รัฐบาลยิ่งลักษณ์เล็งเก็บภาษีวัด-วัง


ส่อแววกาลี !
รัฐบาลยิ่งลักษณ์เล็งเก็บภาษีวัด-วัง

ทำนองคอมมิวนิสต์ซ่อนรูป
นักวิชาการจากนิด้าชี้ช่องรัฐบาลให้เป็นมารศาสนา
ทำบุญยังคิดจะเอาคืนอีกหรือ ?



ขอเตือนรัฐบาลคุณยิ่งลักษณ์ว่าอย่าเก็บเลย ขนาดสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นเมืองคริสต์ และคิดระบบภาษีดีที่สุดในโลก ก็ยังยกเว้นภาษีวัดและสถานที่สาธารณะทุกแห่ง ขอแนะนำว่า ถ้าหมดปัญญาจะบริหารประเทศแล้ว ก็ลาออกเสียเถอะ จะสง่างามกว่า ได้เป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ไทยก็โก้สุดๆ แล้ว อย่าอยากได้ฉายา "กาลีบ้านกาลีเมือง" ประดับวงตระกูลเลย เพราะคนเรานั้นอายุไม่ถึงร้อยก็ตายแล้ว จะประจานตัวเองไปทำไม ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมันก็เก้าอี้ดนตรีตัวหนึ่งแค่นั้นเอง เป็นหนึ่งวันกับเป็นร้อยวันมันต่างกันตรงไหน





ดันภาษีที่ดินให้ขี้ขาดอีกรอบ นิด้าแนะเก็บหมด วัง-วัด-ราชการ ธนารักษ์เมินยืดใช้ราคาประเมิน

คลังเตรียมดันอีกรอบ พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ด้านนักวิชาการแนะเก็บภาษี วัง-วัด-สถานที่ราชการ เพื่อรายได้ภาษีเพิ่มขึ้น ธนารักษ์เมินยืดเวลาใช้ราคาที่ดินใหม่

นางจรูญศรี ชายหาด ผู้อำนวยการส่วนนโยบายภาษีท้องถิ่นและรายได้อื่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวในงานเสวนาหัวข้อ "ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง" ซึ่งจัดโดยสถาบันทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเตรียมเสนอให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลัง พิจารณาเห็นชอบ ก่อนนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีความพยายามผลักดันกฎหมายดังกล่าวในสมัยนายธีระ ชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.การคลัง แต่ก็ไม่ผ่านความเห็นชอบของ ครม.

ทั้งนี้รายละเอียดของร่างกฎหมายดังกล่าวจะยังคงเหมือนเดิมคือ การคำนวณภาษีจากมูลค่าทั้งหมดของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยเป็นการคำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง หรือห้องชุด ส่วนกรณีภาคอุตสาหกรรมการคำนวณจะไม่รวมมูลค่าของเครื่องจักร ขณะที่อัตราภาษีจะแบ่งเป็นที่ดินทั่วไปที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ อัตราภาษีอยู่ที่ไม่เกิน 0.5% โดยเกณฑ์การเสียภาษีจะเพิ่มเติม 1เท่าทุก 3 ปี แต่รวมแล้วต้องไม่เกิน 2% ส่วนที่ดินที่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย อยู่ที่ไม่เกิน 0.1% และที่ดินที่ใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม อยู่ที่ไม่เกิน0.05% โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีอำนาจในการออกข้อบัญญัติจัดเก็บภาษีในอัตราที่สูงกว่าได้ แต่ต้องไม่เกินเพดานอัตราภาษีที่กฎหมายกำหนด และรายได้จากการจัดเก็บภาษีดังกล่าวจะตกเป็นของ อปท.

นายอิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีความเป็นห่วงว่าการประเมินภาษีของ อปท. จะมีความเป็นธรรมหรือไม่ แต่ในอีกมุมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่คงไม่ค่อยเห็นด้วยกับร่างกฎหมายนี้ และออกมาคัดค้านอย่างแน่นอน ดังนั้นคงเป็นไปได้ยากที่กฎหมายฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้

นายดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ อาจารย์คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยว่า เห็นว่าควรมีการใช้อัตราการจัดเก็บภาษีใน พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในระดับสูงสุด เพื่อให้สอดคล้องกับหลายประเทศ โดยยังไม่มีความจำเป็นต้องจัดเก็บภาษีในอัตราก้าวหน้า รวมถึงควรให้มีการจัดเก็บภาษีในที่ดินที่ได้รับการยกเว้นด้วย อาทิ พระบรมมหาราชวัง วัด และสถานที่ในส่วนราชการอื่นๆ โดยอาจจัดเก็บในอัตราที่ลดหย่อนลง เช่น ภาษี 100% อาจลดหย่อนให้ 50-80% เนื่องจากตามหลักการของกฎหมายฉบับดังกล่าว ที่ให้มีการจัดเก็บภาษีตามการใช้ประโยชน์ของที่ดิน

ด้าน นายนริศ ชัยสูตร อธิบดีกรมธนารักษ์ กล่าวว่า การขยายเวลาการใช้ราคาประเมินที่ดินเดิมยังเป็นตามกำหนดเดิมคือ 6 เดือน ยังไม่มีแผนหรือแนวคิดที่จะขยายออกไปเป็น 1 ปี ตามที่ผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เสนอ เพราะยังไม่มีเหตุผลใหม่เพียงพอที่จะต้องให้ขยายเวลาออกไปอีก

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาการขยายเวลาการใช้ราคาประเมินเดิมออกไป เพราะเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวลดลงเหลือ 1% กว่า จากที่คาดไว้จะขยายตัว 4-5% มีประชาชนที่เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมจำนวนมาก ทำให้ต้องขยายเวลาราคาประเมินออกไป เพื่อลดภาระของประชาชนในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้น



ที่มา : ไทยโพสต์
7 กุมภาพันธ์ 
255
5



ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ12 มีนาคม 2555 เวลา 02:22

    อิปูมันเลวได้สุดยอดจริงๆขอให้นรกกินหัวมันเร็วหน่อยนะ เลวไม่มีที่ติจริงๆ

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ12 มีนาคม 2555 เวลา 23:12

    แมร่งขอให้ นรกแดกหัวโคตรพ่อโคตรแม่ มึงเลย.....เลวทั้งโคตรจริงๆ ไอตระกูลชินวัตร ไอชาติหมา

    ตอบลบ
  3. ไม่ระบุชื่อ21 มีนาคม 2555 เวลา 22:13

    เขาคงมุ่งไปที่ "วัง" มากกว่า คงไม่ได้จริงจังกับวัดมากทำไหร่หรอก (ตามทฤษฏีล้มเจ้า)

    ตอบลบ
  4. ไม่ระบุชื่อ14 พฤษภาคม 2555 เวลา 08:35

    สมควรเก็บแล้ว..สถานที่ๆว่าๆมาบางแห่งมีเงินเป็นระดับร้อยๆล้าน เช่นวัดอรุณ วัดเบญจมฯเป็นต้น วัดของจ้าวทั้งหลาย ยังมีอีกปีๆหนึ่งรัฐบาลทุกยุคยังต้องส่งเงินเข้าวังหลวงปีๆหนึ่งมากกว่าพันล้านแล้วเฉพาะลูกชายนั่นไม่ได้ทำอะไรก็มีเงินเดือนๆละ400กว่าล้านบามแล้ว สงสารประชาชนคนไทยที่ส่วนใหญ่ยังงมงายอยู่...อย่างว่าประเทศนี้อะไรจะขายได้ดีมากกว่าขายศรัทธาไม่มีอีกแล้ว

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ