ประวัติศาสตร์ พฤติกรรมล้มล้างพระธรรมวินัย


หมายเหตุอะลิตเติ้ลบุ๊ดด่ะ
"อยู่ด้วยกันไม่ได้"


หลักการสำหรับการอยู่ร่วมกันของพระสงฆ์ในหมู่คณะหรือนิกายเดียวกันนั้น ท่าน ให้ยึดหลัก 2 ประการ คือ
1. สีลสามัญญตา มีศีล (ความประพฤติ) เสมอกัน
2. ทิฏฐิสามัญญตา มีทิฐิ (ทัศนะ-ความคิดเห็น) ตรงกัน หากว่ามีความประพฤติไม่เสมอกัน หรือมีทัศนะไม่ตรงกัน ก็ไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้
กรณี พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล วัดนาป่าพง อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี พร้อมด้วยคณะสงฆ์ได้พร้อมใจกันตัดลัดพระปาติโมกข์ จาก 227 ข้อ เหลือเพียง 150 ข้อ และคัดกรองเนื้อหาในพระไตรปิฎก ฉบับสยามรัฐและฉบับหลวง เลือกเอาเฉพาะที่ตนเองเชื่อว่าเป็นพระพุทธพจน์ ไปทำเป็นพระไตรปิฎกฉบับใหม่ ใช้ชื่อว่า ฉบับพุทธวจน นั้น เป็นหลักฐานยืนยันว่า พระคึกฤทธิ์มีศีลไม่เสมอด้วยพระสงฆ์ไทย และมีทิฐิแตกต่างจากพระสงฆ์ไทยส่วนใหญ่
เมื่อคณะสงฆ์วัดหนองป่าพงได้รับทราบ จึงเรียกพระคึกฤทธิ์ไปตักเตือนและขอให้พระคึกฤทธิ์เปลี่ยนความเห็นให้สอดคล้องกับคณะสงฆ์ส่วนใหญ่ โดยการสวดพระปาติโมกข์เหมือนเดิม แต่พระคึกฤทธิ์กลับไม่เห็นแก่หมู่คณะ หนำซ้ำยังเดินหน้าจัดทำพระไตรปิฎกฉบับใหม่ขึ้นมา อาจหาญถึงขั้นยกตนข่มท่าน ว่าพระไตรปิฎกที่คณะสงฆ์ไทย คือฉบับสยามรัฐและฉบับหลวงนั้น ไม่บริสุทธิ์ มีบริสุทธิ์เพียงเพียงฉบับเดียว คือ ฉบับพุทธวจน ที่ตนเองสร้างขึ้นมาใหม่ คณะสงฆ์วัดหนองป่าพง เห็นว่าพฤติกรรมของพระคึกฤทธิ์นั้นเป็นการกระด้างกระเดื่อง อวดดื้อถือรั้น ไม่เห็นครูบาอาจารย์แลเพื่อนสหธรรมิกอยู่ในสายตา จึงได้ลงมติ "ขับไล่" พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล และพระสงฆ์วัดนาป่าพง ออกจากความเป็นสาขา ในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2533
นับจากวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ.2533 มาจนถึงวันนี้ (17 สิงหาคม พ.ศ.2557) เป็นเวลาเกือบๆ 4 ปี ขาดเพียง 2 เดือน ที่คณะสงฆ์ไทยทั่วประเทศให้โอกาสแก่พระคึกฤทธิ์ในการกลับใจ แต่พระคึกฤทธิ์กลับมิสำนึก หนำซ้ำยังรุกเข้ากระทำการเผยแพร่ลัทธิใหม่ของตนไปทั่วประเทศ ทั้งๆ ที่ตัวเองก็เกิดมาจากคณะสงฆ์ไทย ไม่ช่วยแก้ไขปัญหาภายในไม่พอ ยังออกไปตั้งตัวเป็นเอกเทศ แถมเหยียบย่ำพระสงฆ์ไทยส่วนใหญ่ให้เสียหาย แสดงให้เห็นว่า พระคึกฤทธิ์ขาดความเคารพในหมู่สงฆ์ เป็นคนเนรคุณ เป็นโจรปล้นเอาทรัพย์สินทางปัญญาของคณะสงฆ์ไทยไปใช้ โดยทำหีบห่อขึ้นใหม่ให้คนไทยเห็นว่าเป็นผลงานของตนเอง
เมื่อเป็นเช่นนี้ คณะสงฆ์วัดไทยลาสเวกัส จึงเห็นว่า ไม่สามารถจะอยู่ร่วมกับพระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล และคณะสงฆ์วัดนาป่าพงได้อีกต่อไป เพราะเราสวดพระปาติโมกข์ 227 ข้อ และใช้พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐและฉบับหลวงเป็นหลักในการประพฤติปฏิบัติและศึกษาพระธรรมวินัย ส่วนพระคึกฤทธิ์และคณะพระวัดนาป่าพงนั้นได้หันไปสวดและใช้พระไตรปิฎกเป็นของตนเอง
เรา-คณะสงฆ์วัดไทยลาสเวกัส รู้สึกเสียใจที่จะต้องประกาศให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยได้รับทราบว่า ไม่สามารถจะอยู่ร่วมกับพระคึกฤทธิ์และพระสงฆ์วัดนาป่าพงได้ ทั้งนี้มิใช่เพราะเราทำผิดแปลกอะไร แต่เพราะพระคึกฤทธิ์ทำผิดแปลกออกไปเอง ทั้งนี้ คณะพระสงฆ์วัดหนองป่าพง อันเป็นต้นสังกัดก็เคยทำเป็นแบบอย่างมาแล้ว
ในวันที่ 20 สิงหาคม ศกนี้ จะมีการประชุมมหาเถรสมาคม เพื่อพิจารณาข้อหาของพระคึกฤทธิ์และคณะสงฆ์วัดนาป่าพง ไม่ว่ามติมหาเถรสมาคมจะออกมาเช่นไร หากว่าพระคึกฤทธิ์ไม่ยินยอมกลับมาสวดพระปาติโมกข์ 227 ข้อตามเดิม และไม่เลิกล้มโครงการสร้างพระไตรปิฎก ฉบับพุทธวจน เรา-คณะสงฆ์วัดไทยลาสเวกัส ก็ขอประกาศแยกนิกาย ไม่นับพระคึกฤทธิ์เป็นพระสงฆ์นิกายเดียวกัน อีกต่อไป

วัดไทยลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา
17 สิงหาคม 2557
http://www.alittlebuddha.com/

ร.๕ กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
ด้านวิชาการ
ด้านการเผยแพร่
ด้านการศึกษาของคณะสงฆ์
ด้านการปกครองคณะสงฆ์

ร.๕ กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา


๑.ด้านวิชาการ

พ.ศ. ๒๔๓๑ โปรดเกล้าฯให้ ชำระและพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย นับเป็นครั้งแรกที่พระไตรปิฎก ได้รับการจัดพิมพ์
ขึ้น ด้วยทรงพระราชดำริว่า เดิมพระไตรปิฎกเขียนด้วยอักษรขอมในใบลาน อ่านยาก ทำได้ช้า สิ้นเปลืองเงินทองและไม่ถูกต้องตรงกันทุกฉบับ ด้วยเหตุนี้จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทั้งฝ่ายพระสงฆ์และฆราวาสร่วมดำเนินการ ชำระและจัดพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับอักษรไทยขึ้น ให้ทันวันฉลองราชสมบัติครบ ๒๕ ปี ใน พ.ศ. ๒๔๓๖

ในการนี้ได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน ๑,๐๐๐ ชั่ง จัดพิมพ์พระไตรปิฎกจำนวน ๑,๐๐๐ จบๆ ละ ๓๙ เล่ม โปรด
เกล้าฯ พระราชทานไปยังพระอารามหลวงทั่วประเทศ ตลอดจนสถานศึกษาในต่างประเทศด้วย แห่งละหนึ่งจบ ภายหลังโปรดเกล้าฯ ให้จำหน่ายแก่ประชาชนในราคาจบละ ๒ ชั่ง และพระราชทานแก่ชาวต่างประเทศที่นำไปใช้ประโยชน์ เป็นผลให้พระไตรปิฎก แพร่หลายมากขึ้นภายในประเทศ ทำให้พระสงฆ์และสามเณรตลอดจนผู้สนใจได้อาศัยพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ด้วยอักษรไทยศึกษาเล่าเรียนมาจนถึงปัจจุบันนี้ ทั้งยังเป็นที่รู้จักกันดีขึ้นในต่างประเทศทั่วโลกเรื่อยมาจนทุกวันนี้ นับเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เจริญแพร่หลายประการหนึ่ง นอกจากรัชกาลที่ ๕ จะทรงเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทยแล้ว ยังได้โปรดเกล้าฯ ดำเนินการโดยวิธีอื่น ๆ ด้วย คือ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหอพุทธศาสนสังคหะขึ้นที่วัดเบญจมบพิตร สำหรับเป็นที่เก็บรวบรวมพระไตรปิฎกและหนังสืออื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์แก่การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรและผู้สนใจ

ได้โปรดเกล้าฯ ให้แต่งหนังสือที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในหลายลักษณะด้วยกัน ได้แก่ หนังสือเบญจศีลและเบญจธรรม หนังสือเทศนา หนังสือสวดมนต์ หนังสือธรรมจักษุ และหนังสือชาดกต่าง ๆ เป็นผลให้ประชาชนได้เรียนรู้หลักธรรมในพระพุทธศาสนาเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินชีวิต ส่วนพระสงฆ์และสามเณรก็มีคู่มือสำหรับใช้เทศนาและบทสวดมนต์ที่เป็นแบบฉบับเดียวกัน จึงทำให้ประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น

นอกจากนี้รัชกาลที่ ๕ ได้ พระราชทานพระบรมราชูปถัมภ์ในการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับอักษรพม่าที่ทางโรงพิมพ์ฮันทาวดีแห่งเมืองร่างกุ้งขอมาด้วย จึงนับได้ว่าการที่รัชกาลที่ ๕ ทรงดำเนินการในลักษณะต่าง ๆ ดังกล่าวเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญอยู่ในประเทศไทยจนกระทั่งทุกวันนี้

๒.ด้านการเผยแพร่

การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๕ ไปยังต่างประเทศมิได้มีเฉพาะการพระราชทานพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ด้วย
อักษรไทยเท่านั้น แต่ได้เสด็จไปสืบพระพุทธศาสนาในอินเดียด้วยพระองค์เอง ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการเสด็จประพาสอินเดียทำให้บรรดานักค้นคว้าซึ่งศึกษาโบราณคดี ที่เกี่ยวเนื่องกับพระพุทธศาสนาพากันหันไปสนใจสืบสวนค้นคว้าทางประเทศอินเดียแทนที่ได้เคยศึกษากันมาแต่ทางประเทศลังกา จึงมีผลให้ความรู้ความเห็นของคนไทยในด้านโบราณคดีเกี่ยวกับพระพุทธศาสนากว้างขวางขึ้นโดยลำดับเรื่อยมาจนทุกวันนี้

นอกจากนี้รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยแบ่งพระบรมสารีริกธาตุที่รัฐบาลอินเดียทูนเกล้าฯ ถวาย โดยให้พระยาสุขุมนัยวินิตออกไปรับถึงประเทศอินเดีย พระราชทานแก่ประเทศพม่า ลังกา ญี่ปุ่น และรุสเซีย เป็นผลให้พระพุทธศาสนิกชนในประเทศเหล่านั้นเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนามากขึ้น ส่วนที่เหลือจากพระราชทานก็โปรดเกล้าฯให้บรรจุไว้ในพระเจดีย์ภูเขาทองที่วัดสระเกศ ทำให้พุทธศาสนิกชนชาวไทยสักการะและนมัสการมาจนทุกวันนี้

๓.ด้านการศึกษาของคณะสงฆ์

ในด้านการาส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมขึ้นตามวัดต่างๆ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุและสามเณร ได้ทรงกำหนดให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรมเป็นประจำทุกปี ทรงส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุตินิกาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงขึ้นสองแห่ง คือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และ มหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อเป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและธรรมยุตินิกายตามลำดับ ในระยะแรกการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสถาบันทั้งสองประสบกับปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง โดยเฉพาะลักษณะการเรียนการสอนและวิธีการสอบ แต่ในที่สุด พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ได้ทรงดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

ซึ่งในปัจจุบันสถาบันทั้งสองยังคงเป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ทั้งสองนิกาย ดังนั้น การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ นอกจากจะทำให้การศึกษาของพระสงฆ์เจริญขึ้นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้การศึกษาของชาติเจริญขึ้นด้วย เพราะรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นตามวัดทั้งในกรุงและหัวเมือง โดยมีพระภิกษุเป็นครูสอน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดทั้งในกรุงและหัวเมืองจำนวนมากมาย เพื่อใช้เป็นแหล่งสืบอายุพระพุทธศาสนาและใช้เป็นสถานศึกษา

แต่การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงมุ่งหวังให้พระสงฆ์มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษาของชาตินั้น มีอุปสรรคอยู่บ้างในระยะแรก จึงทำให้งานด้านการศึกษาของราษฎรเจริญก้าวหน้าช้ากว่าที่ควรจะเป็น แต่ต่อมาอุปสรรคต่าง ๆ ก็หมดสิ้นไปหลังจากรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ดังนั้น การจัดการศึกษาขึ้นตามวัด โดยมีพระภิกษุเป็นครูสอนนั้น นับเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญแพร่หลาย และเป็นการวางรากฐานการศึกษาโรงเรียนหัวเมือง ในปัจจุบันด้วย

๔.ด้านการปกครองคณะสงฆ์

ในด้านการจัดสังฆมณฑล ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดสังฆมณฑลให้เป็นระเบียบเรียบร้อยทั่วพระราชอาณาจักร การตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ขึ้นในครั้งนั้น แสดงให้เห็นถึงพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ ๕ ในการนำหลักการสมัยใหม่มาใช้กับการปกครองคณะสงฆ์ซึ่งไม่เคยมีมาก่อน กล่าวคือ มอบอำนาจบริหารให้แก่มหาเถรสมาคมในอันที่จะปกครองตัดสินข้อขัดแย้ง และเป็นองค์ปรึกษาแก่สังฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร ส่วน การปกครองคณะสงฆ์ให้จัดอนุโลมตามวิธีการปกครองพระราชอาณาจักร คือ มีเจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง และอธิการหมวด บังคับบัญชาในมณฑล เมือง แขวง ตำบล และวัด ขึ้นตรงต่อกันโดยลำดับ

ทั้งได้กำหนดหน้าที่แต่ละตำแหน่งไว้โดยละเอียดชัดแจ้ง เป็นอำนาจถอดถอน บำรุงรักษา สั่งสอนกุลบุตร ตลอดจนเผยแผ่ศาสนา ทำให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ เกิดเอกภาพทางบริหาร ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันและสอดคล้องกับการจัดรูปการปกครองของฝ่ายพระราชอาณาจักรในสมัยนั้น มอบอำนาจบริหารให้แก่มหาเถรสมาคม ในอันที่จะปกคอรงตัดสินข้อขัดแย้งและเป็นองค์ปรึกษาแก่สังฆมณฑลทั่วพระราชอาณาจักร ส่วนการปกครองคณะสงฆ์ให้จัดอนุโลมตามวิธีการปกครองพระราชอาณาจักร คือ มีเจ้าคณะมณฑล เจ้าคณะเมือง เจ้าคณะแขวง และอธิการหมวด บังคับบัญชาในมณฑล เมือง แขวง ตำบล และวัด ขึ้นตรงต่อกันโดยลำดับ ทั้งได้กำหนดหน้าที่แต่ละตำแหน่งไว้โดยละเอียดชัดแจ้ง เป็นอำนาจถอดถอน บำรุงรักษา สั่งสอนกุลบุตร ตลอดจนเผยแผ่ศาสนา ทำให้การปกครองคณะสงฆ์เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน คือ เกิดเอกภาพทางบริหาร ซึ่งเป็นไปในลักษณะเดียวกันและสอดคล้องกับการจัดรูปการปกครองของฝ่ายพระราชอาณาจักรในสมัยนั้น

การที่พระราชบัญญัติกำหนดให้พระสงฆ์ตั้งแต่ชั้นเจ้าอาวาสขึ้นมา จนถึงระดับสูงสุดมีหน้าที่ในการบำรุงการศึกษานั้น เป็นการแสดงให้เห็นถึงพระบรมราโชบายของรัชกาลที่ ๕ ที่ทรงเห็นคุณค่าของการศึกษาในวัด ซึ่งนับเป็นการวางรากฐานการศึกษาของชาติในระยะต่อมา และในพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ยังได้กำหนดการวางระเบียบการเก็บผลประโยชน์ ของพระอารามให้เป็นหลักฐาน โดยรัฐเข้ามามีบทบาทควบคุมอย่างใกล้ชิดด้วย ทำให้ฐานะทางเศรษฐกิจของวัดมั่นคงขึ้น สำหรับด้านความประพฤติของพระสงฆ์ ทรงให้ออกประกาศต่าง ๆ เพื่อให้พระสงฆ์ตั้งอยู่ในพระวินัยบัญญัติ จะได้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชน

และโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวง ธรรมการทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับงานด้านพระศาสนา แม้ในปัจจุบันกระทรวงนี้ก็ยังมีหน่วย
งานรับผิดชอบงานด้านพระศาสนาอยู่ นอกจากนี้ พระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๕ ยังได้ทรงแสดงออกให้เห็นได้จากการบำเพ็ญพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสต่าง ๆ เช่น เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานพระกฐิน ทรงบาตรและสดับพระธรรมเทศนา เป็นต้น ทรงแต่งตั้งสมณศักดิ์พร้อมกันพระราชทานนิตยภัตแก่พระสงฆ์ด้วย

ผลจากการที่รัชกาลที่ ๕ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาดังกล่าวแล้ว ทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศในด้านต่างๆ คือ ด้าน
การคณะสงฆ์ จากการที่โปรดให้ตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๔๕ ทำให้พระสงฆ์ได้ปกครองกันเองภายใต้การบริหารงานของมหาเถรสมาคม ทำให้การปกครองสังฆมณฑล เป็นแบบแผนเดียวกันทั้งประเทศ ซึ่งแนวปฏิบัติดังกล่าวยังคงใช้ปฏิบัติมาจนทุกวันนี้

ส่วนการส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ ทั้งการตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย และโรงเรียนพระ
ปริยัติธรรมตามวัด ตลอดจนการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย รวมทั้งการโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมพระไตรปิฎกและหาฉบับที่ขาดหายเพิ่มเติม สิ่งเหล่านี้ช่วยทำให้การศึกษาของพระสงฆ์และประชาชนเจริญขึ้น เพราะในสมัยนั้นพระสงฆ์ทำหน้าที่สอนหนังสือให้แก่ประชาชนในโรงเรียนวัดที่รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น จึงส่งผลให้การปรับปรุงประเทศของรัชกาลที่ ๕ ประสบความสำเร็จเพราะทำให้หาคนเข้ารับราชการได้มากขึ้น ทั้งยังเกิดช่องทางที่พวกไพร่บ้านพลเมืองจะได้เลื่อนฐานะทางสังคมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สังคมไทย แต่ผลดังกล่าวนับเป็นการปลูกฝังค่านิยมของคนให้นิยมยึดอาชีพรับราชการเรื่อยมาจนทุกวันนี้

การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๕ ยังมีผลทำให้พระสงฆ์มีบทบาททางสังคมมากขึ้น จึงส่งผลให้สภาพสังคมดี
ขึ้นด้วย เพราะประชาชนได้เรียนรู้หลักธรรมจากพระสงฆ์เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้เป็นคนดี และยังทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าต่างก็เป็นพุทธศาสนิกชน ย่อมก่อให้เกิดเอกภาพในสังคมไทย นับเป็นผลดีแก่ประเทศอย่างมากในภาวะที่เผชิญกับภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก

อนึ่ง การกำหนดให้มีมรรคนายกประจำวัดต่างๆ ทำหน้าที่จัดการผลประโยชน์วัดเช่น ค่าเช่าที่ มีผลทำให้สภาพทาง
เศรษฐกิจของฝ่ายศาสนจักรมั่นคงขึ้น และผลพลอยได้จากการติดต่อกับต่างประเทศทางด้านศาสนา เช่น การเดินทางไปรับพระบรมสารีริกธาตุของพระยาสุขุมนัยวินิต ที่ประเทศอินเดีย ก็ก่อให้เกิดผลดีต่อเศรษฐกิจของประชาชนและประเทศเช่นกัน โดยเฉพาะการจัดการชลประทาน ซึ่งได้นำมาใช้ปรับปรุงในประเทศ ส่วนการแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่ประเทศต่าง ๆ ตลอดจนการพระราชทานพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์เป็นอักษรไทยไปยังนานาประเทศทั่วโลก นับเป็นผลดีต่อประเทศและวงการพระพุทธศาสนา เพราะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมั่นคงขึ้น พระพุทธศาสนาก็เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วโลก

ส่วนการสร้างวัด บูรณะและปฏิสังขรณ์วัด ก็เป็นผลดีเพราะถือเป็นการผดุงศิลปวัฒนธรรม สถาปัตยกรรมของชาติ ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาค้นคว้าสืบมาจนทุกวันนี้ เช่น สถาปัตยกรรมการก่อสร้างตามแบบศิลปะไทยที่วัดเบญจมบพิตร และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ซึ่งใช้ศิลปะการก่อสร้างแบบตะวันตก และวัดยังเป็นศูนย์รวมของประชาชนในด้านต่าง ๆ ตลอดจนเป็นแหล่งสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา

การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๕ นอกจากจะทำให้เกิดผลดีแก่ประเทศในด้านต่างๆ แล้ว ยังก่อให้เกิดผลดีแก่รัชกาลที่ ๕ ในส่วนพระองค์ด้วย ทำให้ฐานะทางการเมืองของพระองค์มั่นคงขึ้น เพราะประชาชนต่างให้ความจงรักภักดีในฐานะที่ทรงปฏิบัติพระองค์ตั้งมั่งอยู่ในหลักทศพิธราชธรรม จักรวรรดิวัตร สังคหวัตถุ และทรงเป็นองค์พุทธศาสนูปถัมภกอย่างแท้จริง จึงทำให้การปกครองในสมัยของพระองค์ดำเนินไปอย่างราบรื่น ส่งผลให้การปรับปรุงประเทศของพระองค์ประสบความสำเร็จ และยังสามารถรักษาความเป็นเอกราชของประเทศจากภัยคุกคามของจักรวรรดินิยมตะวันตกไว้ได้

จึงสรุปได้ว่า ผลจากการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๕ นั้น เป็นประโยชน์ต่อการรักษาเสถียรภาพทางการเมืองการปกครองของพระองค์ให้มั่นคงด้วยประการหนึ่ง

การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในลักษณะต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะประสบอุปสรรคอยู่บ้าง แต่โดยส่วนรวมแล้ว
ผลจากการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระองค์ นับเป็นประโยชน์ต่อประเทศทั้งฝ่ายคณะสงฆ์ ฆราวาสและพระองค์เอง

จุดเด่นประการสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านนั้นๆ ประสบความสำเร็จในที่สุดนั้นสืบเนื่อง
จากการที่ทรงได้รับความช่วยเหลืออย่างดียิ่งจากฝ่ายพระสงฆ์ เจ้านาย ข้าราชการ ตลอดจนประชาชน

บุคคลสำคัญที่ช่วยให้งานด้านนี้ของรัชกาลที่ ๕ ประสบความสำเร็จและเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก ก็คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ประกอบกับรัชกาลที่ ๕ ทรงเอาพระทัยใส่และติดตามผลเรื่อยมา จึงส่งผลให้พระพุทธศาสนาเจริญสืบทอดมาจนทุกวันนี้ฯ

ความคิดเห็น

  1. เห็นด้วย คึกฯและพวกอาฆาตสงฆ์และทะเยอทะยานอยากมาก

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง