ประวัติศาสตร์ คำทำนาย กรุงรัตนโกสินทร์ และ คติธรรมควรศึกษา
พระราชพิธีนี้ บวงสรวงเทพเจ้าเหล่าพรหมอันมี พระศิวะเจ้า ผู้ประทานพร พระพรหมธาดา ผู้สร้าง และ พระนารายณ์ ผู้รักษา เพื่อให้เมืองนั้น ๆ มีความเจริญรุ่งเรืองภิญโญยศสืบไป เป็นการขอพรวิเศษจากมหาเทพเบื้องบนดลบันดาลให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นปึกแผ่นมั่นคงแข็งแรง ปราศจากศัตรูหมู่ปัจจามิตร
โบสถ์พราหมณ์เทวสถานอันศักดิ์สิทธิ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
โดย รณธรรม ธาราพันธุ์
1 ปฐมกำเนิดเสาชิงช้า...
กรุงเทพมหานครหรือกรุงรัตนโกสินทร์เป็นเมืองหลวงของสยามประเทศมาช้านาน นับได้แต่เริ่มสร้างบ้านแปลงเมืองสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลต้นแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์
พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 1 มีพระราชประสงค์สถาปนาเมืองขึ้นที่ชัยภูมิใหม่อันอยู่ตรงข้ามกับทำเลเดิมซึ่งคือ ธนบุรี แลมีแม่น้ำเจ้าพระยาคั่นอยู่ ครั้นสร้างพระนครในปีพุทธศักราช 2325 ล่วงแล้วได้ 2 ปี มีพราหมณ์ชาวสุโขทัยท่านหนึ่งชื่อ พราหมณ์กระต่าย กราบบังคมทูลให้ทรงทราบถึงธรรมเนียมการสร้างพระนครว่า...
ปกติการสร้างเมืองหลวงให้เป็นอุดมมงคลย่อมต้องคำนวณฤกษ์ยามให้ถี่ถ้วน ตลอดจนบวงสรวงเทพเจ้าเหล่าพรหมอันมี พระศิวะเจ้า ผู้ประทานพร พระพรหมธาดา ผู้สร้าง และ พระนารายณ์ ผู้รักษา เพื่อให้เมืองนั้น ๆ มีความเจริญรุ่งเรืองภิญโญยศสืบไป
ครั้นพระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลต้นทรงสดับ ก็ทรงเห็นพ้องดีงามจึงมีพระบรมราชโองการสถาปนายศให้พราหมณ์กระต่ายเป็น พระครูสิทธิชัย และดำเนินการสร้างหอเทวาลัยขึ้นในปีพุทธศักราช 2327 เพื่อประดิษฐานเทวรูปมหาเทพและเพื่อประกอบพิธีต่าง ๆ ทางพราหมณ์ จากนั้นจึงดำเนินการสร้าง เสาชิงช้า ขึ้นพร้อม ๆ กับ วัดสุทัศน์เทพวราราม โดยกำหนดว่า ณ วัดสุทัศน์ ฯ แลเสาชิงช้านั้นคือใจกลางพระนคร
เสาชิงช้า ถูกสร้างขึ้นในวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พุทธศักราช 2329 ซึ่งแต่เดิมเสาชิงช้ามิได้ตั้งอยู่ ณ บริเวณปัจจุบัน แต่อยู่ตรงหน้าเทวสถานเลยทีเดียว หากภายหลังมีการสร้างโรงเก็บน้ำมันก๊าดขึ้น จึงย้ายเสาชิงช้ามาตั้งไว้ยังสถานที่ดังทุกวันนี้
เสาชิงช้าเป็นไม้สักล้วนมีความสูงจากฐานกลมถึงยอดลายกระจังประมาณ 21 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.50 เมตร ฐานนั้นก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาวพื้นปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีเสาชิงช้าแกนกลางหนึ่งคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ดล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย
เมื่อสร้างเสาชิงช้าและเทวสถานแล้วเสร็จ ชาวพราหมณ์ที่มาจากเมืองศรีธรรมาโศกราชหรือนครศรีธรรมราช ได้ร่วมกับพระครูสิทธิชัย (พราหมณ์กระต่าย) ประกอบพิธีโล้ชิงช้าขึ้นเพื่อแสดงเหตุการณ์ตอนพระเจ้าสร้างโลก หมายให้พระราชพิธีนี้เป็นการขอพรวิเศษจากมหาเทพเบื้องบนดลบันดาลให้กรุงรัตนโกสินทร์เป็นปึกแผ่นมั่นคงแข็งแรง ปราศจากศัตรูหมู่ปัจจามิตร
เมื่อทำพิธีโล้ชิงช้าเรียบร้อยแล้วจึงถือว่าการสร้างพระนครได้สำเร็จลงอย่างสมบูรณ์ จากนั้นค่อยประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต่อไป
คำทำนายกรุงรัตนโกสินทร์
https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=gmail&attid=0.3&thid=13a34164c9334117&mt=application/vnd.openxmlformats-officedocument.wordprocessingml.document&url=https://mail.google.com/mail/?ui%3D2%26ik%3Dc600a9bd47%26view%3Datt%26th%3D13a34164c9334117%26attid%3D0.3%26disp%3Dsafe%26realattid%3Df_h7y5kook2%26zfe%3Dwindows-874%26zw&sig=AHIEtbRyzNpiFZNaxp4-THXdz4sEMBaNAA
“พระโหรา กล่าวโศลกบูชาฤกษ์และพระมหาราชครูอ่านกระแสพระราชโองการตั้งพระมหานคร ขุนโหรเริ่มประกอบพิธีกล่าวอุทิศเทพสังหรณ์ อัญเชิญก้อนดินซึ่งพลีมาแต่ทิศทั้ง 4 แห่งพระนคร กระทำให้เป็นก้อนกลมดุจลูกนิมิตลงสู่ก้นหลุมเป็นลำดับกันไปเริ่มแต่ทิศบูรพา ทักษิณ ปัจฉิมและอุดร จากนั้นนำแผ่นศิลาเลขยันต์สำหรับรับรองหลักวางลงบนก้อนดินทั้ง 4 ก้อนนั้น ส่วนภายในก้นหลุมนั้นเล่าก็ได้ตกแต่งไว้เรียบร้อย กรุด้วยผ้าขาวสะอาดบริสุทธิ์ ดาษไปด้วยใบไม้อันเป็นมงคล 9 ประการ โปรยปรายแก้วนพรัตน์ไว้เรียงรายโดยรอบขอบปริมณฑลภายในก้นหลุมนั้น” ขณะที่ได้พระฤกษ์ พระโหราย่ำฆ้องบอกกำหนดพระฤกษ์ ชีพราหมณ์เป่ามหาสังข์แกว่งบัณเฑาะว์ เจ้าพนักงานประโคมดุริยางค์แตรสังข์และพิณพาทย์ เจ้าหน้าที่ประจำยิงปืนใหญ่เป็นมหาพิชัยฤกษ์ เริ่มพระราชพิธีอัญเชิญเสาหลักเมืองลงสู่หลุม โดยวางไว้บนแผ่นศิลายันต์ทันทีนั่นเอง ก็เกิดปรากฏการณ์เป็นมหัศจรรย์ขึ้น โดยปรากฏว่ามีงูตัวเล็กๆ 4 ตัว ปาฏิหาริย์ลงไปอยู่ในหลุมนั้น และก็บังเอิญบันดาลให้ทุกคนที่ไปร่วมชุมนุมประกอบพิธีอยู่ ณ ที่นั่น ได้เห็นงูในขณะที่เคลื่อนเสาหลักเมืองนั้นลงไปในหลุมเสียแล้ว ซึ่งเมื่อก่อนที่จะยกเสาลงสู่หลุมนั้น หาปรากฏว่ามีงู 4 ตัวดังกล่าวนั้นไม่ และก็หมดโอกาสที่จะแก้ไขประการใดๆ ได้ทั้งสิ้น เพราะเมื่อตอนที่เห็นงูนั้น เป็นขณะที่เสาได้เคลื่อนลงหลุมแล้ว จึงจำเป็นจะต้องปล่อยให้เลยตามเลยไป โดยปล่อยให้เสาลงไปในหลุมและกลบดินให้แน่น ทำให้งูทั้ 4 ตัวนั้น ต้องตายอยู่ภายในก้มหลุมนั่นเอง
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ฝังเสาหลักเมืองนี้ ได้ยังพระวิตกให้แก่สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เป็นอันมาก ทรงเรียกประชุมเหล่าเสวกามาตย์ราชบัณฑิตปุโรหิตาจารย์ พระราชาคณะและบรรดาผู้รู้ทั้งปวงมาร่วมประชุมวิจารณ์ถึงเหตุการณ์ที่บังเกิดขึ้นครั้งนี้ว่า จะเป็นมงคลนิมิตหรืออวมงคลนิมิต บรรดาผู้รู้ทั้งปวงต่างก็ให้ความเห็นสอดคล้องต้องกันว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้จัดว่าอยู่ในจำพวกอวมงคลนิมิต แต่ก็ไม่สามารถจะชี้ลงไปได้ว่า ผลจะปรากฏออกมาในทำนองใด นอกจากจะลงความเห็นว่างูเล็กทั้ง 4 นั่นแหละ จะเป็นมูลเหตุนำความอวมงคลให้แก่บ้านเมืองแต่ก็เกิดเหตุการณ์ที่ถือว่าเป็นการบอกกล่าวของเทพยดาฟ้าดินขึ้นมาในระยะนั้น โดยเกิดฟ้าผ่าไฟไหม้พระที่นั่งอมรินทร์มหาปราสาท ทำให้ทรงพระราชวินิจฉัยออกมาว่าเป็นการสะเดาะเคราะห์เมือง โดยที่เทพยดาบันดาลให้เกิดฟ้าผ่าจนไฟไหม้พระมหาปราสาท ตามธรรมดาต้องเสียเมืองก่อนจึงจะเสียพระมหาปราสาท คราวนี้ได้เสียพระมหาประสาทไปแล้วเท่ากับเสียเมืองไป เพราะเหตุที่ชะตากรุงเทพมหานครในระยะเริ่มตั้งแต่ฝังเสาหลักเมืองมานั้น ชะตาเมืองอยู่ในเกณฑ์ร้ายถึง 7 ปี 7 เดือน เป็นอันเสร็จสิ้นพระเคราะห์เมืองไป และจะถาวรลำดับกษัตริย์ไป 150 ปี (เทพย์ สาริกบุตร “โหราศาสตร์ในวรรณคดี”)
คนไทยทุกคนที่อยู่ในกรุงเทพฯ หรือเคยเดินทางมากรุงเทพฯ ก็คงจะได้พบได้เห็นศาลเจ้าพ่อหลักเมืองที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก เป็นประธานในการทำพิธีฝังตามคัมภีร์ของคนไทยที่ชื่อว่า คัมภีร์พระนครฐาน แต่สำหรับคนธรรมดาสามัญทั่วไป หรือเฉพาะคนรุ่นใหม่ทุกวันนี้ นับจำนวนล้านๆ คน อาจจะไม่เคยทราบว่าการทำพิธีฝังเสาหลักเมืองในวันนั้น เป็นเรื่องไม่ธรรมดา
พิลึกพิลั่นและมีเหตุการณ์อันประหลาดมหัศจรรย์มากมายเพียงใด หรือคนโบราณเขาได้ทำกันอย่างไร และมีอะไรประกอบขึ้นมาบ้างก่อนที่จะมาเป็นศาลเจ้าพ่อหลักเมืองที่มีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ จึงสามารถทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงทำนายทายทักออกมาได้ว่า นับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2325 เป็นต้นไป ระบอบการปกครองของไทยจะต้องเปลี่ยนจากระบอบราชาธิปไตยไปเป็นประชาธิปไตยอย่างที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้
และยิ่งไปกว่านั้น การเปลี่ยนแปลงในวันทำเสาหลักเมืองนั้น ทุกคนที่ร่วมชุมนุมทำพิธีเหล่านั้น ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ และบรรดาชีบานาสงฆ์ฐานันดรสูงสุดของประเทศ ได้เห็นเป็นประจักษ์พยานว่า มันมีสิ่งบอกเหตุว่าจะต้องเกิดขึ้น เพราะในหลุมลึกที่ฝังเสาหลักเมืองที่กรองก้นหลุมไว้ด้วยผ้าขาวและสรรพคาถาอาคมและสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมายนั้น เมื่อเวลานำเสาลงหลุมเสร็จและกำลังจะกลบด้วยดินตามปกตินั้น ทุกคนก็ได้เห็นว่ามีงูเล็ก 4 ตัวลงไปนอนเล่นอยู่ในหลุม โดยที่ไม่มีทางแก้ไขอะไรได้ นอกจากถมให้ตายลงไป
และงูตัวนั้น โบราณหรือกษัตริย์ของกรุงรัตนโกสินทร์ทรงทราบว่า มันบอกถึงการสิ้นสุดของระบอบราชาธิปไตยของคนไทย ว่าการสิ้นสุดของระบอบนั้นจะเกิดจากการถือกำเนิดของเชื้อพระวงศ์ 4 พระองค์ของกรุงรัตนโกสินทร์ และเหตุการณ์ก็เป็นจริงเพราะว่าจากวันนั้นมาถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เป็นวันที่ครบ 150 ปี จากวันที่ฝังเสาหลักเมืองและการตายของงูทั้ง 5 ตัวนั้นเหมือนกับนัด
ในระยะนั้น เจ้านาย 4 พระองค์เป็นผู้รับผิดชอบกิจการของบ้านเมือง ทั้งฝ่ายนอกฝ่ายในคือ (1) พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (2) สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ (3) กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน (4) สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินทร ซึ่งทุกพระองค์ทรงมีพระราชสมภพในปีเดียวกันทั้ง 4 พระองค์คือ ปีมะเส็งซึ่งหมายถึง งูเล็กหรืองูทั้ง 4 ตัวที่ตายอยู่ในหลุมฝังเสาหลักเมืองวันนั้น
ดวงชะตาเมืองที่จัดทำขึ้นวันนั้น มันมีอาถรรพ์และมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคนไทยโบราณ และมันแสดงให้เห็นเป็นประการแรกที่พิสูจน์ได้
สมัยเจ้าฟ้าทั้ง 4 พระองค์ หรือคนโบราณรู้ดีว่าการเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้น หรือไม่เกิดหรือจะสิ้นอายุ 150 อายุพระนครตามที่พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงให้คำทำนายไว้นั้น ตามประเพณีไทยก็ต้องไปทำบุญแก้เคล็ดหรือสะเดาะเคราะห์ไว้ก่อน เพราะฉะนั้นเจ้าฟ้าทั้ง 4 พระองค์นี้ก็ได้ร่วมกันสร้างตึกขึ้นหลังหนึ่งที่เรียกว่า ตึกสี่มะเส็ง ที่บริเวณโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์หรือที่สถานเสาวภาทุกวันนี้
การที่จะคาดหมายว่าอะไรจะเกิดขึ้นอย่างไรของคนโบราณอย่างที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงทำนายไว้นั้น ความจริงไม่เพียงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันนั้นเท่านั้น แต่ตามประเพณีก็จะดูกันจากดวงชะตาเมือง ซึ่งโหรไทยหรือนักศึกษาโหราศาสตร์ไทยทุกคนก็จะรู้กันดีว่าเอาอะไรมาทำนายทายทักกันอย่างไร
อย่างไรก็ตาม เรื่องของขนบประเพณีในการสร้างบ้านสร้างเมืองหรือหลักการสร้างบ้านสร้างเมืองตามพิธีนครฐานนั้น เต็มไปด้วยกฎเกณฑ์ร้อยแปดที่จะต้องการสองประการคือ (1) จะต้องมีอาถรรพ์หรือคำสาปแช่งนานาประการที่จะป้องกันเสนียดจัญไรหรืออันตรายทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นแก่บ้านเมือง ผู้ใดที่ไม่หวังดีหรือได้กระทำความชั่วให้เกิดเหตุร้ายแก่บ้านเมืองจะต้องวินาศฉิบหายไป อริราชศัตรูหรือผู้ไม่หวังดีต่อบ้านเมืองที่กระทำการอันเป็นโทษต่อบ้านเมืองนั้น จงแพ้ภัยแก่ตัวเองและจะประสบความวินาศฉิบหายไป (2) ให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล ไม่ให้ผู้คนอดอยากและได้รับเวรภัยใดๆ ให้ประสบแต่ความสมบูรณ์พูนสุขทั้งบ้านเมือง ทั้ง 4 มุมเมืองของกรุงเทพมหานครนั้น คนโบราณเล่ากันต่อไปว่าได้มีการฝังอาถรรพ์ไว้ทั้งทิศเหนือ ทิศใต้ ตะวันออกและตะวันตก เพื่อป้องกันคนชั่วและคนที่มีความประสงค์ร้ายต่อบ้านเมืองอย่าได้มีโอกาสเข้ามาพ้นจากมุมที่ท่านฝังอาถรรพ์เหล่านั้นไว้เป็นอันขาด
ว่ากันว่าคนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทางคาถาอาคมหรือเครื่องลางของขลังแน่นขนาดไหนก็ตาม เพียงแต่เดินผ่านมุมเมืองทั้งสี่มุมใดมุมหนึ่งเข้ามา ท่านก็ว่าวิชาอาคมทั้งปวงก็จะเสื่อมหมด ไม่ว่าจะชื่อเณรแอหรืออาจารย์กู้และหลวงตาจันทร์ก็เถอะ ดีไม่ดีติดคุกเอาง่ายๆ ในชีวิตจะหมดสิริมงคลทำมาหากินไม่ขึ้นเอาทีเดียว
ที่มีการบอกกล่าวกันว่า ได้มีการฝังอาถรรพ์ไว้ทั้ง 4 มุมเมืองในวันนั้น ก็เป็นเพียงรับรู้และบอกเล่ากันมา แต่ความจริงที่ทำอย่างแน่นอนก็คือ การอัญเชิญท้าวจตุโลกบาลทั้ง 4 เข้ามาประกอบพิธีด้วย ท่านว่า “และให้ปลูกโรงศาลโรงพิธีขึ้นใกล้ๆ กับหลุมที่จะขุด เพื่อจะปักเสาหลักเมืองนั้น ตั้งศาลจตุโลกบาลทั้ง 4 ทิศขึ้น 4 ศาล” ซึ่งอาจจะเป็นการฝังอาถรรพ์ทั้ง 4 มุมเมืองที่บอกกล่าวกันมาก็ได้
เช่นเดียวกับเจ้าขุนมูลนายหรือผู้ปกครองบ้านเมืองที่คิดว่าตัวเองคือพระเจ้าที่อยากจะทำอะไรตามใจตัวเองก็ทำได้นั้น ก็ไม่เคยมีใครประสบความสำเร็จ นอกจากความวิบัติฉิบหายน้อยมากตามกรรมตามเวรของแต่ละคน ก็ได้พิสูจน์กันมาแล้วเป็นลำดับ เฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นต้นมา ดูเหมือนจะอยู่จะตายพร้อมกับเสียงสาปแช่งของผู้คนไม่มากก็น้อย
หรือเอากันว่าโอกาสที่จะตายดีกันอย่างสามัญชนกันนั้น มีน้อยคนทีเดียว!
ตัวอย่างคณะผู้เปลี่ยนแปลงการปกครอง ซึ่งคนสำคัญๆ ล้วนแต่ดื่มน้ำพระพิพัฒน์สัตยากันมาแล้วทั้งนั้น และเมื่อปฏิวัติแล้วก็ได้รับพระราชทานอภัยโทษ แล้วทุกคนก็แตกกระสานซ่านเซ็นกันไปเกือบทุกคน เท่านั้นยังไม่พอ ยังพยายามติดตามจองล้างจองผลาญกันอย่างไม่ลืมหูลืมตาเอาด้วย ไม่ว่าเป็นพระยาทรงสุรเดช พระยาศรสิทธิสงครามและคนอื่นๆ แม้แต่จอมพล ป. พิบูลสงครามเอง ทุกคนใช้ชีวิตสุดท้ายด้วยความทุกข์ยากและตายไม่ดีกันทั้งนั้น แม้แต่หลวงประดิษฐ์มนูธรรม แม้ว่าจะทำบุญกุศลและสร้างเกียรติยศให้แก่บ้านเมืองเพียงไร ก็ไม่มีโอกาสได้ตายอย่างรัฐบุรุษของชาติ แต่ตายนอกประเทศที่ตนเองกอบกู้มันเอาไว้ และที่ร้ายที่สุดก็คือ ความแตกแยกชนิดเอากาวอะไรทาก็ไม่ยอมติด นั่นคือความอาถรรพ์ของดวงชะตาเมือง และรัฐบาลชุดนี้ที่ถือเอาฤกษ์วันที่ 3 ตุลาคมที่ผ่านมานั้นเป็นหลัก สิ่งที่จะเกิดก่อนอื่นที่ไม่สามารถจะแก้ไขก็คือ ความแตกแยกที่จะต้องแตกกันขนาดต้องพังไปข้างหนึ่งอย่างไม่ต้องสงสัยอะไร
ถึงแม้ว่ามีโอกาสได้ตั้งกระทรวงต่างๆ มาถลุงเงินประชาชนกันอย่างสนุกมือก็ตาม แต่ก็จะต้องระวังอาถรรพ์และคำสาปแช่งของโบราณนั้นไว้บ้างก็ดี เพราะเสาหลักเมืองยังอยู่ อาถรรพ์และเสียงสาปแช่งจะไม่ไปไหนเสีย ถ้าหากเกิดความสกปรกหรือผิดพลาดอะไรขึ้นมา เจอพิษงูเล็กชุดนี้แน่
ไม่เพียงแต่ตัวรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเท่านั้น แต่คณะรัฐบาลทั้งชุด ทั้งคณะควรจะรู้เรื่องราวของอาถรรพ์เหล่านี้ไว้บ้าง อาจจะมีประโยชน์บ้างก็ได้
สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้น ไม่เคยไว้หน้าใครหรอก ไม่ว่าจะเป็นใครหรืออยู่ในตำแหน่งขนาดไหน
http://www.paisarn.com/believeother.htm
ข้อมูลหลักเมือง ที่ http://thaprajan.blogspot.com/2011/04/blog-post.html
การสร้างกรุงเทพฯเป็นราชธานี
ตอบลบ