พรพระศิวะ ปีใหม่ ๒๕๕๘_๕๐๐๐


พระศิวะเจ้า ผู้ประทานพร พระพรหมธาดา ผู้สร้าง และ พระนารายณ์ ผู้รักษา เพื่อให้เมืองนั้น ๆ มีความเจริญรุ่งเรืองภิญโญยศสืบไป


อำนาจแห่งหัวใจศิวะเทพ

โดย ศาสดา อริยไมตรี
       หากเราจะมีความรอบรู้สักเพียงใด แต่ไม่เคยรู้ถึงคุณาธิการแห่งหัวใจของตน ก็ไม่ถือว่าเป็นผู้รู้แจ้ง เมื่อหัวใจไร้ความศักดิ์สิทธิ์ก็จะดับสูญ ถือเป็นสัจจะแห่งชีวิตของสรรพสัตว์ที่ไม่มีผู้ใดหลีกพ้น แต่สามารถยืดอายุออกไปได้ โดยการเข้าถึงกลไกมหัศจรรย์แห่งหัวใจ ที่นอกเหนือจากการเห็นเป็นเพียงก้อนเนื้อที่ปั๊มกระแสโลหิต แต่ยังมีความลึกลับไปในหัวใจสรรพสัตว์ คือ จิตวิญญาณ จิต หมายถึง สิ่งที่รู้สึกได้ถึงอารมณ์แห่งการรับรู้ และการปรุงแต่ง วิญญาณ หมายถึง สิ่งที่คิดได้หมายรู้ถึงความทรงจำอันมหัศจรรย์แห่งกลไกของธาตุรู้ เพื่อตองสนองต่อความรู้สึก และอารมณ์ของหัวใจ จะมีใครบ้างที่ให้ความสำคัญกับหัวใจตน พร้อมกับรู้ซึ้งถึงคุณาธิการแห่งหัวใจตนที่ให้ความรู้ ความรัก ความสุข ความทุกข์และความขมขื่น แต่ถ้าปราศจากหัวใจดวงนี้ ความรู้สึกเหล่านี้ก็บังเกิดขึ้นไม่ได้ จะมีสักกี่คนที่สำนึกถึงคุณอันประเสริฐนี้ ตรงกันข้ามผู้คนกลับให้การยอมรับนับถือแต่สิ่งนอกกาย แต่กลับหลงลืมหัวใจของตนที่มีแต่ความเมตตากรุณา โดยไม่แบ่งแยกความดี ความชั่ว แต่จะคงไว้กับการเป็นผู้ให้พลังแห่งชีวิต เมื่อผู้ใดเข้าใจถึงคุณาธิการแห่งหัวใจ ผู้นั้นย่อมพบกับความยิ่งใหญ่แห่งพลังจิตใต้สำนึก สามารถล่วงรู้หัวใจของผู้อื่นดุจใจตน การที่รู้คุณค่าหัวใจของผู้อื่น จึงทำให้ตนดำรงอยู่ในอำนาจแห่งความรัก ความเมตตา เพราะจะรู้ว่าชีวิตนั้นมาก่อนความคิด จึงให้มีความรัก และเมตตาต่อทุกชีวิต และให้ความกรุณาต่อทุกความคิด มีมุทิตาต่อความคิดที่ดีงาม มีอุเบกขาต่อความคิดที่หลงผิด เราเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า พรหมวิหารสี่

หัวใจทุกดวงย่อมมีกำหนดระยะเวลาเป็นของตนเอง จะสั้น หรือยาวขึ้นอยู่กับการให้คุณค่า และความสำคัญแก่หัวใจตน หากไม่มีภัยใดมาแผ้วพาน อายุของหัวใจก็จะอยู่ได้ยืนยาวเท่ากับอายุของบิดา มารดา รวมกันหาญสอง ดังนั้นเราทั้งหลายควรก้าวเข้าสู่ยุคที่มีแนวคิดแห่งการบูชาหัวใจ เพื่อจะได้รู้ถึงคุณาธิการอันยิ่งใหญ่แห่งหัวใจมนุษย์ เพราะในที่สุดเราจะผ่านเปลือกแห่งกาย สู่แก่นแห่งหัวใจ เพื่อจะมุ่งเข้าสู่ความจริงแท้อันเป็นบ่อเกิดแห่งสรรพชีวิต นั่นคือแก่นที่ไร้แก่น

สรรพสิ่งทั้งหลายย่อมมีวิญญาณเป็นของตน นั่นคือ พลังแห่งจิตใต้สำนึก ถ้าวิญญาณใดปราศจากหัวใจก็ปราศจากความรู้และไร้ทิศทาง จะเหลือไว้แต่สัญชาตญาณแห่งการเจริญเติบโต เพราะฉะนั้นสรรพสัตว์จึงมีหัวใจ ซึ่งเป็นที่สถิตแห่งจิตวิญญาณเป็นสำคัญ ดังนั้นการสื่อสารใดย่อมออกมาจากหัวใจ สมองเป็นอวัยวะที่อ่านความรู้สึก และอารมณ์ของหัวใจเท่านั้น การสื่อสารกับหัวใจต้องใช้คุณสมบัติของความอ่อน อันเป็นของสูง ตรงกันข้ามกับความแข็งซึ่งเป็นของต่ำ เพราะสิ่งที่ตายแล้วจะแข็ง สิ่งที่มีชีวิตจะอ่อนนุ่ม การเข้าใจถึงหัวใจ หรือพลังแห่งจิตใต้สำนึก ต้องอาศัยความรัก และความอ่อนโยน แต่เมื่อมีศรัทธาในสิ่งใดตนควรจะบูชาสิ่งนั้นด้วยหัวใจ เพราะวิญญาณทั้งหลายที่มีหัวใจจะสามารถสื่อสาร และดลบันดาลให้เป็นไปตามความปรารถนาต่อผู้ที่เข้าถึงกลไกอันมหัศจรรย์แห่งหัวใจนั่นคือความรัก และความรักนั้นเป็นอาวุธของสวรรค์ ผู้ที่ใช้อาวุธของสวรรค์จะไม่มีวันพินาศ ดุจร่างแหแห่งความรัก ถึงแหจะมีตาห่าง แต่ก็ไม่มีสิ่งใดที่จะเล็ดลอดหลุดไปได้ นั่นก็คือ อำนาจแห่งความรักของหัวใจ เพราะไม่มีความรักใดเกิดขึ้นได้โดยปราศจากหัวใจ

การปลดล็อคพลังแห่งจิตใต้สำนึกในมวลสารแห่งรูปทรงอันมหัศจรรย์ของหัวใจให้ตื่นขึ้น ด้วยอำนาจแห่งความรู้ ความเข้าใจในกลไกทางจิตวิญญาณ และเมื่อหัวใจที่ถูกปลดล็อคแล้วจะเกิดพลังอำนาจอันไร้ขีดจำกัด จากนั้นจะสามารถส่งความปรารถนาดัวยความคิดลงไปที่หัวใจตน ผลที่ได้จะทำให้ได้รับพลังอำนาจแห่งความรัก และความเมตตา ทำให้เกิดปฏิกิริยาย้อนกลับจากใจของผู้อื่น อันเนื่องมาจากใจของตนมีพลังอิสระจากจิตใต้สำนึก ที่จะดูดซับความรัก และความเมตตาจากใจของผู้อื่นมาสู่ตน จงร้องขอต่อหัวใจของตนเอง เท่ากับการป้อนคำสั่งสู่จิตใต้สำนึกนั่นเอง

ทั้งหมดนี้คือ กลไกอันมหัศจรรย์แห่งหัวใจที่เกิดขึ้นด้วยอำนาจของระบบปราสาทส่วนกลาง หรือเรียกว่า ระบบประสาทอัตโนมัติ นั่นก็คือพลังแห่งจิตใต้สำนึกที่สามารถเชื่อมโยงเครือข่ายของหัวใจทุกดวงเข้าด้วยกัน ด้วยความรู้สึกนึกคิดและจินตนาการเป็นสำคัญ ส่วนวิถีชีวิตของแต่ละคนจะเป็นเช่นไรขึ้นอยู่กับไฟในหัวใจมาแต่กำเนิด แต่ไฟแห่งหัวใจนี้สามารถปรับแต่ง หรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้ ด้วยอาศัยอำนาจแห่งความรู้ในกลไกอันมหัศจรรย์แห่งหัวใจ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ ก็เนื่องมาจากความบกพร่องของระบบประสาทอัตโนมัติที่มีผลต่อหัวใจ หนทางแห่งการแก้ไขคือการทำสมาธิ แล้วกำหนดความรู้สึกไปที่หัวใจ ระลึกถึงคุณาธิการแห่งหัวใจด้วยความนอบน้อมถ่อมตน และเปี่ยมไปด้วยความรักด้วยความคิดที่มีต่อหัวใจตน ความคิดที่นุ่มนวลเท่านั้นที่จะปรับความสมดุลของหัวใจได้ จงรู้ถึงพลังแห่งหัวใจ ซึ่งก็ด้วยพลังจิตใต้สำนึกที่เป็นผู้สร้างร่างกาย ย่อมมีความเฉลียวฉลาดในการบำบัดรักษาให้ทุเลา หรืออาจหายได้ในที่สุด ขึ้นอยู่กับศรัทธาที่มีต่อพลังอำนาจของหัวใจ ซึ่งเป็นที่สถิตแห่งจิตวิญญาณ หรือพลังใต้สำนึก

เหนือสิ่งอื่นใด เราควรให้จิตสำนึกของเราเรียนรู้แบบอย่างพฤติกรรมของหัวใจที่มีแต่ให้ และเป็นที่พึ่ง และทรงสถิตอยู่ในกายเรา และจงสร้างความฝันให้เป็นความทรงจำแห่งอนาคต เพราะผู้ที่มีความศรัทธาต่อพลังแห่งจิตใต้สำนึกเท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จ และความสำเร็จที่เกิดขึ้นนั้น ก็เนื่องมาจากพลังขับเคลื่อนแห่งหัวใจ จงตอกย้ำความฝัน และความปรารถนากับหัวใจของตนให้บรรลุถึงจิตใต้สำนึก มโนรถของผู้นั้นก็จะปรากฏเป็นจริง เพราะฉะนั้นรูปทรงอันมหัศจรรย์แห่งหัวใจ ถือเป็นเทคโนโลยีชั้นยอดที่ธรรมชาติให้มา จึงนับเป็นประดิษฐกรรมชั้นสูงทางจิตวิญญาณอันหาค่ามิได้ จงพยายามร้องขอต่อหัวใจตนเท่ากับร้องขอต่อความเฉลียวฉลาดอันไร้ขอบเขต อันเป็นเพชรแห่งภูมิปัญญาที่อุบัติขึ้นในกายเรา เพราะหัวใจเท่านั้นที่เป็นองค์คุณแห่งการตรัสรู้ และสิ่งที่พ้นไปจากความเชื่อก็คือความมีอยู่แห่งพลังจิตใต้สำนึกอันศักดิ์สิทธิ์ของหัวใจแห่งรัก

จักรวาลนี้เป็นจักรวาลของหัวใจแห่งรัก เป็นรหัสนัยของวิญญาณดึกดำบรรพ์ หัวใจเป็นอัญมณีแห่งวิญญาณ เป็นวิญญาณแห่งความรักตามกฎแห่งสรวงสวรรค์ เพื่อสร้างสรรค์ความรักให้เป็นหนึ่งเดียวด้วยการสำแดงออกซึ่งความรู้ ถึงความมีอยู่ของเอกภาพแห่งวิญญาณของความรักอันมหัศจรรย์ของพลังจิตใต้สำนึก
http://www.baanjomyut.com/library_2/power_of_shiva/index.html

ศึกษาข้อมูล วิทยานิพนธ์ด้านความมั่นคงสถาบันพระศาสนา ในประวัติศาสตร์ ได้ที่https://docs.google.com/file/d/0B_nOh0gPsWNSUkVWRG9aQ3pkbmc/edit
ช่วยแบ่งปันได้เพื่อสร้างบุญบารมี ถวายสมเด็จพระสังฆราช ครับ


อนุตรธรรม : ยุคสมัยของโลก ยุคของสัตว์สี่เหล่า และพระตรีมูรติ



ยุคสมัยของโลก



โลกได้รับการดูแลยุคสมัยโดยพรหมโลก เพื่อให้โลกได้รับการจัดการอย่างดี เหมาะสมกับการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพจิตนับไม่ถ้วน โลกนี้จึงต้องมีการเปลี่ยนแปลง การเกิดและตาย มีวัฏจักรขึ้นและลง อย่างมีระบบระเบียบอย่างค่อยเป็นค่อยไป ดังต่อไปนี้



โลกในยุคพระพรหม คือ ยุคการสร้างโลก ให้พร้อมต่อการเกิดขึ้นของศาสนาพราหมณ์



จะมีพระพรหมจำนวนมาก ลงมาช่วยปรับสมดุลของโลก สร้างโลกนี้ให้เหมาะแก่การอยู่อาศัย นับเริ่มต้นจากการสร้างโลกจากไม่มีอะไรเลย คือ สิ้นกัปก่อนหน้านี้ลงไป ก็เกิดกัปใหม่ เรียกว่า ภัทรกัป” มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้รวมทั้งสิ้นห้าพระองค์ เริ่มนับจากหลังสิ้นพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ก่อนหน้านี้ (องค์ที่สี่) ก็เข้าสู่กลียุค มนุษย์จึงตายมากมาย แต่ไม่ถึงขั้นสูญพันธุ์ (เพราะยังไม่สิ้นกัป) ไปจนถึงการปรับโลกให้ดีขึ้น ดังนี้



๑)    ช่วงหลังกลียุคของพระพุทธเจ้าองค์ที่สี่

ช่วงนี้ มนุษย์ที่รอดตายมีน้อยมาก โดยรอดตายเพราะหนีเข้าป่า เบื่อหน่ายทางโลก ทางโลกแก่งแย่งกันมากมาย จึงตายมากมาย เมื่อตายหมดแล้ว พวกที่หลบอยู่ในป่า ออกมาสร้างโลกใหม่ โดยสร้างค่านิยมร่วมกันว่าจะไม่หลงโลก จะทำความดีละเว้นความชั่ว เมื่อมนุษย์ร่วมมือกันสร้างค่านิยมการดำรงอยู่ใหม่ พวกเขาก็ค่อยๆ พัฒนาขึ้นตามลำดับ โลกในยุคนี้ไม่มีระบบกษัตริย์ อยู่กันแบบพ่อลูกครอบครัวใหญ่ๆ ไม่มีศาสนา มีแต่จริยธรรม



๒)    ช่วงพัฒนาจิตวิญญาณมนุษย์

ช่วงนี้ มนุษย์เริ่มมีอายุขัยยืนยาวขึ้นแล้ว จากเดิมอายุขัยสั้นมาก หลักสิบปีก็ตายแล้ว พอผ่านมาถึงยุคนี้ อายุขัยเริ่มเพิ่มเป็นห้าสิบปี จิตวิญญาณมนุษย์ได้รับการสั่งสอนให้ทำความดีละเว้นความชั่ว พัฒนาดีขึ้นมาตามลำดับ เริ่มมีกษัตริย์ที่มีบุญบารมีลงมาบนโลกมนุษย์ ก่อร่างสร้างทำ พัฒนาด้านต่างๆ มนุษย์ก็เพิ่มจำนวนมากขึ้น โลกมีศีลธรรมแต่ยังไม่มีศาสนา ไม่มีผู้ค้นพบสัจธรรม จนพร้อมที่จะเกิดศาสนาพราหมณ์บนโลกมนุษย์



๓)    ช่วงสร้างศาสนาพราหมณ์   

ช่วงนี้ มนุษย์มีอายุขัยเพิ่มขึ้นเป็นหลักร้อยปี เหมาะสมที่จะสร้างศาสนาพราหมณ์ได้ จึงเกิดศาสนาขึ้น หลังจากมีระบบกษัตริย์แล้ว กษัตริย์สนพระทัยในศาสนาที่เกิดขึ้นใหม่นี้ และให้การสนับสนุนศาสนาพราหมณ์ จนแพร่หลายเป็นที่ยอมรับของชาวโลกไปทั่ว มีผู้ค้นพบสัจธรรมหนึ่งท่านคือพระศิวะ แต่ไม่มีบารมีพอที่จะเผยแพร่ในวงกว้างได้ จึงตั้งจิตปรารถนาจะไปเผยแพร่สัจธรรมในอนาคตชาติ ไม่ยอมเข้าสู่นิพพาน เมื่อละสังขารจุติไปเป็นโพธิสัตว์ที่สุขาวดีโลกธาตุ ทิ้งธรรมต่างๆ ไว้เป็นสมบัติของมวลมนุษย์ต่อไป



โลกในยุคของพระพรหมนี้ ขอนับหลังจากพระพุทธศาสนาของพระพุทธเจ้าองค์ที่สี่แห่งภัทรกัปนี้สิ้นสุดลง เข้าสู่กลียุคแล้วมนุษย์ได้รับผลกรรม ลำบากยากเข็ญกันมาก แม้แต่พืชพรรณธัญญาหารที่เคยเกิดเองอุดมสมบูรณ์ ก็ไม่ได้มรรคผลดังเก่าก่อน เคยอยู่ป่ามีผลไม้ป่าได้กินอาศัยไม่ต้องทำไร่ไถนา ก็ต้องทำ เป็นยุคของวัว พระพุทธเจ้าสมณโคดมบำเพ็ญบารมีจากวัว ช่วยชาวนาไถนา มวลสรรพจิตในยุคนี้ จึงต้องกรรมตามนั้น ต้องทำนา จึงจะมีข้าวกิน พระแม่ผู้หล่อเลี้ยงโลก เปลี่ยนองค์ เป็น แม่โพสพ ดูแลธัญญาหาร คือ ข้าว มนุษย์ต้องกินข้าวเมล็ดเล็กๆ ค่อยๆ กินอย่างวัว ไม่อาจกินทีเดียวอิ่มไปนานๆ แบบเต่าได้ดังยุคพระกัสสปพุทธเจ้า ที่ยังเหลือผลไม้กินทีเดียวอิ่มบ้าง ธัญญาหารที่ค่อยๆ กิน กินนานจึงจะอิ่มบ้างปะปนกันอยู่ ยุคพระพุทธเจ้าสมณโคดม ต้องกินอย่างวัว คือ เล็มกินไปเรื่อยๆ ทีละคำ ช้าๆ คือ กินข้าวจึงอิ่ม กินผลไม้อย่างเดียว ทีเดียวไม่อิ่ม จนกระทั่งเริ่มมีศาสนาพราหมณ์ไว้เป็นฐานรอพระพุทธศาสนา เพราะอายุขัยมนุษย์สั้น       



โลกในยุคพระนาราย คือ ยุคแห่งการรักษาพระพุทธศาสนาที่ถูกต้อง มีสามยุค



จะมีพระนารายอวตารลงมาช่วยโลกมนุษย์ทั้งสิ้น ๑๐ ปาง หรือสิบครั้ง แบ่งเป็นสามระยะ คือ ระยะที่ยังไม่มีพุทธศาสนา, ระยะสร้างพุทธศาสนาและระยะสิ้นพุทธศาสนา ดังนี้



๑)    ช่วงก่อนพุทธศักราช ระยะการรักษาโลกโดยพระนารายแปดปาง

ช่วงนี้ พระนารายจุติลงมาเป็นกษัตริย์เป็นส่วนใหญ่ รักษาโลกและศาสนาพราหมณ์ไว้ ให้พ้นจากภัยอสูรที่ร้ายกาจ โลกจะดำรงอยู่ได้ด้วยการจุติลงมาปราบอสูรของพระนาราย และอาศัยธรรมจากศาสนาพราหมณ์ จนกระทั่งศาสนาพราหมณ์เสื่อมลง การปฏิบัติไม่ถูกต้อง พระนารายปางที่เก้าจะจุติลงมาสอนธรรมมนุษย์ให้ถูกต้อง คือ พระพุทธเจ้า



๒)    ช่วง ๘๐ ปี ก่อน พ.ศ. ๑ ระยะเริ่มต้นของการสร้างพุทธศาสนา

ทางพราหมณ์จะอาศัยพระพุทธเจ้าและนับถือพระพุทธเจ้า เป็นดั่งมหาเทพจากพรหมโลก คือ พระนารายปางที่เก้า ซึ่งก่อนหน้านี้ จะมีศาสนาพราหมณ์อยู่ก่อนแล้ว เจ้าชายสิทธัตถะจะออกบวชเป็นพราหมณ์ ศึกษาพราหมณ์ จากพราหมณ์ผู้เป็นครูสำคัญสองท่าน แล้วจะตรัสรู้ธรรมด้วยตนเอง ประกาศศาสนาใหม่ แก้ไขหลักธรรมพราหมณ์เดิมที่เสื่อมลงและผิดเพี้ยนไป ให้ถูกต้อง หลังจากนั้น จึงมีพราหมณ์พุทธ ถือศีลแปดเกิดขึ้น 



๓)    ช่วง พ.ศ. ๑ ถึง พ.ศ. ๒,๕๐๐ ระยะสุดท้ายของการรักษาพุทธศาสนา

พรหมโลกจะส่งพระนารายปางที่สิบเป็นปางสุดท้ายลงมารักษาโลกและพระพุทธศาสนา เมื่อสิ้นระยะนี้ พุทธศาสนาที่แท้จริงจะหมดลงไป สาวกของพระพุทธเจ้าจะไม่เหลืออีก มีแต่ผู้อื่นที่ไม่ใช่สาวกของพระพุทธเจ้าเอาศาสนาพุทธไป ได้แก่ อสูร, มาร, เทพ, พรหม สี่เหล่านี้ได้ทูลขอพระพุทธศาสนาจากพระพุทธเจ้าแล้ว จะเอาศาสนาไปทำประการใด แตกต่างไปจากเดิมก็แล้วแต่พวกเขา พระพุทธเจ้าอนุญาตแล้ว พวกเขาไม่ใช่สาวกของพระพุทธเจ้าแต่ได้ศาสนาไป จึงเอาไปทำอย่างอื่น ไม่ถูกต้องตรงทาง ศาสนาจะเสื่อมลง



พระพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ตามคำสอนของพระพุทธเจ้า ได้รับการรักษาไว้ด้วยเทพพรหมมากมาย ทางพรหมโลกส่งพระนารายมาดูแลพระพุทธศาสนา ทางสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกาส่งพญานาคมาเป็น เทพนักษัตร ดูแลพระพุทธศาสนาจนถึงปี ๒,๕๐๐ ก่อนเปลี่ยนถ่ายให้แก่อสูรเหล่ามังกร ทางสุขาวดีส่งพระยูไลและพระโพธิสัตว์มาค้ำพระพุทธศาสนาและสร้างพุทธศาสนาแบบมหายาน โดยพระพุทธศาสนาที่บริสุทธิ์ถูกต้องยังได้รับการรักษา และสืบทอดต่อกันมาโดยพระสาวก ผู้เป็นพุทธบริษัทของพระพุทธเจ้าสมณโคดม คือ บริวารเก่าที่สร้างบุญบารมีร่วมกันกับพระองค์ไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติ จำนวนมาก ทยอยลงมาจุติสานต่อพระพุทธศาสนาสืบๆ กันไปนั่นเอง ทั้งหมดนี้จะอยู่ได้ตั้งแต่ พ.ศ. ๑ ถึง พ.ศ. ๒,๕๐๐ หรือครึ่งหนึ่งของอายุพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอายุเต็ม ๕,๐๐๐ ปี



หลังจากครึ่งหนึ่งของพระพุทธศาสนาสิ้นสุดลง พระอานนท์ได้ทูลของพระศาสนาไว้ได้เพียงครึ่งหนึ่งให้แก่เหล่าพุทธบริษัทสี่ คือ ภิกษุ, ภิกษุณี, อุบาสก (พราหมณ์พุทธฝ่ายชาย), อุบาสีกา (พราหมณ์พุทธฝ่ายหญิง) โดยภิกษุและภิกษุณีนั้น มีกายทิพย์ข้างในเป็นภิกษุ ภิกษุณีจริงๆ เพราะเป็นสาวกเก่าของพระพุทธเจ้า หลังจากนี้แล้ว พระภิกษุภิกษุณี จะมีกายทิพย์ข้างในเปลี่ยนไป เป็น เทพ, พรหม, อสูร, มาร เพราะหมดยุคของพุทธบริษัทสี่ของพระพุทธเจ้า เข้ายุค เทพ, พรหม, อสูร, มาร มาดูแลพระพุทธศาสนาแทน พระพุทธศาสนาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นต้นไป ไม่เหมือนเก่าก่อน ดูเปลือกนอกคนไม่รู้ ต้องดูแก่นข้างใน กายในกาย กายทิพย์ของผู้ปฏิบัติธรรม เป็นเทพ, พรหม, อสูร, มาร มากมาย แทบไม่เหลือผู้ที่มีกายทิพย์เป็นภิกษุ, ภิกษุณี (กายทิพย์เทวดาชั้นยามา) จากนั้น ก็ค่อยๆ ล้มหายตายจากไปจนหมดสิ้น ไม่เหลือเลย พระอรหันตสาวกจะไม่มีอีก แต่มีผู้บรรลุอรหันต์ แบบอรหันตโพธิสัตว์แทน จะนิพพานต้องนิพพานแบบพระปัจเจกฯ    



โลกในยุคพระศิวะ คือ ยุคแห่งการชำระล้างโลกอย่างสมดุล แบ่งออกเป็นสี่ระยะ



สามภพนี้จะหายนะ ถ้ามีแต่กระบวนการสร้างและรักษา เพราะสิ่งต่างๆ จะล้นโลก มนุษย์จะอยู่กันไม่ได้ ล้นโลก หาอะไรกินก็ไม่มีเพราะมากเกินไป ทรัพยากรไม่เพียงพอ จำต้องมีกระบวนการทำลายล้าง ชำระล้างโลกให้เข้าสู่ภาวะสมดุล จึงจะอยู่ต่อไปได้ ดังนี้ 



๑)    ช่วงปี พ.ศ. ๒,๕๕๐ ระยะเริ่มต้นของการทำลายล้างอย่างสมดุล

พระศิวะจะลงมาเต็มกำลังไม่ได้ เพราะพลังทำลายล้างจะมากเกินพอดี จะต้องลงมาในนิรมาณกายแบบตรีมูรติ คือ เอาพลังพรหมและพิฆเนศมาผสมเพื่อลดสัดส่วนของพลังพระศิวะลง เป็นพลังศิวะเพียงหนึ่งในสามส่วน การทำลายล้างจะเกิดเพียงหนึ่งส่วนสามของกำลังทั้งหมด นิรมาณกายแบบตรีมูรตินี้ จะเป็นพลังผสมแบบพรหม, ศิวะ, นารายไม่ได้ เพราะหมดยุคของพระนารายแล้ว หากตรีมูรติได้พลังเต็มทั้งสามเศียร คือ พรหม, ศิวะ, นาราย แล้ว จะมีอำนาจมาก ศาสนาพราหมณ์จะมาแทนที่พระพุทธศาสนาเต็มที่ ซึ่งยังไม่ถึงเวลา จึงต้องเป็นตรีมูรติที่มีกำลังน้อยลง เป็นพลังผสมพรหม, ศิวะ, พิฆเนศ เมื่อทำลาบล้างแล้ว จะสร้างใหม่ ยังมีศาสนาพุทธอยู่ แต่ผู้ครองได้ต้องเก่งกล้า ตัวเล็กตัวน้อยไม่อาจอยู่ได้ สัตว์นรก, เปรต ไม่มีบุญได้อยู่ มีแต่มาร, เทพ, พรหม, อสูร อยู่ได้ มีทางนิพพาน แต่ต้องทำเองแบบปัจเจกพุทธเจ้า ได้แล้วอยู่บนโลกไม่ได้ต้องตาย



๒)    ช่วงปี พ.ศ. ๓,๕๐๐ ระยะกลางของการทำลายล้างจนสิ้นสาวก

พระศิวะจะลงมาหนึ่งในสองส่วน นิรมาณกายครึ่งศิวะครึ่งพิฆเนศ พลังพรหมหายไป ความเมตตาจะลดลง เพื่อเร่งให้กระบวนการทำลายล้างเข้าสู่ยุคตามที่ควรจะเป็น เหล่าผู้ยอมเป็นบริวารจะอยู่ยาก เหลือแต่ผู้เก่งกาจด้วยฤทธิ์เดช แต่ไม่มีความสงบสุข ต่างแก่งแย่งแข่งขันทำลายล้างกันไม่จบสิ้น ตัวใหญ่อยู่รอด ตัวเล็กไม่รอด พลังพรหมไม่มี จึงช่วยเหล่าตัวเล็กตัวน้อยไม่ได้ มีแต่ตัวใหญ่อยู่รอดได้ด้วยฤทธิ์ของตนเอง โลกไม่ค่อยสงบสุข แต่มีธรรมะของพระพุทธเจ้าเหลืออยู่ ยังมีแบบแผนของพุทธศาสนาเหลืออยู่



๓)    ช่วงปี พ.ศ. ๔,๕๐๐ ระยะสุดท้ายของการทำลายล้างโดยพระศิวะ

พระศิวะจะลงมาเต็มกำลัง คือ หนึ่งในหนึ่งส่วน นิรมาณกายศิวะเต็มบารมี พลังพรหมและพิฆเนศไม่มี และไม่อาจคุมได้อีก กระบวนการทำลายล้างจะรุนแรง โดยพระกาลี แต่มีพระศิวะคอยดูแลควบคุมไม่ให้รุนแรงเกินไป ผู้ชายจะไม่เอาไหน ขี้ขลาด ผู้หญิงจะครองโลก ปกครองเอง ดุร้าย ผู้ชายดีๆ หนีไปบวช ไปอยู่ป่า ลาทางโลก พระพุทธศาสนาจะเหลืออยู่แต่แทบหาประโยชน์ไม่ค่อยได้ต้องเร่งปฏิบัติด้วยตนเอง ก่อนไม่เหลือพระธรรมที่ถูกต้องอยู่เลย ช่วงนี้ พลังพระศิวะยังพอมีคานกับพระกาลีได้ โลกจะยังไม่เข้ากลียุค



๔)   ช่วงปี พ.ศ. ๕,๕๐๐ ระยะการทำลายล้างจนเกือบสูญพันธุ์ (กลียุค) 

คือ หลังปี พ.ศ. ๕,๐๐๐ ไปแล้ว พระพุทธศาสนาสิ้นสูญลง แล้วต่อไปอีกถึง ๕๐๐ ปี เป็นยุคของพระกาลี คือ กลียุค ไม่มีพระศิวะที่มีบารมีมากพอมาควบคุมได้เท่าเดิมอีก จะเกิดการทำลายล้างโดยพระกาลีเต็มกำลัง แผ่นดินสะเทือน ดิน, น้ำ, ลม, ไฟ บนโลกแปรปรวนหนัก และเข้าสู่การล้างยุคสมัย เป็นกลียุค หรือยุคของเจ้าแม่กาลีโดยสมบูรณ์



อนึ่ง ยุคของพระศิวะจบลงในสามช่วงแรก ที่ยังเหลือพระพุทธศาสนา แต่ไม่ใช่ศาสนาที่บริสุทธิ์ดุจเดิมดังเก่าก่อน เป็นศาสนาที่ถูกดัดแปลงไปให้เหมาะสมกับเหล่ามาร, เทพ, พรหม, อสูร ตามใจของเขาเหล่านั้น เพราะได้รับพุทธานุญาตจากพระพุทธเจ้าแล้ว จึงไม่มีใครห้ามได้ ในยุคสุดท้าย คือ ระยะที่สี่ ไม่ใช่ยุคของพระศิวะอีกต่อไป การทำลายล้างจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง เต็มกำลัง โดยพระกาลี หรือเจ้าแม่กาลีนั่นเองพระศิวะจะลงมากั้นก่อนพระกาลีทำลายโลกเท่านั้น เมื่อทำลายล้างแล้ว มนุษย์จะยังไม่สูญพันธุ์ แต่จะเหลือน้อยมาก ที่เหลือรอดจะกลับตัวกลับใจ สร้างยุคสมัยใหม่รอพระศรีอาร์ฯ ต่อไป

ยุคสุดฤทธิ์สุดเดชนี้ ควรอยู่บนโลกนี้กันอย่างไร?



เมื่อผู้เขียนสับสนและเกิดความสงสัยขึ้นในใจเรื่องของยุคสมัย เพราะงงว่าเป็นยุคของพระศรีอาริยเมตตรัยหรือไม่ เพราะยังไม่ใช่วาระที่ท่านจะมาตรัสรู้ แต่ท่านก็จะลงมาค้ำพระพุทธศาสนา เลยงงว่าเป็นยุคของใครกันแน่ อาจารย์สอนธรรมท่านหนึ่ง ก็สนทนากับผู้เขียนโดยที่ผู้เขียนไม่เคยพูดถึงความสงสัยในใจนี้เลย ท่านก็บอกออกมาทันทีว่า ยุคพันมือ แต่ผู้เขียนก็ยังคลางแคลงใจอยู่ดี เพราะพันมือนั้นหมายถึงโพธิสัตว์ภาคปราบ หากให้ยุคนี้เป็นยุคพันมือแล้วเทพ, พรหม, อสูร, มารคงอยู่ร่วมกันไม่ได้ ซึ่งไม่ใช่เจตนาของผู้เขียน เพราะผู้เขียนทำกิจตามพุทธบัญชา ดังที่พระพุทธองค์ได้ทรงอนุญาตแล้วว่าให้สรรพสัตว์ทั้งสี่เหล่าดูแลพระพุทธศาสนาของท่านต่อไป คือ เทพ, พรหม, อสูร, มาร 



ดังนั้น จึงเพียรพยายามต่อไป พบอาจารย์สอนธรรมอีกท่าน ได้กล่าวคำหนึ่งมาว่าพวกเราเดี๋ยวนี้มีแต่สุดฤทธิ์สุดเดชกันทั้งนั้น เลยรู้สึกว่าน่าจะครอบคลุมกว่า คือ สุดฤทธิ์สุดเดชนั้น น่าจะครอบคลุมได้ทั้ง เทพ, พรหม, อสูร, มาร จริงๆ จึงขอเรียกชื่อเล่นยุคนี้ว่าเป็นยุค สุดฤทธิ์สุดเดช ก็แล้วกัน ดังจะอธิบายความหมายให้กระจ่างต่อไป



ยุค สุดฤทธิ์สุดเดช หมายถึงอย่างไร

หมายถึงยุคที่มีผู้มีบุญ, มีฤทธิ์มากเกิดมาก ซึ่งได้แก่ เทพ, พรหม, อสูร, มาร มาเกิดมาก ทำให้มีแต่คนที่มีฤทธิ์มาก ไม่ก็บุญบารมีมาก กันทั้งนั้น ไม่มีใครยอมใคร ไม่มีใครก้มเป็นสาวกของใครอย่างแท้จริง ดูง่ายๆ ก็ได้ ทุกบริษัท มีไหมที่จะผูกพันพนักงานไว้ได้ตลอดชีพก็ไม่มี จะเป็นสาวกที่ซื่อสัตย์ภักดีต่อนายคนเดียว เรียกว่าชาตินี้ทั้งชาติขอมีนายเดียวนั้นน่าจะไม่มีอีก ไม่เหมือนยุค ๒๕๐๐ ปีที่ผ่านมา ที่มีพุทธบริษัทของพระพุทธเจ้ามาเกิด มีสาวกคือ คนที่มีจิตพร้อมเป็นสาวกเป็นบริวารข้าทาสผู้อื่นโดยจำนนโดยดี ยอมโดยง่ายนั้นหาไม่มีแล้ว อีกอย่างเราปลดทาสกันหมดแล้ว คงหาคนเช่นนั้นไม่ได้ ปัจจุบัน คนที่มาเกิดมีแต่เก่งกาจกันทั้งนั้น จึงเรียกว่ามีฤทธิ์มีเดช มีบุญ มีบารมีกันมาเต็มไปหมด



เมื่อแต่ละคนก็มีดีในตัว แล้วเรายังต้องการจักรพรรดิอีกไหม

จักรพรรดิจำเป็นสำหรับสนับสนุนทางโลก แต่ไม่จำเป็นต้องมีเสมอไปในพระพุทธศาสนา เช่น ในสมัยพระพุทธเจ้าทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ ท่านประกาศพระธรรมไป ๗ แว่นแคว้น ไม่มีแว่นแคว้นไหนที่เรียกหรือนับได้ว่าเป็น จักรพรรดิ ที่แท้จริงเลย ทั้ง ๗ แว่นแคว้นนั้น ไม่ได้มีอาณาเขตไพศาลจนพระราชาองค์อื่นต้องสยบก็หาไม่ แต่เข้าข่ายอยู่ร่วมกันได้โดยธรรม เพราะธรรมะของพระพุทธเจ้านำสันติมาให้ต่างหาก คือ ทุกองค์เป็นพระธรรมราชา ไม่ใช่พระเจ้าจักรพรรดิ ในประวัติศาสตร์โลก พระเจ้าจักรพรรดิ มีหลายองค์ เช่น พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ก็ทรงยึดเมืองได้มากมาย ขยายอิทธิพลรุกเข้ามาถึงอินเดีย และส่งผลร้ายต่อศาสนาในอินเดียด้วย ในประเทศจีน เจงกีสข่าน ก็นับได้ว่าเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ขยายอาณาเขตไปจนไม่มีใครกล้าต้านทานได้ ทว่า แม้เขาจะให้การยอมรับศาสนาทุกศาสนา ซึ่งสมัยนั้นหาได้ยากที่จะมีพระราชาองค์ใดให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาได้ขนาดนั้น ทว่า ตลอดเวลาที่กรำศึกสงครามมา มีแต่ความไม่สงบ ผู้คนตกอยู่ในภาวะหวาดกลัว ศาสนาจึงไม่ได้เจริญรุ่งเรืองอย่างแท้จริง แม้แต่ที่ประเทศอินเดียก็มีจักรพรรดิองค์หนึ่งมาเกิด คือ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทำการสนับสนุนพุทธศาสนามากมาย ทว่า สิ่งที่ท่านทำนั้น หลายอย่างเป็นไปเพื่อการเอาศาสนามาร่วมใจคน ท่านได้สร้างหลักฐานมากมายเพื่อบ่งบอกว่า อินเดียคือ ชมพูทวีป เพราะท่านได้ครองอินเดีย แต่ในความเป็นจริงแล้ว ในสมัยพุทธกาล ชมพูทวีป คือ อาณาเขตจากไหนถึงไหนกันแน่ เพราะประเทศไทยปัจจุบันของเราไม่ใช่อินเดีย แต่กลับมีศาสนาพุทธและพราหมณ์รุ่งเรืองมาแต่โบราณกาลเช่นกัน นี่กำลังบอกว่าพระเจ้าจักรพรรดิ บางครั้งอาจทำสิ่งที่ไม่เข้าใจในศาสนาที่ทรงกำลังสนับสนุนอยู่ก็ได้ ต่างจากพระธรรมราชาที่ทรงเข้าใจศาสนาอย่างแท้จริง เช่น พระธรรมราชาลิไท แห่งอาณาจักรสุโขทัย ที่ทรงทำนุบำรุงศาสนา และเขียนตำราไตรภูมิพระร่วงด้วยตนเอง นี่คือ สิ่งที่แตกต่างกัน



ขอย้ำอีกครั้งว่าพระพุทธศาสนาของเราในสมัยพุทธกาล ได้รับการสนับสนุนโดยพระธรรมราชา ๗ แว่นแคว้น ไม่ใช่พระเจ้าจักรพรรดิองค์ใดองค์หนึ่งที่ยึดครองทีเดียวเจ็ดแว่นแคว้น ด้วยพระธรรมอันชุ่มเย็นของพระพุทธเจ้าทรงดับความร้อนแห่งภัยสงคราม และพระราชาทั้งเจ็ดนั้นก็ไม่ทรงแก่งแย่งกันเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ มิทรงทำสงครามแย่งอาณาเขตกันเพื่อยกตนเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ผู้เป็นใหญ่เหนือกษัตริย์ทั้งปวงก็หาไม่ ดังนั้น สรุปได้ทันทีเลยว่าพระราชาทั้งเจ็ดแว่นแคว้นที่สนับสนุนพุทธศาสนานั้น เป็นพระธรรมราชาไม่ใช่พระเจ้าจักรพรรดิ คือ ศาสนาพุทธ ไม่จำเป็นต้องมีพระเจ้าจักรพรรดิ ในศาสนาพุทธบางสมัยของพระพุทธเจ้าบางพระองค์ ท่านอาจมีพระเจ้าจักรพรรดิมาจุติ เช่น ในยุคพระศรีอาริยเมตตรัยจะมีหนึ่งองค์ เป็นใหญ่และครองอาณาเขตมากมาย คอยสนับสนุนพุทธศาสนาอยู่ แต่สำหรับพระพุทธเจ้าสมณโคดม องค์ปัจจุบัน ไม่ได้อยู่กับพระเจ้าจักรพรรดิ แต่อยู่กับพระธรรมราชา ๗ แว่นแคว้นต่างหาก ความเชื่อที่ว่าพระศรีอาริยเมตตรัยจะจุติลงมาเป็นพระเจ้าจักรพรรดิเพื่อสนับสนุนพระพุทธศาสนานั้น จึงเหมือนเป็น หลุมพราง คอยล่อดักผู้อยากเป็นใหญ่ หรือสิ่งลองใจคน ว่าบุคคลผู้มีบุญบารมีจะหลงตัวเอง อยากเป็นใหญ่ หรือมีปัญญารู้สิ่งที่ควรไม่ควรมากกว่ากัน เพราะการที่จะเกิดพระเจ้าจักรพรรดิได้ในยุคนี้นั้น ยากนักที่จะไม่มีการสงคราม ไม่เหมือนในสมัยโบราณจริงๆ ที่พระเจ้าจักรพรรดิเกิดมาโดยผลบุญ ไม่ต้องทำสงครามผู้คนก็เกรงกันแล้ว



ปัจจุบันยิ่งเปลี่ยนไปใหญ่ จากยุคที่คนมีบุญมากได้เจอพระเจ้าจักรพรรดิ ก็เสื่อมลงมาถึงยุคพระพุทธศาสนาของพระสมณโคดม ที่ไม่มีพระเจ้าจักรพรรดิมาค้ำ แต่มีพระธรรมราชาเจ็ดองค์ลงมาแทนอยู่กันอย่างสันติได้ มีพระพุทธเจ้าเป็นศูนย์รวมใจไม่เบียดเบียนกันนั้น ถึงกลางกึ่งพุทธกาลก็เสื่อมลงไปอีก ปัจจุบัน แม้ไม่มีพระธรรมราชาเจ็ดองค์ดังเก่าก่อนแล้ว ถามว่าพระศาสนาจะอยู่ได้อย่างไร ก็ขอตอบว่า เทพ, พรหม, อสูร, มาร ทั้งหลายนี้ ล้วนเป็นผู้ สุดฤทธิ์สุดเดช ทั้งนั้น ไม่มีใครเอาลงได้ง่ายๆ พวกเขาไม่ผิด ได้รับพุทธานุญาติโดยชอบธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้ว บางส่วนครอบงำเอาไปทำแบบที่ตนคิด ก็ไม่มีใครจัดการเขาได้ ดังนั้น เขาก็อยู่ได้ด้วยตัวของเขาเอง ในแบบของเขาเอง เพราะเขาไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการถูกปราบโดยพระเจ้าจักรพรรดิ ดังนั้น เขาย่อมต้องช่วยตัวเอง พิจารณาตัวเอง เบื่อความเป็นตัวเอง (เช่น ความเป็นมาร เป็นอสูร) เมื่อไรก็เป็นเวลาที่จะหลุดพ้นจากความเป็นสุดฤทธิ์สุดเดชนี้ เข้าสู่ธรรมะ คือ ความเป็นธรรมดาเสียที และยินดีที่จะมีชีวิตอยู่อย่างสมถะ สงบ เรียบง่ายต่อไป ดังนั้น พระเจ้าจักรพรรดิที่จะมาปราบสัตว์สี่เหล่านี้ให้สยบจำนน แล้วเปลี่ยนพวกเขาให้ปฏิบัติถูกต้องตรงทางจึงไม่จำเป็น เขาเก่งกล้านัก ก็อยู่ได้ด้วยตนเองสิ ไม่ยอมเป็นสาวกใครง่ายๆ อยู่แล้วนี่นะ ก็อยู่ไปอย่างใจอยากอย่างนั้น เบื่อเมื่อไร ก็จะเข้ามาสู่ทางธรรมที่ถูกต้องตรงทางเอง



ไม่มีประโยชน์ที่จะปราบพวกมิจฉาทิฐิ เพราะทุกสิ่งย่อมมีเวลาของมัน ผลไม้จะเร่งให้สุกไม่ได้ ตราบเมื่อมันแก่เต็มที่ มันก็พร้อมที่จะสุกเอง ดังนั้น การเร่งปราบให้เขายอมจำนน แบบเจงกิสข่านทำ ก็ไม่อาจเร่งให้พวกเขาได้ถึงธรรมได้ อุปมาดั่งใช้ฤทธิ์ของตนเด็ดดึงผลไม้ที่ยังไม่แก่เอามาก่อนวัย เมื่อบ่มแล้วจนสุกก็กินไม่ได้อยู่ดี สู้เอาเวลาไปนั่งสงบอยู่ด้วยขันติธรรม รอจนกว่าพวกเขาจะเบื่อหน่ายด้วยตัวเอง ก็ออกมาจากความเป็นสุดฤทธิ์สุดเดชเอง มารก็เทพก็ไม่ถูกกัน ก็ตีกันเสมออยู่แล้ว พรหมกับอสูรก็เป็นศัตรูกันอีก ดังนี้ ไม่มีใครในสี่เหล่านี้หรอกที่สุดฤทธิ์สุดเดชแล้วจะได้ชัยไปตลอดกาล รบกันไป ทะเลาะกันมา ไม่จบสิ้น จนถึงจุดหนึ่ง ก็จะ เบื่อหน่าย เอง ที่นี้ก็มาเก็บผลไม้ที่แก่จัดเอาไปบ่มเพาะ ก็สุกได้กินไม่ยากเลย การเป็นเจ้าจักรพรรดิที่มีอำนาจปราบคนได้ทุกคน สั่งการใครก็ได้ แต่ไม่อาจทำให้คนได้ถึงธรรมจริงได้ ดังผลไม้ไม่แก่ ถูกเด็ดเอามาบ่มนั่นแล



ดังนั้น การกระทำในคราวนี้ จึงควรกระทำด้วยการละเว้นการกระทำเสีย คือ กระทำโดยไม่กระทำ เป็นโดยไม่ต้องเป็น, ดูแลโดยไม่ต้องดูแล, สอนโดยไม่ต้องสอน ดังนี้เทอญ





ตรีมูรติ มหาเทพแห่งความสมดุล



พระตรีมูรติ เป็นมหาเทพที่ยิ่งใหญ่และสูงส่งที่สุดของพรหมโลก หรือชาวพราหมณ์ฮินดู จะมีสามเศียรประกอบด้วยเศียรพระพรหม, ศิวะ, นาราย เป็นหลัก ทว่าตรีมูรติเองมีความหลากหลายกว่านั้น เพื่อทำหน้าที่ที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับผู้บำเพ็ญบารมี ได้บำเพ็ญมาในแบบใดบ้าง อันจะส่งผลให้ผู้นั้นต้องรับกิจตามที่ตนได้บำเพ็ญเพื่อช่วยสามภพนี้ต่อไป โดยตำราแล้ว พระตรีมูรติจะมีแบบเดียว คือ แบบที่มีสามเศียรคือ พรหม, ศิวะ, นาราย แต่ในความจริง หากท่านได้ทดลองบำเพ็ญบารมีดูเอง จะพบว่าพระตรีมูรติมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับการบำเพ็ญประสานรวมบารมีเข้ากันในลักษณะใด ซึ่งท่านไม่จำเป็นต้องเชื่อบทความฉบับนี้ เพราะไม่มีกล่าวในตำราของพราหมณ์ฮินดูด้วยซ้ำ แต่หากท่านเห็นว่ามีประโยชน์กับการบำเพ็ญบารมีของท่านแล้ว ก็ขอเชิญพิจารณา ในบทความฉบับนี้มีดังนี้



สมดุลแห่งการสร้าง, รักษา, ทำลาย

ตรีมูรติที่ทำหน้าที่นี้มีสามเศียรที่ประกอบกันดังนี้



๑)    เศียรพระพรหม

๒)    เศียรพระศิวะ

๓)    เศียรพระนาราย



ท่านมีพระนามว่า พรหมศิวะนาราย ทำหน้าที่ภาคปราบแล้วเปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตร หรือที่เรารู้จักกันง่ายๆ ว่าพระตรีมูรติทั่วๆ ไปนั่นเอง เป็นมาตรฐานของตรีมูรติที่มีบารมีสูงที่สุด ในบรรดาตรีมูรติแบบอื่นๆ ที่จะกล่าวต่อไป ทำหน้าที่ดูแลสมดุลสามภพด้วยการสร้าง, รักษา และทำลายครบ โดยถ่ายทอดกิจลงสู่องค์พรหม, ศิวะ, นาราย อีกทอดหนึ่ง



สมดุลแห่งการปราบแล้วเปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตร

ตรีมูรติที่ทำหน้าที่นี้มีสามเศียรที่ประกอบกันดังนี้



๑)    เศียรพระพิฆเนศ

๒)    เศียรพระศิวะ

๓)    เศียรพระนาราย



ท่านมีพระนามว่า เนศศิวะนาราย ทำหน้าที่ภาคปราบแล้วเปลี่ยนศัตรูมาเป็นมิตร เป็นกายพรหมที่พระนิตยโพธิสัตว์ควรบำเพ็ญบารมีให้ผ่านให้ได้ ก็จะสามารถปราบศัตรูแล้วเปลี่ยนกลับมาเป็นมิตรหรือบริวารได้ เมื่อบำเพ็ญสูงสุดในภพพรหมลักษณะนี้แล้ว จึงค่อยบำเพ็ญบารมีต่อไปจนพ้นภพพรหม เข้าสู่โพธิสัตว์ภูมิอีกครั้ง จักมีบารมีมาก



สมดุลแห่งการปราบแล้วเปลี่ยนศัตรูมาเป็นบริวาร

ตรีมูรติที่ทำหน้าที่นี้มีสามเศียรที่ประกอบกันดังนี้



๑)    เศียรพระพรหม

๒)    เศียรพระนาราย

๓)    เศียรพระพิฆเนศ



ท่านมีพระนามว่า พรหมเนศนาราย ทำหน้าที่ภาคปราบแล้วเปลี่ยนศัตรูมาเป็นบริวาร เป็นกายพรหมที่พระนิตยโพธิสัตว์ควรบำเพ็ญบารมีให้ผ่านให้ได้ ก็จะสามารถปราบศัตรูแล้วเปลี่ยนกลับมาเป็นบริวารได้ ต่างจากพระเนศศิวะนาราย ตรงที่กำลังทำลายล้างน้อยกว่า ปราบศัตรูไม่รุนแรง แต่ทำให้ศัตรูยอมมาเป็นบริวาร ทำให้ศัตรูนับถือตนได้มากกว่า



สมดุลแห่งการทำลายล้างด้วยสัมพันธภาพ

ตรีมูรติที่ทำหน้าที่นี้มีสามเศียรที่ประกอบกันดังนี้



๑)    เศียรพระพรหม

๒)    เศียรพระศิวะ

๓)    เศียรพระพิฆเนศ



ท่านมีพระนามว่า พรหมศิวะเนศ ทำหน้าที่ภาคทำลายล้างอย่างสมดุลด้วยการโยงใย กล่าวคือ ท่านจะใช้การสร้างสัมพันธภาพโยงใยในการทำกิจภาคทำลายล้าง พระตรีมูตริในนิรมาณกายนี้ ลงมาเพื่อทำกิจทำลายล้างในช่วงต้นๆ ของกระบวนการทำลายล้างบนโลกมนุษย์ ซึ่งต้องทำหลายครั้ง ครั้งละเล็กน้อยไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเข้าสู่ช่วงของการเปลี่ยนยุคที่รุนแรง เช่น สิ้นกัป หรือ กลียุค ก็จะปล่อยให้มหาเทพแห่งการทำลายล้าง คือ พระศิวะ ลงทำกิจเต็มที่ ไม่มีพลังพรหมและพระพิฆเนศ คอยคานสมดุลต่อไปอีก



ตรีมูรติในนิรมาณกายอื่นๆ

มีได้ เกิดได้ตามเหตุปัจจัยของผู้บำเพ็ญบารมี แต่การจะนับได้ว่ามีกำลังสมเป็นพระตรีมูรตินั้น มีเกณฑ์พิจารณาอยู่ว่าต้องบำเพ็ญบารมีทางพราหมณ์สามรูปแบบ โดยมีแนวทางการบำเพ็ญบารมีตามมหาเทพทั้งสามคือ พระพรหม, ศิวะ, นาราย อย่างน้อยหนึ่งองค์ และอีกสององค์จะเป็นมหาเทพระดับพระบุตร เช่น พระพิฆเนศ, พระขันทกุมาร, พระกามเทพ ฯลฯ ซึ่งกำลังบารมีจะลดลงตามลักษณะของการบำเพ็ญบารมี ในที่นี้จะไม่ขอจำแนกทั้งหมดเพราะหาพบได้น้อย จึงขอกล่าวเฉพาะนิรมาณกายหลักๆ ที่สำคัญ



วิธีบำเพ็ญตรีมูรติ

ผู้บำเพ็ญบารมีแบบตรีมูรติ เมื่อบำเพ็ญบารมีสำเร็จจะมีกายทิพย์เป็นพระตรีมูรติ โดยผู้บำเพ็ญต้องบำเพ็ญตามแนวทางของมหาเทพทั้งสามองค์ เลือกมาสามแบบอย่างใดก็ได้ เช่น แบบ พรหม, ศิวะ, นาราย หรือแบบ พรหม, ศิวะ, พิฆเนศ ก็ได้ ในการเลือกแนวทางการบำเพ็ญบารมีที่แตกต่างกันนี้ ทำให้ได้กายตรีมูรติในนิรมาณกายที่แตกต่างกันด้วย ดังที่ได้จำแนกไว้แล้วข้างต้น สำหรับในที่นี้ขอยกตัวอย่างการบำเพ็ญแบบแรก คือ



๑)   การบำเพ็ญบารมีแบบพระพรหม

คือการฝึกสมาธิ เข้าฌาน จนได้ญาณหยั่งรู้อดีต, อนาคต แล้วใช้ญาณหยั่งรู้นั้น ในการทำนายทายทัก, พยากรณ์ เพื่อช่วยคนที่ยากจนจำนวนมากๆ เอาเป็นบริวาร หรือช่วยพระราชาในฐานะโหราจารย์ คอยแนะนำพระราชาในการตัดสินพระทัยต่างๆ



๒)   การบำเพ็ญบารมีแบบพระศิวะ

คือ การฝึกสมาธิ ปฏิบัติธรรม แสวงหาสัจธรรมความจริงของสามภพ จนได้ค้นพบการดำรงอยู่, เกิดขึ้น และดับไปของสามภพนี้ เห็นความเกิดดับนั้นเวียนว่ายไม่สิ้นสุด อย่างสมดุล ไม่ยึดติดในเปลือกนอกของพรหมจรรย์ จึงเกิดปัญญาเห็นสัจธรรมแท้ภายใน



๓)   การบำเพ็ญบารมีแบบพระนาราย

คือ การโปรดคนดี ปราบคนเลว ส่วนใหญ่ต้องมีตำแหน่งเป็นพระราชา ก็จะสามารถบำเพ็ญบารมีเป็นพระนารายได้ พระนารายจะต้องพบกับลูกน้องที่โกงกินมากมาย หรือศัตรูตัวร้ายกาจที่มีบริวารมาก เช่น ทศกัณฑ์ เมื่อปราบถึงที่สุดแล้ว บารมีจึงจะเต็ม



๔)   การบำเพ็ญด้วยการรวมบารมี      

คือ ขั้นตอนสุดท้ายของการบำเพ็ญบารมี ให้ใช้สมาธิรวมพลัง, รวมบารมี, รวมกายทิพย์ทั้งสามกายเป็นหนึ่งเดียว ใช้คาถาว่า โอม พรหม, ศิวะ, นาราย ประสานกายเป็นหนึ่ง เมื่อสมาธิจิตดี ปัจจัยก่อนหน้าที่บำเพ็ญบารมีมาดี ก็จะรวมกายรวมบารมีได้สำเร็จ

โดย physigmund_foid


หลักการศึกษา คือ กาลามสูตร เป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่

อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา 
อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา 
อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ 
อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา 
อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา 
อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา 
อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล 
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน 
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้ 
อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง