กรมศิลป์ หรือกรมทำลายศิลป์ ?


ทำลาย "ลายดอกคำ" งามสุดในลานนา !
อาจารย์ มช. โวยกรมศิลป์
ทำศิลปกรรม "วัดพระธาตุลำปางหลวง" ย่อยยับ

หุหุ ว่าแต่เจ้าอาวาสไม่โวยวายแฮะ
สงสัยดูลายคำไม่เป็น ต้องให้อาจารย์ มช. โวยแทน




วัดพระธาตุลำปางหลวง สถานที่เกิดเหตุ














กรมศิลป์ หรือกรมทำลายศิลป์ ?





ภาพเปรียบเทียบ
ซ้าย-เก่า  ขวา-ใหม่


โวยบริษัทรับเหมาซ่อม "วัดพระธาตุลำปางหลวง" จนย่อยยับ ลายทองอายุ 300 ปีเละ !!

เมื่อวันที่ 22 มี.ค. นายสุรชัย จงจิตงาม อาจารย์ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร้องเรียนหนังสือพิมพ์ข่าวสด ว่า บริษัทรับเหมาที่กรมศิลปากรเป็นผู้คัดเลือกให้ซ่อมแซมวัดพระธาตุลำปางหลวง โบราณสถานสำคัญคู่เมืองลำปาง ตั้งอยู่ที่ ต.ลำปางหลวง อ.เกาะคา จ.ลำปาง ได้ทำลาย ลายคำ ภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปเทวดาพนมมือ อายุไม่น้อยกว่า 300 ปี ประดับอยู่ที่ประตูวิหารพระพุทธ ที่มีอายุ 500 ปี ได้รับการยกย่องว่าเป็นลวดลายขนาดใหญ่ และงดงามที่สุดของศิลปะล้านนาที่ยังหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน ได้รับความเสียหายจากการปิดทอง และเขียนลวดลายใหม่ทับลวดลายเดิม กลายเป็นของใหม่ เช่นเดียวกับวิหารน้ำแต้มที่ซ่อมแซม และส่งผลให้ลายคำเสียหาย

นายสุรชัยกล่าวว่า โบราณสถานในวัดพระธาตุลำปางหลวง ได้แก่ พระธาตุเจดีย์ วิหารหลวง วิหารพระพุทธ วิหารน้ำแต้ม เป็นรูปแบบศิลปกรรมดั้งเดิมของอาณาจักรล้านนายุครุ่งเรืองไว้มากที่สุด และสมบูรณ์ที่สุดเพียงแห่งเดียวที่เหลือตกทอดมาจนถึงปัจจุบัน แม้แต่ จ.เชียงใหม่ อันเป็นเมืองหลวงของล้านนา ก็ยังเหลืออยู่ไม่สมบูรณ์เท่าวัดพระธาตุลำปางหลวง โดยเฉพาะวิหารพระพุทธ อายุราว 500ปี เหลือเพียงไม่กี่หลังในปัจจุบัน

อาจารย์คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่ กล่าวต่อว่า แต่การซ่อมแซมวิหารพระพุทธครั้งล่าสุด ที่ดำเนินการแล้วเสร็จได้ประมาณ 3-4 เดือนที่ผ่านมา จากบริษัทรับเหมาที่ผ่านการคัดเลือก และควบคุมการซ่อมแซมโดยกรมศิลปากร สร้างความเสียหายต่อลายคำ รูปเทวดาพนมมือขนาดใหญ่ 2 องค์ ที่ประดับอยู่ที่ประตูวิหาร ซึ่งถูกซ่อมด้วยการปิดทอง แล้วเขียนลายใหม่ทับลงไปบนลวดลายเดิม จนไม่เหลือร่องรอยฝีมือช่างของเดิมแม้แต่น้อย ทำให้กลายสภาพเป็นลวดลายของใหม่โดยสิ้นเชิง อีกทั้งเป็นฝีมือช่างที่หยาบ ต่างจากลวดลายเดิมก่อนการซ่อมที่มีความประณีตงดงาม เส้นสายในลวดลายเต็มไปด้วยความมีชีวิต

นายสุรชัยกล่าวอีกว่า งานลายคำฝีมือช่างแต่เดิมของวิหารพระพุทธ มีอายุไม่น้อยกว่า 300 ปี เป็นการสร้างลวดลายบนผิวทองคำเปลว ด้วยเทคนิคพิเศษ 
คือใช้วัสดุปลายแหลมขูดเป็นเส้นที่เล็กราวเส้นผม เป็นลายเทวดาประดับด้วยเครื่องทรงอย่างละเอียดประณีต เทคนิคการขูดลายเส้นบนผิวทองคำเปลวนี้ ช่างล้านนาเรียกว่า ฮายดอก เป็นเทคนิคการทำลายคำ หรือลายทองที่พบเฉพาะในภาคเหนือเท่านั้น และไม่ปรากฏการสืบทอดฝีมือช่างเช่นนี้อีกแล้วในปัจจุบัน หาชมได้เฉพาะลำปางเท่านั้น และลายเทวดาของเดิมเป็นลวดลายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าคนจริง และเป็นลายฮายดอก หรือขูดลายทองที่ได้รับการยกย่องว่า งดงามที่สุดของศิลปะล้านนา

"กรมศิลปากรหน่วยงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการสงวนรักษาศิลปกรรมของชาติได้อนุญาตให้มีการซ่อมแซมจนเสียหาย หากเป็นเช่นนั้น แล้วงานซ่อมแซมบูรณะศิลปกรรมชิ้นเยี่ยมอื่นๆ ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายตามมา ดังเช่นการซ่อมวิหารน้ำแต้มภายในวัดเดียวกันที่เพิ่งเสร็จไปก่อนหน้านี้ไม่นาน ก็ได้อาคารในสภาพดุจอาคารใหม่ที่แลดูแข็งกระด้าง และลายคำภายในวิหาร ที่มีอายุหลายร้อยปีก็ถูกซ่อมทับใหม่ โดยการควบคุมของกรมศิลปากรเช่นกัน ในเมื่อลวดลายโบราณของเดิมยังสมบูรณ์ดีอยู่ ทำไมต้องเขียนขึ้นใหม่ ให้สิ้นเปลืองงบประมาณแผ่นดิน และนำมาซึ่งความเสียหายที่เกิดขึ้น กรมศิลปากรจะชี้แจง แก้ไข หรือแสดงความรับผิดชอบอย่างไรต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น" นายสุรชัยกล่าว



ข่าว ข่าวสด
23 มีนาคม 2555

ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ