คำเตือน ! ถึง..ทักษิณ ชินวัตร


คำเตือน !

"ถ้ากลับไทย อาจถูกลอบสังหาร"

ถึง..ทักษิณ ชินวัตร
ผู้กำลังคิดว่า 
"ตัวเองยิ่งใหญ่ที่สุด" ในประเทศไทย

ไม่เชื่อก็อย่าลบหลู่ฮ่ะ !




อา..จริงสินะ
เพราะว่า..ความโหดเหี้ยมของการเมืองไทยนั้น ไม่เคยปรานีใคร อำนาจล้นแผ่นดินกับกระสุนนัดเดียว บางคนอาจจะคิดว่าแลกแล้วคุ้มแสนคุ้ม ล้มทักษิณลงได้ ก็ล้มรัฐบาลทักษิณทั้งหมด ไม่ว่าจะกี่ยิ่งลักษณ์ก็ไม่มีความหมาย อะไรจะง่ายปานนั้น หุหุ เด็กอนุบาลยังคิดออกเลย เห็นไหม สไนเปอร์เพียบ





 


ณรงค์ โชควัฒนา


ถ้าคุณทักษิณกลับประเทศไทยจะเกิดอะไรขึ้น !!

เกิดอะไรขึ้นผมไม่ทราบ เพราะคุณทักษิณอาจจะถูกฆ่าตายและถูกโยนความผิดให้กับคนอื่น หรือถูกสั่งฆ่า

คุณทักษิณต้องคิดให้ดี เพราะคุณทักษิณอาจจะถูกคนใกล้ชิดฆ่าก็ได้ คือคุณทักษิณต้องคิดว่าการที่เขาไม่อยู่ คนอื่นๆ ได้ประโยชน์ ถ้ากลับมา ประโยชน์ที่เคยได้อาจจะสูญเสียไป เขาอยู่ที่นั่นมีหน้าที่จ่ายเงินอย่างเดียว คนทางนี้ก็รับ เพราะคนที่จ้องทำร้ายเขาคิดว่า การที่คุณทักษิณกลับมาจะถูกลดบทบาท และได้ประโยชน์น้อยกว่า หรือใช้ศพคุณทักษิณหาเป็นประโยชน์





"ณรงค์ โชควัฒนา" เป็นคนในตระกูลโชควัฒนา เป็นนักธุรกิจที่สนใจการเมือง แตกต่างจากโชควัฒนาคนอื่นๆ เป็นผู้บริหาร บริษัท บางกอกรับเบอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท แพนเอเชียฟุตแวร์ จำกัด (มหาชน) อีกทั้งเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในสถาบันการศึกษาหลายแห่ง รวมถึงโครงการฝึกอบรมนักบริหาร โดยเฉพาะโรงเรียนผู้นำของ "พล.ต.จำลอง  ศรีเมือง" และเป็นกรรมการการกระจายความเจริญสู่ชนบท คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในหลายรัฐบาล ที่สำคัญ "ณรงค์ โชควัฒนา" ยังเป็นอดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)


จะว่าไปแล้ว 
"ณรงค์ โชควัฒนา" คุ้นเคยกับหลายๆ คนในกลุ่มพันธมิตรฯ และเป็นคนหนึ่งที่กลุ่มพันธมิตรฯ เชิญไปร่วมเสวนาในการชุมนุมวันที่ 10 มี.ค. ที่สวนลุมพินี แม้เจ้าตัวจะบอกว่า ไม่ใช่กลุ่มพันธมิตรฯ ก็ตาม


วันนี้ 
"ณรงค์ โชควัฒนา" ให้สัมภาษณ์กับ 
"มติชนออนไลน์" ถึงเรื่องการเคลื่อนไหวของกลุ่มพันธมิตรฯ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่กำลังจะเกิดขึ้น


ต่อไปนี้ คือการให้สัมภาษณ์ของ "ณรงค์ โชควัฒนา"


กลุ่มพันธมิตรฯ มีจุดแข็งหรือจุดอ่อนอย่างไร ?


ความเห็นส่วนตัวผมก็คือว่า ต้องย้อนหลังไปเมื่อ 14 ตุลา 2516 ที่ใช้การชุมนุมเพื่อขับไล่รัฐบาลเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นการเรียกร้องหรือต่อสู้ที่บริสุทธิ์ของนักศึกษา ก่อนนักศึกษาจะหมดพลังในยุค 6 ตุลา 2519 เพราะประชาชนหมดศรัทธา เช่นเดียวกับ พ.ค. 2535 ก็เกิดการชุมนุมประท้วงขึ้นอีก ก่อนจะกลายเป็นแนวความคิดที่ว่า ถ้าจะขับไล่รัฐบาลเราต้องชุมนุม ถ้ารัฐบาลใช้ความรุนแรงรัฐบาลก็แพ้  เทียบกับการที่กลุ่มพันธมิตรฯ ขับไล่คุณทักษิณ จากกรณีที่เรียกว่าโกงฟางเส้นสุดท้าย ประชาชนรับไม่ได้ แม้คุณทักษิณจะบอกว่าทำถูกต้องตามกฎหมาย แต่ในฐานะนายกรัฐมนตรีก็ไม่ถูก ทำธุรกิจโดยไม่เสียภาษี จนเป็นที่มาของกลุ่มพันธมิตรในการเคลื่อนขบวนขับไล่


ความต่างที่อยู่ที่ว่าคุณทักษิณ ไม่ได้เป็นทหารที่ยึดอำนาจ เหมือนกรณี 14 ตุลา หรือ พ.ค. 35 แต่คุณทักษิณมาจากการเลือกตั้งของคนนับล้าน มีเสียงสนับสนุนอยู่ เมื่อกลุ่มพันธมิตรฯ ชุมนุมเป็นหมื่นเป็นแสนก็เป็นกฎหมู่อยู่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่เข้าใจ เพียงแต่คิดว่าถ้ามีโมเดลดังกล่าว หรือเอาคนมาชุมนุมจำนวนมากรัฐบาลจะอยู่ไม่ได้และจะยุบสภาฯ ซึ่งไม่เหมือนกัน เมื่อคนเป็นแสนมาไล่คนที่สนับสนุนเป็นล้านยากมาก และจะไม่จบสิ้น เพราะคุณไม่สามารถไล่คนที่มาจากเผด็จการการเลือกตั้งได้โดยวิธีชุมนุม นี่คือสิ่งที่อยากสื่อกับประชาชนและกลุ่มพันธมิตรฯ เพราะกี่คนก็เป็นกฎหมู่อยู่ดี ขณะเดียวกัน เผด็จการจากการเลือกตั้งมักจะอ้างความชอบธรรม อ้างประชาชน ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่เขาเห็นด้วย การที่กลุ่มพันธมิตรฯ จะมาชุมนุมเป็นล้านคนก็ไม่สามารถไล่ได้ และที่ผ่านมากลุ่มพันธมิตรฯ ควรจะได้บทเรียน


ผมไม่ได้เป็นกลุ่มพันธมิตร มีบางคนที่คุยกัน ผมก็คุยอย่างที่ผมคุย มหาจำลองก็คุยตั้งแต่กันก่อนเป็นพันธมิตรฯ แล้ว มากกว่านั้นผมมีสัมพันธภาพกับทุกกลุ่ม เช่นเดียวกับการชุมนุมในวันที่ 10 มี.ค. นี้ เขาเชิญผมในฐานะคนนอก ว่ามองกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างไร และผมก็จะบอกอย่างที่ควรจะบอก ซึ่งไม่ต้องเตรียมอะไร เรามีแต่ความจริงใจ มีแต่ความปรารถนาดี เพราะกลุ่มพันธมิตรฯ เอง ก็เป็นคนที่รักบ้านเมือง แต่วิธีการต่อสู้อาจจะถูกบ้างผิดบ้าง


-อ่านเกมกลุ่มพันธมิตรฯ อย่างไร ?


ผมคิดว่าคนจำนวนมากของกลุ่มพันมิตรฯ ไปด้วยหัวใจ ไม่ได้หมายถึงแกนนำนะ แต่หมายถึงประชาชนที่เข้าไปนั่งชุมนุม เขาเสียสละ ไปด้วยความรัก ไม่ได้ไปเพราะผลประโยชน์ ไม่ได้ถูกจ้างมา เมื่อเทียบกับกลุ่มคนเสื้อแดง ผมก็ไม่ได้มองว่าเขาไปทำชั่วร้าย หลายคนไปเพราะความเดือดร้อนในการประกอบอาชีพ และมีคนชวนเขาว่า มาชุมนุมที่กรุงเทพฯ แล้วจะได้สิทธิที่ตัวเองเสียไป หรือได้รับความยุติธรรม เขาก็มาด้วยความบริสุทธิ์ใจ แต่ไม่เสียค่าเดินทางหรือค่ากินเท่านั้นเอง เมื่อมาถึงแล้วมาฟังข้อมูลข้างเดียว จนนำไปสู่เกิดความเกลียดชังฝ่ายตรงข้าม ไม่ได้มองว่าเสื้อแดงชั่วร้ายนะ แต่เขาไม่ได้รับความเป็นธรรมที่บ้าน กฎหมายไม่ควรจะรังแกเขา หลายคนไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพื่อนผมที่เป็นเสื้อแดงเขาก็ไปโดยที่ไม่ได้รับค่าจ้าง ไปทั้งครอบครัวก็มี ไม่มีใครต่อสู้ให้เสื้อแดง เสื้อแดงก็ต้องมาต่อสู้เอง ผมไม่ได้มีอคติทั้งเสื้อเหลืองและเสื้อแดง


ประเด็นต่อมา "ณรงค์ โชควัฒนา" พูดถึงภาพรวมและบรรยากาศทางการเมืองไทยว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าการเมืองเป็นเรื่องของความแตกแยก มีจุดต่างทางความคิด ทำให้คนแบ่งฝ่ายกัน ผมมองว่า ถ้าเมืองไทยยังแตกต่างกันอยู่อย่างนี้ เช่น กลุ่มหนึ่งพยายามให้ข้อมูลเพื่อให้เกลียดคุณทักษิณ อีกกลุ่มหนึ่งให้ข้อมูลเพื่อเกลียดอำมาตย์ ท้ายที่สุดอาจจะฆ่าฟันกันเอง


-แสดงว่ามีสัญญาณเตือน ?


เราก็เห็นอยู่แล้วว่าตอนนี้ อารมณ์คนไทยมีแต่ความเกลียดชังกัน และรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ความเห็นของผมไม่อยากให้คนไทยรับข้อมูลที่สร้างความเกลียดชัง เพราะการเมือง เศรษฐกิจ สังคม บอบช้ำมามาก ถ้าผมเป็นคนให้ข้อมูลข่าวสาร ผมอยากให้ข้อมูลที่ทำให้คนไทยรักกัน รักบ้านเมือง เพราะทุกสังคมมีทั้งคนดีและคนไม่ดี คนไม่ดีก็มีบ้างเป็นเรื่องธรรมดา เราไม่สามารถเปลี่ยนนิสัยคน ต้องไม่ปล่อยให้คนไม่ดีเข้ามามีอำนาจ

 
ไม่เห็นต้องมาทะเลาะกันเลย เพราะการเมืองในระบอบการเลือกตั้งประชาชนเป็นคนเลือก ถ้าบอกว่ารัฐบาลไม่ดี ก็แสดงว่าประชาชนเลือกไม่ถูก เลือกไม่ดี จะโทษรัฐบาลหรือโทษนักการเมืองได้อย่างไร ขณะเดียวกัน นักการเมืองที่ดีก็มีเยอะ แต่ประชาชนไม่เลือก ถ้าบอกว่าไม่ดีแล้วจะเลือกมาทำไม ตรรกของผมมีแค่นี้ ต้องโทษประชาชน เพราะนักการเมืองในความเห็นของผมก็มีเยอะ แต่ประชาชนไม่นิยมเลือก เพราะคิดว่ากระจอก ไม่เห็นผ่านหน้าจอ เป็นพรรคเล็ก ไม่มีเงินแจก ฯลฯ แต่ไม่ได้ดูว่า "ดี" หรือ "ไม่ดี" บางครั้งถูกหลอก


-แล้วจะต้องทำอย่างไร ?


"ณรงค์" กล่าวกับ "มติชนออนไลน์" ว่า ถ้าการเมืองจะเปลี่ยน มีคุณธรรม มีคุณภาพ ประชาชนต้องเปลี่ยน ประชาชนที่เป็นเจ้าของอำนาจ เจ้าของประชาธิปไตยต้องเปลี่ยนรสนิยมในการเลือก เราไม่ได้เลือกคนที่เข้ามาโกงกิน เราเลือกลูกจ้างหรือคนที่อาสาเข้ามารับใช้ประชาชน มีหน้าที่ออกกฎหมายเพื่อประชาชน ไม่ใช่คนกลุ่มหนึ่ง ฉะนั้น ในฐานะนักการเมืองก็แค่ลูกจ้างชั่วคราว ประชาชนเป็นนายจ้าง แล้วเราจะเอาลูกจ้างที่รวยมาทำไม รวยมาอย่างไม่มีเหตุผล เต็มไปด้วยความโกหก เพราะคนบริสุทธิ์ที่ไหนจะมีเงินมากมาย นักการเมืองที่ร่ำรวยน่ารังเกียจมากในระบอบประชาธิปไตย ในทางกลับกันต้องเสียสละ เพราะการรับใช้เป็นเกียรติยศสูงสุด ไม่ใช่ความร่ำรวย


คนไทยต้องรับผิดชอบในฐานะที่เลือกมา เพราะคนไทยเห็นแก่ตัว พร้อมที่จะเลือกคนที่เข้ามาหาผลประโยชน์ ผมถือว่าการปกครองแบบนี้ไม่มีประโยชน์ ขณะเดียวกัน ประชาชนไม่ได้โง่ เมื่อคิดว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง คนไทยถูกหลอกคิดว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง เมื่อเลือกตั้งเสร็จประชาชนหมดอำนาจ เพราะขายสิทธิ์ไปแล้ว นักการเมืองมีหน้าที่บริหารสิทธิ์ที่ได้มาจากประชาชน เมื่อประชาชนเข้าใจอย่างนี้ ถามว่าก่อนที่จะปฏิวัติทำไมไม่เคยเอาเงินมาแจก ไม่เคยพูดเพราะๆ กับประชาชน แต่การเลือกตั้งทำให้ประชาชนคิดว่าถูกเหลียวแลชั่วขณะ ก็ดีใจ ยิ่งเลือกตั้งบ่อยก็ยิ่งชอบ


ถามว่าความเข้าใจผิดเกิดขึ้นได้อย่างไร เพราะถูกสอนมาว่าการเลือกตั้งคือประชาธิปไตย ซึ่งไม่ใช่ ฮิตเลอร์ก็มาจากการเลือกตั้ง ประชาธิปไตยก็คือการที่อำนาจอยู่ที่ประชาชนหรือคนหมู่มาก การที่อำนาจอยู่กับคนส่วนน้อยคือเผด็จการ เพราะฉะนั้นประวัติศาสตร์ของไทยจึงเป็นการแย่งชิงอำนาจระหว่างเผด็จการจากการเลือกตั้งกับเผด็จการทหารเท่านั้น ไม่เคยมีประชาธิปไตย แม้กระทั่ง 14 ตุลา 2516 นักศึกษาเรียกร้องรัฐธรรมนูญไม่ใช่การเรียกร้องประชาธิปไตย


-คิดอย่างไรเกี่ยวกับการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐบาล ?


"รัฐธรรมนูญเป็นแค่กฎหมาย ซึ่งคนไทยเรียกว่ากฎหมายสูงสุด กฎหมายอื่นขัดแย้งไม่ได้ หรือเป็นเครื่องมือของนักปกครอง ผู้ปกครองอยู่เหนือกฎหมาย เนื่องจากเขาเป็นคนออกกฎหมาย เป็นคนบังคับใช้ เป็นคนแก้กฎหมาย ใช่หรือไม่?" ณรงค์ ตั้งคำถาม การเมืองคือการปกครองบ้านเมือง เช่นเดียวกับการปกครองแบบเผด็จการที่มีอำนาจเหนือกฎหมาย ทำตามใจชอบ ฉะนั้น เมื่อเป็นการเมืองแบบประชาธิปไตย อำนาจต้องเป็นของประชาชนเท่านั้น เพราะเป็นเจ้าของที่แท้จริง ต้องเป็นเครื่องมือของประชาชนในการรักษาอำนาจ ประชาธิปไตยต้องสร้างด้วยประชาชน ขณะที่กฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นเพียงแค่ตัวรองรับเท่านั้น ซึ่งจะเป็นเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็ได้


การที่นักการเมืองจะแก้รัฐธรรมนูญ แก้อย่างไรก็เป็นเผด็จการอยู่ดี เพราะประชาชนยังไม่มีอำนาจ นักการเมืองมาทำหน้าที่แทนประชาชน ไม่ใช่การใช้อำนาจแทน ต้องทำหน้าที่นิติบัญญัติ เพื่อให้ข้าราชการมารับใช้ประชาชน ไม่ใช่การเข้าไปแก้กฎหมายเพื่อให้ตนเองพ้นผิด วันนี้เรายังเห็นภาพนี้อยู่ แต่ประชาชนไม่เห็น เพราะบ้านเมืองเป็นเผด็จการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2547 เป็นการเมืองที่โกหกประชาชนมา 79 ปี โกหกแม้กระทั่งตำราเรียน แต่ไม่เคยมีใครมาบอกว่านี่คือเผด็จการ นอกจากนี้ การโกหกเรื่องประชาธิปไตยเมื่อไม่เคยมีใครคัดค้านด้วย ทำให้สิ่งที่ทำมาถูกมองว่าเป็นเรื่องที่ถูกเรื่อยมา


มากกว่านั้น ประชาชนยังคิดว่ารัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่ศักดิ์สิทธิ์ อยากได้อะไรก็เขียนใส่ ขณะที่กฎหมายอาญาธรรมดายังถูกมองว่าดีกว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญด้วยซ้ำ หรืออยู่ยงคงกระพันกว่า ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญบ้านเรามีอายุสั้นที่สุด ไม่มีความหมาย ไม่มีใครเคารพ แล้วเราจะแก้ไขสักกี่ร้อยครั้ง ร่างแล้วก็ฉีกมากกว่า 10 ครั้ง เมื่อเขียนขึ้นมาโดยไม่เข้าใจก็ฉีกอยู่ดี แก้ไม่จบสิ้น อย่างไรแล้วผมก็มองว่ารัฐธรรมนูญเป็นเผด็จการ โดยเฉพาะฉบับปีพ.ศ. 2540 ขณะที่ฉบับปีพ.ศ. 2550 ที่มีการแก้ก็แก้เพียงเล็กน้อย เพราะเขาก็คิดว่าฉบับปีพ.ศ. 2540 เป็นฉบับที่ดีที่สุดในโลก แต่ผมคิดว่าแย่ ทำไมผมถึงพูดอย่างนั้น ยกตัวอย่างเช่น ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง ซึ่งไม่มีประเทศไหน คนไม่มีอิสระในการลงรับสมัครเลือกตั้ง พรรคเล็กๆ ถูกตัดโอกาสเพราะเงื่อนไขเยอะ พรรคการเมืองใหญ่เป็นพรรคของนายทุน เพื่อเข้ามามีอำนาจในการบริหารประเทศ หรือทำไมนักการเมืองต้องจบปริญญาตรี โทนี แบลร์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ก็ไม่ได้จบปริญญาตรี


-มองกระแสการแก้ม.112 อย่างไร ?


ทั่วโลกมีมาตรานี้หมด และประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ก็คุ้มครองประมุขต่างชาติด้วย แต่การเอามาพูดเพื่อต้องการให้เกิดเรื่องมากกว่า ไม่ได้มีอะไรที่โหดเหี้ยมหรือแสดงความเป็นประชาธิปไตยตรงไหน คนที่เป็นประมุขจะให้มาฟ้องหมิ่นเหรอ ไม่มีใครเขาทำกัน และที่มีอยู่โทษก็ไม่เห็นรุนแรง ซึ่งต่างจากประเทศที่เป็นเผด็จการ


ถ้าคุณทักษิณกลับประเทศไทยจะเกิดอะไรขึ้น !!


เกิดอะไรขึ้นผมไม่ทราบ เพราะคุณทักษิณอาจจะถูกฆ่าตายและถูกโยนความผิดให้กับคนอื่น หรือถูกสั่งฆ่า คุณทักษิณต้องคิดให้ดี เพราะคุณทักษิณอาจจะถูกคนใกล้ชิดฆ่าก็ได้ คือคุณทักษิณต้องคิดว่าการที่เขาไม่อยู่ คนอื่นๆ ได้ประโยชน์ ถ้ากลับมา ประโยชน์ที่เคยได้อาจจะสูญเสียไป เขาอยู่ที่นั่นมีหน้าที่จ่ายเงินอย่างเดียว คนทางนี้ก็รับ เพราะคนที่จ้องทำร้ายเขาคิดว่า การที่คุณทักษิณกลับมาจะถูกลดบทบาท และได้ประโยชน์น้อยกว่า หรือใช้ศพคุณทักษิณหาเป็นประโยชน์


-สมาชิกบ้านเลขที่ 111 ล่ะ ?


จริงๆ แล้วผมไม่ทราบ แต่คนที่ได้เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลชุดนี้ เพราะสมาชิกบ้านเลขที่ 111 ถูกล็อคไว้อยู่ เมื่อกลับมาก็ต้องมาแชร์เก้าอี้กัน เพราะทั้งหมดเป็นเรื่องของผลประโยชน์ ไม่ใช่เพื่อบ้านเมือง เมื่อพูดเรื่องการเมือง ควรเป็นเรื่องของความเสียสละ ไม่ใช่การแสวงหาอำนาจ แย่งชิง สร้างปัญหา หรือมานั่งจัดสรรผลประโยชน์ คอร์รัปชั่น นั่นเป็นแบบเผด็จการ ประชาธิปไตยมีแต่ความดีงาม แก้ปัญหาในสิ่งที่ประชาชนไม่สามารถแก้ได้ แต่การเมืองกลับกลายเป็นสัญลักษณ์ของความชั่วร้าย


-เต็ม 10 ให้คะแนนรัฐบาลเท่าไหร่ ?


ผมมองว่าไม่เห็นเขาทำอะไรให้ประชาชนเลย วันนี้อย่าไปว่าผมพูดถึงรัฐบาลแบบนี้ เพราะรัฐบาลชุดที่ผ่านมาผมก็พูดเช่นเดียวกัน ไม่เห็นว่าเขาทำงานเพื่อประชาชน มีแต่ข้ออ้างว่าจะทำให้ประชาชน ผมเห็นเขาอภิปรายในสภาฯ แล้วก็เหี่ยว ดูแต่ละคนที่พูดออกมาก็เห็นลิ้นไก่ เนื่องจากว่าสิ่งที่พูดออกมาเพื่อพรรคของตัวเอง เช่น ถ้าพรรคตัวเองอยู่เป็นรัฐบาลกู้ได้ แต่พรรคที่ไม่ได้เป็นรัฐบาลบอกว่ากู้เงินแล้วผิด ตรงนี้ไม่ได้มีจุดยืนอะไรเลย เป็นเรื่องที่น่าสงสารประเทศ พอเป็นรัฐบาลพูดอีกอย่าง แต่เป็นฝ่ายค้านกลับคำเป็นอีกอย่างหนึ่ง คิดว่าประชาชนโง่หรืออย่างไร กำลังดูถูกคนที่กำลังดูอยู่หน้าจอ


รัฐบาลจะอยู่ครบเทอมหรือไม่นั้น ผมไม่ทราบ แต่ผมไม่อยากเห็นเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความรุนแรง หรือต้องมาเห็นคนไทยฆ่ากันเอง


-แล้วแนวทางปรองดองล่ะ ควรออกมาในรูปแบบไหน ?


แนวทางปรองดองคืออะไรคือการอภัยโทษทั้งหมดใช่หรือไม่ การเยียวยาอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งอันใหม่ก็ได้ เพราะคนที่ตาย ทหาร ตำรวจ ไม่ได้รับการเยียวยาเท่ากับกลุ่มที่ถูกสลายการชุมนุม ก่อให้เกิดแผลใหม่มากกว่า


สุดท้ายก็คือว่า ผมไม่ได้โทษนักการเมือง หรือโทษพรรคการเมือง แต่ผมโทษประชาชนที่เลือกเขามา จะว่าไปแล้วโทษตรงๆ ก็ไม่ได้ เพราะประชาชนรับรู้ประชาธิปไตยมาแค่นี้ บางคนถึงกับเกลียดประชาธิปไตย เพราะมองว่าประชาธิปไตยคือการคอร์รัปชั่น บางคนถึงอยากจะให้ทหารมาทำรัฐประหาร เพราะเขาคิดว่าทหารโกงน้อยกว่า หรือรัฐบาลที่มาจากเผด็จการทหารอาจจะโกงน้อยกว่า ขณะเดียวกันแต่ละพรรคการเมืองต่างแข่งกันหน้าด้านมากขึ้น



ที่มา : มติชน
12 มีนาคม 255
5

ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ24 ธันวาคม 2555 เวลา 18:37

    ขอนำเสนอบทความต่อไปนี้ ประกอบความรู้สึกของผู้ที่ได้อ่านก่อนตัดสินใจเรื่องที่อ่านว่า จริง ไม่จริง เชื่อได้ เชื่อไม่ได้ จะเลือกฝ่ายใด จะสนับสนุนอย่างไร ที่สำคัญต้องจบลงด้วยความสุขของทุกคน "ความสุขคืออะไร" ถ้ามีโอกาสจะนำเสนอในครั้งหน้า บทความที่ขอฝากไว้คือ ....กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตติยนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตติยสูตร หรือเกสปุตตสูตร ก็มี[1]) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
    1. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ฟังๆ กันมา
    2. อย่าเพิ่งเชื่อตามที่ทำต่อๆ กันมา
    3. อย่าเพิ่งเชื่อตามคำเล่าลือ
    4. อย่าเพิ่งเชื่อโดยอ้างตำรา
    5. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกเดา
    6. อย่าเพิ่งเชื่อโดยคาดคะเนเอา
    7. อย่าเพิ่งเชื่อโดยนึกคิดตามแนวเหตุผล
    8. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะถูกกับทฤษฎีของตน
    9. อย่าเพิ่งเชื่อเพราะมีรูปลักษณ์ที่ควรเชื่อได้
    10.อย่าเพิ่งเชื่อเพราะผู้พูดเป็นครูบาอาจารย์ของตน
    ปัจจุบันแนวคิดและหลักสูตรที่สอนให้คนมีเหตุผลไม่หลงเชื่องมงาย ในทำนองเดียวกับคำสอนของพระพุทธองค์เมื่อ 2500 ปีก่อน ได้รับการบรรจุเป็นวิชาบังคับว่าด้วยการสร้างทักษะการคิดหรือที่เรียกว่า "การคิดเชิงวิจารณ์" (Critical thinking) ไว้ในกระบวนการเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยของประเทศพัฒนาแล้ว[2]

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ