ส่องสัปดาห์อันตรายรัฐบาล 'ยิ่งลักษณ์' เมื่อ 'ม็อบสนามม้า' ผสมโรง 'ศึกซักฟอก'
ส่องสัปดาห์อันตรายรัฐบาล 'ยิ่งลักษณ์' เมื่อ 'ม็อบสนามม้า' ผสมโรง 'ศึกซักฟอก'
วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน 2555 เวลา 00:00 น.
จากที่เคยถูกมองว่าเป็น “ม้านอกสายตา” บัดนี้ม็อบสนามม้านางเลิ้งที่เคยชุมนุมเมื่อวันที่ 28 ต.ค. ได้พัฒนากลายเป็น “ม็อบลานพระบรมรูปทรงม้า” ในวันที่ 24 พ.ย. และทำท่าจะพัฒนาต่อไปกลายเป็น “ม็อบประชาชน” เพื่อมาคอยตรวจสอบและกดดันรัฐบาลพรรคเพื่อไทยภายใต้การนำของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี
ในแง่ของการชุมนุมถือว่า “จุดติด” แล้ว ส่วนการชุมนุมจะพัฒนาหรือจะยกระดับไปทางไหน จะไปสู่ความรุนแรงจนนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นหรือไม่ ยังต้องดูกันต่อไป
สิ่งสำคัญที่การชุมนุมของกลุ่มที่มี องค์การพิทักษ์สยาม หรือ อพส. ที่นำโดย เสธ.อ้าย หรือ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ เป็นแกนนำนั้นมีอยู่ในเวลานี้คือ ความชอบธรรมในการใช้สิทธิในการชุมนุมในการแสดงออก ตราบใดที่การชุมนุมนั้นปราศจากอาวุธและไม่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่น แต่สิ่งที่ อพส. ต้องตอบและอธิบาย “สังคมไทย” ในเวลานี้ให้ได้คือ ทำไมและ
อะไรเป็นสาเหตุหลักที่จะต้องมาชุมนุม และทำไมต้อง “ต่อต้าน” รัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ได้รับชัยชนะมาจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 54 ที่น่าสนใจไปกว่านั้นข้อเสนอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้นเป็นข้อเสนอที่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยหรือไม่
เพราะความชอบธรรมของการชุมนุมนั้นอยู่ไม่นานฉะนั้นการชุมนุมครั้งนี้จึงต้องทำมากกว่า ไล่อีกฝ่ายหนึ่งไปแล้วให้อีกฝ่ายหนึ่งมา ซึ่งพิสูจน์กันมาในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาแล้วว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้ ด้วยการสร้างทางเลือกใหม่ให้กับสังคมไทยโดยที่ทางเลือกนั้นต้องไปตามครรลอง อยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตย
การที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่ง “ปากแข็ง” มาก่อนหน้าที่สุดแล้วก็เลือกที่จะประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร ครอบคลุมพื้นที่ 3 เขตใน กทม. ระหว่างวันที่ 22-30 พ.ย. แม้บางฝ่ายจะมองว่าเป็นการ “ตื่นกลัว” เกินกว่าเหตุและหมิ่นเหม่ที่จะถูกมองว่าเป็นความพยายามปิดกั้นมากกว่าที่จะเข้ามาควบคุมดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เพราะต้องไม่ลืมว่า ตำรวจซึ่งเป็นผู้ดูแลสถานการณ์การชุมนุมในขณะนี้นั้นคือ “กรรมการ” ไม่ใช่ “เครื่องมือ” หรือกลไกของรัฐบาลในการรักษาอำนาจ เพราะรัฐบาลพรรคเพื่อไทยวันนี้เป็น “คู่กรณี” กับกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างชัดเจน
ความเป็นกลาง ความไม่เป็นธรรม การไม่เดินตามกติกา จะทำให้ “กรรมการ” สูญเสียความเป็น “คนกลาง” ซึ่งเมื่อเกิดตรงนั้นขึ้นมาเมื่อไหร่ การเผชิญหน้าจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นพร้อม ๆ กับการมีข้อเรียกร้องให้หา “กรรมการ” อย่างทหารเข้ามาทำหน้าที่แทน
การชุมนุมของกลุ่ม อพส. ในวันที่ 24 พ.ย. จะไม่สร้างความตื่นตระหนกให้กับรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้เลยหากการ
ชุมนุมนั้นไม่ไปอยู่ในช่วงที่กระบวนการ “ตรวจสอบ” ในรัฐสภาดำเนินไป
ทางหนึ่งคือ วุฒิสภา ที่ยื่นญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติกับรัฐบาลในวันที่ 23 พ.ย. ที่ผ่านมา และวันสุดท้ายของสมัยประชุมในวันที่ 28 พ.ย. ที่จะถึงนี้
อีกทางคือ การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรครักประเทศไทย
ในระหว่างวันที่ 25-27 พ.ย. ก่อนที่จะไปลงมติในวันที่ 28 พ.ย.
ปรากฏการณ์การ “ตรวจสอบ” ทั้งในสภาทั้งเวทีสาธารณะอย่างการชุมนุมที่เกิดขึ้นจึงไม่น่าจะใช่เรื่อง “บังเอิญ” แต่ถูกคิดถูกวางไว้เพื่อให้สถานการณ์สอดคล้องต้องกัน
การนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างปัจจุบันทันด่วนคงไม่น่าจะมีทางเกิดขึ้น เพราะในสภาอย่างไรเสีย “เสียงข้างมาก” ของรัฐบาลก็ชนะ ขณะที่ “นอกสภา” ที่แม้จะมี “ปริมาณ” ของมวลชนมาชุมนุมในจำนวนที่แกนนำผู้ชุมนุมประเมินไว้ก็ตามก็ไม่น่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา
ฉะนั้นการต่อสู้ “รอบนี้” จึงยืดเยื้อและเรื้อรังกันต่อไปในปีหน้าอย่างแน่นอน
ปัญหาการคอร์รัปชั่น ผลเสียที่เกิดจากนโยบายประชานิยมอย่างนโยบายจำนำข้าว ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณอย่างการแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วม 1.2 แสนล้านบาท เรื่อยไปจนถึงการวางแผนจัดการน้ำอีกจำนวนมหาศาล ไปจนถึงข้อกล่าวหาการเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เหล่านี้ จะเป็น “คำถาม” ที่จะตามหลอกหลอนรัฐบาล
การเผชิญหน้า ท้าทายกันทางการเมืองครั้งสำคัญครั้งนี้จึงไม่น่าจะใช่การแพ้ชนะกันใน “หมัดเดียว” หรือ “ยกเดียวจบ” ตามที่บางคนพูดเป็น “คำใหญ่คำโต” ไว้ แต่น่าจะพุ่งเป้าไปที่ความต้องการทางการเมืองที่แท้ซึ่งนั่นก็คือ การพา พ.ต.ท.ทักษิณ “กลับบ้าน”
ประเด็นพา พ.ต.ท.ทักษิณ “กลับบ้าน” เป็นกระแสหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ด้านความมั่นคงนำไปใช้รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และหลังจากได้รับชัยชนะมาเป็นรัฐบาลมีตำแหน่งทางการเมือง ร.ต.อ.เฉลิม ก็พูดอยู่ตลอดเวลาว่า จะพา พ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้านให้ได้
“กลับบ้าน” ในความหมายวันนี้ ไม่น่าจะใช่การกลับมารับโทษตามคำพิพากษาของศาลแต่น่าจะกลับมาและพร้อมที่จะเดินเข้าสู่สนามการเมืองอีกครั้ง
ถ้ายังจำกันได้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณไปประกาศไว้ที่ประเทศกัมพูชาว่า ปีนี้จะกลับบ้าน
“ปีนี้” ที่ว่านั้นบัดนี้เหลือระยะเวลาแค่ 1 เดือนเท่านั้น
เมื่อปีนี้กลับไม่ได้ก็ต้องเป็นปีหน้าหรือปีต่อไปหรือพูดง่าย ๆ ก็คือว่า ในช่วงที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลและมีน้องสาวเป็นนายกฯ นี่แหละ
จึงเห็นว่าความเคลื่อนไหวเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงกลับมาปรากฏอีกครั้งอย่างคึกคัก มีความชัดเจนเรื่องเวทีสานเสวนา มีความชัดเจนว่าจะเดินหน้าอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 ซึ่งขณะนี้ยัง “คา” อยู่ในที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งจะเปิดสมัยประชุมอีกครั้งในวันที่ 21 ธ.ค. ที่จะถึงนี้
การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเป็นความปรารถนาอย่างสูงสุดของ นปช. ซึ่งเป็นมวลชนสนับสนุนที่สำคัญของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ขณะที่อีกเรื่องซึ่งก็กำลังรอสถานการณ์เอื้ออำนวยนั่นคือการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ซึ่งถูกต่อต้านอย่างหนักและที่สุดก็ “ยุติ” ลงแค่ยังไม่ได้มีการพิจารณาเท่านั้น ไม่มีการ “ถอนร่าง” ออกไปตามที่หลาย ๆ ฝ่ายเสนอ
ตรงนั้นมากกว่าที่จะเป็นแนวปะทะกันทางการเมืองที่ดุเดือดเลือดพล่าน
การมาของกลุ่มที่ประกาศว่า “ไม่เอาระบอบทักษิณ” จึงเป็นการประกาศไว้ซะตั้งแต่ตอนนี้ว่า ต่อต้านการแก้ไขหากการแก้ไขนั้นทำเพื่อ “คนหนึ่งคนใด” เป็นการเฉพาะ
การชุมนุมในวันที่ 24 พ.ย. และน่าจะมีต่อไปถึงวันที่ 25 พ.ย. ผสมเข้ากับการอภิปรายไม่ไว้วางใจซึ่งเป็นกระบวนการ “ตรวจสอบ” ตามระบอบรัฐสภา จึงเป็นแค่ “ตอนหนึ่ง” ของการเผชิญกันครั้งใหม่
“อุปมาอุปไมย” คล้ายกับว่า ที่ผ่านมาจะแพ้จะชนะกันนั้นก็เป็นแค่ “ศึก” เท่านั้น ขณะที่ “สงคราม” ยังดำรงอยู่และดำเนินไปอย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ เห็นกันในตอนนี้.
http://www.dailynews.co.th/politics/168622
ในแง่ของการชุมนุมถือว่า “จุดติด” แล้ว ส่วนการชุมนุมจะพัฒนาหรือจะยกระดับไปทางไหน จะไปสู่ความรุนแรงจนนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองขึ้นหรือไม่ ยังต้องดูกันต่อไป
สิ่งสำคัญที่การชุมนุมของกลุ่มที่มี องค์การพิทักษ์สยาม หรือ อพส. ที่นำโดย เสธ.อ้าย หรือ พล.อ.บุญเลิศ แก้วประสิทธิ์ เป็นแกนนำนั้นมีอยู่ในเวลานี้คือ ความชอบธรรมในการใช้สิทธิในการชุมนุมในการแสดงออก ตราบใดที่การชุมนุมนั้นปราศจากอาวุธและไม่ไปละเมิดสิทธิผู้อื่น แต่สิ่งที่ อพส. ต้องตอบและอธิบาย “สังคมไทย” ในเวลานี้ให้ได้คือ ทำไมและ
อะไรเป็นสาเหตุหลักที่จะต้องมาชุมนุม และทำไมต้อง “ต่อต้าน” รัฐบาลพรรคเพื่อไทยที่ได้รับชัยชนะมาจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 3 ก.ค. 54 ที่น่าสนใจไปกว่านั้นข้อเสนอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้นเป็นข้อเสนอที่สอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยหรือไม่
เพราะความชอบธรรมของการชุมนุมนั้นอยู่ไม่นานฉะนั้นการชุมนุมครั้งนี้จึงต้องทำมากกว่า ไล่อีกฝ่ายหนึ่งไปแล้วให้อีกฝ่ายหนึ่งมา ซึ่งพิสูจน์กันมาในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมาแล้วว่าไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้ ด้วยการสร้างทางเลือกใหม่ให้กับสังคมไทยโดยที่ทางเลือกนั้นต้องไปตามครรลอง อยู่บนพื้นฐานของประชาธิปไตย
การที่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ซึ่ง “ปากแข็ง” มาก่อนหน้าที่สุดแล้วก็เลือกที่จะประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคงในราชอาณาจักร ครอบคลุมพื้นที่ 3 เขตใน กทม. ระหว่างวันที่ 22-30 พ.ย. แม้บางฝ่ายจะมองว่าเป็นการ “ตื่นกลัว” เกินกว่าเหตุและหมิ่นเหม่ที่จะถูกมองว่าเป็นความพยายามปิดกั้นมากกว่าที่จะเข้ามาควบคุมดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เพราะต้องไม่ลืมว่า ตำรวจซึ่งเป็นผู้ดูแลสถานการณ์การชุมนุมในขณะนี้นั้นคือ “กรรมการ” ไม่ใช่ “เครื่องมือ” หรือกลไกของรัฐบาลในการรักษาอำนาจ เพราะรัฐบาลพรรคเพื่อไทยวันนี้เป็น “คู่กรณี” กับกลุ่มผู้ชุมนุมอย่างชัดเจน
ความเป็นกลาง ความไม่เป็นธรรม การไม่เดินตามกติกา จะทำให้ “กรรมการ” สูญเสียความเป็น “คนกลาง” ซึ่งเมื่อเกิดตรงนั้นขึ้นมาเมื่อไหร่ การเผชิญหน้าจะยิ่งเข้มข้นมากขึ้นพร้อม ๆ กับการมีข้อเรียกร้องให้หา “กรรมการ” อย่างทหารเข้ามาทำหน้าที่แทน
การชุมนุมของกลุ่ม อพส. ในวันที่ 24 พ.ย. จะไม่สร้างความตื่นตระหนกให้กับรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้เลยหากการ
ชุมนุมนั้นไม่ไปอยู่ในช่วงที่กระบวนการ “ตรวจสอบ” ในรัฐสภาดำเนินไป
ทางหนึ่งคือ วุฒิสภา ที่ยื่นญัตติเปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติกับรัฐบาลในวันที่ 23 พ.ย. ที่ผ่านมา และวันสุดท้ายของสมัยประชุมในวันที่ 28 พ.ย. ที่จะถึงนี้
อีกทางคือ การยื่นญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคฝ่ายค้านอย่างพรรคประชาธิปัตย์และพรรครักประเทศไทย
ในระหว่างวันที่ 25-27 พ.ย. ก่อนที่จะไปลงมติในวันที่ 28 พ.ย.
ปรากฏการณ์การ “ตรวจสอบ” ทั้งในสภาทั้งเวทีสาธารณะอย่างการชุมนุมที่เกิดขึ้นจึงไม่น่าจะใช่เรื่อง “บังเอิญ” แต่ถูกคิดถูกวางไว้เพื่อให้สถานการณ์สอดคล้องต้องกัน
การนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงอย่างปัจจุบันทันด่วนคงไม่น่าจะมีทางเกิดขึ้น เพราะในสภาอย่างไรเสีย “เสียงข้างมาก” ของรัฐบาลก็ชนะ ขณะที่ “นอกสภา” ที่แม้จะมี “ปริมาณ” ของมวลชนมาชุมนุมในจำนวนที่แกนนำผู้ชุมนุมประเมินไว้ก็ตามก็ไม่น่าจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมา
ฉะนั้นการต่อสู้ “รอบนี้” จึงยืดเยื้อและเรื้อรังกันต่อไปในปีหน้าอย่างแน่นอน
ปัญหาการคอร์รัปชั่น ผลเสียที่เกิดจากนโยบายประชานิยมอย่างนโยบายจำนำข้าว ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการงบประมาณอย่างการแก้ไขสถานการณ์น้ำท่วม 1.2 แสนล้านบาท เรื่อยไปจนถึงการวางแผนจัดการน้ำอีกจำนวนมหาศาล ไปจนถึงข้อกล่าวหาการเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เหล่านี้ จะเป็น “คำถาม” ที่จะตามหลอกหลอนรัฐบาล
การเผชิญหน้า ท้าทายกันทางการเมืองครั้งสำคัญครั้งนี้จึงไม่น่าจะใช่การแพ้ชนะกันใน “หมัดเดียว” หรือ “ยกเดียวจบ” ตามที่บางคนพูดเป็น “คำใหญ่คำโต” ไว้ แต่น่าจะพุ่งเป้าไปที่ความต้องการทางการเมืองที่แท้ซึ่งนั่นก็คือ การพา พ.ต.ท.ทักษิณ “กลับบ้าน”
ประเด็นพา พ.ต.ท.ทักษิณ “กลับบ้าน” เป็นกระแสหนึ่งที่พรรคเพื่อไทยโดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯ ด้านความมั่นคงนำไปใช้รณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และหลังจากได้รับชัยชนะมาเป็นรัฐบาลมีตำแหน่งทางการเมือง ร.ต.อ.เฉลิม ก็พูดอยู่ตลอดเวลาว่า จะพา พ.ต.ท.ทักษิณ กลับบ้านให้ได้
“กลับบ้าน” ในความหมายวันนี้ ไม่น่าจะใช่การกลับมารับโทษตามคำพิพากษาของศาลแต่น่าจะกลับมาและพร้อมที่จะเดินเข้าสู่สนามการเมืองอีกครั้ง
ถ้ายังจำกันได้ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ซึ่ง พ.ต.ท.ทักษิณไปประกาศไว้ที่ประเทศกัมพูชาว่า ปีนี้จะกลับบ้าน
“ปีนี้” ที่ว่านั้นบัดนี้เหลือระยะเวลาแค่ 1 เดือนเท่านั้น
เมื่อปีนี้กลับไม่ได้ก็ต้องเป็นปีหน้าหรือปีต่อไปหรือพูดง่าย ๆ ก็คือว่า ในช่วงที่พรรคเพื่อไทยเป็นรัฐบาลและมีน้องสาวเป็นนายกฯ นี่แหละ
จึงเห็นว่าความเคลื่อนไหวเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงกลับมาปรากฏอีกครั้งอย่างคึกคัก มีความชัดเจนเรื่องเวทีสานเสวนา มีความชัดเจนว่าจะเดินหน้าอย่างไรกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 ซึ่งขณะนี้ยัง “คา” อยู่ในที่ประชุมรัฐสภา ซึ่งจะเปิดสมัยประชุมอีกครั้งในวันที่ 21 ธ.ค. ที่จะถึงนี้
การแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นเป็นความปรารถนาอย่างสูงสุดของ นปช. ซึ่งเป็นมวลชนสนับสนุนที่สำคัญของ พ.ต.ท.ทักษิณ
ขณะที่อีกเรื่องซึ่งก็กำลังรอสถานการณ์เอื้ออำนวยนั่นคือการผลักดันร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ ซึ่งถูกต่อต้านอย่างหนักและที่สุดก็ “ยุติ” ลงแค่ยังไม่ได้มีการพิจารณาเท่านั้น ไม่มีการ “ถอนร่าง” ออกไปตามที่หลาย ๆ ฝ่ายเสนอ
ตรงนั้นมากกว่าที่จะเป็นแนวปะทะกันทางการเมืองที่ดุเดือดเลือดพล่าน
การมาของกลุ่มที่ประกาศว่า “ไม่เอาระบอบทักษิณ” จึงเป็นการประกาศไว้ซะตั้งแต่ตอนนี้ว่า ต่อต้านการแก้ไขหากการแก้ไขนั้นทำเพื่อ “คนหนึ่งคนใด” เป็นการเฉพาะ
การชุมนุมในวันที่ 24 พ.ย. และน่าจะมีต่อไปถึงวันที่ 25 พ.ย. ผสมเข้ากับการอภิปรายไม่ไว้วางใจซึ่งเป็นกระบวนการ “ตรวจสอบ” ตามระบอบรัฐสภา จึงเป็นแค่ “ตอนหนึ่ง” ของการเผชิญกันครั้งใหม่
“อุปมาอุปไมย” คล้ายกับว่า ที่ผ่านมาจะแพ้จะชนะกันนั้นก็เป็นแค่ “ศึก” เท่านั้น ขณะที่ “สงคราม” ยังดำรงอยู่และดำเนินไปอย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ เห็นกันในตอนนี้.
http://www.dailynews.co.th/politics/168622
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น
ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ