มาอย่างไร ก็คือว่า ก่อนที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช จะสิ้นพระชนม์ลงไปนั้น สมณศักดิ์ชั้นสุพรรณบัฎหรือสมเด็จพระราชาคณะได้ว่างลงก่อนแล้ว 1 ตำแหน่ง เนื่องเพราะการมรณภาพของ "สมเด็จพระพุฒาจารย์ " (เกี่ยว อุปเสโณ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดสระเกศ อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ในวันที่ 10 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งก็ยังมิได้พระราชทานเพลิงศพ ยังคงบำเพ็ญบุญอย่างต่อเนื่อง ครั้นสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สิ้นพระชนม์ลงไปอีกในวันนี้ จึงมีพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏว่างลงพร้อมกันถึง 2 ตำแหน่งซ้อน พร้อมๆ กับตำแหน่ง "สมเด็จพระสังฆราช" ซึ่งถือว่าเป็นที่สุดของที่สุด ซึ่งตำแหน่งนี้กว่าจะว่างลงก็ต้องใช้เวลานานถึง 24 ปีทีเดียว

ดังนั้น บัดนี้จึงมีตำแหน่งระดับท็อปของคณะสงฆ์ไทยว่างลงพร้อมกันถึง 3 ตำแหน่ง ได้แก่

1. สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
2. สมเด็จพระพุฒาจารย์
3. สมเด็จพระราชาคณะ ซึ่งจะว่างแทนในตำแหน่งที่สมเด็จพระราชาคณะจะได้รับโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20

ตำแหน่งที่ 3 นี้ ต้องขยายความก่อนว่า โดยปรกตินั้น ตำแหน่ง "สมเด็จพระสังฆราช" จะทรงตั้งหรือสถาปนาจากสมเด็จพระราชาคณะที่มีอยู่ทั้งสิ้น 8 ตำแหน่ง แบ่งออกเป็นฝ่ายมหานิกาย 4 รูป ฝ่ายธรรมยุติกนิกายอีก 4 รูป เมื่อรวมกับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชแล้ว คณะสงฆ์ไทยก็จะมีตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะทั้งสิ้น 9 รูป 9 ตำแหน่งด้วยกัน

โดยตำแหน่ง "สมเด็จพระสังฆราช" นั้น ถือว่าเป็นตำแหน่งพิเศษ เป็นองค์พระประมุขของคณะสงฆ์ไทยทุกนิกาย แต่ถึงกระนั้น เมื่อสมเด็จพระราชาคณะในนิกายใดได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นพระสังฆราช พระสงฆ์นิกายนั้นก็จะมีเสียงเพิ่มเป็น 5 ต่อ 4 ไปโดยปริยาย เช่น พ.ศ.2532สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน ป.ธ.9) วัดบวรนิเวศวิหาร ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช จึงทำให้อัตราสมเด็จพระราชาคณะในฝ่ายธรรมยุตมีจำนวน 5 รูป ขณะที่ฝ่ายมหานิกาย มีเพียง 4 รูป

ทีนี้ ถ้าสมมุติว่า สมเด็จพระราชาคณะในฝ่ายมหานิกายได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราชบ้าง อัตราส่วนก็ต้องเปลี่ยนไป คือกลับข้างมาเป็นฝ่ายมหานิกาย 5 ส่วนธรรมยุตก็จะเหลือแค่ 4 หรือเขียนให้ดูง่ายๆ ว่า 5/4 นี่คือสูตรมาตรฐานการเมืองเรื่องคณะสงฆ์ไทยในระดับสุดยอด

และทีนี้ว่า ถ้าสมเด็จพระราชาคณะองค์ใด ไม่ว่าในนิกายไหน ได้รับการสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ก็จะต้องละทิ้ง"ฐานันดร" เดิม ไปรับเพียงตำแหน่ง "สมเด็จพระสังฆราช" ซึ่งสูงสุด เพียงตำแหน่งเดียว และเมื่อนั้นฐานันดรเดิมก็จะว่างลง ส่งผลให้เกิดเป็นการ "ว่างพร้อมกัน" ถึง 3 ตำแหน่ง และเราได้ตั้งชื่อว่า "โผสามสมเด็จ" ในวันนี้

และต่อไป เราก็จะวิเคราะห์หาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งองค์พระประมุขของคณะสงฆ์ไทย คือเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สืบต่อจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ว่าโดยธรรมเนียมการสถาปนาพระราชาคณะทั่วไปนั้น จะทรงโปรดเกล้าฯ ในวันเฉลิมพระชนมพรรษา คือวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี แต่สำหรับการสถาปนา "สมเด็จพระสังฆราช" นั้น ถือว่าเป็นกรณีพิเศษ จะไม่ทรงรอให้ถึงวันเฉลิมพระชนม์พรรษา ดังกรณี สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน ป.ธ.4) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม สิ้นพระชนม์ลงในวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2531 ซึ่งได้มีการสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร วัดบวรนิเวศวิหาร ขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2532 ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นการสถาปนาตามฤกษ์ที่โหรหลวงได้คำนวณขึ้นถวาย ดังนั้น การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช จึงถือว่าเป็นกรณีพิเศษ

หลักการง่ายๆ ในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชก็คือ ทรงเลือกจากสมเด็จพระราชาคณะ จำนวน 8 รูป หรือเท่าที่มี คือโดยปรกตินั้น จะมีสมเด็จพระราชาคณะจำนวน 8 รูป แต่บางช่วง มีสมเด็จพระราชาคณะบางรูปมรณภาพลง และยังไม่ทันได้ทรงโปรดสถาปนา เช่นกรณีสมเด็จพระพุฒาจารย์มรณภาพลงไปในวันนี้ ทำให้จำนวนสมเด็จพระราชาคณะมีเพียง 7 รูป คือฝ่ายธรรมยุตมี 4 รูป (เต็มอัตรา) ส่วนฝ่ายมหานิกายเหลือเพียง 3 รูป ก็จะทรงโปรดเลือกจากสมเด็จพระราชาคณะเท่าที่มี คือ 7 รูป

สมเด็จพระราชาคณะทั้ง 7 รูปเหล่านั้น เรียงลำดับตามอาวุโสในการสถาปนาดังนี้



สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์
(มหานิกาย)

1. สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (ช่วง วรปุญฺโญ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ แม่กองบาลีสนามหลวง เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ  กรรมการมหาเถรสมาคม และดำรงตำแหน่งประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2556 สมเด็จวัดปากน้ำเกิดวันที่ 26สิงหาคม พ.ศ.2468 ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ปัจจุบันมีอายุย่าง 89 ปี ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2538 ปัจจุบันถือว่ามีอาวุโสสูงสุดในบรรดาสมเด็จพระราชาคณะทั้ง 7 รูปที่เหลืออยู่



สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
(ธรรมยุติกนิกาย)


2. สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (มานิต ถาวโร ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศาราม  ปัจจุบันมีตำแหน่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคมเพียงตำแหน่งเดียว สมเด็จวัดเกาะ (ชื่อเก่าของวัดสัมพันธวงศ์) เป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี ก่อนจะแยกมาเป็นจังหวัดอำนาจเจริญ เกิดวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ.2460 ปัจจุบันมีอายุยืนถึง 97 ปี แต่ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2544 ถือว่ามีอาวุโสทางสมณศักดิ์เป็นอันดับที่ 2 รองจากสมเด็จวัดปากน้ำ



สมเด็จพระมหามุนีวงศ์
(ธรรมยุติกนิกาย)


3. สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (อัมพร อมฺพโร ป.ธ.6) เจ้าอาวาสวัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม กรรมการมหาเถรสมาคม และนายกสภามหาวิทยาลัย มหามกุฏราชวิทยาลัย (มมร) สมเด็จวัดราชบพิธเป็นชาวจังหวัดราชบุรี เกิดวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ.2470 ปัจจุบันมีอายุ 87 ปี ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2552 พร้อมกันกับสมเด็จพระวันรัต (จุณฑ์ พฺรหมฺคุตฺโต) วัดบวรนิเวศวิหารแต่โปรดให้เข้ารับการสถาปนาก่อน ในทางสมณศักดิ์จึงถือว่ามีอาวุโสกว่าสมเด็จพระวันรัต และมีอาวุโสเป็นอันดับสามในบรรดาสมเด็จพระราชาคณะทั้งหมด




สมเด็จพระวันรัต
(ธรรมยุติกนิกาย)


4. สมเด็จพระวันรัต (จุณฑ์ พฺรหฺมคุตฺโต ป.ธ.9) รักษาการเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร และปฏิบัติหน้าที่เจ้าคณะใหญ่ธรรยุติกนิกาย สมเด็จพระวันรัต เป็นชาวจังหวัดตราด เกิดวันที่ 17 กันยายน พ.ศ.2479 ปัจจุบันมีอายุ 78 ปี เข้ารับพัดเป็นสมเด็จในวัดพระแก้วต่อจากสมเด็จพระมหามุนีวงศ์ วัดราชบพิธ เมื่อวันที่ ธันวาคม 2552 จึงถือว่ามีอาวุโสเป็นอันดับ 4





สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
(มหานิกาย)


5. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (วีระ ภทฺทจารี ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดสุทัศนเทพวราราม กรรมการมหาเถรสมาคม สมเด็จวัดสุทัศน์เป็นชาวจังหวัดราชบุรี เกิดเมื่อวันที่ 26 สิงหาคม พ.ศ.2473 ปัจจุบันอายุ 83 ปี ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ในวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2553 จึงมีอาวุโสเป็นอันดับ 5




สมเด็จพระธีรญาณมุนี
(ธรรมยุติกนิกาย)


6. สมเด็จพระธีรญาณมุนี (สมชาย วรชาโย ป.ธ.8) เจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส เจ้าคณะภาค 1-2-3-12-13 ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และกรรมการมหาเถรสมาคม สมเด็จวัดเทพศิรินทร์เป็นชาวจังหวัดนครปฐม เกิดเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ.2490 ปัจจุบันมีอายุ 66 ปี ได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะปีเดียวกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์วัดสุทัศน์ แต่พรรษาอ่อนกว่าจึงเข้ารับพัดทีหลัง ถือว่ามีอาวุโสเป็นอันดับที่ 6




สมเด็จพระพุทธชินวงศ์
(มหานิกาย)


7. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (สมศักดิ์ อุปสโม ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการาม เจ้าคณะใหญ่หนกลาง สมเด็จวัดพิชัยญาติเป็นชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เกิดเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2484 ปัจจุบันมีอายุ 72 ปี ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะในวันที่ 5ธันวาคม พ.ศ.2554 ถือว่ามีอาวุโสอ่อนสุดในบรรดาสมเด็จพระราชาคณะทั้งปวงในปัจจุบัน


หลักการง่ายๆ มีอยู่ว่า "สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะ เป็นสมเด็จพระสังฆราช" แต่ยังมีกฎเกณฑ์ในการพิจารณาอีกด้วยว่า

1. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 หมวดที่ 2 (พระมหากษัตริย์) บัญญัติไว้ว่า

มาตรา 11 พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะสถาปนาฐานันดรศักดิ์และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์


และ

2. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505/2535 หมวดที่ 1 (สมเด็จพระสังฆราช) บัญญัติไว้ว่า

มาตรา 7 พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์หนึ่ง

ในกรณีที่ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะ ผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

ในกรณีที่สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม เสนอนามสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นผู้มีอาวุโสโดยสมณศักดิ์รองลงมาตามลำดับ และสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช

ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนั้นถือว่าเป็นกฎหมายแม่บท ให้อำนาจแก่พระมหากษัตริย์ในการพระราชทานยศศักดิ์ให้แก่ใครก็ได้ ถือว่าเป็นสิทธิ์ขาด ส่วนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 นั้น ถือว่าเป็นกฎหมายลูก แต่กฎหมายลูกก็ตราขึ้นตามความในกฎหมายแม่ หมายถึงว่า เป็นการอธิบายความกฎหมายแม่ให้ชัดเจนขึ้น ดังนั้น การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช จึงต้องเป็นไปตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 คือนายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม จะต้องเสนอนามสมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ขึ้นทูลเกล้า เพื่อทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช จะเป็นอื่นใดไปไม่ได้

เว้นเสียแต่ว่า สมเด็จพระราชาคณะผู้มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์นั้น มิสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ทางรัฐบาลก็จะมีคำกราบบังคมทูลกำกับขึ้นไปด้วย ว่าเหตุผลใดจึงไม่นำเสนอรายนามสมเด็จพระราชาคณะผู้อาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์เพื่อทรงโปรดเกล้าฯสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เห็นไหมว่ามิใช่นึกจะเสนอใครก็ได้นะ

และทีนี้ เมื่อพิจารณาบรรดาสมเด็จพระราชาคณะทั้ง 7 รูปข้างต้นแล้ว ก็จะพบว่า "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" วัดปากน้ำ มีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ ที่สำคัญก็คือ ปัจจุบันยังดำรงตำแหน่ง "ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช" อยู่อีกด้วย แม้ว่าสมเด็จวัดปากน้ำจะมีอายุพรรษาสูงถึง 89 ปี แต่ยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง เมื่อวันยังเดินทางไปเป็นประธานเชิญพระศพสมเด็จพระสังฆราช จากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์กลับสู่วัดบวรได้อย่างดียิ่ง

ณ นาทีนี้ แคนดิเดทในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จึงหนีไม่พ้น "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" ไม่ว่าจะมองจากมุมไหน

ในอดีตนั้น ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช จะมาจาก 2 ตำแหน่งหลัก คือ สมเด็จพระวันรัต และสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ แต่เมื่อมีการใช้ระบบ"อาวุโสทางสมณศักดิ์" เข้ามาทดแทน ประเพณีที่เคยปฏิบัติก็เปลี่ยนแปลงไป หรือแม้แต่ราชทินนามที่ "สมเด็จพระญาณสังวร" ก็ถือว่าเป็นราชทินนามพิเศษเช่นกัน

ดังนั้น การที่สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ จะได้เป็นสมเด็จพระสังฆราช ก็จึงไม่แปลกประหลาดอันใดเช่นกัน

ตัวเต็งมีอยู่เพียงเท่านั้น นาทีนี้จึงไม่สามารถจะวิจารณ์ข้ามไปถึงสมเด็จพระราชาคณะรูปอื่นๆ ได้


ฟันธงลงไปเลยว่า "สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์" ได้เป็น "สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ 20 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์" แน่นอน


แต่ที่อยากจะนำเสนอเสมือนการ "มองข้ามช็อต" ต่อไปก็คือ แคนดิเดทสมเด็จพระราชาคณะที่ว่างลงอีก 2 ตำแหน่ง คือแทนในตำแหน่งสมเด็จพระพุฒาจารย์และแทนในตำแหน่งสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ที่จะได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช ซึ่งทั้งสมเด็จพระพุฒาจารย์และสมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์นั้น เป็นพระสงฆ์ในฝ่ายมหานิกาย หมายถึงว่า การสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชก็ดี สถาปนาสมเด็จพระราชาคณะอีกที่ว่างลงมากมายถึง 3 ตำแหน่ง เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่จะเกิดขึ้นอย่างช้าภายในปี พ.ศ.2557 นี้ จะเป็นการแต่งตั้ง-สถาปนาในฝ่ายมหานิกายทั้งหมด ส่วนฝ่ายธรรมยุตนั้นไม่ว่าง

และยังมีสูตรสำเร็จอีกว่า "สถาปนารองสมเด็จพระราชาคณะขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะ" นั่นหมายถึงว่า ถ้าหากสมณศักดิ์ที่สมเด็จพระราชาคณะว่างลง การพิจารณาก็จะมาจาก "รองสมเด็จ" เท่านั้น ซึ่งรองสมเด็จพระราชาคณะผู้อาวุโสสูงสุดในฝ่ายมหานิกายในปัจจุบันนี้มีอยู่ 2 รูป ได้แก่




พระพรหมเวที


1. พระพรหมเวที (สนิท ชวนปญฺโญ ป.ธ.9) เจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก และกรรมการมหาเถรสมาคม พระพรหมเวทีเป็นชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา เกิดวันที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2485 อายุ 71 ปี ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2544 ปัจจุบันมีอาวุโสสูงสุดในบรรดา "รอง" สมเด็จพระราชาคณะทั้งปวง






พระพรหมวชิรญาณ



2. พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร ป.ธ.3) เจ้าอาวาสวัดยานนาวา กรรมการมหาเถรสมาคม พรหมวชิรญาณเป็นชาวจังหวัดอุบลราชธานี เกิดวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2480 อายุ 76 ปี ได้รับการสถาปนาเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะปีเดียวกับพระพรหมเวที แต่ได้รับการสถาปนาทีหลัง จึงมีอาวุโสเป็นอันดับสองรองจากพระพรหมเวที


เมื่อมีสมณศักดิ์ชั้นสุพรรณบัฏว่างลงพร้อมกันถึง 2 ตำแหน่งเช่นนี้ ก็ทำให้ต้องมีการสถาปนาพร้อมกันถึง 2 รูปด้วยเช่นกัน และเมื่อนั้น พระพรหมเวทีและพระพรหมวชิรญาณจึงถูกคาดการณ์ว่า จะได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระราชาคณะพร้อมกัน ในวันที 5 ธันวาคม พ.ศ.2557 ทั้งนี้เพราะมหาเถรสมาคมได้ผ่านบัญชีพระราชาคณะในวันที่ 5 ธันวาคม ปีนี้แล้วว่า "จะไม่มีการสถาปนาสมเด็จพระราชาคณะ" ทำให้สมณศักดิ์ที่สมเด็จพระราชาคณะต้องว่างลงพร้อมกันถึง 2 ตำแหน่งดังกล่าว

ใช่แต่เท่านั้น เมื่อตั้งพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะพร้อมกันถึง 3 รูป ก็จะส่งผลให้ตำแหน่ง "รองสมเด็จ" ว่างลงอีก 3 รูป ไล่ระนาดลงไปในเบื้องล่าง ตามสมการฐานพระสุเมรุหรือสูตรกินรวบที่ใช้มาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ทีนี้พระราชาคณะชั้นธรรมฝ่ายมหานิกายก็จะพาเหรดเลื่อนชั้นขึ้นเป็นรองสมเด็จฯอย่างมากมาย กลายเป็นมหากรรมเลื่อนสมณศักดิ์ครั้งใหญ่ที่สุดในรอบร้อยปีของคณะสงฆ์ไทย ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ

และนี่คือที่มาของ "โผสามสมเด็จ" เป็นกรณีพิเศษ ของอะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม ในวันนี้



อะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ ดอทคอม รายงาน

26 ตุลาคม 2556
http://www.alittlebuddha.com/

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง