ประวัติศาสตร์ การสถาปนา สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ลำดับที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พุทธศักราช ๒๔๙๐
เป็นพระราชาคณะสามัญที่ พระโสภนคณาภรณ์ |
พ.ศ.2490 พระชนมายุได้ 34 พรรษา เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญที่ พระโศภนคณาภรณ์ (มีความหมายว่าผู้เป็นอาภรณ์ หรือเครื่องประดับของหมู่คณะอันงาม) ซึ่งเป็นราชทินนาม ที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทาน แก่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นรูปแรก
พ.ศ.2495 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราชในราชทินนามเดิม
พ.ศ.2498 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพในราชทินนามเดิม พ.ศ.2499 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมในราชทินนามที่ พระธรรมวราภรณ์ (มีความหมายว่า ผู้มีธรรมเป็นอาภรณ์คือเครื่องประดับอันประเสริฐ) ซึ่งเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทาน แก่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นรูปแรกเช่นกัน
พ.ศ.2504 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง (คือรองเจ้าคณะใหญ่ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะ) ที่ พระสาสนโสภณ (มีความหมายว่า ผู้งามในพระศาสนาหรือผู้ยัง พระศาสนาให้งาม)
พ.ศ.2504 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นราชาคณะชั้นเจ้าคณะรอง (คือรองเจ้าคณะใหญ่ หรือรองสมเด็จพระราชาคณะ) ที่ พระสาสนโสภณ (มีความหมายว่า ผู้งามในพระศาสนาหรือผู้ยัง พระศาสนาให้งาม)
|
พ.ศ.2515 ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร (มีความหมายว่า ผู้สำรวมในญาณคือความรู้) ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ทรงโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนา พระญาณสังวร (สุก)พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาเป็นสมเด็จพระราชา คณะเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ.2359 ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษ ที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น ฉะนั้น นับแต่สมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อ พ.ศ.2363 แล้วตำแหน่งที่สมเด็จพระญาณสังวรก็ไม่ทรงโปรด พระราชทานสถาปนาแก่พระเถระรูปใดอีกเลย กระทั่ง พ.ศ. 2515 นับเป็นเวลา 152 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน จึงทรงโปรดให้สถาปนาเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในตำแหน่งที่สมเด็จพระญาณสังวร เป็น วิปัสสนาธุระที่สมควรแก่ราชทินนามตำแหน่งนี้ วันที่ 21 เมษายน พ.ศ.2532 ได้รับพระราชทานสถานาขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิมคือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช แทนราชทินนามสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชที่ถือเป็นพระเพณีปฏิบัติกันมาคือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ทั้งนี้ก็เพื่อให้พระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ยังเป็นที่ปรากฏอยู่สืบไป แม้เมื่อทรงได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชแล้ว
พระมหากษัตริย์ในฐานะองค์อัครศาสนูปถัมภกทรงสถาปนาพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ดำรงตำแหน่ง สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งถือเป็นนิติราชประเพณีที่ยึดถือเป็นหลักปฏิบัติให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงสถาปนาพระสังฆราชมาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
ร่างพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ได้รับความเห็นชอบจากคณะสงฆ์ก่อน และผ่านสภาผู้แทนราษฎรโดยราบรื่น พระราชอำนาจในการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ยังเป็นของพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี (ต่างจากกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่ให้แต่งตั้งจากพระสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์ชั้นสมเด็จพระราชาคณะที่มีอาวุโสสูงสุดเท่านั้น)
สิ่งที่ทุกฝ่ายพึงตระหนักก็คือ อำนาจในการสถาปนาพระสังฆราชเป็นของพระมหากษัตริย์ กำหนดให้คณะรัฐมนตรีเป็นผู้ถวายคำแนะนำก็เป็นเพียงรูปแบบพิธีการเท่านั้น เมื่อรัฐธรรมนูญถวายพระราชอำนาจให้เป็น อัครศาสนูปถัมภก ก็ควรจะยึดเอานิติราชประเพณีมาเป็นหลักปฏิบัติ รัฐบาลไม่ควรจะเข้าไปก้าวก่ายแทรกแซงออกพระราชกำหนดและเปลี่ยนหลักปฏิบัติการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชผิดไปจากเดิม จะทำให้เกิดความแตกแยกในหมู่คณะสงฆ์จนเกิดสังฆาเภทู
สถาบันพระมหากษัตริย์ได้จารึกติดตรึงอยู่ในหัวใจของคนไทยมานาน ที่ได้ทรงปกครองดูแลราษฎรเยี่ยงบิดาปกครองบุตร ไม่ว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดล้วนมั่นคงอยู่ในพระราชหฤทัยเสมอมาว่า "จะทรงพระเมตตากรุณาแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน เหมือนบิดามารดารักบุตรในอุทรทั้งพระราชอาณาเขต…ทรงพระราชดำริสอดส่องไปในราชการแผ่นดิน การสิ่งไรเป็นธรรมเนียมที่ถืออยู่ ต้องคงไว้ การสิ่งไรที่จะต้องไปดัดแปลง ก็จะต้องจัดการแก้ไขใหม่ให้ดีขึ้น การสิ่งไรเป็นที่ร้อนอกสมณพราหมณาจารย์ ข้าราชการ และอาณาประชาราษฎร์ ก็ต้องย่อมให้ความเย็นใจและความสุขขึ้น…" ด้วยพระมหากษัตริย์ของไทยจะต้องดำรงพระราชจริยาวัตรอันงดงามดั่งนี้ จึงทำให้พระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็น ธ ผู้สถิตย์ในดวงใจของคนไทยทั่วหล้า ทรงดำรง พระราชอิสริยยศอยู่ภายใต้การปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญมาแล้วกว่า 70 ปี แต่ก็ทรงมีพระราชสถานะที่คนไทยยังยกย่องเทิดทูนมาตลอด พระราชสถานะของพระมหากษัตริย์ไทยตามกฎหมายรัฐธรรมนูญที่สำคัญมี 5 พระราชสถานะ คือ ทรงเป็นพระประมุข ทรงเป็นที่เคารพสักการะ ทรงถูกละเมิดมิได้ ทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก และทรงเป็นจอมทัพไทย พระประมุขแห่งรัฐ รัฐธรรมนูญของไทยทั้ง 16 ฉบับ บัญญัติให้ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมการเมืองการปกครองที่ยั่งยืน แต่พระราชภารกิจอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ดั่งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่ผู้แทนของนิตยสาร National Geographic ตอนหนึ่งว่า "…เคยมีผู้กล่าวไว้ว่า ราชอาณาจักรนั้นเปรียบเสมือนปิรามิด มีพระมหากษัตริย์อยู่บนยอดและมีประชาชนอยู่ข้างล่าง แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ดูเหมือนทุกอย่างจะตรงกันข้าม นั่นเป็นสาเหตุที่ทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกปวดคอและบริเวณไหล่อยู่เสมอ…" พระราชฐานะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นประมุขของรัฐและของชาติ มิได้เกิดจากบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญเท่านั้น แต่เกิดจากขนบธรรมเนียมประเพณีของคนไทยมาแต่ดั้งเดิม
ความเชื่อที่สำคัญของคนไทยก็คือ เชื่อว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ทรงประกอบไปด้วย พระปุพเพกตปุญญตา คือ ทรงทำความดีมาอย่างวิเศษกว่าคนอื่น ๆในชาติปางก่อน จึงทรงประสูติมาอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าคนอื่น ๆ เมื่อทรงเป็นพระมหากษัตริย์แล้ว ก็มีพระราชปณิธานที่จะประกอบคุณงามความดีด้วยการบำบัดทุกข์บำรุงสุขให้แก่ราษฎรและทำนุบำรุงพระบวรพุทธศาสนา พระมหากษัตริย์ของคนไทยจึงทรงเป็นพระธรรมราชาหรือพระธรรมิกราชาในสายตาของคนไทย
|
พุทธศักราช ๒๔๙๘
เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม |
พุทธศักราช ๒๔๙๙
เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมวราภรณ์ |
พุทธศักราช ๒๕๐๔
เป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระศาสนโสสภณ |
พุทธศักราช ๒๕๑๕
เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร |
พุทธศักราช ๒๕๓๒
ได้รับพระราชทานสถาปนาขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช
สกลมหาสังฆปริณายก ลำดับที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ศึกษาประวัติศาสตร์ เพิ่มเติมได้ที่ http://www.sangharaja.org/home/index.php
คนเราทุกคนควรปฏิบัติธรรม..ศึกษาธรรม
ตอบลบhttps://sites.google.com/site/inthailandbuddhism/fuk-smathi-xyang-deiyw-yang-tk-nrk-di