การสักการะบูชาพระสยามเทวาธิราช

การสักการะบูชาพระสยามเทวาธิราช












การสังเวยบูชาพระสยามเทวาธิราชนั้น ถือเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่บูชา เพราะผู้ที่บูชาพระสยามเทวาธิราชนั้นจะได้รับแต่ความร่มเย็นเป็นสุข ดังนั้นพระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ นับแต่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นต้นมาได้บูชาพระสยามเทวาธิราชมาโดยตลอดด้วยพระกตัญญูต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายที่คุ้มครองบ้านเมืองให้แคล้วคลาดปลอดภัย ดังที่หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเล่าไว้ว่า....ท่านผู้ใหญ่ชั้นคุณย่าของท่านได้เล่าให้ฟังว่าในรัชกาลที่๔ทรงสังเวยทุกๆวัน และเป็นที่นับถือกันว่าศักดิ์สิทธิ์นัก บัดนี้เนื่องแต่ทางพระราชสำนักต้องตัดทอนรายจ่ายมากมายมาแต่รัชกาลที่๗ จึงคงมีเครื่องสังเวยแต่เฉพาะวันอังคารและวันเสาร์(อาทิตย์ละ๒วัน) และในเวลาปีใหม่ตามจันทรคติ(วันสงกรานต์)ก็มีการบวงสรวงสังเวยเป็นพิธีใหม่ มีละครรำของกรมศิลปากรในเวลาเช้าวันสังเวยนั้น




นับว่าเป็นสิ่งที่น่าตรึกตรองอยู่เหมือนกันว่าเหตุใดพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสักการะอยู่ตลอดรัชกาลทั้งที่พระองค์ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ทั่วโลกยกย่อง ทรงเป็นปราชญ์ในพระพุทธศาสนา ทรงผนวชศึกษาพระธรรมวินัยอย่างแตกฉาน ทรงรอบรู้เรื่องดาราศาสตร์และเป็นผู้มีเหตุมีผล การสร้างพระสยามเทวาธิราชเพื่อสักการะบูชาจึงต้องเป็นสิ่งที่มีเหตุผลสำหรับบ้านเมือง ช่วยให้เรามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เป็นที่ยึดมั่นเกิดกำลังใจในการช่วยกันปกป้องรักษาแผ่นดินเกิดแผ่นดินตาย อีกทั้งมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยดลบันดาลให้เหตุการณ์บ้านเมืองปลอดภัยจากความรุนแรงทั้งปวง




เครื่องสังเวยที่ใช้บูชาพระสยามเทวาธิราชตามประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบต่อกันมานั้นประกอบด้วย...




หัวหมู เป็ด ไก่ เมี่ยงส้ม ทองหยิบ ฝอยทอง ส้มเขียวหวาน องุ่น มะตูมเชื่อม มะพร้าวอ่อน กล้วย หอมจันทร์ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ผลทับทิม และเทียนเงิน เทียนทอง




ส่วนคาถาบูชาพระสยามเทวาธิราช มีดังนี้...


สยามะเทวาธิราชาเทวาติเทวา มหิทธิกา เทยยรัฏฐัง อนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ




เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา สยามะเทวานุภาเวนะ สยามะเทวะเตชะสา




ทุกขะโรคะภะยะ เวรา โสกาสัตตุ จุปัททะวา อเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต




ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสตถิภาคะยัง สุขัง พะลัง สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒิ จะ




ยะสะวา สะตะวัสสา จะ อายุ จะ ชีวะสิทธี ภะวันตุ เม




นอกเหนือจากพิธีหลวงแล้วราษฎรทั่วไปก็สามารถสักการะบูชาพระสยามเทวาธิราชได้ด้วยเช่นกัน โดยปฏิบัติบูชาดังนี้




๑ รูปสักการะ




จะเป็นภาพถ่าย ภาพพิมพ์หรือแม้แต่องค์จำลองแห่งสมเด็จพระสยามเทวาธิราชก็ได้ เพื่อนำมาประดิษฐานบูชาสักการะในที่อันควร




๒ เครื่องบูชา




พระสยามเทวาธิราชพระองค์นี้ทรงเป็นเทพผู้พิทักษ์แผ่นดิน เป็นกำลังเมืองจึงทรงโปรดเครื่องหอมกระแจะจันทร์ทั้งปวง โดยเฉพาะดอกมะลิและดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมเป็นอาทิ ดอกบัวนั้นไม่ทรงโปรดเพราะดอกบัวเป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัยหรือพระมหาพรหมเทวาเท่านั้น รัฐภิบาลเทวตาไม่เหมาะแก่การถวายสักการะด้วยดอกบัว




ธูปที่จุดบูชานั้นต้องเป็นธูปที่มีกลิ่นหอมเป็นพิเศษ เป็นธูปที่ปรุงด้วยเครื่องหอมชั้นสูงเป็นอาทิ เป็นแบบผสมกำยานหรือแก่นจันทร์หอมได้ทั้งสิ้น




เพื่อให้บังเกิดผลดียิ่งขึ้น ก่อนทำการถวายเครื่องสักการะบูชาควรอาบน้ำชำระกายอบร่ำตัวด้วยเครื่องหอมก่อน




๓ เครื่องสังเวย




สำหรับเครื่องสังเวยจัดตามพิธีของพราหณ์ด้วยเป็นสิ่งที่ถูกต้องทุกประการ และการสังเวยให้ถือตามที่เป็นพิธีการบวงสรวงองค์สมเด็จพระสยามเทวาธิราชเท่านั้น




๔ การสังเวย




แบ่งออกเป็น




  • ขอให้อำนวยพระพรให้กิจการค้าและบริวารทั้งปวงมีความร่มเย็นเป็นสุข ทำมาค้าขึ้น


  • ขอให้ช่วยกำจัดปัดเป่าอุปสรรคตลอดจนหมู่พาลมารร้ายทั้งปวงให้แพ้ภัยการสิ้นไปในเร็ววัน


  • ขอใ้ห้คุ้มเกรงรักษาให้พ้นจากเคราะห์ร้ายทั้งปวงอันมีอยู่ในดวงชะตา


๕ สวดบูชา




สวดบูชาด้วยคาถาบูชาพระสยามเทวาธิราช




สยามะเทวาธิราชาเทวาติเทวา มหิทธิกา เทยยรัฏฐัง อนุรักขันตุ อาโรคะเยนะ สุเขนะ จะ




เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา สยามะเทวานุภาเวนะ สยามะเทวะเตชะสา




ทุกขะโรคะภะยะ เวรา โสกาสัตตุ จุปัททะวา อเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต




ชะยะสิทธิ ธะนัง ลาภัง โสตถิภาคะยัง สุขัง พะลัง สิริ อายุ จะ วัณโณ จะ โภคัง วุฑฒิ จะ




ยะสะวา สะตะวัสสา จะ อายุ จะ ชีวะสิทธี ภะวันตุ เม




แล้วสำรวมจิตอธิษฐานดังนี้




ด้วยเดชะบารมีแห่งศีลทาน บารมีที่ข้าพเจ้าได้ทำโดยชอบและความตั้งมั่นในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์มิแคลนคลอน ขอองค์สมเด็จพระสยามเทวาธิราชได้โปรดอภิบาลรักษาผืนแผ่นดินและองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระสยามมกุฏราชกุมาร สมเด็จพระสยามมกุฏราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ พระเจ้าหลานเธอ ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ ให้ทรงพระเกษมสำราญสถิตย์พระชนมายุยิ่งยืนนาน




ขอพระสยามเทวาภูบาลได้กำราบปราบปรามพวกขุนนาง ข้าราชการ นักการเมือง ตลอดจนผู้ที่คิดร้ายทำลายชาติฉ้อราษฎร์บังหลวงกดขี่ข่มเหง คนร้าย ผู้กระทำตนเป็นเจ้าพ่อ ให้ประสบความวิบัติฉิบหายวอดวายไปสิ้นทั่วแผ่นดินทอง




ขอพระทรงยลยิน อวยพระพรแด่ผู้อยู่ในศีลธรรมจรรยา ภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รัฐสีมา ประชาราษฎร์จงมีแต่ความเกษมสุข มีความเจริญก้าวหน้าในกิจการทั้งปวง มีชัยชนะเหนือเหล่าร้ายทำลายแผ่นดินทุกประการ




ด้วยเดชเดชะสัจจะกิริยาที่ข้าพเจ้ามั่นคงต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ราชบัลลังก์มิได้สิ้นไปจากกมลสันดาน ขออำนาจแห่งสัจจะกิริยานี้และอำนาจแห่งสมเด็จพระสยามเทวาธิราชจงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าแคล้วคลาดจากโพยภัยทั้งปวงอันเกิดจากดวงชะตาและดาวดวงร้ายต่างๆ ให้สรรพอันตรายทั้งปวงล้วงพ้นด้วยองค์สมเด็จพระสยามเทวาธิราชบารมีนั้นเทอญ





ข้อสำคัญในการสักการะบูชาก็คือผู้สักการะบูชาต้องอยู่ในศีลในธรรมและมีสัจจะ ตามที่่ได้กล่าวต่อพระสยามเทวาธิราช และหากประชาชนคนไทยได้ร่วมกันสักการะบูชาพระสยามเทวาธิราชเพื่อให้คุ้มครองรักษาแผ่นดิน กำจัดคนพาลอภิบาลคนดีทั่วหน้ากันแล้ว อำนาจสัจจะกิริยานั้นจะสามารถเพิ่มพลังแห่งสมเด็จพระสยามเทวาธิราชเจ้าอันเหมือกำลังแผ่นดินให้สูงขึ้น ความวิบัติฉิบหายก็จะบังเกิดแก่พวกเสนียดแผ่นดินมากขึ้นและเร็วขึ้นดังที่่ปรากฏเป็นข่าวฉาวโฉ่ต่อผู้ที่คิดร้ายต่อประเทศอยู่เสมอๆ


ความคิดเห็น

  1. ขอขอบพระคุณ ที่มีภาพอันเป็นมงคล

    ตอบลบ
  2. ใช้ธูปกี่ดอกค่ะ

    ตอบลบ
  3. เราสามารถนำมาบูชาที่บ้านหรือร้านค้าได้ไหมครับ

    ตอบลบ
  4. สามารถนำมาบูชาที่บ้านได้ครับ ควรตั้งไว้ลองจากพระพุทธรูปครับ

    ตอบลบ
  5. ที่หมู่บ้านมีการตั้งศาลเราควรถวายเครื่องบุชายังไงครับ

    ตอบลบ
  6. พระราชพิธีบวงสรวงพระสยามเทวิราชในรัชกาลปัจจุบัน

    พระราชพิธีบวงสรวพระสยามเทวาราชาธิราชในปัจจุบัน กำหนดไว้ในปฏิทินหลวงในวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ตาม ประเพณีนิยมว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติแบบโบราณอนุวัติ ตามราชประเพณีที่ทำในรัชกาลที่ 4 ที่ 5 และรัชกาลต่อ ๆ มา เจ้าหน้าที่ สำนักพระราชวังจะเชิญพระสยามเทวาธิราช เทวรูป พระสรัสวดี หรือพระพราหมี พระอิศวร พระอุมา พระนารายณ์ ทรงครุฑ จากพระวิมานลงมาประดิษฐานที่โต๊ะสังเวยหน้าพระเจ้าที่กับเจว็ดมุกรูปเจ้า กรุงพาลี จากหอแก้วพระภูมิมาประดิษฐานที่โต๊ะร่วมสังเวยด้วย

    เครื่องสังเวยประกอบด้วย หัวหมู เป็ด ไก่ เมี่ยงส้ม ทองหยิบ ฝอยทอง ส้มเขียวหวาน องุ่น มะตูมเชื่อม มะพร้าวอ่อน กล้วยหอมจันทร์ ขนมต้มแดง ขนมต้มขาว ผลทับทิม เทียนเงิน เทียนทอง พระราชพิธีบวงสรวงสังเวยพระสยามเทวิราชในปัจจุบันนี้ ถ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกรณียกิจอื่นไม่สามารถเสด็จพระราช ดำเนินในพระราชพิธีนี้ได้ จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกเธอหรือพระราชวงศ์ผู้ใหญ่เสด็จมาทรงสังเวยพระสยามเทวิ ราชแทนพระองค์ เมื่อเสด็จพระราชดำเนินถึงพระที่นั่งไพศาลทักษิณ ทรงจุดธูปเทียนถวายสักการะพระสยามเทวิราช แล้วทรงจุดธูปหางปักที่เครื่องสังเวย เสร็จแล้วเสด็จไปทรงจุดธูปเทียนบูชาเทวดา และทรงจุดธูปหางปักที่เครื่องสังเวยเทวดา (เครื่องสังเวยเทวดาเหมือนกับเครื่องสังเวยพระสยามเทวาธิราช) ที่โต๊ะหน้าหอพระสุราลัยพิมาน ขณะที่ทรงจุดธูปเทียนถวาย สักการะพระสยามเทวาธิราช และทรงจุดธูปเทียนที่โต๊ะเครื่องสังเวยเทวดานั้น ชาวพนักงานประโคมฆ้องชัย สังข์ แตร ดุริยางค์ทำเพลงสาธุการ ศิลปินกรมศิลปากรรำถวายมือ จบแล้วแสดงละครเมื่อถวายแสดงจบแล้ว พระราชทานรางวัลแก่ผู้แสดง แล้วเสด็จกลับ

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

ร่วมแสดงความคิดเห็นได้ครับ

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

#หลวงปู่ทวด องค์ในประวัติศาสตร์ เพื่อหาทุนในการพิทักษ์รักษา โบราณสถาน โบราณวัตถุ ๒๕๖๑

#พระกริ่งปวเรศแท้ในประวัติศาสตร์ไทย บันทึกไว้โดย สมเกียรติ กาญจนชาติ

#พระเครื่องในประวัติศาสตร์ หลวงพ่อกวย ชุตินฺธโร สามารถศึกษาการอนุรักษ์ได้ด้วยตนเอง