หลักปฏิบัติว่าด้วย - ภาพนำทาง 8 ประการ
หลักปฏิบัติว่าด้วย - ภาพนำทาง 8 ประการ
ขอขอบคุณ : www.midnightuniv.org
http://my.dek-d.com/social_sw/story/view.php?id=321940
หลักภาพนำทาง 8 ประการ
ภาพนำทาง ของวัฒนธรรมอินเดียนั้นประกอบด้วยหลัก 8 ประการที่เน้นความสำคัญ เรียงตามลำดับกันดังนี้
ภาพนำทาง ของวัฒนธรรมอินเดียนั้นประกอบด้วยหลัก 8 ประการที่เน้นความสำคัญ เรียงตามลำดับกันดังนี้
1. idealism
2. renunciation and nonattachment
3. oneness of things
4. illusions
5. liberation
6. nonindividuality
7. transtemporality
8. intuition
2. renunciation and nonattachment
3. oneness of things
4. illusions
5. liberation
6. nonindividuality
7. transtemporality
8. intuition
1. idealism
ทัศนคติต่อชีวิตของชาวอินเดียส่วนใหญ่แล้วนั้น ถูกกำหนดด้วยอุดมคติซึ่งมีรากฐานทางประวัติศาสตร์มาจากคัมภีร์อุปนิษัท คำว่า"อุดมคติ" ในที่นี้หมายความถึง หลักปรัชญาซึ่งให้ น้ำหนักต่อคุณค่าทางจิตใจในการชี้นำทางในการดำเนินชีวิต
ทัศนคติต่อชีวิตของชาวอินเดียส่วนใหญ่แล้วนั้น ถูกกำหนดด้วยอุดมคติซึ่งมีรากฐานทางประวัติศาสตร์มาจากคัมภีร์อุปนิษัท คำว่า"อุดมคติ" ในที่นี้หมายความถึง หลักปรัชญาซึ่งให้ น้ำหนักต่อคุณค่าทางจิตใจในการชี้นำทางในการดำเนินชีวิต
อุดมคติในศาสนาพราหมณ์-ฮินดูที่เป็นแนวบรรทัดฐานกำหนดวิถีการดำเนินชีวิตที่มนุษย์ต้องดำเนินตามเพื่อประโยชน์สูงสุด นอกเหนือจากหลักปรมาตมันและหลักโมกษะแล้ว ยังได้แก่
หลักอาศรมสี่ ซึ่งหมายถึง "ขั้นตอนหรือช่วงระยะเวลาของชีวิต" หรือแปลว่า "กระท่อมของนักบวช"
ซึ่ง หลักอาศรมสี่ นี้ประกอบด้วย
ซึ่ง หลักอาศรมสี่ นี้ประกอบด้วย
(1) พรหมจรรย์ การประพฤติอย่างพรหมหรือการปฏิบัติตนให้อยู่ในความบริสุทธิ์ คือ ผู้เยาว์, วัยเจริญเติบโต, วัยเรียนรู้
(2) คฤหัสถ์ หลักสำหรับ ผู้ครองเรือน ในการทำงานเพื่อสร้างหลักฐาน ฐานะ และการทำพลีต่างๆ
(3) วนปรัสถ์ หลักสำหรับ ผู้อยู่ป่า ซึ่งต้องวางมือจาก การครองเรือน ออกปฏิบัติธรรม หรือทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และ
(4) สันยาสะ (สันยาสี) หลักสำหรับ ผู้แสวงหาธรรม หรือขั้นตอนสุดท้ายของชีวิต บุคคลจะต้องถือเพศบรรพชิต ประพฤติพรหมจรรย์
(2) คฤหัสถ์ หลักสำหรับ ผู้ครองเรือน ในการทำงานเพื่อสร้างหลักฐาน ฐานะ และการทำพลีต่างๆ
(3) วนปรัสถ์ หลักสำหรับ ผู้อยู่ป่า ซึ่งต้องวางมือจาก การครองเรือน ออกปฏิบัติธรรม หรือทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และ
(4) สันยาสะ (สันยาสี) หลักสำหรับ ผู้แสวงหาธรรม หรือขั้นตอนสุดท้ายของชีวิต บุคคลจะต้องถือเพศบรรพชิต ประพฤติพรหมจรรย์
หลักอรรถะหรือประโยชน์สี่ ได้แก่
1. อรรถะ หมายถึง ทรัพย์หรือสิ่งที่เราต้องการแล้วพยายามทำให้ถึงหรือมีให้ได้
2. กามะ หมายถึง การแสวงหาความสุขทางโลกตามสมควร
3. ธรรมะ หมายถึง หลักศีลธรรมหรือระเบียบความประพฤติของบุคคลในสังคมเพื่อสันติสุข และ
4. โมกษะ หมายถึง ภาวะแห่งความหลุดพ้น
1. อรรถะ หมายถึง ทรัพย์หรือสิ่งที่เราต้องการแล้วพยายามทำให้ถึงหรือมีให้ได้
2. กามะ หมายถึง การแสวงหาความสุขทางโลกตามสมควร
3. ธรรมะ หมายถึง หลักศีลธรรมหรือระเบียบความประพฤติของบุคคลในสังคมเพื่อสันติสุข และ
4. โมกษะ หมายถึง ภาวะแห่งความหลุดพ้น
หลักวรรณะสี่ ได้แก่
1. กฎเรื่องการแต่งงาน (เช่น การห้ามแต่งงานข้ามวรรณะ)
2. กฎเรื่องอาหารการกิน (ใครทำอาหารให้ใครทานได้)
3. กฎเรื่องการทำมาหากิน (แต่ละวรรณะมีหน้าที่ของตนเอง ห้ามก้าวก่าย)
4. กฎเรื่องบ้านเรือนที่อยู่อาศัย (ห้ามศูตร/จัณฑาลมีคฤหาสหรือปราสาท)
1. กฎเรื่องการแต่งงาน (เช่น การห้ามแต่งงานข้ามวรรณะ)
2. กฎเรื่องอาหารการกิน (ใครทำอาหารให้ใครทานได้)
3. กฎเรื่องการทำมาหากิน (แต่ละวรรณะมีหน้าที่ของตนเอง ห้ามก้าวก่าย)
4. กฎเรื่องบ้านเรือนที่อยู่อาศัย (ห้ามศูตร/จัณฑาลมีคฤหาสหรือปราสาท)
2. renunciation and nonattachment
ความเชื่อในเรื่อง การสละ การละวาง หรือ การไม่ยึดติด นั้น เป็นอุดมคติของวัฒนธรรม ชาวอินเดียอย่างแท้จริง ขณะเดียวกัน ชาวอินเดียยังมีความเชื่ออีกด้วยว่า หากจะวัด ความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ผู้หนึ่งนั้น มิได้วัดด้วยสิ่งที่เขาได้มาหรือหามาได้ หากแต่วัดจากสิ่งที่เขาได้สละหรือละทิ้งไป
ความเชื่อในเรื่อง การสละ การละวาง หรือ การไม่ยึดติด นั้น เป็นอุดมคติของวัฒนธรรม ชาวอินเดียอย่างแท้จริง ขณะเดียวกัน ชาวอินเดียยังมีความเชื่ออีกด้วยว่า หากจะวัด ความยิ่งใหญ่ของมนุษย์ผู้หนึ่งนั้น มิได้วัดด้วยสิ่งที่เขาได้มาหรือหามาได้ หากแต่วัดจากสิ่งที่เขาได้สละหรือละทิ้งไป
ความเชื่อดังกล่าวได้รับการยืนยันด้วยเหตุผลมานานนับศตวรรษว่า ความปรารถนานั้นนำไปสู่ความสับสนวุ่นวาย ดังนั้น นักปรัชญาชาวอินเดียส่วนใหญ่จึงค้นหาหนทางในการขจัดความปรารถนาด้วยการยกระดับความไม่ยึดติดในสิ่งใดๆ และด้วยเหตุดังนั้น ในหลักปรัชญาธรรมและหลักศาสนาของชาวอินเดียเราจึงได้พบคำดังเช่น การเสียสละ การอุทิศตน การทำบุญทำทาน การบำเพ็ญตบะ และ การละวาง อยู่เสมอๆ
3. oneness of things
องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งในภาพนำทางของชาวอินเดีย ได้แก่
ความเชื่อในเรื่องของความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสรรพสิ่งต่างๆโดยหลักสำคัญนั้นอยู่ที่การสร้าง ความเป็นหนึ่งเดียวของความเป็นจริง และชี้ให้เห็นถึงกลไกซึ่งปัจเจกบุคคลจะสามารถตระหนักรู้ถึงสิ่งนั้นได้
ในศาสนาฮินดูนั้น อุดมคติสูงสุดที่บุคคลต่างดิ้นรนจะไปให้ถึงนั่นคือ "ปรมาตมัน" ปรมาตมันนี้ไม่ใช่ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งไม่มีชีวิต แต่เป็นสภาวะซึ่งการแบ่งแยกหรือความแตกต่างนั้นถูกทำให้หมดไปและความเป็นหนึ่งเดียวเข้ามาแทนที่
"ปรมาตมัน" เป็นคำสอนสำคัญที่เน้นหนักอยู่ในคัมภีร์อุปนิษัท ปรมาตมันคือวิญญาณสากลหรือเป็นความจริงอันสูงสุด ที่เรียกว่าอันติมะสัจจะ บางทีก็เรียกว่า "พรหมัน" ปรมาตมันนั้นเป็นศูนย์รวมของวิญญาณย่อยทั้งหลายที่เรียกกันว่า อาตมัน หรือ ชีวาตมัน ดังนั้นคัมภีร์อุปนิษัทจึงสอนว่า อาตมันก็คือพรหมัน ผู้ที่รู้จักและเข้าใจอาตมันจึงเท่ากับรู้จักและเข้าใจพรหมมัน ผู้ที่รู้จักพรหมมันผู้นั้นจะเข้าถึงโมกษะ คือ ภาวะแห่งความหลุดพ้น คืออยู่ร่วมกับพรหมันหรือปรมาตมัน อันเป็นวิญญาณสากลได้
ทัศนะของชาวอินเดียหรือพราหมณ์-ฮินดูนั้นมีความเชื่อว่า อาตมัน หรือ ชีวาตมัน คือ ตัวตนของเรา นี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนด้วยกัน คือ ส่วนแห่งร่างกายคือตัวตนอย่างหยาบ และ ส่วนแห่งจิตวิญญาณคือตัวตนอย่างสมบูรณ์
ในส่วนแห่งร่างกายนั้นถือว่าเป็นส่วนที่หยาบ ไม่ใช่ตัวตนที่แท้จริง เพราะมีการแตกสลายไปตามกาลเวลา แต่ในส่วนแห่งจิตวิญญาณอันเป็นส่วนละเอียดนั้นเป็นอาตมัน หรือเป็นตัวตนที่แท้จริง เพราะจิตวิญญาณนั้นจะไม่มีวันตายหรือแตกสลายไปเช่นส่วนแห่งร่างกาย เพราะว่าวิญญาณของสรรพสิ่งแต่ละดวงนั้น เป็นอาตมันย่อยที่แยกออกจากอาตมันใหญ่ ซึ่งเป็นวิญญาณสากลที่เรียกว่า"ปรมาตมัน" ดังนั้น เมื่อปรมาตมันหรือวิญญาณสากลเป็นอมตะ อาตมันหรือ ชีวาตมัน ซึ่งเป็นวิญญาณย่อย เป็นตัวตนย่อยนั้นจึงเป็นอมตะด้วย
อย่างไรก็ตาม ระหว่างอาตมันและปรมาตมันนั้น มีความแตกต่างกันตรงที่ว่า ปรมาตมัน ไม่ได้ถูกจำกัดหรือผูกพันอยู่กับสิ่งใด เป็นอมตะภาวะ เป็นอยู่ด้วยตัวเอง ไม่มีการเกิดและไม่มี การตาย แต่สำหรับชีวาตมันหรืออาตมันนั้นจะถูกจำกัดด้วยร่างกายที่มีการแตกดับ จึงได้รับ ความทุกข์ยากลำบากต่างๆจากการเวียนว่ายตายเกิดของร่างกายไปในภพชาติใหญ่น้อยต่างๆอย่างไม่มีวันจบสิ้น จนกว่าบุคคลนั้นจะฝึกฝนตนเองให้รู้แจ้งเห็นจริงในอาตมันของตนเอง ว่าเป็นอันเดียวกันกับปรมาตมันหรือพรหมันจึงจะบรรลุโมกษะ หลุดพ้นจากความทุกข์
4. illusions
ตามความคิดจิตใจของชาวอินเดียซึ่งถูกกำหนดรูปร่างโดยขนบธรรมเนียมโบราณและวัฒนธรรมนั้น แท้จริงแล้ว โลกของเรานั้นเป็นเพียงภาพมายา อย่างไรก็ตาม ในการใช้คำว่า "มายา" นั้นไม่ได้หมายถึงว่า โลกของเราจะเป็นมายาเสียจนกระทั่งจุดยืนซึ่งใช้สนับสนุนข้อโต้แย้งของเรานั้น จะหมายถึงว่ารูปแบบและโครงสร้างนั้นเป็นมายา เพราะบ่อยครั้งที่เรามักจะนึกกันไปว่า รูปแบบและโครงสร้างในโลกของเรานั้นเป็นความเป็นจริงตามธรรมชาติมากกว่าจะเป็นผลผลิตมาจากจิตใจของเรา มายาหมายถึงความเข้าใจผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการจัดประเภทหรือแนวความคิดในการสร้างความเป็นจริง
ตามความคิดจิตใจของชาวอินเดียซึ่งถูกกำหนดรูปร่างโดยขนบธรรมเนียมโบราณและวัฒนธรรมนั้น แท้จริงแล้ว โลกของเรานั้นเป็นเพียงภาพมายา อย่างไรก็ตาม ในการใช้คำว่า "มายา" นั้นไม่ได้หมายถึงว่า โลกของเราจะเป็นมายาเสียจนกระทั่งจุดยืนซึ่งใช้สนับสนุนข้อโต้แย้งของเรานั้น จะหมายถึงว่ารูปแบบและโครงสร้างนั้นเป็นมายา เพราะบ่อยครั้งที่เรามักจะนึกกันไปว่า รูปแบบและโครงสร้างในโลกของเรานั้นเป็นความเป็นจริงตามธรรมชาติมากกว่าจะเป็นผลผลิตมาจากจิตใจของเรา มายาหมายถึงความเข้าใจผิดหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ในการจัดประเภทหรือแนวความคิดในการสร้างความเป็นจริง
ใน คัมภีร์คเวตาศวตร อุปนิษัท กล่าวว่า ถ้ามองจากแง่ของ ชีวาตมัน แล้ว มายา จะมีชื่อเรียกใหม่ว่า อวิทยา (อวิชชา) ซึ่งแปลว่า ความไม่รู้ อวิทยาเป็นสิ่งที่เหมือนม่านปิดบัง ทำให้ชีวาตมันไม่รู้ความเป็นจริงว่า ตนเองกับสิ่งสัมบูรณ์คือพรหมันนั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความไม่รู้หรืออวิทยานี้เป็นสาเหตุให้ชีวาตมันต้องเวียนว่ายตายเกิด ท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏ ขณะที่ท่องเที่ยวอยู่นั้น ก็ได้ทำกรรมดีบ้าง ชั่วบ้าง แล้วได้รับผลของกรรม เป็นความสุขบ้าง ความทุกข์บ้าง หมุนเวียนกันไป เมื่อใดชีวาตมันเห็นแจ้งในความเป็นจริง และขจัดอวิทยาเสียได้แล้ว เมื่อนั้นก็จะบรรลุ ความหลุดพ้นกลับคืนสู่สภาพเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับพรหมัน ซึ่งเรียกว่าโมกษะ
5. liberation
ความหลุดพ้น หรือ โมกษะ นั้นเป็นสิ่งสำคัญของภาพนำทางของชาวอินเดีย
ดังที่นักปรัชญาชาวอินเดียได้ยืนยันอยู่เสมอว่า จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ก็คือการหลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการทางโลก
ความหลุดพ้น หรือ โมกษะ นั้นเป็นสิ่งสำคัญของภาพนำทางของชาวอินเดีย
ดังที่นักปรัชญาชาวอินเดียได้ยืนยันอยู่เสมอว่า จุดมุ่งหมายสูงสุดของชีวิตมนุษย์ก็คือการหลุดพ้นจากเครื่องพันธนาการทางโลก
มนุษย์ทุกคนต่างต้องเผชิญหน้าหรือถูกท้าทายจากความสัมพันธ์ของเขากับวัตถุสิ่งของต่างๆอันเป็นที่รัก หรือกับบุคคลอื่นซึ่งมีความใกล้ชิดสนิทสนม ทุกครั้งที่มนุษย์เรารู้สึกถึง ความท้าทายเหล่านี้ เรากำลังถูกบังคับให้จัดการกับความไร้ความสามารถในการจัดการต่อ สถานการณ์ต่างๆของเราเสียใหม่ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหากับตัวเรา หากพิจารณาด้วยทัศนะของ นักปรัชญาชาวอินเดียแล้ว การไร้ความสามารถนี้เองเป็นสิ่งซึ่งสะท้อนกลับจาก พันธะ หรือ เครื่องผูกมัดต่างๆ (ห่วง/บ่วง) ของเรา
ดังนั้น บุคคลผู้เห็นภัยหรือเห็นความทุกข์ของชีวิตใน วัฏฏะสงสาร จึงต้องการให้วิญญาณหรืออาตมันของตนเข้าสู่ภาวะแห่งการหลุดพ้นหรือโมกษะ วิถีทางแห่งการหลุดพ้นคือการปฏิบัติธรรมตามหลัก อาศรมสี่ มรรคสี่ หรือ โยคะสี่ การปฏิบัติตามหลักดังกล่าวนี้จะทำลายมายาหรือ อวิทยาให้หมดสิ้นไป และนำไปสู่การบรรลุโมกษะหรือการหลุดพ้นอันเป็นเป้าหมายหรือ อุดมการณ์สูงสุด
6. nonindividuality
ความคิดเกี่ยวกับปัจเจกบุคคลในวัฒนธรรมของชาวอินเดียนั้นแตกต่างอย่างชัดเจนจากที่พบในวัฒนธรรมตะวันตก ในอภิปรัชญาของชาวอินเดียนั้นมิได้ยอมรับในความหลากหลายของความเป็นปัจเจกบุคคล การคิดถึงปัจเจกบุคคลเป็นการพ่ายแพ้ต่อ "มายา"
ความจริงแท้สูงสุด หรือ ปรมาตมัน นั้นไม่มีความแตกต่างและเป็นสิ่งเดียวที่แน่นอน ดังได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่าอุดมคติสูงสุดของศาสนาฮินดูนั้นคือการรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เพราะฉะนั้น ในความคิดของชาวอินเดียจึงไม่มีที่ว่างหลงเหลืออยู่สำหรับการคิดถึงปัจเจกบุคคลในลักษณะแยกส่วน
ความคิดเกี่ยวกับปัจเจกบุคคลในวัฒนธรรมของชาวอินเดียนั้นแตกต่างอย่างชัดเจนจากที่พบในวัฒนธรรมตะวันตก ในอภิปรัชญาของชาวอินเดียนั้นมิได้ยอมรับในความหลากหลายของความเป็นปัจเจกบุคคล การคิดถึงปัจเจกบุคคลเป็นการพ่ายแพ้ต่อ "มายา"
ความจริงแท้สูงสุด หรือ ปรมาตมัน นั้นไม่มีความแตกต่างและเป็นสิ่งเดียวที่แน่นอน ดังได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นว่าอุดมคติสูงสุดของศาสนาฮินดูนั้นคือการรวมกันเป็นหนึ่งเดียว เพราะฉะนั้น ในความคิดของชาวอินเดียจึงไม่มีที่ว่างหลงเหลืออยู่สำหรับการคิดถึงปัจเจกบุคคลในลักษณะแยกส่วน
7. transtemporality
สำหรับชาวอินเดียแล้ว "เวลา" นั้นเป็นสิ่งซึ่งมีลักษณะหมุนเป็น "วงรอบหรือสังสารวัฏ" นั่นก็หมายความว่ามีความเชื่อในเรื่องของการหวนกลับคืนสู่สภาพของความเป็นนิจนิรันดร์และ ความเป็นอมตะ
ในทัศนะของชาวอินเดียแบบดั้งเดิมนั้น มีเพียงหนทางเดียวที่จะหนีพ้นจากความลำบากในการเป็นมนุษย์นั่นคือ
การหนีให้พ้นจากภาวะที่เป็นอยู่ทางโลก
สำหรับชาวอินเดียแล้ว "เวลา" นั้นเป็นสิ่งซึ่งมีลักษณะหมุนเป็น "วงรอบหรือสังสารวัฏ" นั่นก็หมายความว่ามีความเชื่อในเรื่องของการหวนกลับคืนสู่สภาพของความเป็นนิจนิรันดร์และ ความเป็นอมตะ
ในทัศนะของชาวอินเดียแบบดั้งเดิมนั้น มีเพียงหนทางเดียวที่จะหนีพ้นจากความลำบากในการเป็นมนุษย์นั่นคือ
การหนีให้พ้นจากภาวะที่เป็นอยู่ทางโลก
ความต้องการหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดไม่มีที่สิ้นสุด หรือใน สังสารวัฏ นี้
จะต้องตระหนักหรือแจ้งชัดในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพรหมัน-วิญญาณสากล และอาตมัน-วิญญาณของตนได้
และเมื่อตระหนักรู้ความจริงเช่นนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นก็จะหลุดพ้นจาก ความผูกพันทางโลก
และหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏตลอดกาล
จะต้องตระหนักหรือแจ้งชัดในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพรหมัน-วิญญาณสากล และอาตมัน-วิญญาณของตนได้
และเมื่อตระหนักรู้ความจริงเช่นนี้แล้ว บุคคลผู้นั้นก็จะหลุดพ้นจาก ความผูกพันทางโลก
และหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏตลอดกาล
8. intuition
ในท้ายที่สุด ความสงสัยเกี่ยวกับ "ความรู้แจ้งภายในหรือการหยั่งรู้ภายใน" ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ
ความปรารถนาที่จะได้รู้อย่างแจ้งชัดต่อภายในของตนนั้น
เป็นคุณลักษณะพิเศษของการฝึกจิตใจของชาวอินเดีย ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับชาวตะวันตก
ในขณะที่สังคมตะวันตกนั้นต้องการจะเอาชนะธรรมชาติและประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์เทคโนโลยี แต่สำหรับชาวอินเดียนั้น ไม่ได้ต้องการอะไรที่มากไปกว่าการได้เอาชนะจิตใจของตนเอง
ในท้ายที่สุด ความสงสัยเกี่ยวกับ "ความรู้แจ้งภายในหรือการหยั่งรู้ภายใน" ก็เป็นสิ่งที่สำคัญ
ความปรารถนาที่จะได้รู้อย่างแจ้งชัดต่อภายในของตนนั้น
เป็นคุณลักษณะพิเศษของการฝึกจิตใจของชาวอินเดีย ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับชาวตะวันตก
ในขณะที่สังคมตะวันตกนั้นต้องการจะเอาชนะธรรมชาติและประสบความสำเร็จในการประดิษฐ์เทคโนโลยี แต่สำหรับชาวอินเดียนั้น ไม่ได้ต้องการอะไรที่มากไปกว่าการได้เอาชนะจิตใจของตนเอง
ความปรารถนาที่จะได้รู้แจ้งหรือการหยั่งรู้นั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ความหยั่งรู้ในสิ่งที่เกิดขึ้นทำให้มนุษย์สามารถที่จะเข้าใจความเป็นจริงได้โดยตรง ในขณะที่สังคมตะวันตกจะเน้นในเรื่องของเหตุผลและตรรกะ สังคมอินเดียจะเน้นในเรื่องของความสามารถด้านการหยั่งรู้ของมนุษย์ เพราะพวกเขาต่างรู้สึกว่า "ภาษา" ของมนุษย์นั้นไม่เพียงพอสำหรับการจะเข้าใจความเป็นจริง อีกทั้ง "ตรรกะ" ของมนุษย์ก็ไม่เพียงพอสำหรับจะเข้าใจความเป็นจริงที่อยู่เหนือธรรมชาติได้ ดังที่คัมภีร์อุปนิษัทได้กล่าวไว้ว่า "จะเข้าใจปรมาตมันได้ก็จะต้องเป็นปรมาตมัน" หรือในทางอีกทางหนึ่งนั้นก็คือการที่จะเข้าใจความเป็นจริงสูงสุดได้นั้น เราก็จะต้องเป็นความเป็นจริงสูงสุดนั้นเสียเอง
การประยุกต์ใช้กับทฤษฎีด้านการสื่อสารของอินเดีย
ภาพนำทาง ทั้ง 8 ข้อในวัฒนธรรมอินเดียนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างแบบจำลองด้านการสื่อสารได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะในปริบททางสังคมของชาวอินเดีย ซึ่งก็จะมีเนื้อหาสาระที่แตกต่างไปจากแบบจำลองการสื่อสารในวัฒนธรรมตะวันตก
ภาพนำทาง ทั้ง 8 ข้อในวัฒนธรรมอินเดียนี้ สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างแบบจำลองด้านการสื่อสารได้เป็นอย่างดี
โดยเฉพาะในปริบททางสังคมของชาวอินเดีย ซึ่งก็จะมีเนื้อหาสาระที่แตกต่างไปจากแบบจำลองการสื่อสารในวัฒนธรรมตะวันตก
ในแบบจำลองการสื่อสารของอินเดียนั้น ความสนใจในลำดับแรก คือ การที่ผู้รับสารนั้นสร้าง ความหมาย (make sense) กับสิ่งกระตุ้นซึ่งเขาได้รับ เพื่อที่จะตระหนักรู้ในตนเองให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นได้อย่างไร ในขณะที่แบบจำลองการสื่อสารของตะวันตกนั้น ความสนใจในลำดับแรก คือ การที่ผู้ส่งสารจะสามารถมีผลกับ/มีอิทธิพลต่อ/จัดการกับผู้รับสารได้อย่างไร และ ผู้ส่งสารกับผู้รับสารจะร่วมรับรู้ข่าวสารและเข้ามาอยู่ในความสัมพันธ์แบบสองทางได้อย่างไร
ความแตกต่างระหว่าง ชาวอินเดีย กับ ชาวตะวันตก อีกประการหนึ่ง คือ ความคิดเกี่ยวกับเรื่องของ "ความหมาย" ความหมายในสังคมตะวันตกนั้นถูกมองว่าเป็นเพียงสิ่งๆหนึ่งซึ่งถูก ถ่ายทอดหรือมีความหมายผ่านทางภาษา ซึ่งความคิดนี้ก็ผูกติดอยู่กับแบบจำลองทางการสื่อสารตามรูปแบบของตะวันตกนั่นเอง การสื่อสารในรูปแบบนี้ถูกมองว่าเป็นการส่งผ่านความหมายด้วยความตั้งใจที่จะมีอิทธิพลต่อผู้รับสาร แต่ทว่าตามทัศนะของอินเดียนั้น ความหมายอยู่เหนือภาษา อาจกล่าวได้ว่า แบบจำลองของตะวันตกนั้นมีลักษณะศูนย์กลางอยู่ที่ผู้ใช้ภาษา ในขณะที่แบบจำลองของอินเดียนั้นมีลักษณะที่ภาษามีศูนย์กลางอยู่ที่ความหมาย
ความหมายตามทัศนะของชาวอินเดียนั้น ถูกมองว่าเป็นกระบวนการซึ่งจะนำไปสู่ การตระหนักรู้ในตนเอง นำไปสู่ความเป็น อิสระและนำไปสู่ ความจริง ในที่สุด ความเป็นอิสระในที่นี้หมายถึง การหลุดพ้นจากพันธนาการทางภาษาซึ่งเป็นผลลัพท์มาจากมายาในโลกนี้และ การประกอบสร้างผลิตกรรมต่างๆโดยการใช้ภาษาและตรรกะต่างๆรอบๆตัวเรา
ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่แตกต่างกัน นั่นก็คือ แบบจำลองของอินเดียนั้นมุ่งความสนใจมายังมิติของ การสื่อสารภายในตัวบุคคล ในขณะที่แบบจำลองของตะวันตก การสื่อสารภายในบุคคลจะนำไปสู่ การสื่อสารระหว่างบุคคล สำหรับแบบจำลองการสื่อสารของอินเดียนั้น การสื่อสารระหว่างบุคคลเป็นเรื่องรองลงมาจากการสื่อสารภายในตัวบุคคล
อย่างไรก็ตาม การสร้างความคิดเกี่ยวกับการสื่อสารของชาวอินเดีย ไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นี้ แต่ได้ขยายความคิดออกไปเพื่อยืนยันให้เห็นว่า หากการสื่อสารทำงานได้ตามบทบาทหน้าที่จริง การสื่อสารภายใน ตัวบุคคลจะต้องนำไปสู่การสื่อสารเพื่อเปลี่ยนผ่านบุคคล ที่ซึ่งความเป็นหนึ่งเดียวของโลกนั้นได้ถูกรับรู้อย่างแจ้งชัด
แบบจำลองการสื่อสารของอินเดีย ซึ่งเชื่อมโยงกับภาพนำทางในวัฒนธรรมอินเดียนั้นยังมีความแตกต่างกับแบบจำลองในสังคมตะวันตก นั่นคือ ในขณะที่แบบจำลองของตะวันตก จะเน้นหนักในองค์ประกอบที่เกี่ยวกับการแสดงออก แต่แบบจำลองของอินเดียจะเน้นที่องค์ประกอบการรับเข้า หรืออาจกล่าวอย่างง่ายๆได้ว่า แบบจำลองตะวันตกนั้นมีลักษณะ expression-oriented แต่แบบจำลองของอินเดียเป็นแบบ interpretation or reception oriented
ใน แบบจำลองการสื่อสารของอินเดีย นั้น จะเห็นว่า สิ่งที่สำคัญในการสื่อสารของมนุษย์คือการค้นหาว่า ผู้รับสารสร้าง มีความหมายกับสิ่งกระตุ้นเร้าทาง วัจนภาษา ซึ่งผ่านการรับเข้ามา และผูกรวมเข้ากับ การค้นหาความหมาย ได้อย่างไร เป็นการค้นหาส่วนที่อยู่ภายในตัวตน ในขณะที่แบบจำลองของตะวันตก ยังคงอยู่ที่ว่า ความเป็นจริงนั้นอยู่กับมนุษย์ (to know it is to be) หรืออาจกล่าวในอีกทางหนึ่งได้ว่า ไม่มีความแตกต่างระหว่างผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้
ความแตกต่างทางด้านความคิดนี้นำมาสู่องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งใน แบบจำลอง นั่นคือ
เป็นหน้าที่ของ การสื่อสาร ที่จะ หลบหนี ให้พ้นจากกรอบความคิดซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดย ตรรกะ และ ภาษา
เพราะตราบเท่าที่เรา อยู่ภายใต้กรอบซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยภาษา เราก็จะ ไม่สามารถมองเห็นความเป็นจริง ได้
การละทิ้งผลิตกรรมต่างๆที่ถูกจัดวางโดยภาษานั้นจะทำให้มนุษย์เราเป็นอิสระและตระหนักรู้ความจริงได้
เป็นหน้าที่ของ การสื่อสาร ที่จะ หลบหนี ให้พ้นจากกรอบความคิดซึ่งถูกสร้างขึ้นมาโดย ตรรกะ และ ภาษา
เพราะตราบเท่าที่เรา อยู่ภายใต้กรอบซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยภาษา เราก็จะ ไม่สามารถมองเห็นความเป็นจริง ได้
การละทิ้งผลิตกรรมต่างๆที่ถูกจัดวางโดยภาษานั้นจะทำให้มนุษย์เราเป็นอิสระและตระหนักรู้ความจริงได้
ตามทัศนะของชาวอินเดียนั้น การตระหนักรู้ในความจริง ไม่ได้เกิดจาก ภาษา หรือ ตรรกะ หรือแม้กระทั่ง ความมีเหตุมีผลแต่เกิดจาก การหยั่งรู้ภายใน (to know is to be) การรู้ คือ การได้ตระหนักถึงผลิตกรรมต่างๆ ซึ่งถูกครอบงำโดยภาษาและโดยตรรกะ และมีเพียงกระบวนการหยั่งรู้ ภายในเท่านั้น ที่จะทำให้มนุษย์สามารถยกระดับตัวเองออกจากภาพมายาในโลกได้ ซึ่งในมุมมองของอินเดียแล้ว นี่แหละคือจุดมุ่งหมายของการสื่อสาร
เพราะฉะนั้น หากว่า แบบจำลองของตะวันตก จะเป็นแบบการ ใช้เหตุใช้ผลเป็นหลัก (ratiocination-oriented)
แบบจำลองของอินเดีย ก็เป็นแบบการรับรู้ความรู้สึกที่ เกิดขึ้นภายในเป็นหลัก (intuition oriented)
หรือการสื่อสารกับตัวเองเพื่อให้หลุดพ้น
แบบจำลองของอินเดีย ก็เป็นแบบการรับรู้ความรู้สึกที่ เกิดขึ้นภายในเป็นหลัก (intuition oriented)
หรือการสื่อสารกับตัวเองเพื่อให้หลุดพ้น
ท้ายที่สุดแล้ว บทความชิ้นนี้ไม่ได้สนใจว่า แบบจำลองการสื่อสารนี้จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ดีเพียงไร หากแต่ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ หากชาวอินเดียในปัจจุบัน ใช้ภาพนำทาง ดังกล่าวเป็นหลักเทียบเคียงหรือเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมการสื่อสารแล้ว อะไรจะเป็นผลที่ตามมา โดยเฉพาะในยุคที่สังคมอินเดียกำลังได้รับอิทธิพลความทันสมัยของสังคมตะวันตกอย่างมาก เช่นเดียวกันกับในประเทศไทย
หนังสืออ้างอิง
Dissanayake, Wimal. 1987. in Kincaid, D. Lawrence. (ed). Communication theory: Eastern and western perspective. NY: Academic Press, INC., pp. 151-160
มนต์ ทองชัย. 2530. 4 ศาสนาสำคัญของโลกปัจจุบัน พราหมณ์-ฮินดู พุทธ คริสต์และ อิสลาม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วนิดา ขำเขียว. 2541. ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: เจนเดอร์เพรส.
อารี วิชาชัย. 2543. ปรัชญาธรรมของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศรีนคริน
ขอขอบคุณ : www.midnightuniv.org
และ http://my.dek-d.com/social_sw/story/view.php?id=321940
Dissanayake, Wimal. 1987. in Kincaid, D. Lawrence. (ed). Communication theory: Eastern and western perspective. NY: Academic Press, INC., pp. 151-160
มนต์ ทองชัย. 2530. 4 ศาสนาสำคัญของโลกปัจจุบัน พราหมณ์-ฮินดู พุทธ คริสต์และ อิสลาม. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
วนิดา ขำเขียว. 2541. ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: เจนเดอร์เพรส.
อารี วิชาชัย. 2543. ปรัชญาธรรมของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ศรีนคริน
ขอขอบคุณ : www.midnightuniv.org
และ http://my.dek-d.com/social_sw/story/view.php?id=321940
http://www.siamganesh.com/guidetobrahman.html
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ